ความคิดเห็นทั้งหมด : 52

มาตรฐานแพทย์ มอ.


   ดิฉันมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์บ้างพอสมควรและเป็นผู้ป่วย ที่เคยเข้ารับรักษาจาก หมอ หลายโรงพยาบาล ได้เจอ หมอ หลายแบบมาก และหมอ จาก หลายสถาบัน สัมผัส ได้ ว่า หมอ ที่ไหน เก่งจิง หรือ มั่ว รู้สึกได้ว่า หมอที่จบ จาก มอ. จะมีความรู้ ความสามารถ ด้อยกว่า หมอ ที่อื่น มาก

เป็นความเห็นส่วนตัว นะค่ะ โรงพยาบาล มอ. ทางด้านเครื่องมือ แล้ว ก็ ยา ก็ถือว่าเยี่ยม ระบบดีพอสมควร เสียที่ หมอ กับคุณภาพ การรักษาแย่มาก ดิฉันไม่ได้อาศัยอยู่ใน อ.หาดใหญ่ นะค่ะ เคยพาแม่ไปรักษา ไปตั้งแต่เช้า ตี 5 ได้เป็นคิวแรก แต่กว่าหมอจะวินิจฉัยรักษาเสร็จ ก็ เที่ยง เพราะหมอ รักษาไป ก็ถามเพื่อนไป เรียกคนนั้น คนนี้ มาดู ต่อหน้าผู้ป่วย ทั้งที่ไม่ใช่หมอ ฝึกหัดแล้ว หมอที่ขาดความมั่นใจแบบนั้น ผู้ป่วยเค้าเจ็บป่วยหนักอยู่แล้ว มาเจอ หมอ แบบนี้อีก จะรู้สึกอย่างไร การพูดก็พูดไม่ดี แม่รูสึกไม่ดีกับการรักษาของ หมอ มอ. ก็เลย ไปต่อที่โรงบาลหาดใหญ่ เครื่องมือเค้าน้อย แออัด แต่การรักษาดีมากๆ อธิบายให้ฟังชัดเจน หมอก็พูดจาสุภาพ เป็นมิตร ทราบว่าหมอจบจาก มหิดล

มันไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอแบบนี้ ดิฉันก็เคยเจอกับตัวเอง ที่โรงพยาบาลที่บ้านดิฉันซึ่งอยู่จังหวัดใกล้เคียงกับสงขลา หมอส่วนใหญ่ก็เป็นหมอที่จบจาก มอ. ดิฉันเป็นเป็นโรคเกี่ยวกับระบบเลือด รักษาอยู่เกือบเดือน หมอจาก สถาบัน มอ. 4 คน ทั้งเจาะเลือด ทั้ง x-ray สารพัด วินิจฉัยว่าเป็น 70% เป็นมะเร็ง ไม่ใช่หมอ เพิ่งจบนะค่ะ หมอที่รักษาเนี่ยเป็นหมอ มาตั้งแต่ ดิฉันยังไม่เกิดด้วยซ้ำ ประสบการณ์ความรู้ ไม่น่าจะทำให้วินิจฉัยออกมาได้แบบนี้

หมอโรงพยายาลเดียวกันแนะนำให้ไป โรงพยาบาลหาดใหญ่รักษาอยู่ 4-5 วัน ก็ออกจากโรงพยายาบลา ได้ วินิจฉัยออกมาถูกต้องว่า เป็นอะไร บอกตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่เจาะเลือดเลยค่ะ ทราบว่าหมอ จบจาก มหิดล ค่ะ

จากการรักษาของ หมอ สถาบัน มอ. มีผลข้างเคียงพอสมควร และยาที่เค้าทดลองฉีดให้ดิฉันอาจจะทำให้ดิฉันเสียชีวิต ได้ ถ้าไม่ได้เปลี่ยนที่รักษาซะก่อน

ตอนนั้น เสียความรู้สึกกับหมอ มากๆ รู้สึกขยะแขยงหมอบางพวก และก็เกิดการเปรียบเทียบ หมอจากสถาบันต่างๆ เดี๋ยวนี้ ถ้าเป็นตัวดิฉันเอง ดิฉันจะไม่ไปหาหมอที่จบจาก มอ. เลย

อยากให้ สถาบันที่ผลิตแพทย์ ได้ปรับปรุงคุณภาพของ หมอ ก่อนให้ออกมาประกอบอาชีพ เพราะเค้าอาจจะช่วยหรือ ฆ่า คนก็ได้

เป็นความรู้สึกของคนป่วยคนนึงนะค่ะ ญาติดิฉันก็เป็นอาจารย์ใหญ่ อยู่ที่ มอ. จะแย่มากถ้าสิ่งที่อุทิศให้กลับมาทำร้ายตัวเอง




Posted by : ญาติอาจารย์ใหญ่1 , Date : 2007-12-24 , Time : 21:58:41 , From IP : 125-25-168-53.adsl.t

ความคิดเห็นที่ : 1


    ขอแสดงความคิดเห็นต่อ ท่านที่ใช้นามว่า"ญาติอาจารย์ใหญ่" ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์แพทย์ที่เคยเรียนและจบมาจากสถาบันนี้ และได้ไปต่อสาขาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากสถาบันอื่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ กทม.ครับ
ผมไม่ได้เข้ามาแก้ตัวให้แพทย์ด้วยกันหรือว่าให้สถาบันแห่งนี้ แต่จะขอเสนอสิ่งที่เป็นจริงที่ปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่มารักษาในร.พแห่งนี้
การรักษาโรคหรืออาการต่างๆที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ จะมีมาตรฐานการรักษาที่เหมือนกันตามหลักวิชาชีพแพทย์และตามมาตรฐานวิชาชีพที่แพทยสภากำหนด ทุกสถาบันจะเหมือนกันหมดครับ โรคหรืออาการบางชนิดใช้เวลาในการตรวจ และ/หรือส่งตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการฯเล็กน้อยก็สามารถให้การวินิจฉัยได้ถูกต้องและให้การรักษาได้ถูกต้องและรวดเร็ว แต่บางโรคหรืออาการบางชนิดอาจต้องใช้เวลาตรวจนาน และ/หรือต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการฯที่ยุ่งยากและซับซ้อนถึงจะได้การวินิจฉัยที่แน่นอนถูกต้องและให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป แต่โรคหรืออาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์บางชนิดถึงแม้จะตรวจละเอียดและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการฯที่ละเอียด ยุ่งยากและซับซ้อนก็ยังให้การวินิจฉัยโรคได้ไม่แน่ชัดซึ่งโรคหรืออาการในกลุ่มนี้อาจต้องมีการปรึกษากันระหว่างแพทย์ หรืออาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้การวินิจฉัยและให้การรักษาโรคที่ถูกต้องต่อไป จึงเป็นเรื่องปกติที่แพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ด้วยกัน
อีกประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องของแพทย์ที่จบจากสถาบันนี้และทุกๆสถาบัน เมื่อจบแพทย์แล้วไม่ว่าจะจบจากสถาบันใด ยอมมีความรู้ความสามารถที่เท่าเทียมกันตามมาตรฐานของหลักสูตรแพทยศาสตร์ ตามที่แพทยสภากำหนดไว้ และทุกสถาบันก็ต้องมีการทดสอบความรู้ความสามารถที่เรียนมาโดยใช้เกณฑ์การวัดผลโดยการสอบเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งแพทย์ทุกท่านที่จบมาต้องผ่านการทดสอบนี้ ฉะนั้นผมเชื่อมั่นว่าแพทย์ที่จบมาทุกท่านยอมมีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกันทุกสถาบัน
สำหรับแพทย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แห่งนี้มีมากมายที่ได้สร้างชื่อเสียงที่ดีและเป็นประจักและยอมรับกันทั่วไปในวงการแพทย์และทางด้านอื่นๆ
ผมขอแสดงความคิดเห็นเพียงบางส่วนเท่านั้นเพื่อให้ท่านที่ใช้นามว่า "ญาติอาจารย์ใหญ่" ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงบางส่วนที่ท่านอาจไม่ทราบ โดยมองในอีกแง่มุมหนึ่งในโรงพยาบาลแห่งนี้ว่าจริงๆนั้น การเรียนการสอนแพทย์ให้จบเป็นแพทย์ การรักษาผู้ป่วยที่มารักษาที่ร.พแห่งนี้ ไม่ได้เป็นแบบที่ท่านเข้าใจครับ
ถ้าท่าน"ญาติอาจารย์ใหญ่"ยังมีข้อข้องใจอะไรที่ยังไม่เข้าใจอาจลองเมล์คุยกับผมตาม ที่อยู่เมล์ท้ายข้อความนี้ได้ครับ ผมยินดีตอบข้อข้องใจท่านนะครับ ขอขอบคุณท่านมาณ.ที่นี้ด้วยครับ


Posted by : jr , E-mail : (jittawat.r@psu.ac.th) ,
Date : 2007-12-25 , Time : 11:10:34 , From IP : 172.29.14.182


ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณญาติอาจารย์ใหญ่ครับ
อ่านข้อเขียนของคุณแล้วผมไม่ได้เดือดร้อนใจหรอก ถึงแม้ผมเป็นแพทย์ มอ.คนหนึ่ง เพราะข้อเขียนของคุณนั้น หากเป็นผลงานวิจัยที่ได้ข้อสรุปเช่นนั้น คงไม่มีใครรับตีพิพม์หรือไม่อ่านเพราะเข้อเขียน/ข้อสรุปของคุณนั้น ใช้ไม่ได้ เป็นข้อสรุบที่ ที่ว่าแพทย์ มอ.มีคุณภาพตำนั้นไม่มีคุณภาพ ไม่น่าจะเป็นข้อเขียนของผู้ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้างเลย เพราะ
1.มีอคติในการเลือกประเด็น หรือกลุ่มตัวอย่าง อาศัยเหตุการณ์ 1 ในหลายแสนครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจในโรงพยาบาล
2.ตัวอย่างที่เลือกมาเสนอไม่ได้เป็นตัวแทนของแพทย์ทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างนี้เป็นตัวแทนของแพทย์ที่จบจาก มอ. หลายพันคนหรือ
3.เกณฑ์ที่คุณตัดสินว่าคุณภาพแพทย์ มอ.ตำนั้น มาจากความรู้สึกล้วนๆ

- สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาลต่างๆ คงไม่มีประโยชน์แล้วมัง
- เรายินดีรับฟังข้อร้องเรียน และยินดีแก้ปัญหาผู้รับบริการเสมอ
- คุณมีปัญหาอะไรก็ควรติดต่อผู้บริหาร ซึ่งยินดีและเต็มใจในการแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพที่ดีขึ้น ไม่น่าจะมาเขียนกระทู้ล่อเป่ฃ้า หรือมาแสดงความเป็นตัวตนของคุณว่าเป็นคนอย่างไร มีความคิดแคบๆ ให้ผู้อื่นอ่าน
- ผมเชื่อว่าผู้อ่าน และแพทย์ มอ.คงเข้าใจคุณ ไม่ถือโกรธ หรือ มารับลูกกระทู้ล่อเป้าแบบนี้อีกเพราะเหตุผลข้างต้น

- ขอเสนอแนะว่าคุณมีปัญหาอะไรก็แก้ปัญหาให้ตรงจุด มีเหตุมีผล และใช้ความรูทางวิทยาศาสตร์ที่คุณมี มาแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าครับ


Posted by : Tan , Date : 2007-12-25 , Time : 13:52:09 , From IP : 172.29.10.101

ความคิดเห็นที่ : 3


   สวัสดีครับ คุณเจ้าของกระทู้

ผม นายแพทย์สกล สิงหะ ผมทำงานอยู ม.อ. ครับ ผมจบจากมหิดล และต่อสาขาศัลยศาสตร์ที่ ม.อ. อยากจะขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ เผื่อจะเกิดทางออกอะไรมากขึ้น เพื่อทำให้เราทุกคน ทุกฝาย พัฒนาขึ้น มีความสุขมากขึ้น

คุณคงจะมีความทุกข์มากพอสมควร จึงเกิดความจำเป็นและแสดงออกมา และเราต้องขอบคุณที่แสดงความคิดเห็นเพื่อให้เป็นกระจกสะท้อนการทำงานของเรา และเสนอให้เราทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น และเป็นการพัฒนาต่อไป ตรงนี้เป็นสิ่งที่ดี และน่าสรรเสริญ เป็นกลัยาณมิตรขององค์กรของเรา

ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน เพื่อประกอบภาพที่เป็น jigsaw ให้ชัดเจนขึ้น

ตอนผมเรียนที่มหิดล มีนักเรียนทั้งหมด 180 คน ตอนนี้มากขึ้นอีก คิดว่าเกิน 250 แล้ว พวกเรามีความรู้ มีึความถนัด ที่แตกต่่างกัน ตั้งแต่น้อยมากถึงมากที่สุด สุดท้าย เราก็มีการประเมินว่า อะไรเป็น "มาตรฐานกลาง" ที่แพทย์โดยเฉลี่ย ควรจะมีเพื่อประโยชน์ของประเทศ แต่คนที่จบมา และผมคิดว่าเป็นทุกๆที่ ก็คือ มีเก่งมาก มีเก่งน้อย มีไม่เก่ง และคนเรานั้น เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายๆคนที่ระดับเกียรตินิยมตอนจบ ก็เบี่ยงเบนความสนใจไปตามวาระของตนไม่เน้นวิชาการต่อเนื่อง หลายๆคนที่สนใจวิชาการน้อยตอนแรก ก็เกิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ ทำให้เป็นนักวิชาการที่มีชื้่อเสียง ตรงนี้ขึ้นกับบริบทและสิ่งแวดล้อใค่อนข้างเยอะ รวมทั้งการเลี้ยงดู ครอบครัว ความเชื่อ ศาสนา ฯลฯ มากมายเหลือเกิน เกินกว่าที่เราจะพยากรณ์ได้ว่า อะไรเพียงประการเดียวจะทำให้เกิดอะไรตามมา

ตอนนี้ผมเป็นอาจารย์แพทย์สอนอยู่ที่ ม.อ. ก็มีลูกศิษย์หลากหลายครับ บางคนเป็นอภิชาติศิษย์ คือเก่งกว่าผมเยอะมากก็มี บางคนก็จบร่อแร่ แต่ก็มีจิตใจงดงาม และอยากดูแลคนไข้ให้หายเจ็บป่วย นั่นเป็นสิ่งที่เป็นอย่างน้อยที่สุด ที่เราพยายามจะผลิตแพทย์ออกมาจาก ม.อ.ในขณะนี้ คือ จิตเมตตา และกรุณา

เรื่องคุณภาพ หรือ เรื่องผลลัพธ์ปลายนั้น บางทีมันมีส่วนของบริบทเยอะ โรคบางโรค มาวันที่หนึ่ง อาจจะไม่มีใครให้วินิฉัยได้ แม้แต่ world expert แต่พอมาวันที่สอง หรือสาม แม้ต่นักศึกษาแพทย์ก็ให้วิินิจฉัยได้ เพราะอาการและอาการแสดง รวมทั้งผลเลือด ผล x-ray ช่วยเหลือ พึ่งออกมาก็มี

สิ่งหนึ่งที่เราพยายามบอกนักศึกษาแพทย์ก็คือ อย่าได้ด่วนสรุปจนตัดสินคนไข้เด็ดขาด เพราะเรามักจะเผลอ download เอาประสบการณืเก่า ค่านิยมเก่า ความหมายเก่า มาแปลอย่างรวดเร็ว ฟันธง แต่ชีวิตคน และคุณค่าของคนๆหนึ่งนั้นซับซ้อนมากนะครับ เวลาเรามีปฏิสัมพันธ์กับใครสักคนหนึ่งเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง แล้วเราด่วนสรุปว่า คนนี้ดีเลิศ คนนี้ห่วยแตก ทั้งๆที่เวลาที่เรารู้จักนั้น เป็นหนึ่งในล้านของช่วงชีวิตคนๆนั้น มันก็มีโอกาสสรุปผิดได้ไม่น้อย เหมือนกับเวลาที่มีคนมาด่วนสรุปตัวเรานั้นแหละครับ เราก้ไม่ชอบ คิดว่าเออ หนอ แกเป็นใคร มารู้จักมักจี่กับแันแค่ไหน จึงคิดว่ารู้จักฉันดีพอที่จะมาตีคุณค่าของฉันได้อย่างถูกต้อง

ผมคิดว่า การได้พูดจาสื่อสาร และในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง นำมาเปรียบเทียบศึกษา เราอาจจะเห็นประเด็นที่พัฒนาได้ ประเด็นที่ทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ประเด็นที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ฯลฯ ก็จะมีทางออกที่ชัดเจนมากกว่าการใช้ความรู้สึเพียงอย่างเดียว หรือ ข้อมูลที่เรากำลังมีอารมณ์คุกรุ่น จากความผิดหวัง จากความโกรธ

แพทย์ที่ ม.อ. จะเน้นการบริการที่หาความปลอดภัยของคนไข้เป็นหลัก และเราเป็นศูนย์ excellence centre หลายสาขา แะนั้นแม้แต่แพทย์ที่จบมานานแล้ว ก็ยังต้องการยืนยันประเด็นบางอย่างกับแพทย์ท่านอื่น ทั้งนี้เพื่อให้ความเห็นที่จะนำไปปฏิบัตินั้น เป็นความรู้ที่ update และมีประโยชน์สูงสุด เราจะไม่พยายามคิดว่าเรารู้มากทีุ่สุด หรือมีความหยิงทรนงจนไม่อาจจะถามไถ่คนอื่น ตรงกันข้าม เราคิดว่า ถ้าถามแล้ว คนไข้อาจจะได้ทางเลือกที่ดีักว่า เราก็จะไม่รีบตัดสิน แต่จะถาม ตรงนี้ถ้าไม่ได้ถูกอธิบาย ก็อาจจะถูกเข้าใจผิดว่าทำไมมันหลายขั้นตอน ก็คงจะต้องขออภัยคุณเจ้าของกระทู้ ว่่าเป็นปัญหาด้านการชี้เจงว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ และทำไมต้องถาม ทำไมต้องรอ

บางสาขา เช่น โลหิตวิทยา ที่เตียงสำรองมีจำกัด เรา็ขอยืมเตียงที่ รพ. หาดใหญ่่ และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของที่ ม.อ. ก็ไปดุแล ไปสอนแพทย์ใช้ทุน แพทยืประจำบ้าน ที่ รพ.หาดใหญ่ด้วย เป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ่มค่ามากที่สุด เราไม่ได้เป็นคู่แข่งกับ รพ.อื่น ตรงกันข้าม เราสื่อสารและเอื้อเฟื้อแหล่งปัจจัยซึ่งกันและกันตลอดเวลา หากคนไข้มีความสุขกว่าที่รักษาที่ รพ. หาดใหญ่ แล้วเกิดต้องการอะไรที่ ม.อ. เรามี เราก็ยินดี ที่จะทำให้ที่ รพ. หาดใหญ่ โดยไม่ได้คิดว่าใครจะได้หน้า หรือได้ชื่อเสียงแต่อย่างใด ผมเองก็เคยไปสอนที รพ.หาดใหญ่ และ อาจารย์จาก รพ.หาดใหญ่ก็เคยมาสอน มาแลกเปลี่ยนให้ที่ ม.อ. คนไข้ที่มีความชอบหลากหลายก็จะได้ถูกดูแลตามต้องการ

สุดท้ายนี้ หากยังมีประเด็นอะไรต้องการระบาย หรือซักถาม ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ หวังว่าความทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจ จะมีทางออก ทางแก้ไข ได้ในทางที่ดีที่สุดด้วยครับ

ขอบพระคุณมาก

นพ.สกล สิงหะ
รพ.ม.อ.


