ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

ถ้ามีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพใกล้เคียง หรือ เทียบเท่า "สงขลานครินทร์" อยู่ในบริเวณนี้ คุณยังจะเลือก "สงขลานครินทร์" หรือไม่?


   ข้อสงสัยนี้เริ่มจากบทความชิ้นหนึ่งในกรุงเทพธุรกิจ “โจเซฟ เอ. มิเชลลิ” นักเล่าเรื่องคอกาแฟ

เขาวิจารณ์ องค์กรที่ชื่อ "Starbucks"

"ที่ผ่านมามีบริษัทชั้นนำมากมายต่างเข้าแถวขอให้มิเชลลิไปวินิจฉัย และสร้างประสบการณ์เรียนรู้อันน่าตื่นเต้นเหล่านี้บ้าง สิ่งที่เขาให้กติกาไว้ก็คือ

1. ต้องอยู่ในธุรกิจบริการที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั้งกับลูกค้าและพนักงาน ผู้บริหารมีแรงบันดาลใจอย่างไรที่จะส่งเสริมพนักงานให้อยากทำงานแล้วส่งมอบประสบการณ์นั้นให้กับลูกค้าหน้าเคาน์เตอร์อีกทอดหนึ่ง

และ 2. เป็นองค์กรที่ใส่ใจกับสังคม ไม่ละเลยแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ"

หลังจากซดกาแฟข้างหน้าผมแล้ว ก็เกิดข้อสงสัยในองค์กรของเรา
ขออนุญาตผ่านประเด็นที่ว่า ใครเลือกใคร ไปก่อน
เอาแค่ว่า ณ เวลานี้ สมมติว่า เราไม่ได้เป็น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย แห่งเดียวในภาคใต้ (จริง ๆ แล้วก็คงไม่ได้เป็น หรือ กำลังจะ ไม่ได้เป็น) คำตอบในใจเรายังจะเป็น สงขลานครินทร์หรือไม่

หลายคนอาจแย้งว่า นี่ไม่ใช่องค์กรธุรกิจ จะเอาแนวความคิดหรือข้อสงสัยเหล่านั้นมาเทียบกับ โรงพยาบาลเราไม่ได้ แต่ถ้ามองไปถึงวิธีการประชาสัมพันธ์ แนวความคิดเรื่องกำไรขาดทุน หรือการบริหารจัดการต่าง ๆ ผมว่ามันก็แยกกันไม่ออก

เพราะฉะนั้น

- ถ้าคุณเป็นคนไข้ แล้วบังเอิญ มีโรงพยาบาลระดับ tertiary care มาตั้งอยู่ตรงกันข้าม คุณยังจะเลือกเดินเข้ามาสงขลานครินทร์ หรือไม่

- ถ้าคุณเป็น นักเรียนแพทย์ แล้วบังเอิญ มี คณะแพทย์อื่น อยู่ในภูมิภาคนี้ หรือ คุณมีโอกาสเลือกอย่างอิสระที่จะไปเรียนคณะแพทย์ที่ใหนก็ได้ คุณยังจะเป็น นศพ. ของสงขลานครินทร์หรือไม่

- ถ้าคุณเป็น resident แล้วคุณมีโอกาสเลือกอีกครั้ง แล้วสมมุติว่า มีโรงพยาบาลที่ training ได้ อยู่ฝั่งตรงข้าม คุณยังจะเลือก training กับสงขลานครินทร์ หรือ ไม่

- ถ้าคุณเป็น พนักงานในองค์กร แล้วมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่าเทียมกัน ให้ค่าตอบแทนเท่าเทียมกัน อยู่ในสงขลา คุณจะยังเลือกอยู่กับสงขลานครินทร์ หรือไม่

