ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

ผมมาตอบข้อสงสัย นศพ.i.เรื่องการใช้ค่าVCTในการตัดสินใจให้antivenomงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ พร้อมมีรูปงูสวยๆมาฝากครับ


   ของฝากแก่ นศพ.ปี3 ครับ มีประโยชน์ในการสอบNTครับ:แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด ตามGuidelines ราชวิทยาลัยอยุรแพทย์แห่งประเทศไ

นศพ.ปี3ทุกคน ลองเข้าไปอ่านความรู้นี้ตามลิงค์ด้านล่างนะครับ มีประโยชน์ในการสอบNT.ครับ

แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด ตามGuidelines ราชวิทยาลัยอยุรแพทย์แห่งประเทศไทย

http://www.rcpt.org/guidelines/21-snake.pdf

โชคดีในการสอบนะครับ

Posted by : jr , E-mail : (jittawat.r@psu.ac.th) ,
Date : 2008-02-15 , Time : 12:19:11 , From IP : 172.29.14.182




ความคิดเห็นที่ : 1
ขอบคุณครับอาจารย์...

Posted by : stem_neo , Date : 2008-02-15 , Time : 23:24:17 , From IP : 222.123.180.158




ความคิดเห็นที่ : 2
แหม...ผมก็พึ่งทำรายงานเรื่องนี้ไปครับ
แต่สงสัยอยู่ว่าในกรณีงูกัปปะหรืองูเขียวหางไหม้
ตอนนี้เราเอา VCT > 20 min หรือ > 30 min ตาม pdf ที่อ.แปะไว้หรือครับ ผมลองไปค้นๆหลายที่ indication for Antivenom นี่มี
- VCT > 20 min (หรือยังเอา >30 min ครับ)
- plt < 10,000
- systemic bleeding
ใช่มั้ยครับ

ขอบคุณความรู้ดีๆที่อ.ยังมาให้พวกเราเสมอนะครับ

คิดถึงอ.จัง

Posted by : i , Date : 2008-02-16 , Time : 14:41:38 , From IP : 172.29.21.130




ความคิดเห็นที่ : 3
สำหรับการใช้ค่า VCT ในการบ่งชี้การให้ antivenom ในกรณีผู้ป่วยถูกงูเขียวหางไหม้หรืองูกะปะกัด เท่าที่รู้มามักใช้ค่า VCT ที่ยาวกว่า20นาทีเหมือนกันครับ แต่ผมว่าจะใช้ค่า VCT ที่ยาวกว่า20นาทีหรือที่ยาวกว่า30นาทีก็ไม่ค่อยมีความสำคัญนัก เพราะเราก็ต้องดูอาการทางคลินิกประกอบ คือการที่ผู้ป่วยมีsystemic bleedingร่วมกับมีจำนวนplatelet ที่ต่ำกว่า 10,000cell/cu.mm.เราก็ต้องให้ antivenom ทั้ง2กรณีครับ ก็คงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยครับ
ผมมีเวปดีๆ ที่มีรูปงูสวยๆมาฝากนะครับ นศพ.บางคนอาจยังไม่รู้จักงู2ตัวนี้ครับลองคลิกไปดูที่ลิงค์นี้นะครับ
http://kanchanapisek.or.th/kp7/science/Snake.html
ส่วนในเวปนี้เค้าก็จะพูดถึงการใช้ค่าVCT ที่ยาวกว่า20นาทีเป็นตัวบ่งชี้ในการให้ antivenomครับ ลองคลิกไปอ่านดูครับ
http://www.ra.mahidol.ac.th/poisoncenter/pois-cov/snake.html


Posted by : jr , E-mail : (jittawat.r@psu.ac.th/) ,
Date : 2008-02-16 , Time : 17:44:19 , From IP : 222.123.182.154




Posted by : jr , E-mail : (jittawat.r@psu.ac.th/อาจารย์จิ) ,
Date : 2008-02-16 , Time : 17:57:42 , From IP : 222.123.182.154


ความคิดเห็นที่ : 1




   สำหรับภาคใต้ เจองูกัปปะเยอะมากนะคับพี่ๆน้องๆ เห็นรูปไว้หน่อยก็ดีนะ
ตัวเหือนในรุปเลยคับ ของจิงก็อย่างนี้เลย

ตัวเป็นลักษณะสามเหลี่ยมหัวตั้งนะคับ
มีลายสามเหลี่ยมสีน้ำตาลเข้ม/ดำ ชนกันด้านบนตัว

จำรูปไว้นะค้าบ
ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะรู้จักดีกว่าหมออีก





Posted by : i , Date : 2008-02-16 , Time : 20:14:06 , From IP : 172.29.21.130

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมมักใช้วิธีจำแนกงูพิษ neurotoxin กับ hematotoxin ออกง่ายๆครับ
1. งู neurotoxin มี 3 อย่าง คือ
1.1 กลุ่มงูเห่า ลักษณะพิเศษคือ ตัวดำๆ คนไข้ตีงูมาเห็นตัวดำๆ แทงกั๊กไว้ก่อนว่างูเห่า แล้วค่อยไปดูว่า มีแม่เบี้ยไหม จะได้แยกได้ว่าเป็นงูเห่า หรืองูจงอาง
1.2 กลุ่มงูสามเหลี่ยม มักมีลายเป็นปล้องๆ prototype คือ งูสามเหลี่ยม ลายเป็นปล้องๆสีเหลืองดำ เป็นวงๆทั้งตัวเลย แต่ต้องแยกกับงูทับสมิงคลา ซึ่งเป็นงูป่า หายากกว่า แต่สีขาวสลับดำ และท้องขาว ไม่มีลายดำ สรุปเห็นสีเหลืองๆดำๆ ก็แทงงูสามเหลี่ยมไว้ก่อน
1.3 กลุ่มงูเขียว ชื่อก็บอกว่ามีสีเขียว
2. งู hematotoxin จะมีลายๆ คล้ายๆงูหลามงูเหลือม แต่จะแตกต่างที่หัว เพราะ งูพวกนี้เรียกว่า viper ก็จะมีหัวเป็นลูกศรครับ ส่วนงูกะปะ ก็จำลักษณะแบบข้างบนไว้ครับ ภาคใต้เจอบ่อยมากน้องคงได้เห็นอีกเยอะ ถ้าไม่เหมือนก็คงเป็นงูแมวเซาแล้วล่ะ แต่เจอน้อยเพราะงูแมวเซาเป็นงูป่าไม่ค่อยเจอ พิษงูแมวเซาแรงมาก เพราะจำมี MAHA blood picture และ renal failure


Posted by : Botsumu , Date : 2008-02-16 , Time : 22:21:11 , From IP : 172.29.9.55

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<