ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

Debate XLVII: การแก้ปัญหาการเรียนระดับอุดมศึกษา นศพ.ทำกันอย่างไร?


   การเรียนระดับอุดมศึกษานั้นต่างจากระดับต้นมาก ไม่เพียงแต่รูปแบบ แต่ความมีนัยสำคัญที่จะบ่งชี้เส้นทางที่เหลือต่อไปในชีวิตจะค่อนข้างสูง ตัดสินใจผิด เปลี่ยนใจช้า หรือกล้าๆกลัวๆ อาจทำให้เสียทั้งเวลาและอนาคตที่ควรจะเป็นอีกแบบหนึ่งได้ง่ายๆ

เรียนแพทย์มีภาระเยอะ มีการกดดันเยอะ บางคนรับได้ดี บางคนมีปัญหา ผมว่าเราลองมาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้สึกหรือความเห็นกัน ทำนอง group therapy พวกเราบางคนอาจจะนำไปดัดแปลงหรือมาระบายแล้วสบายใจขึ้นบ้าง

กติกาเดิม be mature, be positive, be civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-03 , Time : 00:23:29 , From IP : 172.29.3.220

ความคิดเห็นที่ : 1


   ............อือออออออ.........ผมว่าชีวิตผมนี่มีแต่ความแหลกเหลวของวัฒนธรรม...อาจจะไม่มีประโยชน์ก็ได้มั้ง............ผมเองไม่ค่อยมีปัญหามากนักเวลาเรียน...เนื่องจากไม่ค่อยเรียน....เอาเวลาไปสำมะเลเทเมา[ดูท่าจะภูมิใจมากเลย]ซะเป็นส่วนใหญ่.......ผมคิดว่าการเอาเวลาไปทำอย่างอื่นนอกจากเรียนของผม....อาจจะเป็นทางแก้ปัญหาการกดดันเวลาเรียนของผมก็เป็นได้.....เครียด....อ่านไม่รู้เรื่อง....เรียนไม่ทัน....ไปดูหนังดีกว่า....ดูเรื่องเดียวไม่หายเครียด...ดูมันสองเรื่องเลย.....บางทีหมดไม่มีอะไรดูก็ไปแวะร้านวีดีโอข้างบ้าน....ไปหามาดูอีก...จำได้ว่ากว่าจะเรียนจบผมดูวีดีโอข้างบ้านเกือบหมดร้าน....เจ้าของร้านก็ดีอุตสาห์ไปสรรหาหนังเก่าๆที่คิดว่าผมไม่เคยดูแน่มาให้ดู......แต่จะว่าไปมันก็เสียเวลานะ....เพราะเรื่องนึงก็สองชั่วโมง.....แบบว่าสองชั่วโมงนี่อ่านหนังสือได้เยอะเลย.....พอตอนปีหลังๆ...ผมเริ่มดูหนังจนหมด.....เรื่องอะไรเข้าฉายใหม่...ดูมันหมดทุกเรื่อง....แล้วที่นี้ทำไงหละ...ไม่มีอะไรดูเข้าก็ต้องไปหาอย่างอื่นทำแทน....ที่ผมเลือกมาแก้เครียดก็เป็นการเล่นเกมส์.....เกมส์นี่คือ Playstation และ PC โน่นเลย....แบบว่าเล่นกันไม่หลับไม่นอน....บางเกมพวก RPG นี่ผมจะชอบมาก....เพราะมันเล่นนานดี...บางเกมกว่าจะ Complete ก็เล่นเกือบ 200 ชั่งโมงก็มี....หลังๆชักไม่ไหวเพราะดูมันกินเวลามากกว่าดูหนังเสียอีก....หนังก็ดูทุกอาทิตย์อยู่แล้ว....แถมเกมส์ก็เล่นอีก...ก่อนจะจบปีสุดท้ายผมก็เลยไปหาหนังสืออ่านเล่นมาอ่านแทน....ก็ดีเหมือนกัน.....นอนอ่านเฉยๆไม่ต้องไปไหน..อ่านหนังสือเรียนบทนึง....อ่านหนังสืออ่านเล่นบทนึง....ใช้ได้เหมือนกัน.....ตอนผมเรียนจบผมไปนั่งเก็บของในห้องตัวเองก็พบว่ามีหนังสืออ่านเล่นเป็นกอง.....แผ่นเกมส์อีกจำนวนมหาศาลเกือบ 1000 แผ่นได้มั้ง....ร่วมกับหางตั๋วหนังและ Handbill หนังอีกเป็นลังๆ.......ผมยังจำได้ว่าน้องผมบอกว่า....ดีจังเรียนหมอนี่ว่างขนาดมีเวลาสำมะเลเทเมาขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย?.....:D....:D