Posted by : phoenix , Date : 2007-12-25 , Time : 15:42:44 , From IP : 172.29.12.46

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมว่าหากเจ้าของกระทู้จะช่วยตอบมาซักนิดจะดีมากนะครับ เพราะเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อคำพูดที่คุณพูดออกมา

Posted by : alonzo , Date : 2007-12-25 , Time : 17:06:37 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 5


   ขอเล่าประสบการณ์จริง โดยขอไม่แสดงความคิดเห็นดังนี้

รายที่1. เพื่อนเป็นอาจารย์อยู่จังหวัดตรัง มาหาหมอที่นี่ด้วยก้อนที่เต้านม หมอบอกว่าเป็นมะเร็งให้มาผ่าตัดด่วน เพื่อนบอกว่ายังไม่พร้อมเพราะ......(หลายสาเหตุ) หลังจากที่ทุกอย่างพร้อมก็มาผ่าตัด สุดท้ายปรากฏว่าไม่ใช่มะเร็ง

รายที่2. เป็นอาจารย์อยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เจอก้อนเนื้อที่มดลูก มาหาหมอที่นี่ ถามกันไปถามกันมา โดนหมอตวาดกลับ เลยเผ่นไปผ่าตัดที่ รพ.หาดใหญ่

ทั้งสองเรื่องจากคำบอกเล่าของเพื่อนโดยตรง


Posted by : ใบปอ , Date : 2007-12-26 , Time : 09:58:04 , From IP : 172.29.14.213

ความคิดเห็นที่ : 6


   รายที่1 ถ้าไม่ตัดแล้วเปนมะเร็งคนซวยคือใครครับ แล้วในใบยินยอมเซนต์แล้วใช่มะครับ หมอบอกแล้วใช่มะครับ ผมถามคนไข้ไม่ได้ถามคุนนะ
รายที่2ถามกันไปถามกันมายังไงครับ หมอคงไม่ตวาดคง่ายๆ เอารายละเอียดมาสิครับ เผื่อจะได้นำไปปรับปรุง


Posted by : alonzo , Date : 2007-12-26 , Time : 12:52:17 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 7


   จริงๆ ดิฉันตั้งใจจะโพสตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้วที่ดิฉันพาแม่ไป รพ.มอ.นะค่ะ ดิฉันกลับมาบ้าน รู้สึกแย่ รู้สึกโกรธ เอามากๆ พยายามหาเว็บบอร์ดที่จะแสดงความคิดเห็น แล้วดิฉันก็เจอบอร์ดนี้ ดิฉันสมัครชื่อไว้ ตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้ว เพิ่งได้ รับจดหมายซึ่งอยู่ใน junk mail เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.50 ว่า ท่านมีสิทธิใช้เว็บบอร์ด แล้วเพิ่งได้มีโอกาสเปิดจดหมาย ก็วันที่ โพสกระทู้แหละค่ะ อารมณ์ความรู้สึก ตอนนี้ มันลดไปเยอะเหมือนกัน

ขอเรียน ท่านอาจารย์หมอ คุณหมอ มอ. นะค่ะ ว่าจุดประสงค์ที่ดิฉันมาโพส เรื่องนี้ เพราะดิฉันคิดว่า หมอ มอ. ควรได้รับการปรับปรุงด้านความรู้ความสามารถ ของย้ำว่าเป็นความคิดเห็นความรู้สึกของดิฉันคนเดียวนะค่ะ

ขอเรียนคุณหมอ มอ. คห.ที่ 2 นะค่ะว่า ดิฉันก็เขียนไว้แล้วนะค่ะว่าดิฉันเขียนจากความรู้สึก จากประสบการณ์ในฐานะผู้ป่วย ดิฉันเขียนแสดงความคิดเห็น ดิฉันไม่ได้เสนอบทความวิจัย ที่ดิฉันบอกไว้ว่าดิฉันมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์บ้างพอสมควร ดิฉันหมายถึงว่า ดิฉันสามารถอ่านชื่อโรค อ่านชื่อยา อ่านค่าทางวิทยาศาตร์ที่เป็นพื้นฐานได้บ้าง ทราบว่าโรคบางโรคเกิดจากเชื้ออะไร และคิดได้ว่ามันมีต้นเหตุมาจากอะไร เคยส่องกล้องจุลทรรศน์ รู้ศัพท์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์บางตัว ซึ่งทำให้ดิฉันทราบว่า หมอเค้ารักษา เค้าฉีดยา สั่งยาอะไรอย่างไรให้ดิฉันบ้าง ดิฉันไม่ได้หมายความว่าดิฉันรู้มากระดับหมอหรอกค่ะ

เรื่องราวที่ได้ยินมาจากคนรู้จัก จากญาติ จากเพื่อน ว่า หมอ มอ. วินิฉัยให้เป็นโรคนั้นโรคนี้ทั้งที่ไม่ได้เป็นได้ยินมาบ่อยค่ะ ดิฉันก็ไม่ทราบว่ามันจริงหรือไม่จริง เพราะดิฉันไม่ได้ประสบกับตัวเองก็ขอไม่แสดงความเห็น

เอาที่ดิฉันประสบด้วยตัวเองดีกว่าค่ะ ดิฉันป่วยบ่อยค่ะตั้งแต่เด็กแล้ว หนักบ้าง ไม่หนักบ้าง หนักมากๆก็มี(ทั้งที่มันไม่ควรจะหนัก แต่เพราะหมอ มอ. ทำให้ มันหนัก) ประสบการณ์การเจอหมอ เกือบ 20 ปี นี่ ก็เจอ หมอมาน่าจะถึง 100 คน (ตอนแรก ไม่ได้ดูภูมิหลังหรือแบ่งแยกชนิดหมอเลย คิดว่าหมอ คือพระเจ้า หมอ คืออัจฉริยะ หมอต้องเก่ง) บ้านดิฉันอยู่ในจังหวัดข้างเคียงสงขลา ดิฉันเรียน กทม. ก็เลยเจอหมอ ตามโรงพยาบาล ตามคลินิคจากหลายสถาบัน 60%ของหมอที่เคยเข้ารับการรักษา เป็นหมอ จาก มอ. เพราะโรงพยาบาล ที่บ้านมีแต่ หมอ มอ. กับ หมอ มหิดล ก็ไปๆมาๆ บ้านกับที่เรียน แล้วช่วงปิดเทอม กลับบ้านมา ก็ป่วยมากต้องนอน ร.พ. ก็ต้องเข้าโรงพยาบาลที่บ้าน เป็นครั้งที่ทำให้ดิฉันรู้สึกแย่กับหมอ(ทุกสถาบันด้วยซ้ำ) การป่วยครั้งนี้ หมอ มอ. 4 คน ร่วมกันทดลองรักษา ดิฉันเป้นเวลาเกือบเดือน ทั้งตรวจเลือด ทั้ง x-ray อัลตราซาว์ เอายาฆ่าเชื้อตัวนั้น ตัวนี้ มาฉีด แต่ก็ไม่ได้ผล และยังวินิจฉัยกันไม่ออกว่าเป็นอะไร แถมยังเหมือนเดาบอกว่าดิฉันเป็นมะเร็งเม็ดเลือดอีก บอกให้ญาติดิฉันทำใจ แต่มีหมออีกท่านแนะนำให้ย้าย รพ.ไป รพ.หาดใหญ่ เจาะเลือด 1 ชั่วโมง หมอก็ถือสไลด์เลือดมาบอกว่าเป็นอะไร รักษา 4-5 วันก็กลับบ้านได้ ขนาดต้องเจาะไขสันหลังเพื่อพิสูจน์การฟันธงของ หมอ มอ. นะค่ะ เนี่ย ไหลังจากนั้นปรักษาผลข้างเคียงที่เกิดจากการทดลองของ หมอ. มอ. ที่คลินิค หมอ รพ.หาดใหญ่คนนี้ จึงทราบว่า เป็น หมอ มหิดล

มันต่างกันมากจนรู้สึกได้และอดเปรียบเทียบไม่ได้ หมอ มอ. 4 คน ใช้เวลาตรวจวินิจฉัย เกือบเดือนและเครื่องมือเยอะแยะ แต่วินิจฉัยและรักษาไม่ได้ กับ หมอ.มหิดล 1 คน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง กับสไลด์เลือด+กล้องจุลทรรศน์ รักษาและวินิฉัย ได้ถูกต้อง รักษาหาย ดิฉันเสีย เวลา เสียค่าใช้จ่าย แล้วก็เกือบเสียชีวิตกับการทดลองยาของ หมอ. มอ. ความรู้สึกคือ มั่วไปเรื่อย นี่ เหรอ หมอ ผลข้างเคียง ดิฉันผมร่วงจากการเจาะเลือดอย่างสิ้นเปลืองและการให้ยามั่วๆ(ดิฉันนึกว่าดิฉันหลับ แล้วเค้าแอบจับดิฉันฉายรังสีซะอีก เป็นทุกข์ กังวล มากเลยค่ะตอนนั้น) ดิฉันปวดหัวและปวดหลังจากการเจาะไขสันหลัง ทั้งที่ดิฉันไม่ควรต้องเป็นขนาดนี้ ตอนนั้น เกียดหมอทุกสถาบันเลย เลย มองหมอแย่มาก จนได้เจอ หมอ มข. ท่านหนึ่ง พูดคุยรับรู้ได้ว่า เป็นหมอที่สามารถ เค้าก็บอกว่า หมอ ก็คนธรรมดา ที่อาจจะรู้มากกว่า หน่อย หมอก็มีทั้งดี และไม่ดี เก่งและไม่เก่ง และดิฉันก็ค่อยมองหมอเป็นปกติขึ้นมาหน่อย แต่เวลาไปคลินิค จะมองก่อน ว่า หมอ จบจากที่ไหน แต่ก็ยังฝังใจอยู่กับ หมอ มอ. ที่ไม่อยากจะเข้ารับการรักษาด้วย

แล้วเมื่อ 3 เดือนก่อน แม่ดิฉันเกิดการเจ็บป่วยกับอวัยวะสำคัญแบบไม่รู้ตัวอยู่ๆก็เป็นขึ้นมาเองตื่นมาก็เป้นเอง สร้างความเจ็บปวดมากต้องไปหา หมอ. ที่ รพ. มอ. แต่เช้า เพราะ ที่ รพ.ที่บ้านดิฉัน ไม่มีหมอเฉพาะทางสาขานี้ประจำอยู่ แม่ดิฉันไป มอ. เพราะคิดว่ามีหมอ มีเครื่องมือพร้อม และแม่สามารถใช้สิทธิ์จ่ายตรงได้ ไปถึงก็เข้าห้องฉุกเฉิน แล้วไปคลินิคเฉพาะ หมอก็ให้ยา 1 ตัว ที่ไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยเลย แค่สมานแผล แล้วนัดว่าวันุร่งขึ้นให้มาดูอีกที แม่เจ็บแผลมากขอนอน รพ. เค้าก็บอกว่าเป็นนิดหน่อยเอง ไม่ต้องนอน แม่อ้อนวอนและบอกว่าบ้านไม่ได้อยู่หาดใหญ่ไป-มาลำบาก เค้าก็ยืนยันไม่ให้นอน แม่เลยต้องออกไปหาโรงแรมที่พักข้างนอกไม่ได้กลับบ้าน เพราะกลัวมาไม่ทันคิวแรก วันรุ่งขึ้นก็มาได้คิวแรก แต่ก็อย่างที่บอกว่า รักษาเสร็จเที่ยง รักษาไป ก็ถามเพื่อนไปว่า ว่าถูกมั้ย เรียกเพื่อนมาดู ความมั่นใจในตัวเองไม่มีเลย แล้วก็บอกเป็นเหมือนเดิม แล้วก็ให้ยาสมานแผลตัวเดิม ทั้งที่คนไข้ก็ยังเจ็บปวด ร้องขอยาบรรเทาอาการ ก็ไม่ให้ แล้วนัดให้มาดูแผลอีกในวันรุ่งขึ้น แม่ก็ขอนอน รพ.อีก ก็ไม่ให้อยู่ ทั้งที่แม่ก็บอกว่าไม่ได้อยู่ในหาดใหญ่ ก็ไม่มีวิจารณาจะเห็นใจเลย
แม่ออกจาก รพ.มอ. ตรงไป รพ.หาดใหญ่ จริงๆ จะไปทำจ่ายตรงกับ รพ.หาดใหญ่ แต่ไหนๆ ก็ไปแล้ว ก็ให้หมอตรวจอีกที เนื่องจากเจ็บปวดมาก เค้าก็จัดคิวด่วนให้พบหมอ หมอก็อธิบายดีว่าเป็นอะไร เรียกดิฉันไปดูด้วย บอกที่มาที่ไปแม่บอกว่าเจ็บปวดมาก ขอนอนโรงพยาบาล หมอชี้แจงว่าการบาดเจ็บที่เป็นไม่ได้หนักมากมาย มีผู้ป่วยมากที่ต้องใช้เตียงเตียงไม่พอ แต่จะให้ยาเพิ่มจากที่ มอ. ให้ 2 ตัว เป็นยาเบาเทาอาการเจ้บปวด และยารักษา ส่วนยาสมานแผลให้ใช้ของ มอ. หมอ รพ.หาดใหญ่ พูดสุภาพเป็นมิตร มีจิตวิทยาดีมาก ทั้งที่วัย หมอ รพ.หาดใหญ่ ก็ไม่ได้ต่างจาก หมอ มอ.เลย อาทิตย์ถัดมา แม่ก็หาหมอ รพ.หาดใหญ่ที่คลินิค ดิฉันไปด้วย ดิฉันชอบดูค่ะว่าหมอแต่ละคนเรียนอะไรมา จบจากที่ไหน หมอคนนี้ จบ มหิดล อีกแล้ว

จาก 2 ครั้งใหญ่ๆ มันเห็นความสามารถในการรักษาแตกชัดเจน

ยังมีประสบการณ์ปลีกย่อยอีกเยอะ ที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า หมอ ของ มอ. มีความสารถด้อยจริงๆ

ทำไมทั้งที่ เรียนหลักสูตร แพทย์ศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ ผ่านการทดสอบ มาเหมือนกันๆ ทุกสถาบัน อย่าง อาจารย์หมอ คห.ที่ 1 บอก แต่ ทำไมถึงรักษาผู้ป่วยได้แตกต่างกัน แบบนี้ หรือเป็นเรื่องของความสามารถเฉพาะบุคคล

ที่เล่าให้ฟังมันเป็นความเจ็บปวดของผู้ป่วยคนนึง ที่เคยเป็นเหมือนหนูทดลอง เป็นประสบการณ์แย่ๆ ที่ บางคนอาจจะโดนแบบดิฉัน หรืออาจจะโดนมากกว่าดิฉัน แต่ไม่มีโอกาส สะท้อนไปถึง ถ้าเปิดใจรับเพื่อเป็นกระจกสะท้อนอย่างที่ อาจารย์ หมอ คห.ที่ 3 ว่าไว้เพื่อจะทำสิ่งที่ดีแล้วให้ดีขึ้นไปอีก มันก็ก่อประโยชน์ แต่ที่ดิฉันพูดมันเป็นมุมมองด้านลบ เหมือนการตำหนิ ซึ่งมันก็ต้องระคายความรู้สึกของผู้ถูกกล่าวถึงอยู่แล้ว แต่มันคือสิ่งที่ดิฉันอยากบอก


Posted by : ญาติอาจารย์ใหญ่1 , Date : 2007-12-27 , Time : 01:14:57 , From IP : 125-25-177-124.adsl.

