ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

เมื่อใจคาดหวัง-สมองก็สั่งการ


    เป็นธรรมเนียมว่าก่อนประกาศรางวัลโนเบลในแต่ละปี เราต้องได้ "ฮา" กันก่อนกับงานวิจัยที่ไม่สามารถทำกันได้ง่ายๆ "อิกโนเบล" (IgNobel Prizes)
การมอบรางวัลประจำปี 2551 นี้ จัดพิธีขึ้นในเช้าวันที่ 3 ต.ค.ตามเวลาเมืองไทย ณ โรงละครแซนเดอร์ ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

@ เมื่อใจคาดหวัง-สมองก็สั่งการ
สำหรับสาขาการแพทย์ในปีนี้ ตกเป็นของแดน อารีลีย์ (Dan Ariely) นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยดุค (Duke University) สหรัฐฯ ที่พบว่า ยาหลอกราคาแพงนั้นให้ผลดีกว่ายาหลอกราคาถูก โดยการทดสอบให้อาสาสมัครทดลองใช้ยาหลอกที่อ้างว่าเป็นยาแก้ปวด โดยยากลุ่มหนึ่งหลอกว่าเป็นยาราคาแพง ส่วนยาอีกกลุ่มหลอกว่าเป็นยาราคาถูก แต่ทั้งหมดได้รับการบำบัดด้วยวิธีนวดไฟฟ้า

"เมื่อคุณคาดหวังว่าบางสิ่งจะเกิดขึ้น สมองคุณก็จะทำให้มันเกิด" อารีลีย์กล่าว

ที่น่าสนใจอีกอันเป็นสาขาเคมี

@ "โค้ก" เครื่องดื่มสังหาร "สเปิร์ม" ได้ เอ๊ะ!...หรือว่าไม่?
เดบอราห์ แอนเดอร์สัน (Deborah Anderson) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University Medical Center) สหรัฐฯ และคณะได้รับรางวัลในสาขาเคมี จากการพิสูจน์ว่าโคคา-โคลา (Coca-Cola) หรือโค้ก (Coke) ฆ่าสเปิร์มหรืออสุจิได้

เธอตีพิมพ์งานวิจัยดังกล่าวในวารสารนิวอิงแลนด์เจอร์นัลออฟเมดิซีน (New England Journal of Medicine) เมื่อปี 2528 โดยรายเตอร์บอกว่า เธอจริงจังกับการศึกษาผลของน้ำอัดลมนี้มาก เพราะเห็นว่าผู้หญิงส่วนหนึ่งใช้เครื่องดื่มนี้ไปในการฉีดล้างร่างกายเพื่อคุมกำเนิด และยังใช้เพื่อป้องกันตัวเองจากไวรัสเอดส์

"เห็นชัดเจนว่ามันไม่เวิร์คที่จะใช้เป็นยาคุมกำเนิดเพราะสเปิร์มว่ายได้เร็วมาก แต่โค้กที่มีน้ำตาลผสมอยู่นั้นฆ่าสเปิร์มได้ ซึ่งเป็นเช่นนี้อาจเพราะเจ้าตัวจิ๋วดูดซึมโค้กไว้ และเครื่องดื่มน้ำดำนี้ก็ยังฆ่าไวรัสเอดส์ได้ด้วย" แอนเดอร์สันสรุป

***รอลุ้นรางวัลโนเบลของจริงเร็ว ๆ นี้ คาดว่าทางการแพทย์ปีนี้เป็นชาวญี่ปุ่น เรื่องเกี่ยวกับ Immune อืม สหัสวรรษนี้ งานด้าน Immune มาแรงจริง ๆ ***

ข้อมูลจาก ผู้จัดการ (อีกแล้ว)


Posted by : Dhan , Date : 2008-10-04 , Time : 00:23:40 , From IP : 172.29.5.111

ความคิดเห็นที่ : 1


   เรื่อง Placebo น่าสนใจครับ ขอเอามา jam

PLACEBO: I Shall Please


Placebo (Latin)
c.1225, name given to the rite of Vespers of the Office of the Dead, so called from the opening of the first antiphon, "I will please the Lord in the land of the living" (Psalm cxiv:9), from L. placebo "I shall please," future indic. of placere "to please" (see please).
Medical sense is first recorded 1785, "a medicine given more to please than to benefit the patient."

