วิเคราะห์พ.ร.บ.ยา ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหน
วิเคราะห์พ.ร.บ.ยา ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหน
ร่างพรบ.ยาใหม่ คลายความขัดแย้งประชานิยม ประชา(วิ)พิจารณ์ นพ.สวรรค์ กาญจนะ
ขอนำเสนอ
การวิจัยในเกาหลีใต้ ซึ่งจะติดตามดูผลเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเปลี่ยนแปลงระบบการสาธารณสุข
ในการปฏิรูประบบสาธารณสุขระหว่างปี 2000-2002 ในเกาหลีใต้ได้ใช้เวลา 17ปี 1963-1999
เรื่องแนวคิดในการตรวจโดยแพทย์และรับยาโดยแพทย์และรับยาโดยเภสัชกร
ในเกาหลีได้มีกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้จ่ายเงิน โดยประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายไปเบิกกับกองทุนได้คล้ายกับการเคลมประกันภัย
ในเกาหลีได้90% เป็นรพ.เอกชน
เป้าหมายของแนวคิดก่อนปฏิรูป
1. ลดค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุข
ุ *ไม่ประสบผลสำเร็จ ค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขไม่เปลี่ยนแปลง คิดเป็น 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม เนื่องจากมีการจ่ายยาราคาแพงเพิ่มมากขึ้น
2. ลดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม
ุ *ไม่ประสบผล
2.1 ลดการใช้ยาฉีด
- แต่มีการใช้ยาฉีดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการห้ามจ่ายยากินในสถานพยาบาล
2.2 ลดการจ่ายยาลงเหลือ 3-4 ตัวต่อใบสั่งยา
- พบว่ามีการจ่ายยา 5 ตัวต่อใบสั่งยา
2.3 ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
- พบว่าการจ่ายยาปฏิชีวนะไม่ได้เปลี่ยนแปลง เป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของใบสั่งยาทั้งหมด ที่น่าตกใจก็คือมีการใช้ยาฆ่าเชื้อชั้นสูงมากขึ้น เช่น เซฟฟาโลสปอร์รินเพิ่มขึ้น 30% การใช้ยาปฏิชีวนะรุ่นเก่า เช่น เตตราไวคลินลดลง 80%
ุ *ประสบผล โดยมีการใช้ยาปฏิชีวนะลดลงในกลุ่มการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้หวัด
3. ประธานาธิบดี เชื่อว่ามีปัญหาการจ่ายยาโดยไม่เป็นธรรม แพทย์, เภสัชกร จ่ายมากกำไรมาก
ุ *โดยพบว่า พฤติกรรมการจ่ายยาของแพทย์ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากมาตรฐานการรักษาไม่เปลี่ยน และไม่มีข้อมูลด้านเภสัชกร
จากเหตุผลรองรับอันได้แก่
3.1 ดูจากสัดส่วนของการจ่ายยาเทียบกับค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุข คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 31% (เทียบกับ 20% ในประเทศพัฒนาแล้ว)
3.2 ในกลุ่มแพทย์คลินิกรพ.ทั่วไป รพ.ศูนย์ขนาดใหญ่ ภาษีที่ได้คืนมาจากการจ่ายยา คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40-45.4%
3.3 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องจ่ายในการบริหารจัดการในกลุ่มข้าราชการ, ครูใช้ 4.8% ในกลุ่มประกันตนเองใช้สูงถึง 9.5%
4. ประธานาธิบดีเชื่อว่า รายรับแพทย์จากยาถือว่าขาดจริยธรรม
ุ *ในประเทศไทยมีใครคิดอย่างนี้หรือเปล่า Oh my god?
