จิตตปัญญาเวชศึกษา 79: S-L Part 2: Four Dimensions of Moral Authority มีบางส่วนที่อยากนำมาเชื่อมโยงกับแพทยศาสตรศึกษา รายละเอียดอยู่ใน link จิตตปัญญาเวชศึกษา 84: S-L Part 7: Reflection Time (2) แต่ขอนำบทความมาลง ณ ที่นี้ด้วยครับ ================================================================ Reflection Time (2) Ten Characteristic of Servant-Leader 1.Listening 2.Empathy 3.Healing 4.Awareness 5.Persuasion 6.Conceptualization 7.Foresight 8.Stewardship 9.Commitment to the growth of people 10.Building community ขอนำเอา 10 characteristics ของ servant leader มาสะท้อนในการศึกษาของแพทย์สักหน่อยว่า น่าจะเข้ากัน หรือพอจะเอื้อประโยชน์กันได้หรือไม่ สำหรับข้อแรก Listening นั้น น่าจะไม่เป็นที่น่าสงสัยเลย ตอนนี้ผมเข้าใจว่าแทบทุกคณะแพทย์ (รวมทั้งนอกคณะแพทย์) มีความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการฟังเพิ่มขึ้นอย่าง dramatic ในช่วงเวลาที่ผ่านมา แบบฝึกหัดการฟังที่ดีมีอยู่ทั่วไป และรวมทั้งตัวอย่างการฟังที่ไม่ดีและ consequences ของมันช่างบาดตาบาดใจ จนคนตาบอดก็ยังรู้สึกสัมผัสได้ คนจะเป็นแพทย์ต้องฝึก "ฟัง และฟังอย่างลึกซึ้ง และฟังเพื่อจะนำไปรับใช้คนไข้ให้ดีที่สุด" การฟังเป็นการเชื่อมโลกสองใบ (หรือมากกว่านั้น) ที่แตกต่างกันอย่างมากมายเข้าหากัน กระบวนการที่จะทำให้สำเร็จแนบเนียนนั้น ไม่ได้อาศัยแค่อวัยวะหู หรือการได้ยินแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นจิตที่เปิด ใจที่กว้าง และเจตจำนงที่จะนำเอาสิ่งที่ฟังไปทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า เป็นแรงบันดาลใจในการฟัง session นั้นๆ session ที่จะฝึกฟังแบบนี้ ควรจะเปลี่ยน incentive ในการฟัง ได้แก่ไม่ควรจะเป็น session ที่นับคะแนน เอาคะแนน เพราะการมีคะแนน มี credit นั้น จะเป็นการ distract primary intention ว่าเราจะเข้าไปฟังทำไม ถึงตรงนี้นักการศึกษาอาจจะเริ่มขยับตัวอย่างอึดอัด คิดว่ามันพูดเรื่องอะไรกันฟะ ที่จริง incentive ของการฟังนั้นมันมีอยู่แล้ว และควรจะเป็น holy grail ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกคน ถ้าทุกคนมีการเตรียมตัวและใคร่ครวญมาก่อนว่า ทำไมเขาเหล่านั้นควรจะฟังเป็น primary motivation ของการฝึกฟังควรจะมาจากสติปัญญาที่ mature เพียงพอที่มองเห็นว่า สิ่งที่เขากำลังจะฝึกและได้ประสบการณ์ต่อไปนี้ จะเป็นการเรียนเพื่อชีวิตที่เหลืออยู่ จะได้เป็นบางสิ่งบางอย่างที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต และทำให้ชีวิตของเขามีความหมายมากขึ้น เพราะสิ่งนี้จะทำให้ชีวิตของคนอื่นมีความหมายมากขึ้น ในปรัชญาวิชาชีพแพทย์นั้น เราเน้นเรื่องการอุทิศตนเพื่อประโยชน์เพื่อนมนุษย์ ของฝรั่งก็มีคำ Altrusim มีคำ Empathy ตรงนี้เป็น "สภาวะ" ที่อยู่ภายในตัว ขณะที่เราฟัง ดังนั้นจึงเป็นอะไรที่แยกออกจากกระบวนการฟัง แต่เป็นอีกฐานที่เราจะต้องทุ่มเทเวลาให้ความสำคัญในการบ่มเพาะมันเช่นกัน การบ่มเพาะ Empathy นั้น คือการศึกษาเพื่อให้เกิดการเติบโตของฐานใจ นักศึกษาแพทย์จะ empathy จะต้องลดเกราะที่ห่อหุ้มใจของตนเองลง เพราะอวัยวะสำคัญที่จะทำให้เรา "รู้สึก" นั้นคือใจ ต่อเมื่อเราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา (อตฺตานํ อุปมํ กเร) เราจึงจะค่อยๆ "เข้าใจ" ว่าสิ่งที่เราเห็นอยู่เบื้องหน้า ว่าเป็น diseases เป็น pathology นั้น แท้ที่จริงโดยนัยที่สำคัญกว่าคือ "สาเหตุแห่งความทุกข์" และนี่คืองานที่แท้ของเราที่แฝงอยู่ เป็น incentive ของงานประจำของเรา ว่าเราสามารถที่จะ alleviate อาการ อาการแสดงเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงไร ให้กำลังใจ ให้ข้อมูลแบบไหน เพื่อประโยชน์อะไร นั้นคือ HEALING จะเป็นความน่าเสียดายและเสียโอกาสอย่างยิ่ง ถ้านักศึกษาแพทย์คลาดโอกาสในการทำความเข้าใจถึงนัยของการเยียวยา การ healing ซึ่งโดยคำนี้ จะหมายรวมถึงทุกมิติแห่งสุขภาพ นักศึกษาแพทย์พึงตระหนักว่าสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่นั้น ไม่ได้แค่การรักษาโรคภัยไข้เจ็บแต่เพียงอย่างเดียว แต่อาชีพของเรานั้น คือ hard evidence ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ว่าคนเรานั้นมี "หน้าที่" ที่จะดูแลซึ่งกันและกัน เมื่อใครคนใดคนหนึ่งเกิดความทุกข์ "เป็นหน้าที่" ที่คนรอบๆข้างจะต้องให้การดูแลเอาใจใส่และช่วยเหลือกัน และนี่คือ spirituality of profession เป็นจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพ การรับรู้ว่าเรากำลัง heal หรือเยียวยาผู้อื่นอยู่นั้น แท้ทีจริงก็เป็นกิจกรรมที่เรากำลัง heal ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เรากำลังใช้ชีวิตในมลภาวะ มลภาวะทางกายภาพและมลภาวะทางจิต เราอยู่ในมลภาวะทางจิตที่มีความเห็นแก่ตัว operate โดย ego อย่างมาก ในยุคของ Greed is Good เป็นสรณะใหม่ ศาสนาใหม่ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเยียวยาซ่อมแซมจิตของเราอย่างสม่ำเสมอ และโชคดีอย่างมากในงานของเรา ที่งานประจำทุกวี่วันนี้เองเป็นกิจกรรมในการเยียวยาตนเองได้ดีที่สุด เพราะเราอาศัยอยู่ท่ามกลางมลพิษทางจิต ที่บ้านช่องหรูหรา ฐานะเงินทอง สุขภาพที่แข็งแรง ฯลฯ เหล่านี้ อาจจะทำให้เกิดภาพหลอนว่าเรา OK เราจึงต้องฝึกหัดจิตให้มี AWARENESS มี สติตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา ว่าเราำลังอยู่ท่ามกลาง atrocities หรือสนามรบ ที่อาจจะมีอะไรมาดึงจิตของเราให้ไขว้เขวได้ง่ายๆในรูปแบบต่างๆ ที่ช่าง cunning และตรวจสอบมองหาได้ยาก วิชาชีพแพทย์ เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่สามารถจะแสวงหาทรัพย์สินศฤงคารต่างๆมาได้ ไม่ยากมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่นๆโดยทั่วไป แต่นักศึกษาแพทย์พึงมีสติว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ primary incentive ของการที่เขาได้เข้ามาศึกษาวิชาชีพนี้ ถ้าขาดการตรวจสอบจิตอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการง่ายมากที่นักศึกษาอาจจะไป focus อยู่ที่ secondary objectives มากเกินไป จนมองไม่เห็น primary objectives ที่แท้จริง และไม่ให้เวลาในการฟูมฟักหล่อเลี้ยง professionalism ที่จะเติบโตมาระหว่างการทำงานอย่างมีสติเท่านั้น เมื่อเราเข้าใจในพฤติกรรม และมองเห็นความซับซ้อนของที่มา ก่อนที่จะเกิดเป็นพฤติกรรมมากขึ้น เราก็จะค่อยๆเปลี่ยนวิธีที่จะปรับพฤติกรรมของผู้อื่น จากบรรยาย lecture บังคับ ออกกฏ ทำโทษ มาเป็น PERSUASION แทน ในการเรียน communication skill นอกเหนือจากการฟังที่สำคัญมากแล้ว ในชีวิตการเป็นแพทย์ เรายังต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและคนไข้ด้วย โรคจำนวนมากกว่า 80-90% เป็น behavior-related หรือเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันสูง อัลกอฮอลล์ ยาเสพติด อุบัติเหตุทางท้องถนน ฯลฯ นักศึกษาแพทย์ควรจะฝึกปรือการสื่อสาร การชักชวน เชื้อเชิญ นำมาดัดแปลงใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน แทนที่จะฝังใจกับการ lecture บรรยาย แห้งๆ ที่ไม่เคยได้ผลมาตลอด ควรจะศึกษาในศาสตร์และศิลป ว่าการใช้สุนทรีย์ศาสตร์ใน mode การสืื่อสารนั้นทรงพลังมากไปกว่าการยัดเยียดข้อมูลแบบดิบๆมากมายนัก