Online Etymology Dictionary, © 2001 Douglas Harper


ในสมัยหนึ่ง เราจะบอกว่ายาตัวนี้ได้ผลจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพราะผลทางอ้อม เช่น หมอเป็นคนให้ หรือ ความเชื่อ หรือ ศรัทธา ฯลฯ เราก็จะให้คนไข้ลองกินยาตัวทดลอง และ "ยาหลอก" หรือ placebo โดยที่ไม่บอกคนไข้ว่าจริงๆแล้วเขาได้ยาตัวไหน ผลที่ work ถ้ายาตัวนั้นมีฤทธิ์ต่ออาการนั้นๆจริงๆ ก็จะแสดงออกมาให้เห็นแตกต่างจากยาหลอกอย่างเห็นได้ชัด

ที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าจะมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญ (ทางสถิติ) ระหว่างกลุ่มยาจริง และยาหลอก จะมีคนไข้ในกลุ่มยาหลอกเสมอที่บอกผลว่ายาหลอกก็ work เหมือนกัน เพียงแต่น้อยกว่าเท่านั้น เราก็มักจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า placebo effect

Placebo effect ก็คือ การแสดงผลที่สนใจ ทั้งๆที่ตัวกระตุ้นที่แท้จริงไม่มี แต่เพียงคนไข้ "เชื่อว่ามี" เช่น เชื่อว่าได้ยา เชื่อหมอ เชื่อในชื่อเสียง ของคน ของสถานที่ ของ ฯลฯ ความเชื่อ หรือ ถ้าจากรากศัพท์ latin ของคำนี้ คือ PLEASE เป็น track ของอารมณ์ ของอะไรสักอย่างที่ส่งผลต่อการแปลผลความรู้สึกได้

เรา อาจจะเคยได้ยินเรื่องเล่าประเภททหารก่อนออกศึก เข้ามารับของขลังปลุกเศก จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ บางคนคาดเอว คาดหัว คาดแขน ก่อนไปรบ มีของขลังแล้วก็มีความเชื่อ ความมั่นใจ ความกล้าหาญ เพิ่มมากขึ้น มีทหารอยู่คนหนึ่งหยิบตะกรุดเล็กเข้าปาก อม แล้วก็ไปลงสนามรบ ตอนประจันบาญก็รู้สึกขึ้นมาว่าตะกรุดในปากเต้นเร่าดั่งมีชีวิต ก็รู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ก็บุกตะลุยอย่างไม่กลัวตาย จนข้าศึกถอยร่นไปหมด ใครๆก็เข้ามาชมภายหลังว่ากล้าอะไรหยั่งนี้ ทหารก็ยิ้ม บ้วนตะกรุดเสกออกมาปรากฏว่าเป็นลูกปาดตัวเล็กๆ กระโดดหนีไป

หรือเรื่องประเภทที่ความเชื่อนำเอาพลังแฝงเร้นออกมาได้ เช่น บ้านไฟไหม้คนแบกตุ่มหนี (ทำไมต้องเป็นตุ่มทุกที ทุกเรื่องสิน่า) แบกตู้เย็น แบกทีวีวิ่งตัวปลิว แต่พอเพลิงดับ ยกก็ยกไม่ขึ้น อย่างนี้จะเกี่ยวกับ placebo หรือไม่ก็ไม่ทราบได้