ระบบการจ่ายเงิน (payment system)
เพื่อลดค่าใช้จ่าย กำหนดราคากลางที่เหมะสม โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้
1. เหมาจ่ายสำหรับผู้ป่วยใน เช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง คิดเหมารวม 5,000 บาท ไม่ว่านอนรพ.กี่วัน, ใช้ยามากน้อย
ข้อดี
- ลดการนอนรพ.ลง
- ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อ
- ประสิทธิผลของการรักษาได้มาตรฐาน
- ลดการใช้หัตถการที่ไม่จำเป็น
การจ่ายแบบเหมาจ่ายได้ประโยชน์ หากบังคับใช้ได้จริง
2. จ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับผู้ป่วยนอก โดยสรุปว่า ค่าใช้จ่ายไม่ลด ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมแพทย์อยู่ด้วย
ก่อนการปฎิรูป
ก. ปฏิรูประบบประกัน ระบบในเกาหลีใต้มี
1. ระบบข้าราชการ
2. ระบบลูกจ้างประกันสังคม
3. ระบบการประกันของของผู้ที่ไม่เป็นลูกจ้างใคร
ข. ปฏิรูปกองทุน financial system เงินกองทุนรายรับมาจาก
1. ข้าราชการจ่ายเข้ารัฐเป็นภาษีอากร
2. ลูกจ้างประกันสังคม เก็บเงินเข้ากองทุน เงินมาจาก ลูกจ้างจ่าย นายจ้างจ่าย รัฐจ่าย
3. ผู้ประกันที่ไม่เป็นลูกจ้างใครต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน ตามรายรับ ทรัพย์สิน
หลังการปฏิรูป
ก. ปฏิรูประบบประกัน
1. รวมระบบประกัน 3 ระบบเข้าด้วยกัน
ข. ปฏิรูปกองทุน financial system มีการรวมกองทุนข้าราชการเข้าด้วยกัน
1. ยังคงถุงเงินกองทุน
2. กองทุนประกันสังคม
3. กองทุนผู้ที่ไม่เป็นลูกจ้างใคร
4. เงินของข้าใครอย่าแตะ
ผล ไม่ค่อยมีใครค้าน
การบังคับใช้ระบบการจ่ายยา
ข้อที่รัฐบาลอยากให้เป็น
1. มีระบบใบสั่งยา แพทย์ตรวจ รับใบสั่งยา ไปรับยานอกสถานพยาบาล ที่ร้านขายยาที่มีเภสัชกรทั้งรพ.รัฐ, คลินิก, โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นผู้ป่วยนอกทั้งหมด ยกเว้นผู้ป่วยใน
- ผลที่เกิดขึ้นจริง คือ ระบบเกิดขึ้นจริง รพ.เอกชน, รพ.รัฐ, คลินิก ก็เดือดร้อน เป็นหวัด มาตรวจ รับใบสั่งยา ออกไปซื้อยานอกสถานพยาบาล ลองคิดดูถ้าเป็นคุณยายอายุ 80 จะทำอย่างไร?
- ผลกระทบ ได้แก่ บริษัทยาในประเทศ จะมีส่วนแบ่งการตลาดลดลง และบางบริษัทอาจต้องออกจากตลาด, ร้านยา ไม่มีข้อมูล, บริษัทยาข้ามชาติ ได้ประโยชน์มากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของการสั่งยาในชื่อการค้า
2. ห้ามมียากิน ยาฉีด ไว้ในสถานพยาบาล
- ผลที่เกิดขึ้นจริง คือ ต่อรองมียาฉีดในสถานพยาบาล โชคดีของคนเกาหลีใต้ ถ้าไม่มียาฉุกเฉินประจำร้านจะทำอย่างไร
3. ควรสั่งยาตามชื่อสามัญ ไม่ควรสั่งตามชื่อการค้า
- ผลที่เกิดขึ้นจริง คือ ต่อรอง โดยแพทย์สั่งยาตามชื่อการค้าได้
4. มีการแยกประเภทยาที่ 1.ต้องมีใบสั่งแพทย์ 2.ยาสามัญ
- ผลที่เกิดขึ้นจริง คือ แพทยืจะสั่งยาที่เป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์มากขึ้น ยาสามัญลดลง
ก่อนปฏิรูป
1. ประชาชนสะดวก เพราะเข้าถึงยาได้ง่าย
2. ไม่สนใจ ไม่เข้าใจระบบ ผลที่จะเกิด
3. สนใจว่า สะดวกไม่สะดวกใจว่าค่าจ้าง รายรับ เท่าไร
4. สนใจว่าใครจ่ายเงินให้. ในเกาหลีใต้ กองทุนประกันสุขภาพเป็นผู้จ่าย ใช้ระบบคล้ายการ เคลมประกัน ครอบคลุมประมาณ 50% ของระบบประกัน
