ความคิดเห็นทั้งหมด : 17

นักเรียนของเรา


   วันก่อน ผมมีโอกาสได้รับฟังการนำเสนอ health promotion ของ นศพ.กองศัลย์ รู้สึกดีมาก เลยนำไปเขียนเผยแพร่ใน web gotoknow ปรากฏว่ามีคนให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมน่าสนใจ



Posted by : phoenix , Date : 2008-06-10 , Time : 14:09:46 , From IP : 203.170.234.12

ความคิดเห็นที่ : 1


   ลืม link
health promotion presentation


Posted by : phoenix , Date : 2008-06-10 , Time : 14:11:38 , From IP : 203.170.234.12

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณมากนะคะที่อาจารย์ นำเรื่องดี ๆ มาให้อ่าน

Posted by : ปลาป่น , Date : 2008-06-12 , Time : 10:48:02 , From IP : 172.29.18.194

ความคิดเห็นที่ : 3


   ยินดีที่ชอบครับ คุณปลาป่น

ที่จริงเรื่องดีๆแบบนี้ไม่ใช่เหตุการณ์หายากอะไร เพียงแต่เรามองหา มองให้เห็นเท่านั้นเองครับ ทั้งอาจารย์ นักเรียน และคนไข้ก็จะถูก empowered ไปพร้อมๆกันครับ


Posted by : phoenix , Date : 2008-06-12 , Time : 16:45:13 , From IP : 125.25.58.226.adsl.d

ความคิดเห็นที่ : 4


   จิตตปัญญาเวชศึกษา

ศาสตราวุธกายสิทธิ์ ต้องตี ต้องเคี่ยวกรำ ต้องตรากตรำ

บทหนึ่งของพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปรียบเทียบว่าดาบเหล็กเนื้อดีนั้น เป็นเพราะผ่านการตีเนื้อเหล็ก ซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นพันๆหมื่นๆครั้ง จึงจะได้เนื้อเหล็กที่ทั้งหยุ่นเหนียว ทั้งแข็งแกร่งฉันใด ปัญญาวุธก็เฉกเช่นเดียวกัน จะต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงๆ ผ่านการภาวนา ผ่านอุปสรรคนานาประการ ผ่านประสบการณ์ที่จะเสริมความคงทน พิสูจน์ธาตุอันแท้จริงของตัวบทสมมติฐาน ทฤษฎี ว่าจริงแท้เพียงไร จึงกลายเป็นปัญญาวุธที่ถูกต้องแล้ว เป็นมงคลแล้วฉันนั้น ดังนั้นงานที่หนักนั้น ให้พิจารณาว่าเป็นเนื้อแท้ของศาสตร์ ของปัญญา ที่จะเกิดขึ้นมาได้จากประสบการณ์นั้นๆ

ได คาตานา หรือดาบที่นักรบซามูไรใช้นั้น มีชื่อเรื่องความคมกริบสุดแสน แต่ก็เหนียวหยุ่น แข็งแกร่งอย่างยิ่ง เพราะผ่านการตีเหล็กที่กอปรด้วยเศษเหล็กธาตุดี ชิ้นเล็กชิ้นน้อย เผา ตี เผา ตี จนชั้นเหล็กหลายต่อหลายสิบชั้น หลอมรวมเป็นเนื้อเดียว และธาตุแท้ของแต่ละชั้น แต่ละชิ้น ยังคงสำแดงอยู่ในทุกเนื้อ ทุกอณู ประสบการณ์ ที่ผ่านไปของเราก็เช่นกัน ถ้าเรานำมาขบคิด ใคร่ครวญ ไตร่ตรองภาวนา ก็จะเสมือนนำเอาชิ้นประสบการณ์มาตี มาเผา มาหลอมรวม เกิดความต่อเนื่องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เราก็จะสามารถมองเห็นตัวตนของเราเอง ว่าทำไมเราจึงคิดแบบนี้ ทำไมเราจึงทำแบบนี้ ทำไมเราจึงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ทำไมเราจึงโกรธ ไม่พอใจ ทำไมเราจึงภาคภูมิใจ ให้คุณค่า ให้ความหมาย ในเรื่องราวต่างๆ องค์ความรู้ฉาบฉวยทฤษฎีเมื่อนั้นจึงจะหล่อหลอมเข้าสู่เนื้อตัวเราอย่าง แท้จริง



ในการเรียนวิชาแพทย์นั้น นอกเหนือจากเนื้อหามากมายที่แพทย์พึงเรียนรู้เป็นฐานแล้ว วิชาความรู้ใหม่ๆยังถูกคิดค้นขึ้นตลอดเวลา วิธีการตรวจ วินิจฉัย และรักษาที่ดีที่สุด มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลา บางหัวข้อ บางรายวิชา มีการทบทวนวรรณกรรมทุกหกเดือน ทุกสามเดือน เพื่อให้สามารถก้าวทันกับองค์ความรู้ใหม่ที่ว่านี้

ไม่เพียงแต่เท่านั้น วิชาแพทย์ยังต้องหมายถึงการนำไปใช้กับคนจริง ซึ่งเป็นความหมาย เป็นต้นตอ ของวิชาชีพนี้มาแต่แรกเริ่ม