ที่ผมสงสัยและอยากถามคนเหล่านี้ เพราะคิดว่าเสียงสะท้อนจากคนในองค์กร หรือ คนในชุมชนน่าจะมีคุณค่าควรแก่การรับฟังเทียบเท่า หรือ มากกว่า เสียงที่มาจากภายนอก ที่เป็นใครที่ใหนก็ไม่รู้ บังเอิญตั้งเกณฑ์ประเมิณแล้วสร้างเป็นแบรด์มาขาย แล้วบังเอิญมันดัง เราก็เลยชอบ แล้วก็ชื่นชม เสียงของกลุ่มคนที่ผ่านมาเพียงผิวเผินวันสองวัน แล้วบอกว่าเรา "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน"
(ไม่ได้ปฎิเสธเสียงภายนอกนะครับแค่อยากฟังเสียงภายในดูบ้าง)


Posted by : Dhan , Date : 2008-09-21 , Time : 07:49:12 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 1


   หลายคนอาจหนาว ๆ ร้อน ๆ ว่าเอาอะไรมาวางไว้ในกระดานอีกแล้ว
reply ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา คงมีทั้ง ที่ Positive และ Negative
อยากบอกว่าอย่าตกใจ แค่เปิดใจ

ผมเชื่อว่าหลายคนไม่เห็นคุณค่าของความคิดเห็นในกระดานข่าว
ไม่ได้บอกให้เชื่อหรือให้ความสำคัญ แค่อยากให้ รับฟัง

ในขณะเดียวกัน สำหรับคนที่คิดจะ reply ถึงแม้เราจะรู้ว่า เขาสามารถรู้ identity ของผู้ reply แต่นี่เป็นเสรี อยากให้ สะท้อนทั้งบวกและลบอาจปราศจากความกังวล

นับถือ


Posted by : Dhan , Date : 2008-09-21 , Time : 07:57:03 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 2


   +_-"

Posted by : cosmo , Date : 2008-09-21 , Time : 09:53:48 , From IP : 32.096.dsl.brs.iprim

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้ามีสิ่งที่ดีกว่า และเราสามารถเลือกได้ ทุกคนย่อมเลือกสิ่งที่ดีกว่าอยู่แล้ว

Posted by : ลูกปัด , Date : 2008-09-21 , Time : 09:59:15 , From IP : 172.29.9.170

ความคิดเห็นที่ : 4


   ถ้าศักยภาพเท่ากัน ที่เหลือคงต้องวัด "ใจ" กันละครับ

- ใครให้บริการด้วยใจดีกว่า service mind ดีกว่า
- ใครให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยมากกว่า
- ใครให้ความมั่นใจกับทีมงานมากกว่า
- สถานที่ใครดึงดูดใจ และเข้าไปใช้บริการแล้วสบายใจ รู้สึกเป็นมิตร มากกว่า


Posted by : superman , Date : 2008-09-21 , Time : 10:03:50 , From IP : 203.170.234.12

ความคิดเห็นที่ : 5


   ถ้าเป็นผม ผมคงต้องหาข้อมูล เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และอื่นๆอีกมาก
เอาเป็นว่า ทุกอย่างเท่ากัน
1. ถ้าเป็นนักเรียนแพทย์ ผมคงเลือกอะไรก็ได้ เพราะมันเหมือนกัน และผมไม่ได้รู้สึกไม่ดีกับการเรียนที่สถาบันแห่งนี้ สถาบันแห่งใหม่ผมก็คงรู้สึกเหมือนๆกัน อะไรก็ได้
2. จะ training ก็คงต้องเลือกสถาบันที่มีชื่อเสียง กับระบบที่ทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข แต่ละที่ก็มีข้อดีข้อเสียนั่นแหละครับ ผมก็คงเลือกเรียนที่ไหนก็ได้ เพราะสาเหตุหลักที่ผม training ที่นี่ คือ ใกล้บ้านดี
3. ในฐานะคนที่ทำงานในองค์กร ถ้าเลือกได้ ผมก็เลือกที่ที่รับผมเข้าทำงานน่ะแหละครับ ที่ไหนก็ได้ เพราะ ผมคิดว่า ผมน่าจะปรับตัวเข้ากับระบบได้พอสมควร
4. ในฐานะคนไข้ ผมก็คงเลือกสถาบันที่ผมเป็น นศพ. หรือ training อยู่ หรือเป็นคนที่ทำงานในสถาบันนั้นแหละครับ
...