ในประเทศไทย ลองคิดดู ประชาชนที่ไปคลินิกจ่ายเองล้วนๆ
5. เภสัชกรมีสิทธิ์ในการสั่งยา มีความสุข
6. แพทย์
หลังปฏิรูป ความจริงในเกาหลีใต้
1. ลำบากมากขึ้น ไม่มีทางเลือก
2. ค่าค่าใช้จ่ายมากขึ้นจาก ค่าธรรมเนียมแพทย์ เพิ่ม 44% ในเวลา 1 ปี ค่ายา, ค่าเดินทาง
3. ค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น
กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ รายรับเงินได้มาจาก
- ประกันสังคม นายจ้างจ่าย รัฐจ่าย ลูกจ้างจ่าย
- ข้าราชการจ่ายภาษี
- ผู้ที่ไม่เป็นลูกจ้างใครจ่ายเงินให้รัฐบาลของไทย คนมีกะตังค์ไม่จ่ายให้รัฐสักบาท เบียดภาษีรัฐ เบียดภาษีคนจน วันหนึ่งเงินหมด ทุกคนจะต้องถูกบังคับให้ประกันสุขภาพ เป็นไปได้ไหม ใครเป็นเจ้าของบริษัทประกันก็รวยไป
4. ประชาชนที่ยากจนไม่สามารถเข้าสู่ระบบรพ.เอกชนได้
5. ไม่มีข้อมูลมาแสดง รัฐบาลมีการจูงใจให้ผลประโยชน์ สำหรับการจ่ายยาชื่อสามัญแทนยาที่เป็นชื่อการค้า
6. พบว่า
- กพ.2000 มีการประท้วงคัดค้าน 4หมื่นคน หยุดงาน 3 ครั้ง 4-6 เมษา, 20-26 มิย, 11-17 กย.
- มีการเพิ่มขึ้นของประมาณและการรักษาที่ไม่ได้ควบคุมค่าธรรมเนียม
- เนื่องจากค่าธรรมเนียมไม่เท่ากันในแต่ละศูนย์ ทำให้มีการบริการที่มีกำไรเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการผ่าตัดทำคลอดทางช่องคลอดเพิ่มขึ้น
- ค่าธรรมเนียมแพทย์ของการปรึกษาอย่างเดียว กับรายจ่าย ใบสั่งยาต่างกัน ทำให้แพทย์จ่ายยาเกือบทุกกรณีที่ผู้ป่วยมาหา ในที่สุด รัฐบาลแก้ลำด้วยการคิดอัตราเดียวกันในการปรึกษาอย่างเดียว หรือมีใบสั่งยา
ความจริงในเกาหลีใต้
1. มีการต่อต้านในเวลาต่อมา
2. ประเมิน 3 ปี 2000-2002 ประชาชนไม่สามารถรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เป็นรูปธรรม
3. ปัจจุบันกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติรับภาระทางการเงินหนักมากขึ้น ของไทย 30 บาท ใช้เงินไปแสนกว่าล้าน รายรับกับรายจ่ายไม่สมดุล ลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น
4. การเคลมประกันจากแพทย์คลินิก ก่อนปฏิรูป 94.8% หลังปฏิรูปลดเล็กน้อย 10%
บทสรุป การเปลี่ยนแปลงไม่ได้มาจาก การมองดูปัญหาที่แท้จริง การยึดถือตามหลักทฤษฎีที่มากเกินไป การเปลี่ยนแปลงที่มากมาย ไม่ได้มีการเตรียมการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ในระยะยาว ตรงกันข้าม ความรู้สึกได้ของการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ความไม่สะดวกที่สัมผัสได้ ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนในภายหลัง จนในที่สุดประธานาธิบดีออกมายอมรับความผิดพลาดในนโยบายเรื่องนี้ แต่ในขณะเดียวกันนโยบายนี้ก็ยังคงอยู่ในเกาหลีใต้จนถึงปัจจุบัน เจอปัญหาเรื่องรังทางการเมืองที่ไม่จบสิ้นที่ยังไม่มีทางออก
Reference
1. Chung Yongho "Trend in National Healthcare Expenditure in Korea" Korea Social Security Review17:1-33.2001.
2. Chou,Y.and W.Yip "Impact of Separating Drug Prescribing and Duspensing on Provider Behavior:Taiwan Experience" mimeo,Havard School of Public Health.2001.