เป็นความจริงที่การเรียนแพทย์นั้น ต้องทุ่มเทและทำงานหนัก เพื่อที่จะได้มาทั้ง cognitive knowledge หรือความรู้เชิงทฤษฎี และ psychomotor หรือความเชี่ยวชาญชำนาญในการทำหัตถการ การนำความรู้มาใช้ในบริบทจริง เพื่อที่จะเกิดเจตนคติที่ดีของงาน ต่ออาชีพ และเกิดความหมายที่แท้ของการที่ตนเองเข้ามาทำงานในวงการวิชาชีพนี้ นักรบที่สง่างามจึงไม่เพียงมีศาสตรวุธที่สมศักดิ์ศรีเท่านั้น แต่ยังสามารถกวัดแกว่งสำแดงกระบวนท่าใช้อาวุธได้อย่างชำนิชำนาญ สวยงาม และใช้ออกอย่างมีจิตวิญญาณความรู้สึก คือมีการฝึกสติ ฝึกสมาธิ ฝีกภาวนา ในการปวารณาตนมาใช้ศาสตราวุธศักดิ์สิทธิ์นี้ ซึ่งสามารถยังประโยชน์สูงสุด หรืออาจจะให้โทษมหันต์หากนำไปใช้อย่างผิดพลาดด้วย

ประสบการณ์การทำงานนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ไม่ได้แปลว่าเรา "ได้เรียนรู้" ตลอดเวลา การจะเรียนรู้ให้เกิดความลึกซึ้งนั้นจะต้องมีทั้ง attention และ intention คือมีทั้งความสนใจ ใคร่ครวญ สมาธิ และมีทั้งเจตนารมย์แรงกล้าและความมุ่งมั่นทำให้เกิด จึงจะเป็นการเรียนที่ทะลุปรุโปร่ง หล่อหลอม cognition, psychomotor และเกิดภาวนามยปัญญาในที่สุด

ทั้งนี้การเรียนที่ใช้ "ฐานกาย" คือการลงมือกระทำนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราจะใช้ความรู้สึกทุกส่วน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นสื่อรับรู้ภายนอก หากนำมาประสานกับความคิด จากสมองส่วนหน้า และความรู้สึกจากสมองส่วนกลางและ limbic system เราก็จะ hard wiring เชื่อมโยงศูนย์ต่างๆของสมองทั้งหมด พัฒนา "ฐานใจ" และ "ฐานแห่งจินตนาการความสร้างสรรค์" บรรลุศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์ งานหนักทางกายภาพนั้น จะเป็นหลักฐานถึง raw materials ที่เราจะนำมาใช้ในการภาวนา ใช้ในการหลอมเหลาบุคลิกภาพ กลายเป็นคนอย่างที่เราจะเป็นในอนาคต หากเราไม่ระมัดระวังให้ดี ปล่อยปละละเลยไปตามอารมณ์ ณ ขณะนั้นๆ ให้ความโกรธ ความเกลียด ความไม่เห็นด้วย มาครอบงำสติมากเกินไป แทนที่เราจะ appreciate ประสบการณ์ เรากลับเกลียดชังประสบการณ์ แทนที่เราจะอิ่มเอมกับการให้บริการ เรากลับรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าโดยไม่เห็นรางวัลเบื้องหน้า ไม่เกิดความภาคภูมิใจในงาน ไม่สามารถแม้กระทั่งยิ้มออกมาได้ขณะทำงาน งานกลายเป็น burden แทนที่จะเป็นธรรมะ หรือ การฝึกธรรมะ อย่างที่ท่านพุทธทาสได้แนะนำ เทศนาสั่งสอนไว้

นักเรียน แพทย์ที่รู้สึกว่าตนเองทำงานหนักนั้น ขอให้เข้าใจเถิดว่ามาถูกทางแล้ว สิ่งที่น้องๆกำลังทุ่มเทอยู่ ณ ขณะนี้ จะไม่สูญเสียเปล่าอย่างแน่นอน แต่จะเป็นต้นทุนชีวิตต่อไปอีกนานเท่านั้น คุณานุประโยชน์จากงานในตอนนี้จะผลิดอกออกผลงดงามยิ่งนัก ต่อตัวน้องเอง ต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมต่อๆไป


Posted by : phoenix , Date : 2008-06-14 , Time : 16:06:00 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 5


   เอ่อ... web admin ครับ ผมขยาย font ใหญ่ไปหน่อยครับ ช่วยลดให้หน่อยได้ไหมครับ ขออภัยสำหรับ visual pollution ด้วยครับ

Posted by : phoenix , Date : 2008-06-14 , Time : 16:07:09 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 6


   สีแดง ๆ ข้างบนที่อ.ว่าเป็น pollution นี่ จำได้ว่า อ.เคยบอกว่ามันบอกถึงการตะโกนหรือ เสียงดังใช่ใหมครับ

55 ล้อเล่น ห้ามโกรธครับ

ดีจังไม่มีกระทู้ทำนองนี้นานแล้ว ไม่ค่อยได้เห็น วิวาทะ Debate ลับสมองนานแล้ว
แต่ว่า คุณ Death ไปเที่ยวต่างประเทศ คงไม่มีเวลาดู ส่วนคุณ Lucifer ก็เป็นหมอเต็มตัวไปแล้ว เพิ่มพูนทักษะอยู่คงไม่มีเวลา คุณ Vicly คุณกะหลัวเป็ด คุณ Tiger ก็คงยุ่งอยู่กับการลับมีดให้คมขี้น ผู้ชมอย่างผมก็เลยเห็น อ. ปาฐกถา ฝ่ายเดียว ไม่มีคนมาวิวาทะด้วย

