ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

เรียน อ. สกล


   เรียน อ.สกล และผู้รู้ท่านอื่นๆ ..............................

อยากสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง เมื่อ'ขวัญ'ป่วย กายก็ป่วยด้วย
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อสาว (ตัว) ใหญ่ วัยทำงาน ต้องไปเป็นนักเรียน ด้วยความสมัครใจ หาได้มีใครบังคับไม่ สัปดาห์แรกทุกคนร่าเริงแจ่มใส บอกว่าเรื่องเรียนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ใครๆก็จบได้ใน 2 ปี ระยะเวลาผ่านมา 1 เดือน อาการทางกายเริ่มแสดงออก รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ยิ้มไม่ค่อยออก คิ้วขมวด และถอนหายใจบ่อยครั้ง การแก้ปัญหา คือการเพิ่มชั่วโมงการนอน เพราะเชื่อว่าการพักผ่อนที่เพียงพอจะทำให้ร่างกายสดชื่น แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ชั่วโมงการนอนที่มากขึ้น แต่ชั่วโมงการนอนที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เพิ่มขึ้น เริ่มหันมามองหาวิตามินเสริม ตั้งแต่ A-Z (เม็ดละ 20-40 บาท) รับประทานอาหารที่คิดว่ามีประโยชน์ ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว (แก้วละ 25 บาท) ก็ยังไม่ดีขึ้น แต่น้ำหนักเพิ่มขึ้น เหลือที่ยังไม่ได้กินคือ M100 M 150 กระทิงแดง ฯลฯ ........

1. อาการอย่างนี้ เป็น “spiritual illness” หรือเปล่าค่ะ ( "ขวัญอ่อน" "ขวัญแขวน" "ขวัญผวา" "เสียขวัญ" "ขวัญหาย" "ขวัญกระเจิง" "ขวัญหนีดีฝ่อ" ) สรุป คือ หมดพลัง
2. เราสามารถเสริมพลังได้อย่างไรบ้าง (ตอนนี้เป็นกันทั้ง class เลยค่ะ)


ถ้ามีโอกาสอยากทำเป็น "Focus Group Discussion"


Posted by : MR. , Date : 2009-06-27 , Time : 08:22:51 , From IP : 172.29.10.138

ความคิดเห็นที่ : 1


   อยากจะทำบนกระดานข่าวนี้ หรือว่าข้างนอกครับ?

สกล


Posted by : phoenix , Date : 2009-06-27 , Time : 12:28:20 , From IP : 172.29.9.230

ความคิดเห็นที่ : 2


   รบกวนอาจารย์ผ่าน web board ก็ได้ค่ะ เพราะน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายคนที่สนใจด้านนี้


***การเสริมพลัง เป็นประเด็นด้านศาสนา สมาธิ หรือเปล่าค่ะ ****


Posted by : MR. , Date : 2009-06-27 , Time : 18:40:51 , From IP : 118.173.166.165.adsl.dynamic.totbb.net

ความคิดเห็นที่ : 3


   สวัสดีครับ คุณ MR

คำถามข้อที่หนึ่งคงจะตอบยากครับ เพราะสำหรับส่วนตัวแล้ว เรื่องคุณค่าและเครื่องยึดเหนี่ยว (จิตวิญญาณ หรือ spiritual) นั้น เป็นของปัจเจกบุคคล เป็นการบูรณาการประสบการณ์ทั้งหมด และความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา มาให้ความสำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นเป้าหมายของชีวิต เป็นที่มาของขวัญ กำลังใจ ดังนั้นคำตอบของแต่ละคนเมื่อตอบว่า "ใช่" คงจะไม่ใช่เรื่องของใครที่จะบอกว่าไม่ใช่ และในทำนองกลับกันเช่นกัน

แต่จะต่างกับคำ "หมดพลัง" ซึ่งอาจจะมีความหมายธรรมดาๆ คือ เหน็ดเหนื่อยกาย ไปจนถึงเป็นอาการของ psychosomatic คือ มีผสมๆกับความเครียดท้อแท้ทางจิตใจร่วมด้วย

เรื่องแบบนี้ "สาเหตุ (สมุทัย)" ต้นเหตุ สำคัญ และน่าจะสำรวจอย่างลึกซึ้ง และการที่มีคนเหน็ดเหนื่อย หมดพลัง พร้อมๆกันหลายคน ก็จะยังไม่ควรด่วนสรุปว่ามีมาจากสาเหตุเดียวกัน เพราะจริงๆแล้วคนเรานั้นเหนื่อยไม่เหมือนกัน ท้อไม่เหมือนกัน และมีที่มาของกำลังใจไม่เหมือนกัน