เราอาจจะต้องถึงขนาดว่าจินตนาการว่าเราอยู่ในวงการโฆษณา แต่สินค้าของเรานั้นคือ good health และ holistic health เราจะวางแผนโฆษณาอย่างไร การกระทำทุกอย่าง คำพูดทุกคำ รวมทั้งความคิดของคนทุกคน มีผลกระทบเป็นวงกว้างและสะท้อนกลับไปมาอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาแพทย์ควรจะฝึกความสามารถมองออกถึงผลกระทบในระดับชุมชน ระดับนามธรรม และระดับสังคมได้ นี่คือเรื่องของ Conceptualization ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยสนทนาที่ OPD ที่ห้องผ่าตัด หรือตอนจะจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ตอนที่จะต้อง breaking the bad news ตอนที่จะต้องบอกข่าวร้าย ฯลฯ ทุกๆปฏิสัมพันธ์จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ และมีความหมายต่อสุขภาวะของคนจำนวนมาก แม้แต่การดำเนินชีวิตของตัวนักศึกษาเองก็ตามที เราจะเป็นหมออย่างไร อย่างไรที่เราได้ให้นิยามว่าเป็นหมอที่ประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงมีผลต่อพฤติกรรมเล็กๆน้อยๆ แต่กลับกลายเป็นกระบวนคิด กระบวนทัศน์ มุมมองต่อวิชาชีพ มุมมองต่อความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับคนไข้ พยาบาล คนรอบข้างและครอบครัว ไปจนถึงการรับรู้ว่าอะไรคือดี อะไรคือไม่ดี อะไรทีเราจะทำเป็นตัวอย่างแก่คนอื่นๆ ต่อลูกหลาน เพราะเราจะมองเห็นได้ว่า ถ้าทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในวงกว้าง เราก็จะสามารถยั้งม้าริมหน้าผา สามารถห้อยแขวน ไม่เร่งด่วนที่จะทำ ไม่เร่งด่วนที่จะพูด ไม่เร่งด่วนตัดสิน นี่คือ skill ในการเกิดมี Foresight การมองเห็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง ในวิชาชีพแพทย์นั้น ความไว้วางใจ (STEWARDSHIP) ไม่ได้เป็นแค่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม แต่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด เราจะไม่สามารถทำงานส่วนใหญ่ของเราได้สำเร็จเลย ถ้าปราศจากซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนในงานที่เรากำลังทำอยู่ หรืออาจจะต้องทำด้วยความยากลำบากเป็นทวีคูณ และความไว้วางใจของแต่ละคนนี่ มีที่มาไม่เหมือนกัน ความเสี่ยงก็คือ การสร้างความไว้วางใจว่ายากแล้ว แต่สร้างใหม่หลังเสียไปยิ่งยากกว่าหลายเท่า (Build trust is hard enough already but re-build it is far more difficult.) นี่อาจจะเป็นคำตอบให้นักศึกษาแพทย์บางคนที่ถามว่าทำไมอาจารย์ต้องมาจำจี้ จำไชเรื่อง dress code ของพวกผม ของพวกหนูนัก ในเมือหนูมีความรู้ ความสามารถในการเป็นหมอดีอยู่แล้ว จะขอแต่งตัวตามสบายสักหน่อยไม่ได้เหรอ คำตอบก็คือ ได้ครับ แต่ในขอบเขตและบริบทอันควร เพราะการแต่งตัวบางครั้ง (ไม่ทุกครั้ง) เป็นการก่อให้เกิด impression เป็นรากฐานเริ่มแรก เราคงไม่อยากจะสร้างกำแพงขวางความสัมพันธ์ตั้งแต่ยังไม่เริ่มพูดกับคนไข้ เพราะวันนี้เราอยากแต่งตัวแบบเซอร์ โทรมๆ ตามกระแสนิยมกระมัง สิ่งที่งานของเราทำ ไม่เป็นเพียง growth ของคน แต่เป็น growth ของทั้งปัจเจกและชุมชนไปพร้อมๆกัน เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และการเติบโตไปด้วยกันอย่างชุมชนนั้นก็สำคัญอย่างมาก การที่นักศึกษาได้มีโอกาสอยู่ด้วยกันใน campus และทำงานเป็นกลุ่ม ทำงานเป็นทีมนั้น เป็นโอกาสอันดี ที่เราจะได้เห็นศักยภาพร่วม เมื่อเราได้ร่วมมือกันทำงาน กับเพื่อนเรา กับรุ่นพี่ อาจารย์ พยาบาล นักกายภาพ ฯลฯ เราจึงจะได้เติบโตเป็น servant leader (doctor) ที่สมศักยภาพที่เรามีอย่างแท้จริง" />DEBATE XCVII: Servant-Leadership and Medical Education

ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

DEBATE XCVII: Servant-Leadership and Medical Education


   ผมได้อ่านหนังสือสองเล่มเรือง Servant-Leadership และ Servant-Leader Within ของ Robert K. Greenleaf กล่าวถึงสภาวะผู้นำที่งอกงามมาจากความมุ่งมั่นที่จะรับใช้ ได้ถอดความลงไว่้ใน blog
จิตตปัญญาเวชศึกษา 78: Servant-Leadership: Part 1: Commitment
< a href="http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/227313">จิตตปัญญาเวชศึกษา 79: S-L Part 2: Four Dimensions of Moral Authority

มีบางส่วนที่อยากนำมาเชื่อมโยงกับแพทยศาสตรศึกษา รายละเอียดอยู่ใน link จิตตปัญญาเวชศึกษา 84: S-L Part 7: Reflection Time (2) แต่ขอนำบทความมาลง ณ ที่นี้ด้วยครับ
================================================================
Reflection Time (2)

Ten Characteristic of Servant-Leader

1.Listening
2.Empathy
3.Healing
4.Awareness
5.Persuasion
6.Conceptualization
7.Foresight
8.Stewardship
9.Commitment to the growth of people
10.Building community

ขอนำเอา 10 characteristics ของ servant leader มาสะท้อนในการศึกษาของแพทย์สักหน่อยว่า น่าจะเข้ากัน หรือพอจะเอื้อประโยชน์กันได้หรือไม่

สำหรับข้อแรก Listening นั้น น่าจะไม่เป็นที่น่าสงสัยเลย ตอนนี้ผมเข้าใจว่าแทบทุกคณะแพทย์ (รวมทั้งนอกคณะแพทย์) มีความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการฟังเพิ่มขึ้นอย่าง dramatic ในช่วงเวลาที่ผ่านมา แบบฝึกหัดการฟังที่ดีมีอยู่ทั่วไป และรวมทั้งตัวอย่างการฟังที่ไม่ดีและ consequences ของมันช่างบาดตาบาดใจ จนคนตาบอดก็ยังรู้สึกสัมผัสได้

คนจะเป็นแพทย์ต้องฝึก "ฟัง และฟังอย่างลึกซึ้ง และฟังเพื่อจะนำไปรับใช้คนไข้ให้ดีที่สุด"

