ความคิดเห็นทั้งหมด : 93

ทำไมไม่มีจัดสัมมนาการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายยาของแพทย์


   ทำไมไม่มีจัดสัมมนาการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายยาของแพทย์เลยล่ะครับ สังเกตได้จากตอนที่ไปรพ.ชุมชน พี่หมอส่วนใหญ่ที่คุยๆกับเพื่อนๆมักจะจ่ายยาเกินความจำเป็น เมื่อคนไข้เรียกร้องจะเอายา หรือแกล้งปวดหัว ฯลฯ เพื่อขอยาเพิ่มไปตุนกินเองที่บ้าน ปัญหานี้หลายๆคนสงสัยว่าเราจะแก้ไขกันได้อย่างไร

ผมเคยถามพี่หมอที่รพ.ชุมชนเช่นกัน ได้รับคำตอบว่า "ช่วงแรกๆก็อธิบายถึงข้อเสียของการกินยา หรืออันตรายที่ได้รับจากการกินยาผิดประเภท แต่เนื่องจากประชาชนในชุมชนไม่ค่อยมีความรู้ ส่วนใหญ่เลยไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติตาม เมื่อไม่ให้ยา ก็มักจะด่าหรือโวยวาย สร้างความรบกวนให้แก่แพทย์พยาบาลในรพ. แพทย์จึงตัดปัญหาโดยการจ่ายๆยาให้ไป จำพวกยาพื้นฐาน เช่น พาราเซตามอล เป็นต้น"

อีกประเด็นนึงคือเรื่องของการให้ใบรับรองแพทย์ ซึ่งเดี๋ยวนี้ดูเหมือนกับจะเป็นกระดาษเปล่าไปซะแล้ว ใครจะมาขอให้รับรองเป็นอะไร ก็มักจะรับรองให้โดยไม่ตรงกับความจริง ยกตัวอย่างเช่น ในเขตรพ.ชุมชนของผม ก็จะมีพวกโรงงานเยอะแยะ พนักงานโรงงานส่วนใหญ่ก็มักจะมาหาแพทย์เพื่อขอใบรับรองไปหยุดงาน พี่แพทย์ก็รู้ว่าส่วนใหญ่ที่มาจะเป็นพวกชอบอู้งาน แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะเค้าชอบอ้างว่าปวดหัว ปวดท้อง ท้องเสีย ฯลฯ สารพัดโรคที่จะสรรหาได้ ซึ่งบางครั้งเมื่อดูจากการตรวจร่างกายและซักประวัติก็สามารถบอกได้ว่าเค้าโกหกหรือไม่ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้เช่นกัน เพราะถ้าเกิดไม่ให้ เค้าก็มักจะอาละวาดเสียงดัง ด่าหรือขอร้องแพทย์จนแพทย์ไม่สามารถตรวจคนไข้รายอื่นต่อได้ หรือเมื่อแพทย์ไม่ให้จริงๆก็จะไปขอใบรับรองจากคลีนิกแทน โดยส่วนใหญ่เค้าก็รับรองให้ เพื่อเงิน 30-60บาท แล้วคุณค่าและความสำคัญของใบรับรองแพทย์ไปอยู่ไหนเสียแล้ว?

ผมจึงคิดว่าน่าจะมีจัดสัมมนาแก้ไขปัญหาตรงส่วนนี้เป็นอย่างมาก เพราะเนื่องจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่สั่งซื้อตัวยาจากต่างประเทศที่มีมูลค่าหลายร้อยหลายพันล้านบาทที่เงินต้องไหลออกนอกประเทศไปในแต่ละปีแล้ว ยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการจ่ายยาที่ไม่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย และทำให้แพทย์มีความรับผิดชอบในการออกใบรับรองแพทย์ให้มากกว่านี้อีกด้วย

...กระทู้ของผมอาจจะไม่เป็นที่ชอบใจของใครหลายคน ผมก็ขออภัยด้วยนะครับ แต่ถ้าใครอยากแสดงความคิดเห็นอย่างไร รบกวนชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นในเชิงสุภาพด้วยนะครับ...ขอบคุณครับ


Posted by : นศพ. , Date : 2007-02-13 , Time : 10:42:12 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 1


   ต้องพิจารณาว่าเราจะ "ได้" อะไรจากกิจกรรมแบบไหน และ "อะไร" คือสาเหตุของปัญหาด้วยครับ

เราต้องเริ่มจากเข้าใจเรื่อง "พฤติกรรม" มนุษย์ เช่น ที่คนไม่ใส่หมวกกันน็อคขี่รถเครื่องนั้น เป็นเพราะเขา "ไม่รู้" ว่าหมวกป้องกันหัวกระแทกสมองไหลได้ หรือว่า "รู้แล้วก็ยังทำ" หรือคนที่สูบบุหรี่กันควันโขมงนั้น เป็นเพราะเขา "ไม่รู้" ว่าบุหรี่ไม่ดี หรือสูบเพราะคิดว่าเท่ห์ คิดว่าตามเพื่อน ถึงไม่ดีก็ยังสูบ การที่เรา "เข้าใจ" ว่าปัญหาอยู่ที่ "ไม่รู้" เราก็จะคิดออกแต่กระบวนการ "ให้ความรู้" แต่ให้จนอิ่ม เรอ ท้องอิดท้องเฟ้อ มันก็ยังอาจจะเกาไม่ถูกที่คัน คนก็อาจจะยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม

เรื่องยาที่ยกมานั้น เป็นเพราะ "แพทย์ไม่รู้ว่ามันไม่ควรทำ" หรือว่าเพราะอะไรกันแน่ถึงมีพฤติกรรม มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น? ปัญหาอยู่ที่ ประชาชน การศึกษาของประชาชน หรือพฤติกรรมประชาชน มากกว่าหรือไม่ การที่แพทย์ยืนยันว่า "ไม่จ่าย ไม่ให้" เมื่อประชาชนยืนยันจะเอา จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาได้มากน้อยเพียงไร ตรงนี้ก็คงต้องเอาไปประกอบการพิจารณาจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ

เพราะตอนนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าที่น้องบรรยายมานั้น เป็นเพราะแพทย์ไม่ทราบว่ามันเป็นปัญหา หรือเป็นเพราะทราบว่าเป็นปัญหาแต่ยังไม่มีวิธีแก้ที่จะออกมาจากพวกเรากันได้



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-13 , Time : 10:55:31 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 2


   ตอบอาจารย์นกฟีนิกส์ครับ

เป็นปัญหาที่แพทย์ก็ไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะโดนคนไข้เล่นงานเอาหรือรบกวน จนแพทย์ต้องจ่ายยาให้เพื่อตัดปัญหา หรือถ้าเราไม่ให้ เค้าก็จะไปขอจากแพทย์ที่อื่นแทนครับ


Posted by : นศพ. , Date : 2007-02-13 , Time : 11:29:31 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 3


   ประเด็นหนึ่งที่อาจจะต้องยอมๆคนไข้บางกลุ่มไปบ้าง
เพราะว่าอย่าลืมสิครับ ว่าคนไข้วันหนึ่งๆมากแค่ไหน
การที่จะต้องมาfightกับคนพวกนี้ น้อกจากที่เราจะปวดหัว
แล้วยังต้องเสียเวลาโดยใช่เหตุ

การที่บอกว่าจ่ายยาเกินความจำเป็นมันก็ใช่นะครับ แต่ถ้ายาอันตราย
หรือรุนแรงเกินไป เราก็คงไม่ใช่หรอกครับ ต้องพิจารณาอยู่แล้ว

ใบรับรองแพทย์นี้เป็นปัญหามาก คนไข้มาขอ บอกว่าปวดหัว ปวดท้อง
ถ้าเราไม่ให้ก็จะโวยวาย หาว่าหมอไม่รักษา ไม่ดูแล แล้วยิ่งถ้าไปพูดต่อ
ถามจริงๆเถอะครับ....สังคมจะเชื่อใคร

ชีวิตจริงมันไม่เหมือนกับในบทเรียนหรอกครับ มันต้องปรับเปลี่ยนไปตาม
สถานการณ์ ถ้ามีคนไข้เอาปืนมาจ่อหัวแล้วสั่งให้เขียนใบรับรองแพทย์เท็จ
อยากทราบว่าจะมีซักกี่คนที่ไม่เขียน!!!


Posted by : Yorestinowa , Date : 2007-02-13 , Time : 11:32:41 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 4


   คนหน่มไฟแรงเหมือนนายร้อยจบใหม่ ทำงานไปสักระยะแล้วจะรู้เอง...

Posted by : *** , E-mail : (-) ,
Date : 2007-02-13 , Time : 12:36:17 , From IP : 172.29.10.228


ความคิดเห็นที่ : 5


   ผมเองยังไม่อยากให้น้องรู้สึกท้อแท้หรือรู้สึกลบกันตอนนี้หรอกนะครับ ผมคิดว่าวิธีหนึ่งที่น้องอาจจะทำได้คือ set เป็น topic discussion ระหว่างเพื่อนๆน้องเอง ทำเป็น informal debate จินตนาการวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ พิจารณาความเป็นไปได้ ข้อดี ขอ้เสียของแต่ละวิธี

ลองเล่นบท Devil advocate ลองทั้งฟังบ้าง ค้านบ้าง สลับกันไปสลับกันมา เล่นทั้งยอวาทีและโต้วาทีในประเด็นและเหตุผลที่มีคนยกมา วิธีนี้เป็นการหัดพิจารณาเรื่องราวได้หลากหลายมุมครับ บางทีเราจะไม่ค่อยยชอบที่ความคิดของเราถูก criticized แต่ "ทำไม" และ "เรื่องอะไร" ที่ประเด็นความคิดของเราถูก criticize ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจและได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วยครับ

สังหรณ์ใจไว้นิดนึงว่าปัญหาบางอย่างที่มันค่อนข้าง obvious คือโจ๋งครึ่มนั้น ไม่น่าจะเป็นเพราะไม่มีใครเห็น แต่อาจจะเป็นเพราะมัน "ยาก" ที่จะแก้ ความยากนี้ก็มีหลากหลายนิยามครับ แต่ละคนก็จะมี tolerance ต่อความยากไม่เท่ากัน

แต่ก็ขออนุญาตชมน้องที่มีความตั้งใจ และความคิด จนเกิดเป็นอารมณ์ เป็นพฤติกรรมอยากจะแก้ไขปัญหาครับ ลองนำมาสร้างให้เกิดเป็นพลังด้านบวกมากขึ้นเรื่อยๆ นอกเหนือจากเนื้อหาแล้ว บางทีเราจะได้เรียนรู้ด้านการนำเสนอ เชื้อเชิญ โน้มน้าว (หรือขับไล่ไสส่ง) บางทีมันไม่เกี่ยวกับ contents ทั้งหมด แต่เกี่ยวกับวิธีซะก้เยอะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-13 , Time : 13:27:55 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 6


   จากที่อ่านๆมาที่ความเห็นที่ 3,4 เหมือนจะเป็นการบอกว่าเราก็ไม่ต้องทำอะไรหรอก ก็เค้าทำกันมาอย่างนี้ตั้งนานแล้ว จะแก้ก็แก้ยากจะไปสนใจอะไรนักหนาอย่างนั้นแหละครับ ผมไม่คัดค้านครับว่ามันต้องแล้วแต่สถานการณ์ ผมไม่ได้บอกว่ามีคนมาจ่อปืนที่หัวแล้วห้ามเขียนใบรับรองเท็จนี่ครับ ช่วยกรุณาตีความหมายในทางที่สร้างสรรค์กว่านี้ได้ไม๊ครับ หรือถ้ายังไม่เข้าใจชัดเจน จะลองไปอ่านกระทู้ http://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=10651 นี่ดูนะครับ เผื่ออะไรจะดีขึ้นบ้าง

ส่วนอาจารย์ฟีนิกส์คือผมต้องขอโทษด้วยนะครับ แต่เผอิญที่อาจารย์เขียนแสดงความคิดเห็นมา ผมยังมองไม่เห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมเลยอ่ะครับ มีเพียงให้เราแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆกันเท่านั้น ยังไม่เห็นมุมมองการแก้ไขปัญหาของอาจารย์เลยอ่ะครับ ถ้ายังไงรบกวนอาจารย์ฟีนิกส์ตอบให้ชัดเจนกว่านี้ได้ไม๊ครับ ขอบคุณมากครับ


Posted by : นศพ. , Date : 2007-02-13 , Time : 14:39:15 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมไม่แน่ใจว่าน้องอยากจะได้ outcome ที่เป็นรูปธรรมขนาดไหนครับ นั่นเป็นประเด็นที่อยากจะแนะนำเท่านั้นเอง

ถ้าน้องอยากจะแก้ปัญหาระดับชาติให้เป็นรูปธรรม ผมคิดว่าลำพังสัมมนาก็อาจจะยังไม่เป็นทางบรรลุวัตถุประสงค์เช่นนั้น

ขออนุญาตยกตัวอย่าง

"ถ้า" ประชาชนมี concept ว่าหาหมอต้องได้ยา ไม่ได้เกิดเรื่อง ไม่พอใจ ต้องฟ้องร้อง

ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าหมอควรจะให้ หรือไม่ให้ยาแล้ว แต่เป็นปัญหาเรื่อง "การรับรู้ของสังคม" การรับรู้ เจตคติ และการตัดสินคุณค่า ของคน ณ ขณะนี้เป็นปัญหาระดับชาติครับ และลำพัง "การศึกษา" ก็อาจจะไม่ได้ช่วยด้วย หากเป็นการศึกษาที่ไม่ได้เน้นด้านคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ไปเน้นจำ เน้นปริมาณ เน้นเปอร์เซนต์บัณฑิต ดังนั้นผมคิดว่าน้องอาจจะยังไม่ต้องตั้ง "เป้าหมาย" ระดับรูปธรรมว่าจะแก้การศึกษาของประเทศอย่างไรดี จึงจะทำให้ชาวบ้านสามารถเปลี่ยนค่านิยมในการรับยา เอายาจากหมอได้

แต่ถ้าน้องอยากจะ exercise ความคิด จินตนาการ และการใช้เหตุผล น้องสามารถทำได้เลยภายในกลุ่มของน้องเอง เพราะเราจะบริหารจัดการได้ง่ายที่สุด ไม่ต้องพึ่งใคร หาข้อมูลเดี๋ยวนี้ผมว่าเผลอๆ น้องจะมีประสิทธิภาพไม่แพ้อาจารย์ด้วยซ้ำ และความคิดก็ใช้แค่มันสมองของเรา และใจที่เปิดกว้างเท่านั้นเอง

ปัญหาต่างๆในสังคมนั้น ไม่ใช่แก้แค่เปลาะเดียวก็จะลุล่วงไปอย่างง่ายดาย เดี๋ยวนี้การศึกษารุ่นใหม่ จะเน้นเรื่ององค์รวม เรื่องความเชื่อมโยง ปัญหาที่เรายกมาอาจจะเป็นแค่กระจุกปลายๆหนึ่งของนับสิบนับร้อยปลาย ของปมเชือกหลายสิบเส้นก็ได้ ฉะนั้นวิธีที่เป็น "รุปธรรม" ณ ขณะนี้ในระดับนักศึกษาแพทย์ ผมคิดว่าการ exercise ความคิด วิเคราะห์ และหาข้อมูล ก็จะเป็นประโยชน์ที่จับต้องได้มากพอสมควร ทั้งตอนนี้และในอนาคตครับ

ถ้าเราเกิดคิดว่าปัญหาใดๆเป็น linear problem เราก็จะเกิด concept ของการแก้ปัญหาแบบจานด่วน หรือ fast food นั่นเอง คือ หิวก็หาน้ำตาลกิน อาจจะหายหิวได้แต่มันจะเป็นยาพิษได้ skill ที่จำเป็นและสำคัญมากๆคือการสามารถมองเห็น interconnectedness ของเรื่องราวๆต่างๆทั้งหมด เพื่อที่เราจะได้มองเห็นสิ่งที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นเหตุและผลกันได้ ปัญหาทางการแพทย์ก็เช่นกันครับ คนที่มาหาหมอที่ห้องฉุกเฉินท้องร่วงมา เราจ่ายยา ให้ ORS ทาน ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จดี แต่เรื่องราวไม่ใช่แค่นั้น มันสะท้อนได้ถึงมาตรฐานความสะอาดของร้านอหาร ในหาดใหญ่ หรืออาจจะในประเทศไทย สะท้อนถึงปัญหาสุขอนามัย การให้ความสำคัญเรื่องความสะอาด ฯลฯ ดังนั้นหมอที่ ER แทนที่จะให้ยาอย่างเดียว อาจจะต้องซักถามที่มาของท้องร่วง ตั้งสมมติฐาน และหารือกับผู้ป่วยว่าทำยังไงจึงจะไม่เกิดอีก ไม่ใช่มาอีกทีก็พาลูกเล็กๆท้องร่วงมาเหมือนกัน แต่คราวนี้อาจจะเสียชีวิต ไม่ได้กลับบ้าน เรื่องเล็กๆง่ายๆ อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ เพียงเพราะเรา "ขบ" ปัญหาไม่แตก



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-13 , Time : 16:45:07 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 8


   อยากจะทราบว่าในมุมมองของอาจารย์ครับ ว่าถ้าอาจารย์ฟีนิกส์อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว อาจารย์จะทำอย่างไรครับ

Posted by : นศพ. , Date : 2007-02-13 , Time : 18:51:52 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 9


   ขออนุญาติ สอน นศพ ( จะเรียก นศพ ว่า หมอ นะ )

การเป็นหมอรักษา คนไข้ให้ได้อย่างดี นั้น
อันดับแรก คือ ต้องได้รับ ความเชื่อมั่นจากใจ ผู้ป่วย เสียก่อน
เมื่อ ผู้ป่วย เชื่อในตัวแพทย์แล้ว แพทย์ จะทำการรักษาได้ ทั้งกาย และ ใจ ( ความเชื่อ ) ของคนไข้

ความเชื่อมั่น ในตัวหมอ ต้อง ยอมรับกันว่า ไม่ใช่ จะสร้างมาได้ง่ายๆ ในทันที่ที่ได้รับ ปริญญา แต่ ต้องอาศัย หลายสิ่ง อาทิเช่น

1. การแต่งกาย รูปร่าง หน้าตา ท่าทาง กริยา ภาษาการพูด การจา เป็นที่ น่าเชื่อถือ

2. การมีความรู้ และการแสดง ให้คนไข้ และ คนรอบข้าง รู้ได้ว่า หมอคนนี้ เก่ง ดี น่าเชื่อ อาทิเช่น ใบ ปริญญา ประกาศนียบัตร และ การได้รับความนับถือ จาก แพทย์คนอื่นๆ

3.ชื่อเสียง จาก การรักษาในอดีต สิ่งนี้ เป็นเครื่องยืนยัน ข้อ1 และ 2 ว่า เป็นจริงแท้ หรือ จริงแต่ โฆษณา

หมอจบใหม่ นั้น ต่อให้ได้ ปริญญา เกียตินิยม อันดับ 1 จาก มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ จบมาวันแรกไป ใน โรงพยาบาล ชุมชน คนไข้ อาจไม่รู้เลยว่า นี่ คือ หมอเก่ง แต่ ไป เชื่อ ในตัวหมอบ้าน ก็ได้

หากเมื่อใด หมอได้ ความเชื่อมั่น จากใจ คนไข้แล้ว เมื่อนั้น หมอ ก็อาจจะ เปลี่ยน ความคิด ของคนไข้ได้ ครับ

และที่สำคัญ ตัวหมอเอง ก็ต้องทำตัวให้ มั่นคง ทั้ง ร่างกาย และจิตใจ ในความดี และ การอยากทำดี

อย่าให้ สังคม และ คนรอบข้าง ดึงตนเอง ให้ เฉไฉ ไปจากความคิดดี และ อยากทำดี ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-13 , Time : 19:16:00 , From IP : 203.188.14.124

ความคิดเห็นที่ : 10


   บริบท มีความสำคัญต่อเรามากครับ อาจจะมากกว่าที่เราเคยคิดไว้ก็ได้

อาทิ ใน ม.อ. นี่ที่ OPD ผมคงจะรู้สึกเป็นอิสระพอสมควรที่จะชี้แจงคนไข้ว่าจะไม่ให้ยา เพราะ... หลังจากที่เราได้ "สร้าง" ความสัมพันธ์อันดีกับคนไข้ และคนไข้เกิดความ "ไว้เนื้อเชื่อใจ" ความไว้ใจ ความศรัทธาของผู้ป่วยต่อหมอเป็นสิ่งจำเป็นระดับ "รากฐาน" (ไม่ใช่พื้นฐานนะครับ ระดับรากเลย) ในการที่เราจะทำงานในลุล่วง ประสบความสำเร็จ

แต่ที่ผมทำได้ ไม่ใช่เพียงเพราะ "ผม" เป็นคนทำหรอกครับ เป็นเพราะผมอยู่ที่ ม.อ. ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ คือมีชื่อเสียงคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. รองรับ ไว้อย่างน้อยก็เป็นอาจารยืแพทย์ ม.อ. แนะนำ เป็นเพราะผมมีทีมที่ผมจะปรึกษาได้ หาข้อมูลการแพทย์เชิงประจักษ์ได้ ดังนั้น ข้อมูลที่ผมได้ให้คนไข้ไป ก็จะให้ด้วยน้ำเสียงที่มีความมั่นใจ มี conviction ในเนื้อหาที่ผมพูดออกไป และเมื่อสิ่งที่ชี้แจงแนะนำไปยังไม่โดนใจผู้ป่วย ผมก็จะทราบอยู่ในใจว่ายังมีคนแวดล้อมที่จะให้ expertise opinion อยู่ การที่เราสามารถจะ "ดูดซึม" พลังจากสิ่งแวดล้อมทั้งหมดมาช่วยเหลือในการทำงาน ก็จะตัวเราที่ถูก optimize ให้ดีที่สุดได้

แต่ผมคนเดียวกันนี้ ถ้าถูกจับริดรอน "บริบทที่เอื้ออำนวย" ออกไปที่ละอย่างสองอย่าง เพิ่มเติมบริบทที่ "กดขี่คุกคาม" อีกห้าอย่างสิบประการ สิ่งที่เคยทำได้ในที่หนึ่ง ก็จะไม่สามารถทำได้ในอีกที่หนึ่งครับ

จากที่เคยคุยกันเป้นสิบนาที ยี่สิบนาที ต้องคุยกันใรหนึ่งหรือสองนาที
จากที่เคยมียามากมายให้เลือกใช้ ก็เหลืออยู่ไม่กี่อย่าง
จากที่เคยมั่นใจว่าจะมีคนปรึกษา คนให้ความชั่วเหลืออยู่ใกล้มือ ใกล้ตัว กลายเป๋นคนรับผิดชอบคนสุดท้ายในสถานที่นั้นๆ

องค์ประกอบที่ "ไม่เอื้ออำนวย" เหล่านี้ก็จะมีผลต่อ performance ครับ ไม่ว่ากับใครก็ตาม

เอาตัวอย่างที่ยกกันมา เช่น ไม่ให้ยาจะออกมาตะโกน โวยวาย หน้าห้องตรวจ ยกปืนแกว่ง ยกมีดดาบมาไกว ถ้าใน ม.อ. คงเกิดยาก เกิดแล้วก็ใช่ว่าเราต้องสั่งยาที่ไหน เพราะมันต้องสั่งผ่านคอมพิวเตอร์ เราก็ยังสามารถเอาตัวรอดออกจากสถาการณ์นั้นๆโดยที่คงในหลักการณ์ที่จะไม่จ่ายยาที่จำเป็นได้อยู่ดี มีทางออกเยอะ แต่ถ้าเราอยู่ตัวคนเดียวในโรงพยาบาล 30 เตียงข้างนอก มีคนไข้คลุ้มคลั่งที่ไม่คำนึง ไม่กลัวคุก กลัวตะราง กลัวบาปกรรม พร้อมจะฆ่าเรา ทำร้ายเรา ผมคิดว่าการเลือกเอาชีวิตรอดโดยยอมสั่ง paracetamol เป็น good and wise choice เหมือนกันครับ ถามว่าจะทำให้สูญเสียศักดิ์ศรีหมอมากไหม ตรงนี้คงจะแล้วแต่ตัวบุคคลกระมัง แต่เราก็รอกมานึกย้อนได้ครับว่า เราคิดว่าศักดิ์ศรีเรายัง intact หรือไม่ แต่ถ้าเราตายไป บาดเจ็บไป เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นโศกนาฎกรรมสั้นๆ อยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ไมกีวัน

ถามว่าจริงๆเกิดแบบที่ว่าสักกี่เปอร์เซนต์? ที่จะเอาดาบ เอามีด เอาปืนมาขู่ มาโวยวายนี่น่ะ ผมว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับ evidence-base level ไหนๆหรอกครับ ตอนที่เราไปออกเยี่ยม นศพ. ที่ immersion แค่ไม่กี่วัน ช่วงสั้นๆ ก็มีเรื่องที่น้องๆมาเล่ากันมากมายทุกปี ว่าได้เผชิญความตื่นเต้นในรูปแบบต่างๆกันมากน้อยแค่ไหน

การแก้ปัญหามีสองระยะ คือ ระยะเผชิญหน้า และระยะยาว ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ลงเอยถึงขนาด relationship breakdown มี confrontation แล้วนั้น ผมแนะนนำให้หาทางออกรอดชีวิตไว้ก่อนครับ ระยะยาวมานั่งให้หายเหยื่อย หายตื่นเต้น มาใคร่ครวญว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น
@ เราพูดอะไรไม่ดีกับผู้ป่วยไปบ้างหรือไม่?
@ เรา "เข้าใจ" ในความรู้สึก ความกังวลของผู้ป่วยจริงหรือไม่ และทุกเรื่องรึเปล่า?
ทำไมเขายังกังวลอยู่ หัลงจากที่เราอธิบาย กังวลขนาดไม่มีอะไรมาให้กิน จะไม่หาย?
@ สิ่งที่เขากังวลนั้น เขาเสแสร้งหรือ? ส่วนใหญ่คนไม่เสแสร้งเพื่อจะได้ฟันหัวหมอเล่นๆ หรือแสดงกิรกิยาป่าเถื่อนในที่สาธารณะ ใน รพ. ในสถานที่ราชการ ถ้าเขาเป็นอย่างนั้น มันคงจะมีอะไรบางอย่าง และถ้าเราไม่สามารถ empathy ได้ แสดงว่า เรายังไม่ได้ share ความรู้สึก ความทุกข์ทั้งหมดของผู้ป่วย ครับ
@ คนไข้ "ผ่านอะไร" มาบ้าง ก่อนที่จะถึงจุดระเบิด? รอคิวมาสามชั่วโมง ถูกแซงคิว หิวข้าว ไม่ได้กินอะไรมาหลายวัน ครอบครัวก้ไม่มีอะไรจขะกิน ถ้าเขาต้องป่วยหลายวัน เขาอาจจะคิดว่ากินยาทำให้หายเร็วขึ้นสักวัน จะได้ไปหาเงินมาเลี้ยงลูกได้เร็วขึ้น ฯลฯ
ฯลฯ
ฯลฯ

ถ้าเราไม่มีข้อมูลต่างๆเหล่านี้ เราก็จะขาด "empathy" หรือ อตฺตานํ อุปมํ กเร ไม่สามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้

เราอาจจะ apply absolute rule ว่าฉันไม่สน ฉันไม่ care ว่าแกรู้สึกอย่างไร แต่ฉัน "ถูก" ในการที่จะใช้หลักการนี้ นั้น แต่การที่หมอไม่ care ว่าเขารู้สึกอย่างไรนั้น เป้นสิ่งถูกต้องหรือไม่? จริงหรือที่มี absolute rule หรือกฏสัมบูรณ์ เพราะกฏสัมบูรณ์หมายถึงกฏที่จะไม่อิงบริบท เป็นความจริงตลอดกาลนาน มนุษย์เรานั้นเป็นสัมบูรณ์หรือเป็นสัมพัทธ์กันแน่?