Posted by : Death , Date : 2003-11-03 , Time : 22:42:48 , From IP : 172.29.3.148

ความคิดเห็นที่ : 2


   ว่าด้วยชีวิตการเรียนของผม กรุณาดูเป็นเยี่ยง แต่อย่าเอาอย่าง

ตอนเรียนชั้นประถม ผมไม่เคยอ่านหนังสือเลย ตั้งใจเรียนเท่าที่คุณครูสอนในชั้นเรียน พอถึงเวลาสอบคะแนนก็ออกมาอยู่ในเกณฑ์ดี ใครๆถามก็บอกเขาว่า "ตั้งใจเรียนในห้องกพอแล้วฮับ!!"
จนกระทั่งตอนสอบเข้าชั้นมัธยม ยังไม่ยอมอ่านหนังสือเตรียมสอบ แต่ก็ฟรุ๊ค ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด ห้อง2 ก็ไม่ได้เลวร้ายนัก

การเปลี่ยนแปลงตอนนั้นเริ่มอ่านหนังสือบ้าง แต่น้อยมากๆ อาศัยตั้งใจเรียนในห้อง ร่วมกับใช้พวกเพื่อนเป็นคู่แข่งเพื่อเพิ่มแรงขับให้ตั้งใจเรียน ผลเกรดออกมาพอถูไถ คนอื่นๆก็เรียกผมว่า "พวกหัว bright" ไม่ต้องอ่านก็ทำข้อสอบได้ ผมก็ไม่ได้คิดอะไร ไม่เครียดมากนัก

ตอน ม.ปลาย ไม่ได้ขวนขวานเข้าไปสอบเรียนในกทม. เหมือนเพื่อนๆคนอื่นๆ เรียนอยู่ที่เดิมนี่แหละ ก็ไม่ได้เครียดอีก จุดที่ทำให้ต้องปรับตัวรอบ 2 คือ สอบเคมีได้น้อยมากๆ แบบไม่เคยพบมาก่อน ตอนนั้นกำลังติดเกมอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง โดยเฉพาะ RPG อุตส่าห์ถ่อไปเล่นถึงร้านเกม กลับบ้านดึกดื่น โอ้ชีวิต เลยต้องกลับมาอ่านหนังสือก่อนสอบ ตั้งใจเลยว่า ถ้าสอบเคมีได้คะแนนไม่ดี จะไม่เล่นเกมอีก แต่ก็อ่านก่อนสอบแค่คืนเดียว!! ผลได้เกรด 3 เลยค่อนข้างพอใจ กลับมาเล่นเกมอีกครั้งอย่างไม่เข็ดหลาบ หลังจากนั้นการเรียนก็ดีพอใช้ได้ ไม่อายคนอื่น ก็ไม่ได้ขวนขวายเพิ่มเติม เล่นเกมควบกับการเรียนไปเรื่อยๆ

ก่อนสอบเข้ามาเรียนแพทย์ รู้ว่า คงสู้เพื่อนๆที่ขยันๆไม่ได้ ทำนองว่า "เก่งไม่กลัว กลัวขยัน" เลยคิดสมัครโครงการโควต้าแพทย์จังหวัดที่ช่วย scope จำนวนคนที่เข้าร่วมแข่งขันให้ลดลง แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก เพราะ คนที่เข้ามาด้วยกันก็เก่ง แถมขยัน เฮือก!! ก็เลยต้องตั้งใจอ่านหนังสือ ทำข้อสอบย้อนหลัง ให้คะแนนพอสูสีกับคะแนนต่ำสุดปีก่อน วางแผนว่า เอาให้ได้มากกว่าคะแนนต่ำสุดของแพทย์มอ.ปีก่อนประมาณ 10 คะแนน ก็ทำให้ได้เท่านี้ไม่ต้องสูงมาก เลยไม่เครียดเท่าพวกที่ต้องทำคะแนนไปเรียนในกทม. ผลก็ทำได้ตามเป้า แถมโชคดีได้โควต้าจังหวัดเลยได้เข้ามาเรียน ^_^