งั้นขอคำชี้แนะด้วย

เดาว่ามี นศพ.มาบ่นกับ อ.ว่า ทำงานหนักใช่ใหมครับ
ขอสองประเด็น

1) เห็นด้วยครับว่า ปราศจากการทำงานหนักแล้ว เราก็ไม่สามารถเป็นผู้เชียวชาญได้
พี่คนหนึ่งสอนว่า เป็นศิษย์เส้าหลินต้องหัดแบกน้ำขึ้นเขาก่อน ถึงจะเรียนวิชาตัวเบาได้ งานแบกน้ำขึ้นเขาเหมือนเป็นงานกุลี (ขอโทษครับ ไม่ได้แบ่งแยกชนชันหรือค่าของคน แต่ตั้งใจใช้คำให้ได้อารมณ์เท่านั้น) แต่แท้จริงแล้วเป็นการฝึกกายและใจให้พร้อมก่อน เรียนวิชาตัวเบา
การทำงานในชั้น clinic ก็เหมือนกัน หลายอย่างดูเหมือนเป็นงานเสมียน (อีกครั้งไม่ได้แบ่งแยกนะครับ) แต่การสรุป chart เขียน progress note นี่เป็นการฝึกทักษะทาง clinic อย่างหนึ่ง
ปัญหาก็คือ ด้วยสัดส่วน คนไข้ที่มากขึ้น หมอที่จำกัด และ ปริมาณ resource ที่ไม่เคยพอ ทำให้ผมไม่แน่ใจว่า เรา abuse นศพ. extern resident หรือเปล่า
บางช่วงเราเคยเห็น Extern ถูกพี่ใช้ให้ไปยืนหน้า OR เกือบครึ่งชัวโมงเพื่อเป็นคิวแรกในการจองห้องแยก อันนี้ พี่ resident ไม่ผิดเพราะ เพราะปริมาณ case ที่มาก ทำให้กลัวว่าคนไข้จะตกกระดาน คงจะมีคนเย้งว่า ถ้ากลัวตกกระดานแล้วนัดมาแยอะทำไม ลองมานั่งอธิบายคนไข้ดูเองใหมครับว่า เรามีห้องผ่าตัดจำกัด คิวคุณต้องรออีก3-4 เดือนนะ หรือ intern ที่ต้องสรุป chart หรืองานเอกสารคนไข้ 30-40 คนในสาย คงยากที่จะดูแลผู้ป่วยได้ทั่วถึง หรือ resident ที่เข้า OR ถึง 2-3 ทุ่มถ้าโชคดี ออกมาแล้วก็คงอยากรีบราวด์ให้เสร็จ บรรยากาศในตอนราวด์เย็นแล้วพี่ resident สอนนศพ. ทำหัตถการ หรือดูคนไข้ก็ลดลง อยากรีบราวด์รีบเลิก (อันนี้ไม่แน่ใจว่าถ้ามีพี่แสนดีให้นศพ.รอราวด์เย็นหรือค่ำด้วย นศพ.จะ happy หรือเปล่า แล้วถ้าราวด์จนพระอาทิตย์ตกดินแล้ว นศพ.ยังอยากให้เป็น academic round หรือเปล่า )
แต่ถ้าจะให้ปฎิเสธการบริการคนไข้แล้วป่าวประกาศว่าเราเป็นโรงเรียนแพทย์จะรับคนไข้จำกัดเพื่อจะได้มีเวลาเพื่อการเรียนการสอนการทำวิจัยมากขึ้นก็ไม่ถูก เพราะ ผลจะไปตกอยู่ที่รพ.รอบข้างและคนไข้ นอกจากนั้น นักเรียนของเรา ก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าคนที่เป็นหมอนี่มีสิทธ์ปฏิเสธคนไข้ แล้วก็นิ่งดูดายให้เขาไปหาทางรักษาตัวกันตามยถากรรมได้

ทำอย่างไรเราถึงจะบริการคนไข้ได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่นักเรียนของเราก็ได้เรียนรู้เต็มที่ โดยที่บุคลากรที่ทำงานอยู่มีความสุขในการทำงานด้วย


Posted by : Dhan , Date : 2008-06-15 , Time : 00:41:24 , From IP : 172.29.5.80

ความคิดเห็นที่ : 7


   ขอบคุณ อ. Dhan ครับ ที่อุตส่าห์มาคุยด้วย

ที่จริงเขียนว่าตรากตรำ เคี่ยวกรำ นั้น อาจจะนำไปสู่ tone เสียงที่ไม่ถูกต้องได้

ผมนึกถึงครั้งสุดท้ายที่ไปเทียวน้ำตกเอราวัณกับลูกสาว 7 ขวบ เธอไต่ขึ้นไปถึงชั้น 7 ได้อย่างน่าทึ่ง เหงื่อแตกเหงื่อแตน ทุเลทุเลพอสมควร ได้ถ่ายรูปคู่ป้าย "คุณคือผู้ชนะ" กลับมา เป็นการใช้พลังงานหมดส่วนของอาหารเช้า อาหารกลางวันเลยทีเดียว แต่สนุกครับ สนุกและมีความสุขมาก เป็นความทรงจำที่แทบจะไม่มีด้านนัยของคำว่า "ตรากตรำ เคี่ยวกรำ" เลย ทั้งๆที่ physically นั้น จะเรียกเช่นนั้นก็ได้

key อาจจะเป็นคำสุดท้ายของที่อาจารย์ Dhan เขียนมานั่นเอง

"มีความสุข"

ไม่ทราบเหมือนกันครับ ถ้าน้อง extern ที่ยืนรอคร่ึงชม.เพื่อหาคิวผ่าตัดรักษาให้คนไข้ ทราบถึงเหตุผลที่มา และสิ่งที่ (อาจจะ) ได้ผล จากการเสียสละ เสียเวลาของเขาสำหรับคนไข้และครอบครัวที่รอผลการรักษาอยู่ น้องอาจจะบ่นน้อย หรือไม่บ่นเลยไหม เพราะมันเป็นหน้าที่ เป็นสิ่งที่ควรทำ ทำแล้ว กลับหอไป สามารถตบบ่าตัวเองบอกว่า "วันนี้ เราทำไม่เลวเลยนิ" ถ้าเป็นเช่นนี้ก็คงจะไม่มีการโทษใคร หรือถามหา "คนผิด" ไหม?

หรือแม้กระทั่งคนที่อาจจะมีหน้าที่ไปพูดคุยอธิบายคนไข้ และญาติ ว่าทำไมถึงผ่าตัดตามระยะเวลาที่ต้องการไม่ได้ หน้าที่อันไม่มีใครแย่งตรงนี้ เมื่อตกไปถึงใครคนใดคนหนึ่ง ผมก็อยากจะให้คนๆนั้นทราบว่า การที่เขายอมทำกิจกรรมนี้ เขาทำให้คนหลายคนโล่งใจ และสบายใจมากขึ้น การเสียสละและการเสียเวลา เสียหน้าตา เสียอารมณ์ ของผู้เสียสละคนนี้ ก็อาจจะมี rewarding อยู่ไม่น้อยที่เราน่าจะนำมาเป็นพลังงานในการทำงานของเราต่อไป

ผมไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่า ถ้าหากมีพี่จัดน้องมาราวน์หลังเสร็จ OR ตอน 2 ทุ่ม 3 ทุ่ม บางคนอาจจะบ่น แต่บางคนอาจจะเริ่มเห็นบางสิ่งบางอย่าง ที่พี่คนนัดต้องการจะสื่อ ต้องการจะทำเป็นตัวอย่าง และอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดอะไรขึ้นมาได้บ้าง แต่ก็เป็นไปได้หลากหลายที่ผมเชื่อว่าทั้งอาจารย์ Dhan และผมอยากจะให้เขาคิดอย่างนั้น

สำหรับการราวน์นั้น ผมเองคิดว่าเราไม่สามารถจะแบ่งเป็น academic หรือ service round ซะทีเดียวไหมครับ เคยมีนักเรียนแพทย์เขียนมาถึง professor ว่า "We are learning while you least expect it". ผมว่าเราราวน์แบบไหนก็ตาม นักเรียนที่เดินตามราวน์เราอยู่ จะเรียนอะไรบางอย่างไปเสมอ จะเรียกว่า academic หรือไม่ก็ตามที เพราะสิ่งที่นักเรียนแพทย์มาเรียนนั้น จะเหมือนพระราชดำรัสที่ว่า " The true success is not in the learning, but in its application for the benefit of mankind." ดังนั้นเอง service round ที่ไม่ได้เป็น academic (ผมเข้าใจว่าหมายถึง ไม่ได้มีการพูดทฤษฎีของโรค ของอะไรมากมาย) นั้น ก็เป็น "บทเรียนที่สำคัญ และเป็น truer academic session ซะด้วยซ้ำไป"


Posted by : phoenix , Date : 2008-06-15 , Time : 01:11:37 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 8


   2) ปัจจุบันดูเหมือนเราพยายามสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งมีความสามรถรอบด้าน ระบาดวิทยา ศิลปะ วัฒนธรรม นัทนาการ องค์รวม ...
ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี และเป็นเอกลักษณ์ ของเรา
ที่สงสัยก็คือ สัดส่วนและส่วนประกอบที่เหมาะสมคือ ?

ผมเองก็รู้สึกทึ่งเวลาที่ได้มีโอกาสเห็นความสามารถเหล่านี้ แต่สงสัยว่าสิ่งที่เห็นคือเราบรรลุเป้าประสงค์ในการทำให้เป็นแพทย์ที่ดูคนไข้แบบองค์รวมได้จริง หรือเป็นเพียงบรรลุวัตถุประสงค์ในการ presentation ให้คนดูมีอารมณ์ร่วมเท่านั้น
ผมไม่ได้ devalue สิ่งที่นำเสนอ แต่คิดว่าเราน่าจะมีระบบ evaluation ที่ดีกว่านี้ ไม่ได้หมายถึงประเมินเพื่อให้ เกรด แต่หมายถึงประเมินหลังจบเป็นแพทย์แล้วว่าได้นำสิ่งเหล่านี้ไปใช้จริงมากน้อยแค่ใหน เพื่อย้อนกลับมาทบทวนบทบาทของเราอีกทีว่าสิ่งที่เราคิดว่าภูมิใจมันน่าภูมิใจจริงใหม ผมคุ้น ๆ ว่าเคยเห็นว่าฝ่ายทะเบียนคณะมีการประเมินสิ่งเหล่านี้แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ผมก็ยังสงสัยในกระบวนการประเมินถูกต้องมากน้อยแค่ใหน ใครเป็นผู้ประเมิน รพ.รอบข้าง คนไข้ หรือตัวแพทย์เอง
แพทยสภามีการส่งผู้แทนไปประเมินตามรพ.ที่รับแพทย์เพิ่มพูนทักษะ แต่ก็ดูเหมือนเป็นการลูบหน้าปะจมูก ทำกันพอเป็นพิธี ไม่ได้มีการประเมินคุณภาพของแพทย์เพิ่มพูนทักษะจริง