3. Korean Association Of Pharmaceutical Manufacture. Pharmaceutical industry Statistic, 1998eoul KWon6. Reich, Michael, "The Politics of Health Sector Reform in Developing Countries" Three cases of Pharmaceutical Policy Health Policy32 : 1995.ฯลฯ
ซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับสังคมไทยในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ในญี่ปุ่น ใช้ระบบความสมัครใจ. ให้แพทย์และเภสัชกรอยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจ voluntary prescription system ร้านยาเภสัชชุมชนที่เข้าโครงข่าย จะจ่ายยาตามใบสั่งยา ซึ่งแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการส่งมาให้ 20%นะที่เข้าร่วม การแพทย์ก็เจริญก้าวหน้าดี เราตามหลังญี่ปุ่น 10 ปี
ไต้หวัน แพทย์สามารถจ้างเภสัชกรมาอยู่ที่คลินิกได้ การเปลี่ยนแปลงราบรื่นกว่าจริงไหม แนวคิดตะวันตก การเปลี่ยนแปลงเกิดจาก
1. ซึ่งการขับเคลื่อนเกิดจาก งบประมาณเชิงบังคับ (fiscal imperative)
2. การปรับปรุงสวัสดิการ (welfare state reconstructing)
ข้อสงสัย ข้อสังเกต-ข้อเท็จจริง
1. มีการบังคับใช้เฉพาะในคลินิก ไม่บังคับใช้ในรพ.รัฐ รพ.เอกชน ทำไมคนละมาตรฐาน?
2. การบังคับใช้ จะบังคับใช้ในพื้นที่พร้อมก่อน เป็น double standard ไหม? ถ้าทำพื้นที่ให้พร้อมก่อนการประกาศจะดีกว่าไหม?
3. มีการแบ่งยาเป็น 3 ประเภท ก.ยาสามัญประจำบ้าน ข.ยาที่มีขายเฉพาะในร้านขายยาที่มีเภสัชกร ค.ยาที่จ่ายโดยใบสั่งแพทย์
ควรบอกให้ชัด ยาแต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไร?
ข้อสังเกต
ถ้ากำหนดยากลุ่มที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ เช่น 300 ตัว เท่ากับว่า เภสัชกรสามารถที่จะจ่ายยาได้สะดวก, มีหรือไม่มีใบสั่งแพทย์ก็ได้
ถ้ากำหนดยาส่วนใหญ่เป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ เช่น 300 ตัว ประชาชนทุกคนต้องพบแพทย์รับใบสั่งยา
เท่ากับเภสัชกรไม่สามารถจ่ายยาได้สะดวก ถามว่าแพทย์ เภสัชกร อยากได้ระบบแบบนั้นจริงหรือ? ประชาชนอยากได้ระบบนั้นจริงหรือ?
4. ประโยชน์ของการแบ่งหน้าที่ มีความคิดของบางท่านที่เห็นว่าเป็นการเช็คซ้ำ มีการตรวจสอบและถ่วงดุลเป็นความคิดที่ดี แต่ควรจะมีขอบเขต เนื่องด้วยแพทย์มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพควบคุมการปฏิบัติอยู่แล้ว มีแพทยสภาควบคุมกำกับ
ในความเป็นจริงการแพทย์ก็ไม่มีการหยุดนิ่ง การรักษาโรคอาจมีความหลากหลาย มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การรักษาโรคเดียวกันอาจแตกต่างกัน จึงเป็นการยากที่เภสัชกรทุกท่านจะทราบได้ในทุกกรณี ว่าแพทย์สั่งยาตัวนี้ด้วยเหตุผลอะไร? เช่นเดียวกับเภสัชซึ่งมีจรรยาบรรณและมีเภสัชสภาคอยควบคุมอยู่แล้ว หากมีใครมาเช็คการทำงานซับซ้อน คงไม่น่ายินดีนัก
5. ไม่มีคำว่าจ่ายยาในร่างพรบ.นี้ มีแต่คำว่าขายยา ผู้ที่ขายยาได้คือเภสัชกรเท่านั้น ห้ามแบ่ง ยาออก บรรจุยาถือว่าเป็นการผลิต ผู้ที่ทำได้คือเภสัชกรเท่านั้น คิดง่ายๆไม่ได้ห้ามจ่าย แต่ห้ามแบ่งขาย เท่ากับห้ามจริงไหม?
