ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

ขอเชิญแสดงความคิดเห็นในกระดานอภิปรายในหัวข้อเรื่อง


   “การมีภาควิชาพรีคลินิกสังกัดคณะแพทยศาสตร์ กับสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ อย่างไหนจะดีกว่ากัน”

หัวข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งใน สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ขอปิดบังหัวข้อสารนิพนธ์ เนื่องจากว่าจะเป็นการชี้นำคำตอบของผู้เข้ามาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเยอะ ๆ นะครับ


Posted by : อรรถพล , E-mail : (wrigh00989t@psu.ac.th) ,
Date : 2007-01-15 , Time : 00:00:56 , From IP : 203.113.71.108


ความคิดเห็นที่ : 1


   ในฐานะอาจารย์แพทย์ ผมคิดว่าไม่มีความแตกต่างกัน ในแง่ของสังกัดคณะ (มอ. จะเป็นกับรามาฯ) แต่ความแตกต่างอยู่ที่ตัวบุคคลครับ ว่าจะจัดจุดประสงค์ในการสอนอย่างไรให้เหมาะสมกับ นศ. ที่ไปเรียน เพราะอย่าลืมว่าภาควิชาพรีคลินิก ต้องสอน นศ.สายวิทยาศาสตร์สุขภาพและสายวิทยาศาสตร์ คณะอื่นๆ ด้วย การที่ภาควิชาพรีคลินิกอยู่คณะวิทยาศาสตร์มีข้อดี คือประหยัดงบประมาณด้านธุรการและอื่นๆ แต่ข้อเสียคือการ correlated วิชาการในทางคลินิกหรือการ applied อาจจะไม่เต็มที่ ถ้าอาจารย์ผู้สอนไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้ แต่อย่างไรก็ตามการสอน basic ก็ต้องเป็นไปในแบบเฉพาะต้องแต่ละวิชาอยู่ดี ถ้าภาควิชาพรีคลินิก อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์การเรียนการสอนของ นศ. เฉพาะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องมาเรียนที่คณะแพทย์ (เหมือน มหิดล, มช, มข) ทำให้อาจารย์มีเวลาทำวิจัยมากขึ้นก็ดีครับ ขอบคุณครับ


Posted by : ผ่านมา , Date : 2007-01-15 , Time : 12:42:33 , From IP : 172.29.1.71

ความคิดเห็นที่ : 2


    ในฐานะอาจารย์แพทย์ฯ ขอเสนอว่าไม่น่าจะรวมพรีคลีนิกมาไว้กับคณะแพทย์ เพราะอาจารย์ที่นั่นก็มีหน้าที่สอนนักศึกษาคณะต่างๆอีกมาก อาจารย์พรีคลีนิกมีภาระต่างๆที่มากอยู่แล้ว เป็นไปได้ไหมว่าคณะแพทย์เองดึงเอารายวิชาที่เป็น Block ทั้งหมดของนักศึกษาแพทย์ฯปี 2,3 เข้ามาอยู่ที่คณะแพทย์ฯเอง โดยเพิ่มตำแหน่งอาจารย์ที่คณะแพทย์ฯ ขึ้นมาดูแลเองทั้งหมด อาจมอบหมายให้ภาควิชาพยาธิวิทยาเป็นภาคที่เข้ามารับผิดชอบทั้งหมด โดยการเพิ่มงบประมาณ เพิ่มตำแหน่งอาจารย์แพทย์ฯขึ้นมาให้เพียงพอ ประโยชน์ที่จะได้รับคือง่ายต่อการบริหารจัดการของคณะแพทย์ฯเองทุกเรื่องในระบบการเรียนการสอนของ Blockและการเรียนการสอนแบบ Block ที่ใช้อยู่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอให้คณะแพทย์ฯลงทุนตรงนี้แล้วอาจแก้ปัญหาต่างๆที่มีอยู่ให้หมดไปได้ไม่มากก็น้อย โดยที่คณะแพทย์ฯต้องคำนึงด้วยว่านักศึกษาแพทย์ฯที่เรียนอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาอะไรบ้าง เขาต้องการอะไรบ้างที่จะทำให้เขาเรียนระบบนี้ด้วยความสุขและได้ความรู้มากที่สุดที่จะนำไปใช้ในวิชาชีพของตนเองในอนาคต และในปีการศึกษา 2550 นักศึกษาแพทย์ที่รับเข้ามาเรียนเพิ่มเป็น 200 คน/หนึ่งชั้นปี ปัญหาจะยิ่งมากขึ้นถ้าคณะแพทย์ฯไม่คิดเรื่องนี้และไม่รีบแก้ไข เพราะโดยความเป็นจริงแล้ว ขณะนี้อาจารย์แพทย์ฯก็ยังมีไม่เพียงพออยู่แล้ว คณะแพทย์ฯควรต้องรีบแก้ไขด่วน.