นอกจากนี้ในส่วนประกอบของความเป็นแพทย์ (ที่เราอยากให้เป็นทั้งหมอ และ ยังเป็นคนอยู่ด้วย ) เราให้ความสำคัญกับส่วนประกอบนี้มากน้อยแค่ใหน หรือเราเน้นความเป็นคน จนละเลยความเป็นหมอ
เห็นด้วยว่าความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันมันถาโถมเข้ามาแบบที่คำว่าแพทย์เฉพาะทางเองก็อาจไม่เพียงพอที่จะเรียนรู้จนต้องการเป็น"เฉพาะทางของเฉพะทาง" และการที่เรา(คิดว่าเรา)สร้างนักเรียนให้สามารถหาความรู้เองได้แบบ PBL นั้นจะตอบโจทย์ความต้องการของสังคม หรือความต้องการของวงการสาธารณสุข
เราพูดถึงความเป็นเลิศทางวิชาการ หรือเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ จนสังคม รวมทั้งตัวแพทย์เอง และ นศพ. คิดว่า โรคเหล่านี้ หรือ อาการเหล่านี้ ต้องเป็น Excellent center หรือ specialty เท่านั้นถึงจะดูแลได้
แล้วคุณค่าของความเป็น GP ซึ่งผมคิดว่าเป็นตัวจักรที่สำคัญมากในการตอบโจทย์ปัญหาสาธารณสุขไทย ที่เราจะต้องเน้นให้นักเรียนเราเป็นให้ดี และ เป็น ให้ได้ ก่อนไปคิดถึงอย่างอื่น

ไม่ได้เหมารวมทั้งหมด แค่สงสัยในกระบวนการตรวจสอบและประเมิน ซึ่งอาจมีอยู่แล้ว และผลออกมาว่าดีมากอยู่แล้ว

ไม่ได้ชวนทะเลาะ แค่เห็น หัวข้อ "นักเรียนของเรา" แล้วเกิดอารมณ์ร่วมอยากคุยด้วย

เชิญชี้แนะด้วย


Posted by : Dhan , Date : 2008-06-15 , Time : 01:41:52 , From IP : 172.29.5.80

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมคิดว่าคนเราเกิดมานั้น อยากจะเป็นคนดี และมีความสุขทุกคน นั้นเป็นอะไรที่เราน่าจะสามารถนำมาเริ่มได้

อาชีพแพทย์เริ่มต้นมาจากอะไร?

ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ คนเราก็เห็นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้นเป็นธรรมดา จู่ๆ ทำไมถึงมีคนกลุ่มหนึ่ง ตั้งตาตั้งตนมาเป็นหมอ เป็นพยาบาล? ถ้าเราได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Forgotten Medicine เป็น archive ของ Hippocrates บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตกก็ว่าได้ จะพบว่า mortality & morbidity ของสำนัก Hippocrates นั้น คงจะไม่ผ่านเกณฑ์ HA ในปัจจุบัน เพราะตายกว่า 90% ของ case

คนประเภทไหนที่ทราบว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้น โอกาสล้มเหลวมากเหลือเกินก็ยังทนทำอยู่? ทั้งๆที่ไม่มียา ไม่มีเครื่องมือเครื่องไม้ ทำไมคนเหล่านี้จึงได้มีสำนักรับรักษาดูแลผู้คนอยู่

ผมอ่านตอนนี้ คงจะดึกแล้ว แต่ประโยค "เน้นความเป็นคน จนละเลยความเป็นหมอ" นั้น ยอมรับว่าลึกซึ้งมาก ไม่เข้าใจครับ

"I not only want you to be a doctor, I also want you to be a man"

ผมคิดว่าประโยคข้างต้น และสิ่งที่ Hippocrates และพรรคพวกได้ทำนั้น มีนัยว่า "คนพวกนี้เพราะอาศัยความเป็นคน คนที่สามารถเป็นคนอย่างที่มีศักยภาพจะเป็น จึงได้กลายมาเป็นแพทย์ เป็นพยาบาล"

ผมอยากจะคิดว่า ท่ามกลางความ "ล้มเหลว" ของ Hippocrates นั้น มีบางรายที่ท้องเสียมา กลับไปดื่มน้ำก็รอดตาย บางรายมีแผลที่เท้ามา เดินไปตกน้ำ เอ.. แผลดูสะอาดขึ้นก็รอดตาย Hippocrates และพรรคพวก อาศัยความสำเร็จเหล่านี้ และอาจจะเป็นการที่พวกเขาได้สามารถพูดกับตัวเองว่า การไปดูแลคนที่กำลังอยู่ในความทุกข์ทรมานนั้น ก็เป็นความสำเร็จขั้นยิ่งใหญ่แล้วของการเป็นคน

กระมังที่อาจจะเป็นแรงบันดาลใจ?

