ความคิดเห็นทั้งหมด : 62

ชีวิตแพทย์ใช้ทุน


   เกิดเป็นแพทย์ใช้ทุน ชีวิตลำเค็ญ ทำงานหนักพอทน แต่ถูกเอาเปรียบจากภาควิชา จากดโรงพยาบาล รับไม่ได้ หลักสูตรเขียนชัดเจนว่ามีสิทธิ elective แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่มีสิทธิ ถุกบังคบทุกอย่าง ไม่มีประชาธิปไตยเลย เดี๋ยวมันยุกต์ประชาธิปไตย ไม่ใช่มาบังคับหรือจำกัดสิทธิกัน อ้างว่าเป็นนโยบายโรงพยาบาล โรงพยาบาลไม่มีนโยบายให้ไปelectiveข้างนอก ขอช่วยพิจารณาการเรียนการสอนของตัวเองบ้าง มหาวิทยาลัย อื่นเขายังไม่จำกัดสิทธิแพทย์ใช้ทุนเลย การให้แพทย์ใช้ทุนได้เห็นในสิ่งอื่น ในสังคมอื่น น่าจะเป็นการเปิดหูเปิดตา เปิดโลกทัศน์ และมีกำลังใจในการทำงานบ้าง

Posted by : แพทย์ใช้ทุน , Date : 2006-12-28 , Time : 23:43:15 , From IP : 172.29.7.202

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมคิดว่าทุกภาควิชามีอาจารย์ฝ่าย postgraduate ดูแลอยู่ ไม่ทราบว่าคุณหมอเคยไปพูดคุย เปิดอก ปรึกษากับท่านแล้วรึยังครับว่ามันเป็นยังไงมายังไง เท่าที่ทราบหลายๆภาควิชาก็มี elective ปกติดี ไปได้ทั้งในและต่างประเทศ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-29 , Time : 09:37:54 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 2


   ถ้าคับข้องใจถาม อ.ฝ่ายหลังปริญญาของภาควิชาดูได้ หรือหากไม่เป็นไปตามหลักสูตร น่าจะถามฝ่ายหลังปริญญาของคณะได้

Posted by : มณีแดง , Date : 2006-12-29 , Time : 10:54:05 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 3


   
คุณหมออาจเข้าใจผิด ยุคนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตยนี่นา

ตอนนี้เป็นกึ่งเผด็จการ ก็คงต้องยอมรับนะค่ะ

นึกซะว่าอยู่ที่นี่ก็มีข้อดี มีอะไรมีที่ปรึกษาได้ทันที ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น คนไข้ก็เยอะ ฝึกฝนกันได้เต็มที่

โชคดีนะคะ


Posted by : mora , Date : 2006-12-29 , Time : 15:16:33 , From IP : 192.168.29.58

ความคิดเห็นที่ : 4


   ถ้าไม่สร้างประชาธิปไตยตั้งแต่สถาบันเล็กๆ ชาติเราก้คงมีประชาธิปไตยไม่ได้หรอก

Posted by : แพทย์ , Date : 2006-12-29 , Time : 16:00:30 , From IP : 172.29.3.124

ความคิดเห็นที่ : 5


   ขอให้คุณ "แพทย์" ติดต่อฝ่าย postgrad ของภาควิชาที่ท่านสังกัดดู อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิด
เห็นใจแพทย์ทุกท่าน ทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ แพทย์ใช้ทุน หรือแพทย์ประจำบ้าน เพราะที่นี่คือ
โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาล ดังนั้นงานที่ว่าจึงต้องหนักเป็นสองเท่า ขอให้กำลังใจแพทย์ทุกท่าน


Posted by : ไม่ใช่แพทย์ , Date : 2006-12-29 , Time : 16:31:13 , From IP : 172.29.3.35

ความคิดเห็นที่ : 6


   บ่นๆ ภาคไหนละไม่เห็นบอกเลย

Posted by : ไอ้ห้อย , Date : 2006-12-29 , Time : 21:24:30 , From IP : ppp-124.121.171.204.

