ความคิดเห็นทั้งหมด : 17

Debate XLIV: Baby Designing, A Brave New World or What?


   เมื่อวานเดินไปดูออกร้านคอมพิวเตอร์ใต้ตึกแดง ทั้งแบบรุ่นความเร็วเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวนี้ high-end product จะถูกคาดว่ากลายเป็น obsolete ไม่ใช่ 2 ปีแต่แค่ภายใน 6 เดือนเท่านั้น

วิทยาการหลายๆด้านถูกดันไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดดจากความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์โดยตรง Genetics เป็นหนึ่งในนั้น complete human gene mapping ถูกทำสำเร็จก่อนกำหนดถึง 3-4 ปี เพราะ supercomputer ช่วยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สมมติฐานหรือทฤษฎีต่างๆที่วางรากอยู่บนการศึกษา gene ถูกเปิดกว้างโอกาสที่จะทำให้สำเร็จ รวมทั้ง characters หรือ traits ต่างๆที่เราฝันอยากให้ลูกหลาน หรือ คนรุ่นต่อๆไปมี

เพศ ความฉลาด ความแข็งแรง ดูจะมาแรงเป็นอันดับต้นๆ ที่เป็น " clinical " จาก idea นี้ ทางการแพทย์ก็พูดถึงความน่าจะเป็นที่จะ eliminate genetic disease ออกไปจากโลกนี้ และวิธีที่สมบูรณ์แบบในการรักษา infertility (แต่ดันค้นพบมากขึ้นว่าโรคอีกจำนวนมากมีผลมาจาก genes) แต่ธรรมชาติมนุษย์ได้หนึ่งแล้วที่ตามมาคือร้อยพันหมื่น ก็เริ่มมีการพูดถึงไม่เพียงแต่ IQ EQ Physical strength แต่รวมทั้ง สีผม สีตา (หมายถึง iris ไม่ใช่สี sclera นะครับ) ความสวยความหล่อ ความสูง อารมณ์ ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นแค่การมองการณ์ไปข้างหน้า ใกล้ซะยิ่งกว่าเอช จี เวลลส์มองเห็นนอติลุส ผมอยากจะทราบความคิด ความเห็นในเรื่องนี้ของพวกเราบ้างครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-09-19 , Time : 07:29:58 , From IP : 172.29.3.239

ความคิดเห็นที่ : 1


   .........ในแง่ของ Computer นะครับ......ผมไม่เชิงคิดว่ามันจะดูตกรุ่นเร็วไปมากขนาดนั้น.....จริงที่ว่าการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก....แต่ถ้าในมุมมองของผู้บริโภคที่เป็น"บุคคลธรรมดา".....Computer เหล่านี้ไม่ได้ตกรุ่นกันขนาดนั้น.....การใช้งานทั่วๆไปสามารถทำได้ไปอีกนานเป็นปีๆกว่าจะตกรุ่นจริงๆ....ส่วนพวก"บุคคลพิเศษ"ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ....อาจจะต้องมาปวดหัวกับการเปลี่ยนของเล่นชิ้นใหม่ไปเรื่อยๆ.....แต่ถามจริงๆเถอะ....ที่มี Computer ความเร็วแบบสุดยอด....พร้อมทั้งระบบปฏิบัติการสมบูรณ์แบบ....เพียบพร้อมทั้ง Accesory ทุกรูปแบบ...มี"กี่คน"ที่มีครบของเหล่านี้.....และมี"กี่คน"ที่สามารถใช้ของที่ถืออยู่เหล่านี้อย่างเต็ม 100% ของประสิทธิภาพของมันบ้าง.....คล้ายๆกับตอนนี้.....บางคนมี Centrino?.....มีสักกี่คนจริงๆกันที่รู้ว่าอะไรคือ Centrino....และมีสักกี่คนกันที่ได้ใช้ความสามารถแบบสุดยอดของมันบ้าง?.....แบบเต็มรูปแบบเลย.....หรือมีแค่ถือไว้เท่ๆ.....ผมไม่ค่อยชอบการเอาเงินจำนวนมหาศาลไปเทลงกับอะไรที่เราใช้มันไม่ได้คุ้ม 100 % ครับ.....เป็นเรื่องดีที่มีการพัฒนาครับ.....แต่ในแง่การใช้งานในประเทศกำลังพัฒนาแบบนี้.....อาจจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าครับ....ซื้อมาอย่างแพง....ใช้ก็ไม่คุ้ม....สักพักก็ตกรุ่น......จะเอาไปขายราคาก็เหลือไม่ถึงครึ่ง.....พอมีรุ่นใหม่มาก็เกิดกิเลสอีก(ผมก็มี..:D..)....คิดแล้วเสียดายตังค์ครับ....:D...:D

.........ส่วนเรื่องของ Genetic นั้น....ในส่วนที่คุณ Phoenix ยกตัวอย่างมา...ผมแนะนำได้ว่าคุณ Phoenix น่าจะลองไปหาหนัง Gattaca มาลองดู(อาจจะเคยดูแล้วก็ได้)......ส่วนตัวผมชอบหนังเรื่องนี้ครับ.....เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่วางอยู่บน Drama พร้อมทั้งเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน...ข้อคิดส่วนนึงที่ได้จากหนังคือไม่ว่าเราจะเกิดมาเป็นใครแบบไหนมีพันธุกรรมที่ดีหรือแย่เพียงใด.....เพียงแค่คิดและพยายามที่จะทำตามที่ฝัน....ไม่มีอะไรที่จะขัดขวางความสำเร็จของเราได้.....ผมเคยได้ยินคนบางคนกล่าวไว้ว่า...โรคที่เราเห็นในปัจจุบันเกือบทุกโรค.....มีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางGenetic อาจจะไม่มากก็น้อย....ไม่ใช้ว่าทุกคนที่มีความผิดปกติจะต้องเป็นโรคนั้นๆทุกคน.....บางความผิดปกติอาจจะมีผลแค่ทำให้เป็นโรคนั้นๆง่ายกว่าคนทั่วๆไป....การพัฒนาสายพันธ์ของมนุษย์ในแบบคัดเลือกทาง Genetic ผมไม่คิดว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน....ผมเชื่อว่าในตอนนี้ได้มีการทำเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาแล้วหละครับ....ถึงแม้ว่าจะห้าม Cloning มนุษย์...แต่คุณจะเชื่อเหรอครับว่าบนพื้นที่ของโลกอันกว้างใหญ่นี้....จะไม่มีใครแอบ Cloning คนสักคนขึ้นมา?......มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แย่อยู่ตรงที่ชอบอยากรู้อยากเห็น....ยิ่งห้ามยิ่งอยากทำ....และก็อีกไม่นานเราอาจจะได้เห็นมนุษย์กลายพันธ์แบบในการ์ตูน X-men ก็ได้.....เพราะอะไร?.....เพราะถ้าเราเลือกที่จะเอาความฉลาด สีผิว.....ทำไมเราจะไม่เลือกกำจัด"จุดอ่อน"หรือ"ขีดจำกัด"ของคนเราได้หละครับ.....เราอาจจะมีคนที่ไม่รู้จักเจ็บปวด.....ไม่รู้จักการพักผ่อน....ทำงานได้ตลอดเวลา(ผมว่าแพทย์ใช้ทุนศัลย์ก็เป็น Mutant แบบนึง...HAHAHA...:D..)...........ถ้าเราจะเลือกลูกสักคนให้ดีได้....เราก็น่าจะให้ลูกคนนั้นไม่มีข้อเสียเช่นกัน....:D...:D.......แล้วเราจะเอาอะไรมาควมคุมอนาคตแบบนั้นได้หรือครับ.....คงไม่มี....ได้แต่นั่งรอ...แล้วก็คอยดู....ผมเชื่อว่าในช่วงชีวิตของคุณ Phoenix และผม.....คงจะได้เห็นสิ่งเหล่านี้กัน.....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-09-19 , Time : 19:01:12 , From IP : 172.29.3.164