ผมไม่ทราบชัดเรื่องระบบประเมินที่ดีที่สุด ควรจะเป็นอย่างไร แต่ผมค่อนข้างจะเชื่อเรื่อง "การประเมินตนเอง" ครับ เราเองเป็นคนทีทราบดีที่สุดว่า วันนีเราได้ทำอะไรไปบ้าง มีอะไรที่เราพอจะเล่าเรื่องราว ส่ิงที่เราทำ สิ่งที่เราเชื่อ ให้แก่ลูกหลาน หรือแก่พ่อแม่เรา และเชื่อว่าเมื่อเล่าแล้ว เขาเหล่านั้นจะภาคภูมิใจ หรือเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์สิ่งสวยงามต่างๆขึ้นต่อๆไปอีก น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการจะกลายเป็นระบบประเมินอะไรก็ตาม

รึเปล่า?

Excellent center หรือความเป็นเลิศนั้น สำหรับวิชาชีพของเรา ผมคิดว่าคนที่จะเป็นคนมอบรางวัลให้ดีที่สุด น่าจะเป็นชาวบ้านรอบเขตที่องค์กรของเรารับผิดชอบดูแลไหม ที่จะเป็นคนพิจารณา accolade อัันนี้? หาก รพ.ที่ใดเฉลิมฉลอง ประสบความสำเร็จ ผมจินตนาการเห็นสีหน้า ค่าตา ของชาวบ้าน ชาวช่อง ในพื้นทีนั้นๆ มีความสุข มีสุขภาพที่ดีเยี่ยม

และสิ่งเหล่านี้นี่เองที่น่าจะทำให้เกิดสิ่งต่อไป คือ รอยยิ้มจากภายในของหมอ ของพยาบาล ของคนทุกคนในองค์กรที่มีส่วนทำให้ความสำเร็จเช่นนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ไหม?

การที่โรงเรียนแพทย์ พยายามผลิตแพทย์ที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์นั้น ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นเอกลักษณ์ของ รร.แพทย์ใดที่หนึ่งที่เดียว (ถ้าความเข้าใจคำว่า "เอกลักษณ์" ของผมถูกต้อง) คือ เราไม่ได้ unique ที่คิดว่า รร.ผลิตแพทย์ น่าจะผลิตแพทย์ที่เป็นคนที่ "อุดม" แก่สังคม เพราะตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทีผมขออนุญาตยกมาข้างต้นนั้น ต้องอยู่ในรากฐานของ รร.แพทย์ทุกที่ (หรือหวังว่า) และไม่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้นด้วย เราไม่ได้พยายามทำอะไรที่ "แปลกประหลาด หรือเป็นที่ิริเริ่มอะไรเลย" มันน่าจะอยู่ในเนื้องานของเราแต่แรกเริ่มไหม?

มหาวิทยาลัยเรา ชื่อ "สงขลานครินทร์" เพียงแค่ชื่อนี้ ผมคิดว่าเราสามารถเกิดจิตสำนึกถึงที่มา ว่าทำไมจึงมีีที่ที่แห่งนี้อยู่ อะไรเป็นวิสัยทัศน์ อะไรเป็นพันธกิจ ทำไมเราไม่ได้เป็นแค่โรงพยาบาลเฉยๆ แต่เป็นโรงเรียนแพทย์

หรือไม่?


Posted by : phoenix , Date : 2008-06-15 , Time : 02:43:24 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 10


   ชอบประโยคนี้จัง
"ทำไมเราไม่ได้เป็นแค่โรงพยาบาลเฉยๆ แต่เป็นโรงเรียนแพทย์"
(อ.ทำสีกับตัวหนายังไงครับ ทำไม่เป็น)

อ.บาดจนผมเจ็บอีกแล้ว
"คงจะดึกแล้ว แต่ประโยค "เน้นความเป็นคน จนละเลยความเป็นหมอ" นั้น ยอมรับว่าลึกซึ้งมาก ไม่เข้าใจครับ"

คงจะดึกแล้วจริง ๆ จนทำให้ผมใช้ถ้อยคำทื่อาจทำให้คนอ่านเข้าใจเจตนาผิดไป
ตอนไปสอบวุฒิบัตร อ.ท่านหนึ่งบอกว่า
"เราใช้เวลา 6 ปีทำให้คนคนหนึ่งเป็นหมอ แต่อาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิตทำให้หมอกลับมาเป็นคน"
ฟังแล้วสะท้อนอะไรบางอย่าง
จึงไม่ต้องสงสัยครับว่าผมเองก็อยากให้"นักเรียนของเรา"เป็นหมอที่ยังมีความเป็นคนหลงเหลืออยู่ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่หลงลืมว่าทำไมเราถึงเป็นโรงเรียนแพทย์