ข้อเท็จจริง
การจ่ายยาเพื่อบำบัดโรคตามพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 เป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ประพฤติถือปฏิบัติกันมา
คำว่าจ่ายยาโดยการควบคุมของแพทย์ : ซึ่งในปัจจุบันยังถือว่ารับผิดชอบแทน เจ้าหน้าที่อนามัยที่ดูแลผู้ป่วยในชนบท ควรใส่ประโยคนี้ในร่างพรบ.ยาด้วย การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ไม่ควรตัดสิทธิเดิมของประชาชน
6. กฎหมายที่ว่าด้วยการลงโทษถ้าแพทย์จ่ายยา จำคุก 5 ปี และปรับ แรงไหม? ความผิดทางอาญาจะลงโทษเมื่อถือว่าทำผิดด้วยเจตนา การรักษาผู้ป่วยเป็นเมตตาธรรม การที่จะรับแนวคิดตะวันตกมาจ้องที่จะจับผิดเช่นปัจจุบันเหมาะสมกับสังคมไทยหรือเปล่า? ความผิดเท่ากับกรรโชกทรัพย์ด้วยอาวุธปืน
7. กฎหมายที่ดีไม่ควรต้องตีความได้หลายอย่าง เท่าที่ทราบพูดยังไม่ตรงกัน รูปแบบที่นำมาใช้ที่เป็นรูปธรรม
8. ยาสามัญสามารถวางขายทั่วไป จะมีการเพิ่มจำนวนยา เช่น โวลทาเรน ยาแก้ปวดแก้อักเสบ บอกให้ประชาชนทราบด้วย มีผลข้างเคียงมากมาย ตาสีตาสารู้แต่ข้อใช้ ไม่รู้ข้อห้ามใช้ อันตรายหรือเปล่า คุ้มครองผู้บริโภคจริงหรือเปล่า? โปร่งใสหรือเปล่า? ใครได้ประโยชน์?
9. ต้องตั้งสมมติฐานในการไว้วางใจกันระหว่างวิชาชีพ ไม่ใช่จับผิดระหว่างวิชาชีพ?
10. ปัจจุบันเภสัชกรส่วนใหญ่คิดเหมือนผู้ยกร่างหรือเปล่า?
11. ปัจจุบันมีอีกหลายวิชาชีพที่ทำหน้าที่ของเภสัชกร คิดว่าควรทำอย่างไร? แก้ปัญหาอย่างไร?
12. มีอีกหลายวิชาชีพที่ทำงานของแพทย์ ในปัจจุบันก็ไม่เคยมีใครไปกีดกัน การแพทย์องค์รวมไม่ควรจะผูกขาด
13. มีทางออกให้แพทย์บ้างไหม มีทางเลือกให้ประชาชนไหม?
ข้อเสนอ
แพทย์ยังคงจ่ายยาที่คลินิกได้เอง แต่ต้องเป็นยาที่ขึ้นทะเบียนกับอย.แล้ว และในพื้นที่ที่มีสถานที่ขายยาพอเพียงต่อการให้การบริการประชาชนในพื้นที่นั้น ยาบางชนิดอาจกำหนดให้จ่ายโดยใบสั่งแพทย์ ยาบางชนิดหมายถึง เช่น กลุ่มที่มีโอกาสใช้ผิดๆ เช่น ยานอนหลับ ยาสเตียรอยด์ ยาโคเดอีนแก้ไอ ยาลดความอ้วน ยาอนุพันธ์ของสารเสพติด ก็สามารถออกกฎกระทรวงอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่มาควบคุมได้เช่นปัจจุบัน ในทางกลับกันให้ควบคุมที่แพทย์ทำระบบใบสั่งยาให้ดี จะได้ไหม?
14. เกาหลีใช้เวลา 17 ปี ปัจจุบันเราตามหลังเกาหลีอยู่ 5 ปี 17+5=22ปี ไทยเริ่มปี 2537+22=2559 รอได้ไหม? เกาหลีใต้ล้มเหลวเราจะตามแบบเขาอีกหรือเปล่า?
