ความคิดเห็นทั้งหมด : 15

หลักสูตร รร.มอ.ว


   ใครมีความรู้เรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนของ รร. มอว.บ้างว่าได้เทียบหลักสูตรจากที่ใด ทำไมจึงเรียนหนักขนาดนั้น นร.บางคนอ่านหนังสือถึงตี 3 การบ้านเยอะมาก และเคยมีใครเห็นหลักสูตรวิชาชีววิทยาของ ม. 4 หรือเปล่า { ดูแล้วคิดว่ากำลังอ่าน Amatomy ของแพทย์ปี 2 }เห็นแล้วปวดหัวแทน

Posted by : ไมโครโฟน , Date : 2007-02-13 , Time : 15:04:27 , From IP : 172.29.1.198

ความคิดเห็นที่ : 1


   "เห็นแล้วปวดหัวแทน"

ปัญหานี้ แก้ไขได้ไม่ยากครับ

ก. หันหน้าไปทางอื่น
ข. หลับตา

ขอให้หายปวดหัวไว ๆ ครับ


Posted by : พี่ว่าว , Date : 2007-02-13 , Time : 19:04:47 , From IP : 172.29.3.91

ความคิดเห็นที่ : 2


   ไม่ได้ยากเกินไปครับ ผมเป็นนักศึกษาแพทย์สอนพิเศษชีววิทยา เด็กมอ ว อยู่ แพทย์เรียนลึกกว่ามากมายครับ
ที่เรียนแค่สิบเปอร์เซนท์เอง


Posted by : นักศึกษาแพทย์ , Date : 2007-02-13 , Time : 21:11:56 , From IP : 172.29.4.155

ความคิดเห็นที่ : 3


   คุณไมโครโฟนคงจะ sympathy เด็กอยู่น่ะครับ เลยระดับ empathy ไปนิดนึง

การที่เราสามารถ "รับรู้" ความรู้สึกของผู้อื่นนั้นเป็น gift อันประเสริฐ และเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอยย่างยิ่งสำหรับอาชีพแพทย์ แต่ "อุเบกขา" นั้น ขอให้ติดเบรกไว้ที่ empathy ครับ ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เรารู้สึก "ทุกข์ร่วม" ไปด้วย เราจะใช้อุเบกขาไม่ได้ อารมณ์จะเป็นนายเราแทน

อีกประการคือเรามักจะสอดแทรก "ประสบการณ์เก่า" ของเรามาใช้ในการ "ตัดสิน" ว่าอะไรดี/ไม่ดี อะไรควร/ไม่ควรเสมอๆครับ เช่น ถ้าผมเห็นน้องคนนี้ ก็อาจจะเฉยๆ เพราะผมนอนหลังเที่ยงคืนมาตั้งแต่ชั้น ป.7 แล้วมั้ง มันไม่ชอบนอนน่ะครับ อ่านหนังสือดึกๆสมาธิดี เพราะหัวค่ำต้องดูไอ้มดแดง กาโม่ หุ่นอภินิหาร ถ้าจะรอดู "กังฟู" ที่เดวิด คาราดีน แสดงก็แปลว่าหนังจบเที่ยงคืนครับ

การหยิบตำราชั้นเหนือกว่าระดับมาอ่าน ไม่ได้เป็นเครืองบอกว่าหลักสูตรเกินไปนะครับ ตำราหลายชนิดเหมาะสำหรับค้นคว้าเรื่องนั้นๆ โดยไม่แบ่งระดับชั้น เช่น ใครสนใจว่ากล้ามเนื้อทำงานยังไง ผมก็ยังคิดว่า Grant Atlas, Grant Method ดีกว่าหนังสือชีววิทยาชั้นประถม มัธยม แน่ๆ ขอให้อ่านออกเถอะ จะเข้าใจได้ดีกว่า ซึ่งไมได้แปลว่าเป็นเรื่อง over หรือเรื่องไม่ดี ที่เราจะหยิบหนังสือที่ค่อนข้าง "ลึก" มาอ่าน




Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-13 , Time : 21:26:02 , From IP : 124.157.183.180

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมหลังสี่ทุ่มก็หลับเป็นตายภายใน 5 นาที
อ่านหนังสือสมาธิสั้น หน้าเดียวหลับเป็นตาย
ดูหนังรอบเดียวไม่จบหลับกลางเรื่องต้อง
มาดูต่อวันรุ่งขี้นหรืออีกหลายๆ วันถัดมา