ขออภัยที่ตอบน้องสั้นๆไม่ได้ แต่ยินดีที่จะร่วมอภิปรายกันต่อนะครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-13 , Time : 21:14:15 , From IP : 124.157.183.180

ความคิดเห็นที่ : 11


   ไม่ได้ตอบคำถามไปหนึ่งคำถาม

ที่ว่ามีใครทำอะไรสักอย่างไหมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุดนี้ พรพ. (สถาบันพัฒนาและรับประกันคุรภาพโรงพยาบาล) จัดประชุม National Forum ที่ดมืองทองธานี หัวข้อคือ "Huamnized health Care" ครับ จะมีคนไปร่วมประมาณ 4000 คนในงานนี้ เป็นบุคลากรสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่

น้องคิดว่าเกี่ยวไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-13 , Time : 21:30:13 , From IP : 124.157.183.180

ความคิดเห็นที่ : 12


   ขอบคุณอาจารย์ฟีนิกส์และ Guru มากนะครับ ทำให้ผมมีแนวคิด มุมมองที่กว้างขึ้น และแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวมากขึ้น

คงต้องบอกก่อนว่าผู้ป่วยมีออกมาอาละวาดเพียงแค่ด่าทอ หรือไม่ก็กระฟัดกระเฟียดให้คนไข้รายอื่นๆเห็นบ้างเท่านั้นครับ คงไม่ถึงขนาดถือปืน ถือมีดหรอกครับ

เอ่อ...ตรงส่วนเรื่องการประชุม humanized health care นี่ ผมไม่แน่ใจว่าจะมีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายยาและใบรับรองแพทย์รึเปล่า แต่คิดว่าน่าจะมีการพูดถึงกันบ้างหล่ะครับ ...แต่ที่สำคัญ ผมไม่ได้ไปร่วมด้วยนี่สิ...

ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ คือผมอยากให้เวลาเปิดสัมมนาให้ความรู้ประชาชนทั่วไปหรือบุคลากรทางการแพทย์มีการอัด VDO ไว้บ้างได้ไม๊ครับ คือบางครั้งมีหัวข้อที่น่าสนใจเข้าไปร่วมฟังด้วย แต่ติดตรงที่มีเรียนในช่วงเช้าและบ่ายอยู่ตลอด ทำให้พลาดการเข้าร่วมสัมมนาอ่ะครับ ขอเสนอแนะเพียงเท่านี้ครับ

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ


Posted by : นศพ. , Date : 2007-02-14 , Time : 00:50:45 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 13


   Humanized health care ปีนี้เนื้อหาจะอยู่ที่ "การฟัง" ครับ ฟังเพื่อเข้าใจผู้ป่วยและญาติมากขึ้น สื่อสารเพื่อผู้ป่วยและเรามีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น

อาจจะไกลจากปัญหาของน้องนิดหน่อย แต่เชื่อเถอะครับ มันมาถึงกัน ณ จุดหนึ่ง



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-14 , Time : 01:20:26 , From IP : 124.157.183.180

ความคิดเห็นที่ : 14


   ความคิด สิ่งที่เราได้สัมผัสตอนฝึกงานในระยะหนึ่ง

กับประสบการณ์ที่เราต้องออกไปสัมผัสกับความจริง
มันอาจจะแตกต่างกันพอสมควรครับ เวลาที่เราพยายามคิดและจินตนาการ
ในประเด็นที่เราสนใจ ภายใต้กรอบความคิดหนึ่งของเรา ก็จะได้ผลึกความคิดขึ้นมาอันหนึ่งซึ่ง มันต้องต่างกับความเป็นจริงที่เราเห็นแน่นอนครับ

สรุปแล้วเราต้องออกมาเรียนรู้เองแล้วเมื่อเราเจอบ่อยๆเราอาจจะไม่ คิดแบบนี้แล้วก็ได้ครับ
เห็นด้วยในประเด็นการให้ยาที่ขอแล้วไม่อันตราย ถ้าอันตรายหรือมีผลเสียมากคงไม่มีใครให้คนไข้ไปครับ การใก้คนไข้ไป เขาอาจเก็บไว้ใช้ตอนที่เขามีอาการ ไม่ใช่เขาไม่มีความรู้ แต่การให้ยาพร้อมมการอธบายว่าคือยาอะไร ก็ยังดีกว่าการที่เขาไปซื้อยาร้านขายยาข้างนอกครับ อีกทั้งการให้บางอย่างก็อาจเป็นการได้มาซึ่ง ความสัมพันธ์ที่ดี
เห็นด้วยกับอาจารย์ว่าจริงๆแล้วถ้าไม่ป่วยจริงก็ไม่ให้ยาก็ได้ ถ้าอธิบายและสื่อสารดีๆเขาน่าจะเข้าใจได้ครับ

และอีกอย่างสิ่งที่น้องได้รับคำอธิบายจากพี่ใน รพ ชุมชนท่านน้นก็อาจจะยังไม่ใช่คำตอบและเหตุผลที่แท้จริงของการให้ยาครับ เราไม่ควรสรุปประเด็นนี้เร็วเกินไปครับ
แต่เรื่องใบรับรองแพทย์ เห็นด้วยครับที่คนออกต้องมีจรรยาบรรณ ต้องไม่ออกง่ายๆเกินไปครับ

ตามอาจารย์มาจาก GTK ครับ WWW GTK org blog Kmsabai


Posted by : kmsabai , Date : 2007-02-14 , Time : 05:21:42 , From IP : 125-24-132-178.adsl.

ความคิดเห็นที่ : 15


   หมอ ไม่ต้องไป ประชุม ให้มันมากเกินไปหรอก

ในที่ประชุมที่มีคนมากๆ คนส่วนมาก มักพูดยาวนานเกินไป จนบางที น้ำท่วม
และ บางที การฟังการ สรุป จากคนที่ไปเข้าฟัง หรือ ดู วิดีโอ จากที่ หมอ แนะนำให้ อัด วิดิโอ ก็ไม่เลว ครับ เพราะ ถ้า พูดเยินเย้อ ก้สามารถ เร่ง กรอ บ้วน เปิด สปีดเร็วขึ้นได้ จะช่วยประหยัดเวลา อันมีค่า

ที่สำคัญ คือ การฝึกงาน แปลว่า ฝึกทำงาน ด้วยตนเอง ไม่ใช่ ยืนเป็น วอลเปเปอร์ ดู คนอื่นทำ และ หมั่น เรียนรู้ อยู่เสมอ แบบนี้ ดีกว่า การ เอาแต่ ประชุม ครับ



อ้อ อย่างที่ อ ฟีนิกซ์ บอก นั่นแหละ ครับ การอยู่ใน รพ ใหญ่ รร.แพทย์ เป็นเหมือนเกราะเหล็ก คุ้มครอง ให้ หมอ ทำงานได้ง่ายสบาย เพราะ คนที่มา เชื่อมั่นในตัวสถาบัน แล้ว ก็เลยผ่านมาให้หมอ ด้วย แต่ ถ้า หมอเก่ง อยู่ที่ใหน ก็ไม่ต้องกลัว ครับ

และ สุดท้ายถ้าหมอมีความคิด จะพัฒนาตนเอง อยู่เรื่อยๆ อาจารย์ คิดว่า หมอ มีความ สามารถที่จะ พัฒนา ทุก รพ. ที่หมอไปทำงาน ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-14 , Time : 08:40:56 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 16


   ผมยังอยากให้น้องมีพลังและแรงบันดาลใจแบบนี้ไปเรื่อยๆนะครับ อย่าท้อถอยเวลาที่เกิดความแตกต่าง แต่ให้หาวิธีเปลี่ยนไปเป็นพลังบวกด้านอื่นๆแทน ตอนเราอายุน้อย จุดแข็งของเราคือ อุดมคติ และ ความคิดที่บริสุทธิ์ อีกหน่อยน้องก็จะนำไปสมดุลกับประสบการณ์จริง ประสบการณ์ตรง มากขึ้นเรื่อยๆ

สวัสดีครับคุณหมอ kmsabai

ตามมาไกลนะครับ จากปายทีเดียว (เราพึ่งมี นศพ. ปี 4 ไป elective ที่ปายเมื่อเดือนก่อน คนที่ตกบ่อน้ำร้อนน่ะครับ !! ไม่ทราบได้ไปโรงพยาบาลคุณหมอรึเปล่า)

ผมคิดว่าการได้มีประสบการณ์นอกเหนือจากห้องเรียน จากโรงเรียนแพทย์ ไปเห็นของจริง ได้พูดคุยกับพี่ๆเป็น valuable time (นอกเหนือจากได้ไปเที่ยว) ถ้าคุณหมอจะกรุณาเล่าอะไรที่เกี่ยวกับกระทู้ที่น้อง นศพ. เขาตั้งขึ้นมา เป็นประสบการณ์ตรงๆ และเล่าบริบทให้ฟังด้วย น้องอาจจะได้เห็นภาพพจน์ชัดเจนขึ้นก็ได้นะครับ

PS: รูปคุณหมอน่ารักมากครับ และเรา share บุคคลที่นับถือหลายคนมากทีเดียว พบกันใน GTK ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-14 , Time : 11:19:53 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 17


    สวัสดีครับอาจารย์
ใช่แล้วครับมีน้องๆมาฝึกกับ เรา 2 รุ่นครับ เป็นน้องปี 4 จะขึ้นปี5

ประสบการณ์ที่รพ.เราจัดให้ทั้ง3-4 สัปดาห์คือ
- การออกหน่วย PCU ทุกสัปดาห์ครับ และเยี่ยมบ้านบางครั้ง
- การประจำห้องฉุกเฉินทั้งในและนอกเวลาครับ
- การมานั่งตรวจกับพี่ๆที่ห้องตรวจทุกๆวันครับ
- การ Round ward ตอนเช้า
- การพาไปเที่ยวสถานที่ต่างๆกับ จนท โรงพยาบาลครับ

อาจารย์ครับขอชื่นชมลูกศิษอาจารย์ทั้ง4 ท่าน ในสองรุ่นนี้มากๆครับ ดังนี้
- เป็นเด็กดีทุกคนครับ
- ขยันและอดทน
- อายุน้อยหน้าเด็ก แต่มีความเป็นผู้ใหญ่ครับ
- ถูกขอให้ช่วยงานหลายอย่างมากๆ แต่ก็ไม่บ่นครับ
- มีความรับผิดชอบสูงมากนะครับ มีทักษะที่ดีต่อคนไข้

ผมสอนและแนะนำน้องจากประสบการณ์ของการเป็น นศพ เมื่อ5 ปีก่อน
และเชื่อมโยงกับบริบทของสังคมที่เราอยู่ปัจจุบันครับ ที่ ER น้องจะได้ตรวจร่างกาย ซักประวัติร่วมกับพี่ๆ น้องๆจะขอแทง IV เอง เย็บแผลเอง มีหลายครั้งที่เราช่วยกัน CPR ของจริงทั้งที่ ER WARD ครับ
ที่ OPD เราได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆของผู้ป่วยร่วมกัน ผม empower น้องเต็มที่ครับ ในการสื่อสารกับผู้ป่วย ถ้ามีเวลาก็จะให้เหตุผลเสมอว่าทำไมพี่ถึงรักษาแบบนี้ ทำไมให้ยาแบบนี้ มันมีข้อจำกัดอะไรบ้าง และจริงๆมันควรเป็นอย่างไร และทำไมทำไม่ได้ หรือทำไมไม่ทำ และย้ำเสมอครับว่าสิ่งที่พี่ๆทำหรือปฏิบัติบางเรื่องอาจไม่สามารถนำมาใช้ใน รร ได้ แต่ถ้าวันหน้าออกมาอยู่ก็จะเข้าใจเองครับ
สุดท้ายขอชื่นชมน้องๆทุกท่าน และขอบคุณมากๆครับที่ช่วยงานพี่ๆอย่างมากตั้งแต่การเป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้ ขนเปล เป็นเภสัชที่ช่วยจัดยาพี่ตอนออกหน่วย เป็นพยาบาลที่คอยฉีดยาช่วย น้องๆเก่ง ดี มากๆครับ...


Posted by : Kmsabai , Date : 2007-02-14 , Time : 12:53:31 , From IP : 125-24-132-178.adsl.

ความคิดเห็นที่ : 18


   น่าเอา topic นี้
ใส่ไว้ใน group discussion ของวิชา Ethic นะครับ


Posted by : Elixia , Date : 2007-02-14 , Time : 12:54:21 , From IP : 172.29.4.139

ความคิดเห็นที่ : 19


   ดีใจที่ได้เห็นน้องคิดเช่นนี้ครับ.....

อย่าหยุดคิดนะครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2007-02-14 , Time : 14:53:41 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 20


   หน้าบานเป็นจานเชิง !!!

โอ้ โห รับคำชมจากอาจารย์ kmsabai (ขออนุญาตเรียกอาจารย์นะครับ เพราะคุณหมอเป็นอาจารย์ของเด็กของเราจริงๆ) อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว เดี๋ยวจะ pass ไปให้รองคณบดีแพทยศาสตร์รับทราบครับ ขอบพระคุณอาจารย์แทนน้องๆของเราด้วย และภาคภูมิใจแทนเด็กเราครับ ไม่เสียชือขายหน้าคณะและสถาบัน (ถึงแม้ว่าจะทะเร่อทะร่าเดินตกบ่อน้ำร้อนไปก็เถอะ)

ผมคิดเสมอว่าถ้านักศึกษาแพทย์ได้มีโอกาสปรับการรับรู้ โดยรับประสบการณ์ตรงจาก รพ. เข้ากับเนื้อหาที่กำลังเรียนอยู่แบบคู่ขนานกันไป ก็จะมีโอกาสสูงที่ความเป็นองค์รวมเกิดขึ้นเองตามบริบท เป็นการเรียนรู้ที่เราเชื่อในขณะนี้ว่าทรงประสิทธิภาพมากที่สุด (contextual learning) ยิ่งได้อาจารย์ที่ปรึกษาที่ทุ่มเทให้น้องๆแบบนี้ จะยิ่งสร้างความประทับใจและมุมมองที่สมบูรณ์มากขึ้นครับ ต้องขอขอบพระคุณแทนน้องๆ และในนามของคณะแพทย์ ม.อ. ด้วยครับ ที่ได้ช่วยกรุณาดูแลเด็กของเราให้ตั้ง 10 อาทิตย์ สองรุ่น (และรุ่นต่อๆๆๆไป แฮ่ะๆ)



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-14 , Time : 15:38:25 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 21


   เป็นสิ่งที่ดีครับ การ สอนให้ น้องๆหมอ ได้หัดทำงาน ในสถานที่ขาดแคลน( รพช) โดยไม่คิดจะอ่านตำรา อย่างเดียว แต่ก็เป็นกังวลเล็กน้อย ในการที่

ผม รับรู้มาก็คือ นักศึกษาแพทย์ ปี 4 ที่ไป รพ ชุมชน นี่ เขาไม่ต้องการให้ไปทำหัตถการ โดยเฉพาะ การไม่มีแพทย์ เป็นคนคุม อย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมตัวอย่างดี ทั้ง ความรู้ ของ นักศึกษา ความสามารถ ของอาจารย์คนคุม นศพ. ในการแก้ ปํญหาถ้าหาก นศพ ทำไม่สมบูรณ์

( ผมไม่แน่ใจว่า คำว่าแพทย์ ในที่คณะ หมายถึง นี่ ตีความได้กว้าง แค่ใหน เช่น อาจารย์แพทย์ ที่ คณะ แต่งตั้ง หรือ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ หรือ แพทย์ใช้ทุน หรือ ใครก็ได้ที่มี ใบ เลข ว. )

แต่ไม่ใช่ว่า ผม ไม่เห็นด้วย กับ การ ส่ง นศพ ไป รพช นะครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-14 , Time : 19:28:42 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 22


   ผมคิดว่า (และหวังว่า) คณะฯ คงจะคิดถึงเรื่องที่คุณ guru กังวลอยู่และจัดการอะไรไปบ้างแล้วตลอดมาสำหรับการ elective ไป รพ.ชุมชน ม.อ. (และคณะแพทย์อื่นๆ) ก็มีประสบการณ์ในการทำ elective ให้ นศพ. มาหลายปีแล้วทีเดียว

ฟังจากที่คุณหมอ ที่ รพ. ปาย เล่า ก็เป็นการ "ดู และ สังเกต" เป็นหลัก หัตถการที่เล่ามีช่วยฉีดยา ไม่ทราบว่าเป็นเข้าเส้น หรือ subcut ผมเข้าใจว่าคณะฯมีหนังสือไปหาแพทย์พี่เลี้ยงประจำโรงพยาบาลไปทุกที่ว่า เด็กเราชั้นอะไร ตั้งใจจะไปเรียนรู้แค่ไหน และมีข้อจำกัดอะไรบ้าง และเราก็อยากจะหวังว่าเราพอจะพึ่งพาคุณหมอเหล่านี้ในการช่วยเราดูแลเด็กของเรามากพอสมควร จึงได้ไว้ใจ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-14 , Time : 20:01:11 , From IP : 124.157.177.51

ความคิดเห็นที่ : 23


   ขอบคุณพี่ๆและอาจารย์ทุกๆท่านที่ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น และขอชื่นชมพี่ๆที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่สถาบันของเรานะครับ

รักมอ.ครับ


Posted by : นศพ. , Date : 2007-02-15 , Time : 00:44:03 , From IP : 61.7.150.98

ความคิดเห็นที่ : 24


   ผมแน่ใจนะครับ ว่าการทำหัตถการต่างๆล้วนอยู่ในความควบคุมทั้งสิ้น
ไม่คุมโดยแพทย์ก็พยาบาลผู้มีประสบการณ์ ยังไงก็คงไม่malpractiseหรอกครับ
แล้วที่รพช.ก็มีค่อนข้างมีเคสให้เก็บหัตถการเยอะกว่าในมอ.มากๆๆ
เป็นโอกาสที่จะได้เพิ่มพูนSkillต่างๆด้วย


Posted by : Yorestinowa , Date : 2007-02-15 , Time : 01:20:34 , From IP : 210-86-223-212.stati

ความคิดเห็นที่ : 25


   "" น้องๆจะขอแทง IV เอง เย็บแผลเอง มีหลายครั้งที่เราช่วยกัน CPR ของจริงทั้งที่ ER WARD ""
ผมอ่านมาจาก น้องหมอที่ ปาย บอกว่า นศพจะขอแทงเส้นให้น้ำเกลือ เอง นะครับ ไม่ใช่ ฉีดยาเข้าเส้น และ ทำเอง นะครับ
แน่นอน หัตถการบางอย่าง นี้ พยาบาล ทำเอง บางที ยังเก่งกว่า หมอบางคนเสียอีก แต่ เราก็ยังต้องให้ หมอเป็นคนสอน นศพ เองดีกว่า จะให้ พยาบาล สอน นะครับ
อีกอย่าง ผมได้ยินมาว่า มีการเรียนรู้หัตถการอื่นๆ มาก กว่าที่บอกมาอีกใม่ใช่ เหรอ ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-15 , Time : 09:58:31 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 26


   เอ.. ถ้าพยาบาลทำเก่งกว่าหมอ ผมเห็นว่าพยาบาลจะ qualified สอน/คุมนักศึกษาทำก็น่าจะพอได้ไหมครับ ผมเห็นด้วยว่าเรื่องอย่างพวกแทงน้ำเกลือนี่น่ะ ไม่แค่เก่งกว่าเท่านั้น แต่เก่งกว่ามากๆครับ ยกเว้นเราสามารถแทง subclavian หรือ external, internal jugular vein ได้ cutdown ได้แค่นั้นเอง

ตอนผมเรียนเป็น นศพ. ปี 4 ถูก assigned ให้ขึ้นมาแทงน้ำเกลือ เจาะเลือด ผป. ทุกคนใน ward med ตอนตีห้าครึ่ง ก็พยาบาลแน่นอนครับที่เป็นคนสอน และคุม ผมว่าหัตถการเป็นเรื่องผสมผสานกันระหว่างความรู้และความชำนาญ พยาบาลจะสอนเราบ้างก็ไม่น่ารังเกียจอะไร แม้แต่ประวัติคนไข้ บางทีเรายังไปขอยืมดูเลยว่าทำไมพยาบาลเขาซักแล้วถึงได้ข้อมูลที่มัน holistic กว่าหมอ เราก็สามารถ "เรียน" จากพยาบาลได้เช่นกัน

ในการดูแลผป.แบบ holistic นั้น มิติต่างๆของสุขภาพมีบางอย่างที่แพทย์ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือเก่งที่สุด ผมว่าเราสามารถที่จะถอย/ หลีกทาง ให้คนที่ดีกว่า เหมาะกว่าเป็นผู้นำบ้างก็ได้ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณนั้น บางขณะคนที่เก่งที่สุดคือพยาบาล บางขณะคนที่เก่งที่สุดคือหมอ บางขณะคนที่เหมาะที่สุดคือพระ คือนักบวช และบางขณะอาจจะเป็นภรรยา ลูก สามี ของผู้ป่วย ที่จะเป็น "ผู้นำทีมการรักษา" ไม่น่าจะเป็นเพียงเพราะเราเป็นหมอจึงเหมาะกว่าเสมอไป แม้ว่าเราเป็น "คนรับผิดชอบ" แต่ความหมายของรับผิดชอบก็คือการ "มอบหมายคนที่เหมาะสมที่สุด" เป็นคนทำ ไม่ใช่ทำเองทุกอย่าง

ดังนั้นหัตถการแต่ละอย่างก็จะมีคนที่ "เหมาะที่สุด" ต่างๆกัน คงจะเหมารวมไม่ได้ว่า หัตถการแปลว่าหมอต้องคุม หรือพยาบาลต้องคุม อย่างแทง IV เจาะเลือด วัดความดัน เหล่านี้พยาบาลสอนนักเรียนแพทย์ได้สบายๆ (หมายถึงพยาบาลที่ รพ. แบบนี้นะครับ ที่มีประสบการณ์มากพอสมควร) โดยที่เราไม่ต้องตะขิดตะขวงใจอะไรเลย พยาบาลบางหอผู้ป่วยยิ่งชำนาญมากขึ้นได้ เพราะทำทุกวัน เช่น 3 wards ปราบเซียนการแทง IV คือ ward nephrotic (แขนบวม), ward hemato (เส้นเปราะ), และ ward premature (เส้นเล็กมากๆๆๆ) คนที่ทำเกือบทุกวันๆละหลายๆครั้งก็จะเก่งขึ้น ชำนาญขึ้น และสอนได้ สอนได้ดีที่สุด



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-15 , Time : 11:33:56 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 27


   ปัญหา ในการสอนที่สำคัญ คือ ความรับผิดชอบ
ครับ คุณเอา พยาบาล มาควบคุม การให้ นศพ แทงเส้นให้น้ำเกลือ
หาก มีปัญหา คนที่ต้องรับผิดชอบ คือ ใคร ครับ

ก พยาบาลผู้ควบคุม

ข นศพ รับผิดชอบเอง

ค.หมอคนสั่ง ให้น้ำเกลือ ( ไม่ได้มาคุม )

ง. ถูกทุกข้อ

จ. คนไข้ซวยเอง หาคนรับผิดชอบไม่ได้

ปล . ผมไมได้ ห้ามการที่ นศพ ไป รพช แล้ว อยากจะทำหัตถการนะครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-15 , Time : 13:19:49 , From IP : 125-25-0-131.adsl.to