ความคิดเห็นที่ : 2


   คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด ก็ยังไม่สามารถ solve and serve simple imagination ที่มีมากว่า 50 ปีได้นั่นคือ speech recognition system ที่สมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้นคุณ Death ไม่ต้องห่วงครับ ถนนแห่ง application ที่ ordinary user ยังมองหาอยู่นั้น ยังเป็นแค่ถนนลูกรัง คนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาที่จะพิมพ์ให้ได้ดังใจคิด graphic user interface ที่ Windows นำมาแทน DOS เกือบครึ่งศตวรรษมานี่ ก็ยังไม่ใช่ ideal interface อยู่ดี (ไม่ต้องดูไกล แค่ OPD ที่หมอต้องนั่นเงียบก้มหนาก้มตาพิมพ์ตอนนี้ ก็ push ระบบมากพอแล้ว)

จริงอยู่ Dragon Dictate อาจจะเป็น version 10 แล้ว แต่นั่นก็ยังเป็นแค่ก้าวย่างไปช้าๆ AI ยังต้องการ customized and trained สำหรับแต่ละ Individual สำหรับจังหวะพูด accent ภาวะลิ้นแข็ง ฯลฯ อยู่ จริงอยู่ microphone dictate ถูกออกแบบให้ต้องพูดใกล้มากๆเพื่อลด noise จากสิ่งแวดล้อม กลายเป็น headphone แต่การกลืนน้าลายหรือกระแอมก็ยังทำให้คนหงุดหงิดกับเวลาที่สูญเสียไปกับการกลับมาลบ eek Ah Ha Ah Ham, etc

GATTAGA ดูแล้วครับ ทั้งที่โรงจริงและ UBC ก็เอามาฉายแล้วหลายรอบ ผมให้เกรดปานกลางสำหรับหนัง Sci-Fi คนสร้างตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเอารายละเอียด หรือ ปรัชญาดี



Posted by : Phoenix , Date : 2003-09-19 , Time : 19:58:16 , From IP : 172.29.3.243

ความคิดเห็นที่ : 3


   พี่ฟินิกส์ที่ไม่ได้วิสาสะด้วยนานแล้ว
.
ในเรื่องของ Genetics นั้นเดิมฉันสนใจมันในระดับที่คาดว่ามันอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคที่คนไข้พามาให้ฉันผ่าตัดรักษา แต่พอก้าวขาเข้ามาในโลกของมันอย่างจริงจัง ฉันพบว่าเรื่องของพันธุศาสตร์ระดับที่เคยรู้ มันเป็นระดับ"ในกระลา"เท่านั้น ความรู้ทางอณูพันธุศาสตร์กว้างและมีอานุภาพพอที่ผู้ครอบครองความรู้จะหาประโยชน์จากมันได้มากในโลกยุคถัดไป เฉกเช่นประเทศที่ครอบครองเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร กำลังใช้ข้อได้เปรียบจากการผูกขาดเทคโนโลยี หาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับตนในปัจจุบัน
.
เรื่องนี้มองผิวเผินไม่มีอะไร อาจคล้ายเทคโนโลยีทางสมองกล เราเห็นเขาเริ่มก่อน แต่ไม่นานมันก็ตกมาให้เราซื้อหาเป็นเจ้าของ แต่มองระหว่างบรรทัด ขณะที่เราจ่ายเงินซื้อคอมพิวเตอร์ระดับดีเครื่องหนึ่ง เราจ่ายค่าเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิตำไม่น้อย หากเรายังวางพลังการผลิตของประเทศ ลงบนภาคการเกษตรและบริการเพียงเท่านี้ เราจะต้องทำงานหนักมาก เพื่อแลกกับสิ่งที่เขาเอามาขายเหล่านั้น
.
ปัจจุบัน สิทธิบัตรทางชีวภาพกำลังถูกจดมากขึ้นทุกวัน นั่นหมายถึงการเข้าครอบครอง และศักยภาพที่จะผูกขาดเพื่อผลประโยชน์ในอนาคต ประเทศที่ครอบครองสิทธิบัตรมากที่สุดไม่ต้องเอ่ยถึงทุกคนเคยรู้ แต่มีกี่คนที่จะรู้ว่า ตัวเลขที่ประเทศเราเป็นเจ้าของในปัจจุบัน มันเท่ากับ"ศูนย์"
.
มาทำวิจัยที่นี่แล้ว ฉันรู้สึกกระดากที่จะเรียกสิ่งที่ฉันทำที่เมืองไทยว่า"งานวิจัย" มันคนละเรื่อง ฉันอยากคุยกับพี่เหลือเกินว่า แนวทางสนับสนุนงานวิจัยของแบบเอาล่อเอาเถิดประเภทเชิญคนมาบรรยายว่าทำวิจัยอย่างไรดี คำนวณสถิติกันแบบไหนเก๋ มันอาจไม่ใช่คำตอบที่แท้อันจะผลักดันให้เกิดงานวิจัยในภาควิชา เรามีคนมาบรรยายเรื่อง"การว่ายน้ำท่าสวย"มากแล้ว แต่เรายังไม่ได้สร้างสระว่ายน้ำแล้วโดดลงไปว่ายกันจริงจังซะที ทั้งที่เรามีโอกาส ฉันหมายถึงเรากำลังจะมีคนที่ไปดูงานหรือเรียนทางงานวิจัยกลับมาเพิ่มหลายคน เราเป็นสถาบันที่มีผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารมากที่สุดที่หนึ่ง เรามีโอกาสสะสม biomaterial และก่อกำเนิดศูนย์การศึกษาวิจัยที่เป็นเรื่องเป็นราว แต่เราไม่ฉวยไม่ดึงโอกาสมาปั้นเป็นจุดแข็ง
.
เรื่องนี้เป็นเรื่องยาว เอาไว้มีโอกาส ร่ำสาเก ย่างไก่ แล้วค่อยคุยต่อ
.
คิดถึงพี่ครับ


Posted by : Shonikeka , Date : 2003-09-20 , Time : 13:15:55 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ประเด็นหนึ่งที่ฉันลืมร่วมวงคุยด้วยทั้งที่เป็นหัวข้อกระทู้คือเรื่องของการกำหนด"ลักษณะทางพันธุ" ด้วย "พันธุลักษณะ" หรือความพยายามที่จะเขียนพิมพ์เขียวของมนุษย์จากเดิมพยายามที่จะอ่านอย่างเดียว
.
เรื่องนี้ยังไม่ใช่เรื่องไกล้ แต่ก็ไม่ไกลโพ้นเพียงดาวพฤหัส กล่าวคือปัจจุบันแม้เราจะถอดรหัสทางพันธุกรรมบนโครโมโซมมนุษย์ออกมาได้หมด รู้ความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์เฉพาะจุดกับการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนและการเกิดโรค และสามารถจำลองการเกิดโรคโดย"ใส่"ยีนเพี้ยนเหล่านั้นเข้าสู่เซลล์ของตัวอ่อนได้ แต่เรายังมีสิ่งที่ไม่รู้อีกมาก เช่นปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนและการควบคุมการแสดงออกของมัน ยีนเดียวกันเมื่อถูก"ใส่"เข้าไปในเซลล์ต่างชนิดอาจมีการแสดงออกต่างกัน มีวิถีการ"กระตุ้นต่อเนื่อง"ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น beta catenin มี ยีนเป้าหมายเป็น c-myc และ cyclin D1 ในมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ต่างไปในมะเร็งตับหรือ WIlms tumor เรื่องพวกนี้เองทำให้ฉันคิดว่าเรายังอยู่อีกไกลจากการเขียนพิมพ์เขียวมนุษย์ เพราะแค่เขียนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้จักการควบคุมให้ยีนที่ต้องการ แสดงออก และยีนที่ไม่ต้องการ ไม่แสดงออก
.
แต่มันก็ไม่ไกลนักถ้าเราพิจารณาเฉพาะโรค เช่นเรารู้ว่า mutation ของ retinoblastoma gene เป็นปัจจัยก่อให้เกิดมะเร็งลูกตาในเด็กในแบบ tumor supressor และเรารู้ว่าบิดาหรือมารดาเป็นพาหะ กล่าวคือเป็น heterozygotic status เราอาจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีนนี้ในระดับ zygote หรือ morula ก่อนที่จะเกิดการฝังตัวและเลือกให้เกิดการฝังตัวเฉพาะเซลล์ปกติได้ อันนี้เทคโนโลยีปัจจุบันทำได้เลย
,
ประเด็นอีกอันหนึ่งที่น่าคุยคือหากเราเขียนแบบมนุษย์ได้จริง สิ่งที่จะเกิดหลังจากเราพยายามจะมีลูกเป็นทอม ครูซกันมาก ๆ ก็คือ เราจะเสียความหลากหลายทางชีวภาพของมนุษย์ไป ความหลากหลายทางชีวภาพนี้เองเป็นปัจจัยปกป้องให้เราสามารถคงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ หากเราเป็นอะไรที่เหมือนกันไปหมด เมื่อมี attractor ที่เรา susceptible มากระทำ ทั้งหมดทั้งผองก็จะถูกทำลายคล้ายกับเราใส่ไข่ทั้งโหลไว้ในตะกร้าใบเดียว แต่หากเรามีความหลากหลายเพียงพอ เมื่อมี attractor มากระทำ จะมีส่วนหนึ่งที่ less susceptible เรียกว่าอยู่ at the edge of chaos ที่จะรอดและสืบเผ่าพันธุ์ได้ ทฤษฎีนี้เขาใช้อธิบายการสูญพันธุ์ของสัตว์บางจำพวกเช่นไดโนเสาร์และมนุษย์ก่อนสมัยหินพวกหนึ่ง
.
เรื่องนี้สนุกครับคุณ Death


Posted by : Shonikeka , Date : 2003-09-20 , Time : 14:58:36 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 5


   ..........อือออ.....บางทีมันก็พูดยากเหมือนกันว่าที่เราเรียนกันมามันอยู่ในกะลาครับ.....ผมเองยังจำได้ว่าสมัยผมเริ่มเรียนเรื่อง Genetic นี้.....ก็เกือบ 10 ก่อน....สมัยนั้นเพิ่งมีการ Report BRCA1, BRCA2 ออกมาเอง.....ความรู้ที่ใช้สอนคนรุ่นผมเป็นแค่ Basic จริงๆ.....แล้วก็หาคนที่จะมาสอนยากเสียด้วย....หนังสือที่เป็นภาษาไทยนี่ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ.....แทบไม่มีเลย....เวลาที่ผ่านไปกับการพัฒนาที่มากขึ้น.....p53 ที่เคยออกมาสร้างความตื่นตาตื่นใจว่ามีเอี่ยวกับ cancer หลายๆประเภท...พอลองไปหาอ่านดูจะพบว่าความรู้ที่เรามีกันมานั้น....อ่านไม่รู้เรื่องเลย....นี่มันเรื่องอะไรกันเนี่ย......ทำไมเราไม่เคยเรียนไอ้สิ่งเหล่านี้กันเลย..เพื่อนผมบางคนบอกว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวพวกเราเกินไป....บวกกับคนสอนก็ไม่ค่อยมี...ก็กลายเป็นว่าเราไม่ต้องรู้มันเลยหละกัน.....ผมว่ามันอาจจะเริ่มไม่ใช่อย่างที่เพื่อนๆผมว่าแล้วมั้งในตอนนี้.....ถ้าเรายังมองอย่างนี้ไปเรื่อยๆก็คงไม่แปลกอะไรที่ประเทศเราจะยังเป็น"ศูนย์"แบบนี้ไปเรื่อยๆ........เฮ้ออออออ....กว่าคุณ Shonikeka จะกลับมาเปิดกะลาและเตะโด่งผมออกมาป่านนั้นผมคงไปใช้ชีวิตบนดาวอังคารแล้วมั้งครับ.....:D...:D
.......เรื่อง Cancer of Esophagus นั่น....ในปัจจุบันที่พอหาอ่านทาง Internet และใน Paper หลายๆอันจะพบว่าในระดับของ Molecular แล้วไปไกลเยอะกว่าบ้านเรามากจริง....ทั้งๆที่เรามีแหล่งข้อมูลมหาศาลที่เก็บๆกันอยู่อย่างโหดร้ายนั่น.....แต่ไม่เห็นว่าเราจะ Report อะไรที่แสดงให้เห็นว่านี่....เป็นโรคของประเทศเรานะ....เรามีอะไรจะบอกชาวโลกบ้าง........นอกจากโชว์ว่าเรามีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลอย่างยอดเยี่ยม....แค่นั้น....เหรอ?.:D...:D
............ผมคิดว่านะครับ.....ปัญหาส่วนนึงของการพัฒนาเรื่องเหล่านี้ของเราคือเรื่องงบประมาณที่จะเอาใช้ในการศึกษาจริงๆจังๆ......ถามจริงเถอะว่าไอ้ Gene ที่เราอ่านกันมามากมายนั่น.....มีกี่ตัวกันที่เราสามารถตรวจหรือศึกษาได้เอง.....การซื้อ Technology จากเมืองนอกมาใช้แต่ละครั้งนี่.....เหมือนกันการซื้อ Computer อย่างที่ว่าหละครับ....เราต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อของที่เขาคิดมาอย่างแพง......เหมือนกับ Human Genome Project.......เรามีเอี่ยวอะไรกับเขาด้วยหรือเปล่า....กว่าเศษซากของการพัฒนาเหล่านั้นจะมาถึงเรา.....ป่านนั้นประเทศที่มีเอี่ยวเหล่านั้นคงผลิต Wolfverine ออกมาเป็นทหารส่งไปรบที่อิรักแทนคนแล้วหละมั้ง......กว่าเราจะมีงบส่วนนี้.....กว่าเราจะมีอาจารย์ดีๆสักคนมาสอนนักเรียนแพทย์เรื่องนี้.....เราคงได้แต่นั่งเจ็บใจ.....และก็มองการพัฒนาที่ก้าวล้ำไปเรือยๆ....โดยที่เราได้แต่นั่งบ่นว่า.....Why?....Why?.......(จริงๆเราน่าจะบ่นว่า How? How?.....เพื่อเราจะได้มีเรียวแรงมากกว่านี้...:D..:D..).....:D..:D
...........ถามผมว่ามัน"สนุก"ไหม.......ผมว่าเรื่องนี้"สนุก"ครับ.....และ"สนุกมาก"ด้วย......เปรียบเทียบกับการพัฒนาสัก 10 ปีก่อนนี้....บางอย่างกลายเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดเลยที่เดียว.....แต่ผมยอมรับครับว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากจริงๆถ้าไม่มีคนสอน.....การมานั่งอ่านเองนี่....ต้องใช้เวลามาก....เวลาสงสัยไม่เข้าใจ...ก็ไม่รู้จะถามใคร.....เพราะเราก็เรียนมาเท่าๆนี้เหมือนกัน....มันดูเหนื่อยตอนอ่านแล้วเจอทางตันว่า.....เฮ้ยนี่มันอะไรหว่า?....แต่มันสนุกครับตอบไปนั่งหาว่าไอ้อะไรหว่านี่คืออะไร....:D...:D......( แต่ผมไม่มีเวลามาสนุกมากนัก......เพราะ Triple 6 กำลังจะเหยียบผมตายถ้าเรื่องงานไม่คืบหน้าครับ..:D...)