Posted by : Botsumu , Date : 2008-09-21 , Time : 17:45:09 , From IP : 172.29.9.62

ความคิดเห็นที่ : 6


   ทราบมาว่า Starbucks เป็นบริษัทแรกๆของโลกที่ประสบความสำเร็จในการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตกาแฟ ปัจจุบันมีสาขาใน 110 ประเทศทั่วโลก ที่มีมาตรฐานเดียวกัน โดยเน้นเรื่องรสชาติ และ ความสะอาด

Starbucks ทำเงินได้มากที่สุด และ มีราคาต่อกรัมของกาแฟที่แพงที่สุดเช่นกัน

CEO เค้าบอกว่า "ถ้าเราไม่ตั้งราคาให้แพงกว่าร้านอื่น ผู้บริโภคก็จะไม่รู้ว่ากาแฟของเราพิเศษจริงๆ"

Starbucks ยังเป็นองค์กรธุรกิจที่สามารถแสดงให้เห็นว่า สภาวะ win-win ใช้ได้จริงในเชิงธุรกิจที่ส่วนมากจ้องจะเอาเปรียบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ลูกจ้างของ Startbucks ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวสวนกาแฟในโลกที่สาม ก็ได้ค่าแรงมากกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทกาแฟข้ามชาติรายอื่น โดย CEO อีกนั่นแหละ เค้าบอกว่า "ชาวสวนของเราจะสามารถผลิตกาแฟที่มีคุณภาพได้อย่างไร ถ้าหากว่าเขายังกังวลว่าครอบครัวของเขามีเงินไม่พอใช้"

นอกจากนี้ Starbucks ยังแสดงความมีส่วนร่วมต่อสิ่งแวดล้อมโดยการนำเสนอกาแฟปลอดสารพิษ เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีขึ้น กลับไปใช้วิธีปลูกกาแฟเลียนแบบธรรมชาติกล่าวคือให้อยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ ทำให้โลกมีพื้นที่ปลูกป่ามากขึ้น ได้กาแฟที่รสดีขึ้นอีก แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลง และแน่นอน ราคากาแฟชงต่อแก้วก็แพงขึ้น ผลก็คือ กาแฟขายดีขึ้นเพราะปัจจุบันผู้บริโภคตระหนักดีว่า การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใดๆ จากที่มีให้เลือกมากมายนั้นเท่ากับเป็นการสนับสนุนที่มาของผลิตภัณฑ์นั้นๆด้วย

โลกที่เค้าว่ากันว่าเจริญแล้ว ก็คิดกันแบบนี้ แต่สำหรับคนไทยอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันอยู่บ้าง เห็นได้จากประชาธิปไตยแบบไทยๆที่ยังหาข้อยุติไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้น จะตอบคำถามของ พี่ Dhan ต้องเอาพื้นฐานของคนไทยมาพิจารณาร่วมด้วย เมื่อมีผลการประเมินอยู่ในมือ ก่อนที่จะดีใจหรือไม่ดีใจอย่างไร ก็ควรรู้จักพื้นฐานของผู้ประเมินกันก่อนว่าเค้าลึกฃึ้งกับข้อถามแค่ไหน ^_^


Posted by : cosmo , Date : 2008-09-21 , Time : 21:29:08 , From IP : 201.157.dsl.brs.ipri

ความคิดเห็นที่ : 7


   ความต่างบางประการของ business model กับ รพ.เรา

A: Starbuck ถ้าใช้ balanced scorecard ตัว F (financial incentive) จะอยู่บนสุด เป็น Top priority แต่ของเราจะใช้ modified balanced scorecard for non-profit organization ซึ่ง C (customer) จะเป็น Top priority

ฺB: สมการของพฤติกรรมของ Starbuck จะค่อนข้างชัดเจน เป็น linear หรือ multiple linear equations แต่ outcome ของงานสุขภาพ เป็นเรื่องของพฤติกรรม ความสัมพันธ์ และศักยภาพ ของทั้งปัจเจกและของสังคม เป็น n-dimension matrix relationship

สองประการนี้อาจจะนำมาพิจารณาประกอบในการตอบคำถามเริ่มแรกของกระทู้ครับ


Posted by : phoenix , Date : 2008-09-21 , Time : 23:29:22 , From IP : 172.29.9.243

