ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

ติดคุกเพราะรักษาคน


   ติดคุกเพราะรักษาคน

โดย นพ.เกษม ตันติผลาชีวะ



กรณีศาลจังหวัดทุ่งสงตัดสินจำคุกแพทย์หญิงเป็นเวลา 3 ปี ฐานฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเกินขนาดในระหว่างผ่าตัดไส้ติ่ง เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อวงการแพทย์และสาธารณชนทั่วโลก มิใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

แพทย์ในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีคดีฟ้องร้องแพทย์มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก หากทราบข่าวนี้คงรู้สึกว่าเขาโชคดีกว่าแพทย์ในประเทศไทยมาก เพราะการฟ้องร้องแพทย์ของเขาเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา แพทย์ในสหรัฐอเมริกาอาจถูกจำคุกได้เฉพาะในกรณีที่เป็นการเจตนากระทำความผิด มิใช่ประมาทเลินเล่อ

ข่าวนี้คงช่วยให้แพทย์ไทยที่เดินทางไปทำมาหากินในต่างประเทศจนมีฐานะและความเป็นอยู่สุขสบาย ลดความรู้สึกผิดลงไปได้มาก ในขณะที่แพทย์ที่ทนทำงานหนักอยู่ในประเทศไทย อาจรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง

ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น คงไม่มีแพทย์คนใดเลยที่ไม่เคยรักษาผู้ป่วยแล้วตาย และเกือบจะไม่มีแพทย์สักคน ที่ไม่เคยทำความผิดพลาดสักครั้งเดียวในชีวิตการรักษาผู้ป่วย

ความผิดพลาดในการวินิจฉัยและรักษานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ และความปรารถนาที่จะให้โอกาสผิดพลาดเป็นศูนย์นั้น ทุกคนก็อยากให้เป็นเช่นนั้น แต่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

ข้างบ้านผู้เขียนมีแม่ค้าขายข้าวต้มอยู่คนหนึ่ง เธอพูดแบบคนเสียงแหบมาหลายปี เหตุเพราะเธอได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ แล้วเผอิญไปโดนเส้นประสาทของกล่องเสียงเข้า เมื่อถามเธอว่าไม่ฟ้องหมอหรือ เธอบอกว่าไม่ฟ้องหรอก เพราะหมอเองก็เสียใจมากแล้ว

แพทย์อาวุโสคนหนึ่งที่ผมรู้จัก มีประวัติว่าเคยผ่าตัดไตผู้ป่วยผิดข้าง แล้วผู้ป่วยต้องเสียชีวิต แพทย์ผู้นั้นจึงแต่งกายด้วยสีขาวตลอดชีวิต และเปลี่ยนไปทำงานที่ไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วย

นั่นเป็นเรื่องของคนยุคเก่า ซึ่งดำรงชีวิตด้วยความเมตตากรุณา และไม่อาฆาตพยาบาท เมื่อมาถึงยุคนี้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทยจึงได้เปลี่ยนแปลงไปถึงขนาดนี้

คนสมัยก่อนไม่เคยเรียกร้องให้มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ไม่เคยอวดอ้างว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาของโลก แต่หัวจิตหัวใจของคนเป็นเครื่องบอกเองว่ามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำใจ

กรณีผู้ป่วยเป็นไส้ติ่งอักเสบแล้วไปหาแพทย์ อยากให้ลองสมมุติว่า ถ้าหากไม่มีหมอผ่าตัดและหมอดมยาอยู่เลย ผู้ป่วยรายนี้จะรอดชีวิตได้เองหรือไม่ การกระทำของแพทย์มีเจตนาร้ายต่อผู้ป่วยหรือไม่ สมควรโกรธแค้นและหาทางแก้แค้นให้สาสมแก่ความผิดหรือไม่อย่างไร หรือว่าต้องใช้วิธีการให้ญาติผู้ตายฉีดยาเข้าตัวแพทย์ให้ตายตกตามกันไปจึงสมควรแก่โทษานุโทษ

ใ นปัจจุบันการฟ้องร้องแพทย์ในประเทศไทยมีมากขึ้นอย่างผิดสังเกต หากมองสาเหตุทางด้านผู้ป่วยและญาติก็น่าจะมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและทราบว่าฟ้องร้องได้ ประกอบกับมีผู้ฟ้องแล้วชนะได้รับการชดเชยมากมาย ก็เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์