ความคิดเห็นที่ : 8


   ทุกความคิดเห็นเป็นบทเรียนที่ นศพ.อย่างผมต้องใส่ใจและใคร่ครวญ อย่างหนักแล้วสิครับ
จะอย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันไม่น่าจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจให้ผิดพลาดหรอกครับ...แต่ไม่เจอกับตัว ผมก็ไม่รู้ น่าเห็นใจครับ
แต่ช่องทางในการร้องเรียนที่สมเหตุสมผลอื่น ๆ ก็มีนะครับ เพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการ ที่ดีกว่านี้ เพราะจากที่อ่านมาเจ้าของกระทู้ก็น่าจะมีประวัติการรักษาอยู่ จริงไหมครับ
จะอย่างไรก็ตามผมก็ยังคง เป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ และจะพยายามให้ความสำคัญประเด็นทางด้านจริยศาสตร์ให้มาก ๆ ครับ


Posted by : stem_neo , Date : 2007-12-27 , Time : 02:56:11 , From IP : 222.123.179.202

ความคิดเห็นที่ : 9


   จากการอ่านคำตอบเจ้าของกระทู้ผมเข้าใจเรื่องราวแล้วล่ะครับ และก็เห็นใจด้วย อยากให้เจ้าของกระทู้พักผ่อนบ้างนะครับ อย่าจริงจังเกินไป บางเรื่องถ้าเราไม่ปล่อยวางบ้างอาจจะเครียดเกินไปนะครับ ส่วนทางมอ.คงจะดำเนินการพัฒนาอยู่เสมอๆเพื่อคุณภาพการรักษาที่ดีครับ
และผมว่าส่วนนี้อย่างน้อยก็ทำให้ที่นี่จะยังคงมีพัฒนากรที่ดีต่อไป ว่าแต่ว่าคุณมองเห็นส่วนที่ดีของมอ.บ้างรึเปล่าครับ ลองdiscuss ส่วนที่ดีมาดูมั๊ย อาจจะทำให้คุณสบายใจขึ้นนะ
alway look to the right sided of life


Posted by : alonzo , Date : 2007-12-27 , Time : 08:34:31 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 10


   สวัสดีครับ

ยินดีที่เรามีการสนทนากันต่อครับ เรื่องราวต่างๆจะค่อยๆชัดขึ้้นเรื่อยๆ รวมทั้งวิธีที่จะปรับปรุงแก้ไขต่อไปด้วย

ประสบการณ์ตรงจะเป็นอะไรที่เราประทับใจ (ได้ทุกทิศทาง) และจดจำเสมอ เป็นแนวทางในการที่จะเกิดกระบวนวิถีคิด และพฤติกรรมต่่อๆไป จนบางครังเราเกิด "การตัดสิน" ไว้ล่วงหน้าก่อน เช่น ไป รพ.นี้น่าจะดี ไป รพ.นี้น่าจะไม่ดี ส่วนหนึ้งของประสบการณ์เก่านี้เองที่มีส่วนทำให้เราเกิดความสมหวัง และผิดหวัง มากหรือน้อยกว่าการไม่มีีการตัดสินล่วงหน้า

ประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้แต่กับสถานที่ บุคคล เรื่องราวเดียวกัน ก็ยังแตกต่างกันได้เยอะ ผมคิดว่าทุกๆสถาบันจะมีคนไข้ที่ชอบ และไม่ชอบ ด้วยประสบการณ์ตรงของตนเอง และเป็นหน้าที่ที่สำคัญเมื่อเวลามีคนไม่ชอบ หรือให้ความเห็นที่จะปรับปรุง เราจะได้มองหาทางแก้ไข

ที่นี้นอกจากประสบการณ์ที่เป็นความรู้สึกแล้ว บางทีการได้ข้อมูลจำเพาะ ก็จะทำให้แก้ไจได้ "ตรงจุด" ยิ่งขึ้น ตรงกันข้าม หากข้อมูลไม่จำเพาะ หรือเป็นข้อมูลที่ "เหมารวม" หรือ stereotype ไปทั้งกลุ่ม จะยิ่งทำให้แก้ไขลำบากมากขึ้น อาทิ มีฝรั่งมาเที่ยวประเทศไทย ถูกโกงค่าสามล้อ แล้่วเขาก็เขียนจดหมายไปหานายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศ บอกว่า ประเทศอยู่ต้องปรับปรุงอีกเยอะ เพราะคนไทยเป็นคนเลว เราก็แปลออกว่าเขาไม่พอใต แต่ปรับปรุงตรงไหน อย่างไร ก็จะยากขึ้นเยอะครับ และคนไทยดีๆที่เหลืออยู่ก็อาจจะรู้สึกไม่ยุติธรรมที่โดนตัดสนิเหมารวมไปด้วยเช่นนั้น

หรือบางประเทศที่เจอคนดีเข้าไป ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งประเทศจะดีไปหมด ในทำนองเดียวกันแหละครับ ผมคิดว่าถ้าเราตั้งความหวัง หรือความคาดหวัง ที่เป็นแบบเหมารวม ก็จะเกิดความผิดหวังได้แน่ๆ เพราะมนุษย์นั้นช่างหลากหลาย เกิดกว่าที่การการันตีจะทำได้ร้อยเปอร์เซนต์

ผมคิดว่า เพื่อการสร้างสรรค์นั้น เวลาเราชม หรืิอ ตำหนิ จะดีกว่าไหมครับว่า เราพิจารณาว่ามันเกิดจาก "บริบท" เพื่อการป้ิองกันการด่วนตัดสิน และจะได้้้ล่าบริบท สถานที่เกิดเหตุ เหตุการณ๋ตามลำดับขัั้นตอนจริงต่างๆ และข้อสำคัญก็ืคือ เมื่อไรก็ตาม ที่เกิดความเข้าใจประเภทหนึ่ง อาจจะมีประโยชน์ถ้ามีการ clear ความเข้าใจว่า ที่่เราคิดนั้น เกิดขึ้นจริงตามนั้นทั้งหมด หรือว่ามีบริบทอื่นๆที่เราไม่ทราบ ไม่ได้ข้อมูล จนการสรุปรวมของเราอาจจะผิดพลาดได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เวลา feedback ก็จะเกิดประโยชน์ และแนวทางในการพัฒนาตรงเป้าอย่างสูงสุด

คนที่ระคายเวลาถูกตัดสิน ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนที่ทำผิดจริงเท่านั้นหรอกนะครับ แต่คนที่โดนเหมาไป ทั้งๆที่ทำดีอย่างมากอยู่แล้ว บางทีจะเจ็บปวดกว่่า และคนเราก็ต้องการการให้กำลังใจทั้งสิ้่น ตามคติ "อตฺตานํ อุปมํ กเร" เอาใจเขามาใส่ใจเรา นั่้นแหละครับ ก็ขอให้เหตุการณ์ต่อๆไป มีการแก้ไขพัฒนาขึ้น และเราทุกคนเป็นคนที่ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น เป็นสาระขึ้นปีใหม่นะครัย

สวัสดีครับ

นพ.สกล สิงหะ


Posted by : phoenix , Date : 2007-12-27 , Time : 14:04:39 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมเหนด้วยกับ อ.สกล นะ

Posted by : alonzo , Date : 2007-12-27 , Time : 19:14:39 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 12


   These are valuable comments to me.As a doctor 2 main things are really important......STATE OF THE ART KNOWLEDGE IN YOUR EXPERTISE and BEAUTIFUL MIND.....lack of either one will create unpleasant creature!(killer - may be?)



Posted by : cosmo , Date : 2007-12-28 , Time : 11:50:35 , From IP : MEDTSVDMonsur.jcu.ed

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในคณะนี้ มีความรักและผูกพันกับคณะแพทย์มากนะครับ
ขอบคุณเจ้าของกระทู้นะครับ ที่ได้ช่วยกระตุ้นเรื่องนี้ขึ้นมา

ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับนักศึกษาแพทย์ในปัจจุบัน
เราคงต้องยอมรับจริงๆนะครับว่า นักศึกษาแพทย์สมัยนี้ (ไม่ทั้งหมด) ขาดซึ่งความกระตือรือร้น และ ความตั้งใจ จริงๆ

ไม่ว่านโยบายจากเบื้องบนเป็นเช่นไร มาตรฐานกำหนดเช่นไร หลักสูตรมีแค่ไหน
แต่ความเป็นจริงที่เป็นอยู่ .... ความเป็นจริงที่อาจารย์แพทย์ทุกคนก็เห็นๆอยู่บนวอร์ดผู้ป่วยคือ
นักศึกษาแพทย์ของเราสมัยนี้ส่วนใหญ่ ด้อยซึ่งความรู้จริงๆ ครับ

ถามอะไรพื้นฐานก็ตอบไม่ได้ ไม่แม่น
ถามอะไรที่เป็นคลินิก ก็ไม่ทราบ
ถามอะไรที่ซับซ้อน มักจะตอบได้บ้าง แต่ไม่ครบ
สรุปได้ว่า ...
ความรู้พื้นฐานพรีคลินิก ก็ยังไม่แม่น
ความรุ้คลินิกก็ไม่มี หรือ มี แต่มั่ว สับสน จับประเด็นจับหลักไม่ได้

เป็นเรื่องที่น่าเศร้า
แต่เราต้องยอมรับมันนะครับ...

เหตุผลหนึ่งอาจะเกิดจาก มอ. ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นศููนย์การรักษาของภาคใต้
ดังนั้นคนไข้ที่มานอนในรพ. ก็มักเป็นคนไข้โรคซับซ้อน และ ยาก
ซึ่งไม่เหมาะสมกับนศพ. ที่ความรู้พื้นฐานก็ยังไม่แม่น จับหลักและประเด็นก็ยังไม่ได้
เมื่อไม่มีหลัก และ ต้องลอยเคว้้งคว้างอยู่ท่ามกลางปัญหาและข้อมูลมากกมายที่ถาโถมเข้ามา
ย่อมทำให้สับสนและยิ่งจับหลักไม่ได้ครับ

ต่างจาก รพ. หาดใหญ่นะครับ คุณเจ้าของกระทู้
ที่นั่น มีโรคทุกประเภท ส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อย โรคที่ยากหรือจัดการไม่ได้ จึงส่งตัวมารักษาที่ มอ. .. แต่นี่คือระบบในปัจจุบันที่เป็นอยู่ แต่คงเป็นต่อไปเรื่อยๆ
ประเด็นนี้ผมไม่พูดถึงแล้วกันนะครับ

ผมอยากให้พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทั้งอาจารย์ และ นศพ. ที่เห็นปัญหาจริงในขณะนี้
ได้ตระหนักกันจริงๆว่า มาตรฐานของ มอ. ด้อยลงจริงๆ (ไม่ใช่อ.แพทย์นะครับ แต่เหมายถึง นศพ. และ พชท. บางส่วน)
สำหรับคนที่มีความรู้ มีมาตรฐาน มีจิตวิทยาที่ดีอยู่แล้ว นั้นก็ดีครับ
แต่เราอีกหลายคน (และส่วนมาก) ยังขาดไป ... มาก

นักศึกษาแพทย์สมัยนี้ เที่ยวเยอะขึ้น เห็นแก่ตัวมากขึ้น ขี้เกียจ หลบหนีการรวด์ การดุคนไข้มากขึ้น ... นี่คือความจริง ที่เราเองก็ทราบกันดีอยู่ ..
เราต้องกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ปัญหานี้มีุทุกสถาบันครับ ทุกสถาบัน .. แต่ด้วยสังคม มอ. ของเรา
เป็นสังคมพี่น้อง รู้จักกันหมด เราสนิทกันมาก (มากกว่าอีกหลายๆที่ในส่วนกลาง) จึงอาจทำให้เราดูเด็ก และ ไม่รู้จักโตบนขาของตัวเอง
คิดว่ามีพี่ มีอ. คอยแบคอัพ ..
ไม่ต้องสั่งยาคนไข้เอง ไม่ต้องไปดูแลมาก เพราะมีคนที่สูงกว่าดูแล

....
....

ผมเอง...ทำตัวดีและไม่ดีปนกันมา
หลายๆครั้งที่ช่วย / วินิจฉัย / รักษา / เข้าใจ คนไข้และญาติได้อย่างดีเยี่ยม
แม้ผมอาจไม่ได้รักษาเก่ง แต่เรื่องจิตใจและการเข้าใจนั้น ผมก็ไม่เิคยด้อยกว่าใคร
แต่
หลายๆครั้ง ที่ผมละเลย สะเพร่า เห็นแก่ตัว ขี้เกียจ ติดสบาย .... ทำร้ายคนไข้ของผมทางอ้อม

เราทุกคนก็มีทั้้งด้านดี และด้านไม่ดีนะครับ
กระทู้นี้ ทำให้ผมตระหนักขึ้นอีกเยอะเลยว่าผมแย่ตรงไหน
ผมต้องปรับปรุงตรงไหน
และจุดอ่อนของคณะเรา คณะที่ผมรัก อยู่ตรงไหน

อยากให้อีกหลายๆคนที่เกี่ยวข้อง หลายๆคนที่ถุกพาดพิง
และหลายๆคนที่เป็นอย่างนี้จริงๆ ได้คิดดูนะครับ

ขอบคุณครับ เจ้าของกระทู้
อย่างน้อยวันนี้ ผมก็มีเป้าหมายจริงๆอีกหนึ่งอย่างนะครับ

ขอบคุณมากครับ



Posted by : i , Date : 2007-12-28 , Time : 23:17:20 , From IP : 172.29.21.206

ความคิดเห็นที่ : 14


   ที่ผ่านมา รพ. ของเราทำได้ดีมาก มาก ในเรื่องคุณภาพโรงพยาบาลจนกลายเป็นความภูมิใจของบุคลากรทุกคน กลายเป็น UNITY ในองค์กร
อีกด้านหนึ่งเรา ยังเป็นสถาบัน (INSTITUTION) ที่ต้องเป็นผู้นำด้านองค์ความรู้.... เป็นไปได้ไหมที่คณะของเราจะร่วมมือกัน ระดมความคิด สร้างกระแส"ความเก่งและความดี" ให้เด่นขึ้นกว่าที่เป็น เด็ก ที่เป็นแพทย์รุ่นผลผลิตของเราจะได้สมบูรณ์แบบ และทุกคน(รวมถึงผมด้วย) จะ ภูมิใจ



เราต้องกล้ายอมรับความจริงก่อนจึงจะเดินต่อไปได้.........เช่น ด้านการเรียนการ สอน อะไรคือเกณฑ์มาตรฐาน เราอยู่ตรงไหน? ด้านวิจัย อะไรคือเกณฑ์มาตรฐาน(วัดโดยแสดงให้เห็นถึงความสามารถขององค์กรโดยรวม) เราอยู่ตรงไหน? อะไรคือเป้า ทำอย่างจริงจังให้เป็นกระแสเหมือนเรื่องการประกันคุณภาพโรงพยาบาล ที่เราทำสำเร็จมาแล้ว ผุ้บริหารคณะเราเก่ง ต้องทำได้แน่


Posted by : cosmo , Date : 2007-12-29 , Time : 07:45:17 , From IP : 194.brs0104.brs.ipri

ความคิดเห็นที่ : 15


   ผมรู้สึกดีมากในทิศทางการสนทนาของกระทู้นี้ครับ ขออนุญาติเสริมต่อ

ในศาสตร์ว่าด้วยการเรียนรู้ (Epistemology) นั้น น่าสนใจในกระบวนการการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลมาก และในภายหลังเราพบว่า สิ่งต่างๆที่เรารับรู้และปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นพฤติกรรมนั้น ส่วนใหญ่เกิดจาก "สิ่งแวดล้อมภายใน" หรือ "โลกภายในตนเอง" ของเรานั้นเอง

แน่นอนที่ว่า "บรรยากาศภายนอก" ก็มีส่วนสำคัญ แต่ความสำคัญของบรรยากาศภายนอกนั้น ก็ต้อง "ถูกแปล" ว่าสำคัญโดยกระบวนทัศน์ กระบวนคิดภายในด้วยเสมอ บรรยากาศที่สวยงามนั้น เป็นการแปลโดยปัจเจก และ ผลแห่งการแปลนี้ไม่เป็นสากล และไม่ใช่สมับูรณ์ คนบางคนชอบสีเขียว บางนชอบสีฟ้ส บางคนชอบห้อง บางคนชอบที่โล่ง เป้นต้น ความต่างนี้เป็นความหลากหลายของมนุษย์ที่ถูกออกแบบมาให้หลากหลาย

ถึงกระนั้นก็ตาม เราก็ยัง "สังเกต" เห็น อะไรที่เป็นคุณค่าร่วมอยู่ได้ ตรงนี้ทางจิตวิทยาสาย คาร์ล จุง เรียกว่า "ARCHETYPE" เช่น ทุกๆสังคม ก็จะมี archetype ของ "holyman" แต่พอปรับลงไปในวัฒนธรรม ก็จะมีรูปร่าง profile ที่ไม่เหมือนกัน อาจจะเป็นพระ เป็น priest เป็น rabbi เป็นอิหม่าม ในที่นี้ holyman เป็น archetype

หรือทุกๆสังคมมี archytype ของ "healer" แต่ละสังคมก็จะมี image ของ healer แตกต่าง แต่ก็จะมี healer ของตนเองทั้งสิ้น อาจจะเป็นหมอ เป็น druid เป็น wizard เป็น shaman ฯลฯ

การที่เรามี archytype นี้มีประโยชน์มาก เพราะเราสามารถจะ "ย้อมกลับไปหาแหล่งที่มา" ของกลุ่มของเราได้เสมอ สำคัญก็คือ เรามี "สติ" พอหรือไม่ที่จะถามตนเองว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ และเราอยู่ในมรรคาของสิ่งที่ที่เราอยากจะเป็นตั้งแต่แรกเริ่มหรือไม่

"สติ" นี้เป็นสิ่งแวดล้อมภายใน

ดังนั้นทุกๆสถาบัน ทุกๆมหาวิทยาลัย จึงผลิตบัณฑิตที่หลากหลายออกมา และไม่ใช่แบบโรงงานที่จะมีการ stamp ว่าเหมือนกัน แน่นอนที่สุด ถึงแม้ว่าสิ่งแวดล้อมภายในจะแตกต่างกัน แต่มหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่ optimize สิ่งแวดล้อมภายนอกไว้ดีแล้ว ผลลัพธ์โดยเฉลี่ยก็จะดีกว่า สูงกว่า องค์กรที่ยังไม่ไดปรับสิ่งแวดล้อมภายนอกเลย

ปัญหาอยู่ที่ว่า "สิ่งแวดล้อมภายนอก" นั้น หมายถึงสังคมด้วย ไม่ได้หมายถึงบริเวฯใน campus เพียงเท่านั้น ณ ปัจจุบัน เป็นที่น่าสนใจว่า "สิ่งแวดล้อมภายนอก" ที่ส่งอิทธิพลต่อการเรียนระดับอุดมศึกษานั้น มีอะไรบ้าง และอะไรที่มีผลมากหรือน้อยเพียงไร?