ชีวิตปี 1 เล่นๆ เรียนๆ โดดๆ มีความสุขมาก แถมช่วงเทอม 2 นี่เล่นมากกว่าเรียน ผล...T_T

ปี 2-3 โดยไม่มีเหตุการณ์มากระตุ้นเหมือนตอนม.ปลาย จู่ๆก็มีอะไรมาดลใจผมให้รู้จักอ่านหนังสือ ผมคิดว่า มันคือ "วัยวุฒิ" ผมจัดการกับตัวเองได้ดีขึ้น แบ่งเวลาอ่านหนังสือ เวลาเรียน เวลาพักผ่อนได้ดีขี้น และที่สำคัยคือ ไม่เครียด อาจเพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพแวดล้อมในชั้นปีที่การแข่งขันไม่สูง เรื่องเป้าหมายผมก็ไม่ได้หวังมากมาย ผลออกมาก็พอใช้ ผมรู้สึกพอใจ

ปี clinic ผมต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ภาระของเสื้อกาว์นมันหนักมาก อ่านหนังสือเพิ่มมากกว่า ปี 2-3 แต่รุ้สึกว่าน้อยมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนๆคนอื่นที่ได้ชื่อว่าจอมขยัน ผมจึงคิดว่า "เอาวะ ทำให้ดีที่สุดแล้วกัน" เพราะ การต้องมาแบก stress จากการเรียน อ่านหนังสือ มันไม่มีความสุขเอาซะเลย เลยอ่านเท่าที่ทนได้ เท่าที่คิดว่าเหมาะสม ผลออกมาผมคิดว่า ผมพอใจในระดับนึง

ณ ปัจจุบัน ผมก็ยังคงตั้งปณิธานเดิม มีการอ่านหนังสือ และศึกษาหาความรู้ตามที่ควรจะเป็น ไม่เครียดกับการเรียน แบ่งเวลาพักผ่อนบ้าง ดูแลผู้ป่วยให้เต็มที่ให้สมกับที่เราได้เรียนรู้จากร่างกายของเขา ตอนนี้เป้าหมายที่วางแผนไว้คือ จบ พ.บ.ได้ชื่อว่าเป็นแพทย์ที่ดีโดยไม่อายใครครับ หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น ; P


Posted by : โบทซึมุ , Date : 2003-11-04 , Time : 22:28:43 , From IP : 172.29.2.253

ความคิดเห็นที่ : 3


   ท่านโบ่ตั้งความหวังน้อยจัง เอาแค่ไม่อายเค้าเองเหรอ

ระดับท่านผมว่าตัองเป็นอาจารย์ถึงจะดีนะครับ



Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-11-05 , Time : 13:59:14 , From IP : 172.29.2.159

ความคิดเห็นที่ : 4


   เฮือก !!! อายจังง่ะ

Posted by : โบทซึมุ , Date : 2003-11-05 , Time : 19:04:16 , From IP : 172.29.2.160

ความคิดเห็นที่ : 5


   ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่เรียนสามารถแก้ไขได้โดยใช้ความพยายาม ถ้าไม่เข้าใจเรื่องใดก็พยายามอ่าน พยายามถามผู้ที่น่าจะรู้ ทุ่มเทให้กับมันแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง
สมมติว่าแพทย์ที่ดี 1 คน สามารถช่วยคนไข้ได้ 100 คนต่อวัน( ช่วยเต็มที่และไม่ทำให้คนไข้เดือดร้อน ไม่ว่าด้านใดก็ตาม )
ถ้าผลิตอาจารย์ที่ดีได้ 1 คน แล้วสามารถสอนให้นศพ.กลายเป็นแพทย์ที่ดีได้รุ่นละอย่างน้อย 10 คน จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยกี่ปี จึงจะทำให้คนไทยทั้งประเทศได้รับการบริการด้านสาธารณสุขจากแพทย์ที่ดี



