ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

จริงหรือไม่ที่มีการใช้ลิฟท์ตัวที่ 5 ขนย้ายผู้ป่วยโรคกาฬหลังแอ่น


   เมื่อเช้าวันจันทร์มาทำงานเห็นลิฟท์ตัวที่ 5 ตึก 8 ชั้น เปิดค้างอยู่ที่ชั้น 1 สอบถามเจ้าหน้าที่ในละแวกดังกล่าวได้มีการพูดคุยกันว่า

เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน เวลาประมาณ 22.00 น. ได้มีการขนย้ายผู้ป่วยโรคกาฬหลังแอ่นไปยังหอผู้ป่วย โดยใช้ลิฟท์ตัวที่ 5 หลังจากเสร็จภารกิจก็มีเจ้าหน้าที่ รปภ.ล็อคลิฟท์เปิดค้างไว้ที่ชั้น 1 เพื่อให้เชื้อระบายออก

แรกๆ ก็คิดว่าโรงพยาบาลเรามีระบบควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อที่ดี ไม่น่าจะมีการระบายเชื้อด้วยวิธีง่ายๆ เช่นนี้ก็ฟังผ่านหูไป แต่ก็ยังได้ยินการพูดคุยถึงเรื่องนี้กันหนาหูอยู่ทั้งวันว่าโรงพยาบาลไม่มีการป้องกัน ใครจะติดเชื้อกันแล้วบ้างก็ไม่รู้

ไม่อยากให้มีการลือเรื่องนี้กันผิดๆ จึงอยากขอให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวด้วยคะ ไม่อยากให้คนที่ไม่รู้ความจริงๆแล้วนำไปพูดต่อๆ กันถึงหูคนภายนอก ภาพพจน์โรงพยาบาลก็เสียหายหมด กว่าจะรู้ว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่ก็ไม่รู้ลือกันไปถึงไหนต่อไหนแล้ว

ปล.ขอรบกวนผู้เชี่ยวชาญบอกลักษณะอาการของโรคนี้ด้วยนะคะ กลัวติดคะ จริงไม่จริงตอนนี้ก็ระแวงไปแล้วคะ


Posted by : A-ki-ko , Date : 2008-06-04 , Time : 10:01:36 , From IP : 172.29.12.106

ความคิดเห็นที่ : 1


   เรื่องนี้หน่วยควบคุมการติดเชื้อ ได้เรียนปรึกษาอาจารย์พรพิมล พฤกษ์ประเสริฐ อาจารย์แพทย์หน่วยโรคติดเชื้อ ภาคกุมารฯ และอาจารย์กรุณาตอบคำถามดังนี้

ผู้ป่วยรายนี้ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้กาฬหลังแอ่นจากอาการทางคลินิก ผล
การเพราะเชื้อไม่ขึ้นเชื้อกาฬหลังแอ่น ทั้งจากเลือดและน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยยังได้รับการ
รักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมจากโรงพยาบาลสงขลาก่อนส่งตัวมาโรงพยาบาลสงขลา
นครินทร์
ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยที่จัดว่ามีความเสี่ยงที่จะติดโรคจากผู้ป่วยได้แก่ ผู้ที่อยู่บ้านเดียว
กับผู้ป่วย เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็กห้องเดียวกัน ผู้ที่สัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย(น้ำลาย
น้ำมูก เสมหะ) โดยการจูบ กินและดื่มจากภาชนะร่วมกัน ผู้ที่โดยสารเครื่องบินที่นั่งติดกับผู้
ป่วยและใช้เวลาบินเกิน 8 ชั่วโมง บุคคลเหล่านี้จะต้องรับยาป้องกันโรค
สำหรับผู้ที่พบเจอ/สัมผัสผู้ป่วยอื่นๆ(โดยไม่ได้สัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะโดย
วิธีดังกล่าวข้างต้น) ไม่จัดอยู่ในกลุ่มที่จะต้องรับยาป้องกันโรค
ผู้ที่ขึ้นลิฟท์ตัวที่ 5 เช้าวันรุ่งขึ้น (หลังจากขนย้ายผู้ป่วย) จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่ม
เสี่ยง ( แม้ว่าจะขึ้นลิฟท์พร้อมผู้ป่วย ก็ไม่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง นอกจากไปสัมผัสน้ำลาย
น้ำมูก เสมหะของผู้ป่วย และ เอามือไปเข้าปาก)
สำหรับเจ้าหน้าเปล ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกคน และ
ควรล้างมือทุกครั้งหลังขนย้ายผู้ป่วยทุกคน
พรพิมล


Posted by : ICN , Date : 2008-06-16 , Time : 11:55:14 , From IP : 172.29.10.226

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<