..............สำหรับเรื่อง Gattaca เนี่ย....ผมชอบตอนที่ Ethan Hawk บอกกับ Uma Therman ว่า.....เกี่ยวกันโรคหัวใจที่หมอบอกว่าเขาจะเป็นและหัวใจเขาจะเต้นได้ไม่เกินกี่ครั้ง....แต่ถึงตอนนี้หัวใจเขายังเต้นอยู่......และเขายังไม่เป็นอะไร....แสดงถึงว่าโอกาสการเกิดของพันธุกรรมไม่ได้เป็นอย่างที่เขาถูกตีตราไว้ตั้งแต่เกิด.....ให้ความหวังที่ดีที่ว่า...แม้แต่ Genetic ที่แน่ในโลกอนาคตที่สามารถกำหนกกฎเกณฑ์ชีวิตใครสักคนตั้งแต่เกิด.......ไม่สามารถมีผลอะไรกับเขาที่จะมีชีวิตและดำเนินชีวิตแบบที่เขาอยากเป็นได้.....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-09-20 , Time : 19:46:09 , From IP : r87-skaHS1.S.loxinfo

ความคิดเห็นที่ : 6


   พวกเราอยากเห็นสิ่งที่เรียกว่างานวิจัยที่แท้จริงครับ คุณกุมารเเพทย์



Posted by : megumi , Date : 2003-09-20 , Time : 23:23:34 , From IP : 172.29.3.236

ความคิดเห็นที่ : 7


   ยินดีที่ได้ยิน ได้อ่าน ความเห็นของท่านน้องอีกครั้งหนึ่ง ดูท่าบะหมี่และสาเกแถวโน้นไม่ได้ dampen spirit ลงเลย ยังคงคับแก้วคับจอกเช่นเดิม

ถ้าจะมีการบรรยายเกี่ยวกับวิจัยที่เราจะจัดหรือได้จัดในระยะนี้ คงจะเป็นการเชิญ "คนใน" ที่รับประกันคุณภาพว่าทำวิจัยเพื่อสนองความต้องการอยากรู้ for the sake of knowledge และ "อาชีพ" จริงๆ ล่าสุดคือ ศ.สนิท อักษรแก้ว เจ้าของโครงการป่าชายเลนที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ อาจารย์มาเล่า inspiration หลังจากที่ได้ทอดสายตาดูป่า ดูทะเล ดูกุ้งปลา กอรปกับคำนึงถึงความจริงที่ว่าโลกนี้มีแผ่นดินซะหนึ่งส่วน น้ำสามส่วน คนอาศัยเฉพาะผิวหน้าดิน ยื่นไปในอากาศบ้างนิดหน่อย แต่สัตว์น้ำอาศัยอยู่ใน three-dimension water ecology ที่มีปริมาณมหาศาล งานทุกชิ้น คำถามทุกคำถามของอาจารย์มีผลกระทบต่อ "ชีวิต" โดยตรงและโดนอ้อมเป็นอสงไขยจำนวน ถ้าคุณ Shoni มาฟังจะได้ความรู้สึกของ "CONVICTION" ของคนที่ทำงานแล้วมี pride มี proud อย่างที่สุดคนหนึ่ง กระผมได้มีโอกาสไปฟัง "ข้างหลังการถ่ายทำ" ตอนมื้อเย็นอีกรอบ (ประกอบ wine) เป็น enlightening experience จริงๆ กำลังจะจัดครั้งต่อไป ก็ตั้งใจว่าจะไม่ให้เสีย credit จากครั้งแรก (เราจัดเป็นระดับคณะ โดยแต่เดิมตั้งใจจะจัดแค่ภาค แต่หลายๆกระแสดันให้มันไประดับคณะ)

เรื่องลิขสิทธ์พันธุเวชศาสตร์นั้น ผมได้มีโอกาสรับฟังการ debate มาหนาหูในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมา มีเรื่องของหมอที่จะสร้างวัคซีนสะท้านโลกมาอย่างหนึ่งจาก blood sample ของผู้ป่วยรายหนึ่ง No doubtที่ธรรมชาติ (หรือ GOD) ได้ work out the difficult part ไปเรียบร้อย เขาอภิปรายกันว่า "การอธิบาย" ประโยชน์จากของที่อยู่ในเลือดผู้ป่วยเนี่ยจะทำให้แพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์คนนั้น "เป็นเจ้าของ" (โดยนัยแห่งคำลิขสิทธิ์) สารประกอบ องค์ประกอบในเลือดนั้นหรือไม่ และเจ้าของเลือดนั้นจะอยู่ในฐานะอะไร? ถ้าเจ้าของเลือดเกิดจำเป็นต้องใช้วัคซีนชนิดนี้ จะต้องจ่าย "ค่า premium" ให้แก่หมอเพื่อใช้สารของเลือดเขาเองหรือไม่?

งานวิจัยนั้นเป็นแค่การตอบคำถามอย่างมีตรรกศาสตร์ มี"วิธีการ" ที่จะทำให้คำตอบที่ได้นั้น reproducible มีความน่าจะเป็นโดยโอกาสน้อยที่สุด การที่ reproducible นี้สำคัญในแง่ "คนข้างหลังจะได้เอาไปใช้ได้" นั่นเอง ซึ่งเป็นหัวใจของการต่อยอดความรู้ เรื่องของเรื่องก็แค่ทำใจ ฝึกคิด ให้มันเป็นตรรกะ ให้มันเป็นเหตุเป็นผล แค่นั้น ของพันนี้สะกิดสะเกาก็น่าจะกระตุ้นให้ตระหนักได้

วันก่อนได้นิยายมาเรื่องหนึ่งจากงานอบรม TQA มีแม่สอนลูกสาวอบไก่ตามตำหรับลับประจำตระกูล เธอถ่ายทอดเคล็ดหมดทุกอย่าง ต้องหมักนี่เท่านี้ ต้องปรุงนี่ตอนนั้น ต้องหั่นนั่นตอนนู้น ต้องมูนน้ำแช่เท่าโน้น ฯลฯ สุดท้ายก็หั่นตูดไก่ออกหน่อยนึงก่อนเอาเข้าเตาอบ ลูกสาวถาม "แม่ๆ ทุกอย่างเข้าใจหมด ยกเว้นหั่นตูดไก่นี่แหละ หั่นไปทำไมคะ?" แม่อึ้งไปพักใหญ่ก่อนตอบ "ไม่รู้เหมือนกันแฮะ คุณยายสอนมา ไปถามคุณยายให้หน่อยสิลูก" ลูกไปบีบนวดฉอเลาะคุณยายอยู่ 3 นาทีก่อนยิงคำถาม คุณยายเคี้ยวหมากแหลกไปหลายใบ ก่อนอู้อี้ตอบ "เอ้อ ยายก็สอนแม่แกเหมือนที่ทวดสอนยายล่ะหลายเอ๊ย" คุณหลานก็มานะพยายาม ตามไปถึงห้องนอนคุณทวด (ครอบครัวนี้อายุยืนเพราะสูตรตัดตูดไก่)เขย่าๆตัวให้ฟื้นสติสัมปชัญญะก่อนจะปุชฉา คุณทวดลืมตามา 1/10 ก่อนจะวิสัชนาโดยถามกลับว่า "ฮ้า...อีหนูยังตัดตูดไก่กันอยู่อีกหรือ สมัยทวดเตาอบมันเล็กนิดเดียว ยัดไก้ทั้งตัวไม่เข้าทวดเลยต้องตัดมันออกน่ะหลาน"

เรามาเรียนแบบหลานคุณทวดกันดีกว่านะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-09-21 , Time : 21:46:58 , From IP : 172.29.3.253

ความคิดเห็นที่ : 8


   Excerpt from Daily Telegraph 23rd Sep 03

Scientists press UN for worldwide ban on cloning of babies
By Roger Highfield, Science Editor

(Filed: 23/09/2003)


Scientists from around the world yesterday urged the United Nations to ban the cloning of babies.