Posted by : phoenix , Date : 2007-12-29 , Time : 12:39:24 , From IP : ppp-124.120.225.51.r

ความคิดเห็นที่ : 16


   ผมว่าการมองแบบที่ผู้ใหญโตแล้วมองเด็กวิ่งเล่น สะท้อนถึงความ maturity ของผู้ใหญ่คนหนึ่ง
ผู้ใหญ่คนหนึ่งตัดสินและประกาศภาพเด็กโดยอาศัยเด็กไม่กี่คนที่เขาเห็นออกไปให้โลกรู้ ผลสะท้อนกลับจึงมิใช่เด็กที่ถูกกระทำ สังคมมีความคิดมีมุมมอง มี fact ที่ เป็น back up data สังคมรู้ว่าอะไรคือตัวชี้วัด ผู้ใหญ่ที่น่านับถือจึงไม่พูดถึงเพียงเด็กสามคนที่เขาบังเอิญเดินผ่านและพบเห็น แต่เขาจะพูดถึง เด็กทั้งชั้นเรียนที่เขาสัมผัสทำความเข้าใจ และถามถึงเหตุผล
และผลสุดท้ายผู้ใหญ่ทั้งสองคนจะได้รับ อะรบางอย่างต่างกัน


Posted by : alonzo , Date : 2007-12-29 , Time : 14:31:48 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 17


   เพราะการที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคจึงทำให้มีความมั่นใจที่มากมาย ยอมรับแต่คำสรรเสริญชื่นชมแต่ทางด้านบวก จนละเลยอีกด้านไปจนไม่อาจยอมรับได้ก็ธรรดาของปัจเจกบุคคล

สังคมมีความคิด มีวิจารณญาณ จากหลายปัจจัย พื้นฐานจิตใจ พื้นฐานการศึกษา สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ ทำให้แปลความหมาย แสดงออกมาเป็นความเข้าใจที่หลากหลาย

การยอมรับแต่ด้านบวกว่ามีค่า มีความหมาย หลงอยู่ด้านเดียว เคยทำอย่างไรก็ทำอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนา ก็อยู่ได้

ตาสีตาสาเขียนชื่อตัวเองยังไม่ได้ ป่วย ไปหาหมอ ด้วยเจตนาดีเพื่อจะช่วยเหลือผู้ป่วย หมอก็ทำทุกทางเพื่อให้รู้ว่าตาสีตาสาเป็นอะไร เจตนาที่ดีแต่ไม่ถึงพร้อมซึ่งภูมิความรู้ ความรอบรู้รอบคอบ ความเฉลียวใจ จึงได้ให้ยาต้านมาลาเรียแก่ตาสีตาสาที่มาทราบภายหลังว่าเป็นเม็ดเลือดแดงแตกง่ายจนมีอาการทรุด แต่ก็ยังวินิจฉัยไม่ได้ไม่แม่น จึงสันณิษฐานแจ้งแก่ตาสีตาสาว่าน่าจะเป็นมะเร็ง หากตาสีตาสามีอันเป็นไป ก็คงเข้าใจว่าตังเองเป็นมะเร็งตายตามที่ผู้ชำนาญเฉพาะสาขาชี้บอกด้วยความไม่รู้

-ในภูมิภาคนี้มีตาสีตาสาสักกี่คนที่จะรู้ว่ายาที่ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อโรคของตัวเอง
-ตาสีตาสาอีกเท่าไหร่ที่ตายไปเพราะคิดว่าเป็นไปตามที่ผู้รู้มากกว่าชี้
-มีตาสีตาสาสักกี่คนที่พอเข้าใจแล้วมาบอกเล่าด้านลบ ให้ได้รับรู้รับทราบกัน ได้ให้โอกาส หรือ ทำให้เค้ามีโอกาสบ้างหรือยัง

สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีค่าหรือไม่ ก็อยู่ที่โลกทัศน์ และปัจจัยภายในของผู้นั้นที่จะเปิดกว้าง หรือจะหรี่แคบเปิดไว้ให้แค่ด้านเดียวนั้น ก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล

การไม่ชี้ชัด คงทำให้กระทบทั้งระบบก็จริง แต่มันก็เป็นอุธาหรณ์ ที่ทำให้ตื่นได้ทั้งระบบด้วยเช่นกัน ความเข้าใจ ความศรัทธา ของสังคมนั้นเกิดจากหลายปัจจัยอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น สังคม สามรถคิดเองได้ กลั่นกรองได้

ความประทับใจ ในสิ่งดี หรือไม่ดี ก็จะยังประทับอยู่ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้มีคนเป็นล้านๆว่าทักษิณโกง ทักษิณหมิ่นเบื้องสูง แต่ทำไมชาวอีสานก็ยังหลงใหลได้ปลื้มเลือก ทักษิณ นั่นก็เพราะความรู้ ความเข้าใจของปัจเจกบุคคล มีแตกต่างในหลายระดับ ซึ่งโอกาสในการรับรู้ข้อเท็จจริง ก็มีส่วนมากเหมือนกันต่อการแสดงออก


Posted by : ญาติอาจารย์ใหญ่1 , Date : 2007-12-30 , Time : 14:20:52 , From IP : 125-25-177-76.adsl.t

ความคิดเห็นที่ : 18


   1.โลกทรรศน์นั้นเปิดกว้างแต่หากท่านอำพรางหลักฐานเกรงว่าจะเป็นเรื่องอุปโลกขึ้นมาเอง หากท่านรู้สึกอึดอัดเหตุใดไม่ใช้ศูนย์ร้องเรียนข้างๆร้านขนมเล็กๆแถวชั้น 1 ซึ่งจะมีกระบวนการจัดการแก้ไขต่อไปอย่าเหมาะสม การที่ท่านมากล่าวอ้างในที่นี้แสดงถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้สังคมมองและเข้าใจสถาบันแห่งนี้แบบที่ท่านคิด ท่านกำลังใช้วิธี mass effect มากกว่าปรารถนาดีต่อสังคม (ต่อตาสีตาสาเพื่อนๆของตาสาตาสีญาติท่าน)ท่านมีเจตนา
2.ส่วนตัวของ นายทักสิน ที่สังคมมองว่าดีหรือไม่ดี ท่านก็ดูสิครับ ทุกวันนี้ ผลการเลือกตั้งออกมาเป็นเช่นไรบอกอะไรเรา ผมว่า ไม่เกี่ยวกับ เรื่องที่ท่านพูดเลย


Posted by : alonzo , Date : 2007-12-30 , Time : 15:36:42 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 19


   เห็นด้วยกับคุณ alonzo ครับ แต่ก็ คิดเหมือนกันครับว่า การร้องเรียนอย่างเดียวอาจไม่พอ พวกเราทุกคนควรทราบข้อมูลตรงส่วนนี้ด้วยกัน ผมขออนุญาตมองต่างมุมนะครับ ต้องขอบคุณ คุณ"ญาติอาจารย์ใหญ่1" ที่ สละเวลา ให้ ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร ผมเองเชื่อครับว่า ทุกคนอยากทำดี แต่ BEAUTIFUL MIND อย่างเดียวไม่พอจริง จริง ในฐานะแพทย์ KNOWLEDGE ต้องคู่กันเสมอ..........ผมฝันเห็น "world class knowledge with Thai touch practice" ในสถาบันของเรา........ขอบคุณ จริง จริง ครับ ........สวัสดีปีใหม่ทุก ทุก ท่านครับ

Posted by : cosmo , Date : 2007-12-30 , Time : 17:51:10 , From IP : 194.brs0104.brs.ipri

ความคิดเห็นที่ : 20


   ผมติดตามกระทู้มาตั้งแต่คืนแรกที่เจ้าของกระทู้เขียน
กระทู้ที่ใช้อารมณ์ตนเองมาเป็นบรรทัดเพื่อตีวงให้ผู้อื่นต้องเชื่อตามที่ตนเองต้องการ และไม่ฟังผู้อื่น เป็นอะไรที่ไม่น่าจะมีสาระในการอภิปรายและยังทำให้ตนเองถูกมองในแง่ลบด้วย
เท่าที่ผมตามดูก็ไม่มีหลักฐานผู้เสียหายหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นปัญหาด้านการสื่อสารมากกว่า
ขอติงอีกอย่าง การใช้ชื่อเจ้าของกระทู้ว่า ญาติอาจารย์ใหญ่นั้น ดูไม่เหมาะ ไม่ควร การบริจาคนั้นน่าจะเป็นกุศลมากกว่านำมากล่าวอ้างด้วยอารมณ์


Posted by : ken2007 , E-mail : (kuangkirt@hotmail.com) ,
Date : 2007-12-30 , Time : 21:48:34 , From IP : 203.209.26.70


ความคิดเห็นที่ : 21


   สวัสดีครับ

โดยส่วนตัวแล้ว ผมคง "ไม่กล้า" บอกว่าคนอีสานคิดอย่างไรหรอกนะครับ เพียงเพราะ "คนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์ออกคะแนนเสียง" ลงคะแนนให้ใคร เพราะอะไร อาจจะไม่เพียงพอที่เราจะไปรู้ใจ หรือเข้าใจคนอื่นได้เพียงพอ

เพราะมิฉะนั้นแล้ว ถ้าเกิดมีฝรั่งใช้ logic เดียวกันนี้ แล้วสรุปว่า "คนไทย" เห็นดีเห็นงาม หรือนิสัยเหมือนกันหมด ผมว่าคงจะมีคนหลายสิบล้านคนไม่ยินยอมที่จะให้สรุปเช่นนั้น

ในการสื่อสารนั้น มีสามมิติ คือ คนสื่อ คนรับ และบริบท การลดหย่อนประสิทธิภาพ ไม่ว่าด้านในด้านหนึ่ง สามารถทำให้เกิดผลเสียได้ทั้งนั้น ความรุนแรงคงจะบอกไม่ได้ว่าจากไหนจะมาก จะน้อย เพราะ เกิด/ไม่เกิด กับ รุนแรง/ไม่รุนแรง เป็นคนละมิติ คนละเหตุผลกัน

การที่เราคิดแบบเหมารวม ทำให้เกิดความเข้าใจว่าแก้ปัญหาแบบเหมาโหล จะช่วยได้ และเราก็ใช้วิธีแก้ปัญหาเหมาโหลมานานนับศตวรรษ ก็ยังไม่ work ดังนั้นทฤาฏีการศึกษายุคใหม่ จึงเริ่มสนใจใน "ประสบการณ์ตรง" ทีเป็นเรื่องปัจเจกมากขึ้น การ lecture ทีละ 200 คน เริ่มพบว่ามีปัญหาในการให้การศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

นักศึกษาแพทย์หลายคน ต้องเริ่มฝึกการให้ความเห็นที่รัดกุมและสื่อสารได้ดี บางคนเริ่มต้นแสดงความคิด มักจะติดว่า "คนส่วนใหญ่คิดว่า.... สังคมคิดว่า...." บางครั้งถึงขนาดเคยมีคนวิจารณ์ระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) ว่า "เด็กไทยเรียนไม่ได้หรอกวิธีนี้" ทั้งๆที่คนพูดไม่เคยทำ poll study มาก่อน ไม่เคยศึกษาวิจัยเรื่องนั้นมาก่อน แต่มักจะอ้าง ส่วนใหญ่ สังคม หรือการเหมารวม ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นความเห็นของผู้พูดเองทั้งสิ้น ก็คือ คนพูดคิดว่าตนเองไม่สามารถเรียนแบบนี้ได้ ก็พูดว่า "คนไทยเรียนแบบนี้ไม่ได้" ดังนั้นแพทย์จะต้องเริ่มแยกแยะสิ่งที่พูดว่า ตกลง เป็นความเห็นส่วนตัว หรือเป็นผลงานวิจัย และเราจะใช้ทฤษฎีที่ว่ากับใคร มีลักษณะเช่นไร กับคนผิวขาววัยกลางคน คนผวิดำวัยชรา หรือเด็กแรกเกิด เพราะการเหมารวมนั้น ไม่มีทางใช้ได้กับคนทุกกลุ่มอย่างแน่นอน

ในยุคแห่งการ "ฟันธง" นั้น คนจะด่วนตัดสิน และทีเกิดผลร้ายได้มากสุด ก็คือการด่วนตัดสินคุณค่าของคน ไม่ว่าจะเป็นคนๆเดียว คนทั้งองค์กร คนทั้งประเทศ แต่ผลกระทบนั้นไปถึงทั่วกันหมด เพราะเราอาศัยอยู่ในนิเวศเดียวกัน

ถ้าจะมีพรปีใหม่ประการเดียว สำหรับปีหน้านี้ ผมอยากจะขอให้พวกเราแต่ละคนเติบโตเต็มศักยภาพของเราที่ได้เกิดมา และขอให้มีสัมมาสติ สัมมาทิฎฐิ คิดไตร่ตรองใคร่ตรวญให้ดี เวลาตัดสินคุณค่าของคน เพราะมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมนั้น เราเชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างพิศดาร จิตใจที่หม่นหมอง จะรังแต่ทำให้ความทุกข์นั้นหล่อเลี้ยงตนเอง ไม่มีจบสิ้น ขอให้มีจิตอันบริสุทธิ์ เป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวทุกผู้คนเถิด


Posted by : phoenix , Date : 2007-12-30 , Time : 22:41:11 , From IP : ppp-124.120.228.110.

ความคิดเห็นที่ : 22


   จุดประสงค์ก็เคยบอกไปแล้วถึงการด้อยความรู้ความสามารถของแพทย์ที่เป็นผลผลิตจาก มอ.ที่เคยประสบ ไม่ได้เป็นอริอึดอัดกับบุคคล สถานที่ เครื่องมือ โต๊ะ เก้าอี้ หรือ ระบบ ใดๆ ของ มอ. เป็นพิเศษ เพราะไม่ได้ไปใช้บริการบ่อยจนทำให้ทราบว่ามีจุดใดไว้สำหรับรับเรื่องร้องเรียน และไม่ได้มีเจตนาจะชักนำสังคมให้มอง มอ. ในแง่ร้าย เพราะตระหนักดีว่ามีเป็นแสนเป็นล้านของผู้ป่วยที่ผลผลิตของ มอ. ได้ค้ำจุนช่วยเหลือจนรอดปลอดภัยให้ประทับความทรงจำและแซ่ซ้องสรรเสริญ แต่จะมีผู้ป่วยสักกี่คนที่ได้รู้ถึงความผิดพลาดในการรักษาของหมอ ที่ด้อยภูมิความรู้ ประมาท ขาดความรอบคอบ ทำให้เจตนาที่จะช่วยกลายเป็นการทำร้าย ที่ยกตัวอย่างตาสีตาสา เพราะถ้าเป็นคนที่ไม่มีความรู้อะไรเลย จะรู้มั้ยว่าเค้าถูกกระทำอะไร ถ้าตายตายด้วยโรคอะไร แล้วมีโอกาสให้มากมายแค่ไหนที่ตาสีตาสา จะไปบอกให้รู้ข้อผิดพลาดของคุณ เพราะความไม่รู้ของตาสีตาสาที่ด้อยเรื่องการศึกษาจึงเข้าใจไปว่าที่เค้าเจ็บป่วยหรือตายเป็นเพราะความรุนแรงของโรค ยังคงมองคุณเป็นพ่อพระเพราะความไม่รู้ เช่นเดียวกับที่ชาวอีสานเลือกทักษิณ ทั้งที่ พวกคนใต้และพวก กทม.ที่ว่าตัวเองมีความรู้มีการศึกษามากกว่าบอกว่าทักษิณทั้งโกง ทั้งขายชาติจึงไม่เลือก และบางพวกยังว่าชาวอีสานโง่ที่เลือก ทั้งนี้ก็เพราะคิดว่าเค้าอาจจะมีความรู้น้อย จึงทำให้เข้าใจไปแบบนั้น ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าหลอกอะไรชี้อะไรก็เชื่อ นั่นก็เพราะความไม่รู้นั่นเอง

และก็ย้ำอีกที่ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็น เป็นมุมมองจากประสบการณ์จริงของผู้ป่วยคนหนึ่งคนนี้คนเดียว อาจจะมีคุณค่าบ้าง ไม่มีค่าบ้าง หรืออาจจะคิดว่าเป็นนิยายแต่งมาเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของอะไร ก็สุดแต่ จิตใจ IQ, EQ ของปัจเจกบุคคลจะคิดไปได้ ปิดกั้นกันไม่ได้

การมีญาติเป็นอาจารย์ใหญ่ แล้วใช้ชื่อนี้ผิดด้วยเหรอ แล้วไม่รู้สึกผิดเหรอที่เค้าอุทิศให้แต่ยังด้อยภูมิความรู้ออกมาทำลายญาติเค้าอีก

และก็เห็นตั้งแต่วันแรกๆเหมือนกัน ที่ประกาศตนว่าเป็นหมอ แต่ IQ, EQ ที่แสดงออกมาให้เห็น มันไม่ใช่ ไม่อายเหรอค่ะ คุณก็มีความคิดมีมุมมองของคุณ ดิฉันก็มีความคิดและมุมมองของดิฉัน ถึงไม่ประกาศก็พอจะแยกแยะได้ว่าอันไหนความเห็นระดับอาจารย์ อันไหนหมอทั่วไป อันไหน นศพ. ถ้าได้แสดงออกมาให้สมภูมิ


Posted by : ญาติอาจารย์ใหญ่1 , Date : 2007-12-31 , Time : 00:00:51 , From IP : 125-24-108-127.adsl.