ความคิดเห็นที่ : 8


   ใช่แล้วครับ
ผมกำลังชวนพูดถึง "Brand royalty"

ในแง่ของผู้รับบริการ ถ้ามีบริการคุณภาพเท่าเทียมกัน ราคาพอกับ คุณจะเลือกอันใหน ผมว่าส่วนใหญ่ก็คงจงรักภักดีกับ brand เดิม โรงพยาบาลที่เราเกิด โรงพยาบาลที่เราพาพ่อแม่พี่น้องมารักษา โรงพยาบาลที่เดินเข้าออกมาตั้งแต่เด็ก ๆ ก็คงมีความรักความผูกพันและเลือกที่จะเดินกลับเข้ามา อันนี้เห็นได้ชัดในคนเฒ่าคนแก่ หรือคนมีอายุหน่อย พอเป็นวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน อันนี้ชักไม่แน่ใจ หากเกิดความต่างขึ้นมาเพียงเล็กน้อยคิดว่าคนกลุ่มนี้พร้อมที่จะเลือกที่ใหม่ทันที โดยเฉพาะถ้ามีกำลังจ่าย

บางท่านอาจจะคิดว่าเท่าที่มีจำนวนผู้รับบริการขนาดนี้ก็แย่อยู่แล้วเพราะฉะนั้นถ้ามีส่วนหนึ่งระบายไปที่อื่นบ้างก็น่าจะดี การบริการก็น่าจะดีขึ้น แต่ผมกำลังพูดถึงการเจริญเติบโตขององค์กร ที่ต้องพร้อมรับมือจำนวนที่มากขึ้น ในมาตรฐานที่เท่าเดิม หรือ ดีกว่าเดิม เพราะจะมากจะน้อย โรงพยาบาลแห่งนี้ก็อยู่ได้ด้วยคนไข้ ทั้งในแง่ Material สำหรับการเรียนการสอน การทำวิจัย และในแง่ กำไรขาดทุน (ตอนนี้อาจจะยังไม่ชัด เอาไว้มีความแน่ชัดเมื่อไหร่ว่าตกลงเราจะออกนอกระบบหรือไม่คงจะชัดขึ้นว่าเราต้อง concern เรื่องนี้ด้วย แต่ถ้ารอให้ถึงวันที่มีการตัดสินชัด ๆ ว่าเราจะออกนอกระบบหรือไม่แล้วค่อยคิด การวางแผนรับมือคงไม่ทัน เพราะตอนนั้น cost ในการรับบริการน่าจะขยับไปใกล้ โรงพยาบาลเอกชน เดาเอาก็ได้ว่า ผู้รับบริการหรือลูกค้าจะเลือกที่ใหน แล้วเราจะอยู่ได้มั๊ย )

ในแง่การเรียนการสอน อันนี้ชักไม่แน่ใจว่าพอจะมี brand royalty อยู่หรือไม่ เพราะสำหรับการ training resident นักเรียนแพทย์ที่จบจากเราส่วนหนึ่ง (น่าจะมากด้วย ไม่มีตัวเลข ใครมีโชว์หน่อย) เลือกที่จะไป train ในสถาบันอื่น ไม่รู้สาเหตุเหมือนกัน อาจเป็นเพราะเราไม่สามารถรองรับได้ หรือ เขาเลือกที่จะไป

ในแง่ของพนักงาน (ตั้งแต่พนักงานบริการไปจนถึงอาจารย์) อันนี้ยิ่งเป็นปัญหาโลกแตก ที่ขบคิดไม่ค่อยออกว่าทำไม จึงยังคงมีการลาออก โอนย้าย
สร้างมาเติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม บางคนเข้ามาไม่ถึงเดือนก็เลือกที่จะออกไป ทั้ง ๆ ที่ เกิดและโตที่นี่ หลายคนคงมีเหตุผลหลายอย่าง ต่างกันไป แต่ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นส่วนใหญ่ด้วยผมว่า เหตุผลคือ หรือ หมดใจ หรือ ไม่มีใจ
(อันนี้ขออนุญาตเป็นการบ้านของ HR ครับว่าทำไม เพราะถ้า HR ไม่รับผิดชอบ แต่มาโยนให้แต่ละภาค แต่ละหน่วยงาน หาและ แก้กันเอง ก็จะเป็นอย่างที่เห็นอยู่)