การมีนักกฎหมายที่ถนัดเฉพาะคดีแบบนี้คอยตระเวนหาลูกค้าตามสถานพยาบาลก็พบได้บ่อย ยิ่งมีการรวมตัวของ "กลุ่มผู้จองเวรแพทย์" โดยมีแพทย์ที่เป็นปฏิปักษ์กับเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นที่ปรึกษาและเป็นพยานให้ผู้ฟ้อง ก็ยิ่งอำนวยให้เกิดความสะดวกในการฟ้องร้องมากขึ้น กรณีเช่นนี้ควรคำนึงถึงความมีอคติ อันมีผลต่อความน่าเชื่อถือของพยานด้วย

ปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป ก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการฟ้องร้องกัน ดังที่ผมได้เคยวิเคราะห์ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว

ผู้ป่วยในยุคนี้ไม่เหมือนยุคก่อน แพทย์ในยุคนี้ก็อาจไม่เหมือนยุคก่อนเช่นกัน แพทย์ที่ไม่ดีก็มีอยู่จริง และสร้างความเสื่อมเสียกับวงการแพทย์จนมีคำว่า "แพทย์พาณิชย์" เกิดขึ้น แต่ก็น่าแปลกใจที่แพทย์แบบนี้ไม่ค่อยถูกฟ้องร้องและลงโทษ ผู้ที่ถูกฟ้องร้องมากที่สุด กลับกลายเป็นแพทย์ที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ รักษาผู้ป่วยจนเกินกำลังและเกิดความผิดพลาด เป็นเหตุให้ผู้ป่วยบาดเจ็บพิการหรือเสียชีวิต บ่อยครั้งที่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านั้นเป็นเหตุสุดวิสัยและป้องกันได้ยาก เช่น การแพ้ยาหรือมีโรคแทรกซ้อนซ้ำเติม

แต่สังคมก็ไม่ค่อยยอมรับความจริงข้อนี้

ง านในหน้าที่แพทย์นั้นต้องรับผิดชอบสูง เพราะทำงานอยู่กับความเป็นความตายของคน ถ้ายื้อชีวิตผู้ป่วยจากมัจจุราชมาได้ก็เสมอตัวหรือเป็นบุญของผู้ป่วย แต่หากผู้ป่วยตายก็อาจกลายเป็นฆาตกรที่ต้องสวมกุญแจมือและต้องถูกจองจำ

เชื่อไหมว่าระบบราชการไทยตีราคางานแบบนี้เดือนละเก้าพันบาทสำหรับแพทย์จบใหม่ และหมื่นสองพันบาทสำหรับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ แพทย์รับราชการจนเกษียณก็ยังได้เงินเดือนไม่ถึงหกหมื่นบาท แต่เวลาถูกฟ้องร้อง เงินค่าเสียหายที่ถูกเรียก ร้องหลายล้านบาทสูงกว่าเงินเดือนตลอดชีวิตรวมกันหลายเท่า

นอกจากนั้น แพทย์ยังต้องอยู่เวรนอกเวลาราชการโดยไม่ได้หยุดชดเชย วันรุ่งขึ้นก็ต้องทำงาน หักโหมยิ่งกว่าการทำงานเป็นกะเสียอีก แพทย์อยู่เวรโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนมานานมากในประวัติศาสตร์ เพิ่งมีการให้ค่าอยู่เวรคืนละไม่กี่ร้อยบาทเมื่อไม่นานมานี้เอง แพทย์ที่แก่แล้วอยู่เวรไม่ไหวอาจต้องควักเงินเพิ่มจากค่าเวรเพื่อขอให้แพทย์รุ่นน้องมาอยู่เวรแทน

เมื่อทราบอย่างนี้แล้วว่างานหนักและยังต้องเสี่ยงคุกตะราง คิดว่าจะมีใครอยากมา เรียนแพทย์อยู่อีกหรือ ปัจจุบันนี้เด็กที่สอบได้คะแนนสูงๆ หันไปเรียนกฎหมายกันมาก แล้ว ในอดีตที่เคยคัดเลือกคนเรียนเก่งมาเรียนแพทย์ยังมีโอกาสวินิจฉัยและรักษาผิดพลาด ในอนาคตหากได้คนที่มาเรียนแพทย์เพราะสอบเข้าสาขาอื่นไม่ได้

ผลจะเป็นอย่างไรสุดจะคาดเดา

โลกปัจจุบันเป็นยุคคลั่ง "จีดีพี" เป็นโลกที่การตลาดนำหน้าคุณธรรม จึงได้มีผู้ชักนำระบบการให้ "ผลตอบแทน" แก่แพทย์ในกรณีต่างๆ เช่น การสั่งตรวจพิเศษและการสั่งยาราคาแพง บางครั้งแม้จะไม่ได้ให้โดยตรงแต่ก็เป็นรูปแบบของผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ควรแก้ไขโดยด่วนเพื่อความโปร่งใสในวงการแพทย์

