ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

อยากทราบเกี่ยวกับการทำแผล dry dressing


    อยากให้หมอศัลย์ช่วยตอบให้หน่อยนะคะ พอดีที่โรงพยาบาลกำลังหาข้อตกลงกันว่า แผล wet dressing ควรจะนัดผู้ป่วยทำแผลทุกวันหรือไม่ เพราะบางข้อมูลบอกว่าไม่ต้องเปิดแผลทำทุกวัน แต่จะมีท้วงติงว่าถ้าผู้ป่วยกลับบ้านไปแล้วผ้า gauze สกปรกจะเป็นที่หมักหมม อยากได้ข้อมูลเป็นหลักฐานยืนยันการปฏิบัติจะได้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งโรงพยาบาล
ขอบคุณคะ


Posted by : จากหมอโรงพยาบาลหนึ่ง , Date : 2003-10-21 , Time : 10:49:27 , From IP : cache-nst.inet.co.th

ความคิดเห็นที่ : 1


   เอา pbl ปี 2 ไปสักกลุ่มมั้ยครับ เผื่อได้ idea

Posted by : โธ๋ , Date : 2003-10-21 , Time : 13:23:02 , From IP : 172.29.2.159

ความคิดเห็นที่ : 2


   แผล wet dressing ต้องทำวันละ 2 ครั้งอยู่แล้ว ยังไม่มีธรรมนูญที่ไหนให้ทำวันละครั้ง หรือ 2-3 วันครั้ง
แผล dry dressing สามารถทำวันละ ครั้ง หรือ 2 วัน หรือ3 วัน ครั้ง หรือ ไม่ต้องทำเลยมาตัดไหมได้เลย ขึ้นกับว่าเป็นแผลประเภทไหนครับ


Posted by : หมอศัลย์ , Date : 2003-10-21 , Time : 20:41:42 , From IP : 172.29.3.175

ความคิดเห็นที่ : 3


   คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องแผลที่ฉันคิดว่าศัลยแพทย์น่าจะตอบ
1. เวลาที่เราทำแผล เรา"ทำอะไร"กับแผล ตรวจตราดู ลดการก่อกลุ่ม (colonization) ของแบคทีเรีย หรือเพียงทำเพราะเขาทำกันมา เปลี่ยนผ้าปิดแผลวันละครั้งท่องมาดังนี้ ถึงทีเลยต้องทำ
2. หากเป็นเหตุผลทางจุลชีววิทยา คือทำความสะอาด ลดจำนวนเชื้อบนผิวอันอาจ (เรากลัวว่า) มันจะทำให้แผลติดเชื้อ ลองคิดต่อดูว่า เรารู้ว่า epithelization ในแผลผ่าตัดที่เย็บปิด สมบูรณ์ภายใน 1-2 วัน รู้ฉะนี้แล้ว ถามต่อว่าการเอาสำลีชุบ antiseptic ไปปาดแผล มันก่อประโยชน์อะไร
3. เป็นไปได้ไหมที่จะ "ปิดมันไปเลย" แล้วนัดคนไข้มาดูหรือเปิดดูยามไปเยี่ยมคนไข้ ในวันที่ "หากมีการติดเชื้อมันจะมีอาการแสดงของการอักเสบให้เห็น" นั่นคือวันที่สามขึ้นไป
4. หากเหตุผลที่นัดคนไข้มาเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวัน เพราะกลัวว่าเขาจะทำสกปรกที่บ้าน "เนื่องด้วยความเชื่อของเราคือ บ้านคนไข้มักจะสกปรกกว่าที่โรงพยาบาล" การให้ชุดทำแผลพร้อมความรู้เขาไป เทียบกับขึ้นรถเครื่องห้าบาทมาทำเป็นเวลาเจ็ดวัน หรือเทียบกับไม่ต้องทำอะไรเลยและใช้วัสดุปิดแผลที่กันน้ำและมาดูครั้งเดียวตอนเอาวัสดุเย็บแผลออก หรือไม่ต้องมาเลยหากเราเย็บสอยไว้ข้างในเพียงแต่โทรมาคุยกับหมอ แนวทางอย่างใดถูกกว่าเมื่อใช้หน่วยเป็น "บาท" และลองเทียบอีกครั้งเมื่อเปลี่ยนหน่วยเป็น "โอกาสเกิดปัญหา"
5. นี่เป็นตัวอย่างวิธีการ คิด คิด คิด เพื่อให้เกิดคำถามว่า เรามีวิธีใหม่ไหม ที่จะทำงานประจำของเราให้สนุกและมีอะไรใหม่ มันจะทำให้เกิดคำถามวิจัย มันจะทำให้เกิดการประหยัดที่เริ่มจากสเกลเล็ก ๆ ไปสู่การเป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน วงจรการคิด วิจัย ทบทวน และคิดอีก แบบนี้อาจไม่ได้สร้างความรู้ที่ยิ่งใหญ่ขนาดพลิกฟ้า แต่มันจะพลิกการทำงานที่น่าเบื่อให้มีคำถามที่สนุกกับการหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา และพลิกวันจงกลมที่น่าเบื่อ งานที่น่าเกี่ยงให้เป็นสิ่งที่น่าค้นหาได้
เข้าใจว่านี่อาจไม่ใช่คำตอบที่เจ้าของกระทู้ต้องการ แต่เป็นแนวทางตอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ที่ academic surgeon น่าจะต้องทำ



Posted by : Shonikeka , Date : 2003-10-22 , Time : 06:54:05 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 4


   พี่ว่าวเอ๊ย!พี่Shonikekaครับ ผมอยู่ข้างพี่เสมอครับ


Posted by : กะหลั่วเป็ด , Date : 2003-10-22 , Time : 23:15:47 , From IP : 203.156.28.151

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.002 seconds. <<<<<