นั่นเป็นเหตุผลที่ผมถามว่าเราอยากจะ explore เรื่องนี้บนกระดานข่าว หรือจะทำเป็นกลุ่มสนทนาแบบ face-to-face ที่อื่น เพราะการค้นหาสาเหตุของความท้อแท้ที่แท้จริง บางครั้งเราจะพูดออกมาได้ มันต้องอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ปราศจากการด่วนตัดสิน โดยเฉพาะบนกระดานข่าวนี่ ผมไม่แน่ใจเข้ากับลักษณะที่ว่าหรือไม่ ถ้าเกิดมีเรื่องปัญหาอะไรที่ไม่สะดวกที่จะพูดถึงในทีสาธารณะ แต่มีความสำคัญต่อเหตุปัจจัย เราก็จะไม่สามารถท่ีจะทำความเข้าใจได้อย่างเต็มที่ อย่างมากก็อภิปรายเชิงทฤษฏี แห้งๆ และใช้ตอบคำถามจริงๆได้รึเปล่าก็ไม่ทราบได้

===========================

ความเหนื่อยทางกายนั้นไม่เท่าไหร่ พักผ่อนก็หาย แต่ถ้าเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้น น่าจะสำรวจว่ามีปัจจัยลึกซึ้งกว่านั้นหรือไม่

มีสองประเด็นสำคัญที่น่านึกถึงคือ
1. ความคาดหวัง (expectation)
2. ความกลัว (fear)

1. ความคาดหวัง (expectation) อาจจะเป็นพลังด้านบวก ตอนที่มันยังเป็นเพียงแค่ "ความหวัง หรือ (hope)" แต่พอปรับเปลี่ยนเป็นความคาดหวัง มันเริ่มมีด้านมืด คือ "ความผิดหวัง" เต้นไปเต้นมาอยู่เบื้องหลัง เป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่ดี มีแรงกดดันตลอด เพราะผมเอง เชื่อว่าจิตที่ตื่นรู้และเรียนรู้ได้ดี ต้องเป็นจิตที่โปร่งใส เบาสบาย ทำอะไรอย่างมีพลังตอนที่เราสามารถบอกตนเองว่า นี่คือความดี เรากำลังช่วยคนอื่น ไม่ใช่กำลังทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความสะใจ หรือสมใจตัวเราเอง และอาจจะทำให้เกิดความทุกข์ต่อคนรอบข้าง

2. ความกลัว (fear) เป็นสัณชาติญานที่ลึกซึ้งในมนุษย์ เพราะเรากลัวเพื่อที่เราจะ survive มาแต่แรกเริ่ม แต่มนุษย์มีความกลัวที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะเราให้ "ความหมายของคุณค่าตัวเรา" ที่ละเอียดอ่อนมาขึ้น เมื่อสถานะดังกล่าวถูกคุกคาม เราก็เกิดความกลัวการสูญเสียสิ่งต่างๆที่เราคิดว่า "ใช่เรา" ไปมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องนี้จะทราบได้บางทีต้องทำสมาธิ วิปัสนา อยู่ในที่ที่เราสำรวจตนเองได้อย่างปลอดภัย เพราะเรามักจะสร้างเกราะรอบๆประเด็นที่ตัวเราเปราะบาง และทำให้ไม่สามารถเจาะลงไปที่รากของปัญหาได้เต็มที่

ขอตอบกว้างๆแค่นี้ก่อนครับ


Posted by : phoenix , Date : 2009-06-27 , Time : 19:27:51 , From IP : 172.29.9.230

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมมีตัวอย่าง "ตรงข้าม" ของ "ขวัญอันแข็งแกร่ง" ครับ

อาจารย์ที่ผมนับถือมาก อายุ 75 ปีได้กระมัง

2-3 สัปดาห์ก่อน ผมไปนั่งคุย เรื่อง research อันไหม รวมถึงงานอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องรบกวนท่านซึ่งมีอายุเลยเกษียณมาเยอะ ให้เข้ามาช่วยเหลือ ท่านก็บอกว่าทำได้สบายมากๆ

ผมก็เห็นท่านหอบ ตอนนั่งคุยกัน
แต่ก็ไม่แปลกใจ สำหรับคนที่ bypass มา 2 หน ไม่มี coronary เดิมๆ รู้สึกจะเป็น internal mam ที่เลี้ยงหัวใจของท่าน

ถึงไม่แปลกใจ ผมก็หลุดปากออกไป ตอนคุยเรื่องงานที่จะทำ
"ดูอาจารย์หอบนะครับ"

ท่านตอบอะไรบางอย่างที่ทำให้ คนที่ถือว่า "หนุ่มๆ " อย่างผมต้องดูตัวเองอีกเยอะ...

