ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

9 ทริค...พ้นเหยื่อมิจฉาชีพ บัตรเครดิต-เอทีเอ็ม


   หัวข้อ 12398: 9 ทริค...พ้นเหยื่อมิจฉาชีพ บัตรเครดิต-เอทีเอ็ม (จำนวนคนอ่าน 490 ครั้ง)

« เมื่อ: 10/19/07 เวลา 13:10:48 »

มิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในคราบบุคคลธรรมดา ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไม่ทันตั้งตัว เพื่อความไม่ประมาทจากการโจรกรรม จึงมีเทคนิคง่ายๆ ป้องกันภัยให้รอดจากเป้าหมายของมิจฉาชีพ ดังนี้

1. กระเป๋าสตางค์หายพึงระลึกเสมอว่า...บัตรเครดิตถูกขโมย ต้องแจ้งธนาคารทันทีเพื่ออายัดหรือยกเลิกบัตร ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ หากมีผู้นำบัตรของท่านไปใช้หลังจากท่านแจ้งธนาคารแล้ว ธนาคารจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บัญชีของท่าน

ดังนั้นยิ่งแจ้งธนาคารเร็วเท่าไหร่ ความคุ้มครองก็จะเร็วขึ้นตามไปด้วย


2. ในขณะที่ใช้บัตรเครดิตหรือเอทีเอ็ม ไม่ควรให้ใครมองเห็นมือของเรา และตรวจสอบตู้ใช้ชัดเจนว่ามีเครื่องอ่านบัตรครอบอยู่หรือไม่ รวมถึงอย่ารับความช่วยเหลือจากใคร และหากรู้สึกว่าคนที่ยืนต่อคิวข้างหลังขยับเข้ามาชิดมากเกินไป ก็อย่างเกรงใจที่จะขอให้ช่วยถอยห่างออกไปหน่อย

หลังทำรายการเสร็จสิ้นควรเก็บสลิปไว้และทำลายในที่ปลอดภัย เพราะมิจฉาชีพบางรายมีความสามารถที่จะอ่านข้อมูลในสลิปเอทีเอเอ็ม เพื่อเจาะเข้าถึงข้อมูลและเงินในบัญชี



3. ป้องกันการขโมยข้อมูลและเอกสารจากการกรอกใบสมัครต่างๆ ด้วยการเขียนให้ชัดเจนว่าเอาไปใช้ประโยชน์หรือวัตถุประสงค์อะไร


4. หากได้รับโทรศัพท์จากคนที่ไม่รู้จักและแจ้งว่าได้รับรางวัลก้อนใหญ่ หรือเสนออะไรที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องหลอกลวง
หากถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ห้ามบอกข้อมูลส่วนตัวกับผู้มาติดต่อเด็ดขาด เพราะธนาคารทั่วไปไม่เคยมีการติดต่อลูกค้าทางโทรศัพท์ เพื่อแจ้งการถูกรางวัล หรือขอข้อมูลส่วนตัว



5. หากได้รับอีเมล แอบอ้างว่ามาจากธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ ในกรณีนี้ อาจจะกำลังตกเป็นเหยื่อของอีเมลปลอมซึ่งมักจะขอให้ยืนยันหมายเลขบัญชีและรหั สส่วนตัว
พึงระลึกไว้เสมอว่า รหัสส่วนตัว บัตร ใบแจ้งยอดบัญชี สลิปเอทีเอ็ม และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินของตนเอง ต้องไม่เปิดเผยให้ใครทราบ อีกทั้งหากได้รับอีเมล ต้องดูจากช่องเบราเซอร์ เวบไซต์ที่ปลอดภัยควรขึ้นต้นด้วย https://



6. การชำระเงินในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หรือร้านค้าต่างๆ หากจุดชำระเงินห่างจากจุดที่กำลังซื้อของหรือรับประทานอาหาร อาจเป็นไปได้ที่มิจฉาชีพจะแฝงมาในคราบพนักงานถือโอกาสคัดลอกข้อมูลบัตรเครดิ ต หรือเดบิตด้วยเครื่องอ่านบัตรแบบพกพา ดังนั้นจึงควรเดินตามพนักงาน หรือตรวจสอบจำนวนเงินที่ปรากฏบนสลิปบัตรเครดิตหรือเดบิตทุกครั้งก่อนเซ็นชื่ อ ขณะเดียวกัน ก็เลือกซื้อสินค้าเฉพาะกับร้านที่ใช้ระบบ Verified by Visa และ MasterCard Secure Code จึงจะปลอดภัยกว่า


7. ข้อมูลบัตรและรหัสส่วนตัวไม่ควรเปิดเผยให้ใครรู้แม้แต่คนในครอบครัว เพราะมิจฉาชีพอาจอยู่ใกล้ตัว และหมั่นตรวจสอบรายการทำธุรกิจที่ปรากฏในรายงานแจ้งยอดบัญชี หากไม่ได้เป็นผู้ทำธุรกรรมควรรีบแจ้งและพิสูจน์


8. เมื่อบัตรเอทีเอ็มถูกยึดไว้ในเครื่อง ต้องแจ้งให้ธนาคารทราบทันที เพื่อความปลอดภัย เพราะหากมีเครื่องอ่านบัตรของมิจฉาชีพติดตั้งไว้ในเอทีเอ็ม และมีการคัดลอกข้อมูลในบัตรรวมทั้งมีการทำบัตรปลอมขึ้นมา ธนาคารจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบความเสียหายให้หลังการแจ้ง


9. หากกำลังวางแผนไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ควรใช้จ่ายด้วยบัตรหลัก พร้อมกับแจ้งให้กับธนาคารผู้ออกบัตรทราบด้วยว่าต้องการใช้บัตรในต่างประเทศ เพื่อให้ธนาคารเฝ้าติดตามบัญชีของลูกค้าว่ามีรูปแบบการใช้จ่ายที่ผิดปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ส่อว่ามีการทุจริตหรือไม่ เช่น การใช้จ่ายในต่างประเทศ หากมีการทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ธนาคารจะติดต่อลูกค้าเพื่อตรวจสอบว่าควรอนุมัติรายการนั้นหรือไม่ พร้อมกับติดตามดูธุรกรรมที่น่าสงสัย เช่น ซื้อสินค้าแบบเดียวกันหลายชิ้น หรือซื้อสินค้าจากคนละแห่งกับการเดินทาง หรือซื้อนอกเหนือจากวันเดินทาง



ที่มา...แหล่งข้อมูลจากธนาคารกรุงเทพ, ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต, บริษัทบัตรเครดิต เคทีซี

น่าสนใจ จึงนำมาฝากท่านๆให้ช่วยกันระวังตัวกันในการใช้บตรเครดิต/เอทีเอ็ม








Posted by : jr , Date : 2007-10-22 , Time : 22:10:06 , From IP : adsl-pool-222.123.24

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.002 seconds. <<<<<