Their statement, which was issued by 63 science academies representing more than 16,000 leading scientists, will be presented to the UN Ad Hoc Committee at an International Convention against the Reproductive Cloning of Human Beings in New York on Monday.

Only 30 countries, including Britain, have formally banned human cloning and it is hoped that a UN convention will put pressure on more countries to pass effective legislation.

One signatory was the US National Academy of Science. Its support was significant, said Lord May, president of the Royal Society, which also signed, because in America "you can do essentially nothing with public money and you can do anything you like with private money . . . an ethically curious position".

One reason for the statement was alarm caused by the attempts of controversial scientists to be the first to clone a baby, though Lord May said the Raelian cult"s claims of success in January "should be treated with extreme scepticism".

Another motive was tackling attempts by pro-Life groups to confuse reproductive cloning with the cloning of early embryos for their stem cells, so called therapeutic cloning, which could generate cells and tissues to treat many diseases. Pro-life politicians and activists are against any such use of early human embryos and hope that a ban would include therapeutic cloning.

Lord May acknowledged that differing views in different countries made unanimity on therapeutic cloning difficult, but "it would be a tragedy if we allowed disagreements on therapeutic cloning to jeopardise a convention that could ensure that human reproductive cloning was outlawed across the globe". The term "early embryo" was "emotional", he said, when in purely biological terms, an early human embryo was "far less complex" than the average potato or the wood in a table.

Prof Richard Gardner, chairman of a Royal Society study into stem cells, said research on animals showed that human reproductive cloning threatened the health of the cloned child and the mother. "In all mammals the most striking thing is the abnormal development of the placenta." Women were uniquely susceptible, among mammals, to malignant tumours of the placenta.

There was also a high incidence of foetal disorders, spontaneous abortions, and malformation and death among newborn babies.

Lord May said that, given the known dangers of reproductive cloning, it was premature to debate whether, when understanding had advanced sufficiently to make it safe, there would be applications for which its use would be justified.


Posted by : Phoenix , Date : 2003-09-23 , Time : 20:44:39 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 9


   ........น่าสนใจ.....แต่ผมว่านะ.....อาจจะออกมาห้ามได้จริง...แต่....แล้วไงหละครับ?......ทำได้จริงหรือ?.........ลองคิดดูเล่นๆก็ได้....สมมติอิรักแอบศึกษาเรื่องการ Clone คน.....แอบโคลนกันอยู่ใต้ดิน....สหรัฐแอบจับได้......เอาระเบิดไปทิ้ง...ตูม...อิรักย้ายที่โคลนใหม่......สหรัฐตามไปทิ้งระเบิดอีก...ตูม....อิรักย้ายอีก.....คราวนี้สร้างที่โคลนสัก 50 ทีอยู่ใต้ทะเลทราย.....ทำไงดี...สหรัฐเอานิวเคลียร์ไปโยนเลยไหม.....?.....ตรงข้ามครับ...สหรัฐกลัวว่าอิรักจะมีอำนาจด้านการโคลนคนมากกว่า.....อีกหน่อยอาจจะโคลน Magneto, Gambit, Wolfverine ออกมาเดินกันเป็นโหลก็ได้.....สหรัฐทำไงดี...ก็ต้องแอบโคลน....แอบศึกษาบ้าง.....คล้ายๆเรื่องการพัฒนาอาวุธเชื้อโรคนั้นหละครับ....ห้ามผลิตกันนัก...สุดท้ายก็ไปอ้างว่าที่โน่นมีที่นี่มี.....ถามจริงเถอะ...ไอ้พวกที่อ้างๆทั้งหลายนั่น...แน่ใจเหรอว่าตัวเองก็ไม่มี?......มันก็แค่โลกอุดมคติแค่นั้นครับ...คิดโน่นคิดนี่....อยากจะมีโน่นมีนี่....แต่มันไม่มีทางเป็นไปได้ในโลกจริง......อย่างที่ผมเขียนไว้อันแรกสุดนั้นหละครับ.....เราทำอะไรไม่ได้หรอก.....คุณและผมก็ได้แต่หาเก้าอี้ดีๆสักตัว...นั่งลง.....แล้วก็ดูการพัฒนาเหล่านี้ดำเนินไป......จะเร็วหรือช้าก็แค่นั้น......การออกกฏมานี่.....อาจจะได้แค่ Deley เวลาของการเกิดหายนะออกไปแค่นั้นเอง......มั้ง??...:D........:D.......พวกเราอาจจะเหมือน Atlantis ก็ได้.....ที่บางทฤษฎีเชื่อว่าล่มสลายเนื่องจากการพัฒนาตนเองและทำลายกันเอง......:D..:D



Posted by : Death , Date : 2003-09-23 , Time : 23:11:47 , From IP : 172.29.3.207

ความคิดเห็นที่ : 10


   บางครั้งการแสดง "จุดยืน" ของประชามติ หรือกลุ่มคน หรือกลุ่มอาชีพฏ้เป็นสิ่งจำเป็น

อย่างที่เราเคยพูดถึงทุกครั้งครับคุณ Death ไม่ว่า "จริยธรรม" จะฟังดูอุดมคติอย่างไรในสายตาหรือลานโสตของคุณ Death เราก็ยังคง "ต้องสอน" เด็ก ลุกหลานเราให้ยึดมั่นใน "คุณธรรมและจริยธรรม" เราในที่นี้คือคนที่พอจะมองเห็นประโยชน์ แต่คนที่เป็นบัวเหล่าที่ 16 ก็นิมนต์อยู่ที่เก่าไปก่อน

Roque States ที่คุณ Death ว่านั้น ไม่ได้อยู่ใน target ของจุดยืนใดๆที่เราจะตั้งแน่นอน แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็จะไม่มี State-funded institute พยายามทำอะไรทำนองนี้ อย่างน้อยนักวิทยาศาสตร์ (ส่วนที่คิดว่าเขายังอยากอยู่ในวงการชีวิตที่เปิดเผย ไม่ถูกตราหน้าโดยเพื่อนร่วมวิชาชีพ) ที่จะอยากทำเรื่องนี้ จะได้คิดสองสามสี่ตลบก่อน