ความคิดเห็นที่ : 28


   เราพูดกันเรื่องเดียวกันแหละครับ

ถ้าเราจะ assign ใครสักคนหนึ่ง มาคุมทำหัตถการ คนรับผิดชอบก็ควรจะหาคนที่เก่งที่สุดมาคุม คนที่เก่งที่สุดนี้ไม่ได้จำเป็นต้องเป้นคนที่รับผิดชอบเองครับ เราได้มีการ discuss กันเรียบร้อยแล้วว่า "ใครเก่งกว่ากัน" ใช่ไหมครับ

Put right man to the right job เป็น skill of decision-making ที่สำคัญ ผมคิดว่า นศพ. หรือ ผู้ฝึกหัดใดๆก้ตาม จะจะหัด skill จะได้มากกว่าจากคนที่ skill สุงสุด ตงกันข้ามนะครับ หากเกิดมีปัญหาขึ้นมากับผป.จริงๆ ปรากฏว่าเราไม่ได้เลือกคนที่เก่งที่สุดมาคุมทั้งที่รู้ๆอยู่ แต่เลือกเพียงเพราะว่าเขาเป้น "หมอ" เท่านั้น ผมคิดว่าจะเป็นปัญหาที่ตอบยากมากกว่า

ตรงนี้คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คือคนที่มีวุมิภาวะในการตัดสินเพื่อประโยชน์ของผปงมสูงสุด แล้วก็ "รับผิดชอบ" ตามตำแหน่งหน้าที่ไป ถ้าสมมติว่ามี complication เกิดขึ้นจริงๆ แต่เราได้ตัดสินใจ based on performance ไม่ใช่ hierrhachy อย่างเดียว ผมคิดว่าเราจะมี clear conscience มากกว่า

วงการอื่นๆเขาก้ตัดสินตาม performance-based ทั้งนั้นแหละครับ ยิ่งทหารยิ่งชัดเจน ต้องใช้คนให้ถูกงาน ใช้เสนาธิการไปออกแนวหน้าเพราะรับผิดชอบสูงกว่า กองทัพก็คงจะล้มตาย หาคนมาชดเชยไม่ทัน

ในเรื่องของ skill-base task นั้น experience สำคัญมากๆ เทคนิก ความชำนาญ ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะการ "ทำจริง ทำซ้ำ" จนกระทั่งเชียวชาญชำนาญ คน make decision ก้เรียนมาทาง male decision และหนึ่งในคุณสมบัติของการ make decision ก็คือ รุ้ว่างานแบบไหน ใครชำนาญ ก็ให้ผู้ชำนาญไปสอน ไปทำ ไปแสดง ไมได้ให้คนเก่งทฤษฎีไปสอนแสดงเพียงเพราะตำแหน่งสูงกว่า แต่รู้ทั้งรู้ว่าเก่งไม่เท่า ตัดสินใจแบบนี้ผมคิดว่าเป็นการสมศักดิ์ศรีผุ้ที่มีหน้าที่รับผืดชอบครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-15 , Time : 17:48:56 , From IP : 124.157.221.43

ความคิดเห็นที่ : 29


   คณะแพทย์ ม.อ. ส่งนักศึกษาแพทย์ไป "สัมผัส" การทำงานที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่น้องๆจะได้ทำจริงตั้งแต่ชั้นปี 2 คือมี community medicine 4 weeks, และอีก 4 weeks ตอนปี 3 fam-med 5 weeks ตอนปี 4 ระหว่างนั้นก้ยังมี clinical immersion, CFS ในชั้นปรีคลินิก สิ่งหนึ่งที่น้องๆจะได้เห้นได้เรียนคือ การทำงานเป็นทีม

มิติทางสุขภาพนั้นเป้นองค์รวม หายากที่จะมีคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกๆมิติ คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในการทีเราจะทำหน้าทีที่ดีที่สุด ได้แก่การประสานกับผุ้ที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน มาทำงานร่วมกันดดยมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือเพื่อ good health ของประชาชน

ในโรงพยาบาลเรามีหมอ พยาบาล เภสัชกร หมอฟัน นักกายภาพ นักโภชนาการ นักสิทธิประโยชน์ งานของทุกๆฝ่ายมา "รวมกัน" จึงใกล่เคียงกับ "good health" กระนั้นยังไม่พอ เรายังต้องพึ่งพาชุมชน อาสาสมัคร ผสส. อสม. เครือข่ายภายนอก ถ้าจะนำ good health ไปให้ได้กว้างขวางมากที่สุด จะเป็นโอกาสอันดียิ่งที่น้องๆจะได้เรียนจากผุ้ที่ทำงานใน field ของตนเองที่หลากหลายเหล่านี้ น้อมรับความเป็นครูจากทุกๆคน ซึ่งรวมแม้แต่ผู้ป่วยและญาติ ก็เป็นครูอันยิ่งใหญ่ของน้องๆเอง

ในอาชีพของเรา คนที่ใกล้เคียงตัวเรามากๆ อย่าลืมความสำคัญของเขา อย่าลืมว่าเราได้อาศัยความรู้ ความชำนาญทีแตกต่างเหล่านี้ จึงบังเกิดเป็น good care ได้ หมอนั้นเรียนมาไม่ได้ครบหมดทุกอย่างที่จำเป็นในการดูแลแบบองค์รวม และก้ไม่ได้มีเวลาพอที่จขะทำทุกอย่างด้วย

ในกลุ่ม clinical immersion น้องๆปี 2 ที่ไปออก PCU จะพบว่ามีบ่อยครั้งที่นำทีมดดยพยาบาล PCU ไปซักประวัติ ตรวจร่างกาย ทำหัตถการเเบ้องต้น ตรวจเบาหวาน ทำแผล ผมหวังว่าน้องจะได้ฉวยโอกาสนี้ "เรียนจริงๆ" จากพี่พยาบาล ซึ่งใจดีมากๆ และมีเมตตาต่อน้องๆทุกคน

การที่อีกหน่อย น้องจบมาเป็นแพทย์ มีความรับผิดชอบที่สูงกว่าคนอื่นๆตามตำแหน่งหน้าที่นั้น ไม่ได้แปลว่าน้องทำทุกอย่างดีที่สุด แต่เป็นการหวังว่าเราสามารถ "ตัดสินใจ" ได้ดีที่สุด ในการที่จะ deploy แหล่งคลังอาวุธต่างๆเท่าที่มี ไปสู้กับโรคภัยไข้เจ็บข้างนอกนั่น น้องต้องใช้เภสัชมาช่วยเรื่องยา ปฏิสัมพันธ์ของยาที่ซับซ้อน ใช้หมอฟันมาช่วยสุขทันตกรรม ใช้พยาบาลมาช่วยงานอีกร้อยแปดพันประการ เพราะเขาถนัดในงานเหล่านั้น จากการทำอยู่ทุกวัน เราต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจในบุคลากร ในทีมของเรา น้องจึงจะสามารถ demand collabaration จาดทีมของน้องได้อยางแท้จริง น้องถึงจะเกณฑ์ความศรัทธาจากทีมของน้องได้อย่างแท้จริง ขอให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และเคารพในองค์รวม เคารพในความยิ่งใหญ่ของการร่วมมือร่วมแรงจากทุกฝ่าย อย่าได้แบ่งฝ่ายหมอ ฝ่ายพยาบาล ฝ่ายเภสัช เพราะทุกคนอยู่ฝ่ายเดียวกัน คือฝ่ายคนไข้

ถ้าทำได้อย่างนี้ ผมคิดว่า elective ข้างนอกของน้องๆ จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ทุกประการครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-15 , Time : 21:12:16 , From IP : 222.123.144.114

ความคิดเห็นที่ : 30


    ผม ขอ ชมว่า การออกไป รพช ขอ นศพ เป็นเรื่องไม่เลว และ ทำให้ นศพ คิด อะไร นอกรั้ว รพ ใหญ่ๆ ได้บ้าง

แต่ ก็ขอ ท้วงติง การคิดจะไป ฝึก หัตถการ ใน รพช. ( มี จริงหรือไม่ ได้ทำมาก ในขอบเขต ของความรู้ ความชำนาญ ของ นศพ แค่ใหน และ มี คนคุมที่มีความสามารถ มาก/ น้อย ) ตรงนี้ น่าคิด นะครับ
โอเค ผม ไม่สงสัยเลย ที่นศพ ควร ไปดูงานใน ช่องปาก กับ หมอฟัน ดุการจ่ายยา จาก เภสัชกร

การที่บอกว่า เราให้ นศพ ไปดูพยาบาลทำแผล สั่งยาเบาหวาน เย็บแผล เป็น บทเรียน อันมีค่าอย่างยิ่งที่ นศพ ต้องผ่าน อย่างนั้น ดีแล้วเหรอ ครับ ( ถ้าเป็น นักเรียน พยาบาลอย่างนี้ ต้องเรียน ผมจะไม่สงสัย เลย ครับ )

เรื่องแบบนี้ ไม่ใช่ หน้าที่หมอ เหรอ ครับ
หรือ ว่าอาจารย์ หมอ ในคณะ เรา น้อยเกินไป และ จำนวน นศพ ของเรา ในแต่ละชั้นปี มากเกินไป จนล้น หรือ จำนวน เคส ต่อ นศพ ของเรา น้อยเกินไป เลย ต้องให้ไปเรียน กับ คนอื่น ที่อื่น ?

จริงอยู่ รพช ที่มี หมอ น้อย ( น้อย มาตั้งแต่ ผมไปอยู่ ใน รพช เมื่อหลายๆ ปี ก่อน ) ก็เลย ต้องเอา พยาบาล มาทำหน้าที่ แทนหมอ ในบางช่วงเวลา และ บางงาน ที่พยาบาลมีความสามารถ จากประสพการณื พอจะทำได้ เช่น การเย็บแผล การทำคลอด การสั่งยา

แต่ เรา ควรให้ นศพ ไป เรียนรู้ เรื่องแบบนี้ ........... จาก รพช โดย พยาบาล อย่างนั้น หรือ


Posted by : guru , Date : 2007-02-16 , Time : 09:13:46 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 31


   ปัญหาในขณะนี้ของระบบการทำงานของเราก็คือ เราไม่ทราบว่า "ทีม" ของเราทำอะไรอยู่บ้าง และเราขาด appreciation ในงานของทีม

นศพ.จะเรียนรู้อะไรบ้างจากการออกหน่วย PCU ไปดูพยาบาลทำแผล สั่งยาเบาหวาน?
เยอะมากครับ
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะได้ตั้งแต่แรกคือ communication skill การพูดจากับผู้ป่วย การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย การแนะนำการปฏิบัติตัว การทำแผล ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัตถุประสงค์การเรียน คือ การสัมผัสชีวิตของแพทย์ นั้น สิ่งอะไรก็ตามที่จะส่งผลต่อ "สัมฤทธิ์ผลของการเป็นแพทย์" ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะเรียนรู้

ถ้าเรากำลังพูดถึงเรื่อง psychomotor คือ "หัตถการ" อยู่ ไม่ใช่ภาคทฤษฎีล่ะก็ เราไม่มีอาจาย์แพทย์คุมเพียงพอกับหัตถการที่มีแน่ๆ อย่าว่าแต่คุม นศพ. เลยครับ คุมแพทย์ประจำบ้าน เดี๋ยวนี้เราก็ต้อง assign ให้ chief resident คุมน้องๆเพิ่มมากขึ้น เป็นอย่างนี้แม้แต่ในระบบ training ที่อังกฤษ อเมริกา เพราะหัตถการนั้นแปลว่าต้องทำเยอะๆ ทำบ่อยๆ กว่าจะเป็น กว่าจะคล่อง นักศึกษาแพทย์ไปหัดกับพยาบาลที่ทำงานได้เก่งกว่าหมอในหัตถการนั้นๆ นอกเหนือจากเป็นเรื่องที่ดีแล้ว ยังเป็นความจำเป็นอีกด้วย

ตอนทำแผลก็เหมือนกัน นศพ. ทำแผล undersupervision โดยอาจารย์ได้ซักกี่ครั้งครับ เราก็ต้อง nominate ไปให้พี่ extern พี่ resident ลงมาช่วยกัน เพราะว่า performance-based แล้ว เขา qualified ที่จะสอน ที่จะทำ ถ้าพยาบาลวิชาชีพสามารถทำหัตถการนั้นๆกับผู้ป่วยจริงเป็นเวลานาน บ่อยครั้งที่พยาบาลเหล่านี้ สอนแพทย์ที่พึ่งจบใหม่ ทำหัตถการเสียด้วยซ้ำ พยาบาล OR ต่างจังหวัดที่สามารถเป็นทั้งส่งเครื่องมือ และช่วยผ่าตัด สามารถสอนหมอใหม่ทำผ่าตัดบางชนิดได้ด้วยซ้ำไป

คนที่จะเป็น "ครูแพทย์" นั้น ขึ้นกับสิ่งที่เขา "กำลังจะเรียน" ไหมครับ ขอเพียงมีความรู้ ความชำนาญ สอนได้ นักเรียนเราควรจะเรียนมากที่สุดจากทุกๆ resource ที่มี แพทยศาสตรบัณฑิต เป็นอุดมศึกษา ที่สอน mature student สัมฤทธิ์ผลของการเรียนนั้น ต้องมี self-directed learning เป็นส่วนประกอบอย่างมาก บทบาทของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษานั้นลดลง เพราะเราต้องการนักศึกษาที่สามารถทำงานกับคนได้ทุกระดับ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน สามารถเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานได้ เรียนรู้จากคนที่มีฐานะต่ำกว่าได้ ถ้าเรื่องนั้นให้ใครเป็นครู ก็ต้องคนที่รู้มากกว่า ชำนาญมากกว่าเป็นครู

เราบรรจุวิชา "การสอน" ให้แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน เพราะเราเห็นว่าวิธีที่จะเผยแพร่ความรู้ เพิ่มประสิทธืภาพในการดูแลผู้ป่วยได้ดีที่สุด ก็คือ "สร้างคนสอน" ให้มากขึ้น เพราะประชากรนักเรียนเพิ่มไม่ได้สัดส่วนกับอาจารย์แพทย์แน่ๆ อาจารย์ในคณะเราไม่ได้น้อยไปหรอกครับ แต่เป็นอาจารย์แพทย์ในโลกนี้มีน้อยเกินไป ดังนั้นถ้ามีโอกาสที่นักศึกษาจะเรียนจากคนที่ performance qualified แล้วไม่ให้เรียน จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย และไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไร

ถ้าหมอที่ออกไปอยู่ที่ไหนก็ตาม สามารถผลิตคนที่ "ช่วยสอน ช่วยแนะนำ" ได้มากขึ้น หลังจากนั้น take responsibility มอบหมายงานให้เขาไปทำ นั่นจึงเป็นการแสดงความมีความรับผืดชอบที่ดี เพราะคนๆเดียวย่อมทำงานไม่ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว ไม่งั้นคงจะไม่มีหลักสูตรพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาล OR พยาบาล ICU ถ้าเขาไม่คิดว่าคนที่มี performance ดีขึ้น ก็จะขยายขอบเขตการทำงานได้มากขึ้น แทง IV นั้น เรา train ให้ paramedic ทำก็ยังได้ ทุ่มเทฝึกหัดแนะนำอีกนิด เขาก็จะสามารถไป train ให้คนอื่นต่อไปได้อีก

ยังมีเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น สำคัญมากขึ้นที่อาจจะเหมาะกับแพทย์ เราอาจจะไม่ต้องยึดครองการสอนแทง IV ให้เป็น privilege เฉพาะอาจารย์แพทย์กระมังครับ ถ้าเราอนุญาตให้เรียนจากหมอฟัน เรียนจากเภสัชได้ ผมคิดว่าเราวัดที่ performance-based ใช่ไหมครับ การแทง IV นี่ คิดว่าพยาบาลทำได้ เก่งกว่าหมอด้วย ทำไมเราจะไม่คิดอย่างเดียวกับหมอฟันหรือเภสัช ทำไมเราคิดคนละอย่างกับพยาบาล?



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-16 , Time : 11:51:33 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 32


    การที่ หมอ จบใหม่ แล้ว ต้องไปเรียน จาก พยาบาล เป็น ความผิดพลาดใน ระบบ การผลิตแพทย์ หรือ เปล่า ครับ

" "พยาบาล OR ต่างจังหวัดที่สามารถเป็นทั้งส่งเครื่องมือ และช่วยผ่าตัด สามารถสอนหมอใหม่ทำผ่าตัดบางชนิดได้ด้วยซ้ำไป ""


แล้ว เราให้ นศพ ที่ ยังไม่ รู้มาก่อนเลย ว่า อะไร ถูก อะไร ไม่ถูก ไปเรียน จาก พยาบาล ใน รพช นี่ ก็น่าคิด นะครับ

ผมคิดว่า พยาบาล ใน รพช เขา ก็ไม่อยาก มาทำงาน ใน งานที่เป็น ของหมอ เท่าใด นัก ดอกครับ

แต่ เขา ไม่มี เสียงที่ ดัง พอ จะ ตะโกน ให้ คนอื่นได้ยิน เท่า นั้นเอง


Posted by : guru , Date : 2007-02-16 , Time : 16:38:26 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 33


   ข้าม shot ไปครับ ผมเข้าใจว่าเราพูดถึงขั้น psychomotor ไม่ได้พูดถึงเรื่องทฤษฎี

การเรียนหัตถการทุกอย่าง จะต้องมีทฤษฎีประกอบ เราไม่ควรจะปล่อยให้ใครทำอะไร โดยไม่รู้ทฤาฎีเลยอยู่แล้ว นั่นคือเหตุผลที่เรามีเรียน anatomy pathology physiology เมื่อนำไปประกอบกับภาคปฏิบัติก็จะเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์

ที่นี้ในการสอนภาคปฏิบัตินั้น เราเอาคนที่ชำนาญมาสอนครับ ซึ่งเด็กนศพ. ควรจะมีความรู้ทางทฤษฎีเบื้องต้นมาก่อน แต่พยาบาลนั้น qualified ในการสอนภาคปฏิบัติ ในการคุมภาคปฏิบัติ สำหรับหัตถการเบื้องต้นจำนวนมาก

อา... ผมได้ยิน (สาบานได้) ว่าพยาบาลเขาพูดตรงกันข้ามกับทีคุณ guru พูดในเรื่องที่เขามีบทบาทช่วยสอนแพทย์หรือ นศพ. นะครับ เขารู้สึก "ภาคภูมิใจ" ที่เขาได้มีโอกาสช่วยเหลือหมอซะด้วยซ่ำไป ไม่ใช่รู้สึกว่านี่เป็น burden

การเรียนแพทย์นั้น "ครู" ไม่ได้จำกัดเฉพาะอาจารย์แพทย์หรอกครับ คุณบอกเองว่าไม่ขัดข้องที่จะเรียนกับเภสัช เรียนกับหมอฟัน หวังว่านั่นเป็นเพราะ performance rationale ใช่หรือไม่ ทำไมพยาบาลจะไม่ qualified ในงานที่คุณเองก็ยอมรับว่า "เก่งกว่าหมอ"?

การที่ระบบสาธารณสุขของเรา มีพยาบาลจำนวนมากที่ช่วยแพทย์เรียนรู้หัตถการหลังจากออกไปจากโรงเรียนแพทย์นั้น ไม่ใช่ข้อบกพรอ่งหรอกครับ แต่เป็น "จุดแข็ง" ที่เราสามารถกระจายกำลัง ในขณะที่เรามี resource parity แตกต่างกันแบบนี้ การทำอะไรที่ more efficient เป็นเรื่องที่ดี อ.ประเวศ บอกว่าเราต้องรีบเร่งผลิตพยาบาลอีก 80,000 คน จะช่วยสถานการณ์ทางสาธารณสุขเราได้อีกเยอะมาก

นศพ. ที่ยังไม่รู้อะไรเลยนั้น เป็นอย่างไรครับ? ผมคิดว่าเราอาจจะสามารถไว้ใจคุณหมอ ผอ. รพ. ทีน้องเราไป elective ได้หรือไม่ (คือ "ใครก็ได้มีใบเลข ว."หรือเปล่า? ท่เป็นหมอตาม รพ.ที่เด็กของเราไป elective ผมไม่แน่ใจว่าหมายถึงใคร) ว่าพิจารณาแล้วว่าเด็กของเรา qualified หรือจะช่วยแนะนำเบื้องต้นให้ ผมคิดว่าเพื่อนร่วมอาชีพของเราที่ได้ใบ ว. มีวิจารณญาณว่าจะ assign ใครช่วยทืเรื่องอะไร คงไม่ใช่มีแต่ "อาจารย์แพทยื" เท่านั้นที่มีวิจารณญาณตัดสินใจได้ถูกต้อง

ถ้าจะบอกว่าพยาบาลไม่มีเสียงดังพอจะบ่นอะไรสักอย่างหนึ่ง ผมคิดว่า อาจจะเป็นเรื่องที่มีคนคิดว่าเขา "ไม่ qualified" จะทำอะไรทั้งๆที่เขาเก่งกว่าคนที่เราบอกว่า qualified เพียงเพราะเป็นหมอเท่านั้น

หมอมีหน้าที่รับผืดชอบเยอะครับ แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องไปทำเองในทุกเรื่อง เพราะทุกเรื่องที่เกิดในโรงพยาบาล สุดท้ายก็ไปสิ้นสุดที่ ผอ. เหมือนกันหมด แต่เราก้ไม่ได้เป็นคนทำบัญชี ไม่ได้จัดการเรื่องเข็นเปล โรวครัว ฯลฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของงานของเราทั้งสิ้น เราใช้วิธี assignment และไว้ใจ และฝึกสอนให้ทำได้ จะได้มอบหมายงานได้ พยาบาลจำนวนมากที่ถูกฝึกสอน แล้วทำงานนั้นๆมาทุกวัน day-in day-out ในแง่ของ psychomotor แล้ว สามารถเหนือกว่าหมอที่อาจจะเคยทำแค่ตอนเรียนเท่านั้นเอง

คูณ guru ถามว่า
ปัญหา ในการสอนที่สำคัญ คือ ความรับผิดชอบ
ครับ คุณเอา พยาบาล มาควบคุม การให้ นศพ แทงเส้นให้น้ำเกลือ
หาก มีปัญหา คนที่ต้องรับผิดชอบ คือ ใคร ครับ

ก พยาบาลผู้ควบคุม

ข นศพ รับผิดชอบเอง

ค.หมอคนสั่ง ให้น้ำเกลือ ( ไม่ได้มาคุม )

ง. ถูกทุกข้อ

จ. คนไข้ซวยเอง หาคนรับผิดชอบไม่ได้


คำตอบก็คือ ผอ. รพ. ที่มอบหมายงานเป็นคนรับผิดชอบครับ เพราะเขาใช้วิจารณญาณแล้วว่าทำได้ และเป็นคนที่เหมาะสม และในขณะที่เราไม่ทราบบริบท ทำไมเราถึงใส่วงเล็บว่า "ไม่ได้มาคุม" ด้วย? เรา assume อย่างนั้นหรือ? ทำไมหมอที่มี ใบ ว. ทีไม่ใช่อาจารย์แพทย์ แปลว่าเขาไม่ care คนไข้ หรือไม่รับผืดชอบกระนั้นหรือ?