งานนี้เป็นหน้าที่โดยตรงของแพทยสภาซึ่งต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ กรรมการแพทยสภาไม่ควรไปเล่นบทปกป้องช่วยเหลือแพทย์ เพราะนั่นเป็นหน้าที่ของแพทยสมาคมฯ ซึ่งก่อตั้งมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้

การเข้าไปช่วยเหลือแพทย์ในทางคดีแม้จะเป็นเรื่องที่ควรเห็นใจ แต่ประชาชนย่อมสับสนในบทบาทหน้าที่ของท่านและอดเคลือบแคลงสงสัยไม่ได้ว่าท่านคงจะปกป้องพวกเดียวกันในเรื่องที่มีผู้ไปฟ้องร้องกล่าวหาหรือกล่าวโทษแพทย์ว่ากระทำผิดมาตรฐานวิชาชีพ แม้ว่าอนุกรรมการจริยธรรมฯ และอนุกรรมการสอบสวนฯจะตัดสินอย่างถูกต้องเป็นธรรมแล้วก็ตาม

แพทยสมาคมฯก็ควรรับงานช่วยเหลือแพทย์นี้ไปทั้งหมดและออกโรงช่วยเหลือแพทย์อย่างเต็มที่ มิใช่เพียงแต่จัดประชุม จัดท่องเที่ยว จัดสังสรรค์และเก็บค่าเช่า

การที่แพทย์ถูกตัดสินจำคุกเพราะการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตแล้วเกิดความผิดพลาดมิใช่เป็นกรรมเวรเฉพาะของแพทย์ที่ถูกตัดสินเท่านั้น แต่เป็นกรรมที่จะตกแก่คนทั้งประเทศ โดยเฉพาะประชาชนในชนบทห่างไกลที่ยังไม่มีความพร้อมในบริการทางการแพทย์

ขวัญของแพทย์ที่ถูกทำลายไปจะยิ่งทำให้แพทย์พยายามหนีให้ห่างไกลสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง สภาพปัจจุบันก็นับว่าแย่อยู่แล้ว จะยิ่งเลวร้ายหนักยิ่งขึ้น แพทย์จะมีเหลือน้อยลงที่เต็มใจทำงานรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นภาระหนักทั้งกายใจและยังเสี่ยงคุกเสี่ยง ตะราง สู้หันไปเป็น "แพทย์ฉุยฉาย" ดีกว่า ซึ่งเรามีอยู่จำนวนมากพอแล้วในกระทรวงที่ "ใหญ่ที่สุดในโลก"

หยุดการจองเวรและหันมาใช้เหตุใช้ผลกันดีกว่า แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยโดยสุจริตแล้วเกิดความผิดพลาด มิใช่ฆาตกรหรือโจรปล้นชาติหรอกนะ


Posted by : insulin , Date : 2007-12-16 , Time : 12:15:47 , From IP : 210-86-142-193.stati

ความคิดเห็นที่ : 1


   ต้นแหล่งข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 ธันวาคม 2550
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000145325
ข้อเท็จจริงที่สรุปได้จากข่าว
ศาลจังหวัดทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
มีคำพิพากษาให้จำคุก พญ.สุทธิพร ไกรมาก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
เนื่องจากผ่าตัดไส้ติ่ง นางสมควร แก้วคงจันทร์
ด้วยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง โดยประมาท
ทำให้ นางสมควร เสียชีวิต
โดยศาลลงโทษให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี
โดยการตัดสินนี้เป็นของศาลชั้นต้น และมีการยื่นอุทรต่อไป

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทย์สภา ที่สรุปได้
1.การผ่าตัดใดๆ ก็ตาม ที่ต้องมีการดมยาสลบ หรือยาระงับความรู้สึกโดยการฉีดเข้าทางช่องไขสันหลัง ควรต้องทำในโรงพยาบาล ที่มีวิสัญญีแพทย์เท่านั้น เพราะแพทย์จะมีความเสี่ยงอย่างมาก หากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และอันตรายถึงชีวิตได้
2.ขวัญกำลังใจของแพทย์ และอาจทำให้แพทย์ตื่นตระหนก จนไม่กล้าเสี่ยงที่จะตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วย
3.แพทย์ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า ซึ่งจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูงขึ้น
4.โรงพยาบาลชุมชนมีประมาณ 700 แห่งทั่วประเทศ