การฟังเป็นการเชื่อมโลกสองใบ (หรือมากกว่านั้น) ที่แตกต่างกันอย่างมากมายเข้าหากัน กระบวนการที่จะทำให้สำเร็จแนบเนียนนั้น ไม่ได้อาศัยแค่อวัยวะหู หรือการได้ยินแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นจิตที่เปิด ใจที่กว้าง และเจตจำนงที่จะนำเอาสิ่งที่ฟังไปทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า เป็นแรงบันดาลใจในการฟัง session นั้นๆ

session ที่จะฝึกฟังแบบนี้ ควรจะเปลี่ยน incentive ในการฟัง ได้แก่ไม่ควรจะเป็น session ที่นับคะแนน เอาคะแนน เพราะการมีคะแนน มี credit นั้น จะเป็นการ distract primary intention ว่าเราจะเข้าไปฟังทำไม ถึงตรงนี้นักการศึกษาอาจจะเริ่มขยับตัวอย่างอึดอัด คิดว่ามันพูดเรื่องอะไรกันฟะ ที่จริง incentive ของการฟังนั้นมันมีอยู่แล้ว และควรจะเป็น holy grail ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกคน ถ้าทุกคนมีการเตรียมตัวและใคร่ครวญมาก่อนว่า ทำไมเขาเหล่านั้นควรจะฟังเป็น

primary motivation ของการฝึกฟังควรจะมาจากสติปัญญาที่ mature เพียงพอที่มองเห็นว่า สิ่งที่เขากำลังจะฝึกและได้ประสบการณ์ต่อไปนี้ จะเป็นการเรียนเพื่อชีวิตที่เหลืออยู่ จะได้เป็นบางสิ่งบางอย่างที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต และทำให้ชีวิตของเขามีความหมายมากขึ้น เพราะสิ่งนี้จะทำให้ชีวิตของคนอื่นมีความหมายมากขึ้น

ในปรัชญาวิชาชีพแพทย์นั้น เราเน้นเรื่องการอุทิศตนเพื่อประโยชน์เพื่อนมนุษย์ ของฝรั่งก็มีคำ Altrusim มีคำ Empathy ตรงนี้เป็น "สภาวะ" ที่อยู่ภายในตัว ขณะที่เราฟัง ดังนั้นจึงเป็นอะไรที่แยกออกจากกระบวนการฟัง แต่เป็นอีกฐานที่เราจะต้องทุ่มเทเวลาให้ความสำคัญในการบ่มเพาะมันเช่นกัน การบ่มเพาะ Empathy นั้น คือการศึกษาเพื่อให้เกิดการเติบโตของฐานใจ

นักศึกษาแพทย์จะ empathy จะต้องลดเกราะที่ห่อหุ้มใจของตนเองลง เพราะอวัยวะสำคัญที่จะทำให้เรา "รู้สึก" นั้นคือใจ ต่อเมื่อเราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา (อตฺตานํ อุปมํ กเร) เราจึงจะค่อยๆ "เข้าใจ" ว่าสิ่งที่เราเห็นอยู่เบื้องหน้า ว่าเป็น diseases เป็น pathology นั้น แท้ที่จริงโดยนัยที่สำคัญกว่าคือ "สาเหตุแห่งความทุกข์" และนี่คืองานที่แท้ของเราที่แฝงอยู่ เป็น incentive ของงานประจำของเรา ว่าเราสามารถที่จะ alleviate อาการ อาการแสดงเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงไร ให้กำลังใจ ให้ข้อมูลแบบไหน เพื่อประโยชน์อะไร

นั้นคือ HEALING

จะเป็นความน่าเสียดายและเสียโอกาสอย่างยิ่ง ถ้านักศึกษาแพทย์คลาดโอกาสในการทำความเข้าใจถึงนัยของการเยียวยา การ healing ซึ่งโดยคำนี้ จะหมายรวมถึงทุกมิติแห่งสุขภาพ

นักศึกษาแพทย์พึงตระหนักว่าสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่นั้น ไม่ได้แค่การรักษาโรคภัยไข้เจ็บแต่เพียงอย่างเดียว แต่อาชีพของเรานั้น คือ hard evidence ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ว่าคนเรานั้นมี "หน้าที่" ที่จะดูแลซึ่งกันและกัน เมื่อใครคนใดคนหนึ่งเกิดความทุกข์ "เป็นหน้าที่" ที่คนรอบๆข้างจะต้องให้การดูแลเอาใจใส่และช่วยเหลือกัน และนี่คือ spirituality of profession เป็นจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพ

การรับรู้ว่าเรากำลัง heal หรือเยียวยาผู้อื่นอยู่นั้น แท้ทีจริงก็เป็นกิจกรรมที่เรากำลัง heal ตัวเองอยู่ตลอดเวลา

เรากำลังใช้ชีวิตในมลภาวะ มลภาวะทางกายภาพและมลภาวะทางจิต เราอยู่ในมลภาวะทางจิตที่มีความเห็นแก่ตัว operate โดย ego อย่างมาก ในยุคของ Greed is Good เป็นสรณะใหม่ ศาสนาใหม่ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเยียวยาซ่อมแซมจิตของเราอย่างสม่ำเสมอ และโชคดีอย่างมากในงานของเรา ที่งานประจำทุกวี่วันนี้เองเป็นกิจกรรมในการเยียวยาตนเองได้ดีที่สุด

เพราะเราอาศัยอยู่ท่ามกลางมลพิษทางจิต ที่บ้านช่องหรูหรา ฐานะเงินทอง สุขภาพที่แข็งแรง ฯลฯ เหล่านี้ อาจจะทำให้เกิดภาพหลอนว่าเรา OK เราจึงต้องฝึกหัดจิตให้มี AWARENESS มี สติตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา ว่าเราำลังอยู่ท่ามกลาง atrocities หรือสนามรบ ที่อาจจะมีอะไรมาดึงจิตของเราให้ไขว้เขวได้ง่ายๆในรูปแบบต่างๆ ที่ช่าง cunning และตรวจสอบมองหาได้ยาก

วิชาชีพแพทย์ เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่สามารถจะแสวงหาทรัพย์สินศฤงคารต่างๆมาได้ ไม่ยากมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่นๆโดยทั่วไป แต่นักศึกษาแพทย์พึงมีสติว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ primary incentive ของการที่เขาได้เข้ามาศึกษาวิชาชีพนี้ ถ้าขาดการตรวจสอบจิตอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการง่ายมากที่นักศึกษาอาจจะไป focus อยู่ที่ secondary objectives มากเกินไป จนมองไม่เห็น primary objectives ที่แท้จริง และไม่ให้เวลาในการฟูมฟักหล่อเลี้ยง professionalism ที่จะเติบโตมาระหว่างการทำงานอย่างมีสติเท่านั้น

เมื่อเราเข้าใจในพฤติกรรม และมองเห็นความซับซ้อนของที่มา ก่อนที่จะเกิดเป็นพฤติกรรมมากขึ้น เราก็จะค่อยๆเปลี่ยนวิธีที่จะปรับพฤติกรรมของผู้อื่น จากบรรยาย lecture บังคับ ออกกฏ ทำโทษ มาเป็น PERSUASION แทน

ในการเรียน communication skill นอกเหนือจากการฟังที่สำคัญมากแล้ว ในชีวิตการเป็นแพทย์ เรายังต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและคนไข้ด้วย โรคจำนวนมากกว่า 80-90% เป็น behavior-related หรือเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันสูง อัลกอฮอลล์ ยาเสพติด อุบัติเหตุทางท้องถนน ฯลฯ นักศึกษาแพทย์ควรจะฝึกปรือการสื่อสาร การชักชวน เชื้อเชิญ นำมาดัดแปลงใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน แทนที่จะฝังใจกับการ lecture บรรยาย แห้งๆ ที่ไม่เคยได้ผลมาตลอด ควรจะศึกษาในศาสตร์และศิลป ว่าการใช้สุนทรีย์ศาสตร์ใน mode การสืื่อสารนั้นทรงพลังมากไปกว่าการยัดเยียดข้อมูลแบบดิบๆมากมายนัก เราอาจจะต้องถึงขนาดว่าจินตนาการว่าเราอยู่ในวงการโฆษณา แต่สินค้าของเรานั้นคือ good health และ holistic health เราจะวางแผนโฆษณาอย่างไร

การกระทำทุกอย่าง คำพูดทุกคำ รวมทั้งความคิดของคนทุกคน มีผลกระทบเป็นวงกว้างและสะท้อนกลับไปมาอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาแพทย์ควรจะฝึกความสามารถมองออกถึงผลกระทบในระดับชุมชน ระดับนามธรรม และระดับสังคมได้ นี่คือเรื่องของ Conceptualization

ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยสนทนาที่ OPD ที่ห้องผ่าตัด หรือตอนจะจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ตอนที่จะต้อง breaking the bad news ตอนที่จะต้องบอกข่าวร้าย ฯลฯ ทุกๆปฏิสัมพันธ์จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ และมีความหมายต่อสุขภาวะของคนจำนวนมาก

แม้แต่การดำเนินชีวิตของตัวนักศึกษาเองก็ตามที เราจะเป็นหมออย่างไร อย่างไรที่เราได้ให้นิยามว่าเป็นหมอที่ประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงมีผลต่อพฤติกรรมเล็กๆน้อยๆ แต่กลับกลายเป็นกระบวนคิด กระบวนทัศน์ มุมมองต่อวิชาชีพ มุมมองต่อความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับคนไข้ พยาบาล คนรอบข้างและครอบครัว ไปจนถึงการรับรู้ว่าอะไรคือดี อะไรคือไม่ดี อะไรทีเราจะทำเป็นตัวอย่างแก่คนอื่นๆ ต่อลูกหลาน

เพราะเราจะมองเห็นได้ว่า ถ้าทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในวงกว้าง เราก็จะสามารถยั้งม้าริมหน้าผา สามารถห้อยแขวน ไม่เร่งด่วนที่จะทำ ไม่เร่งด่วนที่จะพูด ไม่เร่งด่วนตัดสิน นี่คือ skill ในการเกิดมี Foresight การมองเห็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง

ในวิชาชีพแพทย์นั้น ความไว้วางใจ (STEWARDSHIP) ไม่ได้เป็นแค่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม แต่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด

เราจะไม่สามารถทำงานส่วนใหญ่ของเราได้สำเร็จเลย ถ้าปราศจากซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนในงานที่เรากำลังทำอยู่ หรืออาจจะต้องทำด้วยความยากลำบากเป็นทวีคูณ และความไว้วางใจของแต่ละคนนี่ มีที่มาไม่เหมือนกัน

ความเสี่ยงก็คือ การสร้างความไว้วางใจว่ายากแล้ว แต่สร้างใหม่หลังเสียไปยิ่งยากกว่าหลายเท่า (Build trust is hard enough already but re-build it is far more difficult.)

นี่อาจจะเป็นคำตอบให้นักศึกษาแพทย์บางคนที่ถามว่าทำไมอาจารย์ต้องมาจำจี้ จำไชเรื่อง dress code ของพวกผม ของพวกหนูนัก ในเมือหนูมีความรู้ ความสามารถในการเป็นหมอดีอยู่แล้ว จะขอแต่งตัวตามสบายสักหน่อยไม่ได้เหรอ คำตอบก็คือ ได้ครับ แต่ในขอบเขตและบริบทอันควร เพราะการแต่งตัวบางครั้ง (ไม่ทุกครั้ง) เป็นการก่อให้เกิด impression เป็นรากฐานเริ่มแรก เราคงไม่อยากจะสร้างกำแพงขวางความสัมพันธ์ตั้งแต่ยังไม่เริ่มพูดกับคนไข้ เพราะวันนี้เราอยากแต่งตัวแบบเซอร์ โทรมๆ ตามกระแสนิยมกระมัง

สิ่งที่งานของเราทำ ไม่เป็นเพียง growth ของคน แต่เป็น growth ของทั้งปัจเจกและชุมชนไปพร้อมๆกัน เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และการเติบโตไปด้วยกันอย่างชุมชนนั้นก็สำคัญอย่างมาก การที่นักศึกษาได้มีโอกาสอยู่ด้วยกันใน campus และทำงานเป็นกลุ่ม ทำงานเป็นทีมนั้น เป็นโอกาสอันดี ที่เราจะได้เห็นศักยภาพร่วม เมื่อเราได้ร่วมมือกันทำงาน กับเพื่อนเรา กับรุ่นพี่ อาจารย์ พยาบาล นักกายภาพ ฯลฯ

เราจึงจะได้เติบโตเป็น servant leader (doctor) ที่สมศักยภาพที่เรามีอย่างแท้จริง


Posted by : phoenix , Date : 2008-12-07 , Time : 13:44:51 , From IP : 172.29.9.177

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<