Posted by : megumi , Date : 2003-11-05 , Time : 21:20:21 , From IP : 172.29.3.252

ความคิดเห็นที่ : 6


   ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยมา share ประสบการณ์ครับ ผมจะขออนุญาตเสนอของผมบ้าง

ในความเห็นส่วนตัวของผม การเรียนแพทย์นั้นนักเรียนทุกคนควรจะไม่ประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าที่ควรเป็นจริง และจริงๆแล้วผมว่าเราทุกคนน่าจะคิดว่ามันค่อนข้างจะมีปัญหาในการเรียนให้ดีพอสมควรทีเดียว

เพราะอะไร?

เพราะว่าถ้าเราเริ่มต้นจากคิดว่าไม่มีปัญหา ก็จะไม่มีใครคิดว่าควรจะแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ if things ain"t broken, don"t fix it และจาก contents ของวิชาชีพนี้ บวกกับ คุณสมบัติอื่นๆของ "ต้นแบบแพทย์" (model) ไม่ว่าจะมองจากมุมคนสอนหรือคนเรียนมันมีปัญหาแน่นอน ดังนั้น message ที่ผมอยากจะสื่อ ณ ตรงนี้คือถ้ามีใครคิดว่าเรื่องนี้เป้นปัญหาล่ะก็ welcome to the club คุณกับผมอยู่ในเรือลำเดียวกัน และผมเชื่อว่าแม้หลายๆคนจะไม่ได้พูดออกมา มีไม่น้อยที่คิด มีไม่น้อยที่หลีกเลี่ยงจะไปพูดถึงมัน มีไม่น้อยที่กำลังก้มหน้าก้มตาแก้โดยไม่ปริปากบ่นเท่าที่ตนเองทำได้ แต่ทุกคนจะยอมรับว่าเรื่องนี้เรายังไม่มีวิธีที่ ดีที่สุดในการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์

ดังนั้นจาก psyche และเหตุผลดังกล่าวผมอยากจะ reassure ว่าการที่เราเห็นว่ามันเป็นปัญหานั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีประการหนึ่ง ขอเพียงเราปรับจุดเริ่มต้นอันนี้ให้เป็นแรงผลักดันไปข้างหน้าได้ ก็จะเป็นการใช้ energy ที่ถูกต้องและเป็นการสร้างสรรค์ พลังด้านลบหลายๆอย่างที่มนษย์สามารถเอาชนะและเปลี่ยนมาเป็นการกระทำด้านบวก ความเจริญทางเทคโนโลยี และแม้กระทั่งปรัชญาศาสนา คนกลัวความมืด ก็มีคนดัดแปลงเอาไฟเอาตะเกียงมาใช้ คิดค้นไฟฟ้าประดิษฐ์หลอดไฟ คนกลัวการขาดการติดต่อกับสังคม คนอื่นๆ จึงเป็นการก่อกำเนิดโทรคมนาคม สงครามความขัดแย้งที่สร้างความไม่เสถียรของชุมชนก่อให้เกิดปรัชญาศาสนา code of conduct และกฏหมายรัฐธรรมนูญ ดังนั้นแม้แต่การที่กลัวโง่ กลัวไม่รู้ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นความอยากเรียนอยากรู้ขึ้นมาได้ แม้แต่ความกลัวคนไม่ยอมรับ ความต้องการที่ค้นหาจุดประสงค์ของการมีอยู่ ก็เป็นแรงผลักดันให้คนเราแสดงออกซึ่งคุณค่าของปัจเจกออกมา

ส่วนใครจะทำอย่างไรนั้น ก็ได้ไม่ผิดกติกา ขอเพียงไม่ผิดไปจากหลักปรัชญาของจริยธรรม วิชาชีพของเรา ก็พอแล้ว



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-05 , Time : 22:57:27 , From IP : 172.29.3.226

ความคิดเห็นที่ : 7


   ฟังวิถีชีวิตของคุณ Death แล้วอิจฉาจัง

ตัวผมเองก็มีปัญหาการเรียนของผมเช่นกัน ว่าจะไม่เอาถามวิธีแก้จากคนในนี้เสียแล้ว แต่เห็นข้อความของคุณ Phoenix
ปัญหามาคู่กับความพยายามในการแก้ปัญหา
เอาล่ะ ผมจะพยายามแก้ปัญหาของผมต่อไปแล้วกัน แม้ว่าจะขึ้นชั้นคลินิกแล้วก็เถอะ...