ความคิดเห็นที่ : 23


   สวัสดีอีกทีครับสำหรับคืนนี้

เวทีนี้ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งครับ ที่จะเป็นที่ร้องเรียนได้ ก็นับว่ามาถูกที่แล้ว

เวลาร้องเรียน ก็มักจะต้องการการแก้ไข หรือป้องกัน ผมคิดว่าในเรื่องเราจะต้องพยายามอีกมากนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธ เพราะ "ความสมบูรณ์" นั้น ไม่เกิดขึ้นเป็น absolute หรือ 100% อย่างแน่นอน

ผมคิดว่ามี "ประเด็นย่อย" ที่แตกแขนงมาจากเหตุต้นกำเนิดหลักไป นั่นคือ การเหมารวม และการตัดสินคุณค่าของคน และเนื่องจากกระดานข่าวนี้เป็นสถานที่สาธารณะ ดังนั้น การมีข้อมูลครบทุกด้าน เพื่อให้การอ่าน การเข้าใจ มีหลายๆมุมมอง ตรงนี้จะเป็นประโยชน์มากที่สุด ดีกว่าการมีข้อมูลเพียงด้านเดียว หรือการที่ไม่มีความเห็นที่แตกต่างกันเลย

ในเรื่องการรับรู้นั้น ไม่สามารถสรุปเพียงว่า ไม่รู้คือโง่ หรือ การรับรู้ที่แตกต่างจำเป็นจะต้องมีคนถูกหรือคนผิดเสมอไป ในสังคมที่แท้จริงนั้น เราอยู่กับความเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร เป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียว และอาจจะมากกว่าการอยู่กับความเห็นที่เหมือนกันเสียด้วยซ้ำ เพราะปฏิกิริยาของเราต่อความเห็นที่แตกต่างนี่แหละ ที่จะส่งผลต่อสายใยของความสัมพันธ์ในสังคม ที่พวกเราแต่ละคนในที่นี้อาศัยอยู่

การศึกษาที่สูงไม่ได้ทำให้หายโง่เสมอไป คนกรุงเทพฯอาจจะเข้าถึงข่าวสารได้มาก มีฐานะการเงินที่ร่ำรวย แต่นั่นก็ไม่ใช่ลักษณะจำเพาะที่จะบรรยาย พรรณนา "คนกรุงเทพฯ"ได้ทั้งหมด คนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ก็ยังไม่ได้บ่งชี้ถึง "คุณค่า" ของคนๆนั้นได้เสียทีเดียว

เราจะทำอย่างไร จึงจะหลีกเลี่ยงการด่วนตัดสิน?

อะไรบ้างที่เวลาเรา "เหมารวม" แต่ที่จริงเป็น "ตัวเรา" ที่คิดและสรุปเอง? ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผมเองอยากให้เกิดขึ้นในสังคม การห้อยแขวนไม่ด่วนตัดสิน การใช้หลักกาลามสูตร เพื่อใช้สติปัญญาค่อยๆคิดใตร่ตรอง ถึงบริบท ถึงความมีปัจเจกบุคคล เราเองจะรู้สึกอย่างไร ที่มีคนมาด่วนตัดสินเรา เมื่อครูบอกว่าเราไม่ดี ขี้เกียจ มีคนมาว่าเราจู้จี้ เรื่องมาก ทั้งๆที่คนๆนั้นรู้จักเรา มีปฏิสัมพันธ์กับเราแค่เศษเสี้ยวของชีวิตเราทั้งหมด เราก็อาจจะไม่พอใจ และถ้าเราไม่พอใจเวลาคนอื่นด่วนตัดสินเรา เราควรที่จะด่วนตัดสินคนอื่นหรือไม่? เราควรที่จะด่วนตัดสินองค์กรหรือไม่? เราควรที่จะด่วนตัดสินคนทั้งกลุ่มหรือไม่? เวลาฝรั่งอ่านข่าวเลือกตั้งล่าสุด ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคพลังประชาชน จะแปลว่า "คนไทย share value ของพรรคพลังประชาชน" เช่นนั้นหรือไม่? และถ้าเรารู้สึกไม่ดี มันก็ใช้ตรรกะเดียวกันกับการสรุปว่า แพทย์ที่จบที่ไหนเลว โง่ ไม่มีคุณธรรม หรือถ้าจบจากที่ไหนดี ฉลาด และเป็นคนดี

รึเปล่า?

การรับรู้นั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อน การรับรู้ที่ต่างกัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ "คุณภาพ" ที่เราจะนำมา ranking มนุษย์เลย คนดี คนเรียนสูง คนภาคกลาง เหนือ ใต้ อีสาน หมอ ครู พระ นักการเมือง ฯลฯ คุณภาพเหล่านี้ไม่ได้บ่งชี้ความดีงาม หรือจะเปรียบเทียบอะไรกันได้

หรือว่าได้?

และหลังจากเราทำอะไรลงไป ไม่ว่าจะเป้นการด่วนตัดสินคุณค่าของคน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออก อะไรเป็น consequences และผลที่ตามมา เป็นบวกหรือเป็นลบอย่างไร?

การที่เราได้เหวี่ยงแหตำหนิไป อาจจะมีการแก้ไข ป้องกันเกิดขึ้นจริง แต่เรามีความรู้สึกอย่างไรหรือไม่ ที่ได้ตำหนิคนที่ไม่ควรถูกตำหนิ หรือถ้าคนเหล่านี้รู้สึกน้อยใจ ก็ไม่ได้เป็นความผิดอะไรของเรา ดันน้อยใจไปเอง หรือดันติดหลังแหไปเอง?

ผมคิดว่าประเด็นข้างเคียงอันนี้ คือการสรุปแบบเหมารวม และตัดสินคุณค่าของคน มากกว่าเรื่องข้อเท็จจริงของกรณีผู้ป่วย ทีได้นำการอภิปรายมาถึงจุดนี้ ม.อ.ยังมีที่ที่จะต้องพัฒนาบัณฑิตแพทย์ และการบริการผป.อย่างแน่นอน แต่การที่จะชี้นำ แนะนำนั้น ถ้าสามารถกระทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องครอบคลุมไปโดนคนที่ไม่เกี่ยวข้อง น่าจะเป็นลักษณะของการติเพื่อก่อ ของกัลยาณมิตร ที่องค์กรไหนๆก็ต้องการ และยินดีน้อมรับด้วยความรู้สึกสำนึกในบุญคุณเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยความเคารพครับ

นพ.สกล สิงหะ



Posted by : phoenix , Date : 2007-12-31 , Time : 01:03:39 , From IP : ppp-124.120.228.110.

ความคิดเห็นที่ : 24


   เห็นชัดขึ้นทุกทีจริง จริง ครับว่า อัตตา (ego) มีผลต่อความวุ่นวายในโลกของเราทุกวันนี้ เราควรมองปัญหาอย่างที่มันเป็นโดยไม่ปรุงแต่งด้วยอารมณ์ไปก่อนล่วงหน้า ลองเข้าไปนั่งในใจเขาแล้วเราจะเข้าใจถึงเจตนา...........ลองดูนะครับ.....สาธุ

Posted by : cosmo , Date : 2007-12-31 , Time : 06:01:15 , From IP : 194.brs0104.brs.ipri

ความคิดเห็นที่ : 25


   เฮ่อ จะปีใหม่แล้วว แวะมาสวัสดีปีใหม่ทั้ง อ.สกล คุณ cosmo และคุณ ญาตินะ สุขภาพแข็งแรงทุกท่านนะครับ

Posted by : alonzo , Date : 2007-12-31 , Time : 07:43:52 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 26


    'ว.วชิรเมธี'ให้ยึด 3หลัก 'คิดถูก-โปร่งใส-ใจสูง' นำชาติออกพ้นวิกฤต
30 ธันวาคม พ.ศ. 2550 14:14:00
http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/30/WW10_WW10_news.php?newsid=21651 4
"พระมหาวุฒิชัย" พระนักเทศน์นักเขียน ให้พรปีใหม่โดยให้คนไทยยึกหลัก 3ประการเป็นเข็มทิศคือ "คิดถูก-โปร่งใส-ใจสูง" ต้องคิดให้ถูก เอาประเทศชาติให้รอด ออกจากวิกฤติให้ได้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ"ว.วชิรเมธี" พระนักเทศน์และพระนักเขียนหนังสือธรรมะ ให้สัมภาษณ์เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ 2551 ว่า ขอมอบคำ 3 คำ ให้เป็นพรแก่คนไทยทั้งประเทศ คือ "คิดถูก-โปร่งใส-ใจสูง"

ซึ่งเป็น 3 คำที่สามารถฟื้นฟูบูรณะสังคมไทยให้คืนสู่ความร่มเย็นเป็นสุขได้ หากใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจคนไทย เชื่อว่าจะออกจากวิกฤติได้อย่างแน่นอน

"คิดถูก" คือการคิดถูกทำนองคลองธรรม ในปัจจุบันคนไทยแยกกันเป็นฝ่าย จนเกลียดชังกันเอง เหมือนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า หากคนไทยไม่ปรองดองกัน จะกลายเป็นเคราะห์กรรมของประเทศชาติ แล้วทำอย่างไรเราจะรักกัน ต้องย้อนกลับไปว่า แท้ที่จริงเราเป็นมนุษยชาติก่อนเป็นคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ภาคใดหรือเป็นใคร ท้ายที่สุดทุกคนเป็นมนุษยชาติด้วยกันทั้งสิ้น คือพี่น้องท้องเดียวกัน ดังนั้น ไม่ควรเกลียดชังกัน หรือคิดว่าใครเป็นพวกใคร ควรคิดว่าเราเป็นพวกเดียวกันทั้งหมด

ส่วนคำว่า "โปร่งใส" ประเทศที่เข้าสู่วิกฤติครั้งแล้วครั้งเล่า มีปฏิวัติรัฐประหารหลายครั้งในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเหตุผลหลักทุกครั้งจะมาจากการคอร์รัปชั่น ดังนั้น หากจะออกจากความวุ่นวายทางการเมือง ต้องเริ่มต้นร่วมกันต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะแบ่งให้ใครก็ตาม เห็นคนอื่นกระทำก็อย่าอยู่เฉย ถ้ายังไม่สามารถถอนการคอร์รัปชั่นออกจากสังคมไทยได้ สังคมของเราจะเวียนว่ายตายเกิดกับการปฏิวัติรัฐประหาร

คำว่า "ใจสูง" หมายความว่า ใจที่ไม่เห็นแก่ตัว คิดถึงประโยชน์สุขมากกว่าผลประโยชน์ คิดถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว คิดถึงคนรุ่นหลังมากกว่าคนรุ่นตัวเอง ถ้าไม่ฝึกให้เป็นคนมีจิตใจสูงแล้ว สังคมไทยจะเป็นสังคมที่มีแต่คนเห็นแก่ตัว และกลายเป็นสังคม “องคุลีมาล” ซึ่งทำทุกอย่างให้ตัวเองประสบความสำเร็จ โดยไม่คำนึงว่าประเทศชาติบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร

"พร 3 ประการนี้ คือ คิดถูก-โปร่งใส-ใจสูง อาตมาขอมอบให้คนไทยนำไปพินิจพิจารณาเป็นเข็มทิศชีวิตสำหรับปีใหม่นี้ด้วย ต้องคิดถูกทำนองคลองธรรม อย่าคิดสวนทางธรรม เพราะถ้าคิดสวนแล้ว ชีวิตจะตกต่ำอย่างแน่นอน และขออย่าให้เราคอร์รัปชั่นเอง หรือเห็นดีเห็นงามกับการคอร์รัปชั่นของคนอื่น หรือเป็นพลังเงียบ เมื่อเห็นคนอื่นคอร์รัปชั่น และต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมืองก่อนความอยู่รอดของตัวเอง หากเราเอาพร 3 ประการนี้ไปใช้ อาตมาเชื่อมั่นว่า ปัจเจกบุคคลก็จะมีความสุข และแน่นอนที่สุดเมื่อปัจเจกบุคคลคิดถูก-โปร่งใส-ใจสูง ก็จะทำให้ความสุขมวลรวมประชาชาติของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน" พระมหาวุฒิชัย กล่าว


Happy New Year 2008....Na - Krab \cheers





Posted by : cosmo , Date : 2007-12-31 , Time : 09:33:16 , From IP : MEDTSVDMonsur.jcu.ed

ความคิดเห็นที่ : 27


   Cases
Explain a Medical Error? Sure. Apologize Too?
Sign In to E-Mail or Save This Print Reprints Share
Del.icio.usDiggFacebookNewsvinePermalinkBy SANDEEP JAUHAR, M.D.
Published: January 1, 2008
One morning not long ago, I got a call from the emergency room at my hospital. A young man — an intern, in fact, who had been on rounds that morning — had been admitted with chest pains. Could I come to evaluate him?

He was 30, a Pakistani man with a long face and a disconnected look, which I attributed to anxiety. I asked him about the pain. It had started after dinner the night before, lasting about 10 minutes. He had slept comfortably, but the pain recurred while he was walking to the bus stop that morning, persisting almost an hour. It was a dense pressure in the center of his chest. To be on the safe side, he had decided to leave rounds and come to the E.R.

His blood tests were normal, as was his first electrocardiogram. He had none of the traditional risk factors for heart disease. I suspected he was suffering from acute pericarditis, a usually benign inflammation of the membrane around the heart often treated with over-the-counter anti-inflammatory drugs. Characteristic of pericarditis, the pain worsened when he took a deep breath. I told him that if blood tests in six hours were normal, we would send him home. I joked that there were easier ways to get out of internship duty.

Later that morning, I got a call from an E.R. physician informing me that my patient’s pain had resolved completely after he took ibuprofen, further confirming the diagnosis of pericarditis. For a moment I considered sending him home right then, but I decided to wait until the next set of blood tests was complete.

Just before leaving the hospital that evening, I ran into a physicians’ assistant. He told me that my patient’s subsequent blood tests showed evidence of minor cardiac muscle damage. Though surprised, I quickly explained that the problem was probably myopericarditis, where inflammation of the surrounding membrane can partially involve the heart muscle.

He asked me whether the young doctor should have an angiogram to rule out artery blockages. It was late; I told him that any work-up could wait until morning. I assured him that a 30-year-old with no risk factors did not have coronary artery disease. I told him to draw more enzymes and to order a cardiac ultrasound for the morning, and to call me at home if there were problems.

My patient had chest pains through the night. Doctors who were called to see him attributed them to myopericarditis, the diagnosis written in the chart. Further blood tests showed evidence of continuing heart muscle injury. An EKG the following morning showed nonspecific signs consistent with a heart attack. Though I still doubted that he had coronary disease, I reluctantly sent him to the cardiac catheterization lab for an angiogram.

I received a call about an hour later asking me to come over to the lab. When I arrived, the angiogram was playing on a computer screen. It showed a complete blockage of the left anterior descending artery, the so-called widow-maker lesion. The artery looked like a lobster tail, unnaturally terminating after several centimeters. Within minutes, the blockage was opened with a balloon and a stent.

Afterward, in the control room, heat rose to my face as colleagues wandered in to inquire about what was going on. “How could we have missed this?” I asked aloud. I was well aware of the disturbing prevalence of heart disease in South Asians, whose risk is up to four times that of other ethnic groups. I knew that heart attacks in this population often occurred in men under 40, who often do not exhibit classic coronary risk factors. I knew all this, but somehow my mind had suffered a block.

“Don’t beat yourself up,” a colleague said sympathetically. “Every doctor I know would have done the same thing.” Another told me that it was his policy to “cath” almost anyone who came to the E.R. complaining of chest pains. In his opinion, the risks posed by routine angiograms were much less than that of a missed heart attack.

What now? I knew I had to explain myself, but how much should I say? Like all doctors, I had made errors before, but never one this big — and in my own specialty, too. Should I just tell my patient the facts? Should I apologize?

Most doctors are afraid to take responsibility for medical errors. We are acutely aware of the potential hazards — legal and professional — of taking ownership of a mistake. But studies have shown that physicians’ apologies do not necessarily increase malpractice lawsuits. In fact, they may protect against litigation. Seventeen states have enacted legislation encouraging such apologies, some even making physicians’ expressions of remorse inadmissible in court.

It was not always this way. Hospital legal departments routinely used to advise doctors never to admit responsibility for an error.

During my internship orientation nearly a decade ago, a lawyer for the hospital said that at some point in our careers every one of us would likely be sued. The lawyer offered some advice: document your decision-making; document when a patient refuses treatment; never admit wrongdoing; never talk to an opposing attorney; and, finally, be nice to your patients. Doctors who were nice to their patients were rarely sued, even in cases of egregious malpractice.

I couldn’t bring myself to talk to my patient in the cath lab, while everyone was watching, so I decided to wait until he got to the recovery room, where it was more private.

I found him there lying on a stretcher. The pain in his chest was gone, he happily informed me. However, the groin, where the catheter had been inserted, now hurt. “They substituted one pain for another,” he said, laughing.

I grasped the rails of the gurney. “I thought you had pericarditis,” I said carefully. “I was obviously wrong. I’m sorry.”

He seemed embarrassed. “No, no, please, the past is finished,” he replied. “I am more interested in the future.”

He asked about his prognosis. I told him that I thought it was good, though he would have to be on medications for the rest of his life. He nodded, looking disappointed.

A few days later, just before he was to be discharged, I stopped by his room. I asked him with whom he was going to follow up. He told me that he had been given the name of another cardiologist but that he had decided to go with me. “You have been terrific,” he said. “Thank you.”

I nodded silently, feeling empty. “You are much too generous,” I said.

Sandeep Jauhar is the author of a memoir, “Intern: A Doctor’s Initiation,” being published this month by Farrar, Straus & Giroux.



Posted by : cosmo , Date : 2008-01-02 , Time : 08:37:46 , From IP : MEDTTHDJENNIFER.jcu.

