หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสาขาขาดแคลนระยะเวลาปฏิบัติงานที่มีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทน (1) การอยู่เวร หมายถึง เวรบ่าย เวรดึก หรือปฏิบัติงานล่วงเวลาหรือวันหยุดราชการ (2) ต้องปฏิบัติงานในคณะแพทย์ไม่น้อยกว่า 20 วัน/เดือน - ได้ 3000 บาท เมื่อ ปฏิบัติงาน 5 ปีขึ้นไปหรืออยู่เวรไม่น้อยกว่า 8 ผลัด ใน กรณีที่ คุณ ก ขึ้นเวรเช้าในวันราชการ และหยุดตามวันหยุดราชการตามปกติทั้งเดือน ใน 1 เดือน ขึ้นเวร 15 ผลัด หยุด 15 วัน คุณ ข มีวันทำงาน 18 วัน เนื่องจาก (ลาป่วยหรือลาคลอด ) แต่ ขึ้นเวร 15 ผลัด ซึ่งมีทั้งเวรบ่ายและเวรดึก - ในการจ่ายค่าตอบแทน คุณ ก ได้ 3000 บาท ใน ขณะที่ คุณ ข ซึ่งทำงานเท่ากันแต่วันทำงาน 18 วัน (ทำงานไม่ถึง 20 วัน/เดือน) ไม่ได้รับเงินค่าตอบแทน ซึ่งหากใช้หลักเกณฑ์เดิมคือทำงานอย่างน้อย 15 ผลัด/เดือน คุณ ข ก็จะได้รับเงิน 3000 บาทด้วย *** คุณคิดว่ายุติธรรมหรือไม่ในเมื่อทำงานเท่ากัน แต่ได้รับค่าตอบแทนไม่เหมือนกัน Posted by : w , E-mail : (1234) , Date : 2009-05-05 , Time : 17:14:28 , From IP : 172.29.17.103 |
การให้ค่าตอบแทนให้มองภาพรวมและการได้ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้ง ข้อ1และข้อ 2 คือ 1.การอยู่เวร หมายถึง เวรบ่าย เวรดึก หรือปฏิบัติงานล่วงเวลาหรือวันหยุดราชการ (2) ต้องปฏิบัติงานในคณะแพทย์ไม่น้อยกว่า 20 วัน/เดือน สำหรับข้อ 2 ให้รวมวันหยุดด้วย ซึ่งมีข้อได้เปรียบกว่าแต่ก่อนที่ต้องขึ้นปฏิบัติงานจริงๆ 15 วัน จึงจะได้ แต่ไม่รวมวันลาป่วย/ลาพักร้อน/ลาคลอด เพราะถ้า มีการลา3 อย่างเราคงไม่อยู่ในคณะแพทย์ Posted by : พรรณี , E-mail : (kapannee@medicine.psu.ac.th) , Date : 2009-05-06 , Time : 07:47:23 , From IP : 172.29.5.104 |
วันทำงานไม่ถึง ทำไมไม่ลางานน้อยลงล่ะ ถ้าได้ทำงานเต็มวัน/เดือนก็ได้ค่าตอบแทน ถ้าไม่เต็ม ค่าตอบแทนก็น้อยลง เป็นปกติ.. Posted by : bird , Date : 2009-05-07 , Time : 17:47:05 , From IP : 172.29.14.63 |
ความเห็นจาก Social Network : Facebook |
|
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<< |