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย ศ.นพ.ธารา ตริตะการ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อดีตประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่สรุปได้
1.การเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังการดมยา หรือฉีดยาระงับประสาททางไขสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้
2.หากเป็นการดมยา มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องปอด และโรคหัวใจ โดยผู้ป่วย 10,000 ราย จะมีอัตราการเสียชีวิต 5-6 ราย
3.แต่หากเป็นการฉีดยาเข้าทางไขสันหลังมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง หรือนักกีฬา โดยผู้ป่วย 10,000 ราย มีอัตราการเสียชีวิต 2-6 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร
4.ประเทศไทย มีวิสัญญีแพทย์ ประมาณ 700 กว่าคน ในจำนวนนี้เป็นแพทย์ในสังกัดโรงพยาบาลของรัฐ ประมาณ 200 กว่าคน
5.หากมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม หรือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปอีก จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเสี่ยงชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า เพราะได้รับการรักษาล่าช้าไม่ทันท่วงที

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่สรุปได้
ขณะนี้วิสัญญีแพทย์ในโรงพยาบาลจังหวัดที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไม่ถึง 50% ของโรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ

!! จบข่าว !!

ข้อคิดเห็นส่วนตัวเอง
1.กล่าวนำเบื่องต้น
ผมเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนหนองม่วงไข่
ในโรงพยาบาลมีแพทย์ 3 ท่านมีวิสัญญีพยาบาล 1 ท่าน
โรงพยาบาลจังหวัดแพร่ มีศัลยแพทย์ 3 ท่าน มีวิสัญญีแพทย์ประมาณ 1-2 คน(ไม่ได้เข้าจัวหวัดนานเลยไม่แน่ใจ)
ในจังหวัดแพร่มีโรงพยาบาลชุมชนอยู่ 7 โรงพยาบาล 60*1 30*6 ขณะนี้มีเพียงโรงพยาบาลลอง 60 เตียงที่ยังคงผ่าตัดไส้ติ่งอยู่โดยที่ไม่ไช่ศัลยแพทย์และไม่มีวิสัญญีแพทย์ด้วย
2.โดยส่วนตัวคิดว่าข่าวนี้อาจจะทำให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งไม่ผ่าตัดไส้ติ่ง คลอด ไส้เลื่อน และไม่แน่ว่าอาจจะไม่ผ่าตัดทำหมันหลังคลอดด้วย โดยจะต้องส่งเข้าโรงพยาบาลจังหวัดทั้งหมด
3.ส่วนทางด้านโรงพยาบาลจังหวัดปกติก็ให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดไส้ติ่งอยู่แล้ว ก็คงต้องเหนื่อยกันหน่อย
4.ทางด้านวิสัญญีแพทย์ก็ต้องวางยาสลบแล้วเฝ้าจนเสร็จ ก็ต้องเหนื่อมากขึ้นเพราะว่า ถึงแม้มีวิสัญญีพยาบาลก็ไม่อาจวางใจได้ทุกๆราย
5.วิสัญญีแพทย์ก็เป็นคนนะครับก็ต้องมีกิจธุระ มีเจ็บป่วยไม่ว่าทางกายทางใจ ถ้าเกิดว่ามีเหตุต้องลากันหมด(เช่นคนหนึ่งเป็นไข้ อีกคนถ่ายเหลว) แล้วการผ่าตัดก็ต้องหยุดทั้งหมดเลย
6.ยังก่อน โรคที่ต้องทำการผ่าตัดไม่ได้มีแค่ไส้ติ่งนะครับ มีอีกมากมายคงทราบกันอยู่
7.อยากรู้จังว่าวิสัญญีแพทย์ถ้าเจออย่างนี้จะอยู่ได้อีกซักกี่นาน
8.แล้วถ้าวิสัญญแพทย์ลาออกกันหมดแล้วห้องผ่าตัดต้องปิดเลยไช่มั้ย
9.เพราะไม่มีใครอยากเข้าไปนอนในคุกหรอก
10.สำหรับผู้ป่วยก็ได้ดีครับ ได้รับการส่งต่อออกนอกจังหวัดแน่นอน อาจไกลถึงเชียงไหม่ หรือกรุงเทพ เพราะจังหวัดข้างเคียงคงจะประสบปัญหาเดียวกัน
11.สำหรับโรงพยาบาลทั้วประเทศของรัฐบาลที่มีวิสัญญีแพทย์ ประมาณ 200 กว่าคน เกิดลาออกกันหมดไปอยู่เอกชน โรงพยาบาลรัฐก็ต้องปิดห้องผ่าตัดทั้งหมด
12.รัฐก็คงเดือดร้องเร่งผลิตมีวิสัญญีแพทย์เพิ่ม แต่เชื่อเถิดว่าก็คงอยู่ได้ไม่นานก็เกิดภาวะสมองไหลไปเรื่อยๆ สูญเสียงบไปเรื่อยๆ
13.หรือไม่ก็ต้องส่งผู้ป่วยเข้าเอกชน ซึ่งถ้าเกิดการผูกขาดก็จะโกงราคาผ่าตัดกัน แล้วรัฐจะจ่ายไหวหรือ
14.เงินที่รัฐนำมาจ่ายนั้นก็มาจากประชาชนนั่นแหละ อานาคตอาจมีการขูดภาษีโหดมากขึ้น อาจถึงขั้นขูดภาษีความเป็นคนไทย(แค่เกิดมาก็ต้องจ่ายภาษีแล้ว)เลยก็ได้
15.การผ่าตัดบางอย่างก็รอไม่ได้นานเช่นการผ่าตัดคลอด อุบัติเหตุรุนแรง ถ้าส่งผู้ป่วยจากแพร่ไปเชียงไหม่ บางทีผู้ป่วยหรือญาติอาจขอให้โรงพยาบาลส่งเข้าวัดเลยจะดีกว่่า
16.สรุปแล้วไม่ว่าเบื่องต้น เบื่องกลาง เบื่องปลาย คนเสียประโยชน์คือประชาชนนั่นแหละ
17.ประชาชนส่วนใหญ่แน่นอนมักคิดเห็นแก่ตัว คิดถึงประโยชน์เฉพาะหน้า ไม่ค่อยคิดถึงผลกระทบระยะยาว
18.ความจริงเรื่องนี้แพทย์สภาก็คงช่วยเหลือได้แต่ก็คงไม่มาก ควรเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะเลือกทางเดินเอง ว่าจะให้เรื่องต่างๆนั้นลงเอยอย่างไร เพราะคนเดือดร้อนที่แท้จริงคือประชาชน
19.หมอส่้วนใหญ่ก็ไม่ค่อยลงรอยกันอยู่แล้ว อย่างมากก็ลาออกไปอยู่เอกชน คนที่มีความตั้งมั่นที่จะทำเพื่อประชาชนจะเหลืออยู่ซักกี่คน แล้วจะทนได้ซักกี่นาน ถึงใจจะทนได้ แล้วกายจะรับไหวหรือ โรงพยาบาลที่เคยมีอยู่ 5 คนเหลือหมอ แค่คนเดียว งานที่เคยทำ 5 คนกลับต้องมาทำคนเดียว จะเกิดความผิดพลาดขึ้นอีกกี่เท่า ถึงจะมีคนเห็นใจ แต่จะเห็นใจหมอกันทุกคนหรือ คงต้องมีการฟ้องกันบ้างแหละ
20.ผมคิดว่าเรื่องนี้ ในส่วนของคดีก็ให้แพทย์สภาช่วยเหลือไป แต่ในส่วนภาพรวมต้องให้ประชาชนตัดสินใจเอง ไม่ไช่หน้าที่หมอแน่นอน
21.สำหรับใครได้ประโยชน์ก็คงคิดกันเองล่ะกัน