ความคิดเห็นที่ : 7


   test

Posted by : aaa , Date : 2006-12-30 , Time : 07:33:30 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 8


   ก็ภาคเดิม เดิม คน เดิม เดิม......เบื่อ ขอให้ช่วยกันเเก้ไขที่ต้นเหตุด่วน ก่อนจะสายเกินแก้


Posted by : surv. , Date : 2006-12-30 , Time : 07:37:26 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 9


   ในที่นี้ คงมีอาจารย์ตอบกระทู้มาหลายท่าน อาจารย์และผู้ปรารถนาดี ได้แนะนำให้ลองคุยกับ post grad เคยแล้ว เคยเกริ่นกับอาจารย์หลายท่านแล้วด้วย แต่ไม่เห็นมีใครฟังเลย แล้วอย่างนี้จะให้ทำอย่างไร มันถูกบังคับกันชัด
อุตส่าห์ตั้งใจทำงาน มา 4-5 ปี แต่ขอแค่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ยังไม่ได้เลย มันเสียความรู้สึก รับไม่ไหว


Posted by : แพทย์ , Date : 2006-12-30 , Time : 09:40:41 , From IP : 172.29.3.204

ความคิดเห็นที่ : 10


   1.เท่าที่รู้นะครับ หลักสูตรของแพทย์ใช้ทุน มีเขียนไว้ชัดเจน ว่าจะให้ไป elective ได้กี่เดือน และทางคณะก็สนับสนุน ด้วย แต่คงจะไม่สมใจทุกท่านที่ต้องการไปหลายๆ เดือน เพราะในหลักสูตรจะกำหนดไว้ชัดเจนว่าไปได้กี่เดือน
2. คิดว่าก่อนมาใช้ทุนควรจะต้องศึกษาระเบียบของสถาบันที่เราจะไปอยู่เสียก่อนว่าเขากำหนดไว้ว่าอย่างไร เรารับได้หรือไม่ หากไม่ได้ไม่ควรจะเลือก
3. กฏเกณฑ์มีการเปลี่ยนแปลง เสมอ หากพิจารณาแล้วเหมาะสม แต่ไม่ได้หม
ายความว่าจะต้องเปลี่ยนตามความต้องการของทุกคน เสมอไป
4. สิ่งสำคัญที่สุดคือการให้ข้อเสนอแนะกับภาควิชา และคณะ เพื่อดูเหตุผล และก็ต้องฟังเหตุผลของคณะด้วย ประโยคที่พูดว่า "เคยเกริ่นกับอาจารย์หลายท่านแล้วด้วย แต่ไม่เห็นมีใครฟังเลย แล้วอย่างนี้จะให้ทำอย่างไร มันถูกบังคับกันชัด
อุตส่าห์ตั้งใจทำงาน มา 4-5 ปี แต่ขอแค่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ยังไม่ได้เลย มันเสียความรู้สึก รับไม่ไหว"
ข้อเสนอแนะของเราไม่จำเป็นจะต้องได้รับการตอบสนองตามความคิดหรือความต้องการของเราเสมอไป
5. คงต้องกลับไปคิดว่าตอนอยากมาอยู่ที่นี่นั้นตอนนั้นคิดอย่างไร รู้หรือไม่ว่าระเบียบมีหรือไม่


Posted by : แพทย์อีกคน , Date : 2006-12-30 , Time : 11:59:39 , From IP : 172.29.2.170

ความคิดเห็นที่ : 11


   2. คิดว่าก่อนมาใช้ทุนควรจะต้องศึกษาระเบียบของสถาบันที่เราจะไปอยู่เสียก่อนว่าเขากำหนดไว้ว่าอย่างไร เรารับได้หรือไม่ หากไม่ได้ไม่ควรจะเลือก

5. คงต้องกลับไปคิดว่าตอนอยากมาอยู่ที่นี่นั้นตอนนั้นคิดอย่างไร รู้หรือไม่ว่าระเบียบมีหรือไม่
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