เรื่องเล่าของ placebo ก็มีร้ายๆ เหมือนกัน กาลครั้งหนึ่งในโรงพยาบาล เคยมีคนไข้โรคเรื้อรัง เจ็บปวดอยู่นั่นแล้ว ขอยาๆ ทั้งวัน หมอพยาบาลคิดว่าอ้อนหมอ อ้อนพยาบาล เรียกร้องความสนใจ เพื่อการพิสูจน์ ครั้งต่อไปพอขอยาแก้ปวดฉีด ก้เลยฉีดน้ำกลั่นให้ แต่บอกว่าเป็นยาจริงๆ แก้ปวด ปรากฏว่าคนไข้ก็เลิกขอไป ก็คุยกันลับหลังกันใหญ่ว่า นี่ไงๆ ไม่ได้เจ็บจริงสักกะหน่อย ฉีดน้ำกลั่น (placebo) ก็หาย practice แบบนี้ในปัจจุบันถือว่าเป็น malpractice และผิดจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างร้ายแรง เพราะ ตั้งแต่ 1. โกหกคนไข้ 2. เอาสัจจของวิชาชีพไปเดิมพัน อย่างไม่มีความรับผิดชอบ 3. ละเมิดความไว้วางใจ ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ 4. ไม่มีเจตนาจะรักษา ทั้งๆที่เป็นสัจจาปฏิญาณ

กระนั้น placebo effect ก็ยังไม่ได้สูญหายไปจาก practice จริงๆจังๆ ในทุกๆวงการ เดี๋ยวนี้ในการโฆษณายิ่งชัดเจน ใช้นำหอมยี่ห้อนี้คุณจะเป็นหนุ่มสำอางค์ ใช้มือถือยี่ห้อนี้คุณจะเป็นสาวทรงเสน่ห์ ใช้แชมพูญี่ห้อนี้เหมือนดาราคนนี้ ใครๆก็จะแยกไม่ออกเลยว่าเป็นคุณหรือเป็นดารากันแน่ที่นั่งหน้าเป๋อเหลออยู่ ตรงนี้ แต่คนเรา (หรือลูกค้า) ก็ยินยอมแต่ดดยดีที่จะถูก placebo effect หรือ จะถูก please ให้มี fantasy เล็กๆ สักกระผีกนึง พอดีใจว่าฉันมีหนึ่งอวัยวะที่เหมือนดาราสาว (โดย sacrifice ปัญญาตนเองไปก็ไม่เป็นไร) ในตลาดขายของตอนนี้ สินค้าตัวไหนก็ไม่ได้ประกวดคุณภาพกันสักเท่าไหร่ มองดูดีๆ จะเป็นการขาย placebo กันทั้งนั้น

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขยัน post กันจางงง เลยนะคะ อดไม่ได้แล้ว เลยมา Jam ด้วยสักหน่อย


มันก็ดูตลกดี ที่ โฆษณา ครีมหน้าเด้ง ไม่ยักกะบอกเราว่า รูปก่อนใช้ กับ หลังใช้ นอกจากเป็นเพราะผลิตภัณฑ์ ที่ทำให้เกิดความต่างแล้ว มันมีเรื่องอันเนื่องมาจาก "รอยยิ้ม" ซึ่งก็เห็นอยู่ตำตา ว่า รูปแรก หมอง ออกอย่างนั้น จะไปดูดีได้ยังไง ส่วนรูปหลัง ยิ้มทั้งปากทั้งตา ... ขาวจริงหรือขาวเพราะแสงไม่รู้แต่ ... รูปทั้งรูปนั่นกำลังบอกเราว่า .. "ฉันสวย" ..


ซึ่งถ้าคำโปรยจะบอกเราว่า

"เพียงแค่คุณมีความสุขกับสิ่งที่คุณเป็น ยิ้มให้ทั้งกับโลก คุณก็สวยได้"

บริษัทโฆษณา ก๊อออ ไม่มีงานทำสิคะ




Posted by : Lilith , Date : 2008-10-05 , Time : 23:30:13 , From IP : 61.19.24.122

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<