"ดีกรีของอุดมคติ" นั้นมีความถ่างเยอะ Roque States ที่มีทุนพอ ที่จะหานักวิทยาศาสตร์ EXPERT ที่สามารถ maintain lab, facilities ได้เองโดยทั้งๆที่ถูก sanctioned โดย scientific community แค่นี้ก็จะช่วยจำกัดหรือสร้าง Limitation barrier ได้ดีพอสมควร ก็เหมือนกับกฏหมายนั่นและครับคุณ Death เรารู้ๆกันอยู่ว่ายุคพระศรีอาริยเมตตรัยนั้นอีกยาวนานนัก คนก็ยังแหกกฏหมาย ประกอบอาชญากรรมอยู่ดี กฏหมายจึงไม่ได้มีไว้เพื่อ Sterile crime แต่มีไว้เพื่อกำราบ เพื่อให้คนยับยั้งชั่งใจ ให้คนต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการ commit crime เท่านั้น ในกรณีนี้ก็เหมือนกัน คงจะมีคนเลวๆ นักวิทยาศาสตร์เลวๆ ที่ที่สุดมา match กันแล้วก้แหกกฏของชุมชนจนได้ ไม่ว่าจะในอเมริกาเอง หรือที่ไหนก็ตาม แต่ก็จะต้องทำด้วยความยากลำบากกว่า ด้วยทุนที่สูงกว่าการที่ไม่มีกฏหมายมายับยั้งเลย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-09-24 , Time : 00:07:24 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 11


   ...........อือออออออ......พูดยากเหมือนกัน....ในแง่ของกฎหมายที่ตัดสินผิดถูก....มันก็จริงอย่างที่คุณว่า........แต่บางเรื่องที่เป็นการศึกษา...อย่างเช่น การ Cloning นี่......ถามผมว่าอยากรู้ไหมถ้าพัฒนาการ Cloning ดำเนินไปเรื่อยๆจะเป็นอย่างไร.......ผมคงตอบว่าอยากรู้ครับ....คล้ายๆกับถามผมว่า.....ถ้าเจอคนที่ทำการศึกษาเรื่อง Cloning ทั้งๆที่เค้าห้ามกันแล้ว....คนเหล่านี้เป็นคนชั่วหรือไม่....อือออ....ผมตอบยากนะ.....ถ้าพวกเขาทำเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้อันจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น.....ผมของพูดไม่เต็มปากนักว่าคนเหล่านี้ชั่ว.....ซึ่งคนละอย่างกับการศึกษาที่หาผลประโยชน์ใส่ตนเอง.....แบบนั้นคงชั่วแน่ๆ.......คล้ายๆกับยุคสมัยนึงที่เราประนามนาซีว่าเลวที่เอาคนยิวมาทดลอง......แต่การแพทย์หลายๆอย่างของเราในปัจจุบันก็มาจากการทดลองบางอย่างในตอนนั้น....ซึ่งบางอย่างนั้นสามารถช่วยคนได้มากมาย......บางคนเชื่อว่าถ้าไม่มีการทดลองในสมัยนั้น....เราอาจจะต้องสูญเสียชิวิตผู้คนไปมากมายกว่าจะพัฒนาการรักษานั้นๆขึ้นมา......ที่พูดมานี่ไม่ใช่ผมเป็นพวกนาซีนะครับ...:D..:D.....เพียงแต่ผมไม่แน่ใจว่า....ถ้าเราหยุดอะไรบางอย่างที่อาจจะก่อให้เกิดประโยชน์กับคนอื่นเอาไว้ตอนนี้เนี่ย?.....ซึ่งอาจจะ Delay หายนะได้จริง....แต่มันก็อาจจะ Delay ผลประโยชน์ที่เราจะช่วยชีวิตคนได้อีกมากมายไปด้วยหรือเปล่า?.......อันนี้ผมไม่แน่ใจ...:D...:D
............แต่มันคงเป็นคนละอย่างกับกฎหมายแน่ๆ.....คงไม่มีคนสนับสนุนให้มีการฆ่ากันเพื่อมุ่งหวังลดจำนวนประชากรโลก.....เพื่อจะได้ลดการใช้ทรัพยากร....เพื่อจะได้ลดการตัดไม้ทำลายป่า......เพื่อที่โลกนี้จะได้มีสีเขียว...ไม่หรอกน่า....:D..:D........มันตอบยากครับเรื่องทางการแพทย์.....มันไม่เชิงมีดำขาวชัดเจน.....มันมีที่ทั้งด้านดีและไม่ดี....เราอาจจะหยุดด้านไม่ดีได้จริง.....แต่เราต้องหยุดด้านดีของมันด้วย......บางทีมันคิดยากครับ.....และผมเชื่อว่ามีหลายคนครับที่คิดอย่างผม....ผมไม่น่าจะใช่ไอ้พวกตัวประหลาดที่ชอบคิดอะไรไม่เหมือนชาวบ้านหรอกครับ....:D...:D.....
........อาจจะเหมือนกับกล้องดิจิตอลก็ได้.....ที่ประโยชน์การใช้ไม่ชัดเจนเลยไม่อนุมัติ......แต่พอมี Conference ทีไร....ทำไมมีแต่คนถามว่าไม่มีรูปเหรอ?......ทำไมไปเอารูปที่ไหนมา?......น่าคิดนะครับ....ผมจะไปเสกรูปขึ้นมาให้ถูกใจได้ไงถ้าไม่มีกล้องถ้ายเนี่ย?....:D.....อะ....พูดมากเรื่องนี้ไม่ได้เดี๋ยวโดนเหยียบ...:D..:D......อาจจะแค่พอบอกได้ว่า....บางทีความคิดของคนหนึงคน...หรือกลุ่มคนกลุ่มนึง.....อาจจะไม่ใช่ความคิดที่ถูกเสมอก็ได้.....เพราะเมื่อถึงจุดนึงที่เรานึกว่า....หรือคิดได้ว่ามันมีประโยชน์เนี่ย..เราจะมานั่งเสียใจหรือเปล่า....ที่เราหยุดมันเอาไว้???.......:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-09-24 , Time : 02:34:04 , From IP : 172.29.3.207

