ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

จับชีพจร "องค์กรชั้นเลิศ" กับ คุณหมอซีอีโอ


   โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เพิ่งได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class-TQC) ไปไม่กี่เดือน

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : แต่เมื่อเร็วๆ นี้ได้พบ "รศ.นพ.สุเมธ พีรวุฒิ" อีกที คุณหมอก็กลายเป็นอดีตผู้อำนวยการ และรับตำแหน่งใหญ่ขึ้นคือ "คณบดี" คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ถือเป็นผู้นำสูงสุดที่ต้องดูแล 3 หน่วยงานใหญ่ภายใต้การกำกับของคณะแพทยศาสตร์ คือ 1. ด้านบริการ ซึ่งหมายถึงโรงพยาบาล 2. ด้านการผลิต บุคลากร หมายถึงการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ และ 3. ด้านสร้างองค์ความรู้ใหม่ หมายถึงหน่วยงานวิจัย ... อ่านต่อที่ http://www.bangkokbiznews.com/2008/07/10/news_274751.php


Posted by : ช่วย , Date : 2008-07-10 , Time : 18:08:07 , From IP : 172.29.1.83

ความคิดเห็นที่ : 1


   จับชีพจร "องค์กรชั้นเลิศ" กับ คุณหมอซีอีโอ


:รศ.นพ.สุเมธ พีรวุฒิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เพิ่งได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class-TQC) ไปไม่กี่เดือน

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : แต่เมื่อเร็วๆ นี้ได้พบ "รศ.นพ.สุเมธ พีรวุฒิ" อีกที คุณหมอก็กลายเป็นอดีตผู้อำนวยการ และรับตำแหน่งใหญ่ขึ้นคือ "คณบดี" คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ถือเป็นผู้นำสูงสุดที่ต้องดูแล 3 หน่วยงานใหญ่ภายใต้การกำกับของคณะแพทยศาสตร์ คือ 1. ด้านบริการ ซึ่งหมายถึงโรงพยาบาล 2. ด้านการผลิต บุคลากร หมายถึงการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ และ 3. ด้านสร้างองค์ความรู้ใหม่ หมายถึงหน่วยงานวิจัย

สรุปก็คือ คุณหมอจะทำงานหนักขึ้นและต้องมองภาพใหญ่ขึ้นเมื่อสวมหมวกใบนี้ เรียกว่าในทุกๆ วัน จะมีแต่เรื่องงานๆๆๆๆ เท่านั้น

"ในส่วนของโรงพยาบาลเราคงไม่ต้องห่วงแล้ว เพราะปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าค่อนข้างมาก สิ่งที่ต้องมุ่งเน้นและทุ่มเทพัฒนายิ่งขึ้น ก็คือ การศึกษาและการวิจัย ให้เจริญก้าวหน้าเทียบเท่ามาตรฐานสากลซึ่งที่ผ่านมาเราได้นำเอาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) มาใช้เช่นกันแต่ผลการดำเนินการยังไม่บรรลุเป้าหมายเหมือนส่วนบริการ"

อย่างไรก็ดีก็คงไม่มีอะไรน่าหนักใจนักเพราะในแต่ละหน่วยงานนั้นมีรองคณบดีที่ความรู้ความสามารถสูงคอยรับผิดชอบอยู่แล้ว ส่วนตัวคุณหมอเองก็คอยสวมบทผู้กำกับการแสดงช่วยชี้จุดและกระตุ้นให้ปรับปรุงเกิดประสิทธิผลที่ดียิ่งๆ ขึ้น

และแม้ว่าโรงพยาบาลมันจะดีอยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องให้ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งได้มีการทำ Succession Plan และสรรหาผู้บริหารทดแทนตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นที่เรียบร้อย นั่นคือรองผู้อำนวยการคนเดิม

สร้างความมั่นใจได้ว่าความดียังจะ "เข้มข้น" อยู่อย่างนั้นไม่มีวันเปลี่ยน

องค์กรที่ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัย "การขับเคลื่อนของผู้นำ" เป็นข้อคิดที่ได้รับจากคุณหมอ

ถ้าองค์กรใดผู้นำไม่เอาด้วยไม่เห็นด้วยกับการบริหารจัดการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยมาก

แต่ถ้าองค์กรใดผู้นำทุ่มเท เป็นตัวอย่างที่ดี บริหารจัดการดี องค์กรจะประสบความสำเร็จ

สำนวนที่มีคนว่าไว้ "ผู้นำดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง" จึงเป็นเรื่องที่จริงแท้แน่นอน

ดังนั้นที่องค์กรมากมายในปัจจุบันประสบความล้มเหลวก็คาดเดาได้ว่าเป็นเพราะขาดผู้นำที่ตั้งใจจริง ขาดผู้นำที่มุ่งมั่นจะพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้า และขาดผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี

ส่วนตัวคุณหมอนั้นใช้หลักการบริหารอยู่ 5 ข้อ คือ 1. มีความจริงใจในการบริหาร 2. ยึดหลักธรรมาภิบาล 3. ตัดสินปัญหาโดยอาศัยส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่คือไม่เผด็จการ 4.โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ 5.ไม่แสวงหาประโยชน์เข้าตัวเอง