ความคิดเห็นที่ : 28


   หวัดดีคับ ผมเป็นคนผ่านมาแล้วได้มีโอกาศอ่าน

อยากบอกว่าที่เจ้าของกระทู้โพสไว้ช่วงแรกๆน่ะดีและก็มีประโยชน์ ทางม.อ.ควรจะนำไปพัฒนาต่อไปนะคับ


แต่อยากให้คุณเจ้าของกระทู้กลับมาใช้เหตุผลให้ดีๆ หมอที่ไหนเค้าอยากให้คนไข้อาการหนักขึ้นบ้างคับ ทุกคนล้วนอยากให้หาย เค้าก็รักษาตามที่ได้เรียนมา ไม่ว่าที่ประเทศไหนเค้าก็คงเรียนมาแบบเดียวกัน คงไม่ไช่ประเทศไทยรักษาโดยกินยา a แต่ประเทศ อื่นเค้าให้กินยา bหรอกคับ แล้วคุณไม่คิดถึงหัวอกของคนเป็นหมอมั่งเหลอคับ ทุกวันที่เค้าทำงานเพื่อผู้ป่วย พยายามรักษาเต็มความสามารถ แต่มันก็มีโอกาศที่จะผิดพลาดขึ้นมาบ้าง ก็เหมือนกันกับที่คุณเคยคิดโจทย์เลข ผิดสักข้อไหม ทั้งชีวิตของคุณทำโจทย์มากี่ข้อแล้วก็มีผิดบ้างไหม แต่การรักษาคนไข้เป็นอะไรที่ยากกว่าการคิดโจทย์เลขเป็นร้อยเป็นพันเท่า แต่พอคุณคิดโจทย์เลขผิดแล้วมีผลต่อชีวิตคุณบ้างไหม แต่การรักษาคนไข้ ถ้าเกิดความผิดพลาดอาจจะมีการฟ้องร้องกันจนต้องติดคุก กันอย่างที่เป็นข่าวกันมากมาย ผมว่าคนที่จะมาเป็นหมอได้เค้าจะต้องเป็นคนดีมากๆ จึงยอมเหน็ดเหนื่อย และก็ยอมเสี่ยง เพื่อจะช่วยเหลือคนไข้ ผมอยากให้คนที่เข้ามาอ่านได้คิดให้ลึกกว่าที่เคยคิด คนไข้ที่เข้ามารักษาและญาติคนไข้ได้คิดถึงคนอื่นบ้างนอกจากเรื่องตัวเองและโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ ผมว่าถ้าทำได้สังคมคงจะมีความสุขมากแน่คับ





จาก
นักเรียนคนหนึ่ง(ที่อยากเป็นหมอ)


Posted by : แอม , Date : 2008-01-06 , Time : 17:23:17 , From IP : adsl-pool-222.123.97

ความคิดเห็นที่ : 29


   ผมเรียกว่า คุณแอมนะ
คุณแอมถ้าเป็นนักเรียนจริง ผมคิดว่าคุณน่าจะเป็นคนไทยที่มีคุณภาพ น่าคาดหวังและยินดีครับ พูดได้ดี เข้าใจง่าย คุณเป็นผู้ใหญ่ทางความคิดและศักยภาพทางอารมณ์แล้วครับ
คงได้มาเป็นรุ่นน้องผมนะ ยินดีครับ


Posted by : alonzo , Date : 2008-01-06 , Time : 19:04:12 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 30


   คุณแอม ดิฉันทราบดีค่ะไม่มีหมอที่ไหนเจตนาทำร้ายคนไข้หรอกค่ะ คุณอาจจะหลงประเด็นไป ทราบค่ะความผิดพลาดเกิดได้กับทุกคน การทำเลขผิดคุณสามารถแก้ให้ถูกได้ แต่การวินิจฉัยแล้วสั่งยาผิดๆมันตายแล้วฟื้นกลับมาให้รักษาใหม่ได้ง่ายๆเหรอค่ะ การรักษาถึงจะเรียนมาเหมือนๆกัน ถ้าวินิจฉัยถูกก็อาจจะให้ยาถูกเหมือนที่เรียนมาเหมือนๆกันแต่ปัญหาอยู่ที่ดันวินิจฉัยผิด แถมให้ยาผิดต่อโรคอีก คุณแอมว่าใครแย่ค่ะ (ไว้คุณแอมเป็นหมอเมื่อไหร่คงช่วยให้เข้าใจเวลาผู้ป่วยเม็ดเลือดแดงแตกได้รับยาต้านมาลาเรียได้มากขึ้น)

ถ้าคุณแอมเป็นผู้ป่วยที่โดนทดลองยาเกือบเดือน เสียค่าใช้จ่าย 4-5 หมื่นแทนที่จะเสียแค่ 5-6 พัน รับผลข้างเคียงอีก 4-5 เดือน คุณคงรูสึกเห็นอกเห็นใจหมอมากกว่าตัวเองสินะค่ะ :)~คิดได้แบบนั้นประเสริฐและคงมีความสุขมากเลยค่ะ แต่ดิฉันไม่สามารถค่ะน่าเศร้าเนอะ

สงสัยจังค่ะ ต้องเป็นบุคคลากรทางการแพทย์หรือหมอเท่านั้น เหรอค่ะ ที่มีสิทธิ์รู้ว่าหมอเค้าวินิจฉัยสั่งยาอะไร อย่างไรให้คนไข้ ถึงได้แสดงอาการแปลกประหลาดใจกันนัก ถึงขั้นคิดว่าเป้นคนวงในมาโพสปัญหาส่วนตัวกับ รพ.บ้างหล่ะ คิดว่าเป็นนิยายทำลายชื่อเสียงสถาบันบ้างหล่ะ ทำไมถึงแสดงให้เห็นว่า หมอคิดว่าคนไข้ทุกคนต้องโง่ ต้องไม่รู้เรื่อง คนไข้ของหมอที่นั่นไม่มีสิทธิรู้เรื่องของตัวเองอย่างนั้นเหรอค่ะ นิสัยและความคิดดูแคลนคนแบบนั้นก็เผยตัวตนของผู้คิดเช่นกัน


ถ้าเป็นเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างหนึ่งวัดออกมา 100 ครั้ง ให้ กราฟที่ตำแหน่งเดียวกัน 95 ครั้ง ด้วยปริมาณความถี่ที่สูงขนาดนั้น ก็ทำให้เชื่อได้ว่าตัวอย่างคือสารมาตรฐานตัวนั้น มีคุณสมบัติอย่างนั้น
ถ้าดิฉันเจอเหตุการณ์ 60 ครั้ง รู้สึกแย่ 57 ครั้ง ด้วยความถี่และปริมาณที่สูงจึงทำให้ดิฉันเชื่อและคิดว่าเป็นแบบนั้น ไม่ได้เอาแค่ 1-2 เหตุการณ์มาตัดสิน ถึงไม่ได้ชี้ชัด ท่านก็คงว่าดิฉันไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความเป็นกลาง ไม่ผ่านการ Calibrate ก็ถูกก็ใช่ ดิฉันก็บอกอยู่ทุกครั้งว่าความรู้สึกจากประสบการณ์ส่วนตัว ก็ดิฉันเจอแบบนี้ ดิฉันถึงคิดแบบนี้ เชื่อแบบนี้ ของดิฉันคนเดียว ดิฉันไปบังคับใครให้มาเชื่อแบบดิฉันเหรอค่ะ คนตั้ง 60 ล้านคน มีสมอง มีความคิด มีประสบการณ์ของตัวเอง เค้าคิดเค้าตัดสินเองได้ ดิฉันคิดเหมา ก็ไม่ได้หมายความว่าอีก 60 ล้านจะคิด เหมือนกับที่หมอบางคนคิดว่าคนไข้ต้องโง่ต้องไม่รู้เรื่องทุกคน แต่หมออีกหลายคนก็ไม่ได้คิด


Posted by : ญาติอาจารย์ใหญ่1 , Date : 2008-01-07 , Time : 01:14:33 , From IP : 125-24-101-13.adsl.t

ความคิดเห็นที่ : 31


   ผมกล้าพูดว่าไม่มีหมอคนไหนอยากเห็นคนไข้มี morbid mortal
ถ้าคนที่เรียนมาคงทราบว่าบางอย่างในทางการแพทย์อันไหน preventable อันไหน unpredict and unpreventable แบบจริงๆ หรือหลายคนเรียก god only know แม้แต่การเรียนในชั้นม.ปลายหากตั้งใจเรียนก็คงพอจะเข้าใจชีววิทยาบ้าง

ความคิดของคนเรามีหลายแบบครับ
เด็กเล็กๆมากๆ จำได้แค่หน้่าแม่ตัวเองและอาหารที่รับประทาน ถูกต้องตามพัฒนาการ

เด็กโตรู้จักโรงเรียน และเพื่อนๆ กับคุณครู และบางคนพ่อแม่อาจเคยพาไปเที่ยวนอกบ้านจึงมีโลกทรรศ เห็นต้นไม่หลากพันธ์หลายประเภท
ไม่คิดว่าต้นไม้ทุกต้นต้องเหมือนต้นไม้ในรั้วบ้านตนเอง ไม่คิดว่าเงาะทุกลูกต้องมีมดแดงแผงอยู่เหมือนต้นเงาะในบ้านตัวเองซึ่งมดแดงชุมมาก ด้วยเหตุผลที่ god on;y know

ผู้ใหญ่ก็แล้วเเต่ครับบางคนก็ไม่เคยเห็นโลกอื่นๆ นอกจากประสบการณืในวัยเด็ก จึงคิดแบบเด็กต่อไป

ผู้ใหญ่หลายคนที่คิดแบบคนเคยเห็นโลกอื่นเคยออกไปนอกบ้าน จึงเป็นผู้ใหญ่ที่มองอะไรแบบเข้าใจในความ vary ส่วนอีกส่วนน้อยมากๆ ที่คิดว่าต้นไม่ทุกต้นจะเหมือนในรั้วบ้านตัวเอง และพยายามจะเอาสีไปทา ให้ต้นไม่ทุกต้นเหมือนในรั้วบ้านตนเอง และไม่คิดว่าต้นไม้ทุกต้นจะมีมดแดงเพราะเค้าคิดแบบมีสติ

ความ maturity จึงเกิดจากพํฒนาการที่พ่อแม่จะหยิบยื่นให้และสภาพแวดล้อมที่ช่วยกล่อมเกลา

ต้นไม้บางชนิดเช่นถั่วเขียวใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ก็โตและให้ประโยชน์ทางอาหาร
ต้นไม่บางชนิดเช่นพวกวัชพืชพวกนี้อยู่นานอายุมาก กำจัดไม่หมด แต่อยู่แบบรังควาญพืชดีๆไปทั่ว ดังนั้น การอยู่นานของพืชจึงไม่ได้บอก utility ของพืช

อยากให้มีกำลังใจกัน ตราบใดที่เรารู้ว่าเราโตไปเพื่อทำประโยชน์แก่สังคมและควรทำตัวเช่นไร เห็นตัวอย่างว่าหากจะทำตัวแบบวัชพืชที่คอยจะสลัดหนามใส่คนเอาไปปรุงอาหาร ทานก็ไม่ได้ สุดท้ายระบบนิเวศน์ก็จะทำให้วัชพืชมีจำนวนแค่พอเหมาะพอดี คืออยู่เป็นอาหารให้ N P K กับพืชที่ดีและ ช่วยกระตุ้นให้เราตระหนักถึงสิ่งดีๆ

ผมดีใจนะที่ใกล้วันเด็กแล้วได้เห็นศักยภาพเด็กไทย อย่างน้อยก็คนนึงล่ะ

บุญรักษาครับ


Posted by : alonzo , Date : 2008-01-07 , Time : 14:11:44 , From IP : 172.29.21.197

ความคิดเห็นที่ : 32


   ไม้ค้อมมีลูกน้อม .............. นวยงาม
คือสัปปุรุษสอนตาม .............. ง่ายแท้
ไม้ผุดั่งคนทราม .............. สอนยาก
ดัดก็หักแหลกแล้ .............. ห่อนเรื้อโดยตาม

ก้านบัวบอกลึกตื้น .............. ชลธาร
มรรยาทส่อสันดาน .............. ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน .............. ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ .............. บอกร้าย แสลงดิน

นาคีมีพิษเพี้ยง .............. สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช .............. แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส .............. แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า .............. อวดอ้างฤทธี

รู้น้อยว่ามากรู้ .............. เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน .............. สระจ้อย
ไปเห็นชเลไกล .............. กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่อน้อย .............. มากล้น ลึกเหลือ

อ่อนหวานมานมิตรล้น .............. เหลือหลาย
หยาบบ่มีเกลอกราย .............. เกลื่อนใกล้
ดุจดวงศศิฉาย .............. ดาวดาษ ประดับนา
สุริยส่องดาราไร้ .............. เพื่อร้อนแรงแสง

ผจญคนมักโกรธด้วย .............. ไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี .............. ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี .............. ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญคนอสัตย์ให้ยั้ง .............. หยุดด้วย สัตยา

พระสมุทรสุดลึกล้น .............. คณนา
สายติ่งทิ้งทอดมา .............. หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา .............. กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้ .............. ยากแท้ หยั่งถึง

ฝูงชนกำเนิดคล้าย .......คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ .....แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน .......กันหมด
เว้นแต่ชั่วดีกระด้าง ........ห่อนแก้ฤาไหว


Posted by : cosmo , Date : 2008-01-08 , Time : 16:07:49 , From IP : 194.brs0104.brs.ipri

ความคิดเห็นที่ : 33


   ปกปิด เพื่อ ปกป้อง ใครกัน? ตัวเอง? รึเปล่า

unity สูงจิงๆ สอนกันดีจัง ผิด ก็ให้หาใบบัวมาปิด เพื่อปกป้อง ตัวเอง นี่แหละตัวตน ธาตุ

ที่ไม่เคยมีเสียงแย้งขึ้นมาระคายความรู้สึกให้เสีย self ก็คงมีตาสีตาสาไม่น้อยที่ถูกใบบัวปิดไว้ ใครกันถูกปกป้อง!

เพราะไม่เคยได้รู้อีกมุมของตัวเองและไม่คิดจะรับรู้ ด้วยความภูมิใจทนงว่าเป็นศูนย์ของภูมิภาค ลืมว่ายังมีประเทศ ยังมีโลกกว้างกว่า ความภาคภูมิที่มากมายคิดว่าตัวเองนั้นเหนือที่สุดแล้ว เหยียดสิ่งที่แตกต่างว่าไร้ค่าไร้ความหมาย บ่งบอกโลกทัศน์ สิ่งแวดล้อม ต้นกำเนิดที่ปลูกฝังเลี้ยงดูมา ให้หลงพอใจเพียงคำชื่นชมในขอบเขตอาณาเขตสิ่งปกครอบที่แค่พองตัวก็เต็มปริ่ม ซึ่งต่างจากปราชญ์ที่สามารถใช้ทุกอย่างให้เป็นประโยชน์ได้ ปัญญาชนผู้มีวิจารณญาณย่อมรู้ว่าสิ่งใดควรเคารพ สิ่งใดพยามยามยกตัวข่มขืนให้ต้องเคารพ


Posted by : ญาติอาจารย์ใหญ่1 , Date : 2008-01-09 , Time : 08:44:16 , From IP : 125-24-99-94.adsl.to

ความคิดเห็นที่ : 34


   อยากให้ยุติการโพสต่อกระทู้นี้ครับ และหวังว่ากระทู้นี้คงเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ต่อทุกท่านครับ

ในฐานะที่กระผมได้ติดตามกระทู้นี้มาตลอด ตามความเห็นของกระผมคิดว่า อาจเป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาครับ ไม่มีท่านใดผิด/ถูกครับ แพทย์ทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคที่เป็นและมีความสุขทั้งทางด้านสุขภาพจิตใจและกาย ผู้ป่วยก็ต้องการ การดูแลรักษาจากแพทย์ให้หายและดีที่สุดครับ

ลองมาอ่านบทความนี้นะครับ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับผม ได้คัดลอกมาจาก www.thaiclinic.com ครับผม


ผมได้เก็บและเขียนบทความ เกี่ยวกับสุขภาพไว้พอสมควร เพื่อทำเป็นเอกสารแจกให้กับผู้ป่วย และเผยแพร่ทางเนต ผ่านเวบ ผ่านกระทู้ ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจเคยเห็นเคยอ่านมาบ้างแล้ว ...

ผมเห็นว่า น่าจะนำมาลงไว้ในห้องนี้เผื่อใครผ่านไปมาก็จะได้เห็นได้อ่านกัน ก็จะทยอยลงมาเรื่อย ๆ นะครับ ... .ใครอยากจะนำไปดัดแปลงหรือนำไปใช้ต่อ ก็ได้เลยครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ( เพราะผมก็ แฮบมาเหมือนกัน ) ช่วย ๆ กันกระจายไปตามเวบต่าง ๆ ก็ดีเหมือนกันนะครับ

ตอนนี้ ก็เอาไปลงไว้ในห้องสวนลุมของพันทิบ เผื่อว่า จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น ... ก็เป็นความหวังเล็ก ๆ

ถ้าใครอยากอ่านย้อนหลังก็ตามไปอ่านใน bloggang pantip ของผมก็ได้ครับ ... http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807

มีพวกเราหลายคนที่เขียนเรื่องแบบนี้ ก็นำมาแบ่ง ๆ กันอ่านมั่งก็ดีนะครับ เอาไปลงตามเวบต่าง ๆ ก็น่าจะดีเหมือนกัน หรือถ้าเป็นแบบ ผมที่ยังไม่รู้ว่าจะลงที่ไหนดี ก็มาลงห้องนี้ กับ ห้องสวนลุม ก่อนก็ได้ ...





ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา


มีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์เรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ทราบว่า ตนเองป่วยเป็นอะไร และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ทำให้ผลของการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร เพราะผลการรักษาจะดีหรือไม่นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้ง แพทย์ ผู้ป่วยและญาติ ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกัน ผลของการรักษาก็จะออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าผู้ป่วยและญาติไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ก็คงไม่ส ามารถปฏิบัติตัวให้เหมาะสมถูกต้องได้

ดังนั้นถ้าท่านต้องการให้ผลการรักษาความเจ็บป่วยของตัวท่านเองออกมาดี ก็เป็นหน้าที่ของท่านที่ควรจะ

• บอกข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของท่าน กับแพทย์ หรือ พยาบาล

• สอบถามข้อมูล จาก แพทย์ พยาบาล หรือ เจ้าหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของท่าน



การรักษา ไม่ได้หมายความถึงแค่รับประทานยาเท่านั้น ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้ ก็จะเพิ่มสิ่งที่มีประโยชน์ ในการดูแลรักษาความเจ็บป่วยของท่าน….

