ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

“แพทยสภา” ชี้ให้คนไข้เซ็นยินยอมรับความเสี่ยงการรักษา ป้องกันตนเองจาก พ.ร.บ.พิจารณาคดีผู้บริโภค


   “แพทยสภา” ชี้ให้คนไข้เซ็นยินยอมรับความเสี่ยงการรักษา ป้องกันตนเองจาก พ.ร.บ.พิจารณาคดีผู้บริโภค

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2551 18:51 น.


แพทยสภา ชี้แก้ปัญหาสมองไหล สธ.ต้องอุดรอยรั่วในตุ่ม เพิ่มสวัสดิการ-เงินเดือนระบุถ้าไม่แก้ปัญหาเชิงระบบผลิตแพทย์เท่าไหร่ก็ไม่พอ ส่วนแนวโน้มในอนาคตแพทย์จะป้องกันตนเองให้พ้นจากการเสี่ยงถูกฟ้องร้องมากขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากพ.ร.บ.พิจารณาคดีผู้บริโภคให้คนไข้เซ็นยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากการรักษา






วันนี้(4 ก.ย.) ที่โรงพยาบาลราชวิถี นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวในการประชุมวิชาการแพทยสภา ประจำปี 2551 เรื่องวิชาชีพแพทย์ในอนาคตว่า ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ขณะนี้เป็นปัญหาเฉพาะโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งยังขาดอยู่ประมาณ 6 พันคน โดยการผลิตแพทย์เพิ่มในปัจจุบันปีละ 2 พันคน ถือว่ามีความเพียงพออยู่แล้ว สาเหตุที่แพทย์ยังขาดแคลนแพทย์อยู่เนื่องมาจากแพทย์บางส่วนขอลาออกจากราชการเพื่อไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลในสังกัดของกทม.ที่สร้างแรงจูงใจได้มากกว่า หรือเปิดคลินิกเป็นของตัวเอง เป็นต้น นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วง คือ การผลิตแพทย์จำนวนมาก อาจทำให้คุณภาพของแพทย์แย่ลงด้วย

“หากสธ.ไม่แก้ปัญหาเชิงระบบก็อาจทำให้แพทย์ลาออกจนหมด และ ผลิตแพทย์เพิ่มเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะความเป็นจริงเราผลิตแพทย์พอตั้งนานแล้ว ที่มีอยู่ก็เรียกว่าเกินพอ แต่เพราะระบบที่เหมือนตุ่มที่มีรูรั่วเทน้ำลงไปเท่าไหร่ก็ไหลออกหมด ไม่เต็มเสียที”นพ.สมศักดิ์ กล่าว

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น การที่จะแก้ปัญหาคือช่วยกันอุดรูรั่ว สิ่งสำคัญจะต้องสร้างแรงจูงใจให้กับแพทย์ไม่ว่าจะเป็นด้านสวัสดิการ หรือเพิ่มเงินในส่วนที่จะต้องอยู่เวร รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สอนให้นักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่ๆ ต้องติดตามข้อมูลให้เท่าทัน การเน้นรักษาผู้ป่วยนอกมากกว่าผู้ป่วยใน คือ ลดจำนวนของผู้ป่วยลง หากไม่เป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินแต่เป็นการป่วยเพียงเล็กน้อยก็ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ หากต้องการตรวจรักษาอาจต้องขอนัดพบล่วงหน้า นอกจากนี้ผู้ป่วยจะต้องรู้สิทธิจะต้องรู้หน้าที่ของตนเองด้วย คือ การรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองไม่ใช่ให้เป็นภาระหน้าที่ของแพทย์เพราะสามารถรักษาฟรีได้ ไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเองด้วย ในส่วนของแพทย์ก็จะต้องเน้นเรื่องมนุษยสัมพันธ์และจริยธรรมทางการแพทย์

นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ยิ่งในปัจจุบันผลกระทบจากพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2551 จะทำให้แพทย์ต้องป้องกันตนเองจากการถูกฟ้องร้องสูงขึ้น โดยก่อนหน้านี้แพทยสภาเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยให้ยกเว้นการบริการทางการแพทย์ ก็ยังไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่องจากสภาพปัญหาบ้านเมืองที่ยังวุ่นวายอยู่ด้งนั้นอาจตั้งรอดูว่าหากมีเรื่องทางการแพทย์เข้าสู่กระบวนการจะเป็นอย่างไรต่อไป

นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่แนวโน้มวิชาชีพแพทย์ในอนาคต จะต้องเบียดบังเวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วย ให้หมดไปกับการเขียนรายงาน หรือเวชระเบียนอย่างระเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดนำไปสู่การฟ้องร้องที่มีมากขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้ในอนาคตอาจจะต้องมีการปรับใบเซ็นยินยอมการรักษาเพื่อ ยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจมากขึ้น

“เมื่อความคาดหวังของคนสูงขึ้น ก็ทำให้การฟ้องร้องสูงขึ้นไปด้วย ทั้งๆ ที่อดีตคนกินยาหม้อ หรือ ให้หมอตำแยทำคลอด เมื่อเกิดผิดพลาดเสียชีวิตขึ้นมาก็ไม่เคยเห็นว่ามีการฟ้องร้อง จึงต้องกลับมาดูด้วยว่าเป็นเพราะอะไร ไม่ใช่ว่าผิดพลาดแล้วจะต้องลงโทษ เหมือนแพ้โอลิมปิกแล้วต้องตีซ้ำแทนที่จะให้กำลังใจในที่สุดก็เตลิด และคงไม่มีแพทย์คนใดที่ดีใจที่คนไข้เสียชีวิต และเมื่อเกิดการฟ้องร้องคดีความขึ้นสู่ศาลพิจารณาผู้พิจรณาคดีก็ยังเกิดความไม่เข้าระหว่างความผิดพลาดกับการประมาท คิดว่าเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งที่จริงจะต้องแยกออกจากการ เพราะการผิดพลาดอาจไม่ได้เกิดจากการประมาท แต่ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วก็พลาดได้”นพ.สมศักดิ์กล่าว




Posted by : thiopental , Date : 2008-09-04 , Time : 20:04:07 , From IP : 125.24.141.22.adsl.d

ความคิดเห็นที่ : 1


   นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่แนวโน้มวิชาชีพแพทย์ในอนาคต จะต้องเบียดบังเวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วย ให้หมดไปกับการเขียนรายงาน หรือเวชระเบียนอย่างระเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดนำไปสู่การฟ้องร้องที่มีมากขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้ในอนาคตอาจจะต้องมีการปรับใบเซ็นยินยอมการรักษาเพื่อ ยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจมากขึ้น

“เมื่อความคาดหวังของคนสูงขึ้น ก็ทำให้การฟ้องร้องสูงขึ้นไปด้วย ทั้งๆ ที่อดีตคนกินยาหม้อ หรือ ให้หมอตำแยทำคลอด เมื่อเกิดผิดพลาดเสียชีวิตขึ้นมาก็ไม่เคยเห็นว่ามีการฟ้องร้อง จึงต้องกลับมาดูด้วยว่าเป็นเพราะอะไร ไม่ใช่ว่าผิดพลาดแล้วจะต้องลงโทษ เหมือนแพ้โอลิมปิกแล้วต้องตีซ้ำแทนที่จะให้กำลังใจในที่สุดก็เตลิด และคงไม่มีแพทย์คนใดที่ดีใจที่คนไข้เสียชีวิต และเมื่อเกิดการฟ้องร้องคดีความขึ้นสู่ศาลพิจารณาผู้พิจรณาคดีก็ยังเกิดความไม่เข้าระหว่างความผิดพลาดกับการประมาท คิดว่าเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งที่จริงจะต้องแยกออกจากการ เพราะการผิดพลาดอาจไม่ได้เกิดจากการประมาท แต่ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วก็พลาดได้”นพ.สมศักดิ์ก


Posted by : thiopental , Date : 2008-09-04 , Time : 20:05:13 , From IP : 125.24.141.22.adsl.d

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<