15. ไทย ร่างพรบ.เดิมปี 2510 แนวคิดเรื่องระบบการจ่ายยา เริ่มปี 2537 เริ่มมาพิจารณาจริงจัง 2541 ร่างที่ฝ่ายเลขานุการปรับปรุงตามมติที่ประชุมเพื่อพิจารณาในวาระที่ 3 วันที่ 1 มี.ค. 2544
ข้อเท็จจริง
ร่างเดิมไม่มีปัญหา แต่มาเพิ่ม14(3) ที่เป็นปัญหา ทำให้เกิดความขัดแย้ง ในขณะนี้ผลกระทบทางสังคม ย่อมต้องมองให้กว้าง ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย การเปลี่ยนแปลงที่ยึดถือทฤษฎีเป็นหลักขาดการยืดหยุ่น ย่อมประสบผลสำเร็จได้ยาก ในเกาหลีแพทย์มีการประท้วงหยุดงาน คนเดือดร้อนคือประชาชน โดยเฉพาะคนจนที่ไม่มีทางเลือก
คนออกกฎหมายคงไม่เดือดร้อนเท่าประชาชน แต่ถ้าผู้เกี่ยวข้องมองไม่เห็นปัญหา ไม่ยอมรับว่ามีปัญหา ทางออกของแพทย์บางส่วนที่มีความรู้สึกว่าถูกบีบคั้น ถูกไล่เบี้ย ก็ออกมาในแนวทางของการลาออก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าระยะเวลาที่ผ่านมาความสุกงอมของปัญหาเกือบถึงทางตันแล้ว
หลายครั้งที่ผู้แสดงความเห็น จะถูกมองว่ารักษาผลประโยชน์ของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี หากว่าผู้เปลี่ยนแปลงมีความจริงใจเพื่อส่วนรวม หากไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
หากปัญหานี้มีความสำคัญ ขอเสนอให้มีการประชาพิจารณ์ว่าประชาชนนิยมร่างพรบ.ฉบับนี้หรือไม่ บอกข้อดีข้อเสีย อธิบายให้ประชาชนฟังว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากร่างพรบ.นี้ หรือจะเสนอเป็นนโยบายในการเลือกตั้งให้ประชาชนได้ตัดสินใจ
ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้เปรียบเสมือนการรอคอยช่วงจังหวะเวลา ที่จะเก็บเกี่ยวแบ่งปันของกลุ่มผลประโยชน์ มากกว่าความจริงใจที่จะแก้ปัญหารากหญ้าที่แท้จริง
แต่ในสังคมไทยที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน หลายครั้งเราจะเห็นการรวมตัวที่ไม่ได้นัดหมาย เมื่อมีความไม่ยุติธรรมเผด็จการเกิดขึ้นในสังคม เราคงไม่อยากเห็นการประท้วงของแพทย์ที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ เราคงไม่อยากเห็นสหวิชาแพทย์ เภสัชกร มีความขัดแย้งกัน
กฎหมายที่ดีควรตอบสนองต่อความเป็นไปของสังคมตามจารีตวัฒนธรรม ขอให้แพทย์ เภสัชกร มีความสามัคคีกัน อดทนโดยยึดหาแนวทางออกที่เหมาะสม โดยยึดแนวพระราชดำรัส สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาแห่งวงการแพทย์ไทย
"ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นหมอเท่านั้น แต่ฉันต้องการให้เธอเป็นคนด้วย
ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง.."
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้ร้ายใคร เสียดสีใคร เพียงแต่ต้องการรวบรวมความคิด จากประชาชน แพทย์ เภสัชกร บทความ ประสบการณ์ การมองปัญหาที่บางครั้งคนที่อยากพูดแต่ไม่กล้าพูด
หากบทความนี้จะมีประโยชน์ทำให้ความเปลี่ยนที่ดีเกิดขึ้นต่อทุกฝ่าย ขอมอบความดีนี้ให้กับประชาชน
ขอให้เพื่อนแพทย์จงอดทน บอกความจริงให้ประชาชนทราบ ไม่หยุดงานประท้วง ไม่ลาออก อยู่เคียงข้างประชาชน
Posted by : OOZING-uud , Date : 2003-10-28 , Time : 12:18:06 , From IP : proxy6.psu.ac.th
|