ในโรงเรียนแพทย์เราเอง เรา assign ให้ chief คุมผ่าตัดน้องปี 3 ก้เพราะเป็น performance based นะครับ ว่าเขา "ทำได้" และ "เหมาะสม" เราก็ "มอบหมาย" การที่เราต้องฝึกการมอบหมายงาน ฝึกคนให้สอนเป็นนั้น ไม่ได้เป็นความล้มเหลวของระบบ แต่เป็นความฉลาดของการทำงานมากกว่า

ในระบบที่เจริญแล้ว paramedic สามารถทำได้ถึงขั้น initial resuscitation ด้วยซ้าไป โดยไม่ได้เป็น M.D. Fireman สามารถช้วยเหลือ ให้ oxygen ให้ iv คนได้ตั้งแต่ event scene สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความล้มเหลวของการผลิตแพทย์ครับ เป็นการที่เราให้เกียรติและทราบว่าคนในสังคมนี้ มีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบต่อสังคมไม่แพ้หมอเหมือนกัน พยาบาลที่เขามาคุมทำหัตถการด้วยจิตใจมีเมตตาและยินดีช่วยมีมากมาย ใครไม่อยากทำ ก็ไม่ต้องให้เขาทำ แต่รับรองว่ามีคนที่อยากจะช่วย และ more than qualified to do มากมายครับในสังคมนี้ และเราก็ไม่ควรจะ monopolize บาบาทแบบนี้ไว้เฉพาะเราเท่านั้นด้วย ถ้าเราอยากจะมีสังคมที่เกื้อกูลกัน ช่วยกันทำงาน น่าจะเป็นวิถีที่เราอยากให้ นักศึกษาแพทย์ของเราได้เติบโตมาในสังคมแบบนั้นมากที่สุด



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-16 , Time : 18:30:54 , From IP : 222.123.141.241

ความคิดเห็นที่ : 34


   รบกวนคุณ guru ช่วยขยายความนิดนึงได้ไหมครับว่า ทำไม นศพ.เราไปเรียนจากเภสัช หรือทันตะได้ แต่ไม่สมควรเรียนจากพยาบาล? ขอบคุณครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-16 , Time : 18:55:51 , From IP : 222.123.141.241

ความคิดเห็นที่ : 35


   ผมขอบอกว่า ไม่ได้ห้าม นศพ ไป รพช นะครับ แต่ถ้าไปแล้ว อะไรที่ ไม่ทำตามกฏเกณท์ ก็ไม่ควรเอามาประกาศในที่ สาธารณะ ครับ

ที่ บอกว่า หมอ ไม่ควรเรียน จากพยาบาล ก็เพราะ งาน ที่ พยาบาลทำเหล่านี้ ที่ จริงแล้ว เป็น งานของหมอ ครับ ลองไปดู กฏเกณท์ จาก สภาการพยาบาล และ แพทยสภา ก็ได้ ครับ

แต่ พยาบาล มาช่วย งานหมอ หลายอย่าง เลย หมอ ทำไม่เป็น ไปแล้ว
อาทิเช่น งาน ซักประวัติ ตรวจร่างกาย แทง medicut เจาะเลือด เอาไปตรวจ การทำแผล การเย็บแผล ไม่รู้ว่า รวมไปถึง การทำคลอดปรกติ ด้วย หรือเปล่า ครับ

แล้ว เราคิดว่า นศพ ควรที่จะ มาเรียน จาก พยาบาล เหรอ ทำไม อาจารย์ หมอ ไม่พอ หรือ ไม่มีเวลาสอน หรือ ยังไง

แน่นอน หากเป็น งานของพยาบาลเองแท้ แล้ว นศพ ไปเรียนจากเขา ผมจะไม่ว่า อะไรเลย

และ ผม คิดว่า พยาบาล มีความรู้สึกที่ดี ที่ได้ สอน นศพ ไม่แปลก ครับแน่นอน ใคร อยากสอน ย่อมรู้สึกดี ที่ได้สอน ครับ

แต่ คนละเรื่อง กับ งาน ถ้า ไม่อยากทำ แต่ ต้อง จำใจ ทำ เช่น พยาบาล ใน รพช ถาม จริงๆ เภอะ มีใคร บ้าง อยาก ทำหน้าที่ เย็บแผล สั่งการรักษา ที่อีอาร์ อยากทำคลอดเอง เดี่ยวๆ ใน ห้องคลอด รพช

( เดี๋ยว นี้ หมอ ทั่วไป ยัง ไม่กล้า ทำคลอด ใน รพช เลย กลัวถูกฟ้องกันจะตาย ลองไปถาม ห้องคลอด ใน รพช บางแห่งที่อยู่ใกล้ หาดใหญ่ ว่า มีทำคลอด เดือน ละ กี่คน )

ส่วน ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล และ แพทย์เวร หรือ แพทย์เจ้าของไข้ ต้อง รับผิดชอบ ในกรณี ที่ เกิด ความ เสียหายในตัวคนไข้ จากคำสั่งการรักษาของหมอ ( แต่ให้พยาบาล ทำแทน ) อยู่แล้วการเป็น หัวหน้าที่ดี ต้องไม่ทิ้งลูกน้องเวลา มีภัยมา

ยกเว้น งานนั้นเป็นหน้าที่ของพยาบาล โดยตรง เช่น อาบน้ำเด็กแรกคลอด แต่ เปิดน้ำร้อนมากเกิน จนลวก

ส่วน ในบาง ระบบของประเทศอื่น ที่เขาให้ พาราเมด ใส่ท่อ หรือทำ initial resuscitation ก็เพราะ เขา มีการเทรน คนเหล่านี้ มาก่อน และ เขาก็ไม่ได้ ให้ นศพ ไปเรียนการทำ initial resuscitation จาก พาราเมด นี่ครับ

ส่วนการเร่งผลิต พบาบาล 80000 คน นี่ก็เป็นเรื่องที่ดี ครับ แต่ ดูท่าทางจะ มีปัญหา ในการกระจาย พยาบาล ลงไป ชุมชน เหมือนกับ การเร่งผลิตแพทย์ แล้ว หวังว่า แพทย์ จะ กระจายไปตามโรงพยาบาล ชุมชนได้เอง

แล้ว ถ้า คิดว่า จะเร่งผลิตแพทย์มากๆ โดยการให้ไปเรียน จาก พยาบาล เภสัช ทันตะ หรือ ไปเรียนใน รพช ก็ น่ากลัวนะครับ เพราะ แค่ เร่งผลิตแพทย์ จาก รพ ศุนย์ของกระทรวงสาธารณสุข ก็ยังมีเสียง ท้วงติงมาจากทั่วประเทศ ว่า

บาง รพศ. มีแพทย์ไม่ครบทุกสาขาเลย เช่น ไม่มีหมอดมยา ไม่มีหมอพยาธิ ไม่มีหมอเอกซเรย์ อีกหน่อย นศพ อาจจะต้องเดินเรียน เหมือน นักเรียน ชั้น ม 4 บาง โรงที่ห้องเรียน ไม่พอ


Posted by : guru , Date : 2007-02-17 , Time : 12:20:09 , From IP : 203.114.125.20

ความคิดเห็นที่ : 36


   ผมไม่แน่ใจว่า การแทง IV ถูกบรรยายว่าเป็นงานและหน้าที่ของแพทย์เท่านั้นอย่างที่คุณ guru ว่ามานะครับ เพราะผมเชื่อว่างานแทง IV นี่ พยาบาลทั่วประเทศเป็นคนทำมาหลายสิบปีแล้วคุณ guru กำลังบอกว่าการแทงน้ำเกลือไม่ได้อยู่ใน competency ของสภาการพยาบาลหรือครับ ผมคิดว่าอยากจะขอดูหลักฐานสักนิด

แต่ คนละเรื่อง กับ งาน ถ้า ไม่อยากทำ แต่ ต้อง จำใจ ทำ เช่น พยาบาล ใน รพช ถาม จริงๆ เภอะ มีใคร บ้าง อยาก ทำหน้าที่ เย็บแผล สั่งการรักษา ที่อีอาร์ อยากทำคลอดเอง เดี่ยวๆ ใน ห้องคลอด

คำถามนี้เรื่อง "ความอยากทำ" มีความหมายว่าอย่างไรครับ? เราจะใช้ referendum หรือ สถิติในเรื่องนี้มาช่วยการอภิปรายของเราอย่างไร? จะมีคนที่ "ภาคภูมิใจ" ในการทำงานที่คุณ guru บรรยายมาหรือไม่ครับ? ผมคิดว่าเรื่องความรู้สึกนี่ เรารู้ดีที่สุดก็คือของเราเองเท่านั้น และไม่สามารถรู้ของคนอื่นได้ น่าจะเป็นการยากมากที่จะ judgementall attitude ว่าคนอื่นเขาคิดอะไรอยู่ ถ้าเรา exercise judgemental atittude มากๆ เราจะเลยไปถึงไม่เข้าใจ และละเมิด autonomy ของผป. เอาง่ายๆ เพราะเรา "คิดว่า" เรารู้ว่าเขาคิดอะไรอยู่ เขารู้สึกอะไรอยู่

ผมมั่นใจว่าพยาบาลจำนวนมาก ทั้งใน ม.อ. เอง และ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง) มี competency เหลือเฟือที่สามารถสอนการแทงน้ำเกลือแก่ นศพ. (พยายามรักษาประเด็นไม่ให้ปลิ้นออกไปนอกเรื่องน่ะครับ) แน่ๆ และการห้ามไม่ให้พยาบาลสอนการแทงน้ำเกลือแก่นักศึกษาแพทย์นี่ ไม่มีเหตุผลอะไรมาสนับสนุน

และผมเชื่ออีกเช่นกันว่า บรรดาหมอๆที่จบมาไม่รู้กี่สิยกี่ร้อยรุ่นในประเทศไทย ได้รับการสอน การแนะนำ จากพยาบาลมาตั้งแต่สมัยเป็น นศพ. และแม้กระท่งจบแล้วเหมือนกัน คุณ guru ไม่เคยเรียนอะไรจากพยาบาลเลยหรือครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-17 , Time : 12:46:46 , From IP : 124.157.217.114

ความคิดเห็นที่ : 37


   การเรียนการสอนในระบบการแพทย์ การสาธารณสุข ของเรานั้น ใช้หลัก ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา และ เมตตา กรุณา ซึ่งผมว่า work ดีมากๆมาแต่ไหนแต่ไร ถ้าเมื่อไรก็ตาม มันลดลงไปกลายเป็น job description ผมว่าระบบกำลังเลื้อยลงเหว

ผมยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรคือ "เหตุผลหลัก" ที่คุณ guru ว่า "แม้พยาบาลจะแทง IV เก่งกว่าหมอก็ตาม ก็ยังสมควรให้เรียนจากหมอมากกว่า"

ไม่ใช่ performance-based
ไม่น่าจะใช่ job description-based เพราะ คุณ guru ให้นักศึกษาแพทย์สามาระไปเรียนกับเภสัช ทันตะ ได้ และผมไม่คิดว่าสอนนักศึกษาแพทย์ elective อยู่ใน job description ของเภสัช ทันตะ โรงพยาบาลชุมชนด้วย
ไม่น่าจะเป็น "ความชอบ ไม่ชอบ" ของคนสอน เพราะ มีทั้งสองแบบ แถมที่จะให้หมอเป้นคนสอน ก็ไม่เห็นถามความชอบเลยว่าอยากหรือไม่อยากสอน

และผมไม่คิดว่าประชาชนในประเทศไทย อยากจะฟัง "เรื่องไม่จริง" จนเราเอา อะไรมาเปิดเผย เพราะการที่พยาบาลเป็นคนแทงน้ำเกลือนั้น มีใครอีกหรือครับในประเทศนี้ที่คิดว่าไม่ใช่งานที่พยาบาลทำได้ และทำได้ดีมากๆด้วย

แน่นอน หากเป็น งานของพยาบาลเองแท้ แล้ว นศพ ไปเรียนจากเขา ผมจะไม่ว่าอะไรเลย

มีคนคิดด้วยหรือครับว่า ณ ขณะนี้ ทุกครั้งที่พยาบาลแทงน้ำเกลือให้ผู้ป่วย กำลังคิดว่านี่ไม่ใช่งานของฉัน นี่มันงานหมอชัดๆ ทำไมฉันต้องมาแทงน้ำเกลือให้คนไข้ด้วย? คุณ guru ลองยกตัวอย่างงานที่พยาบาล "ทนทำ" ทั้งๆที่ไม่ใช่งานพยาบาลเพิ่มอีกหน่อยได้ไหมครับ ตอนนี้ที่มีใน list ได้แก่ งาน ซักประวัติ ตรวจร่างกาย แทง medicut เจาะเลือด เอาไปตรวจ การทำแผล การเย็บแผล ไม่รู้ว่า รวมไปถึง การทำคลอดปรกติ ผมคิดว่าน่าสนใจครับ ที่แพทย์มองว่าอะไรเป็น/ไม่เป็นงานของพยาบาล



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-17 , Time : 17:13:06 , From IP : 222.123.138.155

ความคิดเห็นที่ : 38




   ขอเสนอความเห็นะครับอาจารย์
หมอก็เหมือนคนที่น่าจะเข้าใจทุกระบบในโรงพยาบาลเข้าใจสภาพการทำงานทุกส่วนไม่ใช่เพราะเราเหนือกว่าแต่เพราะเราต้องรับผิดชอบมากกว่า การเรียนรู้จากใครย่อมมีประโยชน์วันยังคำ เพราะแม้จะผิดเราก็รู้แม้จะถูกเราก็รู้ เหมือนเวลาไปฟังเลคเชอร์ ถ้าเราอ่านไปก่อนกรู้ว่าอาจารย์พูดมีความน่าเชื่อถือระดับไหน a b c d เห็นเค้าทำอะไรก็เก็บไว้ในใจได้ เรามีปัญญาย่อม แยกแยะอะไรถูกผิด


Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-18 , Time : 11:30:19 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 39


   ขอบคุณที่เพิ่มความเห็นเข้ามาครับ คุณ cabin_crew

ผมเคยเขียนบทความ "ใครคือ "ครู" แพทย์ ไว้ ณ ที่หนึ่ง ใจความรวมก็คือ แพทย์นั้นเรียน (และต้องเรียน) จากมากมายหลายแหล่งความรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สิ่งจำเป็นที่ตามมาก็คือที่คุณ cabin_crew ว่ามาคือ วิจารณญาณ ดังนั้นเราถึงได้พิจารณาว่าระดับนศพ.นี้เป็น adult learner นั่นเอง

หลักสูตรอุดมศึกษานั้น เป็นหลักสูตรสำหรับ adult (andragogy) จะต้องมีสัดส่วนของ self-directed learning ที่พอเหมาะด้วย และข้อสำคัญคือ adult หรือ mature student นั้น สามารถจะ exert self determination, judgement, attitude ในการเรียนให้ประสบความสำเร็จ

ยกตัวอย่างเช่นฟังบรรยายจบ สาระวิชานั้นคงจะไม่จบในเฉพาะที่บรรยาย มิหนเซ้การบรรยายอาจจะเป็นการจุดประกายให้ศึกาต่อด้วนตนเองเสียด้วยซ้ำไป เพื่อให้นักเรียนฝึกการค้นคว้า การ appraise องค์ความรู้ การ elaboration และการถ่ายทอดได้

คำว่า "ใคร qualified จะเป็นครูให้แพทย์" นั้น กลายเป็น symantic จริงๆแล้วคนไข้ทุกคนเป็นครูแพทย์ พ่อแม่ของ นศพ. ก็เป็นครูแพทย์ ครูโรงเรียนมัธยมก็เป็นครูแพทย์ และเพื่อนร่วมงาน พยาบาล เภสัช ทันตะ นักสิทธิประโยชน์ ฯลฯ ก็ qualified ที่จะเป็นครุแพทย์ทั้งสิ้น ส่วนตำแหน่ง "อาจารย์แพทย์" นั่นเอาไว้ใช้เป็นทางการว่าเป็นครูที่โรงเรียนแพทย์จ้างมาโดยตรง แต่รับรองว่าไมได้มา monopolize ในการเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนแน่ๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-18 , Time : 12:25:30 , From IP : 124.157.220.78

ความคิดเห็นที่ : 40


   ที่ผมต้องการจะสื่อก็คือ
นศพ ยังไม่มีความรู้มากพอ ที่จะรู้ว่า อะไร ถูกท่แท้จริง หรือ อะไร ควร ไม่ควร กับ สถาณการณ์ การให้ไปดูคนที่ ทำงาน ในสภาพ ขาดแคลนและ ไม่พร้อม อาจจะไม่เหมาะนัก ( ไม่ได้ห้าม แต่ หากมีคนที่พร้อม มากกว่า ก็น่าจะมาเป็นคนสอนแทน )
อาทิเช่น
พยาบาล ใน รพช บางแห่ง ( ไม่อยากบอกว่ามาก หรือ น้อย ) ชอบ ดันยอดมาดลูก เพราะ มีความเชื่อว่า ช่วยให้ คลอดได้ จริง หรือ ไม่จริง ครับ นศพ ปี 4 ผ่านวอร์ด สูติ มาแล้วหรือยัง ไปดู พยาบาลทำแล้ว ก็คลอดมาได้ คุณจะสอน นสพ ว่าอย่างไร ครับ

หมอดมยา หลายคนที่ผมรู้จัก แทง น้ำเกลือเก่ง พอๆ กับ พยาบาล( หรือ มากกว่า หรือเปล่า ไม่แน่ใจ ไม่อยากให้ พยาบาล มาเดือดร้อน ในเรื่องนี้ )
ทำไม เรา ไม่ให้ อาจารย์ หมอ มาสอน + ทำหัตถการ การให้สารน้ำ ในหุ่น สัก10 ครั้ง แล้ว เมื่อผ่านเกณท์ เราค่อยให้ คุณวุฒิ นศพ ( ลงใน สมุด ลอกบุ๊ก ก็ได้ ) ไม่ ดีกว่า เหรอ ครับ

ถูกต้อง คนทุกคน สามารถ เป็น ครุแพทย์ได้ คนกวาดถนน ก็สามารถ เป็น ครูแพทย์ ในการสอน ให้ กวาดอย่างใร ถึงจะสะอาด
คนเข็นเปล ก็สอนได้ว่า เข็นอย่างใร เลี้ยว อย่างใร
อย่าปนกันกับ งานรักษา ของหมอ ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-18 , Time : 19:00:37 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 41


   ผมว่า นศพ. หลายคนที่เดียวมีความสามารถจะหา guideline ต่างประเทศดีๆมาปรับใช้ คนรอบข้างผมหลายคนทำได้....และทำได้ดีด้วย อย่าประเมินกัตำเกินไป และที่โรงพยาบาลชุมชน ยำนะครับ ชุมชน คนที่เก่งสุดไม่ใช่อาจารย์แพทย์ที่เก่งสุด แต่เป็น แพทย์ primary care ที่เก่งสุด..........คิดว่าจะทำอย่างไรในสถานการณืที่จำกัด ...นั่นสิมันส์ เพราะมันต้องใช้มากกว่าความรู้.......... harrison ทุกคนอ่านออก แต่ ไม่ทุกคนที่ adapt ได้
ครั้งหนึ่งมีพี่ถามผมว่าติดเชื้อชนิดนี้จะ manage อย่างไร ผมตอบว่าให้ cephalosporin ชนิดกิน....แล้วกลับบ้าน...........ผมตอบผิดทั้งๆที่มันเป็น คำตอบที่ถูกที่สุดตาม guideline แต่เพราะโรงพยาบาลชุมชนไม่มี พี่สอนผมว่า ........ บางครั้ง รพ.ศูนย์ อิดออด ที่จะรับ refer เราต้องคิดเองหาทรัพยากรที่พอมีมาจัดการเอง พี่ก็บอกชนิดของ atb อีกตัวและ Mx แบบ inpatient ให้ดู....สามวันถัดมาคนไข้กลับบ้าน..... ผมว่าพี่เค้าไม่ได้สอบผมอ่าน guideline เพราะผมอ่านออกแต่เค้าสอนผมเรื่องการใช้ ศิลปในวิชาชีพแพทย์ ......ไม่ใช่แพทย์บางคนที่ผมเคยพบ.....ไปออก หน่วยเคลื่อนที่ที่อนายมัยแห่งหนึ่ง แล้วตวาด สาธารณสุขว่า "ชั้นมาทั้งทีทำไมไม่จัดหาอะไรให้พร้อมสำหรับชั้น ....... ประมาณว่าเจ๊แกอยากได้ยาตัวนึงที่ต้องผสมกรดชนิดหนึ่ง แต่ มก.ไม่ตรงตามใจแก......ผมว่าเจ๊แกโง่นะ ........... โง่ทั้งชีวิตแพทย์ที่คิดเรื่องง่ายๆไม่ออก .....(ไม่อยากอธิบายเพราะผมคิดออกก่อนแก)และก็โง่ที่ไปตวาดเพื่อนร่วมงาน ...โง่แบบ ไม่น่าเชื่อเลย ผมมีโอกาสได้ถามเรื่องแกอีกทีก็พบว่าแกจบจากสถาบันมีชื่อแห่งหนึ่ง ระดับเกียรตินิยมเลย....แต่แกไม่มีเพื่อนซักคน และที่แกต้องลงมานี่เพราะแกอยากได้ชลบุรีแต่จับฉลากพลาด แก เลยวีนไปทั้งหมด.....

ผมคิดว่าครูที่ดีที่สุดของนศพ.ต้องมีความเป็นกลางและไม่ใจแคบ อีกทั้งไม่ประเมินค่าคนอื่นตำเกินไป

การรักษาของหมอสอนกันไม่ได้เลย เพราะอะไร ........ หมอมักมีความมั่นใจในตัวเองสูง และมักสร้างวิธีการรักษาในแบบของตัวเอง(theme หลักคงคล้ายๆกัน)


Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-18 , Time : 19:45:31 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 42


   หมอดมยาคงจะเป็นหมอที่แทง IV เก่งที่สุด (โดยเฉลี่ย) ในบรรดาหมอทั้งหมด แต่กำลังจะสื่ออะไรครับ?

ว่าอาจารย์วิสัญญีแพทย์ควรจะเป็นผู้สอนแทงน้ำเกลือเท่านั้นรึเปล่า?

แต่ที่คุณ guru พูดมาทีแรกไม่ได้เป็นอย่างนี้นะครับ คุณบอกว่า "หัตถการบางอย่าง นี้ พยาบาล ทำเอง บางที ยังเก่งกว่า หมอบางคนเสียอีก แต่ เราก็ยังต้องให้ หมอเป็นคนสอน นศพ เองดีกว่า จะให้ พยาบาล สอน นะครับ" อันนี้ไม่เกี่ยวกับเก่งหรือไม่เก่งแล้ว เป็นเพราะเหตุผลอะไร? นั่นคือสิ่งที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่ใช่ไหมครับ

นศพ ยังไม่มีความรู้มากพอ ที่จะรู้ว่า อะไร ถูกท่แท้จริง หรือ อะไร ควร ไม่ควร กับ สถาณการณ์
นั่นคือทำไมเราถึงมี "คนคุม" ยังไงล่ะครับ รับผิดชอบโดย คนที่มีใน ว. (หมายเหตุ เป็นวิธีการเรียกเพื่อนร่วมอาชีพที่แปลกทีเดียว ไม่ทราบเหตุผลเหมือนกัน) และคุมโดยคนที่มีประสบการณ์ดีที่สุด ถ้าปล่อยให้ทำโดยไม่มีคนดู คนคุม คงจะเป็นอีกประเด็นอย่างสิ้นเชิง

และถ้าถึงแม้ นศพ. จะยังไม่มีเทคนิกที่ดีมาก่อน แต่การที่อาจารย์แพทย์จะมีทัศนคติต่อนักเรียนแพทย์ว่า "ไม่รู้อะไรถูก อะไรควร ไม่ควร" นี่ผมว่ามีปัญหาอีกเยอะครับ เรากำลังพูดถึงว่าที่บัณฑิตแพทย์ ที่ชั้นคลินิกนั้น เขาสามารถไปซักประวัติ ตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้ว ไม่ใช่เด็กมัธยม

ผมเห็นด้วยครับว่าคุณ guru ไม่ควรบอกว่าพยาบาลที่มี practice ผิดนั้นมากหรือน้อย เพราะผมคิดว่าถ้าบอกออกมาคงจะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และเรื่อง malpractice นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เราสามารถจะ generalize ให้วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งแน่นอน เรามีแพทยสภา พยาบาลก็มีสภาพยาบาล คงจะเป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่งที่เราจะ stereotype จากประสบการณ์เพียงเล็กน้อยของเราว่าวิชาชีพใครไม่ได้ standard และที่แน่ๆก็คือ เขามี standardครับ และสูงด้วย ถ้าคุณ guru ได้มีโอกาสดูการสอนพยาบาลใน รพ.ของเราเองนี่แหละ และเป็น "องค์รวม" มากกว่าเราเสียอีก ในเรื่องของการดูไปถึงครอบครัว ความเป็นอยู่ ฯลฯ

ผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการทำซ้อมแทง IV ในหุ่นเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้? ยังไงๆเราไม่สามารถ substitute การแทง IV ในหุ่นกับของจริงแน่ๆ ใครก็ตามคิดว่าเทคโนโลยีจะมาชดเชยทดแทน doctor-patient relationship ได้จริงๆนั้น เป็นไปไม่ได้หรอกครับ และการที่ไปฝึกกับผู้ป่วย undersupervision โดยคนที่มีประสบการณ์นั้น ผมคาดหวังจะให้เห็น ปฏิสัมพันธ์จริง ระหว่างที่พยาบาลแทงน้ำเกลือกับผู้ป่วย กับญาติด้วย สิ่งเหล่านี้มาฝึก fake กับหุ่น ลง logbook แล้วบอกว่าผ่านแล้วนั้น ไม่จริงหรอกครับ ของจริงจะต่างจาก standardised model เยอะมาก

คุณ guru ยังไม่ได้ขยายความว่า รที่ทำให้คุณ guru คิดว่า งานแทงน้ำเกลือเป็นงานของหมอ และไม่ใช่งานของพยาบาล เลยนะครับ นี่เป็นต้นเรื่องของเรา (รึเปล่า?) จริงๆคุณ guru ให้รายการอื่นๆที่น่าสนใจพอๆกัน เช้น การซักประวัติ ตรวจร่างกาย การทำ normal labour การเย็บแผล ทำแผล ที่บอกว่าไม่ใช่งานของพยาบาล ถ้าจะอธิบายไปพร้อมๆกัน เราอาจจะได้เข้าใจที่มาของ diversity ตรงนี้ได้ดีขึ้นครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-18 , Time : 23:08:12 , From IP : ppp-124.120.224.227.

ความคิดเห็นที่ : 43


   คุณ cabin_crew ครับ

ผมไม่ comment เรื่องอื่นยกเว้นเรื่องเดียวคือการแสดงมุมมองต่อเพื่อนร่วมอาชีพ (ในอนาคต) ของคุณในที่สาธารณะแบบนี้ ผมคิดว่าไม่เหมาะสมครับ คนที่กำลังมีอารมณ์ และตกอยู่ภายใต้อำนวจของอารมณ์ครอบงำนั้น จะมีความด้อยในการแสดงออกได้ แต่ไม่ได้แปลว่าตัวตนจริงๆของเขาเป็นอย่างไร

ผมอยากจะเรียนให้ทราบว่าถ้าเรา ตัดสินคนๆหนึ่ง อย่างง่ายดาย เหมือนกับว่าเรารู้จักเขามาทั้งชีวิต ทั้งๆที่เราอาจจะอยู่กับเขามาแค่ไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งเป็นแค่เศษเสี้ยวของชีวิตเขานั้น มีโอกาสสูงที่จะตัดสินผิดครับ และการเชื่อมโยงว่าใครเป็นอย่างไร เพราะอะไรนั้น ยิ่งเราได้ยิน ได้ฟังมาอีกที มาแต่เปลือก แต่เราสามารถสรุปได้อย่างมั่นใจนั้น ยิ่งเป็นอันตราย อันตรายต่อตัวเราเองในการฝึก judgemental attitude ครับ ของแบบนี้ทำบ่อยๆมันติดตัว และในอาชีพแพทย์นั้น การด่วนตัดสินคน (หรือตัดสินวิชาชีพ) โดยประสบการณ์ส่วนตัว โดยความเห็นส่วนตัว โดยอารมณ์ เป็นทางนำไปสู่การ ไม่เคารพใน autonomy ของผู้ป่วย ยิ่งเป็นความเสี่ยงสูงสุด และทำลาย doctor-patient relationship ได้โดยง่าย เวลาคุณแสดงความเห็นกับเพื่อนร่วมอาชีพแบบนี้ คนฟังตรงหน้าอาจจะไม่แสดงออกอะไร แต่ในใจเขา "กลัว" คุณมากเลยก็เป็นได้

ผมคิดว่าถ้าเราได้ประสบการณ์ว่าอะไรไม่ดี นำมาปรับปรุงตัวเราครับ นำมาเป็นตัวอย่าง (ทีดี หรือที่จะไม่ทำตาม ก็มีประโยชน์ทั้งคู่) แต่พยายามหลีกเลี่ยงการ ตัดสินคุณค่าของคน เพราะความเป้นคนนั้นซับซ้อน เราเห็นอะไรๆเพียงผิวเผินด้านนอกเป้นส่วนใหญ่ แต่เราติดนิสัยฟันธงตัดสินคนมากเกินไป



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-18 , Time : 23:20:01 , From IP : ppp-124.120.224.227.

