ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐


   พ.ร.บ.สุขฯ ได้ประกาศใช้แล้วเมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐
สาระสำคัญหนึ่งคือ สิทธิปฏิเสธการรักษา ตามมาตรา ๑๒ ดังนี้

" บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการจ็บป่วยได้
การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง "

สิทธิปฏิเสธการรักษาไม่ใช่การอนุญาตให้แพทย์ทำให้ตาย (Mercy killing/ Euthanasia)
ผป.ต้องใช้สิทธิในฐานะเจ้าของชีวิตด้วยความเต็มใจและตั้งใจจะขอใช้สิทธินี้เท่านั้นโดยการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า
กรณีผป.ยังไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงไว้ แพทย์ก็ต้องดูแลรักษาประคับประคองต่อไปจนกว่าผู้ป่วยจะสิ้นชีวิต

ท้ายนี้ก็คงต้องรอการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะกำหนดในกฎกระทรวงและประกาศใช้ต่อไป

อย่าสับสนกับ MK/Euth. น๊ะครับ


Posted by : angee , Date : 2007-04-24 , Time : 14:12:12 , From IP : 172.29.1.137

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมว่าไม่มีประโยชน์นัก
เพราะคนที่จะฟ้องคือญาติๆ
ผู้ป่วยตายไปก็ไม่มีกลองให้ตีเหมือนในเปาบุ้นจิ้น

ถ้าเราต้องดูแลรักษาประคับประคองต่อไปจนกว่าผู้ป่วยจะสิ้นชีวิต
แล้วญาติๆเห็นความทรมารของทั้งญาติและผู้ป่วย
แล้วขอให้แพทย์หยุด แต่จาก พ.ร.บ. นี้จะไม่สามารถหยุดได้เลย
แล้วแพทย์ผู้ดูแลจะทำอย่างไร

พ.ร.บ. ข้อนี้ไม่รู้ว่าใครได้ประโยชน์กันแน่

แล้วถ้าเกิดว่าผู้ป่วยทำสัญญายุติไว้แล้ว เช่น
นาย ก. เป็นมะเร็งตับขั้นสุดท้าย แต่อาการยังคงดีบ้างทรุดบ้าง
จึงทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน
หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ เรียบร้อย
เมื่อถึงเวลาจริงญาติกังวลก็รีบพามาโรงพยาบาลด้วยความรัก
มาถึงโรงพยาบาล แพทย์ตรวจดูอย่างดีพบว่าเป็นอาการจากมะเร็งลุกลาม
จึงให้กลับบ้านเนื่องจากข้อผูกมัดในหนังสือดังกล่าว
พอกลับบ้านไปผู้ป่วยก็ดิ้นทุรนทุรายตลอด ญาติๆไมเป็นสุขเลย
พอจัดงานศพเสร็จ ก็เก็บความเจ็บแค้นใจมาฟ้องร้อง
แล้วเราจะทำอย่างไร การรักษาของแพทย์ทำเพือใครกันแน่


Posted by : jua , Date : 2007-04-25 , Time : 14:05:29 , From IP : adsl-pool-222.123.85

ความคิดเห็นที่ : 2


   ใจความใหญ่ของ พรบ.นี้ เพื่อคนไข้ครับ

และการเซ็น หรือการเขียน ในแต่ละครั้ง จะมีบริบทที่แตกต่างกันไป บริบทที่แตกต่างกันนั้น คนไข้สามารถเปลี่ยนใจกี่ครั้งก็ได้ เราก็จะยึดถือตาม ณ ครั้งนั้นๆ ว่าจะเอาอย่างไร

การสื่อสารที่ดีจะช่วยได้

การสื่อสารที่ดีหมายถึง การที่อาการต่างๆ การวินิจฉัย พยากรณ์โรค และการดำเนินโรค ได้มีการพูดคุยอธิบาย ให้แก่ทั้งผู้ป่วยและญาติ ให้เกิดความเข้าใจ เพราะ ความคิด และพฤติกรรมของคนเราจะสอดคล้องกัน

ถ้าหากญาติๆคิดว่าผป.ทรมาน น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ แต่ทาง รพ. ไม่มีวิธีดังกล่าว เขาก็จะมีสิทธิที่จะพาผป.ไปที่ที่มีบริการดังกล่าว ทั้งนี request ของคนไข้ ทางรพ.เราก็จะยังสามารถ exercise professional autonomy ว่าอยู่ในวิสัยที่ทำให้ได้หรือไม่ การสื่อสารอย่างไรจะทำให้ข้อมูลทั้งสองฝ่าย ความเห็นทั้งสองฝ่าย (หรือสามฝ่าย) ถูกรับรู้ และเข้าใจตรงกัน เป็นสิ่งที่เราต้องพยายามทำ โดยไม่ได้อาศัยตัวบทกฏหมายมาอ้างอิง "เวลาสนทนา" กัน เกินไป