ขออธิบายเพิ่มเติม
วิสัญญีแพทย์เป็นสาขาขาดแคลน ในปัจจุบันนี้จึงอนุญาติให้แพทย์ที่จบแล้วกระทำการแทนได้ โดยแพทย์ทุกคนต้องเรียนการวางยาสลบและการบล็อกหลังอยู่แล้ว
ฉะนั้นดูเหมือนคำตัดสินของศาลเหมือนเป็นคำพิภาคษาว่า แพทย็ที่เรียนจบ 6 ปีห้ามกระทำการบล็อกหลังเด็จขาดเพราะไม่ไช่ผู้เชี่ยวชาญ
แล้วสำหรับศัลยแพทย์ก็ได้รับการฝึกเพิ่มเติมเช่นกัน คำตัดสินของศาลนี้ก็ต้องสร้างความระแวงแคลงใจให้มากขึ้น เพราะยังไงก็ไม่ไช่ผู้เชียวชาญด้านการวางยาอยู่ดี
สำหรับการแพ้ยา ก็คล้ายกับการแพ้อาหาร แพ้แมลง บางคนคงเคยได้ยินว่ามดกัดแพ้ถึงตายก็มี
และคงไม่มีหมอคนไหนกล้ารับรองว่า ทุกครั้งที่บล็อกหลังนั้นจะปลอดภัย 100.0000000 เปอร์เซ็น โดยเฉพาะในผู้ที่กำลังป่วยอยู่แล้ว เกิดการแพ้อาจจะแก้ไขได้ยากกว่าคนปกติ
ข่า่วนี้จึงสร้างความระแวงระวังและความหวาดกลัวให้กับแพทย์โดยรวม เพราะไม่มีใครอยากจะผ่าตัดผู้ป่วยถ้าไม่จำเป็น และถ้าหมอเขาเห็นแก่เงินเขาก็คงออกไปอยู่เอกชนกันหมดแล้ว เขาไม่อยู่ในโรงพยาบาลรัฐบาลหรอก แพทย์ในโรงพยาบาลรัฐนั้นก็ยังคงมีใจอยู่เพื่อประชาชนเพื่อชาติ ทุกคนหวังดีทั้งนั้น แต่ถ้าเกิดการฟ้องกันบ่อย คงมีหมอใจแข็งมากจริงๆ เหลืออยู่ไม่กี่คนหรอก

