ข้อความที่ไม่ถูกต้องมีดังนี้ครับ
1. อาการของโรคตับอักเสบชนิดต่างๆ จะมีอาการคล้ายๆกัน คือ ตอนแรกจะปวดศีรษะ ตามด้วยอาการมีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง
: ไม่คล้ายกัน และ ไม่มีอาการเป็นส่วนใหญ่ครับ - ปกติอาการของไวรัสตับอักเสบมักไม่มีอาการฉับพลัน โดยรวมมีอาการฉับพลันเพียง 5
-10 % เท่านั้น ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และ มาด้วยการตรวจเช็คร่างกายเจอเลยโดยไม่มีประวัติ acute hepatitis ดังกล่าวครับ โดยเฉพาะไวรัสซีพบ
acute hepatitis น้อยมากครับ
2. และเมื่อถึงขั้นตัวเหลือง ตาเหลือง แล้วก็มักจะมีอาการตับโต หรือตับบวมด้วย ขณะที่อาการถึงขั้นนี้ แม้แต่แตะท้องด้านขวาเบาๆ ก็จะรู้สึกเจ็บและปวด
: ที่กล่าวมายังคงพูดถึง acute hepatitis ซึ่งอาการตัวตาเหลือง อาจเป็นจากตับอักเสบ หรือ จากน้ำดีไหลเวียนไม่ดี (โดย
เฉพาะไวรัสเอพบ cholestasis ร่วมด้วย ได้มากกว่าไวรัสอื่น) จึงอาจตับไม่โต หรือ คลำตับยากก็ได้ ส่วนเจ็บนั้นอาจแค่จุกครับ หรือ กดไม่รู้สึกก็ได้ เพราะเป็นที่รู้กันอยู่
แล้วว่า theshold ของการปวดแต่ละคนไม่เท่ากัน และ ลำใส้ ตับ มักไม่ปวดเสมอไป
3. อาการประกอบเล็กๆน้อยๆที่ตามมาก็คือ จะมีอาการคันทั่วทั้งตัวด้วย โดยเฉพาะที่ด้านหลังจะคันจนน่ารำคาญเพราะผู้ป่วยเองเกาด้านหลังไม่ถนัด ยิ่งพยายามเกาก็ยิ่งคันมากขึ้น
: อาการดังกล่าวเป็น cholestasis ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีในไวรัสตับอักเสบทั่วไปครับ พบได้ในไวรัสตับอักเสบเอ
4. อาการของ C จะร้ายแรงกว่า เป็นต้นว่าอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องจะรุนแรงมากกว่า รุนแรงจนถึงขนาดว่าอาเจียนทุกเช้าทุกเย็น ปวดท้องอยู่ตลอดเวลา จะมีความรู้สึก
ด้านจิตใจว่ามันเบื่อไปทั้งหมด ทั้งรู้สึกแบบภาษาชาวบ้าน เขาเรียกว่า DOWN คือรู้สึกอะไรต่ออะไรมันมืดมันเบื่อไปเสียหมด
: อาการที่กล่าวคืออาการฉับพลันครับ ในไวรัสซี จะพบได้น้อยกว่าไวรัสบี แต่ในไวรัสทั้งหมดดังที่ผมกล่าวแล้วไม่ได้มีอาการอะไรครับ
5. ถ้าผู้ป่วยที่เป็นไวรัส C เป็นๆหายๆอยู่บ่อยๆ แบบที่เราเรียกกันว่า เรื้อรังหรือ CHRONIC เขาก็เลยเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า เป็นไวรัส D
: อันนี้นอกตำราครับ ไวรัส D เป็นอีกชนิดของไวรัสซึ่งอยู่ร่วมกับไวรัส B สงสัยเวลาแปลมา แบบไม่อ่านหลาย ๆ เล่ม อ่านพลาดไป แล้วมันไม่
ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรงด้วย เฮ้อ
6. ทั้งไวรัส B และ C ติดต่อได้จากผู้อื่นโดยการให้เลือดหรือถ่ายเลือด ซึ่งในเลือดซึ่งมีผู้บริจาคให้นั้นมีเชื้อไวรัสอยู่แล้ว นอกจากนั้นก็เกิดจากการใช้เข็มฉีดยาซึ่งยังไม่ได้ฆ่าเชื้อ
และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว
: ปกติไวรัสซี ติดทางเพศมัมพันธุ์น้อยมาก ประมาณ 0-7 % เท่านั้น ติดหลักทางเลือด และ เข็มเปื้อนเลือด และ อีกอย่างเข็มไม่ฆ่าเชื้อไม่มี
ในเมืองไทยครับ เลิกพูดได้แล้ว มีแต่เข็มยาเสพติดที่แลกกันเองในผู้เสพที่ติดไวรัสซีได้
7. การรักษาให้หายจากไวรัสนั้นเท่าที่ทราบยังไม่มียาฆ่าไวรัสตัวนี้ได้ แต่ผู้ป่วยก็อาจจะฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง และถ้ารักษาตัวเอง ดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเองให้เคร่งครัด ก็จะอยู่ ไปได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
