เพชร Diamond
มีส่วนประกอบเป็นธาตุถ่าน (c)
หรือ คาร์บอนบริสุทธิที่มีความแข็งที่สุดในบรรดาแร่ธาตุทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสมดังชื่อที่ได้มาจาก
ภาษากรีกว่า Adamas แปลว่าเอาชนะไม่ได้หรือทำลายไม่ได้
คุณสมบัติเฉพาะของเพชร
องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด
วิธีการตรวจเพชรอย่างง่ายๆ
วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )
แหล่งพบเพชรในประเทศไทย
ลักษณะของเพชรที่พบในประเทศไทย
แหล่งต้นกำเนิดเพชร
คุณสมบัติเฉพาะของเพชร
ความแข็ง 10
ความถ่วงจำเพาะ 3.52
ค่าดัชนีหักเห 2.417
การกระจายแสง .044
ความวาว เหมือนเพชร
สีที่เห็นบริเวณส่วนล่าง สีส้มและฟ้าของเพชร ( Pavilion )
ความสามารถเรืองแสง มักจะเรืองแสงสีฟ้าอ่อน-เข้ม (Ultraviolet Lamp คลื่นสั้นและคลื่นยาว)
ลักษณะภายในกล้องจุลทรรศน์ มลหินรูปเหลี่ยม รอยแตกเหมือนขั้นบันไดหรือเสี้ยนไม้ บริเวณขอบเพชร วาวเหมือนหนวด ( bearding ) บริเวณขอบเพชร และลักษณะที่แสดงถึงผิวธรรมชาติเดิม ( Natural ) ซึ่งมักจะพบเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณขอบเพชร
องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด คือ
1. น้ำหรือความบริสุทธิ์ ( Clarity )
มีตั้งแต่ไร้มลทินและตำหนิจนถึงมีมลทินและตำหนิมาก ลักษณะความบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาถึงมลทินที่เกิดอยู่ภายใน หรือ ตำหนิ
( Blemishes ) ที่เกิดอยู่ภายนอกการจัดระดับความบริสุทธิ์ทำได้โดยพิจารณาถึงขนาด จำนวนตำแหน่ง และลักษระทางธรรมชาติของมลทินและตำหนิ เพชรที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ไร้รอยตำหนิมีอยู่น้อย แต่ถ้าเพชรสมบูรณ์ไร้รอยตำหนิและมี องค์ประกอบอื่นๆ คือ สี การเจียระไน และน้ำหนักดีพร้อม จะมีราคาแพงที่สุด การจัดลำดับความบริสุทธิ์ของเพขรที่นิยมใช้กันในยุโรปและอเมริกาได้กำหนดมาตราฐานไว้โดยต้องตรวจดูภายใต้แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า
2. สี (Colour )
การจัดระดับสีทำได้โดยสังเกตุดูว่าสีของเพชรแปรเปลี่ยนไปจากความไม่มีสี ( Coloutless ) เพชรส่วนใหญ่จะมี สีเหลือง น้ำตาล เทา ปนอยู่เล็กน้อย ยกเว้นเพชรที่มีสีแฟนซี เช่น สีฟ้า ชมพู ม่วง แดง เพชรที่ไม่มีสีจัดเป็นเพชรที่มีค่าที่สุด
3. การเจียระไน ( Cut )
หมายถึง ส่วนสัดของเพชร ( Proportion ) และฝีมือการเจียระไน ( Finish) ซึ่งรวมถึงรูปร่าง ( Shape ) ว่าเจียระไนเป็นแบบเหลี่ยมเกสร ( Brilliant Cut ) เป็นแบบรูปมาร์คีส ( Marquise Cut ) หรือ เป็นแบบหลังเบี้ย ( Cabochon Cut ) เป็นต้น เพชรที่มีการเจียระไนได้ส่วนสัดตามมาตราฐานมีหน้าเหลี่ยมและมุมต่างๆ ถูกต้องตามหลักวิชา และมีฝีมือการเจียระไนที่ประณีตเรียบร้อยจะมีความสวยงามและมีการกระจายของแสงดี
การดูความถูกต้องของสัดส่วน ( Proportion Grading ) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน ( Crown ) และส่วนล่าง ( Pavilion ) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับส่วนสัดของเพชรที่นาย Tollkowsky ได้ทำเป็นมาตราฐานส่วนสัดเพชรที่เจียไนแบบเหลี่ยมเกสร ที่เรียกว่า Amercan Ideal Proportion
การจัดระดับฝีมือการเจียระไน ( Finish Grading ) ว่ามีความชำานาญและระมัดระวังในการเจียไนแค่ไหน เช่น ตรวจดูว่ามีเส้นรอยขัด รอยขีดข่วน รอยสึกกร่อนที่ก้นเพชร หรือ ขอบเพชรขรุขระ พร้อมกับตรวจดูว่าหน้าขัดมันมีณุปร่างดี มีการวางตัวถูกต้องและมีความสมดุลย์หรือไม่ เช่น เพชรบางเม็ดไม่กลมมีความเบี้ยวเล็กน้อย บางเม็ดมีหน้าขัดมันผิดรูปร่างไป
การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชรเมื่อเจียระไนเสร็จแล้ว ถ้าหากสามารถทำให้มีความสวยงามพร้อมกับรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น
4. น้ำหนัก ( Carat Weight )
เพชรใช้หน่วยน้ำหนักเป็นกะรัตในการคิดราคาซื้อขาย 1 กระรัตเท่ากับ 0.200 กรัม ซึ่งเป็นหน่วยมาตราฐานในการคิดน้ำหนักพลอยอื่นด้วย หรือ 1 ใน 5 ของกรัม และใน 1 กะรัต ประกอบด้วย 100 จุด หรือ ในที่ในวงการนิยมเรียกว่าสตางค์ ดังนั้น 50 จุดหรือ 50 สตางค์ จะเท่ากับครึ่งกะรัตเพชรจะมีค่าสูงตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไปและค่าจะสูงมากขึ้น ตั้งแต่ 5 กะรัตขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคุณสมบัติ 4C ครบแล้วราคาจะยิ่งสูงมาก
วิธีการตรวจเพชรอย่างง่ายๆ
ตรวจดูการกระจายแสงออก ( Dispersion ) โดยเปรียบเทียบกับเพชรเทียม
ตรวจสอบความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นเพชรร่วง
สังเกตุลักษณะขอบเพชร ซึ่งจะขัดไม่เรียบคงลักษณะ Waxy หรือ Granular ไว้บางครั้งอาจจะเห็นรอยแตกขนานของเพชรเป็นแบบขั้นบันได หรือ มีลักษณะของเส้นเหมือนหนวดอยู่ตามขอบของส่วนบนที่ติดกับขอบเพชร นอกจากนี้มีลักษณะตามธรรมชาติ เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นร่องรอยของการเจริญเติบโตของผลึกหรือเกิดเป็นร่องขนานกันซึ่งเป็นผิวเดิมของผลึก
สังเกตุสีส่วนล่างของเพชรจะมีสีส้มและสีฟ้า
สังเกตุลักษณะมลทินส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหลี่ยม
สังเกตุลักษระรอยัด ( Polishing Mark ) ในเพชรจะมีหลายทิศทาง แต่ในเพชรเทียมจะไปในทิศทางเดียวกัน
การตรวจดูคุณภาพใช้ลักษระ 4C ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )
เพชรเทียม หมายถึง เพชรที่มีส่วนประกอบทางเคมีต่างจากเพชรแท้ อาจเป็นอะไรก็ได้ที่มนุษย์ทำเลียนแบบขึ้น เช่น แย๊ก ( Yag ) จีจีจี ( GGG ) คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic Zirconia ) สทรอนเซียมไทเทเนต ( Strontium Titanate)ฯลฯ รวมทั้งพลอยสังเคราะห์ไร้สีชนิดอื่นๆที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น เพทาย เป็นต้น รายละเอียดของเพชรเทียม แต่ละชนิดจะไม่กล่าวถึง แต่จะให้ข้อสังเกตุไว้ดังนี้ คือ
ราคาต่ำกว่าปกติมาก
มีการกระจายของแสงดีมาก น้ำสวย แวววาวเล่นสีสรรมากกว่าเพชรแท้จนผิดสังเกต
ความแข็งน้อยกว่าทับทิม ไพลิน เขียวส่อง ยกเว้นพวกแซปไฟร์สังเคราะห์ไร้สี บางชนิดอ่อนกว่าพลอยตระกูลควอรตซ์เสียอีกจึงทำให้เป็นรอยขีดข่วนและมัวเร็ว
ความถ่วงจำเพาะค่อนข้างสูง มักจะสูงกว่าเพชร ดังนั้นเพชรเทียมที่มีน้ำหนักเท่ากับเพชร จะดูมีขนาดเล็กกว่าเพชร
การเจียระไนเหลี่ยมไม่ละเอียดเท่าเพชรแท้
สีบนส่วนล่างของเพชรเทียมเช่น Cubic Zirconia จะมีสีส้ม และ Yag จะมีสีน้ำเงินอมม่วง
ส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีเขียวอ่อน หรือ สีเหลืองอ่อน เมื่อส่องด้วยแสงอุลตราไวโอเลตชนิดคลื่นสั้น สังเกตุเงาของเพชรเทียมแต่ละชนิดในน้ำยา Methylene Iodide
ได้นำข้อมูลมากจาก หนังสือแร่ กรมทัรพยากรธรณี, หนังสือเพชรในเมืองไทย ดร.โพยม อรัณยกานนท์ , วิธีการตรวจรัตนชาติ วิลาวัลย์ อติชาติ กรมทัรพยากรธรณี
Posted by : Diamond , Date : 2007-02-22 , Time : 23:29:43 , From IP : 172.29.7.93
|