ชีวิตไม่น่าเอาเยี่ยงอย่าง @^0^@


Posted by : @^0^@ , Date : 2007-02-14 , Time : 08:55:35 , From IP : 172.29.1.236

ความคิดเห็นที่ : 5


   เค้ากำลังฝึกเด็กให้มีอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์ครับ เด็กๆเลยต้องทนๆๆๆเอาครับ

Posted by : ผ่านมา , Date : 2007-02-14 , Time : 14:16:26 , From IP : 172.29.3.92

ความคิดเห็นที่ : 6


   - จริงๆ ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับ ว่าน้องเค้ารู้สึกอย่างไรกับการเรียนของเค้า หนักหรือไม่หนัก.....แต่ผมจะรู้ได้อย่างไร..?
- ผมไม่แน่ใจว่าบทบาทของผู้ปกครองของเด็กเอง ควรจะมีและประเมินช่วยตัวเด็กเองด้วยหรือไม่... ว่าหนักไป? พอดี? เหมาะสม?


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2007-02-14 , Time : 14:39:04 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 7


   วิธีหนึ่งที่ผมเคยแนะนำให้ นศพ. ตรวจสอบว่าประวัติผู้ป่วยที่ได้มา "ตรง" หรือไม่ คือการ ถามผู้ป่วยตรงๆ ก็อาจจะนำมาใช้ได้ครับ

บางทีเราหวังดี ไปช่วย หรือไม่ช่วย เราไม่ทราบว่าเด็กรู้สึกอย่างไร ดีใจ เบื่อ หรือว่าไม่พอใจ ถ้าเราฝึกให้เด็กคิด มีอิสระในการแสดงออก และสามารถพูดคุยกับเรา (หมายถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง) การถามตรงๆก็น่าจะได้ข้อมูลที่ถือใกล้เคียงที่สุด (ไม่ถึงกับ 100% ครับ บางทีเด็กบางคนฉลาด รู้ว่าแม่ชอบช่วย ก็ลองตอบเอาใจว่าช่วยก็ดีฮับแม่ ในวงเล็บเปิด แต่ผมทำเองเร็วกว่านะฮับ วงเล็บปิด)

การที่เด็กทุ่มเท ใช้สมาธิทำอะไรง่วนอยู่หลายชั่วโมงติดต่อกัน เราก็อาจจะคิดว่า โถ ลูกเราถูกให้การบ้านยังกะวัวกะควาย หารู้ไม่เด็กกำลังเพลิดเพลินอยู่ก็เป็นได้ เหมือนเล่น videogame นั่นแหละครับ สามารถจมอยู่หลายชั่วโมงแต่ก็ไม่ยอมเลิก ทีอย่างนี้เรากลับรู้ว่าเด็กไม่เบื่อ ดังนั้นที่เราแปลไปทีแรกนั่นคือการเอา "ประสบการณ์เก่า" เราไปใช้ครับ คือ "ถ้าเป็นเรา" นั่งทำการบ้านเกิน 2 ชั่วโมง ต้องแปลว่ากำลังเบื่อสุดๆ ทรมานสุดๆ

มนุษย์เรามีมิติความคิด ความรู้สึกที่ซับซ้อน แม้เป็นผู้ชำนาญโลกอย่างไรก็ตาม การเดาความคิด ความรู้สึกของปัจเจกบุคคลนั้นยากอย่างยิ่ง ในหลักการทำ palliative care แล้วล่ะก็ เราจะ "ไม่พยายามเดา" เด็ดขาดว่าผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร ต้องการอะไรมากที่สุด แต่จะเน้นการถาม เอาข้อมูล ร่วมกับทุกอย่างที่มีมาประกอบเป็นเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับความสมบูรณ์ให้ได้มากที่สุดแทน



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-14 , Time : 15:06:13 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 8