ขอบคุณทุกท่านที่อุตส่าห์อ่าน ใครมีความคิดเด็จๆ หรือคิดต่างออกไปก็เชิญเลยครับ
(ผมไม่ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับคดีนะครับ เพราะไม่ทราบรายละเอียด กรุณาอย่ากล่าวหาผมว่าเอาใจช่วยหมอ หรือกล่าวปกป้องหมอนะครับ)

จาก
http://gotoknow.org/blog/jua-crime/152417?page=1
เขียนโดยผมเอง ธีรเวทย์ สิริสุวรรณกิจ


Posted by : jua , E-mail : (theerawate@yahoo.com) ,
Date : 2007-12-16 , Time : 15:51:49 , From IP : 117.47.46.247


ความคิดเห็นที่ : 2


   ต้นแหล่งข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 ธันวาคม 2550
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000145325
ข้อเท็จจริงที่สรุปได้จากข่าว
ศาลจังหวัดทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
มีคำพิพากษาให้จำคุก พญ.สุทธิพร ไกรมาก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
เนื่องจากผ่าตัดไส้ติ่ง นางสมควร แก้วคงจันทร์
ด้วยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง โดยประมาท
ทำให้ นางสมควร เสียชีวิต
โดยศาลลงโทษให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี
โดยการตัดสินนี้เป็นของศาลชั้นต้น และมีการยื่นอุทรต่อไป

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทย์สภา ที่สรุปได้
1.การผ่าตัดใดๆ ก็ตาม ที่ต้องมีการดมยาสลบ หรือยาระงับความรู้สึกโดยการฉีดเข้าทางช่องไขสันหลัง ควรต้องทำในโรงพยาบาล ที่มีวิสัญญีแพทย์เท่านั้น เพราะแพทย์จะมีความเสี่ยงอย่างมาก หากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และอันตรายถึงชีวิตได้
2.ขวัญกำลังใจของแพทย์ และอาจทำให้แพทย์ตื่นตระหนก จนไม่กล้าเสี่ยงที่จะตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วย
3.แพทย์ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า ซึ่งจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูงขึ้น
4.โรงพยาบาลชุมชนมีประมาณ 700 แห่งทั่วประเทศ

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย ศ.นพ.ธารา ตริตะการ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อดีตประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่สรุปได้
1.การเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังการดมยา หรือฉีดยาระงับประสาททางไขสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้
2.หากเป็นการดมยา มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องปอด และโรคหัวใจ โดยผู้ป่วย 10,000 ราย จะมีอัตราการเสียชีวิต 5-6 ราย
3.แต่หากเป็นการฉีดยาเข้าทางไขสันหลังมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง หรือนักกีฬา โดยผู้ป่วย 10,000 ราย มีอัตราการเสียชีวิต 2-6 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร
4.ประเทศไทย มีวิสัญญีแพทย์ ประมาณ 700 กว่าคน ในจำนวนนี้เป็นแพทย์ในสังกัดโรงพยาบาลของรัฐ ประมาณ 200 กว่าคน
5.หากมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม หรือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปอีก จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเสี่ยงชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า เพราะได้รับการรักษาล่าช้าไม่ทันท่วงที

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่สรุปได้
ขณะนี้วิสัญญีแพทย์ในโรงพยาบาลจังหวัดที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไม่ถึง 50% ของโรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ

!! จบข่าว !!