พล่ามมายืดยาว จริง ๆ แล้วจะชวนมาเสนอ Idea สร้าง Brand royalty ในความเป็น "สงขลานครินทร์" ให้เป็น โรงพยาบาลของเรา โรงพยาบาลของคนใต้ คณะแพทย์ของภาคใต้ เอาแบบที่คนรู้สึกจริง ๆ นะครับ ไม่เอาแบบ ประชาสัมพันธ์ (ถึงแม้ว่าส่วนหนึ่งคงต้องพึ่งการประชาสัมพันธ์)

P.S. รบกวน อาจารย์นกไฟ อธิบายเรื่อง balanced scorecard สั้น ๆ เข้าใจง่าย ๆ เป็นภาษาในชีวิตประจำวันให้พวกรู้น้อยอย่างผมฟังหน่อยได้มั๊ยครับ ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ครับคำนี้ ยังไม่เข้าใจ


Posted by : dhan , Date : 2008-09-22 , Time : 00:39:53 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 9


   เอ่อ ชวนเสนอ Idea นี่ คุยกันขำ ๆ นะครับ สมมุตว่าเราคุยกันในร้านกาแฟของหมู่บ้าน จะให้ออกรสมันต้องมีข้อโต้แย้งกันบ้าง เป็นเรื่องปกติ

Posted by : dhan , Date : 2008-09-22 , Time : 00:54:16 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 10


   สวัสดียามเช้าครับคุณ Dhan

ชวนคุยนี่ชอบครับ

อันดับแรก คุณ Dhan มีพิมพ์ผิดนิดหน่อย (ท้วงตามประสาคนชรา) คือ royalty น่าจะเป็น loyalty นะครับ

อันดับสองเรื่อง Balanced Scorecard ที่จริงพูดเรื่องนี้ในที่ที่มี guru มากมายอย่างใน PSU นี่ ก็ค่อนข้างจัดเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่เนื่องจากเราอยู่ในร้านกาแฟที่ทุกคนสามารถแสดงความทื่อของตนเองออกมาได้ (เพื่อจะได้เรียน) ผมก็ชอบ jam จนได้เรื่องทุกครั้ง แหะๆ



Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการชิ้นหนึ่ง คิดค้นโดย Kaplan & Norton มาหลายปีดีดักแล้ว ที่โด่งดังก็เพราะเป็นเครื่องมือที่อาจจะนำมาดัดแปลงได้ ตั้งแต่ระดับการวางแผน และระดับการวางกลยุทธ์ และข้อสำคัญคือการมี Interconnectedness ขององคาพยพต่างๆขององค์กร ก้าวเข้าสู่ยุค Living organization และ Learning organization แบ่ง realm ในองค์กรเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆ ก็คือ Financial perspective, Internal process perspective, Learning and Innovative perspective และ Customer perspective (ได้แก่มุมมองด้านงบประมาณ รายได้ / กระบวนการบริหาร กลยุทธ์ / การเรียนรู้ นวตกรรม ของคนในองค์กร และขององค์กร / และมุมมองของลูกค้าที่มององค์กร

ในการเขียนมิติทั้งสี่ อาจจะเขียนอย่างรูปที่นำมาแสดง หรือแบบ original ในหนังสือของ Kaplan หน้าแรกๆที่เป็นปิรามิด หรือลำดับ priority



แน่นอนที่สุด สำหรับ business model สิ่งที่ "ทุกอย่าง" ลงเอย จะไปสู่ Financial Incentives ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดอะไร เพราะนี่คืออาหาร อากาศ น้ำ น้ำมัน ที่จะทำให้องค์กร move ไปข้างหน้า และเป็นแรงบันดาลใจหลักของคนในองค์กรแบบนี้แต่เริ่มแรก