   เรื่องนี้ถ้าจะถกเถียงกัน ก็จะมีส่วนถูกทั้งสองฝ่าย สิ่งที่ต้องตกลงกันก็คือการสัมนาหลักสูตรในภาพรวมว่าขอบเขตเนื้อหาที่นักเรียนต้องรู้ในแต่ละระดับคืออะไร ที่ควรรู้มีอะไร จริงอยู่ว่าถ้าชอบจะเรียนได้มากและเรื่อยๆ แต่นั่นเป็นกับคนกลุ่มหนึ่ง
การวางเนื้อหาเกินหลักสูตร เกินความจำเป็น แล้วมาบังคับให้ทุกคนเรียนเหมือนกันจะถูกหรือ นักเรียน ม.ปลายวิทย์ ไม่ได้จบไปเป็นหมอทุกคน ไม่ได้จบไปเป็นวิศวะกันทุกคน การเรียนเกินสิ่งที่ควรต้องรู้ก็อาจเป็นดาบสองคมกับคนที่เรียนไม่ไหว


Posted by : ร่วมคิด , Date : 2007-02-15 , Time : 09:04:23 , From IP : 172.29.3.146

ความคิดเห็นที่ : 9


   โรงเรียน ใน บ้านเรา ชอบสอนให้เด็ก หัวโต แต่ แขนขาลีบ ครับ

คือ อัดความรู้ให้มันเยอะๆ ท่องมันเข้าไป จำให้ได้มากเข้าไว้
แต่ทำเองไม่ค่อยเป็น

มีหนังสือจาก บ. ซีพี( ไม่ใช่ ผมคิดเอง นะครับ ) บอกว่า เด็กไทย ที่จบ ปวช ปวส จาก โรงเรียน พาณิชย์ จบมาแล้ว ขายของไม่เป็น( ทำพาณิชย์ ไม่ได้ )
จบ วิศวะ มาคุมโรงงาน ก็ คุมเครื่องจักร ไม่ได้

ก็เพราะ เรียนเพื่อให้รู้ และ เป็น เจ้าคนนายคน เท่าน้น


Posted by : guru , Date : 2007-02-15 , Time : 10:05:32 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 10


   เจ๊คิดว่านะค่ะ เด็กควรมีธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยเช่นการรู้จักแบ่งปัน ว่าไปตามนั้นนะค่ะ แต่ถ้าฝึกกันมากเกินไปบรรยากาศจะเป็นแบบแข่งขันซึ่งนั้นหมายความว่าเด็กนั้นกำลังมาสู่อุ้งมือของความเห็นแก่ตัวซึ่งเป็นบันไดสู่ความทุจริตและความชั่วทั้งปวง นั้นก็มีตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นที่เจริญขึ้นมากมาย จากการเน้นพัฒนาเยาวชน ทางด้านสติปัญญา แต่สิ่งหลายคนมองข้ามคือพฤติกรรมเขาเหล่านั้นช่างน่าอดสู ท่านผู้ใหญ๋ที่เรียนทางด้านวิชาการที่เก่งกาจก็เช่นกันนะค่ะอย่ามุ่งแต่ว่าเรียนเพื่อทำเงิน เดี๊ยนขอฝากไว้นะค่ะไม่ว่าท่านจะจบมาสูงแค่ไหนอ่านหนังสือมากี่เล่ม คำถามคือ ท่านอ่านธรรมะจบไปกี่เล่มแล้วตั้งแต่คลอดพ้นมาจากระยะที่สามอ่ะค่ะ

Posted by : เจ๊บุญตา , Date : 2007-02-15 , Time : 10:34:29 , From IP : 192.168.28.112

ความคิดเห็นที่ : 11


   เรื่องหลักสูตรคงจะมีอะไรให้พูดได้เยอะมากครับ และน่าสนใจ และสำคัญ

จริงๆผมส่วนตัวแล้วไม่ค่อยชอบคำ "ขอบเขต" ของหลักสูตร มันดูเป็นรั้ว เป็นสิ่งกีดขวางอย่างไรชอบกล แต่ก็เป็น "ความรู้สึก" เท่านั้นนะครับ ที่หลักสูตรควรกำหนดก็คือ "มาตรฐาน" ว่า "อย่างน้อยที่สุด" ควรจะรู้อะไร แค่ไหน ใช้อย่างไร จึงจะสำเร็จวัตถุประสงค์ปลายที่ตั้งเอาไว้ ส่วนใครจะ "ทำเกิน" ไม่เป็นไร อย่าทำขาดก็แล้วกัน