ความคิดเห็นที่ : 44


   อาจารย์ครับถ้าอาจารย์ไปกะผมแวบแรกที่พี่หมอคนนั้นด่าเจ้าหน้าที่อนามัย อาจารย์คิดยังไงครับ

Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-19 , Time : 02:06:34 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 45


   ก่อนแน ผม คงต้องบอก ก่อนว่า การที่ผมเรียกว่า คนที่มีใบ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ว่า ใบ ว. นั้น เป็นเพราะว่า การไม่มี ใบ นี้ ทำงาน อะไร ไป นี้ ผิดกฏหมาย ครับ

ใบนี้ คนที่มี อาทิเช่น หมอ พยาบาล ทันตะ เภสัช แม้แต่ วิศวกร ( อะไรที่มี สภา ของตนเอง เช่น สภาการพยาบาล.... จะมีใบ นี้ ครับ

แต่ ที่ ชมรม หมอ อนามัย( จนท สาธารณสุข ) ที่ ทำงานใน ทุกวันนี้ ก็ ไม่มีใบ ว. เขา ก็ออกมาเรียกร้อง การตั้ง สภา ของตนเอง และ มีการโต้แย้ง กันมากมาย ( ใคร อยากรู้ ไปดูกันดอง ที่ เวบ หมออนามัย แล้วกัน )

ที่ผมเรียกแบบนี้ ไม่ได้มีเจตนา ดูหมิ่น เพื่อน ร่วมวิชาชีพแพทย์ เพราะ คนที่ อยู่ใน รพช . บางคน อาจจะ เป็น รุ่นน้องผม นับ สิบปี ที่ผมเคยไปสอนเขา หรือ บางคน อาจเป็น รุ่นพี่ผม หลายสิบปี บางคนอาจจะ เคยสอนผมทำหัตถการมาแล้วก็ได้

การที่เรา ใช้คน ที่ไม่มี กฏหมายรองรับให้ไปทำงาน ( ต่อหน้า และ ลับหลัง ) นี่ ไม่ รู้สึก อะไร กันเลย เหรอ ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-19 , Time : 13:27:51 , From IP : 203.114.124.168

ความคิดเห็นที่ : 46


   ผมเห็นบางคนก็ผ่านเกณฑ์กันมั่วๆนี่ครับขนาดสอบใบประกอบโรคศิลปขั้นที่1 ยังมีโพยเลย

Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-19 , Time : 15:03:58 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 47


   ที่ คุณฟีนิกส์ ยกตัวอย่าง คำพูด ของผม มา ว่า "หัตถการบางอย่าง นี้ พยาบาล ทำเอง บางที ยังเก่งกว่า หมอบางคนเสียอีก " อัน นี้ ผม ก็ขอบอกว่า ผม แปลมาจาก คำพูด ของ คุณฟีนิกส์ เอง นะครับ จาก

"" บ่อยครั้งที่พยาบาลเหล่านี้ สอนแพทย์ที่พึ่งจบใหม่ ทำหัตถการเสียด้วยซ้ำ พยาบาล OR ต่างจังหวัดที่สามารถเป็นทั้งส่งเครื่องมือ และช่วยผ่าตัด สามารถสอนหมอใหม่ทำผ่าตัดบางชนิดได้ด้วยซ้ำไป ""

ผมเอง ไม่เถียงว่า พยาบาล บางคนที่มี ประสพการณ์มาก และ ช่างสังเกตุ ช่างจดช่างจำ มี ความสามารถ ทำงานเลียนแบบ ได้เหมือน หมอ ( บางคน )
แต่ การให้ เขา มาสอน ผ่าตัด ได้ หรือ เปล่า นี่ ผม ไม่แน่ใจ

คนใน ชนบท บ้านเราบางคน ติดการได้น้ำเกลือ กินยาบำรุงให้มีแรง ( ก็เลยชอบให้น้ำเกลือ )
ส่วนคนในเมือง บางคน อยากสวยแบบผอมเพรียวลม หมอบางคน ก็เลยได้ที อยู่ในเมือง ก็ทำยาลดความอ้วน ( ให้ทั้งๆที่ ยังไม่อ้วน )

ใน วันอาทิตย์หน้า 4 ทุ่ม ช่อง 9 มีตอน ผีบ้าแห่ง อมก๋อย
เป็น คนที่ ผมว่า ไม่ได้ จบวิชา เกี่ยวกับทางแพทย์ หรือ สาธารณสุข แน่ๆ แต่ ในบทนำ หนังตัวอย่าง เห็น คนๆนั้น เดินทาง ไปตามดอยต่าง ๆ และ ฉีดยาให้เด็ก ( ที่ต้นแขน ) ในรูป เท่ห์ มากเลย เอาปากกัดปลอกเข็มฉีดยาแล้ว ดึงเข็ม + ไซรินจ์ มาแทงต้นแขนเด็ก ทำเอา นึกถึง หนัง สงครามเวียดนาม

ผมคิดว่า ตอนนี้ น่าดูชมครับ



Posted by : guru , Date : 2007-02-19 , Time : 18:05:42 , From IP : 203.188.46.174

ความคิดเห็นที่ : 48


   กำลังจะบอกอะไรหรอครับ guru พูดตรงๆดีกว่า

Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-19 , Time : 18:18:15 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 49


   ก็ อยากจะบอกว่า การเรียนของหมอ นั้น ไม่ใช่ อยากจะผลิต แบบ ปริมาณ อย่างเดียว แต่ ก็ต้องมีคุณภาพ ด้วยครับ

คณะแพทย์ ไม่ใช่ เรียนแบบ กวดวิชา อัดเทป จากกรุงเทพ ส่งมาเปิดในห้องแถว ที่หาดใหญ่ เสร็จ แล้วก็ ท่องไปสอบ วงๆกันเข้าไป

การเรียนแพทย์ ต้องมีการฝึก ปฏิบัติ ที่ ทำให้ ทั้ง คนไข้ ไม่รู้สึกว่า ตัวเอง เป็นเพียง โจทย์ให้ นศ มาหัดทำ

ไม่เช่นนั้น ต่อไป จะไม่มี คนไข้ มาให้ นศ เรียน อีกเลย ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-19 , Time : 18:52:57 , From IP : 125-25-4-111.adsl.to

ความคิดเห็นที่ : 50


   ขอบคุณครับคุณ guru และผมก็คิดว่า selective ก็ตอบโจทย์ที่คุณพูดมาไดเหมือนกันจริงมั๊ยครับ

Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-19 , Time : 22:07:54 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 51


   ผมไม่ค่อยเข้าใจในกระทู้หลังๆว่าจะสื่อเรื่องอะไรกันแน่ มีการออกนอกประเด็น และใช้ตัวอย่างที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องต้นเท่าไร

เข้าใจว่าเราเริ่มต้นที่มีพยาบาล (มีใบประกอบ) สอน นศพ. แทงน้ำเกลือ ควร/ไม่ควร? เรายังอยู่ตรงนี่กันอยู่หรือไม่ เพราะราสามารถจะยกตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลยที่ไม่ควร เช่น ให้เด็กประถมมาสอนแทงน้ำเกลือเป็นเรื่องไม่ควร ฯลฯ

พยาบาลที่ช่วย "แนะนำ" ผ่าตัดใน รพช. มีจริงๆแน่ๆครับ และช่วยคนมานักต่อนักแล้ว แน่นอนเขาไม่ใช่มือหนึ่ง แต่การที่เขาเป็นมือสองมานานมาก คนที่เคยเข้าผ่าตัดจะรู้ดีว่าการที่มี "มือสองเก่งๆ" นั้น มันไม่ต่างกับมีอาจารย์ช่วยผ่าตัด มีหลายครั้งที่พยาบาลนี่แหละช่วยหมอมือใหม่ที่เหงื่อตกให้ได้มาหลายครั้งแล้ว อย่างน้อย ถ้าไม่กล่าวขอบคุณตอนนั้นดังๆเพราะเขิน เพระศักดิ์ศรีอะไรก็แล้วแต่ แต่อย่าให้ถึงกับปฏิเสธมาทีหลังเลยครับว่าไม่มี หรือว่าไม่ควรมี ผมไม่ชอบการเป็น political correctness ถ้าคนเคยช่วยสอน ผมก็เรียนว่าสอน คนที่เชี่ยวชาญกว่า ถ่ายทอดวิธีให้คนที่ด้อยประสบการณ์กว่า จะเรียกให้ผิดเพี้ยนไปอย่างไร มันก็คือ การสอน อยู่ดี และมันเป็น ความจริงครับ ผมไม่ทราบว่าการจะปกปิดความจริง ทีเป็น practice มาหลายสิบปีจะช่วยอะไรได้บ้าง ใน mentality ของคนรับข่าวสาร แต่การที่เรามีคนที่ฝึก เชี่ยวชาญ และเป็นผุ้ช่วยที่มีประสิทธิภาพแล้วนั้น อย่างน้อยที่สุดเป็นมารยาทที่ดีที่จะ recognise อย่างตรงไปตรงมาว่าเขามีส่วนช่วย สอน ทั้งหมอ และ นศพ. มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ทั้งที่ในโรงพยาบาลอย่างศิริราชเอง จุฬาเอง หรือ รพช. มีพยาบาลช่วยสอนหัตถการเหล่านี้แน่ๆ

การที่บอกว่าพยาบาลเลียนแบบหมอ รวมมาถึงการแทงน้ำเกลือนี่ ผมว่าเราคงต้องไปดูกันใหม่ไหมครับว่า เวลาพยาบาลเขาเรียนแทงน้ำเกลือ เขาเรียนจากใคร จากหมอ หรือจากอาจารย์พยาบาล และมีพยาบาลจากโรงเรียนพยาบาลไหน ที่ไม่เรียนการแทงน้ำเกลือเพราะคิดว่านี่ไม่ใช่งานพยาบาล? คุณ guru บอกเองว่า ถ้านักเรียนจะเรียนจากอะไรที่เป็นงานของพยาบาล ก็ไม่ว่าอะไร ตอนนี้ผมยังอยากให้คุณ guru ช่วยยืนยันอีกทีว่าในประเทศไทยเรานี้ พยาบาลไม่มีหน้าที่แทงน้ำเกลือและเป็นหน้าที่ของแพทย์เท่านั้น?

คำอธิบายเรื่องเรียกหมอว่าคนมีใบ ว.นั้น ไม่ได้มาจาก context พูดถึงคนที่ "ไม่มี" ครับ แต่คุณ guru กำลังพูดถึง "แพทย์ประเภทต่างๆ"
ผมไม่แน่ใจว่า คำว่าแพทย์ ในที่คณะ หมายถึง นี่ ตีความได้กว้าง แค่ใหน เช่น อาจารย์แพทย์ ที่ คณะ แต่งตั้ง หรือ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ หรือ แพทย์ใช้ทุน หรือ ใครก็ได้ที่มี ใบ เลข ว.
และถูกต้องครับ ใครก็ได้ที่มี ใบ เลข ว. หมายถึงหมอทุกคน ไมได้เกี่ยวกับคนที่ไม่มี และกำลังเรียกร้องว่าจะมี ไม่ได้อยู่ในบริบทที่กำลังพูดในขณะนั้นเลย



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-19 , Time : 23:04:03 , From IP : ppp-124.120.218.22.r

ความคิดเห็นที่ : 52


   ที่ผมต้องการจะบอก แต่ บางที คนอ่าน อาจจะ ไม่เข้าใจ ก็คือ ผมบอกว่า การที่ เรา ให้ นศพ ไปรียน กับ วิชาชีพอื่น นั้น ไม่เสียหาย หาก สิ่งที่ เขาสอนนั้น ถูกต้องสมบูรณื ทั้งทาง ทฤษฏี + ปฏิบัติ + ตามกฏหมาย

การที่ พยาบาล แทงน้ำเกลือ เย็บแผล ทำคลอด สั่งยา จ่ายยา เขียนใบเสร็จ รับเงินค่ารักษา ใน รพช. งานเหล่านี้ นอกเหนือหน้าที่ของพยาบาล ทั้งนั้น (ลองไปดูจาก สภาการพยาบาล ได้ครับ )

แต่ เราทำกันมา ก็เพราะ เป็น ธรรมเนียมที่ ทำภายใต้ การรับผิดชอบของหมอ และ ผู้อำนวยการ รพ นั้นๆ

หมายถึง ถ้า คนไข้ เป็นอะไร โดยพยาบาล ไม่เจตนา หมอก็รับไป เหมือน หมอดมยา ไม่มี พยาบาลดมยา ทำการให้ยาสลบ หมอคนผ่า ก็ต้อง รับผิดชอบในกรณี คนไข้ เป็นอะไรจากการดมยา

ส่วน ที่ผมเรียกคนที่มีใบ ว. ก็ไม่ได้ ต้องการจะแบ่งแยก แพทย์ประเภท ใดๆ เลย การมี ใบว.นี้ ก็เท่ากับ หมอ ทุกคนมี เกียติ และ ความรับผิดชอบ เท่ากัน คล้ายกับ การมี ใบขับขี่ ที่ ต้องรับผิดชอบเท่ากัน ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-20 , Time : 11:36:04 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 53


   กฎหมายมีทั้งลายลักษณ์อักษรและที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัตินะครับ ผมว่าคงไม่มีใครยื่นฟ้องพยาบาลที่แทนำเกลือหรอก กลัวอัยการจะขำกลิ้ง ....

ส่วนพยาบาลสั่งยา จ่ายยาอันนี้ไม่เคยพบมีแต่หมอให้ guideline ไว้ครับว่าถ้าคืนนี้คนไข้มีอาการแบบนี้ๆให้ยานี้ๆไว้ได้เลย

หมอต้องรับผิดชอบอันนั้นล้าน เปอร์เซนต์แต่ถ้าในขั้นตอนย่อยพยาบาลทำพลาด อันนั้นพยาบาลรับ เช่นหมอสั่ง k เข้มข้นเท่านี้เท่านั้นแต่พยาบาลเบิ้ลสองเท่าอันนั้ก็ตรงไปตรงมา



Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-20 , Time : 12:09:10 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 54


   การแทงน้ำเกลือ ถ้าเกิดเส้นแตก แล้ว ฉีดยา แทนที่จะเข้าเส้น กลายเป็น บวมที่แขน หาก ยานั้น แรงๆ เช่น ยาเคโม เนื้อตาย ขึ้นมา ต้องตัดเนื้อที่อื่นมาปะ
จะขำไม่ออกนะครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-20 , Time : 14:48:07 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 55


   ขออนุญาต clarify อีกที ตอนนี้ถ้ามีคนฟ้อง รพ. ที่ให้พยาบาลแทงน้ำเกลือ แปลว่าโรงพยาบาลจะแพ้คดี และต้องจ่ายค่าเสียหายทุกคดี ถูกต้องไหมครับ? หรือพูดง่ายๆ การที่พยาบาลแทงน้ำเกลือผิดกฏหมายใช่หรือไม่ (ผมไม่คิดว่าการที่มีคนดูแล จะทำให้เรื่องผืดกฏหมายกลายเป็นถูกกฏหมายไปได้)

คำว่าถูกต้อง ไม่ใช่ absolute แน่ๆ ถ้าเป็นอย่างนั้นแปลว่าเราไม่ได้เอาบริบทมาคิดเลยแม้แต่น้อย และ ถูกกฏหมาย ถูกต้อง ถูกจริยธรรม ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าชอบหรือไม่ มีคนฟ้องหรือไม่ พยาบาลจำนวนมากก็ยังแทงน้ำเกลือ และสอนแทงน้ำเกลือกันอยู่ทั่วประเทศไทย

เพราะการผิดกฏหมายนั้น ไม่จำเป็นต้องรอมีผลเสีย ก็เรียกว่าผิดได้เลย เช่น นั่งรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับขี่มอเตอร์ไซด์ไม่ใสหมวกกันน็อค คำว่า "ตามธรรมเนียม" ไม่ได้เป็นเกราะป้องกันการผิดกฏหมายแน่ๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-20 , Time : 16:25:02 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 56


   ผมก็คงขำไม่ออกจริงๆแหละ guru เพรามันไม่ใช่เรื่องขำและใครทำใครรับ ถูกมั๊ย

ตามหลักกฎหมายนั้นถ้ามีการพิจารณาตามเจตนา พยาบาลจะไม่ผิดหรอกครับเพราะเจตนาดี คำว่าธรรมเนียมเนี่ย ผมจะหมายถึง.....เอ่อ อะไรนะครับอาจารย์ที่แปลว่าคนทั่วไปเค้าเข้าใจตรงกันน่ะครับ อาจารย์ช่วยแปลให้ที


Posted by : cabin_crew , Date : 2007-02-20 , Time : 17:45:17 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 57


   ที่ผม เคยได้ รับรู้มา ก็คือ วิชา selective
จุดประสงค์ คือ ไป เรียนรู้ การทำงานในด้าน สาธารณสุข ชุมชน
ไม่ได้เน้น การรักษา หรือ หัตถการ ทักษะในการปฏิบัติ อาทิเช่น เย็บแผล ทำคลอด ทำหมัน อะไรทำนองนี้ นะครับ

แต้ถ้า ใครได้ทำ โดยมีผู้ควบคุมที่เก่ง ผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ ก็ไม่น่าจะเอามา พูดกันมากเกินไป เพราะ เมื่อเกิดเรื่องเสียหาย คนที่เดือดร้อน ก็ คือ นศพ รุ่น ต่อไป นั่นเอง ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-20 , Time : 19:15:49 , From IP : 203.114.98.185

ความคิดเห็นที่ : 58


   ถ้ามีการผิดกฏหมายเพราะ "การสอน" คงจะมี something very wrong เกิดขึ้นในระบบแน่นอนครับ

แพทย์มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่างมากมายในโรงพยาบาล แต่งานทุกอย่างที่แพทย์รับผิดชอบนั้น ถูกทำโดย "ได้รับมอบหมาย right man (or girl) to the right job" แพทย์ไม่ได้เป็นคนทำบัญชีเอง ไม่ได้เข็นเปล ปรุงยา ทำฟัน ฯลฯ เอง

ถ้ามีคนในประเทศนี้เห็นพยาบาลแทงน้ำเกลือโดยไม่มีแพทย์คุม แล้วชี้บอกว่าผิดกฏหมาย คงมีไม่กี่คน และอาจจะหายากกว่าก็คือ หมอจบใหม่จะบอกพยาบาลที่มีประสบการณ์เรื่องการแทงน้ำเกลือ ว่าคุณไม่มีสิทธิ์ทำการแทงน้ำเกลือ เพราะมันผิดกฏหมาย คุณห้ามไปสอนใครด้วยเพราะมันผิดกฏหมาย

The way things are ในปัจจุบันนี้ไม่มีคนเดือดร้อนเลยครับ มันเป็นมาด้วยดีมาเป็นสิบเป็นร้อยปี จนกระทั่งมี political correctness มาใช้

คำ "กฏหมาย" และคำ "ตามธรรมเนียม" สองคำนี้ไม่น่าจะหักล้างความหมายกันได้ ของที่ผิดกฏหมาย แต่ปรากฏว่าถ้าทำกันตามธรรมเนียมแล้ว OK คงจะมีช่องว่างในการคิดกันมากพอสมควร แต่ถ้าจะเกิดเรื่องราว หรือปัญหาขึ้น ก็ต่อเมื่อมีคนคิดจะ apply wierd laws หรือ rules แบบนี้ขึ้นมาเท่านั้นเอง

สิ่งที่จะมี impact มากกว่าก็คือ จะเลยเถิดไป จนเราไม่ recognise ว่าวิชาชีพยาบาลได้ทำอะไร ได้สอนอะไร ได้ช่วยอะไร ให้แพทย์ไปบ้าง อันนี้น่ากลัวกว่าเยอะครับ ความหมายของการทำงานเป็นทีมนั้น อาศัย ความไว้เนื้อเชื่อใจ มากๆ ถ้ามีคนสอนเรา แล้วเราไม่สามารถจะพูดในที่สาธารณะว่าคนๆนี้สอนเรา มีบุญคุณต่อเรา กระทั่งประกาศออกมาว่าที่ทำๆกันนั้นผิดกฏหมาย แล้วความไว้เนื้อเชื่อใจจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? เราจะสามารถกตัญญูคนที่สอนเราได้อย่างไร ถ้าแค่พูดถึงก็ไม่ควรแล้ว?



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-20 , Time : 20:23:47 , From IP : 124.157.183.163

ความคิดเห็นที่ : 59


   ผมว่า คุณ ฟีนิกส์ อาจจะไปกันใหญ่ ถึงเรื่อง กตัญญู เรื่อง คนเดือดร้อน ฯลฯ

ที่ผม อยากจะบอกก็คือ คนสอน ต้องแน่ใจ ใน สิทธิ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความรับผิดชอบ ของตนเอง ก่อน แล้ว ถึงจะไปสอน คนอื่นได้

ผมเคยอ่านหนังสือ " ผมกะศัลย์ " เขียนโดยหมอศัลย์ใช้ นามปากกา หมอรุจน์ ว่า มี นักศึกษาแพทย์ปี 6 ไปอยู่ รพ จังหวัดหนึ่ง ตรวจ หญิงปวดท้องน้อย ขวา สงสัยใส้ติ่ง ปรึกษาสตาฟ แล้ว ให้ ปรึกษา สูติก่อน แล้วเอาคนไข้ไปผ่าตัดได้ สุดท้าย ไม่ใช่ใส้ติ่ง ยังดีที่มีหมอสูติ อยู่ใกล้ๆ ตามมาช่วยทำต่อได้
นี่ขนาดเป็น เอกเทอร์น อยู่ใน รพ .ใหญ่ นะครับ

คราวนี้
ผม สงสัย กรณี ผอ รพช + หมอ คนหนึ่งที่ รพช ทำผ่าตัดใส้ติ่ง หรือ ทำหมันก็ได้ ดดยการบล๊อกหลัง หรือ ฉีด เคตาลาร์ ทำมาหลายครั้ง ไม่เคยมีปัญหา หาก จะให้ นศพ ทำ แล้วเกิด มีปัญหา.... ขึ้นมา ลองนึกภาพดู นะครับ



Posted by : guru , Date : 2007-02-21 , Time : 15:18:41 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 60


   ผมเห็นด้วยว่าเราสองคนมองเรื่องนี้เรื่องเดียวกัน แต่คนละด้านมาตั้งนานแล้วครับ เราถึงได้ไม่เห็นด้วยซึ่งกันและกันไงละครับ ทั้งความสำคัญ มุมมอง ผลกระทบ ฯลฯ

แน่นอนครับ เห็นด้วยอีกเช่นกันว่าคนสอนควรจะ "พร้อม" ถึงจะสอนได้ ซึ่งไม่ได้อยู่ในประเด็นที่เราไม่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้

ถ้าพูดถึง competency นั้น คงจะจบไปตั้งนานแล้วครับ และการ assign เพื่อ empowerment staff ในโรงพยาบาล ของประเทศไทยนั้น เราไม่ต้อง confirm กันทุกเวร หรือทุกเช้าแล้วว่า พยาบาลจะขอแทงน้ำเกลือมให้คนไข้หน่อยนะคะ

แน่นอนครับ clinical judgement นั้น ต่างจาก manual skill บทบาทของ "แม่ทัพ" ย่อมแตกต่างจาก "ทหารเอก" คน make decision ก็ "รับผิดชอบ" ไป แต่คนๆนั้นเป็นเรื่องสมควรครับ ที่จะ acknolwedge ว่าทหารเอกขแงตนนั้นสามารถเพียงไร มีบุญคุณเช่นไร และที่สำคัญ จนถึงปัจจุบัน ได้ช่วย ได้สอน ได้มีส่วน empower แม่ทัพตั้งแตยังเป็นทหาร เรียนเสนาธิการ และจบมาเป็นนาย อย่างไร

เคยชมภาพยนต์ The Officer and The Gentleman ไหมครับ Richard Geer เล่น เป็นทหารหนุ่มฝึกเพื่อเป็นนายทหาร ถูกฝึกเข้ม โดยจ่าทหารธรรมดาๆ จนตอนจบ พระเอกได้ติดยศ ติดกระบี่ แม้กระทั่งจ่าทหารต้องตะเบ๊ะนายทหารหน้าใหม่ แต่เขาก็ยอมรับในทีว่านี่แหละคือ ครูของเขา และใครๆก็รู้ครับว่า จ่าทหารน่ะ ช่วยฝึกนายทหารมานักต่อนัก กี่รุ่นต่อกี่รุ่น ไม่มีการมา จุ จุ อย่าเอ็ดไป อย่าพูดไป อย่ามาพูดกันว่าพยาบาลไม่ได้สอนหมอมาก่อน นี่คือเหตุผลที่ผมพูดถึงเรื่องความกตัญญู และความสำคัญของความสัมพันธ์รระหว่างวิชาชีพครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-21 , Time : 19:15:10 , From IP : 124.157.183.163

ความคิดเห็นที่ : 61


   ผมไม่เข้าใจเหมือนกัน...........ทำไมผม เพื่อนผม(บางคน)รู้สึกไม่เท่ห์ เวลาที่พี่พยาบาลมาสอนผม

หรือผมได้รับการสอนจากพี่พยาบาลน้อยเกินไป ทำให้ไม่ชิน :D

ผมสังเกตเอาเองว่า พยาบาลในรพ.ใหญ่ๆ มักไม่ค่อยชอบสอนหมอเด็กๆ แต่พยาบาลในรพ.เล็กๆ ชอบสอนหมอเด็กๆ (อันนี้ไม่มีข้อมูลยืนยัน แต่จากประสบการณ์ตรง(อันน้อยนิด)ล้วนๆ)

.......ผมถามอาจารย์ นิดนึงครับ(อาจไม่ค่อยเกี่ยว) สนับสนุนหรือไม่ ที่

1.จะให้ Extern(อาจรวมถึง Intern) ฝึกผ่าตัด(appendicitis, C/S )กับ พี่พยาบาล OR มือเก๋า มือสองOR ทำงานมา 20 ปี

2.จะให้หมอเด็กๆ ฝึกแทงน้ำเกลือกับพยาบาลมือเก๋า ที่แทงน้ำเกลือมากว่า 30 ปี

ผมคิดไปคิดมาชักฟุ้งซ่านไปเองครับ เมตตาด้วยครับ....


