ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

ชี้แจง เอกสารรายงานประวัติข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ จ่ายตรงเงินเดือน


   ตามที่งานการเจ้าหน้าที่ได้มีเอกสาร แบบฟอร์มรายงานประวัติ
ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ สำหรับฐานข้อมูลจ่ายตรงเงินเดือน
ให้ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ตรวจสอบข้อมูล แก้ไข และเพิ่มเติม
ไปนั้น เนื่องจากบุคลากรบางท่านยังมีข้อสงสัยบางประการ
งานการเจ้าหน้าที่ จึงขอสรุปดังนี้

ข้อมูลที่พิมพ์ให้นั้นเป็นข้อมูลที่กรมบัญชีกลางเชื่อมข้อมูลมาจากฐานข้อมูล
จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล หากข้อมูลของท่านไม่ครบ/ไม่ถูกต้อง
ให้แก้ไขมาในเอกสารที่ส่งไปให้ หากเพิ่มไม่พอต่อด้านหลังได้ค่ะ

ข้อมูลที่เติมเพิ่มมา ให้มีหัวข้อตามที่มีตัวอย่างให้แล้ว

ที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ที่อยู่ตามภูมิลำเนา
ที่อยู่ในใบรับรองการหักภาษี = ถามว่า “เหมือน” หรือ “ไม่เหมือน”
ที่อยู่ที่ปรากฏอยู่แล้ว และหากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงที่อยู่ข้างต้น
(บางท่านจะใส่เป็นที่ทำงาน) ให้แก้ไขมาในเอกสารได้เลย

ประวัติบุคคลในครอบครัว
* บุคคล = เป็น บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร
* ประเภทเลขบัตรประจำตัว = บัตรประชาชน บัตรบุคคลต่างด้าว
บัตรอะไรที่อ้างเลขที่ไว้ในช่องเลขประจำตัว
* เลขประจำตัว = เลขบัตรประชาชน ฯลฯ
* คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด
* สถานภาพ (โสด / สมรส / หม้าย / หย่าร้าง) ของบุคคลนั้น
* การมีชีวิต = ยังมีชีวิตอยู่ หรือ เสียชีวิต
หากเสียชีวิต ให้เติมวันเดือนปีที่เสียชีวิตด้วย
* อาชีพ = อาชีพของบุคคลคนนั้น
* สิทธิหักลดหย่อนภาษี =
กรณีพ่อแม่ ได้นำพ่อแม่มาคำนวณลดหย่อนภาษีกับเราหรือไม่
กรณีคู่สมรส ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้ ก็จะหักลดหย่อนภาษี “ได้”
กรณีบุตร ถ้าบุตรยังไม่มีรายได้ ก็จะหักลดหย่อนภาษี “ได้”
ได้จนกว่าบุตรจะอายุ 25 ปี
* เบิกค่ารักษาพยาบาล = เรามีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลให้บุคคลนั้นหรือไม่
พ่อ/แม่/คู่สมรส หากรับราชการ/บำนาญ “ไม่มีสิทธิ์”
เบิกค่ารักษาพยาบาล
* เฉพาะบุตร = บรรทัดนี้ สำหรับบุคคลที่เป็นบุตร (ลูกของเรา) เท่านั้น
ที่จะเติมข้อมูลมา หากเป็นบุคคลอื่น ๆ ไม่ต้องเติมข้อมูลบรรทัดนี้
* การลดหย่อนภาษีของบุตร = หมดสิทธิ์ / เต็มสิทธิ์ / คนละครึ่งกับคู่สมรส
หมดสิทธิ์ กรณีที่บุตรคนนั้นมีรายได้แล้ว ยื่นเสียภาษีเอง เรานำมาลดหย่อนไม่ได้
เต็มสิทธิ์ กรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ เราจะนำบุตรมาลดหย่อนได้เต็มจำนวน
คนละครึ่ง กรณีที่คู่สมรสมีรายได้ เวลาจะคำนวนภาษี จะต้องนำบุตรมาลด
หย่อนคนละครึ่ง
* บุตรกำลังศึกษา/ไม่ศึกษา = ถามว่าลูกคนนี้กำลังเรียนอยู่หรือไม่
* บุตรกำลังศึกษาอยู่ในระดับ = ถามว่าลูกคนนี้เรียนอยู่ชั้นไหนแล้ว
* มีสิทธิ์/ไม่มีสิทธิ์เบิกค่าเล่าเรียน = เรามีสิทธิ์เบิกค่าเล่าเรียนให้ลูกคนนี้หรือไม่


Posted by : abcd , Date : 2007-04-27 , Time : 09:52:26 , From IP : 172.29.2.220

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<