Posted by : ArLim , Date : 2003-11-06 , Time : 18:22:06 , From IP : 172.29.2.144

ความคิดเห็นที่ : 8


   .....ผมว่าดูน่าสมเพชมากกว่า.....อาจจะเห็นว่าเรียนแบบสบายจัง....มีเวลาทำอะไรเยอะแยะไปหมด.....แต่คะแนนไม่ได้สบายไปด้วยเลย......:D........แบบว่าเกรดผมนี่....เออ......แบบว่าแย่มากเลยครับ....เทียบกับเพื่อนๆคนอื่นที่เรียนเก่งๆไม่ได้เลย.......จัดเป็นพวกชนชั้นต่ำทางการศึกษาได้เลยครับ...คงคล้ายๆที่คุณโบ๊ทซึมุว่า.....ดูเป็นเยี่ยง...แต่อย่าเอาอย่าง......นั้นแหละใช่เลย......:D..:D......ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆหรอกครับในโลกนี่......ถ้าผมขยันเรียนผมอาจจะได้เกียรตินิยมบ้างก็ได้..แต่นั่นคือผมอาจจะไม่ได้เป็นแบบที่ผมเป็นในวันนี้.....อืมมมม.....คิดแล้ว.....ผมว่าผมชอบแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้นะ...:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-11-06 , Time : 19:20:40 , From IP : 172.29.2.165