ความคิดเห็นที่ : 12


   New England J Med ฉบับล่าสุดมี article เรื่อง Welcome to the genomic era อยู่เหมือนกัน ฉันไม่สามารถยืมออกมาจากห้องสมุด แต่จำใจความได้ว่า การพัฒนาทางเทคนิคอาจนำไปถึงการตรวจกรอง the whole DNA (ประมาณ 30,000 ยีน) ของแต่ละปัจเจกบุคคลในราคาทางเทคนิกต่ำกว่า 1,000 ดอลล่าส์ในไม่นาน (ไม่นับรวมค่าต๋งของสิทธิ์ทางปัญญา) ความหมายโดยนัยคือการตรวจกรองทางพันธุกรรมจะง่ายและแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต เรื่องนี้อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวงการประกันสุขภาพ การรับบุคคลเข้าทำงาน การรักษาและป้องกันโรคบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น สตรีที่มี BRCA1 mutation อาจถูกปฏิเสธการประกันชีวิตในราคาเดียวกันกับคนอื่น ในขณะเดียวกัน ก็มีรายงานการศึกษาออกมาแล้วว่าคนเหล่านี้มีโอกาสได้รับประโยชน์จาก tamoxifen ในการป้องกันมะเร็งเต้านม มากกว่าประชากรทั่วไป
.
ในเรื่องของ inspire ที่นักวิจัยจะมีต่องานวิจัย หรือการมองประโยชน์ของงานวิจัย ฉันมีทัศนะว่านอกจากเรื่องของประโยชน์ต่อมนุษยชาติซึ่งเป็นเรื่องไกลแล้ว ประโยชน์ในทางธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องน่าเกลียดที่จะนำมาเป็นแรงขับเคลื่อนและปัจจัยค้ำยันให้งานวิจัยและพัฒนาในสถาบันการศึกษาอยู่ได้ ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยนำสิ่งที่ค้นพบออกมา"ขาย" ในลักษณะ university based venture นั่นหมายถึงการค้นพบที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ กำลังจะถุกปั้นออกขายเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับมหาวิทยาลัย อันจะทำให้มหาวิทยาลัยไม่เพียงอยู่ได้ แต่จะมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อ นี่เป็นโครงการที่เขามองไปข้างหน้า 10-20 ปี เริ่มก่อร่างมาแล้วราว 5 ปี และจะเริ่ม launch สินค้าหรือบริการออกมาภายใน 5 ปีข้างหน้า การบูรณาการการทำธุรกิจในเชิงเอกชนเข้ากับสถาบันการศึกษาอาจฟังดูแปลกสำหรับบ้านเรา ทั้งที่จริงมันเกิดขึ้นในระดับใต้ดินหรือเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการมานานแล้วแต่นั่นเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล ฉันกล่าวเรื่องนี้เพื่อต้องการชี้ให้เห็นอีกทางหนึ่งว่างานวิจัยไม่ควรจะเป็นเพียง"เรื่องหลังบ้าน"อย่างที่มันเป็นมาในภาควิชาของเราอีกต่อไป มันสามารถก่อประโยชน์ได้ทั้งระยะใกล้ ระยะไกล ทั้งเรื่องทางเศรษฐกิจและการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นรูปธรรม
.
ถึงเวลาหรือยังที่เราจะกำหนดทิศทางการวิจัยที่ชัด มีเงื่อนเวลาและดัชนีชี้ความสำเร็จที่ชัดเจน หางบประมาณมาใส่ และที่สำคัญที่สุด "สร้างวัฒนธรรมการวิจัยในภาควิชา" ให้ได้
.
เพราะวัฒนธรรมที่เรามีอยู่ หลายอย่างมันเป็นวัฒนธรรม "เท้าราน้ำ" ครับพี่




Posted by : Shonikeka , Date : 2003-09-24 , Time : 07:09:55 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 13


   ดรรชนีความสำเร็จประการหนึ่งคือสิทธิบัตรแน่นอนครับ เป็น Bonus ที่คะแนนสูงซะด้วย เช่นเดียวกับโครงการวิจัยที่สามารถ "ดูด" งบปนะมาณแหล่งทุนภายนอก ไม่ว่าจะเป็น สรวส. สสว. WHO หรือเอกชน หน่วยงานไหนทำได้เยอะ คณะแพทย์มี bonus ให้ (เป็นตัวเงินซะด้วย แต่ไม่ต้องตกใจไม่เยอะ แค่พอปลื้ม และภาคเรายังไม่ได้ครับ)

ดรรชนีอันนี้จะมีผลในทางปฏิบัติเด่นชัดขึ้น เพราะแหล่งทุนที่เคยแจกเงินให้ทำวิจัย กำลังจะเปลี่ยนนโยบายใหม่หมดแล้ว เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่าเราน่าจะเข้า competitive phase ไปเลยดีกว่าปลุกปั้นสร้างนักวิจัยโดยการแจกทุน ฉะนั้นตั้งแต่นี้ต่อไป (เริ่มใช้ปีงบประมาณปีหน้า) โครงการวิจัยที่ไม่สามารถแสดง "ผลกระทบจริง" รวมทั้ง "โอกาสชัดเจนที่จะ ขายความคิดได้ ก็จะยากขึ้นเรื่อยๆที่จะได้ทุน ส่วนที่ได้ทุนก็จะมี advantages ต่างๆชัดเจน ว่าตั้งแต่เงินตอบแทน ไปถึงความเป็นกอบกำของงบ (แน่นอนที่ตามมาก็คือ vigorously checking of progression)

กลับมาที่คุณ Death มติที่ว่านั้นถ้าอ่านในบทความจะเป็น consensus ของ 63 scientist societies หรือ organizations ทื่ represent 16000 leaders ของวงการนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในแง่ของความเป็นตัวแทนนั้นไม่ทราบว่าถูกใจคุณ Deeath พอหรือไม่ แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือ หากมีผู้ไม่เห็นด้วย ในวงการนี้ก็จะเปิดช่องให่อภิปรายอย่างเปิดเผยครับ ไปรวมตัวกันมาและเสนอเรื่องพร้อมทั้งหลักการและเหตุผลมาโต้เถียงกันทั้ง pro and con ไม่มีประโยชน์ที่จะมาเถียงกันข้างนอก conferences ที่เขาจัดให้หา consensus และที่แน่ๆก็คือ ไม่มีประโยชน์ที่คนไม่เห็นด้วยจะมาปาวๆอยู่บนกระดานข่าวแบบ anonymous แล้วอ้างว่าที่สรุปกันไปไม่ได้ represent ตัวเขา วงการ academy นั้นความเห็นจะต้อง share กัน และอภิปรายกันได้ ถ้าคิดว่าเราถูกก็ว่ากันไปตามเหตุผล แล้วไม่ประพฤติตนเป็นขี้แพ้ชวนตีว่า ไม่ได้เข้าไปประชุม ไม่ได้นำเสนอ เพราะฉะนั้นจะไม่รับรู้ consensus ใดๆทั้งสิ้น

เรื่องที่คุณ Shonikeka ว่าเกี่ยวกับ Insurance premium นั้นเข้าใจว่า debate กันจริง อย่างน้อยที่สุดก็ใน UK Paliament เมื่อประมาณสองสามปีก่อนในประเด็นมะเร็งเต้านม และรวมทั้งโรคทางพันธุกรรมอื่นๆที่ตรวจได้ เช่น p53, multiple sclerosis เป็นต้น แต่ยังไม่สามารถ push ผ่าน เพราะจะเป็นการ cherry-picking (แต่ก็มีความหมายโดยนัยว่าถ้าเป็นระบบเมื่อไหร่ก็เอาแน่) เห็นได้ชัดว่าทางการแพทย์ในอีกไม่เกิน 10 ปีนี้เราจะมี list ของโรค ภาวะ และยีนส์ที่ prove ว่าคุณจะอายุสั้นกว่าชาวบ้าน (ในอนาคตอาจจะพบยีนส์ที่ทำให้คุณอายุยืนกว่าชาวบ้าน แต่จะพบช้ากว่าอายุสั้นแน่นอน) บริษัทประกันก็จะสามารถ apply risk หรือความเสี่ยงลงไปใน ค่า premium อย่างแน่นอน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-09-24 , Time : 13:39:09 , From IP : 172.29.3.182

ความคิดเห็นที่ : 14


   ........ผมไม่ค่อยแน่ใจนะครับคุณ Shonikeka.....คิดว่าเป็นเรื่อง Ethical Legal and social implications of genomic medicine ที่ลงเมื่อสักเอออ...4-5ฉบับก่อนหน้านี้?.....ไม่รู้ใช่เรื่องเดียวกันหรือเปล่า....พอดีผมเห็นแต่หัวข้อและ Save เก็บไว้เป็น PDF....ยังไม่ได้อ่านละเอียดครับ....ถ้าคุณ Shonikeka ต้องการก็ทิ้ง E-mail ไว้ได้เลยครับ....เดี๋ยวผมจะส่งไปให้ครับ...:D..:D
.......เรื่อง BRCA นั่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะมีปัญหามากขึ้นในอนาคตอย่างที่ว่าครับ.....ผมเคยเอาเรื่องนี้มาพูดแล้วก็โดนคุณ Phoenix อัดซะคว่ำไปรอบนึงแล้วครับ....HAHAHAHAHA..แย่จัง...ผมแค่นึกเล่นๆนะครับว่าถ้าอนาคตเราตรวจกันได้ขนาดนั้นจริง.....พวกคนที่เกิดมาแล้วโดยไม่มีการคัดเลือกทางพันธูกรรมอย่างผมนี่...ถ้ามีความผิดปกติมากๆทาง Genetic......ผมจะกลายเป็นประชากรชั้น 2 ไปหรือเปล่า...อย่าเป็นหมอมันเลย....ไปขอทานดีกว่า....อยู่ไปไม่นานจะเป็นโรคโน้นโรคนี้.....เอาคนที่ Genetic ปกติมาเรียนแทนดีกว่า.....จะได้อยู่ไปนานๆ....ไม่ต้องมาเจ็บป่วยบ่อยๆ.......เหมือนในหนังนะ (Gattaca....ผมชอบยกตัวอย่างเรื่องนี้จริง)....:D..:D...........