1. ร่วมตัดสินใจกับแพทย์ เกี่ยวกับแนวทางการรักษา

• ไม่ต้องกลัวที่จะถามหรือพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับความกังวลใจที่มีอยู่ คุณอาจต้องจดคำถามที่อยากรู้เพื่อที่จะได้ถามแพทย์ในการพบกับ แพทย์ ในครั้งต่อไป

• ควรนำเพื่อน หรือ คนในครอบครัว ไปพบแพทย์กับคุณด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันปรึกษา ซักถามแพทย์ หรือ ช่วยจำสิ่งที่แพทย์ได้แนะนำไว้
ตัวอย่างคำถาม เช่น

ชื่อ - นามสกุล ของแพทย์ ผู้ที่ให้การรักษา เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไหน

ป่วยเป็นโรคอะไร มีกี่โรค รักษาหายหรือไม่

แนวทางรักษา มีวิธีไหนบ้าง ผลดี ผลเสีย ผลข้างเคียง ของ ยา หรือ การรักษาแต่ละวิธี เช่น กินยา ใส่เฝือก เครื่องพยุงอื่น ๆ กายภาพบำบัด

แพทย์แนะนำว่า ควรจะรักษาด้วยวิธีไหน ทำไมแพทย์จึงเลือกวิธีนั้น

จะต้องผ่าตัดหรือไม่ ถ้าต้องผ่าตัดจะใช้วิธี ดมยาสลบ หรือ ฉีดยาชาเฉพาะที่

ข้อดี ข้อเสีย และ ผลข้างเคียง ถ้ารักษาตามวิธีที่แพทย์แนะนำ และถ้าไม่รักษาจะมีข้อเสียอย่างไรบ้าง

การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน เช่น วิธีกินยา การทำแผล วันตัดไหม วิธีทำกายภาพบำบัด

แพทย์นัดมาตรวจซ้ำหรือไม่ ถ้าแพทย์นัด นัดมาตรวจวันที่เท่าไร เวลาอะไร มีใบนัดให้ด้วยหรือไม่

คุณควรบอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แพทย์ทราบ เช่น

ประวัติความเจ็บป่วย หรือ ปัญหาทางสุขภาพ ที่คุณเคยได้รับการรักษา

โรคประจำตัว ที่กำลังรักษาอยู่ มีโรคอะไรบ้าง เช่น โรคปอด หอบหืด เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง

ยาที่ต้องรับประทาน หรือ ต้องฉีดเป็นประจำ ยาที่กำลังรับประทานอยู่ เป็นยาอะไรบ้าง ถ้าระบุชื่อยาได้ก็ยิ่งดี เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยาระหว่างยาแต่ละตัว ( ยาตีกัน ) และ รักษาประจำที่ไหน

ประวัติการแพ้ยา หรือ ปัญหาเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ถ้าเคยแพ้ยา ยาชื่อว่าอะไร ยามีลักษณะอย่างไร เมื่อแพ้ยา มีอาการอย่างไรบ้างและไปรับการรักษาที่ไหน รักษาอย่างไร ต้องนอนในโรงพยาบาลหรือไม่

คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตร

อะไรที่คุณคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวกับการรักษา เช่น ราคา ผลข้างเคียงของยาต่อการทำงาน หรือ อยากได้ยาที่แพทย์คิดว่าดีที่สุด ซึ่งอาจมีราคาสูง หรือ อยากได้ยาที่มีจำนวนครั้งที่รับประทานยาไม่บ่อย

การรักษาที่ได้รับครั้งก่อน รักษาอย่างไร รู้สึกว่าทำให้อาการของโรค ดีขึ้น เหมือนเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิม

2. ปฏิบัติตามแนวทางการรักษา
เมื่อคุณ เห็นด้วยกับแนวทางรักษาของแพทย์ คุณควรถาม และ บอกสิ่งที่คุณต้องการ หรือ กังวลใจอยู่

ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะ รู้สึกว่าดีขึ้น

ไม่ควร ซื้อยาเพิ่ม แล้วนำมารับประทานต่อเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์

ไม่ควร เพิ่ม หรือ ลด ปริมาณยา จากที่แพทย์ได้แนะนำ

ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับยา หรือ วิธีรักษา ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

คำถามที่ควรถามเกี่ยวกับยา ที่คุณได้รับ


ยา ชื่ออะไร เป็นชื่อทางการค้า หรือ ชื่อทั่วไป
ยามีฤทธิ์อย่างไร ใช้เพื่อรักษาอะไร
รับประทานอย่างไร วันละกี่ครั้ง เวลาไหนบ้าง ก่อนหรือหลังอาหาร ครั้งละกี่เม็ด และ ต้องรับประทานไปนาน แค่ไหน กี่วัน กี่เดือน กี่ปี เมื่อไรจึงจะหยุดยาได้
ถ้าอาการดีขึ้น จะลดปริมาณยา หรือ หยุดยาได้หรือไม่
ผลข้างเคียงของยา ที่อาจเกิดขึ้น และ เมื่อเกิดผลข้างเคียงขึ้น ควรจะทำอย่างไร
ถ้าลืมกินยา จะเกิดอะไรขึ้น และ ควรทำอย่างไร
อะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อรับประทานยา เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยาอื่น หรือ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน

มีเอกสาร หรือ สามารถเขียนข้อมูลต่าง ๆ ให้ด้วยหรือไม่


3. คุณควรบอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แพทย์ทราบ เช่น

สิ่งที่คุณกังวลเกี่ยวกับการใช้ยา หรือ การรักษาอื่น ๆ

ถ้าคุณไม่ได้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เช่น หยุดยาเองเมื่อรู้สึกดีขึ้น ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และสิ่งที่สำคัญก็คือ ยาที่ได้รับ ไม่ควรแบ่งให้คนอื่นรับประทาน
สังเกตปัญหา หรือ ผลข้างเคียงจากการรักษา ปัญหาที่เกิดขึ้น ภายหลังรับประทานยา ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับยา

จะรู้ได้อย่างไรว่ายาที่ได้รับนั้นใช้ได้ผล ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะเห็นผล จะได้ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่ายาไม่ได้ผล เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ถ้าได้ผลอาการปวดก็จะลดลง ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 อาทิตย์จึงจะเห็นผล เป็นต้น



ดัดแปลงจาก Prescription Medicines and You. AHCPR Publication No. 96-0056, October 1999. http://www.ahcpr.gov/consumer/ncpiebro.htm



Posted by : jr , E-mail : (jittawat.r@psu.ac.th) ,
Date : 2008-01-09 , Time : 13:36:36 , From IP : 172.29.14.182


ความคิดเห็นที่ : 35


   ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับว่าควรยุติการโพสต่อกระทู้นี้(สำหรับตัวผมเอง)
ผมเห้นใจเจ้าของกระทู้ฃึ่งเป็นผู้เสียหาย หวังว่าบทกวีด้านบนที่เจตนาจะแสดงไว้เพื่อเตือนใจพวกเรา(ผู้ให้การรักษา) โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผมเอง ให้อย่าสำคัญตัวเองผิด รู้จักถ่อมตัวและยึดมั่นในการทำดี ใฝ่หาความรุ้ ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเต็มกำลัง เต็มความสามารถ (แม้จะไม่มีคนเห็นมันก็ตาม) ใจกว้างยอมรับคำติ เพื่อพัฒนาตัวให้ดีขึ้น


ผมยอมรับว่าเหตุการแบบนี้เกิดขึ้นได้จริงและน่าเห็นใจ คำขอโทษจากผมอาจไม่สามารถช่วยให้อะไรดีขึ้นมา แต่เชื่อได้เลยครับว่ากระทู้นี้จะกระตุ้นให้หลายๆท่านสำนึกในความสำคัญของการทำหน้าที่ของเราอย่างดีที่สุด เพื่อ พ่อ แม่ พี่ น้อง ของเรากันเอง


อะไรที่เขียนไปแล้วขัดหูใคร ก็ต้องขอโทษไว้ล่วงหน้าก่อน.........เคารพในทุกความเห็นครับ


Posted by : cosmo , Date : 2008-01-09 , Time : 16:02:25 , From IP : 194.brs0104.brs.ipri

ความคิดเห็นที่ : 36


   อื่ม

Posted by : alonzo , Date : 2008-01-10 , Time : 01:55:45 , From IP : 172.29.21.225

ความคิดเห็นที่ : 37


   สอบข้อเขียนแพทย์ม.อ.ผ่านแล้วคับ ยังรอลุ้นว่าจะสัมภาษณ์ผ่านหรือปล่าว ดีใจจังคับ

Posted by : แอม , E-mail : (st_learner@hotmail.com) ,
Date : 2008-01-10 , Time : 20:00:18 , From IP : 222.123.138.122


ความคิดเห็นที่ : 38


   ยินดีด้วยครับ

Posted by : alonzo , Date : 2008-01-10 , Time : 21:28:01 , From IP : 172.29.21.225

ความคิดเห็นที่ : 39


   ขออนุญาตอาจารย์และเพื่อนๆพี่ๆน้องๆในกระทู้เพื่อเริ่มหัวข้อสนทนาใหม่นะครับ ที่ตอนแรกผมไม่เข้ามาในวงสนทนาเพราะคิดว่า เจ้าของกระทู้คงเป็นพวก org ที่เข้ามาโพสกระทุ้ล้อเป้าแล้วจากไป แต่เท่าที่เห็นการเข้ามาในกระทู้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผมได้เห็นการสนทนาอย่างที่ไม่ได้เห็นในบอร์ดนี้มานานเกือบปี และมีความสนใจที่จะร่วมอภิปรายปัญหาดังกล่าว ไม่รู้ว่าจะช้าไปหรือเปล่า?

เรียน คุณญาติอาจารย์ใหญ่1

เท่าที่ติดตามกระทู้นี้มาตั้งแต่ต้น ผมยังไม่เข้าใจเหตุผลที่คุณต้องโพสกระทู้ด้วยภาษาที่รุนแรงเช่นนี้เลยครับ(เป็นความคิดเห็นของผมคนเดียวว่า ภาษาที่ใช้ด้วยอารมณ์ที่เจตนา ส่อเสียด ประชดประชัน ปลุกอารมณ์รุนแรง คือ ภาษาที่รุนแรงครับ) จากอารมณ์ในข้อความ ผมเข้าใจว่าคุณมีปัญหาอึดอัดที่อยากบอกให้คนอื่นรู้ ดังนั้น เหตุผลที่ผมพยายามทำความเข้าใจ เพราะว่า ผมต้องการมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่ได้จะมาแก้ตัวให้กับสถาบันแต่อย่างใด ผมเข้าใจจากข้อความที่คุณเคยโพสว่า "จุดประสงค์ที่ดิฉันมาโพส เรื่องนี้ เพราะดิฉันคิดว่า หมอ มอ. ควรได้รับการปรับปรุงด้านความรู้ความสามารถ" ไม่แน่ใจว่า เราเข้าใจตรงกันหรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นต่อไป เช่น คุณไม่เข้าใจตรงจุดไหนของการรักษา โรคดังกล่าวเป็นอะไร ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้อย่างไร คุณต้องการให้ผลลัพท์ของจุดประสงค์นี้จบลงอย่างไร เป็นต้น

จากจุดประสงค์ดังกล่าว ซึ่งผมเดาเอาเอง(เนื่องจากตอนนี้เจ้าของกระทู้ยังไม่มาตอบ)ว่า จุดประสงค์ของคุณคงได้รับการตอบสนองจากอาจารย์แพทย์หลายท่านที่เข้ามาตอบในนี้ และช่วยจุดประเด็นให้นักศึกษาแพทย์ที่กำลังเรียน และแพทย์ใช้ทุนแพทย์ประจำบ้านที่กำลังฝึกอบรม (ที่มีศักยภาพในการพัฒนา) ให้ยอมรับและพัฒนาความสามารถมากขึ้น เพราะแน่นอนว่า ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ทำอย่างไรให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่ผลลัพท์ของจุดประสงค์ดังกล่าว คงหวังให้ออกมาทันทีทันใดมิได้จริงไหมครับ

หวังว่า เราจะได้สนทนากันนะครับ


Posted by : Botsumu , Date : 2008-01-12 , Time : 07:42:45 , From IP : 172.29.9.55

ถามจริงที่พิมพ์มากะให้ขำใช่มะครับ " />
ความคิดเห็นที่ : 40


   " ปกปิด เพื่อ ปกป้อง ใครกัน? ตัวเอง? รึเปล่า

unity สูงจิงๆ สอนกันดีจัง ผิด ก็ให้หาใบบัวมาปิด เพื่อปกป้อง ตัวเอง นี่แหละตัวตน ธาตุ

ที่ไม่เคยมีเสียงแย้งขึ้นมาระคายความรู้สึกให้เสีย self ก็คงมีตาสีตาสาไม่น้อยที่ถูกใบบัวปิดไว้ ใครกันถูกปกป้อง!

เพราะไม่เคยได้รู้อีกมุมของตัวเองและไม่คิดจะรับรู้ ด้วยความภูมิใจทนงว่าเป็นศูนย์ของภูมิภาค ลืมว่ายังมีประเทศ ยังมีโลกกว้างกว่า ความภาคภูมิที่มากมายคิดว่าตัวเองนั้นเหนือที่สุดแล้ว เหยียดสิ่งที่แตกต่างว่าไร้ค่าไร้ความหมาย บ่งบอกโลกทัศน์ สิ่งแวดล้อม ต้นกำเนิดที่ปลูกฝังเลี้ยงดูมา ให้หลงพอใจเพียงคำชื่นชมในขอบเขตอาณาเขตสิ่งปกครอบที่แค่พองตัวก็เต็มปริ่ม ซึ่งต่างจากปราชญ์ที่สามารถใช้ทุกอย่างให้เป็นประโยชน์ได้ ปัญญาชนผู้มีวิจารณญาณย่อมรู้ว่าสิ่งใดควรเคารพ สิ่งใดพยามยามยกตัวข่มขืนให้ต้องเคารพ "
--->ถามจริงที่พิมพ์มากะให้ขำใช่มะครับ



Posted by : alonzo , Date : 2008-01-12 , Time : 22:52:09 , From IP : 125-27-48-51.adsl.to

ความคิดเห็นที่ : 41


   "ตอนนั้น เสียความรู้สึกกับหมอ มากๆ รู้สึกขยะแขยงหมอบางพวก และก็เกิดการเปรียบเทียบ หมอจากสถาบันต่างๆ เดี๋ยวนี้ ถ้าเป็นตัวดิฉันเอง ดิฉันจะไม่ไปหาหมอที่จบจาก มอ. เลย "

คุณจะพูดประโยคนี้อีกครั้งมั๊ยครับ


Posted by : alonzo , Date : 2008-01-12 , Time : 23:01:37 , From IP : 125-27-48-51.adsl.to

ความคิดเห็นที่ : 42


   "ตอนนั้น เสียความรู้สึกกับหมอ มากๆ รู้สึกขยะแขยงหมอบางพวก และก็เกิดการเปรียบเทียบ หมอจากสถาบันต่างๆ เดี๋ยวนี้ ถ้าเป็นตัวดิฉันเอง ดิฉันจะไม่ไปหาหมอที่จบจาก มอ. เลย "

คุณจะพูดประโยคนี้อีกครั้งมั๊ยครับ


Posted by : alonzo , Date : 2008-01-12 , Time : 23:01:39 , From IP : 125-27-48-51.adsl.to

ความคิดเห็นที่ : 43


   เห็นด้วยกับ อ.หมอ jr. ค่ะว่าควรจะหยุด และดิฉันก็เห็นว่าดิฉันได้บอกและอธิบายวัตถุประสงค์ไปพอสมควร ซึ่งเป็นประโยชน์บาง ไม่เป็นประโยชน์บ้าง เป็นนิยายขายหัวเราะบ้าง ก็ต่างคนต่างความคิด เป็นได้ทุกอย่างแล้วแต่ผู้คิดหรือผู้ใช้ค่ะ

ขอแย้งอาจารย์ นิดนึงค่ะ มุมมองของอาจารย์อาจจะคิดว่าเป็นการสื่อสารกันไม่เข้าใจ แต่จากที่ประสบมากรณีของดิฉัน คือการวินิจฉัยที่ผิดพลาด การรักษา การให้ยา จึงผิดกันเป็นลำดับมา กรณีแม่ของดิฉันวินิจฉัยถูกแต่พอคนไข้บอกว่าป้าเคยเป็นแบบนั้นคล้ายๆกัน ก็เกิดความไม่แน่ใจ ไปถามเพื่อนถกเถียงกันอยู่พักนึง จึงเชื่อ แสดงถึงความไม่แม่นให้ศาสตร์ที่เรียนมา การรพูดจาทำความเข้าใจกับคนไข้ไม่มีศิลปะ จิตวิทยา ให้ยาไม่ครบ แต่หมออีกที่หนึ่งเค้าถึงพร้อมทุกอย่าง จึงเกิดการเปรียบเทียบกัน จึงยังคิดว่าเป็นเรื่องของความรู้ความสามารถในศาสตร์ ค่ะ

"บรรลุจุดประสงค์ที่มาโพสหรือยัง" บรรลุตรงที่ได้บอกให้คุณหมอทั้งหลายทราบ ว่ายังมีคนคิดอย่างนี้นะ มีผู้ป่วยประสบแบบนี้นะ ซึ่งดูจากอาการของหมอในเวบบอร์ด เหมือนไม่เคยมีใครมา complain เลย ก็อาจเป็นเพราะ
1.เก่งจริง รักษาถูกต้อง หายจากโรค
2.เพราะความไม่รู้ของผู้ป่วย หมอบอกว่าเป็นอะไรก็เป็น หมอให้กินยาอะไรก็กินซึ่งถ้าหมอวินิจฉัยและให้ยาผิดผูป่วยก็ไม่รู้หรอกค่ะว่าทรุดเพราะโรค หรือเพราะยา
3.ผู้ป่วยตายไปแล้ว กลับมาบอกไม่ได้ บอกว่าตายด้วยมะเร็งก็ก็เชื่อเพราะไม่มีความรู้ แต่พวกที่มีความรู้หน่อยก็มาดูการวินิจฉัยสั่งยาก็รุ้ว่าไม่ถูก ถึงมีเรื่องฟ้องร้องให้เห็นกันบ้าง
4.ไม่มีที่ให้บอก ไม่รู้จะไปบอกตรงไหน (ตอนแรกดิฉันก็ไม่ทราบหรอกค่ะว่าจะไปบอกตรงไหน แต่บังเอิญว่าเล่นเนตบ่อยค่ะ ถึงได้มาเจอบอร์ด)