ข้อคิดเห็นส่วนตัวเอง
1.กล่าวนำเบื่องต้น
ผมเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนหนองม่วงไข่
ในโรงพยาบาลมีแพทย์ 3 ท่านมีวิสัญญีพยาบาล 1 ท่าน
โรงพยาบาลจังหวัดแพร่ มีศัลยแพทย์ 3 ท่าน มีวิสัญญีแพทย์ประมาณ 1-2 คน(ไม่ได้เข้าจัวหวัดนานเลยไม่แน่ใจ)
ในจังหวัดแพร่มีโรงพยาบาลชุมชนอยู่ 7 โรงพยาบาล 60*1 30*6 ขณะนี้มีเพียงโรงพยาบาลลอง 60 เตียงที่ยังคงผ่าตัดไส้ติ่งอยู่โดยที่ไม่ไช่ศัลยแพทย์และไม่มีวิสัญญีแพทย์ด้วย
2.โดยส่วนตัวคิดว่าข่าวนี้อาจจะทำให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งไม่ผ่าตัดไส้ติ่ง คลอด ไส้เลื่อน และไม่แน่ว่าอาจจะไม่ผ่าตัดทำหมันหลังคลอดด้วย โดยจะต้องส่งเข้าโรงพยาบาลจังหวัดทั้งหมด
3.ส่วนทางด้านโรงพยาบาลจังหวัดปกติก็ให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดไส้ติ่งอยู่แล้ว ก็คงต้องเหนื่อยกันหน่อย
4.ทางด้านวิสัญญีแพทย์ก็ต้องวางยาสลบแล้วเฝ้าจนเสร็จ ก็ต้องเหนื่อมากขึ้นเพราะว่า ถึงแม้มีวิสัญญีพยาบาลก็ไม่อาจวางใจได้ทุกๆราย
5.วิสัญญีแพทย์ก็เป็นคนนะครับก็ต้องมีกิจธุระ มีเจ็บป่วยไม่ว่าทางกายทางใจ ถ้าเกิดว่ามีเหตุต้องลากันหมด(เช่นคนหนึ่งเป็นไข้ อีกคนถ่ายเหลว) แล้วการผ่าตัดก็ต้องหยุดทั้งหมดเลย
6.ยังก่อน โรคที่ต้องทำการผ่าตัดไม่ได้มีแค่ไส้ติ่งนะครับ มีอีกมากมายคงทราบกันอยู่
7.อยากรู้จังว่าวิสัญญีแพทย์ถ้าเจออย่างนี้จะอยู่ได้อีกซักกี่นาน
8.แล้วถ้าวิสัญญแพทย์ลาออกกันหมดแล้วห้องผ่าตัดต้องปิดเลยไช่มั้ย
9.เพราะไม่มีใครอยากเข้าไปนอนในคุกหรอก
10.สำหรับผู้ป่วยก็ได้ดีครับ ได้รับการส่งต่อออกนอกจังหวัดแน่นอน อาจไกลถึงเชียงไหม่ หรือกรุงเทพ เพราะจังหวัดข้างเคียงคงจะประสบปัญหาเดียวกัน
11.สำหรับโรงพยาบาลทั้วประเทศของรัฐบาลที่มีวิสัญญีแพทย์ ประมาณ 200 กว่าคน เกิดลาออกกันหมดไปอยู่เอกชน โรงพยาบาลรัฐก็ต้องปิดห้องผ่าตัดทั้งหมด
12.รัฐก็คงเดือดร้องเร่งผลิตมีวิสัญญีแพทย์เพิ่ม แต่เชื่อเถิดว่าก็คงอยู่ได้ไม่นานก็เกิดภาวะสมองไหลไปเรื่อยๆ สูญเสียงบไปเรื่อยๆ
13.หรือไม่ก็ต้องส่งผู้ป่วยเข้าเอกชน ซึ่งถ้าเกิดการผูกขาดก็จะโกงราคาผ่าตัดกัน แล้วรัฐจะจ่ายไหวหรือ
14.เงินที่รัฐนำมาจ่ายนั้นก็มาจากประชาชนนั่นแหละ อานาคตอาจมีการขูดภาษีโหดมากขึ้น อาจถึงขั้นขูดภาษีความเป็นคนไทย(แค่เกิดมาก็ต้องจ่ายภาษีแล้ว)เลยก็ได้
15.การผ่าตัดบางอย่างก็รอไม่ได้นานเช่นการผ่าตัดคลอด อุบัติเหตุรุนแรง ถ้าส่งผู้ป่วยจากแพร่ไปเชียงไหม่ บางทีผู้ป่วยหรือญาติอาจขอให้โรงพยาบาลส่งเข้าวัดเลยจะดีกว่่า
16.สรุปแล้วไม่ว่าเบื่องต้น เบื่องกลาง เบื่องปลาย คนเสียประโยชน์คือประชาชนนั่นแหละ
17.ประชาชนส่วนใหญ่แน่นอนมักคิดเห็นแก่ตัว คิดถึงประโยชน์เฉพาะหน้า ไม่ค่อยคิดถึงผลกระทบระยะยาว
18.ความจริงเรื่องนี้แพทย์สภาก็คงช่วยเหลือได้แต่ก็คงไม่มาก ควรเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะเลือกทางเดินเอง ว่าจะให้เรื่องต่างๆนั้นลงเอยอย่างไร เพราะคนเดือดร้อนที่แท้จริงคือประชาชน
19.หมอส่้วนใหญ่ก็ไม่ค่อยลงรอยกันอยู่แล้ว อย่างมากก็ลาออกไปอยู่เอกชน คนที่มีความตั้งมั่นที่จะทำเพื่อประชาชนจะเหลืออยู่ซักกี่คน แล้วจะทนได้ซักกี่นาน ถึงใจจะทนได้ แล้วกายจะรับไหวหรือ โรงพยาบาลที่เคยมีอยู่ 5 คนเหลือหมอ แค่คนเดียว งานที่เคยทำ 5 คนกลับต้องมาทำคนเดียว จะเกิดความผิดพลาดขึ้นอีกกี่เท่า ถึงจะมีคนเห็นใจ แต่จะเห็นใจหมอกันทุกคนหรือ คงต้องมีการฟ้องกันบ้างแหละ
20.ผมคิดว่าเรื่องนี้ ในส่วนของคดีก็ให้แพทย์สภาช่วยเหลือไป แต่ในส่วนภาพรวมต้องให้ประชาชนตัดสินใจเอง ไม่ไช่หน้าที่หมอแน่นอน
21.สำหรับใครได้ประโยชน์ก็คงคิดกันเองล่ะกัน