วิชาแพทย์ก็เหมือนกัน เกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาเป็น minimal requirement แต่ใครจะทำมากไปกว่านั้นก็ย่อมได้ ตรงนี้เพื่อเป็นการขยายศักยภาพ และรักษามาตรฐานขั้นต่ำไว้พร้อมๆกัน

ข้อสำคัญก็คือ "มิติต่างๆ" ของการเรียนรู้ต้องครบตามความจำเป็น เช่น ปัญญาพิสัย (ทฤษฎีต่างๆ) จลนพิสัย (หัตถการ ความชำนาญ การแปลผล) และเจตคติพิสัย (เข้าใจความเชื่อมโยง คุณค่าของความรู้) ถ้าเรียนเป็นท่อนๆ เป็นส่วนๆ แต่ไม่เชื่อมโยงก็จะไม่สมดุล

ปัญหาก็คือเราคิดว่าความรู้เป็นอะไรที่ "บวกๆ" กันได้ เราแบ่งรายวิชาเป็นทฤษฎีวิชานึง ปฏิบัติวิชานึง บอกว่าเกณฑ์เฉลี่ยคือ 50% ปรากฏว่าเด็กทำทฤษฏีดีมากเกือบเต็มแต่ร่อแร่ปฏิบัติ หรือกลับกัน ก็ผ่านเหมือนกัน เพราะจาก "วิธี" ประเมิน ทำให้มิติหนึ่งของการเรียนไป "ตู๊" อีกคนละมิติได้ แต่จริงๆมันไม่ได้ วิชาผ่าตัด ท่องทฤษฏี รู้กายวิภาค เก่งแค่ไหน แค่ถ้าไม่มีมือ มือเป็นอัมพาต ตามองไม่เห็นก็ทำไม่ได้แน่ๆ จะเอาคะแนนเต็มของทฤษฎีมาใส่บอกว่าเฉลี่ยแล้วผ่านไม่ได้

แต่ที่เราทำๆกันอยู่ มันได้ครับ

เรามีวิชาจริยศาสตร์ หน่วยกิตก็ไม่เยอะอะไร แต่ถ้ามองห่างๆกลับมาสักนิดก็คือ นศพ. ตกวิชาจริยศาสตร์ ก็ยังจบเป็นแพทย์ได้ !!! เพราะระบบประเมินเอื้อให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-15 , Time : 11:49:33 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 12


   อ่านประโยคที่ว่าคนที่ตกวิชา จริยศาสตร์ ก็ยังจบเป็นแพทย์ได้ พร้อม เครื่องหมาย ตกใจ อีก 3 ตัว

แล้ว รู้สึก ตกใจมาก จนเป็นห่วง หมอรุ่นน้องๆที่กำลังจะจบ จะโดนคนอื่นๆเหมารวมไปว่า ตกจริยศาสตร์ ไปหมด แล้วทำงานกับ คนไข้ อย่างยากลำบาก

ยิ่งสมัยนี้ สังคม รอบตัวหมอสมัยนี้ ก็หวาดระแวงหมออยู่แล้ว จากการที่ มีข่าวฟ้องร้อง กันมากมายเช่น สงสัยว่าหมอจะ โขมยไต หมอปฏิเสธการรักษา ฯลฯ

และ ผมว่า ปัจจุบันระบบ การเรียน และการสอบ ของ คณะ แพทย์ ม สงขลานครินทร์ ไม่ได้ เป็นอย่างที่บอกว่า เอา อะไรๆ มาบวกๆกัน นะครับ เลยผ่านได้ นะครับ

ที่นี่ มี การแบ่ง การคิดคะแนน เป็นส่วนๆ จริง แต่ก็ไม่ได้ เอา คะแนน มารวมกันแล้วปล่อยให้ผ่านไปเลย อาทิเช่น
วิชา ..โรคเด็ก... ( สมมุติ ) มีการคิดคะแนน เป็น 2 ส่วน คือ ความรู้และ ทฤษฏี จากการสอบข้อเขียน ส่วนปฏิบัติ ก็ มีคะแนน จากการ สอยบปฏิบัติ + คะแนนตอนฝึกปฏิบัติงาน