ใน model แบบหลังนี้เองที่ทำให้เกิดความแตกต่างกัน เมื่อนำมาใช้ในองค์กรที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร (non-profit organization) อาทิ องค์กรของรัฐ องค์กรเพื่อสาธารณะ รวมทั้งโรงพยาบาลเช่นของเราด้วย ที่แหล่งทุนจะพิจารณา​ "ให้" หรือ "สนับสนุน" จากสิ่งที่เราทำไปเพื่อลูกค้า (ในที่นี้คือประชาชน คนไข้ และสังคมโดยรวม) คำว่า "ให้ หรือ สนับสนุน" ในรูปธรรมก็คือ budget allocation การจัดสรรงบประมาณมาให้ การ subsidization รวมไปถึงการบริจาคจากภาคสังคมทุกรูปแบบ จึงมีหนังสือ Balanced Scorecard ฉบับ modified ออกมาหลังจากเล่มแรก หลายปี คือ Balanced Scorecard for Non-profit organization ที่ส่วนยอดสุดของปิรามิด ไม่ได้เป็น F (Financial perspective) อีกต่อไป แต่เป็น C (customer perspective) ขอเพียงองค์กรของเราทำเพื่อคนไข้ เพื่อประชาชน เพื่อสังคม เราก็จะการันตีว่าจะมีคน allocate budget มาให้ มีคนบริจาค มีคนสนับสนุน เพราะ values ขององค์กรแบบนี้ เป็น value ของสังคมโดยรวม ไม่ใช่ของ shareholders อย่าง business organzation

ขออภัยที่เขียนยาวเกินไป นั่นเป็นเพราะความพร่องทางความเข้าใจและความสามารถในการใช้ภาษาของผมเอง ชวนคุยกันต่อๆไปนะครับ


Posted by : phoenix , Date : 2008-09-22 , Time : 08:21:31 , From IP : 172.29.17.115

ความคิดเห็นที่ : 11


   โห หน้าแตกเลย ขอบคุณ อ. Phoenix ครับ
กระดานเราน่าจะมี function แก้ไข reply mออกไปได้นะครับ

เพราะบางครั้ง ก็เขียนเอามันส์ พอกด enter ไปแล้วก็เสียใจ อยากแก้ไขก็แก้ไม่ได้ แต่ก็ทำให้ต้องใช้สติมากขึ้น เหมือนชีวิต บ่อยครั้งที่กด enterไป ต่อให้มีเงินเป็นร้อยล้านก็ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้

Can we really change what we are? - Heros


Posted by : Dhan , Date : 2008-09-22 , Time : 08:49:29 , From IP : 172.29.10.167

ความคิดเห็นที่ : 12


   ผมอยากเห็นสังคมแห่งการวิพากษ์ สังคมของเรา สังคมแห่งความใจกว้าง สังคมแห่งการเรียนรู้ สู่สังคมอุดมปัญญา อันนี้เป็นกระทู้ที่ดี เป็นต้วแบบของการวิพากษ์ อยากเห็นการวิพากษ์ที่ไม่ยึดติดกับความอคติ ความก้าวร้าว สังคมต้องยืนอยู่บนการให้เกียรตืผู้แสดง ให้อิสระต่อการแสดง เอาปัญญาเป็นคำตอบสุดท้าย จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ถูกที่ถูกทาง

Posted by : กำมาชี้(พ) , Date : 2008-09-23 , Time : 10:43:33 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 13


   - ถ้าคุณเป็นคนไข้ แล้วบังเอิญ มีโรงพยาบาลระดับ tertiary care มาตั้งอยู่ตรงกันข้าม คุณยังจะเลือกเดินเข้ามาสงขลานครินทร์

สำหรับคำถามนี้ เลือกครับ ที่นี่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งที่มีมากกว่าแค่โรงพยาบาล ผมว่า องค์กรนี้ให้อะไรกับสังคมมากมาย

ผมคงไม่เลือกเพียงแค่มาตรฐานที่เท่าเทียม แต่คงพิจารณาถึงเรื่องประวัติศาสตร์ด้วยครับ


Posted by : รักพ่อเช่นทุกคน , Date : 2008-12-15 , Time : 21:36:25 , From IP : 203.158.221.227

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<