Posted by : ในฐานะอาจารย์แพทย์ฯ , Date : 2007-01-15 , Time : 14:38:33 , From IP : 172.29.1.140

ความคิดเห็นที่ : 3


   ไม่รู้ว่าวัตถุประสงค์ของการอภิปรายต้องการจะได้อะไร ได้ห้วข้อเพื่อไปร่างทำแบบสอบถามหรือว่าต้องการข้อมูล เพราะในการทำวิทยานิพนธ์ การได้ข้อมูลจากบอร์ดนี้คงเชือถือไม่ได้ และจำนวนผู้ให้ความเห็นไม่มากพอ แต่หากต้องการได้ประเด็น อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้ เท่านั้น โดยส่วนตัวไม่อยากออกความเห็นในกระดานข่าว เพราะสามารถชี้นำได้

Posted by : ระเบียงสาร , Date : 2007-01-20 , Time : 11:16:15 , From IP : ppp-124.120.148.226.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอแจ้ง "ความเห็นที่ 3 คุณระเบียงสาร" ว่า กระผมไม่ต้องการจะให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้อภิปรายแต่อย่างไร แต่วันนี้เป็นวันสิ้นสุดการอภิปรายตามที่ตั้งไว้ จึงขอเปิดเผยหัวข้อสารนิพนธ์

สารนิพนธ์ชื่อว่า "การใช้ภาษาที่ถูกต้อง ในการแสดงความคิดเห็นบนกระดานอภิปรายอิเล็กทรอนิก"

หาก "ความคิดเห็นที่ 3 คุณระเบียงสาร" คิดว่าไม่อยากออกความเห็นในกระดานข่าว ก็ไม่จำเนต้องมาแสดงความเห็นก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องมานั่งพิมพ์ให้เสียเวลาก็ได้ วัตถุประสงค์ของการอภิปรายคือ วัดผลการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง การอ่านจับใจความ การใช้อารมณ์ในการแสดงความคิดเห็น

จะเห็นว่า
- ผมได้บอกไปแล้วว่าสารนิพนธ์ มิใช่ วิทยานิพนธ์ ดังที่ "ความคิดเห็นที่ 3 คุณระเบียงสาร" เข้าใจแสดงให้เห็นการอ่านไม่ครบถ้วน

- จำนวนความเห็นไม่มากพอ ผมได้ทำการศึกษาในหลายกระดานข่าวครับ ไม่ใช่กระดานข่าวของคณะแพทยศาสตร์ อย่างเดียว เหตุที่เลือกกระดานนี้ เพราะคิดว่าน่าจะมีคนที่มีความคิดในการตอบ


Posted by : อรรณพ , E-mail : (wrigh00989t@psu.ac.th) ,
Date : 2007-01-20 , Time : 13:09:03 , From IP : 203.113.71.105


ความคิดเห็นที่ : 5


   เห็นด้วยว่าการใช้ภาษา การเลือกใช้คำ สามารถสะท้อนถึงระดับความคิด รูปแบบของความคิด ของผู้ตอบได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งการ "แปล" การ "ตีคุณค่า" ความเคยชินในการ stereotype ฯลฯ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-20 , Time : 17:21:03 , From IP : 124.157.218.195

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<