Posted by : Death , Date : 2003-09-24 , Time : 13:52:03 , From IP : 172.29.3.175

ความคิดเห็นที่ : 15


   ........ถ้าถึงเกือบ 20,000 คนก็คงน่าสนใจทีเดียว.....แต่ไม่รู้สินะ.....บางทีในช่วงชีวิตของผม.....ผมอยากจะเห็นสัตว์ประหลาดออกมาเดินให้เห็นจริงๆ......อาจจะเป็นแค่ความหวัง...คุณ Phoenix เคยดู 2001 Space Odyssey ของ Stanley Cubric ที่มาจากนิยายของ Arthur C Clarke หรือเปล่าครับ......หนังสร้างมานานมากก่อนจะถึงปี 2001 จริงๆ....ตอนที่ครบปี 2001 ที่ผ่านมาเมื่อ 2 ปีก่อน..ก็มีการฉลองให้หนังเรื่องนี้...เหมือนว่าจะมีการสรุปว่าโลกเราในปี 2001 จริงๆ....มีอะไรเหมือนในนิยายบ้าง.....ผมเองรู้สึกว่าอนาคตของเรื่อง Genetic นี่อาจจะไม่ไกลเกินกว่าชิวิตของเราจะได้เห็นกัน......กับบางสิ่งบางอย่างที่เป็นด้านมืดของมัน....อาจจะมีอะไรที่น่าสนใจก็ได้ครับ....:D...:D....บางทีที่ผมชอบยกตัวอย่างจากหนังเพราะผมคิดว่าบางอย่างมันเป็นไปได้จริง....และไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย....ถ้าอนาคต..จะไม่ใช่สิ่งเลวร้าย...มันก็น่าจะดี....แต่.....ถ้ามันจะเลวร้าย.....บางทีมันก็อาจจะดูย่าสนใจนะครับ....ว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างในโลกแห่งนี้...:D...:D....ท่าทางผมจะชอบคิดอะไรแปลกๆจริงๆซะแล้วสิ....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-09-24 , Time : 23:00:08 , From IP : r113-skaHS1.S.loxinf

ความคิดเห็นที่ : 16


   His name is Stanley Kubrick คนเดียวกับที่สร้างหนัง "Shocking" หลายๆเรื่องและ laid foundation ให้ film making history ของ Hollywood ทีเดียวตั้งแต่ A Clockwork Orange (1971), Shining (1980), Full Metal Jacket (1987), จนล่าสุดก่อนตายที่ Tom Cruis และ Nicole Kidman เล่นด้วยกันเรื่องสุดท้ายเช่นกันคือ Eyes Wide Shut

แต่ 2001 A Space Odyssey (1968) คงจะอยู่ในทำเนียบหนัง classic ตลอดกาล นำเอาเรื่องแรกของ series (มีทั้งหมดสี่ตอนถ้าจำไม่ผิด แปรตามข้อมูลใหม่ที่ NASA ได้เกี่ยวกับอวกาศล่าสุด คือ 2010 Odyssey Two ตอนที่ Voyeger ผ่านดาวพฤหัส. 2061 Odyssey Three ตอนที่ดาวหางฮัลเลย์ผ่านโลกครั้งล่าสุด และตอนจบคือ 3001 The Final Odyssey (1997) เชือดเฉือนกับ Foundation Series ของ Isaac Asimov)

ชุด Odyssey ไม่ได้เน้นด้านมืดของเทคโนโลยี เช่นเดียวกับ Foundation series ทั้งสองชุดเน้น "ด้านมืดของคน" ที่ deploy technology และเปนประวิติศาสตร์ที่ซ้ำแล้วซ้ำอีกจาก "คน" คุณ Death คงจะอ่าน 2001 มาแล้ว "ผู้ร้าย" ของเรื่องคือ HAL นั้นถูก programmed โดย genius ที่ขาดคุณสมบัติไปอย่างหนึ่งคือ Humanity ถ้าอ่านตลอดทั้ง series จะพบว่า Arthur C Clarke เน้นแล้วเน้นอีกถึงความ "จิ๊บจ๊อย" ของปัจเจกที่คิดว่าตนมีอำนาจจะ control อะไรต่อมิอะไร ที่สุดก็กลายเป็นแค่เบี้ยของ Natural Force หรือ The Truths Out There ทั้งสิ้น

Imagination is even more important than Intelligence เพราะว่า Imagination สามารถ "สร้าง" และได้มากเท่าๆกับที่สามารถ "ทำลาย" คนเราเป็นผู้ใช้ Imagination พระเจ้าเป็นผู้หัวเราะคนสุดท้ายไม่ว่าผลจะออกมาเป็นสร้างหรือทำลาย เพียงแต่จะเป็น laugh of pleasure หรือ of Sarcasm เท่านั้น




Posted by : Phoenix , Date : 2003-09-25 , Time : 03:49:19 , From IP : 172.29.3.214

ความคิดเห็นที่ : 17


   ..........น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง.....ผมอ่านแค่เล่มแรกของทั้งสองชุดแค่นั้น.....แต่ก็เกือบจะ 15 ปีมาแล้ว.....เป็นหนังสือเก่าๆของพ่อผม.....2001 นั้นก็เป็นวีดีโอที่ดูตั้งแต่เด็กๆ.......เกือบจะเป็นหนังเรื่องแรกๆที่ผมดู(เรื่องแรกคือ Star Wars)...รู้สึกว่า Full Metal Jacket ผมก็เคยดูครับ....อื่นๆนั้นน่าจะไม่เคย....ส่วน EWS นี่...ต้องไปหาวีดีโอเถือนมาดูเพราะไม่ผ่านเซนเซอร์บ้านเรา....:D.....ความทรงจำของผมแทบไม่มีเหลือแล้วครับ....ผมมาได้ชุด Odyssey ทั้งชุดตอนที่สำนักพิมพ์ดอกหญ้าเอามาพิมพ์ใหม่....รู้สึกจะเป็นตอนที่ Arthur C Clarke ตายไม่นาน......ตอนนั้นลดราคา 4 เล่ม 200 ได้มั้ง....ส่วน Foundation มาตั้งต้นเก็บใหม่ตอนที่ Provision นำกลับมาพิมพ์อีกรอบนึง เล่ม 1-7......ทั้งหมดนั่นอยู่บนโต๊ะผมตอนนี้.....ผมนั่นมองมันมานานแล้ว....ไม่ได้มีเวลาอ่านจริงๆจังๆซะที....เฮ้ออออออ.....แต่เห็นขนาดเล่มแล้วคิดว่าจะอ่าน Odyssey ก่อนเพราะดูไม่หนาดี.......ได้แต่หวัง.....ได้แต่หวัง....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-09-26 , Time : 02:07:37 , From IP : 172.29.3.248

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<