ความหมายของ พรบ.นี้จะถูกตีความเฉพาะสิ่งที่เขียนอยู่บนนั้นเท่านั้น บวกกับสิ่งที่จะปรากฏอยู่ในกฏกระทรวงหลังออกมา ซึ่งเราคิดว่าจะเชิญ อ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส มา update ให้ เพราะอาจารย์ก็มาบอกเล่าให้ฟังเรื่องนี้ที่นี่ มาหลายปีติดต่อกันแล้ว เปิด open discussion ซึ่งใครก็ตาม ที่สนใจ อาจจะเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เต็มที่

เมื่อคนไข้มาหาที่ ER ด้วย condition หนึ่งและขอความช่วยเหลือ เพราะทนไม่ไหวแล้ว แม้ว่ายังไม่มีกฏหมายฉบับนี้เราก็สามารถจะตัดสินใจได้โดยหลฃักจริยธรรมธรรมดาๆ และความเป็นมนุษย์ว่า เราก็ช่วยให้หายทรมาน และพอมีกฏหมายฉบับนี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เราเถรตรง เอาตัวหนังสือเป็นกฏตายตัว คนไข้นอนร้องขอความช่วยเหลือตรงหน้า แล้วเราจะนิ่งเฉย บอกไปหน้าตาราบเรียบว่าคุณเซ็นหนังสือว่าไม่ต้องทำอะไรแล้ว งั้นเราไม่ทำอะไร

แน่นอนที่สุด กฏหมายจะไม่ใช่อะไรที่จะมาทดแทน ethical intelligence ได้ และยังไงๆจริยธรรมก็ยังอยู่เหนือกฏหมายอยู่ดี เมื่อถึงเวลา ให้ยึดหลักจริยธรรมไว้ ก็จะช่วยได้ในกรณีที่มีความกำกวมของ wording ใน พรบ. ในกฤษฎีกา ต่างๆ เพราะคำพูด ตัวหนังสือนั้น ไม่ adequate ที่จะบรรยายอะไรๆได้ทั้งหมดอยู่แล้ว และเป็นเหตุผลอีกประการที่วิชา ethics นั้น เป็นวิชาที่ต้อง "ฝีกฝน" ด้วย ต้องมี psychomotor domains ด้วย ไม่ได้มีแต่ cognitive domain เพียงอย่างเดียว



Posted by : phoenix , Date : 2007-04-26 , Time : 13:03:41 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 3


    ตามที่ตั้งกระทู้มาก็เพื่อบอกให้รู้ว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ "สร้าง นำ ซ่อม" อันที่จริงควรจะออกมาก่อน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ๒๕๔๕ ที่ "ซ่อมถ้วนหน้า" โดยไม่มีการสร้างนำมาก่อน

ผมว่า ม.๑๒ มีประโยชน์โดยตรงกับผป.ที่ได้รับการดูแลระยะสุดท้ายมาก (Palliative care) ในความเป็นจริงแล้วมีผป.จำนวนหนึ่งก็ได้แสดงเจตจำนงชัดเจนมาก่อนแล้วว่า ขอเสียชีวิตตามวิถีทางของตนเอง ขอจากไปอย่างสงบตามธรรมชาติโดยไม่ต้องถูกแทรกแซงการตายด้วยการรักษาที่ต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์เกินจำเป็น โดยแสดงออกจากการกระทำ วาจา และเอกสารเป็นต้น

จากคำถาม-ตอบของสนง.ปฏิรูประบบแห่งชาติ ได้ยกตัวอย่าง ผป.ระยะสุดท้ายหยุดหายใจ แพทย์ CPR ผป.ฟื้นรู้ตัวดี ต่อมาพบว่าผู้นั้นได้มีหนังสือแสดงเจตจำนงไม่รับการรักษาพยาบาลเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต แพทย์ก็ไม่สามารถ off respirator ได้ คงต้องดูแลประคับประคองต่อไปจนกว่าจะเสียชีวิต ถ้าหยุดเครื่องฯ ก็กลายเป็น active Euth

ข้อความในพ.ร.บ. โดยเฉพาะ ม. ๑๒ ดูแล้วมันก็ชัดเจนดี ประเด็นน่าสนใจอยู่ที่การปฏิบัติที่จะออกมาในรูปของกฎกระทรวงและเบียบปฏิบัติมากกว่าซึ่งต้องดูว่า ทำอย่างไรจึงไม่เกิดความขัดแย้งกับจริยธรรมจนเกินไป เป็นที่ยอมรับต่อสังคม และไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมากับทุกฝ่าย โดยเฉพาะต่อญาติและผู้ปฏิบัติ เช่นแพทย์เจ้าของไข้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ทุกฉบับมีเรื่องของจริยธรรมเป็นพื้นฐานนำอยู่แล้ว อยู่ที่คนจะไปตีความว่าดี ไม่ดี เฉย ๆ หรือนำไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้สูงสุดอย่างไร คงขึ้นกับพื้นฐาน ประสบการ หน้าที่ และวิชาชีพของผู้นั้นด้วย

การตัดสินใจทั้งหมดควรเกิดจากตัวผู้ป่วยเอง ไม่ควรมีการชี้แนะโน้มน้าวจิตใจที่เกิดจากบุคลากรในทางสาธารณสุขในมาตรานี้เลย



Posted by : angee , Date : 2007-04-27 , Time : 11:20:24 , From IP : 172.29.1.137

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<