เด็กที่ตก ส่วนทฤษฏี อาจไม่ตกส่วนปฏิบัติ หรือ สลับกัน ก็เป็นได้

แน่นอน มีคนติติงว่า การคิดคะแนน + ตัดเกรด แบบนี้ มี ข้อด้อยอยู่ และ การคิดคะแนน แบบเดิม คือ รวมก่อนแล้วค่อยตัดเกรด ก็มีข้อดี แต่ไม่อยู่ใน เรื่องที่กำลังคุยกันในที่นี้ จึงไม่ขอกล่าวถึง

ส่วน วิชา จริยศาสตร์ ผม คิดว่าเป็นเรื่องที่ยาก ในการจัดสอบวัด คุณธรรม จริยธรรม เพราะ การพูด การตอบคำถาม กับ การ ปฏิบัติ จริง ไม่คนละเรื่องกันเลย
การที่บอกว่า จะสอบวิชานี้ ก่อนแล้วถึงจะให้เป็นแพทย์ ผมว่า มันไม่เป็นประโยชน์เท่าใดนัก

แต่ว่า การมีแบบอย่าง แพทย์ ที่ดีให้ นศพ เห็น + ปลูกฝังการอยากเป็นแพทย์ที่ดี น่าจะได้ผลดีกว่าการสอบ ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-15 , Time : 18:14:00 , From IP : 125-25-9-112.adsl.to

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมเปรียบเทียบว่า "ระบบ" ของเราทำให้ออกมาเป็นอย่างนั้นได้ครับ ไม่ได้บอกว่าเรามีเด็กที่ตกจริยศาสตร์กันแค่ไหน

วิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาแพทย์นั้นมีความ "เชื่อมโยง" กัน การนำเอามาเป็นท่อนๆ หรือการนำเอามาบวกลบนั้น มีโอกาสสูงที่เราจะได้ product ไม่ตรงกับที่เราคิดว่าควรจะเป็น

วิชาประเภท skill-based ทุกวิชา ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจำเป็นต้องมีควบคู่กันไป มิฉะนั้นแล้ว เราจะเกิดการเอาทฤษฎีไปชดเชย manual skill ในกรณีที่ "เบ้มากๆ" จะเกิดความผืดพลาดได้เยอะ

ในปัจจุบันยังไม่มีการตั้ง pre-requisite ให้ผ่านจริยศาสตร์ก่อนจบแพทย์นั้น ผมคิดว่าไม่ได้เป็นเพราะไม่มีประโยชน์ครับ แต่เป็นเพราะเรายังไม่มีเครื่องมือที่ดีพอต่างหาก ถ้าเราสามารถพัฒนาเครื่องมือที่ดีพอได้ ผมคิดว่าจะมีประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะเราพูดเสมอว่าเราอยากได้หมอดีและหมอเก่ง ถ้าจำเป็นล่ะก็ให้เลือกอย่างมดอย่างหนึ่ง อืม... ก็น่าสนใจครับว่าใครจะเลือกอะไร

การเอามิติทางการศึกษาคนละมิติมาชดเชยข้ามกันนั้น ผมเกรงว่าจะนำไปสู่สัมฤทธิ์ผลที่บิดเบี้ยวครับ มันต้องมีที่มาว่าทำไมรายวิชานี้จึงมีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และการที่หน่วยกิตเท่ากันนั้นก็ไม่ได้เป็นเพราะมันเอาไว้ชดเชยกันเวลาทำอีกอย่างไมได้ แต่เป็นเพราะว่ามันสำคัญทั้งคู่ พอๆกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-15 , Time : 18:26:45 , From IP : 124.157.221.43

ความคิดเห็นที่ : 14


   สรุปแล้วก็คือ ( เพื่อให้ คนทั่วไป ทราบ ถึง การสอน แพทย์ และ ได้เข้าใจตรงกัน )

1. การวัดผล ของ ที่นี่ แยกเป็น ปฏิบัติ และ ทฤษฏี ไม่เอามาปนกันก่อนแล้วถึง ตัดว่า ผ่าน หรือ ตก

2.ไม่มีรายวิชา จริยศาสตร์ ชัดเจน แต่ แทรกในการสอน ของ วิชา อื่นๆ ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-16 , Time : 09:36:27 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 15


   ผมคิดว่าคุณครูควรให้การบ้านเด็กให้น้อยลง แต่ คุณครูควรสอนให้เด็กในห้องเรียนให้มากขึ้น

Posted by : กนต์ร , Date : 2007-03-21 , Time : 09:02:32 , From IP : 172.29.3.142

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<