นอกจากนี้ ความสำเร็จนั้นยังหมายรวมถึงนำเอาเกณฑ์หรือแนวทาง TQA มาใช้พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องด้วย

ซึ่งคุณหมอบอกว่าผลสุดท้ายจะได้รับรางวัลหรือไม่จะเป็นเรื่องรองหรือเป็นแค่ผลพลอยได้เท่านั้น

เพราะหากกำหนดผลลัพธ์เป็นตัวรางวัลจะเกิดความ "เครียด" เพราะมันยากเสียจนคุณหมอเองก็ยอมรับว่าไม่อาจจะคาดหวังได้เลย

"คงต้องใช้เวลาและเราก็ยังห่างไกล เพราะเกณฑ์ TQA ซึ่งมีอยู่ 7 หมวดนั้น หากผลดำเนินการในหมวดใดตกก็ถือว่าตกหมดต้องเริ่มต้นกันใหม่ เราต้องทำผลงานให้ดีอย่างต่อเนื่องถึง 3 ปี นี่คือความยากของ TQA"

ที่ผ่านมาโรงพยาบาลมีผลดำเนินงานดีหลายหมวดชนิดที่ว่าได้คะแนน "สูงปรี๊ด" เลยทีเดียว ไม่ว่าหมวดการนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้าและการตลาด

ส่วนหมวดที่ทำคะแนนได้สูงสุดคือ การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ เหตุผลก็คือ ระบบไอทีสารสนเทศของโรงพยาบาลถือว่าดีมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้

แต่หมวดที่ทำให้ทุกอย่าง "จบเห่" ก็คือหมวดที่ 7 คือ ผลลัพธ์

นั่นเป็นเพราะในหมวดดังกล่าวมีกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ ซึ่งโรงพยาบาลขอเทียบเคียงกับโรงพยาบาลที่เป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เปรียบก็เหมือนการ "ต่อยมวยข้ามรุ่น" ไม่เห็นหนทางที่จะชนะอีกฝ่ายได้เลย

"จากนี้เราจะปรับปรุงแก้ไขหมวดนี้ใหม่ ที่ไม่ดีต้องทำให้ดี คือไปดูผลย้อนหลังใหม่ว่า process ที่ทำมาทั้งหมดเพื่อให้รู้ว่าทำไมผลการดำเนินการบางส่วนจึงไม่ดีเท่าที่ควร ต้องทบทวนกันใหม่ทั้งระบบ และต้องทำไปเรื่อยๆ และตอบไม่ได้ว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่"

ที่ผ่านมาแม้ว่าโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ไม่เคยโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณแต่อย่างไร แต่ตลอดมากลับต้องรับผิดชอบจำนวนผู้ป่วยที่เกินขีดความสามารถ

เนื่องจากไม่ว่าจะเป็น TQA และรางวัลอีกมากมายที่ได้รับ ตลอดจนภาพข่าวที่รับรักษาผู้บาดเจ็บสาหัส อาทิเช่น ครูจูหลิง พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ ฯลฯ จากกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งหมดล้วนสะท้อนไปให้สังคมศรัทธาว่านี่คือโรงพยาบาลดีมีคุณภาพ

รางวัลหรือความน่าเชื่อถือจึงอาจกลายเป็น "ดาบสองคม" ในเวลาเดียวกัน เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากคนต้องทำงานหนักมากเกินไป

แม้ไม่ว่าจะมีใจเต็มร้อยอยากทำเพื่อบ้านเมืองเพื่อประเทศชาติที่สุดก็จะอ่อนล้าและยกธงโบกมือลาไป

"เป็นเรื่องที่เราต้องสร้างความสมดุลให้ได้ วิธีคือมีขีดความสามารถทำได้เท่าไรทำเท่านั้น แต่ทำอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งการขยายเตียงไม่ใช่บริบทของเรา เป็นหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขที่ต้องเร่งสร้างโรงพยาบาลที่มีความสามารถเพื่อบริการคนให้มากยิ่งขึ้น"

ทั้งนี้เรื่องบุคลากรนั้นคุณหมอว่าเป็น "อุปสรรคสำคัญ" ที่ทำให้ Vision "โรงพยาบาลชั้นเลิศ ที่มุ่งสู่ระดับนานาชาติ" ไม่เป็นตามนั้น

เนื่องจากแต่ละวันที่หมุนไปโรงพยาบาล ก็ยังประสบปัญหาขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างไม่มีจุดจบ (นิยมไปอยู่กรุงเทพฯ เป็นส่วนมาก) เพราะองค์กรจะโตได้แบบก้าวกระโดดก็ด้วยคนเก่ง

นี่คือโจทย์ท้าทายคุณหมอหัวใจนักบริหาร ที่มีคำตอบชัดเจนของตัวเองแล้วว่าชีวิตจะมีความหมายหากได้ทำงานอย่างเต็มกำลังเพื่อ "ชดใช้แผ่นดิน"

เรื่อง : ชนิตา ภระมรทัต


Posted by : thiopental , Date : 2008-07-10 , Time : 20:36:01 , From IP : 125.24.169.127.adsl.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<