ความคิดเห็นที่ : 9


   พี่นกไฟถามถึงปัญหาเรื่องการเรียนของนักเรียนแพทย์ ท่าจะหวังได้การระดมปัญหามาคุยกันต่อ แต่ได้กองประสบการณ์จากเหล่าผู้อาวุโสที่ผ่านมันมาแล้วแทน ฉันเองเชื่อว่า ไม่ว่าผู้ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเป็นใคร มันอาจจรรโลงให้เกิดทางเลือกและทรรศนะที่มีต่อการเรียนให้กับนักเรียนวัยค้นหาทางของเราได้ไม่มากก็น้อย
.
ฉันจบมาจากโรงเรียนเดียวกับคุณ Death และเป็น "ประชาชนหลังห้อง" มาตลอด มุมมองจากหลังห้องบรรยายนั้นต่างจากหน้าห้องแน่นอน
.
หน้าห้องเป็นที่ของสุวรรณี คนที่มาจองที่ตั้งแต่เจ็ดโมงสี่สิบห้า สุวรรณีไม่ได้จองให้ตัวเธอคนเดียว เธอยังเผื่อแผ่จองให้กับผองเพื่อนในกลุ่ม "เด็กตู้" ของเธอ อีกหลายคน คนที่ตื่นนอนเจ็ดโมงห้าสิบห้าและวิ่งไปถึงห้องบรรยายแปดโมงสิบอย่างฉัน จะได้ที่ดีที่สุดก็แถวที่สิบเจ็ด
.
การนั่งอยู่ไกลมิใช่ประเด็นเท่ากับที่ "การบรรยายเป็นแหล่งความรู้ประการเดียว"ที่พึงมีในขณะที่ฉันเรียนแพทย์ ตำราต่างประเทศในห้องสมุดเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับฉันและเพื่อนหลายคน หนังสือภาษาไทยที่มีอยู่มักจะเขียนในทางลากบาลีอ่านแล้วต้องแปลเช่นกัน ฉันไม่รู้จัก CAI ไม่รู้จักคำว่า resource person ประกอบกับไม่มีแรงกระตุ้นความสงสัยหรือที่พี่ยกตัวอย่าง "ความกลัว" ก็มีเฉพาะความกลัวว่าจะสอบตก ไม่ค่อยได้เผลอกลัวว่าจะไม่มีความรู้เพียงพอสำหรับการดูแลคนไข้
.
การดูแลปหมายถึงการพยายามฝ่าฝูงชนที่มุง specimen อยู่เข้าไปดู "ตัวประหลาด" จำหน้ามันไว้ แทบไม่เข้าใจความหมายหรือความสำคัญ หลายครั้งฉันจำแต่เพียงว่า หากเห็นพยาธิตัวยาว ๆ กำลังอ้าปาก ก็ให้ตอบไปได้เลยว่า Ascaris Lumbricoides หากเห็นผู้หญิงใส่สายสร้อย เขาเป็นเรื้อนกวาง
.
แรงกระตุ้นที่แทบจะมีอย่างเดียวคือ "การสอบ" ปฏิกิริยาที่มีมันจึงเป็นการ "ยัดกระเป๋าก่อนสอบ" ด้วยการท่องสำเนาสมุดจดที่ "สุวรรณีรับประกัน"
.
ปัญหาในการเรียนสมัยฉัน มันจึงเป็นเรื่องของทั้ง "การกระตุ้นให้รู้เหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ + วิธีการถ่ายทอดและแสวงหาความรู้" หากนักเรียนคนหนึ่งไม่มีทักษะในการจับใจความจากการบรรยายได้ดีพอ เขาจะไม่มีทางเลือกอื่น หากนักเรียนคนหนึ่งขาดทักษะทางภาษา หนังสือที่เรียงเป็นตับในห้องสมุดจะไม่ต่างจากกระดาษเปล่าเย็บเล่มสำหรับเขา
.
สองสลึงที่อยากทอยไว้สำหรับน้องชายและน้องสาวก็คือ
๑. ทักษะทางภาษาและคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่สำคัญ "มาก" โดยเฉพาะระบบการเรียนในปัจจุบัน หากไม่สามารถเปิดหน้าการหาความรู้ไปยังตำราและวารสารภาษาต่างประเทศได้ การจับปลาในทะเลกว้าง ซึ่งเป็นปรัชญาการเรียนในสมัยใหม่ จะทำได้แค่การวนทอดแหในหนอง
๒. ใช้ประโยชน์จากสื่อที่หลากหลาย ทั้ง resource person, CAI, และที่มักถูกมองข้ามคือ "กลุ่มเพื่อนที่กินเหล้าและไปดูหนังด้วยกัน" นั่นแหละ
๓. เวลาเรียนในภาคการศึกษาหนึ่งมีหลายเดือน มิใช่สองสัปดาห์ก่อนสอบ สร้างวินัยในการ "หาความรู้ใหม่ ทบทวนความรู้เดิม และฝึกปรือทักษะ" ให้สม่ำเสมอ ไม่เก็บประเด็นที่ไม่เข้าใจไว้จนกระทั่งใกล้สอบ
๔. เปลี่ยนแรงกระตุ้นจากการเรียนเพื่อสอบ มาเป็นเรียนเพื่อรู้ให้ได้ การเรียนในระบบปัจจุบันของเราซึ่งยกเรื่องของผู้ป่วยมาเป็นสาธก เป็นโอกาสที่ดีประการหนึ่ง การเรียนเพื่อรู้ เพื่อตอบคำถาม จะทำให้เกิดฉันทะและมีความสุข
๕. "เรียนทางข้าง" หมายถึงเรียนเรื่องอื่นฝึกทักษะเรื่องอื่นที่มิได้อยู่ในหลักสูตร ฉันหมายถึงการทำกิจกรรมนักศึกษา การขวนขวายรู้เพิ่มเติมในวิชาที่สนใจเป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มให้เราได้เป็น "บัณฑิตที่แท้"

นี่เป็นสองสลึงที่ฉันไม่หวง

ปล.ห้ามบอกสุวรรณีเป็นอันขาด ว่าเธอถูกพาดพิง


Posted by : Shonikeka , Date : 2003-11-07 , Time : 08:25:53 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 10


   พอดีผลการเรียนของบัณฑิตในประเทศเราไม่ได้เป็นตัวชี้วัด performance ของกระทรวงศึกษา ดังนั้นแรงกดดันสลายมาอยู่ที่ปัจเจกและไม่ได้เป็นที่ถกกันในระดับนโยบาย

