ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

แจ้งเรื่องพ่นยากำจัดยุงในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 ตั้งแต่เวลา 17.00 – 19.00 น


   เรื่อง พ่นยากำจัดยุง

งานอาคารสถานที่ฯ คณะแพทยศาสตร์ร่วมกับกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จะทำการพ่นยาฆ่ายุงเพื่อกำจัดยุงลาย ป้องกันการแพร่เชื้อโรคชิคุนกุนยา(Chikungunya) ในวันที่ 11
พฤศจิกายน 2551 ตั้งแต่เวลา 17.00 – 19.00 น ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย 3 จุด ดังนี้
1.บริเวณตึกฟักทอง
2.โรงยิมเนเซี่ยม
3.สระน้ำคณะแพทยศาสตร์ (หน้า 7 ELEVEN)
ศ.นพ.ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล ประธานกรรมการควบคุมการติดเชื้อฯ เปิดเผยว่า เนื่องจากขณะนี้มีการ
ระบาดของโรคชิคุนกุนยา(Chikungunya) ซึ่งเป็นโรคทำให้มีอาการไข้ มีผื่น และปวดข้อมาก โดยเกิด
การระบาดที่อำเภอแว้ง และอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และเริ่มมีผู้ป่วยที่อำเภอสายบุรี อำเภอ
โคกโพธิ์ อำเภอสะบ้าย้าย และมีผู้ป่วย 1 รายเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่แล้ว เนื่อง
จากโรคนี้ติดต่อโดยยุงลายเป็นพาหนะเดียวกับโรคไข้เลือดออก ซึ่งยุงชนิดนี้มีจำนวนมากอยู่ในอำเภอ
หาดใหญ่ อาจจะทำให้เกิดการระบาดในอำเภอหาดใหญ่ได้
จึงขอแนะนำให้ทำการพ่นยาฆ่ายุงและทำการรณรงค์กำจัดยุงลาย โดยเฉพาะช่วงวันลอกกระทงจะมีคน
จำนวนมากเข้ามาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะทำให้มีการแพร่เชื้อได้ แต่ในขณะนี้ยังไม่พบผู้
ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

คำแนะนำการกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะต่างๆ ดังนี้

*จานรองตู้กับข้าว - ใส่เกลือ หรือใส่ผงซักฟอก หรือใส่น้ำส้มสายชู 2 ช้อนชา
*ภาชนะใส่น้ำในห้องน้ำ
- ตุ่มหรือถังเก็บน้ำใช้อาบ - หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะสีดำหรือมืดทึบและปิดฝาภาชนะ
(ถ้าทำได้) หรือใส่ปลาหางนกยูง 2-10 ตัว ขึ้นกับขนาด
ของภาชนะ หากปลาตายก็ให้ใส่ปลาเพิ่ม หรือใส่ทราย
อะเบท 8 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ตุ่ม (200 ลิตร)
- ถังซีเมนต์ตักน้ำราดส้วม - เลิกใช้โดยปล่อยน้ำออกและเอาถังพลาสติกสีขาวรองน้ำ
แทน หรือทำตามแบบที่แนะนำสำหรับตุ่มน้ำ
*ภาชนะใส่น้ำดื่มหรืออาบน้ำ
- ตุ่มหรือถังเก็บน้ำ - ทำตามคำแนะนำเกี่ยวกับตุ่มหรือถังซีเมนต์
- กะละมัง - ใช้เสร็จต้องเทน้ำทิ้งแล้วคว่ำเสีย
*จานรองกระถางต้นไม้ - เลิกใช้ (ถ้าทำได้) หรือใส่ทรายธรรมดาให้มีความลึก
¾ ของจาน
*แจกัน (โดยเฉพาะพลูด่าง) - เลิกใช้ (ถ้าทำได้) หรือเติมทรายอะเบท
*กระถางบัว - เติมปลาหางนกยูง 2-10 ตัว ขึ้นกับขนาดของภาชนะ
*กล่องน้ำทิ้งหลังตู้เย็น - ล้างทำความสะอาดบ่อยๆ หรือใส่ทรายอะเบท
*อื่นๆ (ขวด กระป๋อง ยางรถยนต์ กะลา ถุงพลาสติก ตามบริเวณบ้าน) - เก็บใส่ถุงดำทิ้งเป็นขยะ
ไป หรือฝังกลบ

ศ.นพ.ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล
แพทย์โรคติดเชื้อ รพ.สงขลานครินทร์
-----------------------------------------------------------------------------------
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Posted by : ประชาสัมพันธ์ , Date : 2008-11-11 , Time : 13:25:17 , From IP : 172.29.3.33

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<