: ปัจจุบันมียารัษาแล้ว ในไวรัสบีรักษาเพื่อลดจำนวนไวรัส ลดการอักเสบ และแม้ปฎิบัติตัวดี ก็ไม่สามารถรักษาให้ดีได้ต้องใช้ยาช่วยครับ ส่วนไวรัสซีกรณีนับไวรัสว่าหายไป จะหายขาดไม่มีไวรัสมาอีกถึง 85 % ทีเดียวครับ
ข้อ 8 " โรคตับไวรัสจี G ไวรัสตัวใหม่นี้ยังไม่มีใครรู้จักดี แต่เป็นไวรัสซึ่งร้ายแรงมาก เป็นแล้วก็ตายท่าเดียว "
: ไวรัส G อาจมาด้วย setting ใด ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมาด้วย fulminant เสมอไปครับ ต่อไปนี้เป็น refernce จาก UTD ครับ CLINICAL SIGNIFICANCE OF HGV INFECTION The clinical significance of HGV infection with respect to acute or chronic hepatitis is not well understood. ( ขนาด UTD ยังระบุว่าไม่เข้าใจดีเลยครับ ) HGV RNA has been detected in patients with acute non-A to non-E viral hepatitis, in patients with chronic hepatitis of presumed viral etiology, in patients with cryptogenic cirrhosis, and in some patients with primary hepatocellular carcinoma.
ข้อ 9 " บทความที่ผมเขียนจะต้องค้นคว้าและตรวจสอบแล้วทุกครั้ง "
: ควรตรวจสอบโดยแพทย์ทางเดินอาหารและโรคตับ จะดีกว่าตรวจสอบโดยตนเอง ส่วนที่ค้นคว้ามาไม่ระบุ reference น่าระบุออกมาจะได้บอกได้ว่าแปลตรงไหนผิดไปบ้างครับ
ข้อ 10 " ผมไม่ใช่คนหน้าด้าน และจะรู้สึกละอายอย่างยิ่ง ถ้ามีคนชี้ให้เห็นว่า ผมเป็นคนหลอกลวงและเป็นพวก "จอมปลอม" ซึ่งไม่รู้อะไรจริง แต่ในขณะเดียวกัน ถ้ามีอะไรที่ผมไม่แน่ใจ ผมก็จะเขียนไว้ทุกครั้งว่า "ผมอาจจะผิดก็ได้ ถ้ามีท่านผู้รู้ทราบว่าผมผิด กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง"
: ในบทความนี้ไม่ได้เขียนข้อความดังกล่าวไว้
ข้อ 11 " เมื่อได้รับจดหมายของคุณ ผมก็รีบอ่านบทความของผมใหม่โดยละเอียด ยังไม่เข้าใจและมองไม่เห็นว่าผมเขียนผิดตรงไหน "
: ควรตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 ไม่ใช่ตรวจสอบเอง น่าจะดีกว่า ครับ
ข้อ 12 " ผมนับถือ "ผู้รู้" ทั้งในด้านการแพทย์และวิชาการเป็นอย่างยิ่ง ผมจะ คอยสอบถามและติดต่อกับท่านผู้รู้อยู่ ตลอดเวลา คณะแพทย์และนักวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คงจะเป็นพยานได้ดี เราติดต่อกันและแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่เสมอ "
: โปรดระบุว่าใคร และ ให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนโรคตับไว้ส่วนใดบ้าง น่าจะดี
ข้อ 13 " แต่กับ "ผู้รู้" อย่างคุณสองคนนี้ ผมยังสงสัยที่คุณบอกในตอนท้ายของจดหมายคุณว่า "ควรมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนการตีพิมพ์" "ข้อมูล" อันนี้จะต้องเป็นข้อมูล ของคุณแต่ผู้เดียวหรืออย่างไร คุณคิดว่าคนที่เราเรียนรู้อย่างคุณ หรือบางทีอาจ จะมากกว่าคุณด้วยซ้ำนั้นไม่มีเลยหรือ อย่างไร "
: เป็นนายกสมาคม และ อาจารย์ ที่มีความรู้สูงระดับประเทศ และ นานาประเทศ แสดงว่าไม่ได้ถามข้อมูลส่วนนี้มาจากคณะที่ปรึกษาดังที่อ้างถึง จะได้ทราบว่าอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน มีความน่าเชื่อถือระดับไหนครับ
http://www.thaihealth.net/h/article496.html
Posted by : monkey , Date : 2007-03-12 , Time : 13:01:43 , From IP : ppp-61.91.167.94.rev
|