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2007-02-21 , Time : 22:42:33 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 62


   สำหรับข้อหนึ่ง การ explor. lap. นั้น ไม่เพียงแต่พยาบาล แต่หมอทั่วไปยังไม่ควรทำเลยครับ เกณฑ์ตอนนี้ก็คือให้ refer ไปหาศัลยแพทย์ เพราะไส้ติ่ง หรือ C/S นั้น pre-operative diagnosisไม่การันตี อุบัติการณืการเปลี่ยน prognosis สูง และ C/S นั้นเสี่ยงต่อชีวิตแม่และเด็กด้วย แต่ผมบอกได้อย่างหนึ่งก็คือ ถ้าหมอใหม่จับพลัดจับผลูไปเจอ appendicitis หินๆขึ้นมา ขณะอยู่ รพช. มีพยาบาลประสบการณ์อย่างนั้นสักคนจะมีส่วนช่วยให้หมอเอาคนไข้ออกมาอย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้นแน่ๆครับ

ข้อสองผมไม่ขัดข้องอะไรครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-21 , Time : 23:05:41 , From IP : 124.157.183.163

ความคิดเห็นที่ : 63


   ผมเองไม่ได้ บอกว่า อย่าไป เคารพครู หรือ คนที่เคยสอนเรามานี่ ครับ แต่ เราต้องแยกแยะ หน้าที่ และ งานที่ทำกัน และ

หมอเอง ต่อให้ จบไป วันแรก ไป รพช ผมว่า ก็สอนพยาบาล ได้ ทุกคน เช่น สอนการCPR สอน แนวทางการ รักษา เจ็บครรภ์ ก่อนกำหนด ว่า ต้องมี การหดรัดตัวของมดลูกนานกี่นาที กี่ครั้ง ต่อ 10 นาที ฯลฯ แล้วถ้าให้ยา ต้อง ติดตาม การเต้นของหัวใจยังไง

แม้แต่ รพ ใหนที่มี เครื่อง อุลตร้าซาวนด์ ผมว่า สอนให้ พยาบาล เอามาดูหัวใจเด็กในท้องว่า ยังเต้น หรือเปล่า เด็กอยู่ท่าใหน หัว หรือ ก้น

ผมว่า เรื่องแบบนี้ หมอจบใหหม่ สอนให้ พยาบาล ได้แน่ๆ ครับ

ส่วน ใครจะหวัง ให้ ศิษย์ รู้บุญคุณ แค่ใหน ผมว่า อย่าไป คาดหวังมากเลยครับ หวังมาก ก็อาจจะผิดหวังมาก ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-22 , Time : 09:30:10 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 64


   ผมไม่ได้หวังให้ นศพ. มีความกตัญญูเพื่อตัวผมเองครับ ที่ผมหวังให้คนเรามีความกตัญญูนั้น ก็เพื่อตัวเขาเอง ของบางอย่างถึงแม้เราเป็นคนให้ เป็นคนทำ แต่ตัวเราเองที่เป็นคนได้ ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี นั้นมีความหมายลึกซึ้ง มันเป็นรากฐานของสังคมที่อยู่ด้วยกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย และถายทอดความปราถนาดีนี้ไปยัง generations ต่อๆไป ยิ่งเรานึกถึงผู้มีพระคุณบ่อยเท่าไหร่ จะเป็นสิริมงคงต่อตัวเราเองครับ ไม่ได้เป็นสิริมงคลต่อผู้มีพระคุณหรอก ฉะนั้น เวลามีคนท้วงเรื่องกตัญญูนัน้ ผมว่าน่าจะรับฟังเพื่อประโยชน์ของตนเอง มากกว่าคิดว่าเขาท้วงเพราะเขาอยากได้ สุดท้ายคนที่จะผิดหวังถ้าไม่กตัญญูกตเวทีนั้น ไม่ใช่คนที่หมั่นช่วย หมั่นสอนคนอื่นหรอกครับ เป็นอีกคนนึงมากกว่า

การเป็นครู ไม่ได้เป็นการ monopoly ครับ แล้วแต่บริบท เราสามารถ list รายการที่เราเป็นคนสอนได้ยาวแค่ไหน เราก็สามารถ list รายการที่เราต้องไปเรียนรู้ได้ยาวยิ่งกว่า เพราะว่าในช่วงชีวิตหนึ่งของเรานั้น เราใช้เวลาในการเรียน มากกว่าการสอนหลายเท่า

ผมอยากจะให้พวกเราทราบว่า ความรู้จากประสบการณ์นั้นประเมินค่ามิได้ หมอจบใหม่ จุดแข็งคือความรู้สด update แต่ผมว่าในความถ่อมตนว่าตนเองนั้นมีประสบการณ์น้อย จะส่งผลถึงเจตคติในการ อยากจะเรียนต่อไป มากกว่า คิดว่าชั้นจบหมอมาแล้ว ชั้นจะสอนอะไร สอนใครได้บ้าง ใครรู้น้อยกว่าฉันบ้าง

หมอจบใหม่อาจจะท่อง criteria fetal distress ได้เป็นฉากๆ แต่อาจจะคลำไปเจอ หาที่ฟัง fetal heart sound ไม่ได้ซะด้วยซ้ำไป บางคนสอนเรื่อง hypertension เรื่อง arrthymia เป็นฉากๆ แต่อาจจะคลำ diastolic pulse ไม่เจอ พันสายวัด BP งุ่มง่ามก็มี ผมไม่แน่ใจว่าในปัจจุบันนี้ หลายๆ รพ. มีเครื่อง ultrasound มาหลายสิบปีแล้ว ระหว่างหมอจบใหม่และพยาบาลห้อง ultrasound ใครจะเป็นคนสอนใคร การที่เราให้คุณค่า "ประสบการณ์" น้อยเกินไปนั้น ทำให้ประเทศชาติล้าหลังครับ เพราะประสบการณ์ เป็นขุม tacit knowledge ซึ่งกว่า 70% ขององค์ความรู้อยู่ในรูปนี้ ไม่ใช่ในรูป textbook หนังสือ ที่เด็กจบใหม่แบกมาจะสอนคนอื่นหรอกครับ

เมื่อมาถึงเรื่องที่ต้องใช้ประสบการณ์ psychomotor นั้น ไม่ได้อิง cognitive มากเท่าที่เราอยากจะให้เป็น อ่านหนังสืออย่างไรก็ไม่ทำให้ควง needle handle ได้ smooth เย็บแผลได้สวยงาม เรียบร้อย จนกว่า "ประสบการณ์" จะมาเติมความรู้ให้เต็ม



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-22 , Time : 10:52:36 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 65


   ผม ไม่ได้ บอกว่า นศพ จบแล้ว ห้ามไปเรียน ความรู้เพิ่มเติม จากคนอื่น นี่ครับ

ผมแค่ บอกว่า การสอน นศพ อาจารย์ที่เป็นแพทย์ ไม่มี.... ไม่พอ... หรือ ถึง ให้ นักศึกษาแพทย์ ไปเรียน กับ คนอื่น( ในภาระงาน ของหมอ เอง )

ขอย้ำว่า เป็น การสอน ไม่ใช่ การทำงาน หลังจาก ทำเป็นแล้ว เพื่อหาประสพการณ์ นะครับ
( ถ้าจะคิดว่า เป็นการสอน ก็อาจจะคิดได้ แต่ ผมคิดว่า เป็นการช่วยกันทำงาน หรือ ให้คำแนะนำ มากกว่า )

สอน ใน ความหมายผม คือ เด็ก นศพ ยังไม่มี ใบ ว.( ไม่มีสิทธิที่จะทำเอง ตามกฏหมาย ) ถ้า จะให้ ทำ อะไร ก็ตาม ต้องทำภายใต้ คนที่มี ใบ อณุญาติที่ ถูก ต้องการกฏหมาย
เช่นเดียวกันกับ คนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ มาทำงาน ใน ไทย ก็ต้องสอบให้ได้ ใบ ว. ก่อน ถึงจะมา ทำการรักษา ผ่าตัดในไทย ได้

ยิ่งเป็นการ สอน เด็ก นักศึกษา นศพ
ไม่น่าทำอะไร ที่เป็นตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องให้เด็กเห็น ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-22 , Time : 13:43:36 , From IP : 203.114.96.42

ความคิดเห็นที่ : 66


   ผมคิดว่าประเด็นใครเป้นผู้รับผิดชอบโดยตำแหน่งนั้นไม่ใช่ประเด็นขัดแย้งตั้งแต่เริ่มต้นกระทู้แล้วนะครับ

ประเด็นที่ขัแย้งคือ การนับอะไรเป็นการ "สอน" รู้สึกจะชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ

มีคำๆหนึ่ง political correctness เป็นการเรียกอะไรสักอย่าง for the sake of wording เท่านั้น เรียกนกว่าวิหค เรียกคนสอนว่าคนแนะนำ เรียกความมีเมตตากรุณาว่าทำตามหน้าที่

แต่การที่เรามีความเห็นด้าน ความเชื่อมโยง ไม่ตรงกันนี้เอง ทำให้เราเห็น "ความสำคัญแตกต่างกัน คนละมิติ"

ผมคิดว่า อะไรก็ตาม ที่ทำให้เกิดอุปสรรค ในการตระหนักถึงคุณค่า ถึงความเมตตากรุณา ระหว่างคน ไม่ว่าจะเป็นการห้ามเรียกสอนว่าสอน ให้เรียกสอนว่าแนะนำ ให้เรียกการสอนว่าทำตามหน้าที่ให้เด้กดู หรือทำตามหน้าที่ให้ผู้ด้อยประสบการณ์ดู นี่แหละเป็น political correctness และเป็นอุปสรรคในการที่เราจะ appreciate ส่งต่างๆอย่างที่มันเป็น

พี่ resident ทำผ่าตัดกับน้อง resident ก็เป็นการช่วยกันทำงานรึเปล่า อาจารย์ทำผ่าตัดกับแพทย์ใช้ทุนเป็นการสอน แต่พยาบาลประสบการณ์ช่วยแพทย์มือใหม่ทำ incisional biopsy ที่ รพช. เป็นการช่วยกันทำงานเฉยๆ สิ่งเหล่านี้แหละครับ ที่ผมคิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการกตัญญูรู้คุณคน

อีกหน่อยคงมีแต่หมอที่สอนชาวบ้าน ส่วนที่พยาบาลแนะนำจะเรียกว่าทำตามหน้าที่เท่านั้นหรือไม่?

ในโรงเรียนแพทย์ที่ไหนๆก็ตาม เราตอบกันเองได้ไหมครับว่า ใครเป็นคนใกล้ชิดในการจะให้ psychomotor ด้าน basic care ได้มากกว่ากัน นักเรียนแพทย์ 180 คนที่ ม.อ. ต่อชั้นปี นศพ. 220 ตน ที่ศิริราช หรือเกือบสองร้อยที่จุฬา รามา ในสถานการณ์แบนี้ เรายังต้องใช้ "คำแนะนำตามหน้าที่" จากพยาบาลอาวุโสผู้มีประสบการณืตอไปอีกนานเท่านาน จะเรียกว่าสอนไหม? ผมว่าแล้วแต่ จริต ของแต่ละคนก็ได้กระมัง

เวลามีคนบอกวิธีทำอะไรที่ผมทำไม่เป็น ทำไม่ชำนาญ ผมเรียกการ "บอก" นั้นว่าสอนครับ ผมไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ ที่จะบอกว่าได้เรียนจากคนไข้ เรียนจากญาติคนไข้ เรียนจากคนงาน เรียนกจาพยาบาล เพียงเพราะคำว่า "สอน" มันผิด political correctness เท่านั้น

ผมไม่เคยได้ยิน defintion ของการสอน ว่าคือ "สอน ใน ความหมายผม คือ เด็ก นศพ ยังไม่มี ใบ ว.( ไม่มีสิทธิที่จะทำเอง ตามกฏหมาย ) ถ้า จะให้ ทำ อะไร ก็ตาม ต้องทำภายใต้ คนที่มี ใบ อณุญาติที่ ถูก ต้องการกฏหมาย ผมสงัสัยว่าตามความหมายนี้ มีคน share และใช้ความหมายนี้สำหรับคำๆนี้มากน้อยแค่ไหนในการเรียนการสอนแพทย์

เมื่อสักครู่ พึ่งไปราวน์ palliative care กับอาจารย์อาวุโสภาคสูติ เรายังเห็นตรงกันว่าเราสามารถ "เรียน" จากคนไข้ จากญาติคนไข้ จากพยาบาล ตลอดเวลา และทุกวัน เหนือไปกว่านั้น ทุกวันที่อาจารย์แพทย์สอนๆกันอยู่นี้ บางที นักศึกษาแพทย์ก็สอนอาจารย์ไม่น้อยเหมือนกัน อันนี้ไม่ใช่ "ภาระหน้าที่ นศพ." ที่จะสอนอาจารย์ แต่ผมว่าการเป็นอาจารย์แล้ว ไม่ทราบว่าตนเอง "ได้เรียน" จากนศพ. มากกว่าบางที นศพ. เรียนกจากเราเสียอีก ก็จะน่าเสียดายอย่างยิ่ง

ในด้าน psychosocial เอย basic หัตถการเอย ผมแนะนำน้อง นศพ. อย่างนี้ครับ พวกคุณจะไปแอบสังเกต "การทำงานตามหน้าที่" หรือจะไป "ขอเรียน" มันจะมีผลต่อ relationship มีผลต่อมุมมมองเพื่อนร่วมงานของน้องๆไปตลอดชีวิต ขอให้เลือกดีๆก้แล้วกัน





Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-22 , Time : 17:33:31 , From IP : 222.123.101.85

ความคิดเห็นที่ : 67


   รู้สึกว่า คุณฟีนกส์ จะจับ คำพูดผม ไม่ตรง หลายเรื่องนะครับ

ในที่นี้ ผม พูดว่า นศพ ไม่ควรถูกสอน โดยพยาบาล
แต่ สอนโดย อาจารย์แพทย์( งานของหมอ )

เพราะ คนสอนที่ยังไม่มี กฏ ระเบียบ รองรับ ทำแบบนี้ มันไม่ถูก แต่

คุณฟีนิกส์ บอกว่า พยาบาลแก่ประสพการณื สอนหมอเด็กๆ ยังได้เลย ดังนั้น สอน นศพ ก็ได้

ผมว่า มันออกจะ ยกความจริง อย่างหนึ่ง มาสรุป อีกอย่างหนึ่ง
แต่ ถ้าหาก หมอคนที่ จบมาแล้ว มีใบ ว. มาขอให้พยาบาลสอน ผมไม่ว่า อะไรเลย ใครอยากสอนก็สอนไป



Posted by : guru , Date : 2007-02-22 , Time : 19:13:38 , From IP : 125-25-20-246.adsl.t

ความคิดเห็นที่ : 68


   ผมคิดว่าเนื้อหาไม่ได้ออกไปนอกความหมายที่ชี้แจงมาเลยนะครับ

พยาบาลที่มีประสบการณ์นั้น "สามารถ" และ "ได้" สอนทั้งหมอและ นศพ. มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว

ผมเรียนการแทงน้ำเกลือจากพยาบาลครับ ตอน นศพ. ตอนที่ศิริราชมี นศพ. 180 คนต่อปรเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว และผมขอบพระคุณคนสอนอย่างยิ่ง และเขาเป็นพยาบาลครับ

ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละครับ ที่ชัดเจนที่สุด

การสอน นศพ. นั้น ผมคิดว่ามีคนจำนวนมากควรจะสอน นศพ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขามีความสามารถ "เกินพอ" ที่จะสอน และมีคนจำนวนพอสมควรครับ ที่ไม่ได้รู้สึกว่า "พยาบาลไม่ควรสอน นศพ." เพราะ กฏระเบียบ

นศพ. สามารถดิ้นรนขวนขวายเรียนจากคนที่มีความรู้ ความสามารถ จำนวนมาก ที่ไม่ได้จำกัดวงเฉพาะแพทย์แน่ๆ อาจารย์นั้น ไม่ได้ monopolize การสอน นศพ. และไม่ได้เป็น "ครูแพทย์" กลุ่มเดียว

ในการดูแลผู้ป่วยนั้น งานพยาบาลเป็นงานที่น่าสนใจ มีค่า และมีประโยชน์อย่างยิ่ง และถ้า นศพ. คนไหน สนใจที่จะเรียนและได้เรียนสิ่งเหล่านี้จากพยาบาล เขาจะเป็นหมอที่ดีมากๆ

ปัญหามันเริ่ม blur ตั้งแ นศพ. เรียนจากเภสัชได้ เรียนจากทันตะได้ (ไม่ทราบกฏมหาวิทยาลัยอะไรกำหนดไว้อย่างนั้น) เพราะ ความเหมาะสม แต่ปรากฏว่า ไม่ควรเรียนจากพยาบาล

สาเหตุที่กฏไม่ได้บอกว่าควรจะเรียนกับใครบ้าง เพราะมันเยอะมากครับ ถ้ากฏจะมี ก็บอกว่า "ไม่ควรจะเรียนกับใคร" ก็จะดูแปลกมากๆ วิชาแพทย์นั้นเป็นวิชาที่ "ว่าด้วยชีวิต" ครับ หลายๆแง่ หลายๆประเด็น อาจารย์แพทย์อาจจะไม่ qualified ที่จะสอนเสียด้วยซ้ำ เพราะมีคนที่เหมาะสมกว่า

ในยุคปัจจุบันที่ knowledge management เป็นแบบนี้ ผมว่าออกจะจำกัดตนเองอย่างมากเลยทีเดียว หากจะบอกว่าคนที่ "ควร" สอนนักศึกษาแพทย์ คืออาจารย์แพทย์ หรือหมอเท่านั้น (ทำไมเภสัช และทันตะด้วย???) พยาบาล มีศักดิ์ศรีอะไรต่างจากหมอ เภสัช ทันตะ ถ้าเราจะไปเรียนในวิชาที่เกี่ยวกับการพยาบาลเหล่านั้น?

หัวหน้า ward 843 ทั้งชายและหญิงที่ศิริราชนั้น อย่าว่าแต่ นศพ. เลยครับ แม้แต่แพทย์ประจำบ้านก็สามารถสอนได้ และจริงๆใน holistic conference อาจารย์แพทย์ก็ยังเชิญพยาบาลมาช่วยกรุณาให้ความเห็นเสียด้วยซ้ำ การจะเป็นแพทย์องค์รวมได้นั้น เราต้องดิ้นรนขวนขวายเรียนจากทุก source ทีมีโอกาส มิฉะนั้น มันก็ไม่มีทางหรอกครับที่จะเข้าถึง bio psychosocial and spiritual

ครูแพทย์นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะอาจารย์แพทย์แน่ๆครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-23 , Time : 01:07:51 , From IP : 222.123.101.85

ความคิดเห็นที่ : 69


   คุณฟีนิกส์ ไม่เข้าใจ ผมเลย หรือ ครับ ผม บอกว่า งานของหมอ คนสอนก็ควรเป็น อาจารย์แพทย์

หรือ คุณคิดว่า พยาบาล สอนทำคลอดกัน ได้ ก็ สอน นศพ ให้ ทำคลอด Normal Labor ได้ อย่าง นั้นเหรอ

แล้วสมมุติ มีคนที่ ทำCircumcision ได้ จะ เชิญมา สอน นศพ ใน คณะแพทย์ เลย ใหม ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-23 , Time : 13:20:55 , From IP : 125-25-3-94.adsl.tot

ความคิดเห็นที่ : 70


   จากที่คุยมา ผมว่า "เราทั้งสองคน" แหละครับที่ไม่เข้าใจประเด็นของอีกฝ่าย

อาจารย์แพทย์มีอะไรสอน นศพ.เยอะ ไม่ได้เถียงเลย และเป็นหน้าที่ด้วย ในขณะเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรที่ นศพ. ควรจะเรียนรู้จากคนอื่นๆ รวมทั้งพยาบาลด้วย

อย่าไปปลิ้นถึงหัตถการที่ exaggerate ครับ เราเริ่มกันที่แทงน้ำเกลือ และผมก็ยังอภิปรายอยู่บนการแทงน้ำเกลือ (จะเอาทำแผลด้วยอีกซักอย่างก็ได้ เช่น dry dressing, simple wet dressing) ไม่ได้พูดถึงทำคลอด หรือทำ circumcision ที่จริงถ้า fix ประเด็นให้คงที่ อาจจะสิ้นสุดลงสั้นกว่านี้ก็เป็นไปได้ ถ้าจะยกตัวอย่างอื่นๆ เช่น explor. lap. craniectomy, LP etc เราก็คงจะไม่สิ้นสุดกัน เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่เรื่องเหล่านั้นเลย เป็นประเด็นใหม่อย่างสิ้นเชิง

งานของหมอนั้น เรียนจากคนได้หลากหลายคนมากเลยครับ ถ้าพิจารณาว่า health นั้นเป็น องค์รวม เรียนจากคนไข้ เรียนจากญาติ เรียนจากพระ เรียนจากครู หรือแม้กระทั้งเรียนจากเพื่อนๆ หรือถามตนเอง ศึกษาตนเอง ที่คุณ guru บอกว่า งานของหมอ คนสอนก็ควรเป็นอาจารย์แพทย์ นั้น ผมไม่เห็นด้วยทั้งหมด เห็นด้วยเป็นบางส่วนครับ

ยกตัวอย่าง clinical immersion ของเด็กปี 2 เราให้นักเรียนแพทย์ไปเรียนว่าชีวิตหมอ รพ.อำเภอ ทำอะไรกันบ้าง เด็กต้องไปเดินตามคนไข้ตั้งแต่ทำบัตรจนกระทั้งวัดความดัน ซักประวัติ เจอหมอ กลับออกมา ไปเอายา รับคนไข้ใน ตามพยาบาล PCU ออกหน่วยหมู่บ้าน ตามพยาบาลไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ discharge ไปอยู่ที่บ้าน ระหว่างนี้ถ้าไม่เรียนจากพยาบาล จะเรียนจากใคร? ในบริบทจริงคนทำงานก็คือพยาบาล เราอยากจะให้เขาเรียนตามบริบทจริง ใช่หรือไม่

คำว่า "งานของหมอ" เราอาจจะมีความหมายที่แตกต่างกันกระมัง? ที่เป็นสาเหตุของความต่างในความเห็น ผมไม่ได้แยกแยะขนาดขาวกับดำระหว่างงานหมอ งานพยาบาล OK มีบางส่วนที่เราทำเป็นฝ่ายเดียว อีกฝ่ายไม่ได้ฝึกโดยตรง ทั้งสองฝ่ายพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีงานอีกหลายอย่าง ที่เรา share ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกันได้ และช่วยเหลือกัน สอนกันได้ (คำว่า "สอน" หมายถึง "การบอกความรู้ที่อีกฝ่ายยังไม่รู้") คนที่รู้มากกว่าสอนคนที่รู้น้อยกว่า คุณ guru ยังเห็นด้วยเลยว่าเรื่องยา ไปเรียนกับเภสัชได้ เรื่องช่องปากจะไปเรียนกับทันตะก็ได้ ก็เรื่องการพยาบาลทำไมจะไปเรียนกับพยาบาลไม่ได้ล่ะครับ?