การมาเป็นแพทย์ใช้ทุนใน รร แพทย์

มีข้อดีคือ ทำให้ ไม่ต้องไปอยู่ รพช ใน อำเภอเล็กๆ ไกลๆ กันดาร ห่างไกลแสงสัและอาจารย์ในคณะที่คอย กางปีกปกป้อง ป้อนอาหารให้

แต่ ถ้า ยอมรับกฏเกณท์ ที่มีมา ตั้งแต่ต้นไม่ได้

การออกไปใช้ทุน ใน รพช ไปเป็นหมอ รับใช้คนยากจนใน ชนบท เป็นสิ่งที่ไม่น่าผิดหวังเลย

คิดผิด คิดใหม่ ทำใหม่ ได้เสมอ


Posted by : guru , Date : 2006-12-30 , Time : 13:29:12 , From IP : 58.181.183.219

ความคิดเห็นที่ : 12


   อาจารย์คงต้องกับไปดู หลักสูตรใหม่
แพทย์ใช้ทุนเริ่มทำงาน 1เมษายน
อย่างเช่นมีภาคหนึ่ง หลักสูตรเขียนไว้ชัดเจนว่าไป elective ปีสุดท้าย 2เดือน
ก็ต้องได้ไปตั้งแต่1 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ไปปลายมีนาคม
ช่วยกรุราเชคให้ดีก่อนที่จะ post
การ rest หัวข้อ web bord นี้ขึ้นมา ไม่ได้อยากทะเลาะกับใคร
แต่หลักสูตรของภาควิชาหนึ่ง เขียนไว้ชัดเจน และแจกแพทย์ใช้ทุนทุกคน กำเกณฑืเปลี่ยแปลงได้ แต่หลักสูตร เปลี่ยนแปลงได้ด้วยหรือ ไคยเห็นแจ้งให้แพทย์ใช้ทุนทราบบ้างเลย
อย่างนี้จะบอกว่าไม่ได้ศึกษาหลักสูตรก่อนได้อย่างไร


Posted by : แพทย์ , Date : 2006-12-30 , Time : 15:43:09 , From IP : 172.29.3.204

ความคิดเห็นที่ : 13


   อาจารย์คงต้องกับไปดู หลักสูตรใหม่
แพทย์ใช้ทุนเริ่มทำงาน 1เมษายน
อย่างเช่นมีภาคหนึ่ง หลักสูตรเขียนไว้ชัดเจนว่าไป elective ปีสุดท้าย 2เดือน
ก็ต้องได้ไปตั้งแต่1 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ไปปลายมีนาคม
ช่วยกรุณาเชคให้ดีก่อนที่จะ post
การ rest หัวข้อ web bord นี้ขึ้นมา ไม่ได้อยากทะเลาะกับใคร
แต่หลักสูตรของภาควิชาหนึ่ง เขียนไว้ชัดเจน และแจกแพทย์ใช้ทุนทุกคน กฏเกณฑ์เปลี่ยแปลงได้ แต่หลักสูตร เปลี่ยนแปลงได้ด้วยหรือ ไม่เคยเห็นแจ้งให้แพทย์ใช้ทุนทราบบ้างเลย
อย่างนี้จะบอกว่าไม่ได้ศึกษาหลักสูตรก่อนได้อย่างไร


Posted by : แพทย์ , Date : 2006-12-30 , Time : 15:45:10 , From IP : 172.29.3.204

ความคิดเห็นที่ : 14


   เป็นคนนอก แต่อ่านแล้วรู้สึกว่า อาจารย์ไม่ค่อยสนใจความรู้สึกของคนร่วมงานบ้าง และเป็นคำพูด ที่ไม่ค่อยน่าฟังเลยว่า ถ้ารับไม่ได้ ก็ไม่ต้องมาเรียนที่นี่ ฟังแล้วเสียความรู้สึกแทนผู้ตังกระทู้