"อ๋อ ใช่ physical ผมเหนื่อย แต่ mental ผมไม่เคยเหนื่อย..."

ท่านก็คุยเรื่องงานต่อ

ผมก็ไม่เคยสงสัยอีกเลย ว่าท่านจะไหวไหม
ท่านมีความสุขที่ได้ทำงานมาก
ทั้งที่ผมแอบเห็นท่านเดิน แล้วต้องหยุดหอบเป็นพักๆ





เล่าสู่กันฟังครับ


Posted by : omnisci , Date : 2009-06-28 , Time : 11:43:48 , From IP : 118.173.152.7.adsl.dynamic.totbb.net

ความคิดเห็นที่ : 5


   น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของ "ขวัญอันแข็งแกร่ง" ไหมครับ ตัวอย่างข้างบน

คือถึงแม้ร่างกายจะมีข้อจำกัด มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่สภาวะจิตกลับเป็นต้นกันข้าม ดังที่เป็นหลักฐานว่าสุขภาวะนั้นเป็นองค์รวม คือ ผลลัพธ์ว่าเราสุขหรือทุกข์นั้น ไม่ได้มาจาก well-being ของอวัยวะต่างๆของเรามารวมกันเฉยๆ แต่หมายถึงการบูรณาการ "ปัจจัยต่อสุขภาวะกำเนิด (salutogenesis)" ที่ดึงเอาทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกเข้ามาผสมผสานกัน


Posted by : phoenix , Date : 2009-06-28 , Time : 16:23:29 , From IP : 172.29.9.230

ความคิดเห็นที่ : 6


   จริงอย่างที่อาจารย์ว่า ความคาดหวังเป็นแรงกดดัน และความกลัวทำให้เกิดความเครียด

“บางครั้งถ้าหากเรามองคนไข้แบบองค์รวม แบบเป็นระบบนิเวศ เราจะเริ่มมองเห็นความเปลี่ยนแปลง และเห็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงด้านอื่นๆเพิ่มมากขึ้น”

แสดงว่าคนและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อกันเสมอ ถ้าจะบอกว่าคนเราจะมีการปรับตัวสู่สมดุลเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ในกระบวนการปรับตัวนี้จะมีการตอบสนองทั้งทางกายและจิต แสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ซึ่งเพื่อนๆใน class เรียกว่า “ความเครียดและความกดดัน” การปรับตัวต้องใช้พลัง เมื่อใช้ไปมากก็จะรู้สึกเหนื่อยล้า ?????

สัปดาห์นี้หลายคนรู้สึกดีขึ้น สิ่งเร้าลดลง และได้เรียนเรื่อง Stress and Coping Theory by Lazarus และ Stress theory by Hans selye ทำให้มองเห็น coping skill
 การจัดการกับสิ่งเร้า
 การบริหารเวลา
 การวางแผนในการจัดการ
 และหาเทคนิคการผ่อนคลาย









Posted by : MR. , Date : 2009-06-28 , Time : 21:22:23 , From IP : 118.173.153.71.adsl.dynamic.totbb.net

ความคิดเห็นที่ : 7


   สวัสดีครับคุณ MR
มิมีความรู้ทางการแพทย์ ศึกษาธรรมมาบ้างเพียงน้อยนิดทำให้เชื่อมั่นอย่างศรัทธาว่า " จิต กาย สัมพันธ์ยากแบ่งแยก " และเมื่อเกิดปัญหาใดก็ตามต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงให้เจอโดยไล่ทีละประเด็นและเจาะให้ลึกที่สุดโดยไม่มีอคติ ซึ่งปัญหาที่เกิดกับตัวเรานั้น เรานั้นแหละจะรู้ดีที่สุด รู้ดีกว่าทุกคน แต่ถ้าเราไม่ค้นหา สาเหตุที่แท้จริงก็จะไม่ปรากฏให้เห็น และเมื่อหาสาเหตุเจอปัญหานั้นก็ไม่ใช่ัญหาอีกต่อไป ในประเด็นที่เกิดการเหนื่อยล้านั้นโดยส่วนตัวมองว่าเป็นผลอันสืบเนื่องมาจากเหตุแล้วครับ
ขอย้ำนะครับว่า " จิตกายสัมพันธ์ยากแบ่งแยก แต่มิใช่ว่าแยกไม่ได้ " ก่อนที่จะดึงสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกที่จะมีผลกับตัวเรา ลองให้เวลาศึกษาความสัมพันธ์จิตกายของตัวเราสักนิดดีไหมครับ

ผู้หวังดีกับทุกคน


Posted by : คุณพระ , Date : 2009-07-04 , Time : 09:14:09 , From IP : Nat-Pool-61-19-67-67.cdma.cat.net.th

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<