เรามี quality assurance ในเรื่อง verify ว่าใครเหมาะ/ไม่เหมาะ ในการทำงาน พยาบาลที่มีประสบการณ์นั้นมี competency ทางแทงน้ำเกลือสูงมาก (ถ้าเราเชื่อว่าประสบการณ์เสริม psychomotor) ดังนั้นด้านหัตถการการแทงน้ำเกลือ พยาบาลเหล่านี้ qualified ที่จะสอนครับ ส่วนใครจะไม่ยอมให้สอน เพียงเพราะเขาเป็นพยาบาล ผมว่าเขาก็คงไม่ไปเรียน แต่ถ้ามีใครยอมเรียนรู้จากพยาบาลเรื่องแบบนี้ การไปห้ามปรามนั้น ผมว่าเป็นเรื่องแปลก

ก็ถ้าเป็น "ความเห็น" เราก็คงต้องลงเอยที่ความเห็นที่แตกต่างกัน คงไม่มีใครสามารถเกลี้ยกล่อมอีกฝ่ายให้คล้อยตามได้ เราก็สามรถจะมีเหตุผลที่คู่ขนานไปแบบนี้ไปเรื่อยๆ เท่าที่อยากจะทำแหละครับ เวลามี "ความไม่เข้าใจ" นั้น มักจะเป็น mutual action ครับ ไม่งั้นคงเถียงกันไม่ได้



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-23 , Time : 14:36:06 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 71


   ผมก็ รู้สึกว่า คุณฟีนิกส์ ยังไม่เข้าใจ จริง ผม พูดว่าการเรียน เรา ต้องเริ่มจาก ทฤษฏี ที่ ถูกต้อง โดยละเอียดก่อน แล้ว ถึงให้ลงมือ ปฏิบัติ ที่อยู่ภายใต้ การควบคุมจาก คนที่ สังคมยอมรับ ไม่ใช่ ให้เรียนจากใครๆ ก็ได้

ผมเริ่มจาก การแทงน้ำเกลือ แต่ คุณฟีนิกส์ เอง นั่นแหละ ครับ บอกว่า พยาบาลเก่งๆ สอนหมอเด้กๆผ่าตัดได้ ผมก็เลย สงสัยว่า งานนี้ มันเป็นงานของหมอ หรือ พยาบาล กันแน่ ( งาน รักษา )

ส่วน เภสัช ทันตะ ผมว่า งานนั้น มันเป็นงานของเขา โดยตรง เราอาจเรียนน้อยกว่าเขา ( อาจจะ นะ ) ถึงไปเรียน จากเขาได้ ( เรียนจากคนที่จบมาและมีใบประกอบวิชาชีพ แล้ว นะ) สมัยเมื่อปีที่แล้ว เขาห้ามหมอจ่ายยาที่ คลินิกเอง ยังมีคนออกมาโวยวาย ว่า หมอ มีควมรู้ในด้านยา ไม่น้อยกว่า เภสัช เลย

พุโถง การแทงน้ำเกลือ ถึงอย่างใร หน้าที่นี้ ไม่ใช่ ของพยาบาล แน่นอน แต่ พยาบาล ทำให้หมอ จน คนบางคนทำเอง ไม่เป็นเสียแล้ว ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-23 , Time : 16:26:00 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 72


   ภาษาจิตเวชเรียก selective perception ครับ บริบทต่างกัน background ต่างกัน จึงคิดต่างกัน คนจึงต่างกัน มีความรู้สึก ความสัมพันธ์ต่อผู้ร่วมงานแตกต่างกันไป ความต่างตรงนี้ก็เป็น autonomy เหมือนกัน

สังคมของคุณ guru ไม่ยอมรับพยาบาลสอนแทงน้ำเกลือ และการแทงน้ำเกลือไม่ใช่หน้าที่ของพยาบาล

สังคมของผมนั้น ผมยอมรับพยาบาลสอนแทงน้ำเกลือ และผมมอง "การพยาบาล" นั้นเป็นงานทีมครับ หมอและพยาบาล "ช่วยกัน" ดูแลคนไข้ การเหลื่อมซ้อนนั้น ไม่ใช่การก้าวก่าย ไม่ใช่เรื่องที่ไม่สมควร ตรงกันข้าม เป็นการแสดงความประสานมากกว่า

สังคมของเราจึงต่างกัน แต่อยู่ในที่เดียวกันครับ และความต่างนี้ก็ยังคงอยู่ต่อๆไป และก็มีผลต่อระบบความคิดในมิติต่างๆด้วย

ที่ผมบอกว่าพยาบาลเก่งๆสอนผ่าตัดได้นั้น กำลังเน้นว่า ถ้าพูดถึง competency แล้ว คนที่ช่วยผ่าตัดมาเป็นสิบปีนั้น ก็เหมือนเป็นแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน "ฝึกทำ" มาเป็นสิบปีนั่นแหละครับ ในทางปฏิบัติจรงินั้น หมอผ่า และพยาบาลช่วย ช่วยไปช่วยมา ในการ "ช่วย" นั้น บางทีก็เหมือนสอนแหละครับ สมัยที่แพทยสภาอนุญาตหมอทั่วไปให้ทำผ่าตัดไส้ติ่งได้ พยาบาลชวนสอนหมอ extern intern ที่พึ่งจบมามากมาย ไม่ได้สอนตอนแรกหรอกนะครับ แต่หมอเป็นคน set ผ่าตัด จะทำเอง พยาบาลเป็นคนช่วย แต่สถานการณ์ทำให้เขาต้องยื่นมือมาช่วย "แนะนำ" จนสำเร็จก็เยอะ สำหรับผมนั้น คำว่า "แนะนำ" ผมใช้ "สอน" เพราะผมไม่คิดว่าคำนี้มี official political correctness ตามกฏหมายแต่อย่างใด ว่าอะไรเรียก "สอน" อะไรเรียก "แนะนำ"

งานที่ ไม่ใช่หน้าที่พยาบาลแน่นอน จะตามตัวหนังสือ หรือตามอะไรก็แล้วแต่ ผมคิดว่าพวกเราคง "เห็น" ว่าใครทำงานกันทุกวี่ทุกวัน ใช่ไหมครับ คณบดีหรือผอ. รพ.ไม่เคยด่าพยาบาลที่กำลังแทงน้ำเกลือว่าไม่ได้กำลังทำหน้าที่พยาบาลอยู่ ผมคิดว่า "สังคม" นั้นน่ารักและมองเห็นอะไรอย่างทีมันเป็น the way things are





Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-23 , Time : 18:41:20 , From IP : 222.123.42.64

ความคิดเห็นที่ : 73


   ถ้าจำไม่ผิด เคยมีเรื่องเข้าที่ประชุมกรรมการคณะฯ นานมาแล้ว เรื่องตำแหน่งพยาบาล และปัญหาในการบริการ หรืออะไรทำนองนี้แหละครับ (เอ... หรือเป็นสัมมนาคณะหว่า?)

ปัญหาก็คือ "พยาบาลไม่พอ" เราพยายามที่จะลดงานอะไรก็ตามที่สามารถใช้คนอื่นๆได้ ไม่ต้องใช้พยาบาล ในลักษณะนี้ การทำงานที่ไม่ใช่งานของตนเองนั้น เป็นอะไรที่ไม่พึงปราถนาอย่างยิ่ง

ถ้าผู้บริหารเห็นว่าพยาบาลกำลังทำงานที่ไม่ใช่หน้าที่อยู่ ก็คงจะต้องมีการปรับปรุงใหม่

แต่สงสัยว่าการปรับปรุงนี้จะรวมถึงการไม่ให้พยาบาลแทงน้ำเกลือ และมองหมายให้หมอมาทำแทน "ตามหน้าที่" หรือไม่?
=============================

ระบบความคิด จะมีผลต่อมุมมมองและการรับรู้ เวลาเราเดินๆไปเดินมาจากจุดหนึ่งๆไปจุดหนึ่งของ รพ. เราจะเห็นแต่ความต่อเนื่องวุ่นวาย แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีความภาคภูมิใจว่าคนของเราทำงานเหมือนมด ไม่มีใคร idle อยู่เฉยๆ หรือทำอะไรที่ไม่ควรทำ (ไม่ค่อย) ให้เห็นเลย

ถ้าเรา รับรู้ ว่า พยาบาลแทงน้ำเกลือไม่ใช่หน้าที่ ผมว่าการรับรู้จะทำให้เกิด รูปร่างของความคิดแบบหนึ่ง ทุกครั้งที่เราเห็น มอบหมาย ให้พยาบาลแทงน้ำเกลือ เรากำลัง order ให้คนทำงานนอกหน้าที่ทุกครั้ง ผมสงสัยว่าการรับรู้แบบนี้ เกิดขึ้นจริงหรือในบริบทจริง

พวกเรา "รู้สึก" อย่างไร เวลาเห็นพยาบาลแทงน้ำเกลือ ในหอผู้ป่วย OPD ER ICU รวมทั้ง OR เรากำลังใช้คนทำอะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ หรือว่าเราเห็นเพื่อนร่วมงานของเรา "ทำงาน" อย่างที่เขาทำได้ดีมาโดยตลอดกันแน่ การรับรู้นี้ จะมีผลต่อเจตคติในตอนทำงาน เพราะสิ่งที่พูดกันอยู่นี้ (แทงน้ำเกลือ) เกิดขึ้นทุกวัน มาเป็นเวลาไม่รู้ว่านานเท่าไหร่



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-24 , Time : 01:38:05 , From IP : 124.157.180.96

ความคิดเห็นที่ : 74


   ผมเอง ไปค้นเรื่อง
" พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 " มาให้ คุณฟีนิกส์ ดูนะครับ

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"วิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับ การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนซ์สัมผัส การแทงเข็มหรือการฝังเข็ม เพื่อบำบัดโรคหรือเพื่อระงับความรู้สึก และหมายความรวมถึงการกระทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยา หรือสสาร การสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกาย ทั้งนี้ เพื่อการคุมกำเนิด การเสริมสวย หรือการบำรุงร่างกายด้วย

• มาตรา 26 ห้ามมิให้ ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ แสดงด้วยวิธีใด ๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้
1. การประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กระทำต่อตนเอง

2. การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยตามศีลธรรมโดยไม่รับสินจ้างรางวัล แต่การช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวต้องมิใช่เป็นการกระทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย การแทงเข็มหรือการฝังเข็มเพื่อบำบัดโรคหรือระงับความรู้สึก หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณีแก่ผู้ป่วย

3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาของรัฐบาลสถาบันการศึกษาที่รัฐบาลอนุมัติให้จัดตั้ง สถาบันทางการแพทย์ของรัฐบาล สถาบันการศึกษาหรือสถาบันทางการแพทย์อื่นที่คณะกรรมการรับรอง ที่กระทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมวิชาชีพเวชกรรม หรือการประกอบโรคศิลปะภายใต้ความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด หรือผู้ให้การฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะ
........................................................................................................
และ เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2545

3.5 หัตถการที่จำเป็นหรือมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
3.5.1 หัตถการพื้นฐานทางคลินิก
เมื่อจบแพทยศาสตรบัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
• venepuncture
• capillary puncture
• intravenous fluid infusion
• injection : intramuscular, intradermal, intravenous, subcutaneous
• blood and blood component transfusion
• arterial puncture
..........................................................................................
พระราชบัญญัติ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พ.ศ.๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ วิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐


หมวด ๕
การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง

(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่ใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้ง หรือสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง ทั้งนี้ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด หรือผู้ให้การฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
.........................................................................................................

และ พรบ. การประกอบโรคศิลปะ ปี พศ. 2542

หมวด 4
การควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
---------------

มาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประกอบโรคศิลปะ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ
ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) การประกอบโรคศิลปะที่กระทำต่อตนเอง
(2) การช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา
โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความ
ควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพกำหนด
มาตรา 35 ห้ามมิให้ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาใดสาขาหนึ่งประกอบโรคศิลปะ
ในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต

หวังว่า อ่านแล้ว คงเข้าใจ นะครับ

ไม่ใช่ว่า ผมห้าม การแทงน้ำเกลือ ที่ พยาบาลทำ ที่ใน โรงพยาบาล ภายใต้ คำสั่งของแพทย์ เลยครับ
เพราะ แพทย์ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ การกระทำนั้น ทั้งหมด เช่น แทงแล้วเส้นแตก ฉีดยาแล้ว เนื้อตรงนั้นตาย เปิดเส้นไม่ได้ และ resucsitateไม่ได้จนเสียชีวิต ฯลฯ
หมอต้องรับไป คนเดียว เพราะ เป็นหน้าที่คุณหมอ แต่ เจือก ไปให้เขาทำเอง

แต่ ถ้าเห็นว่า สิ่งที่ คุณทำดีแล้ว ก็เชิญ ตามสบาย นะครับ
แต่ ผมจะไม่ช่วย โฆษณา การเรียน การสอนแบบ นี้ หรอก ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-02-24 , Time : 11:05:51 , From IP : 203.188.37.98

ความคิดเห็นที่ : 75


   ข้อไหนที่บอกว่าการแทงน้ำเกลือไม่ใช่หน้าที่พยาบาลนะครับ?

เนื่องจาก order การแทงน้ำเกลือนั้นชัดเจนว่าต้องมาจากแพทย์ แล้วใครเป็นคนทำ? ก็ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้แทง คือพยาบาล ใช่หรือไม่ ผมคิดว่าเราจบไปนานแล้วเรื่อง ใครเป้นคนรับผิดชอบ แต่เรา "มอบหมาย" ให้คนที่มี competency ทำ เป็นอย่างนี้มาโดยตลอดมา และเป็นระเบียบเรียบร้อยดีด้วย

หรือคุณ guru อ่านแล้ว คิดว่าเป็นมาตรานี้ครับ?

การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง

(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่ใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้ง หรือสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง ทั้งนี้ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด หรือผู้ให้การฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์


คำว่า "เว้นแต่" นั้น เพื่อให้คนที่ไม่ใช่พยาบาลทำการดูแลผู้ป่วยได้ ยกเว้นพวกที่เป็นหัตถการเฉพาะ เช่น ให้เคมีเข้าเส้น เราไม่อยากให้ "ญาติ" หรือ "care-taker" เป็นคนทำพวกนี้ (ส่วนสีน้ำเงิน) นอกเหนือกว่านั้น ทำได้ แม้แต่กฏหมายยังอนุญาตให้คนธรรมดาทำบางอย่างได้ตาม "ธรรมจรรยา" เลย

กฏหมายเปิดช่องให้แม้แต่คนธรมดา paramedic กระทืการช่วยเหลือผู้ป่วยตามสมควร จากมาตรานี้ ไม่ได้ทำใคนทำน้อยลง คือเฉพาะแพทย์ หรือพยาบาลเท่านั้น ถ้าเป็นการทำตามหน้าที่ กฏหมาย หรือธรรมจรรยา เช่น ลูกทำให้พ่อแม่ การทำ homecare ทำ palliative care ที่บ้าน มียกเว้นแค่ที่มี high risk บางอย่างเท่านั้น

และผมสงสัยว่าที่เราพูดมาทั้งหมดนี่ คุณ guru คิดว่าเป็นการแทงน้ำเกลือ ที่ไม่ใช่ตามคำสั่งแพทย์หรอกหรือครับ? จากที่บอกว่า
ไม่ใช่ว่า ผมห้าม การแทงน้ำเกลือ ที่ พยาบาลทำ ที่ใน โรงพยาบาล ภายใต้ คำสั่งของแพทย์

ไม่ทราบว่าทำไมคุณ guru ถึงคิดว่าผมหมายถึงพยาบาลอยู่ดีๆ ลุกไปแทงน้ำเกลือคนไข้เอง เราน่าจะ assume ว่าทุก order มาจากหมอทั้งนั้น และเมื่อหมอสั่ง เป็นหน้าที่ของพยาบาลที่รับคำสั่ง ใช่ หรือ ไม่ใช่ ครับ

ตกลงประเด็นพยาบาลทงน้ำเกลือตาม order ของหมอ เป็นหรือไม่เป็น "หน้าที่" นี่ จบแล้วใช่ไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-24 , Time : 14:36:07 , From IP : 124.157.180.96

ความคิดเห็นที่ : 76


   จากมาตราเดิม

การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง

(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่ใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้ง หรือสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง ทั้งนี้ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด หรือผู้ให้การฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์

จากข้อสามหมายความว่า พยาบาลสามารถสอนนักศึกษาที่ยังไม่ได้ประกอบวิชาชรพพยาบาลทำหัตถการเหล่านี้ได้ ถ้าอยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด แปลว่าถ้า ผอ. โรงพยาบาล ประเมินแล้ว พยาบาลวิชาชีพที่มีอยู่มใความสามารถ จึง "มอบหมาย" ให้ train น้องนักศึกษาพยาบาล หรือ ผู้รับการฝึกอบรม กฏหมายก็อนุญาต

ผมว่ายิ่งชัดเจนมากขึ้นตอนนี้ว่าพยาบาลทำอะไรได้บ้างนะครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-24 , Time : 14:44:23 , From IP : 124.157.180.96

ความคิดเห็นที่ : 77


   ไหนๆขยายความมา 2 ข้อ ขอแปลให้หมดเลยแล้วกัน

การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

หมายความว่า

ห้าม ชาวบ้าน กระทำการพยาบาล หรือผดุงครรภ์ หรือหลอกว่าเป็นพยาบาล หรือผดุงครรภ์ ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้

(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง

หมายความว่า

ชาวบ้าน ทำหารพยาบาล หรือผดุงครรภ์ตนเองได้

(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่ใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

หมายความว่า

ชาวบ้านอาจได้รับการยกเว้นให้สามารถให้การช่วยเหลือ หรือเยียวยาผู้ป่วย ตามหน้าที่ (เช่น เป็นลูก เป็นพ่อแม่ เป็น paramedic อื่นๆ เป็นผู้ดูแล เป็นต้น ที่ไม่ใช่พยาบาล หรือ ผดุงครรภ์) ตามกฏหมาย หรือตามธรรมจรรยา (เช่น เคยเป้นทหารอยู่เสนารักษ์ตอนไปสงคราม มาเจอคนไข้ที่สถานที่อุบัติเหตุ ด้วยความมีความรู้ ความสามารถ โดยธรรมจรรยา สามารถให้การช่วยเหลือ เพราะมีความเป็นมนุษย์อันประเสริฐ และสามมรถทได้) แต่มีข้อห้ามคือ ชาวบ้านที่ไม่ใช่พยาบาล หรือผดุงครรภ์ ไม่สามารถฉีดยา ให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ตามกฏหมายของยานั้นๆ (ตรงนี้แปลกลับง่ายๆก็คือ ถ้าเป็นพยาบาลหรือผดุงครรภ์ก็จะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้)

(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้ง หรือสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง ทั้งนี้ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด หรือผู้ให้การฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์

หมายความว่า

คนที่ไม่ใช่พยาบาลหรือผดุงครรภ์ และ ไม่ใช่ชาวบ้านทั่วๆไป แต่เป็นนักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาพยาบาล (ตรงนี้ผมว่าน่าจะรวมถึง นศพ. ซะด้วยซ้ำไป) สามารถได้รับยกเว้นในทำการพยาบาล หรือผดุงครรภ์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด (เจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัดคือใคร? อธิบายต่อในวรรคถัดมา ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์)

ไม่ทราบว่าผมแปลถูกไหมครับ หรือผมเข้าใจผิดตรงไหนบ้างครับ





Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-24 , Time : 18:08:47 , From IP : 124.157.180.96

ความคิดเห็นที่ : 78


   ไหนๆขยายความมา 2 ข้อ ขอแปลให้หมดเลยแล้วกัน

การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

หมายความว่า

ห้าม ชาวบ้าน กระทำการพยาบาล หรือผดุงครรภ์ หรือหลอกว่าเป็นพยาบาล หรือผดุงครรภ์ ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้

(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง

หมายความว่า

ชาวบ้าน ทำหารพยาบาล หรือผดุงครรภ์ตนเองได้

(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่ใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

หมายความว่า

ชาวบ้านอาจได้รับการยกเว้นให้สามารถให้การช่วยเหลือ หรือเยียวยาผู้ป่วย ตามหน้าที่ (เช่น เป็นลูก เป็นพ่อแม่ เป็น paramedic อื่นๆ เป็นผู้ดูแล เป็นต้น ที่ไม่ใช่พยาบาล หรือ ผดุงครรภ์) ตามกฏหมาย หรือตามธรรมจรรยา (เช่น เคยเป้นทหารอยู่เสนารักษ์ตอนไปสงคราม มาเจอคนไข้ที่สถานที่อุบัติเหตุ ด้วยความมีความรู้ ความสามารถ โดยธรรมจรรยา สามารถให้การช่วยเหลือ เพราะมีความเป็นมนุษย์อันประเสริฐ และสามมรถทได้) แต่มีข้อห้ามคือ ชาวบ้านที่ไม่ใช่พยาบาล หรือผดุงครรภ์ ไม่สามารถฉีดยา ให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ตามกฏหมายของยานั้นๆ (ตรงนี้แปลกลับง่ายๆก็คือ ถ้าเป็นพยาบาลหรือผดุงครรภ์ก็จะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้)

(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้ง หรือสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง ทั้งนี้ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด หรือผู้ให้การฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์

หมายความว่า

คนที่ไม่ใช่พยาบาลหรือผดุงครรภ์ และ ไม่ใช่ชาวบ้านทั่วๆไป แต่เป็นนักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาพยาบาล (ตรงนี้ผมว่าน่าจะรวมถึง นศพ. ซะด้วยซ้ำไป) สามารถได้รับยกเว้นในทำการพยาบาล หรือผดุงครรภ์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด (เจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัดคือใคร? อธิบายต่อในวรรคถัดมา ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์)

ไม่ทราบว่าผมแปลถูกไหมครับ หรือผมเข้าใจผิดตรงไหนบ้างครับ





Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-24 , Time : 18:12:13 , From IP : 124.157.180.96

ความคิดเห็นที่ : 79


   ขออนุญาตแทรกครับ

- ผมเข้าใจว่าประเด็นที่คุณ Guru ต้องการสื่อคือ "ไม่ควรที่จะให้ นักศึกษาที่ยังไม่ได้ฝึกการแทงน้ำเกลือมาก่อน เช่น นศพ.ปี 1-2-3 ไปฝึกกับ พยบ.(อาจรวมถึงหมอด้วยหรือไม่)ที่รพช. " อย่างนี้ใช่มั้ยครับ

ถ้าเป็นประโยคข้างบน คุณPhoenix เห็นว่าอย่างไรครับ

ปล.อ่านมานานเหนื่อยมาก ...แต่จะรออ่านต่อครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2007-02-24 , Time : 23:16:43 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 80


   ติดตามอ่านมานานค่ะ... เป็นกระทู้ที่อ่านแล้วรู้สึก.... เหนื่อย...จัง
ขออนุญาตร่วมอภิปรายในฐานะที่เป็น นศพ. ที่ไปขวนขวายเก็บประสบการณ์การฝึกหัตถการจากรพช. ข้างนอกเช่นกัน (และที่จะยกตัวอย่างหรืออภิปรายต่อไปนี้ไม่มีเจตนาจะใช้ประสบการณ์ของตัวเองเป็นบรรทัดฐานในการประเมินความคิดหรือพฤติกรรมของใคร)

ทำไม นศพ. จึงมีความกระตือรือร้นที่จะไปฝึก “มือ” ที่รพช.ข้างนอก?
1. เพราะมีผู้ป่วยจริงให้ “ลอง” หรือ “หัด” ทำ
2. ก็.... มีคนอนุญาตให้ทำ (ไม่ทำตอนนี้ รอทำข้างใน มอ. เมื่อไรจะได้ทำล่ะ)
ถ้าลองสังเกตพฤติกรรมของ “เด็ก” จะพบว่า เด็กจะมีสนใจอยากเรียน อยากรู้ อยากลอง อยู่เสมอ ดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะอยากลอง อยากทำ อะไรต่อมิอะไรที่โอกาสได้นำประสบการณ์มาสู่ “มือ” ของเรา ในเมื่อเราหาโอกาสนั้นได้ยากจากมอ. ที่เราอยู่ เราก็เลยไม่ค่อยลังเลที่จะคว้ามันไว้เมื่อที่อื่นหรือคนอื่นหยิบยื่นให้
โชคดีที่ กระบวนการฝึกส่วนมากมักจบที่ความคิดข้อที่ 1 และ 2 ไม่บ่อยนักที่จะเกิดเหตุที่คุณ guru นึกกังวลไว้แต่แรก หากโชคร้าย... ไม่มีคำว่า “ความรับผิดชอบ” อยู่ในกระบวนการคิดและฝึกทั้ง 2 ข้อ ก็....ไม่ใช่ทุกคนหรอกค่ะที่ ลืม หรือ คิดไม่ทัน อย่างน้อยก็ยังมีน้องของเราที่คุณ kmsabai ชื่นชมไว้

ที่จริงแล้วก็ไม่ค่อยชอบใจคำตอบของอาจารย์ Phoenix นักที่ว่า: คำตอบก็คือ ผอ. รพ. ที่มอบหมายงานเป็นคนรับผิดชอบครับ ถึงแม้ในความเป็นจริงจะเป็นเช่นนั้น และต้องเป็นเช่นนั้น อยากให้คำตอบเป็น ข้อ ง. คือ ทุกคนร่วมกันรับผิดชอบมากกว่า แต่จากการอภิปรายไม่เห็นว่า มีส่วนที่เป็น “ความรับผิดชอบของนศพ.” เลย .... สำคัญอย่างไร .... มองอย่างร้ายก็คิดว่า ในขณะที่ผู้ใหญ่ ถกเถียงกันว่าใครควรเป็นคนรับผิดชอบ โดยมิพักพูดถึงว่า “ผลที่เกิดจากสิ่งที่ “เด็ก” ทำ เด็กควรจะมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนได้อย่างไรบ้าง” จะเป็นการบ่มเพาะความเป็นเด็กไม่รู้จักโตไว้ด้วย convenient excuse ของการ “รอ” ให้โตสักหน่อยก่อน เช่น รอให้เป็น intern ก่อนค่อยเริ่มหัดที่จะรับผิดชอบ ตอนนี้ยังมีคนรับผิดชอบแทนจะทำอย่างไรก็ได้ ผลที่ตามมาจะไม่กลายเป็นว่า เด็กคนนั้นจะแสวงหา “คนรับผิด” ชอบแทน ไปเรื่อย (ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว) ได้อย่างไร