Posted by : คุณถุง , Date : 2006-12-30 , Time : 16:10:52 , From IP : 172.29.1.90

ความคิดเห็นที่ : 15


   ต้องดูหลักสูตรก่อนนะครับ มีแพทย์ใช้ทุนบางสาขาที่มา elective ที่โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งดูแล้วเหมือนเป็น fixed rotation แต่จริง ๆ แล้วเป็น elective ที่เหมือนถูกบังคับให้ไปตามโรงพยาบาลนั้น ๆ นะครับ

พอมี elective อันนี้แล้ว ก็อาจถูกลดเวลา elective จริง ๆ ไปเสีย

ส่วนหนึ่งคงต้องเห็นใจโรงพยาบาลด้วยครับ เงินเดือนที่เราไป elective ก็เป็นเงินของคณะแพทย์ แต่ทางคณะก็คงต้องคุยกับแพทย์ใช้ทุนให้ดีว่าเดือนที่เราไปอยู่ตามโรงพยาบาลโน้นโรงพยาบาลนี้ เป็นช่วง elective

บางทีมันก็ไม่ได้มีเบื้องหลังซับซ้อนอะไรมากหรอกครับ เพียงแค่ไม่ได้คุยกันไว้ก่อนนั่นเอง


Posted by : พี่น้อง , Date : 2006-12-30 , Time : 18:03:46 , From IP : 222.123.97.76

ความคิดเห็นที่ : 16


   อาจารย์คงต้องไปดู เพราะมีหลายถาคที่ต้องไป elective ที่โรงพยาบาลต่าง ๆ เหมือน fixed rotation แต่เขาก็ไม่นับเป็นการไป electiveข้างนอก เช่นการไปนครของ เด็กและ ENT เค้าไม่นับเป็น electiveข้างนอก แต่ทำไมบางภาคนับจะนับหรือ และแต่ละภาคก็ไป elective ข้างนอก ไม่เหมือนกันด้วย บางภาคยังรักษาสิทธิให้แพทย์ใช้ทุนของเค้าเลย แต่ทำไมบางภาคไม่???????

Posted by : แพทย์ , Date : 2006-12-30 , Time : 21:51:09 , From IP : 172.29.3.204

ความคิดเห็นที่ : 17


   เรื่องนี้ต้องย้อนไปดูตั้งแต่ปี 2543 ตอนนั้นเป็นข้อสรุปจากการประชุม (จำไม่ได้ว่าเป็นการประชุมอะไร แต่น่าจะเป็นกรรมการบริหารคณะฯ) ให้การที่แพทย์ใช้ทุนออกไปปฏิบัติงานโรงพยาบาลข้างนอก เช่นนครศรีธรรมราช หาดใหญ่ ยะลา(ในสมัยนั้น) เป็น elective rotation ครับ การให้แพทย์ใช้ทุนออกไปต่างโรงพยาบาลทำให้เกิดปัญหาว่าคณะแพทย์ฯ จ่ายเงินเดือน แต่แพทย์ใช้ทุนกลับออกไปทำงานต่างโรงพยาบาลครับ

ในช่วงนั้น ราชวิทยาลัยหลายแห่งมาตรวจและให้ comment ว่าโรงพยาบาลที่เราส่งไป elective นั้นหลายโรงไม่ได้มีหลักสูตรสำหรับแพทย์ใช้ทุน และไม่ได้ผ่านการประเมินจากราชวิทยาลัย ทำให้ rotation ที่ออกไปโรงพยาบาลอื่นเหมือนเป็น rotation เถื่อน(ใช้คำให้เห็นภาพนะครับ ไม่ได้หมายความว่าโรงพยาบาลไม่ดี) คือออกไปปฏิบัติงานได้ แต่ไม่สามารถกำหนดให้เป็น elective เพราะไม่ผ่านการประเมินจากราชวิทยาลัย

การแก้ปัญหามีได้สองทาง คือให้ไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลที่ไม่ผ่านการประเมินแบบ fixed rotation แต่ยังถือว่าเป็น rotation ของ มอ. ซึ่งนั่นจะทำให้แพทย์ใช้ทุนมีเวลาเหลือไป elective ตามหลักสูตรได้ แต่ผมไม่รู้ว่าภาควิชาไป clear ปัญหากับโรงพยาบาลหรือคณะแพทย์ฯ อย่างไร (และไม่รู้ว่าทำได้หรือไม่)