ส่วนเรื่องจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทันทีเหมือนเอากรดเทใส่น้ำให้เปลี่ยนลิตมัส มันคงทำไม่ได้หรอกค่ะ หวังเพียงแค่ให้ได้รับรู้ไว้เท่านั้นว่ายังมีคนเห็นว่ามีสิ่งบกพร่องอยู่ ที่ไม่ระบุชี้ชัดว่าเป็นอายุรกรรมหมอคนนั้นนะ คลินิคตาหมอคนนั้นนะ คลินิคฟันบอกคนนั้นนะ เพราะเจอหมอมาเยอะเกือบทุกสาขา มีลักษณะคล้ายๆกัน การชี้ตัวก็แก้ได้แค่คนๆนึง ยอมรับค่ะว่าทำให้หมอดีๆเก่งๆหลายคนเสียใจเสียความรู้สึก แต่ดิฉันก็เสียมาไม่น้อยกว่าที่ท่านเสียหรอกค่ะ อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ

หวังว่าคงไม่มีหมอท่านใดที่มีอคติกับดิฉันแล้วไปลงกับผู้ป่วยโรคเดียวกับดิฉันหรอกนะค่ะ ท่านคงจะทราบแล้วดิฉันเลือกที่จะพบหมอที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ

ศรัทธาความเชื่อถือมันมาเองค่ะอยู่ที่ตัวผู้ประพฤติปฎิบัติ ไม่ต้องอวดอ้าง

และคงเป็นโพสสุดท้ายของดิฉัน เพราะดิฉันก็ไม่ได้ว่างมากมาย ที่อยากบอกก็บอกไปหมดแล้ว และเห็นว่าการโพสกระทู้ว่ากันไปมาไม่ก่อประโยชน์อะไร แพ้-ชนะไปก็เท่านั้น ถึงจะมีคนเสียความควบคุมพยายามปลุกอารมณ์ unity เอาน้ำมันไปพ่นใส่ไฟก็ตาม ชนะไปเถอะค่ะยกให้

เคารพทุกความเห็นค่ะ


Posted by : ญาติอาจารย์ใหญ่1 , Date : 2008-01-13 , Time : 16:20:45 , From IP : 125-24-97-222.adsl.t

ความคิดเห็นที่ : 44


   น่าเสียดายนะครับที่คุณเจ้าของกระทู้จะไม่มาตอบคำถามอีกแล้ว เพราะ ผมยังอยากทำความเข้าใจปัญหาของคุณอีกหน่อย ทั้งนี้จะได้เป็นการพัฒนาตัวของผมเอง(ไม่เคยคิดว่าตัวเองเก่ง ฉลาด รู้ทุกอย่าง เลิศเลอเลยซักนิด)

สรุปว่า สิ่งที่คุณเจ้าของกระทู้ต้องการคือการระบายและแสดงออกถึงความอึดอัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้บรรลุในจุดประสงค์แล้ว ไม่แน่ใจว่า จุดประสงค์ของเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ของเราในนี้จะบรรลุบ้างรึยัง อาจมีบางท่าน อยากให้คุณเจ้าของกระทู้เปลี่ยนแปลงทรรศนคติ แต่ผมคิดว่าคงยาก เพราะคุณญาติอาจารย์ใหญ่1 คงเสียความรู้สึกเยอะมากจริงๆ บางท่านอาจโกรธมาก จึงแสดงออกด้วยความเกรี้ยวกราด ซึ่งก็น่าจะบรรลุแล้วว่าได้สะใจ แต่ผมคิดว่า คงค้างๆคาๆนิกหน่อยที่ฝ่ายโดนกระทั้นไม่กระแทกกลับ หรือไม่อึ้งจนตอบอะไรไม่ออก ไม่มีแม้คำว่าขอโทษต่อการแสดงความเห็นที่ขัดแย้งนั้น

เรื่องราวนี้คงจบแบบ win-lose ไปแล้วรึเปล่าครับ?

ถ้าคุณญาติฯ จะไม่เข้ามาในนี้แล้ว เรียนถามอาจารย์ครับว่า ไม่ทราบว่า อาจารย์มีจุดประสงค์หรือความคาดหวังอะไรกับกระทู้นี้บ้างไหมครับ ผมมองว่า นี่เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มีการเคลื่อนไหว และเป็นโอกาสในการพัฒนา และเรียนถามอาจารย์ว่า พอจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้างไหมครับ?


Posted by : Botsumu , Date : 2008-01-13 , Time : 16:49:09 , From IP : 172.29.9.55

ความคิดเห็นที่ : 45


   เพื่อประโยชน์ในการสนทนานะครับ

จะเห็นได้ว่า ความสำคัญของการสื่อสาร นั้นสำคัญเพียงไร และ "การรับรู้" นั้น มีปัจจัยมากมาย มาเกี่ยวข้อง นี่คงจะเป็นประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของกระทู้นี้

การที่ประชาชนทั่วไป เข้าใจว่า การแพทย์ หรือ วิชาด้านสุขภาพ เป็น "ศาสตร์ที่ตรงไปตรงมา" นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจในการปรับหลักสูตร การชี้แจง ของบุคลากรวิชาชีพแพทย์ พยาบาล

วิชาชีพด้านสุขภาพของเรา มีปัจจัยมากมายมหาศาลมาเกี่ยวข้อง หลักการ มีพอๆกับข้อยกเว้น หรือในบางกรณี ข้อยกเว้นมีมากกว่าหลักการเสียด้วยซ้ำ ความจริงอันนี้จะไม่ช่วยเลย ถ้าเราทำให้เกิดความประทับใจอีกอย่างว่า "หมอรู้อะไร 100%"

ผลกระทบเห็นได้ชัดจากกรณีนี้ แพทย์ที่ปรึกษา เพื่อความรอบคอบมั่นใจ ถูกรับรู้เป็นว่ามีความรู้ไม่เพียงพอ แพทย์ที่ฟันธง มั่นใจ กลายเป็น image ของคนเก่ง คนที่ชำนาญสามารถกว่า จะว่าไป เราคงต้องมาทบทวน และพิจารณาว่า ที่แล้วมา เราทำให้เกิดอาการ overconfidence ในการวินิจฉัยของแพทย์ไปอย่างไรบ้าง

เพราะถ้าไม่แก้ไข เราจะถูกบีบโดยสังคม ให้ถือสา "form" มากกว่าไปเน้นที่ "function" ซึ่งจะเป็นผลร้ายอย่างยิ่ง

วิชาแพทย์ ระหว่างโรค กับการรักษา นั้น มันมีความเสี่ยงทั้งคู่ แม้ว่าเราหวังดี อยากจะทำประโยชน์ เกลี้ยกล่อมให้เกิดความคล้อยตาม เพราะเราต้องแนะนำคนไข้ในเรื่องการปฏิบัติตัวด้วย แต่เราก็ไม่ควรจะทำให้ประชาชน หรือสาธารน เกิดการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนว่า การแพทย์เป็นศาสตร์ ทั้งที่ การแพทย์นั้น เป็น "ศิลปศาสตร์" มีความไม่แน่นอน เป็นอนิจจํ

แพทย์ทุกคนควรจะทราบว่า เท่าที่ตนเองยังวิินิจฉันถูกต้อง ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาตะของคนไข้ดี กอปรกับความรู้คสามารถมาร่วมกันประคับประคองอยู่ และการสนทนากับผป. อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น และเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ทำไมขึงต้องตรวจเช็คเพิ่มเติม ทำไมจึงถาม second opinion ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นจริง แต่เรื่องทั้งหมด อย่างกรณีนี้ ก็อาจจะกลายเ็นสิ่งที่หลีกเลี่ยง ป้องกันได้

กระมังครับ


Posted by : phoenix , Date : 2008-01-13 , Time : 21:17:09 , From IP : 172.29.9.165

ความคิดเห็นที่ : 46


   ขอบคุณครับ อาจารย์ Phoenix อ่านที่อาจารย์โพส แล้วช่วยเปิดแนวคิด และเกิดคำถามขึ้นในคราวเดียวกัน ตอนนี้ก็ยังอยากรู้ความความคิดของเจ้าของกระทู้นั้น คิดอย่างที่อาจารย์บอกจริงหรือเปล่า นั่นหมายความว่า คุณญาติฯ มีการรับรู้ว่า การแพทย์เป็นศาสตร์ที่ตรงไปตรงมา แพทย์ที่ดีต้องรู้มากๆ เป็นต้น จริงหรือเปล่า(ตอนนี้ก็ได้แค่เดาเท่านั้นเอง เพราะ คุณญาติฯคงไม่เข้ามา อ๊ะ แต่อาจแว๊บมาอ่านบ้างก็ได้ ถือเป็นคำถามถึงคุณญาติฯไปเลยแล้วกันนะครับ)นั่นอาจเป็นประเด็นที่เราจะปรับความเข้าใจให้ตรงกันได้ง่ายขึ้น

ทางแก้เรื่องนี้ นอกจากปรับหลักสูตรที่อาจารย์บอก อาจต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เรื่องนี้แก่ประชาชน(ตาสีตาสา อย่างที่คุณญาติฯบอก) ด้วยใช่ไหมครับ

ขอบคุณสำหรับแนวคิดในย่อหน้าสุดท้ายนะครับ จะพยายามเพิ่มความระมัดระวังในการสื่อสารมากขึ้นครับ

ขอบคุณอาจารย์ Pheonix มากๆครับ


Posted by : Botsumu , Date : 2008-01-13 , Time : 22:05:23 , From IP : 172.29.9.55

ความคิดเห็นที่ : 47


   คือผมเองก้อเหนใจนะครับไม่ว่าแพทย์ หรือเทคนิคการแพทย์ต้องทำงานเหนื่อยและรับผิดชอบพอๆกันแต่ถ้าเราจะเข้าใจกันจะดีกว่าไหมครับ

Posted by : alonzo , Date : 2008-01-14 , Time : 19:33:23 , From IP : 172.29.21.225

ความคิดเห็นที่ : 48


   สวัสดีครับ คุณ alonzo

เรื่อง "เข้าใจ" เป็นเรื่องที่ไม่ตรงไปตรงมาครับ ตลอดเวลาที่เรา "รับรู้" และ "แปลผล" สุดท้ายเราก็เกิด (คิดว่า) "เข้าใจ" ปกติจู่ๆเราจะไม่รับรู้ว่าเรากำลังเข้าใจผิดจนกว่าจะเจอะเจอช้อมูลอีกมุมหนึ่งของเรื่องเก่า

สภาวะนี้เป็นพยาธิกำเนิดของ "โรคฟันธง" หรือการด่วนตัดสิน ซึ่งในสังคมปัจจุบันอาการเข้าขั้นโคม่าไปหลายส่วน เพราะการด่วนตัดสินนั้นนำพาไปสู่พยาธิสภาพที่ร้ายแรงกว่าต่อไปได้อีก

เมื่อเราได้ "ตัดสิน" อะไรไปแล้ว เราก็จะ "หยุดฟังต่อ" (จะฟังไปทำไม ก็เรา "เข้าใจ" แล้วนี่นา ที่เหลือเป็นขยะ เป็นนอกเรื่อง เป็นอะไรที่ไม่ใช่สาระสำคัญ) เราจะ download ข้อมูลเก่า ความเชื่อเก่าที่สั่งสม เอามาแทนข้อมูลที่กำลังจะเข้ามา แต่ไม่ได้ตั้งใจฟังอีกต่อไป เพราะจำได้หมายรู้เดิมได้ตัดสินไปแล้ว

จะเห็นว่าการสนทนาในปัจจุบัน คนเริ่มตัดบทกันบ่อยขึ้น โต้เถียงกันรุนแรงมากขึ้น การยอมรับในความแตกต่่างน้อยลง คนที่สภาวะจิตที่สูงกว่าเท่านั้นจึงจะสามารถชะลอการด่วนตัดสิน และใช้จิต ใช้สติ ในการพิเคราะห์ใคร่ครวญ ไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งรอบคอบ รับฟังข้อมูลให้หมด และครบทุกด้าน จึงค่อยทำอะไรไป และทำไปแล้ว ก็ยังต้องมาพิเคราะห์ใคร่ครวญต่อไปอีกว่า ทำไปเกิดผลดี ผลร้ายต่อใครบ้าง ต่อวงการอะไรบ้าง ต่อชุมชนไหนบ้าง และตัวเรานั้น เจริญในสติ เจริญในสิริมงคล เจริญในเมตตากรุณามากขึ้นเพียงไร

อาจจะเป็นเพราะโลกเราทุกวันนี้มันเร่งด่วนไปหมด คนมี "เวลา" น้อยลง เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นชาวอเมริกัน มาอยู่เชียงรายได้สองปี กลับไปประเทศ เกิด cultural shock ที่บ้านตัวเอง เพราะคนอเมริกันไม่ค่อยได้ "อยู่กับปัจจุบัน"สักเท่าไร คิดแต่ข้างหน้า ชั่วโมงหน้า วันพรุ่งนี้ตลอด วันๆชีวิตผ่านไปเหมือนกับนั่งรถไฟด่วน คือมองออกนอกหน้าต่างเป็นแค่เงาเบลอๆ หรือติดกับเงาต้นไม้ต้นก่อนหน้าโน้น สลัดไม่ออก

ครั้งหนึ่งมีคนวิจารณ์ว่า ผมอธิบายอะไรยาวเกินไปอ่านไม่ไหว บทความนั่นยาวประมาณ 20 บรรทัด สำหรับนักศึกษาชั้นอุดมศึกษา ถ้าไม่สามารถ grap 20 บรรทัดของข้อมูล เขาก็คงจะไม่สามารถทนฟังคนไข้ได้ครบหมดทุกระบบ หรือถ้าเป็นคนไข้ ก็คงจะฟังหมอได้ไม่ครบจบคำแนะนำเป็นแน่ การสื่อสารก็จะถูกลดทอนลงไปอย่างน่าเสียดายครับ


Posted by : phoenix , Date : 2008-01-15 , Time : 10:21:42 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 49


   ขอบคุณครับอาจารย์
คือคำว่าความเข้าใจกันในที่นี้ก็เหมือนหมอผ่าตัดพยายามหลีกเลี่ยงไม่ split เลือด ไปโดนใครใน field และถ้าเลือดเข้าตาหมอ พยาบาลก็จะช่วยเช็ด มันคือความเข้าใจกันเพราะว่าเราต่างรู้ว่าผลมันเป็นอย่างไร และเราจะ "ทำงานกันได้" ถ้าเราเข้าอกเข้าใจกันนะผมว่า


Posted by : alonzo , Date : 2008-01-15 , Time : 10:29:19 , From IP : 172.29.21.225

ความคิดเห็นที่ : 50


   เห็นด้วยครับ

และขอขยายต่ออีกนิดนึง และดดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราเป็นแพทย์ เป็นพยาบาล เป็นผู้ให้บริการสุขภาพ เราจะต้องมีสติตลอดเวลาว่า คนที่เรากำลังมีปฏิสัมพันธ์อยู่ด้วยนี้เป็นคนป่วย คนที่กำลังมีความทุกข์ ทางกาย จิตใจ และกระทบไปถึงสังคมและจิตวืญญาณด้วย ไม่ได้เป็นคนที่สุขภาพดีตามปกติ ฉะนั้น ความอ่อนไหว เปราะบาง จะมากกว่าธรรมดา พวกเราจึงต้องครองสติให้ดีกว่า ให้มีพลังสภาวะทางจิตที่เข้มแข็ง จนกระทั่งสามารถจุนเจือเอื้อเฟื้อ ให้ยืมพลีงแก่คนเจ็บป่วยได้ เราไม่ควรจะคาดหวังคนที่กำลังเจ็บป่วยจะมีปฏิกิริยาตามปกติ รู้จักมารยาทตามปกติ ตัวเราเองเวลาเจ็บป่วยมากๆ เราก็หมดอยาก หมดพลังที่จะ take care คนอื่นได้เหมือนกัน ฉันใดก็ฉันนั้น ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน จึงไม่เหมือนทีเดียวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนไข้ หรือญาติคนไข้ครับ

การทำงานกับคนไข้ จึงต้องมีสติ ละวาง อภัยได้ เพราะเราใช้เมตตากรุณานำ ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพหรือความเท่าเทียมนำ


Posted by : phoenix , Date : 2008-01-15 , Time : 13:35:40 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 51


   ขอบคุณครับอาจารย์ บรรทัดสุดท้ายนี่ผมชอบมากครับ เป็นแนวคิดที่ดี

Posted by : alonzo , Date : 2008-01-15 , Time : 20:06:49 , From IP : 172.29.21.225

ความคิดเห็นที่ : 52


   คิดว่าแพทย์ของ มอ. ที่จบออกมาแล้วทั้งที่ทำงานที่ มอ. หรือทำงานที่อื่นล้วนเป็นแพทย์ที่มีคุณภาพ จากที่ประสบ ที่เห็น ที่ได้รู้จักมานั้นล้วนมีอัธยาสัยที่ดี อาจจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นแต่เป็นส่วนมาก ฉนั้นไม่ควรเหมารวมครับ เพราะผู้ที่ตั้งใจเรียนแพทย์ทุกคนล้วนคิดว่าจะได้รักษาผู้ป่วย ถ้าคุณคิดแบบนี้แล้วแพทย์ที่มีคุณภาพจะเสียกำลังใจ เพราะมีคนที่คิดกับคุณหมออย่างนี้อยู่

Posted by : san , E-mail : (coco_line23@hotmail.com) ,
Date : 2008-02-14 , Time : 16:24:53 , From IP : 117.47.210.75


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.04 seconds. <<<<<