ขออธิบายเพิ่มเติม
วิสัญญีแพทย์เป็นสาขาขาดแคลน ในปัจจุบันนี้จึงอนุญาติให้แพทย์ที่จบแล้วกระทำการแทนได้ โดยแพทย์ทุกคนต้องเรียนการวางยาสลบและการบล็อกหลังอยู่แล้ว
ฉะนั้นดูเหมือนคำตัดสินของศาลเหมือนเป็นคำพิภาคษาว่า แพทย็ที่เรียนจบ 6 ปีห้ามกระทำการบล็อกหลังเด็จขาดเพราะไม่ไช่ผู้เชี่ยวชาญ
แล้วสำหรับศัลยแพทย์ก็ได้รับการฝึกเพิ่มเติมเช่นกัน คำตัดสินของศาลนี้ก็ต้องสร้างความระแวงแคลงใจให้มากขึ้น เพราะยังไงก็ไม่ไช่ผู้เชียวชาญด้านการวางยาอยู่ดี
สำหรับการแพ้ยา ก็คล้ายกับการแพ้อาหาร แพ้แมลง บางคนคงเคยได้ยินว่ามดกัดแพ้ถึงตายก็มี
และคงไม่มีหมอคนไหนกล้ารับรองว่า ทุกครั้งที่บล็อกหลังนั้นจะปลอดภัย 100.0000000 เปอร์เซ็น โดยเฉพาะในผู้ที่กำลังป่วยอยู่แล้ว เกิดการแพ้อาจจะแก้ไขได้ยากกว่าคนปกติ
ข่า่วนี้จึงสร้างความระแวงระวังและความหวาดกลัวให้กับแพทย์โดยรวม เพราะไม่มีใครอยากจะผ่าตัดผู้ป่วยถ้าไม่จำเป็น และถ้าหมอเขาเห็นแก่เงินเขาก็คงออกไปอยู่เอกชนกันหมดแล้ว เขาไม่อยู่ในโรงพยาบาลรัฐบาลหรอก แพทย์ในโรงพยาบาลรัฐนั้นก็ยังคงมีใจอยู่เพื่อประชาชนเพื่อชาติ ทุกคนหวังดีทั้งนั้น แต่ถ้าเกิดการฟ้องกันบ่อย คงมีหมอใจแข็งมากจริงๆ เหลืออยู่ไม่กี่คนหรอก

ขอบคุณทุกท่านที่อุตส่าห์อ่าน ใครมีความคิดเด็จๆ หรือคิดต่างออกไปก็เชิญเลยครับ
(ผมไม่ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับคดีนะครับ เพราะไม่ทราบรายละเอียด กรุณาอย่ากล่าวหาผมว่าเอาใจช่วยหมอ หรือกล่าวปกป้องหมอนะครับ)

จาก
http://gotoknow.org/blog/jua-crime/152417?page=1
เขียนโดยผมเอง ธีรเวทย์ สิริสุวรรณกิจ


Posted by : jua , E-mail : (theerawate@yahoo.com) ,
Date : 2007-12-16 , Time : 15:52:02 , From IP : 117.47.46.247


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<