มีประเทศที่ก้าวหน้ากว่าเรา ส่วนใหญ่ (ถ้าไม่ทั้งหมด) ผลการเรียนระดับต้นและอุดมศึกษาเป็นตัววัดที่ประชาชนใช้มาประกอบการพิจารณาว่ารัฐบาลทำงานรึเปล่า บัณฑิตจบมากี่คน มี Job ที่เป็น service section ที่เป็น white collar สักเท่าไหร่ สัดส่วนเป็นอย่างไร และก็จะเลยไปถึงกระทรวงแรงงานว่าจัดหา job มา distribute ให้แก่บัณฑิตได้ดีหรือไม่ หรือมีคนตกงานอยู่ในขณะนี้เท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะระบบ welfare benefit ที่รัฐบาลช่วยเหลือคนตกงานยังไม่มีในประเทศเรา รัฐบาลเลยไม่ได้กังวลเรื่องนี้เท่าไร แต่ในประเทศที่เขาการันตีว่าประชาชนทุกคนของเขาต้องอยู่อย่างมี dignity และมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน งบประมาณเฉพาะค่า social welfare อย่างเดียวก็เป็นหมื่นๆล้านบาท

จริงๆผลการเรียนจะมีความหมายมากขึ้นอีก ถ้ารัฐบาลเอาเงินที่ subsidize และลดค่าเล่าเรียนของหลายๆสาขาวิชามาพิจารณาร่วมกับ performance ของบัณฑิต ก็อาจจะพบว่ามีบางสถาบันหรือว่าที่บัณฑิตบางส่วนกำลัง "waste" เงินที่ใช้จ่ายลงไป กฏเกณฑ์ที่ต้องการการประกันคุณภาพ คือข้อผูกมัดว่าถ้ารัฐบาลยังจะ "อุ้ม" ต่อ ผลการเรียนของบัณฑิตควรจะอยู่ในระดับไหนก็อาจจะเกิด และผลก็คือแรงกดดันจากส่วนกลางลงมาหาทุกๆประการที่เป็นส่วนทำให้เกิด "ผลลัพธ์" ก็จะหลีกเลี่ยงมิได้

ค่าเล่าเรียนคณะแพทย์ในส่วนกลางนั้นยังต่ำกว่าทุนที่รัฐบาลลงไปมาก เลยมาถึงระบบการ training postgraduate ที่บัณฑิตมาเรียนแถมยังได้เงินเดือนประจำอีกต่างหาก ถ้ามองโลกในแง่ร้ายก็คือ ของที่ได้มาง่ายๆ ไม่ได้ลงทุนอะไร ก็อาจจะมีความสำคัญลดลง ประเด็นนี้อาจจะไม่ค่อยเท่าไหร่ ถ้า "เวลา" ของเรานั้นถูกสำเหนียกว่ามีค่า แต่ก็ไม่แน่ใจเวลาพิจารณาจากการ "ใช้เวลา" ของว่าที่บัณฑิตกัน ไม่มีข้อมูลการศึกษา แต่นี้เป็นแค่ประสบการณ์ หรือ ข้อสังเกตส่วนตัว

ปล รุ่นผมก็มี "สุวรรณี" เหมือนกัน เวลาคณะฯแจกรางวัล top scorer ของรายวิชาเธอจะได้รับสิทธิ์ไม่ต้องเดินขึ้นเดินลง เพราะเธอจะกวาดเกือบหมดล็อต นับเป็นชื่อมงคลชื่อนึงของ นศพ. แต่รายนี้ lecture ไม่ popular เพราะมี lecture-note experts อีกสองท่านที่ร้าน XeRox ท่าน้ำจะมี copy ไว้ให้สั่งได้เลยว่าจะเอาของใคร



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-09 , Time : 01:15:02 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 11


   ปัญหาของแต่ละคนใหญ่โตไม่เท่ากัน
เราอาจมองว่าปัญหาของเขาจิ๊บจ๊อย แต่ปัญหาเรานั้นหนักหนา
สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเหลือกันแก้ปัญหา

สอบผ่านไปแต่ละครั้ง ก็ลืมๆมันไป มองข้ามมันไป
การนำไปใช้จริงเป็นอีกเรื่อง

แต่หากสอบไม่ผ่านล่ะ
เฮ้อ...


Posted by : ArLim , Date : 2003-11-09 , Time : 14:54:48 , From IP : 172.29.2.144

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<