ในที่ประชุมคณะครั้งหนึ่งมีการ discuss เรื่องหลักสูตรในเวลา 6 ปีของเรา มีคนถามเรื่อง ความแตกต่างหรือวัตถุประสงค์ในการเรียน Commed Health promotion Immersion มีคนถามเรื่องแพทย์แผนไทย คุยไปมาก็เลยไปถึงเรื่องที่ว่าส่วนหนึ่งต้องไปอยู่ชุมชน ต้องไปบริหาร รพ.ชุมชน น่าจะต้องรู้เรื่องการบริหาร เรื่อง QA HA ด้วย แล้วเรื่อง ethic หล่ะ ควรจะไปอยู่ตรงใหน เป็น block ต่างหาก หรือแทรกอยู่ตาม block อื่น ๆ ดูเหมือนว่าอะไรก็น่าเรียนไปหมด ในเวลาอันจำกัด 6 ปีนี้ ผมไม่แน่ใจว่าเคยมีการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนแพทย์ต่อหลักสูตรของเรารือไม่ แน่นอนว่าคงจะเคยมี และเดาว่าผลที่ออกมาน่าจะค่อนข้างดี แต่ผลนั้น valid แค่ใหน

ในสถานการณ์ทั่วไป เราต้องการหมอที่เป็นคน เพราะเรารู้ว่าโรคหรืออาการโดยส่วนมากสามารถบรรเทา หรือหายได้ด้วยตัวเอง คนไข้อาจต้องการเพียงได้รับาร Advice และ Reassure จากแพทย์ ได้รับท่าทีที่ Sympathy จากแพทย์
แต่ในบางสถานการณ์ เราต้องการคนที่เป็นหมอ ที่จะมา Manage อาการของคนไข้ได้อย่างทันท่วงที หรือจัดการเบื้องต้นแล้วรู้ว่าควรทำยังไงต่อไป มากกว่าการ advice แล้วให้กลับบ้าน

ในมุมมองของผม ถ้าไม่สบายแล้วต้องไปรพ. ผมอยากให้สิ่งมีชีวิตที่ผมต้องไปเจอ เป็น ทั้งหมอ(ที่มีความรู้ความสามารถ)และเป็นคน(ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี) (รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตอื่นที่ต้องเจอ เป็นทั้งพยาบาลและเป็นคน เป็นทั้งเภสัชกรและเป็นคน เป็นต้น)

คำถามที่อยู่ในใจก็คือส่วนประกอบและสัดส่วนที่พอเหมาะ ที่จะให้เขาเป็นทั้งสองอย่างและ "มีความสุข" ในการเป็น"นักเรียนของเราครับ"


Posted by : Dhan , Date : 2008-06-15 , Time : 11:12:21 , From IP : 172.29.5.80

ความคิดเห็นที่ : 11


   ขอบคุณมากครับ อ. Dhan ที่เป็นเพื่อนสนทนา​ (ที่ดีมากๆ)

ในความเห็นของผม และจากเรื่องเล่า (hippocrates) ผมคิดว่าหมอ พยาบาล ก็เป็นวิชาชีพหนึ่งที่อาศัย "ความเป็นคน" เป็นตัวผลัก เป็นรากเหง้า มาแต่เริ่มแรกนั่นเอง

จึงอาจจะเป็นข้อผิดพลาดมาแต่ต้น หากเราแยกกระบวนการหล่อเลี้ยงเพาะปลูกของสองประการนี้ออกจากกัน

ผมยังอยากให้วิชาความรู้ทางการแพทย์ของหมอที่รักษาตัวผม และลูกหลาน ญาติพี่น้องของผมนั้นอยู่ในเกณฑ์ดีมากถึงดีที่สุด เหมือนๆหลายๆคนครับ ผมกำลังนำเสนอว่ากระบวนการหล่อเลี้ยงคนและหล่อเลี้ยงแพทย์นั้น น่าจะสามารถ "เกิดขึ้นพร้อมๆกัน" ได้ (ไหม?) และถ้าพิจารณาจากสมมติฐานที่มาของวิชาชีพนี้ (ถ้ายังไม่มีทฤษฎีอื่นมาเสนอ) ตัวเนื้องานในการเป็นแพทย์นั้น เป็น model ที่ดีที่สุดที่จะฝึกหัดใช้ความเป็นมนุษย์อย่างเต็มประสิทธิภาพไปด้วยอยู่แล้วนี่นา (ไหม?)

เพราะถ้าเราไปติดกับ dilemma (ที่เราเองรึเปล่า เป็นผู้ create ขึ้นมา) ว่า "จะเป็นหมอ หรือจะเป็นคน เอาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะทำกันคนละวิธี" กระบวนทัศน์นี้จะนำไปสู่ทางตันครับ เพราะ concept มาจากความคิดที่ว่าหมอกับคนเป็นอะไรคนละเรื่องมาแต่เริ่มแรก และตรงนี้นี่เอง ผมวินิจฉัยว่าเป็นพยาธิกำเนิดของ scenario ที่อาจารย์ Dhan พูดถึงคือ "เราใช้เวลา 6 ปีทำให้คนคนหนึ่งเป็นหมอ แต่อาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิตทำให้หมอกลับมาเป็นคน"

สิ่งที่เราควรทำก็คือ ในทุกๆกิจกรรมของการดูแลรักษาคนไ้ข้ที่เกิดขึ้น ในทุกๆรายวิชาความรู้ที่นักเรียนกำลังเรียน ควรจะมีเวลา หรือบรรยากาศเอื้ออำนวยให้นักเรียนบ่มเพาะให้เกิด "ภาวนามยปัญญา" ค้นหาความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงทีแท้จริงของสิงเหล่านี้กับความเป็นมนุษย์นั้นเอง ถ้าชอบภาษาบาลี ก็คือ อิทัปปัจจยตา ถ้าชอบภาษาประกิตก็ interconnectedness ครับ ผมเขียนเรื่องนี้ใน การเรียนแพทย์ด้วยใจที่ใคร่ครวญ และ สังคมศาสตร์กับแพทยศาสตรศึกษา