เมื่อปีก่อน ไป selective ที่รพช. พี่ศัลยแพทย์เคยสอนว่า “ถ้าอยากผ่าคน ก็ไปผ่ากระดาษให้ได้เสียก่อน” ก็ขำๆ.. และจำไว้สอนตัวเองเรื่อยมา มาขำไม่ออกตอนที่เมื่อเดือนก่อนไป elective ที่รพ.ศูนย์แห่งหนึ่ง เห็น extern พยายามใส่ ICD ให้ผู้ป่วยที่ถูกมัดมือเท้า ร้องโอดโอยจากความเจ็บปวด โดยที่ไม่รู้ว่าขั้นตอนก่อนหลังทำอะไรอย่างไร ก็เลย มาคิดถึงเรื่อง “ความรับผิดชอบ” ของเราเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นในฐานะของการเป็น “ผู้กระทำ” ที่มีต่อ “ผู้ถูกกระทำ” โดยเฉพาะเรื่องความรับผิดชอบในการทำหัตถการนี้ เคยได้ยิน อาจารย์ของเรา สอนว่า
ก่อนที่จะทำอะไรกับผู้ป่วย ต้องมี “ความรู้” ในสิ่งที่เราจะทำก่อน เช่น ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ข้อควรระวัง วิธีการเป็นต้น ไม่บ่อยนักที่เราจะพบคนสอนที่
1. “เรียนรู้เรื่องราวต่างๆของผู้ป่วยร่วมกัน”กับเรา
2. พยายาม empower น้องเต็มที่ ในการสื่อสารกับผู้ป่วย
3. ถ้ามีเวลาก็จะให้เหตุผลเสมอว่าทำไมพี่ถึงรักษาแบบนี้ ทำไมให้ยาแบบนี้ มันมีข้อจำกัดอะไรบ้าง และจริงๆมันควรเป็นอย่างไร และทำไมทำไม่ได้ หรือทำไมไม่ทำ
4. ย้ำเสมอครับว่าสิ่งที่พี่ๆทำหรือปฏิบัติบางเรื่องอาจไม่สามารถนำมาใช้ใน รร ได้

ที่บ่อย คือ บอกได้ว่าทำอย่างไร แต่ไม่ค่อยบอก “เหตุผล” ที่ ควรหรือไม่ควรทำ สิ่งที่สำคัญของการสอน “ศิลป์” ไม่เพียงให้ผู้เรียนเริ่มต้นด้วยการ “เลียนแบบ” เพื่อให้ “เหมือน” แบบ แต่ เลียน ด้วยความเข้าใจ เพื่อที่เมื่อผิดไปจากแบบเดิมแล้วเขาจะสามารถแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ได้ด้วยตัวเอง นี่เป็นเหตุผลที่ “ถึงแม้ว่าเราจะเรียนได้ จากคนทุกคน แต่เราต้อง “เลือก” ว่าจะเรียนอะไรจากใคร”


Posted by : Lucifer , Date : 2007-02-24 , Time : 23:45:44 , From IP : 172.29.4.201

ความคิดเห็นที่ : 81


   ประเด็นต่อมา เรื่อง “โอกาสที่หาได้ยาก” จาก มอ.
เพิ่งได้ทราบเมื่อไม่นานมานี้ว่า ที่โรงเรียนแพทย์บางแห่งนั้น หน้าที่การเจาะเลือด ส่งlab เป็นของนศพ. ไม่ได้ถามหาว่าเรื่องการทำแผล ฉีดยาเป็นหน้าที่ของนศพ.ด้วยหรือเปล่า แต่จากประเด็นที่อภิปรายข้างต้น เห็นว่า น่าจะดีที่หัตถการดังกล่าวจะเป็น “หน้าที่” ของนศพ. ที่เราบ้าง
ข้อดีคือ นอกจากการฝึกทักษะการทำหัตถการเหล่านี้ภายใต้การดูแลของคนที่ qualified ให้สอนตามความเห็นของสถาบันเราเอง แล้ว นศพ.จะได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ และรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของทีมการรักษาอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อเสีย เวลาในการ SDL ของเราจะน้อยลงไปหน่อย
ถึงแม้มอ.จะ offer โอกาสนี้ ก็ไม่น่าจะทำให้ความกระตือรือร้นในการฝึกมือที่อื่นลดน้อยลง เห็นว่าอย่างไรกันบ้าง ก็อภิปรายกันต่อนะคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2007-02-25 , Time : 00:17:37 , From IP : 172.29.4.201

ความคิดเห็นที่ : 82


   คุณ เหอ เหอ เหอ อย่าพึ่งร้องยี้นะครับ ถ้าผมจะบอกว่า "แล้วแต่บริบท"

เดี๋ยวนี้ นศพ. มีทั้งคนที่จบ ป.ตรีมาเรียน (จากเภสัช ทันตะ หรือแม้แต่พยาบาล) หรือคนที่ Ent ใหม่ หลังจากเรียนคณะอื่นมาหลายปี นี่ในเมืองไทยนะครับ ถ้าในต่างประเทศ คนมาเรียนหมอ อาจจะเคยเป็นพยาบาลมาแล้ว 10 ปี หรือเคยเป็นเสนารักษ์มาแล้ว 10 ปี คุณ เหอ เหอ เหอ คิดว่า คำว่า นศพ. ปี 1, 2, 3 นั้น บ่งบอกศักยภาพของคนเหล่านี้ได้ชัดเจนแค่ไหนครับ?

ประสบการณ์ของ นศพ. ปี 1, 2, 3 ไม่เท่ากัน และไม่ uniform ครับ

ในการเรียนแบบ PBL หรือ concept ของ Andragogy นั้น เน้นที่ "ศักยภาพ" ของนักเรียน ที่สามรถจะถูกผลักดันได้อย่างเต็มที่เพราะว่าเป้นผู้ใหญ่แล้ว

ดังนั้น แม้แต่นักศึกษาอยู่ที่ปี 1,2,3 ถ้าเขามีคุณลักษณะของ adult learner เช่น อยากเป้นหมอมากๆ ไปทำงานกับอาสาสมัคร ไปอยู่โรงพยาบาล ไปฝีกอบรมกับ paramedic หรือช่วยทำงานในคลินิก รพ. มาตั้งบแต่เด็ก ความพร้อมก็จะไม่เท่าเทียมคนอื่น

ถามว่าคนที่มีศักยภาพไม่เท่ากัน เราควรจะกดไว้ให้ไปพร้อมกับคนอื่นหรือไม่?

ผมคิดว่าไม่ใช่ครับ

ในฐานะครูอาจารย์ เราควรจะ treat นักเรียนแต่ละคนตาม "ศักยภาพ" ซึ่งบอกไม่ได้เพียงแค่ถามว่า "เธอ อยู่ปีละอะไรนะ" แค่นั้นครับ และเราอาจจะต้องยอมรับความจริงด้วยว่าวันดีคืนดี ก็จะมี "อภิชาติศิษย์" คือศิษย์ที่เหนือกว่าครูอาจารย์ มีศักยภาพสูงกว่าก็เป๋นไปได้ และเมือเจอ เราควรจะสนับสนุนให้เขาไปให้ไกลที่สุดครับ ไม่ใช่เอามาตันที่ตัวเราเองเป้นมาตรฐาน หรือเพียงเพราะเราคิดออกแค่ว่า เป็นแค่ นศพ. ทำได้แค่นี้ก็พอ (เพราะนั่นเราเอาตัวเราเองเป็นเกณฑ์)

ไม่ทราบว่าพอจะตอบคำถามได้ชัดเจนหรือไม่ครับ

PS: ผมไมขอเดาใจคุณ guru ว่าหมายความแค่ไหน และคิดอะไรอยู่ครับ แต่ "ขอบเขตและหน้าที่ของพยาบาล" ในมุมมองของคุณ guru นั้น เป็นสาเหตุหลักของความยาวของกระทู้นี้มากกว่าประเด็นต้นกำเนิด และเป้นที่มาของการ quote กฏหมาย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ นศพ. ปี 1, 2,3 ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-25 , Time : 00:31:12 , From IP : 124.157.180.96

ความคิดเห็นที่ : 83


   คุณ Lucifer ครับ

คำ "รับผิดชอบ" ที่พูดกันระหว่างผมและคุณ guru คือ ที่สุดแล้วความรับผิดชอบไปสิ้นสุดที่ไหน ซึ่งก็คือ ผอ.รพ. (ไม่ใช่หมอซะด้วยซ้ำไป)

แต่ถามว่าแล้วคนทำที่ไม่ใช่ ผอ. ก้สบายละซิ อันนี้คนละเรื่องครับ เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ก้จะต้องมีมาตรการต่างๆ และกลับมาสะท้อนที่ต้นตอ ต้นสาเหตุเสมอ เช่น พอ ผอ. รับไปแล้วเนื้อๆ ตามมาที่คนผ่าตัด (สมมติเป็น case ผ่าตัด) คนๆนั้นก็อาจจะถูกสั่งไป re-train ใหม่ หรือต้องผ่า undersupervision หรือ จำกัด case จนกว่าจะ qualified ถ้าเป้น นศพ. ก็อาจจะมีการซ่อม หรือสอบซ่อม หรือ re-train อะไรตามความเหมาะสม ไม่ใช่ลอยนวลไปเฉยๆครับ

คุณ เหอ เหอ เหอ ครับ

ผมเกรงว่าจากเนื้อหาทั้งหมด มันไม่ได้ confined อยู่แค่ที่ที่ตั้งคำถาม (มีการ rephrase และ re-ask หลายต่อหลายครั้ง) ความแตกต่างอยู่ที่ ภาระหน้าที่ของพยาบาลนั้นมีอะไรบ้าง และเขา qualified ทีจะสอนหรือไม่ครับ (ไม่ใช่สอนใคร แต่เป็นสามารถสอนหรือไม่)



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-25 , Time : 00:46:30 , From IP : 124.157.180.96

ความคิดเห็นที่ : 84


   หนูไม่ชอบการวาง condition ลักษณะนี้สักเท่าไรนะคะอาจารย์

ทำ หรือ ไม่ทำ เพราะกลัวการถูกลงโทษ

ต้องอ่านหนังสือ เพราะกลัวสอบตก
ต้อง check เลือดให้ดี ก่อนให้เลือด เพราะถ้าให้ผิด คน ต้อง add ใหม่
เป็นต้น

หนูน่ะ กลัว(เสียเวลาไปทำอย่างอื่น) แต่ ไม่ค่อยอายกับการสอบตก (ปีนี้ไม่ตกแฮะ...) สอบตกอย่างมากก็เสียหน้า เสียเวลา แต่ถ้ารู้ไม่จริงคนไข้อาจจะเสียชีวิต ดังนั้นการทำโทษจึงไม่ใช่แรงจูงใจให้ใฝ่จะเอาดี เอาเสียเลย


Posted by : Lucifer , Date : 2007-02-25 , Time : 02:10:22 , From IP : 172.29.4.201

ความคิดเห็นที่ : 85


   "กลัวถูกทำโทษ" เป็น condition ของใครครับ? คณะฯ ครู หรือว่านักเรียน?

โทษ ไม่ได้มีไว้ให้กลัว แต่เป็น rehabilitation การฟื้นฟู ชดเชย ซ่อมแซม ส่นที่ขาด แต่จิตที่หวาดกลัวนั้น เกิดขึ้นจากตัวคนทำเองต่างหาก คนที่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ฝึกปรือจนเก่ง จนชำนาญก่อน เอาความกลัวมาเป็น positive drive ไม่ใช่กลัวจนฝ่อ แล้วจะกลัวอะไรไปทำไมล่ะครับ

ถ้าจะไม่ชอบ ก็ไม่ชอบตนเอง อยู่ที่ตนเอง หรือไม่ครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-25 , Time : 08:23:15 , From IP : 222.123.97.24

ความคิดเห็นที่ : 86


   ผมเอง ไม่ค่อยอยากมา คุยต่อ แต่ เห็นว่า ยังมี คนสนใจ อีก 2 คน เลย ขอต่อ ครั้ง สุดท้ายแล้วกัน นะครับ ( ไม่แน่ใจ ว่า ทั้ง 2 คน ที่ มาร่วมแสดงความเห็น อยากจะคุย กับผม หรือเปล่า )

1.การตีความ กฏ ระเบียบ ต้องตีให้แคบ ไม่ใช่ ตีให้กว้างๆ เพื่อหาทางรอดแบบ ศรีธนนชัย

2.กฏ ไม่ควรมีข้อยกเว้น โดยอ้างว่า ทำกันมาแบบนี้ ตั้งนานแล้ว

3.ลองดูเกณท์ ขั้นต่ำของแพทยสภานะครับ ว่า

เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2545

3.5 หัตถการที่จำเป็นหรือมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
3.5.1 หัตถการพื้นฐานทางคลินิก
เมื่อจบแพทยศาสตรบัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
• venepuncture
• capillary puncture
• intravenous fluid infusion



Posted by : guru , Date : 2007-02-25 , Time : 12:01:17 , From IP : 203.114.97.142

ความคิดเห็นที่ : 87


   ผมคิดว่า competency ที่ว่าของแพทย์นี้ ไม่ได้แปลว่าไม่ใช่ของพยาบาลด้วยนะครับ (จะตีความแบบศาล แบบศรีธนญชัย หรือปัญญาชนก็เถอะ)

ตกลง การแทงน้ำเกลือของพยาบาล เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ครับ?

ตามกฏหมายของ พรบ.พยาบาลนั้น ยิ่งชัดเจนมากขึ้นด้วยซ้ำไป และข้อยกเว้นให้ "ชาวบ้านธรรมดา" ทำการพยาบาลในบางอย่าง ก็อยู่ในตัวบทกฏหมาย สาเหตุที่ทำกันมานานแล้ว เพราะธรรมจรรยานั้น อยู่ในกฏหมายและสังคมเรามานานแล้วครับ ไม่ใข่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-25 , Time : 13:09:15 , From IP : 222.123.97.24

ความคิดเห็นที่ : 88


   ขอตอบ คุณ ฟีนิกส์ นะครับ
1 จาก พรบ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่ใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น



แปลว่า พยาบาล ฉีดยาได้ ครับ ( ฉีดเส้นเส้นน้ำเกลือ )

2. จาก พรบ พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 "
2. การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยตามศีลธรรมโดยไม่รับสินจ้างรางวัล แต่การช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวต้องมิใช่เป็นการกระทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย การแทงเข็มหรือการฝังเข็มเพื่อบำบัดโรคหรือระงับความรู้สึก หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณีแก่ผู้ป่วย

แปลว่า การแทงเข็ม หรือ ฝังเข็ม
ต้องเป็นแพทย์ ครับ




Posted by : guru , Date : 2007-02-28 , Time : 13:01:56 , From IP : 203.114.105.214

ความคิดเห็นที่ : 89


   ขอโทษที่ขัดจังหวะนะครับ แต่
คำว่า "การแทงเข็ม หรือ ฝังเข็ม" นี่ 2 อย่างรวมกัน โดยมองจากบริบทที่กล่าวถึง "เพื่อบำบัดโรคกหรือระงับความรู้สึก" หมายถึง acupuncture ไม่ใช่หรือครับ

หรือว่าคำว่า "การแทงเข็ม" ในที่นี้ เหมารวมถึง intravenous fluid infusion ด้วยครับ



Posted by : confused??? , Date : 2007-02-28 , Time : 16:42:03 , From IP : 172.29.4.170

ความคิดเห็นที่ : 90


   นี่คือ solid evidence ว่า พยาบาลไม่มีหน้าที่แทงน้ำเกลือ ตามที่คุณ guru เข้าใจใช่ไหมครับ

คุณ guru ตีความว่า "ฉีดยา" หมายถึง "ฉีดเข้าสายน้ำเกลือ (ที่มีคนแทงอยู่แล้ว และ assume ว่าเป็นแพทย์เท่านั้น)"

เราทราบกันดีว่า "การฉีดยา" ไม่จำเป็นต้องแทงเข้าสายน้ำเกลือเสมอไป มียาฉีดเข้าเส้นมากมายที่ฉีดตรงจากไซริงจ์ ไม่งั้นคงเป็นการสิ้นเปลืองอย่างไร้เหตุผลที่เราต้องใช้ชุดน้ำเกลือทุกครั้งที่มีการฉีดยา

อีกประการ ในโรงพยาบาลในประเทศไทยนี้ มีครั้งไหนที่คุณ guru ว่า พอหมอสั่งน้ำเกลือเสร็จ แล้วเดินไปแทงน้ำเกลือเอง สักกี่มากน้อยครับ? อย่าลืม ประเด็นไมได้อยู่ที่ "หมอควรแทงเป็นหรือไม่" แต่ผมรู้สึกสิ่งที่แตกต่างกันของ concept นี้มากที่สุดก็คือการที่คุณ guru บอกว่าพยาบาลไม่มีหน้าที่แทงน้ำเกลือ และผมว่า so far กฏหมาย หรืออะไรที่ยกมานั้น ถ้าไม่นับการเติมวงเล็บของคุณ guru เข้าไปในตัว wording ของกฏหมายอย่างresponse ล่าสุดนั้น พยาบาลสามารถให้สารเข้าเส้นได้ และผมคิดว่าถ้าคนเขียนกฏหมายมีเจตนาไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด (แบบทีจงเติมความในวงเล็บให้ด้วย) ก้ต้องกำหนดไว้ในกฏหมายฉบับเดียวกัน ว่าคุณฉีดยาเข้าสายน้ำเกลือ ที่หมอไปแทงคาให้ไว้ก่อน ตอนที่บรรยายภาพข้างต้นนี้ ไม่รู้สึกเลยหรือครับว่าเป็น idea ที่แปลกเอามากๆ

ว่าแต่ที่หมอแทงน้ำเกลือคาไว้ แล้วเชิญพยาบาลมาฉีดยาให้ทีหลังนี่ มีปฏิบัติจริงๆด้วยหรือครับ?

คุณ guru บอกว่าไม่ขัดข้องอะไรถ้าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ ผมคิดว่าการให้น้ำเกลือทุกวันนี้ ไม่เกิดขึ้นเพราะพยาบาลอยู่ๆลุกไปทำเองอยู่แล้ว นั่นคือหมอสั่ง order น้ำเกลือ พยาบาลเซ็นรับ order พยาบาลแทงน้ำเกลือ นี่ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติ แต่ผมว่าเป็น "หน้าที่" พยาบาลที่รับ order แล้วก็ทำตาม แถมยังทำได้ดีมาโดยตลอด

และถ้าจะเน้นคำ "แทงเข็ม" จริงๆ แปลว่ารวมทั้ง IM, subcut injection, intradermis, etc หมอต้องเป็นคนทำเท่านั้นอย่างนั้นหรือ? clinic vaccine คงได้ประกาศรับหมอเพิ่ม และหมอคงจะ "มีหน้าที่" บน ward อีกมากมาย เพราะ "แทงเข็ม" ที่หมายถึง เข็มทุกชนิด !!!

พอจะขยายความให้ฟังได้ไหมครับว่าทั้งหมดนี่เป็นที่คุณ guru ตีความ หรือว่าเป็นสิ่งที่คุณ guru เรียนมาจากคณะแพทย์? ถ้าเป็นการตีความ ผมคิดว่าคนมีคนตีความที่แตกต่างจากคุณ guru แน่ๆ และเราอาจจะ settle ตรงนี้ยากเพียงแค่ต่างคนต่าง claim ว่าเป้นคนตีความได้ถูกต้อง ถ้าเป็นที่ที่มีการสอนกันแบบนี้ ผมว่าน่าจะมีการ verify กันได้ว่า มี variation ของการสอนว่าพยาบาลสามารถ หรือ ไม่สามารถ แทงเข็มให้ผู้ป่วยหรือไม่ และลพังถ้าตามบริบทนี้ ที่คุณ guru ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องของ acupuncture แปลว่า พยาบาลไม่สามารถแทง IV, IM, IC, ID อะไรเลย



Posted by : Phoenix , Date : 2007-02-28 , Time : 23:09:55 , From IP : 172.29.9.70

ความคิดเห็นที่ : 91


   quote ไม่ใช่ว่า ผมห้าม การแทงน้ำเกลือ ที่ พยาบาลทำ ที่ใน โรงพยาบาล ภายใต้ คำสั่งของแพทย์ เลย

ประเด็นไม่ใช่ห้าม หรือ ไม่ห้าม แต่การที่มีแพทย์บอกว่าสิ่งที่พยาบาลทำนั้น "ไม่ใช่หน้าที่" ผมคิดว่ามีนัยสำคัญมากครับ ต่อ ความมีศักดิ์ศรีในวิชาชีพ ต่อความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ต่อความรับผิดชอบในหน้าที่

เราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเวลาหมอสอนคนไข้แล้ว ผอ.รพ. บอกว่าเราไม่ได้กำลังปฏิบัติหน้าที่? ตกลงเรากำลังทำอะไรอยู่? ไม่มีอะไรดีกว่านั้นทำอีกแล้วหรือ?

การแทงน้ำเกลือนั้น ตามหลักสูตร แพทย์ได้หัดทำแน่ๆครับ แต่เหมือนกับหัตถการทุกชนิด psychomotor นั้น พัฒนาเพราะการทำซ้ำ ทำบ่อย จึงกลายเป็นความชำนาญ ในการแทงเส้น peripheral นั้น พยาบาลมีความชำนาญครับเพราะทำทุกวัน และทำตามหน้าที่ ทำตามที่หมอสั่ง order

ความชำนาญของแพทย์ในการแทงน้ำเกลือก็ขึ้นอยู่กับการทำซ้ำ ทำบ่อย ทำทุกวันเหมือนกัน วิสัญญีแพทย์ที่ไม่มีพยาบาลวิสัญญีช่วย ก็คงจะมีโอกาส maintain และ build ความชำนาญต่อๆไปได้ แต่นอกจากนั้นแล้ว หมอมีอะไรอย่างอื่นที่จะต้องทำมากกว่าการแก่งแย่งพยาบาลแทงน้ำเกลือ หลังราวน์เช้าเสร็จ หมอก็ไปออก OPD ไปเข้า OR ไป ฯลฯ

ดังนั้นผมคิดว่าเป็นการ "ไม่แฟร์" ต่อวิชาชีพพยาบาลครับ ถ้าเราสั่ง order เสร็จ พยาบาลแทงน้ำเกลือให้ แต่เราว่าวิจารณ์ตรงนี้ว่า เขา ไม่ได้กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่

ผมคิดว่าไม่เพียงแต่เราจะต้อง recognize ว่าพยาบาล "ช่วยเรารักษาพยาบาลคนไข้" มากน้อยแค่ไหนแล้ว เราควรจะขอบคุณ และกล่าวสำนึกในบุญคุณ ความร่วมมืออย่างเปิดเผยได้ ชาวบ้านควรจะสามารถรู้ได้ว่าพยาบาลช่วยหมอในการดูแลรักษามากทีเดียว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่รู้กัน แต่อย่าพูดในที่สาธารณะอะไรแบบนั้น และพยาบาลที่ทำงานมาทุกวัน เขามี competency เหลือเฟือที่จะ "แนะนำ" (หรือผมเรียกว่า "สอน") นักศึกษาแพทย์ ถ้าแพทย์เป็นคนมอบหมาย ในบรรยากาศที่ตำแหน่งพยาบาลขาดแคลนอย่างที่สุด ผมว่าไม่มีอะไรที่จะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปกว่าเดิมไปกว่าการที่ ไม่ recognize ความรู้ ความสามารถ และสิ่งที่เขาได้ทำมาควบคู่กันกับวิชาชีพแพทย์เรามาโดยตลอด



Posted by : Phoenix , Date : 2007-03-01 , Time : 01:39:12 , From IP : 172.29.9.70

ความคิดเห็นที่ : 92


   
เป็นมุมองที่แตกต่างกันนะคะ อ่านแล้วเครียด เลยอยากร่วมแจมด้วย โดยความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ คิดว่าพยาบาล รพช. ที่ นศพ. ไปฝึกงานนั้น คงไม่ได้คิดว่าเป็นครูของ นศพ. หรอกนะคะ เพียงแต่อาจจะให้คำแนะนำในสิ่งที่รู้และเป็นกว่า ณ ขณะนั้น ซึ่ง นศพ. เอง ก็สามารถให้คำแนะนำพยาบาลในสิ่งที่ตัวเองรู้และเป็นมากกว่าได้เช่นกัน
อย่า serious เลยนะคะ
เพราะยังไง พยาบาลไม่ว่าจะใหม่หรือเก่า ก็ให้เกียร พวกคุณอยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็น อาจารย์แพทย์ แพทย์ และ นักศึกษาแพทย์


Posted by : BungEarnJer , Date : 2007-03-02 , Time : 21:03:46 , From IP : pgstf02.kku.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 93


   คุณ : BungEarnJer ครับ
ผมเอง ไม่ได้ ต่อว่า อะไร พยาบาล เลย นะครับ

แต่ ผม อยากจะสอน นศพ ที่ จบแล้วต้องไป อยู่ใน รพช เล็ก ห่างไกล จาก อาจารย์
ให้เก่งมาก รู้จริง ทำเองได้ อย่าง ถูกต้อง

เพราะ ผมเอง เคยได้ยิน บางคนมาเล่าว่า มีคนไข้ เป็นเด็ก ชัก หมอ ไปช่วย จับขาเด็กไม่ให้ ชัก เท่านั้น แต่ ทำอย่างอื่นไม่เป็น
หรือ ใช้ให้ พยาบาล เขียนใบ รีเฟอร์แทน ฯลฯ

ใคร อยากจะสอน แบบใหน ก็ทำไปเลย ครับ

ผิดถูก ผลงาน เป็นผู้ตัดสินเอง ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-03-03 , Time : 12:20:31 , From IP : 203.188.2.77

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.025 seconds. <<<<<