น่าจะเป็นเรื่องที่เรานำมาพิจารณากัน ก็สนุกดีนะครับอาจารย์







Posted by : PHOENIX , Date : 2008-06-15 , Time : 11:42:47 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 12


   ps ลืมตอบคำถาม technigue

basic ภาษา HTML ไม่มากครับ


เขียนอะไรลงไประหว่างนั้น ก็จะเป็น bold ครับ ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่นะครับ ทำนองเดียวกันกับ


หรือ



ส่วนสีก็

NB สังเกตวงเล็บปิดท้ายที่มี backslash ทุกคำนะครับ ตรงจุดๆนั้น อาจารย์ก็เติมสีลงไป เช่น red blue ไม่มีเว้นวรรค


Posted by : PHOENIX , Date : 2008-06-15 , Time : 11:46:04 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 13


   อืม.... อธิบายไม่ได้แฮะ เอาใหม่

...... เป็น command ครับ แทนค่า x ด้วย b หรือ i หรือ u ก็จะเป็น bold, italic หรือ underline ตามลำดับ
..... แทนค่า x ด้วยคำว่า "font" ก็จะเป็นเปลี่ยนสี อาจารย์ใส่สีลงไปตรง,,, ครับ จะเป็น red, blue, green, etc ก็ได้


Posted by : PHOENIX , Date : 2008-06-15 , Time : 11:49:20 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 14


   ฮิ ฮิ ท้าทายดี เอาใหม่

[b]...[/b] เป็นการทำตัวหนา


Posted by : PHOENIX , Date : 2008-06-15 , Time : 11:50:22 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 15


   OK รู้วิธีแล้ว

[b]...[/b]
[i]...[/i]
[u]...[/u]
เป็นการทำตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้

[font color=red]...[/font] เป็นการทำสี เปลี่ยน red เป็น blue, green, etc

[a href="..."]คำบรรยายลิงค์[/a] เป็นการเชื่อมโยงลิงค์ เปลี่ยน ... เป็น html address อย่าลืมเครื่องหมาย "..." หัวท้ายด้วย

อ้อ ของจริงๆอาจารย์ต้องใช้เครื่องหมาย < แทนเครื่องหมาย [ ทั้งหมดครับ ตัวปิดก็เช่นกัน


Posted by : PHOENIX , Date : 2008-06-15 , Time : 11:53:49 , From IP : 172.29.9.38

ความคิดเห็นที่ : 16


   

อ.เขียน present บรรยายเกี่ยวกับบรรยากาศการเรียนวันนั้นได้น่าสนใจดีค่ะ...Smiley ไม่คิดว่าพอนำเสนอเรื่องราวด้วยการเขียน มันจะน่าสนใจได้ขนาดนี้ บางทีอาจจะดีกว่าดู VDO ซะอีก.. Smiley

อ่านแล้วก็จำได้เลย ถึงความเห็นที่เพื่อนๆตอบ... หลายๆคนแอบบ่นกับตัวเองตอนเพื่อนตอบว่า ถ้าถึงเราแล้วจะพูดอะไรดีน้า เพื่อนก็พูดไปหมดแล้ว แต่พอได้พูดจริงๆก็พูดกันได้ยาวเลย... ที่สำคัญสีหน้าี่ที่แสดงมันรู้สึกได้ถึงความเป็นคน ที่ดูแลคนไข้  Smiley คำพูดแต่ละคำออกมาจากใจ ปลดปล่อยความภูมิใจที่ได้เข้าถึงจิตใจของคนไข้ Smiley ทั้งคนพูดและคนฟัง...


ที่ประทับใจมากที่สุดเลยก็คือคนไข้ที่ได้ไปคุยด้วย ไม่คิดเลยว่าคนที่ป่วย คนที่ประสบกับเรื่องร้ายๆ จะคิดได้ขนาดนี้ Smiley... ขณะที่หลายๆครั้ง คนปกติอย่างนู๋กลับไม่มีกำลังใจที่จะทำอะไร Smiley





Posted by : crazymirth , Date : 2008-07-03 , Time : 03:05:43 , From IP : 172.29.23.242

ความคิดเห็นที่ : 17


   สวัสดีครับ crazymirth

ครับ และอย่างที่เคยพูดไว้ใน class ก็คือ เรื่องที่เกิดขึ้น สิ่งที่คนไข้ ญาติ คิดและพูดนั้นถ้าเรานำมาใคร่ครวญ ไตร่ตรองดูดีๆ มันจะมีสิ่งน่าสนใจแฝงอยู่เต็มไปหมด เพียงแค่ขอให้เรา ให้เวลา กับเรื่องนั้นๆอยางเพียงพอ ทุก case ต่างก็จะมีมุมมองและเหตุผลที่มาของความเชื่อ ของพฤติกรรม ของอะไรต่อมิอะไรจนมาถึงตรงปัจจุบันนี้ได้


Posted by : phoenix , Date : 2008-07-03 , Time : 11:35:56 , From IP : 203.170.234.12

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<