อีกวิธีหนึ่งคือทำให้โรงพยาบาลที่เคยไปฝึกเป็นสถาบันสมทบ โดยให้โรงพยาบาลจัดหลักสูตรและให้ราชวิทยาลัยประเมิน ถ้าประเมินผ่านจะทำให้กลายเป็น elective จริง ๆ ตามหลักสูตร (แต่เป็น fixed rotation) และจะทำให้การ elective ตอนเดือนท้าย ๆ ของตารางการฝึกอบรมลดลง




Posted by : พี่น้อง , Date : 2006-12-31 , Time : 07:10:21 , From IP : 124.157.216.161

ความคิดเห็นที่ : 18


   ปัญหาที่ไม่เคยสะสางมาหลายปี ดูเหมือนฃับฃ้อนขึ้นเรื่อยๆ ควรชี้แจงกันให้โปร่งใส จะได้ไม่มีปัญหากับรุ่นต่อๆไปครับ
ปัญหาสำคัญคือทำยังไงกันดีให้เขาอยากอยู่ และ ภูมิใจที่จะอยู่


Posted by : eq , Date : 2006-12-31 , Time : 07:57:25 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 19


   นี่เป็นปัญหายืดเยื้อและเรื้อรัง ถ้าเป็นโรคก็จะเรียกได้ว่าเป็น chronic disaese เพราะว่าทางอาจารย์เองก็อยากเก็บ พชท ไว้ทำงานที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะ พชท ปีสูงๆ เพื่อที่ว่าถ้ามีคนทำงานเยอะ อาจารย์ก็จะได้เหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องมาดูคนไข้ช่วงที่อยู่เวร ส่วนทาง พชท ก็จะมีความรู้สึกอยากจะไป elective ที่ต่างสถาบันมากขึ้นโดยเฉพาะสถาบันส่วนกลางโดยเฉพาะ พชท ปีสูงๆที่ใกล้จะสอบบอร์ด เหตุผลเพราะว่าส่วนกลางมีความรู้วิชาการมากกว่า อาจารย์สอนและให้ความรู้มากกว่า ไม่ใช่ต้องการเก็บคนไว้ทำงานอย่างเดียว
นานาจิตตัง ถ้าถามฝ่ายหนึ่งก็จะได้คำตอบอย่างหนึ่ง ถ้าถามอีกฝ่ายหนึ่งก็จะได้คำตอบอีกอย่างหนึ่ง นอกเหนือจากเรื่อง elective ก็จะมีปัญหาการขอลาไปประชุมวิชาการที่ส่วนกลางก็จะมีปัญหาเช่นเดียวกัน ในฐานะที่เคยเป็น พชท มาก่อน อยากขอให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายช่วยกรุณาเห็นใจ พชท บ้าง แล้วโรงพยาบาลนี้จะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น


Posted by : memo , Date : 2006-12-31 , Time : 14:47:19 , From IP : ppp-61.91.167.95.rev

ความคิดเห็นที่ : 20


   เบื่อระบบในเมืองไทย

ทุกอย่างเลย


Posted by : fragile cerebrum , Date : 2006-12-31 , Time : 15:01:06 , From IP : 125-24-129-60.adsl.t

ความคิดเห็นที่ : 21


   rotation ที่ไปโรงพยาบาลข้างนอก เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา บางปีก็ถือเป็น fixed rotration บางปีเป็น elective ได้ด้วยหรือ ไม่เท่าเทียมกันเลย และแต่ละภาคก็มี elelective ไม่เท่ากัน น่าอิจฉาบางภาคที่อาจารย์ให้สิทะเสรีภาพกับเด็ก ทำไมบางภาคโรงพยาบาลต้องจ่ายเงินเดือนเพื่อไปโรงพยาบาลข้างนอก8-9เดือน(โรงพยาบาลข้างนอก5-6เดือน ส่วนกลาง2-3เดือน) เขายังทำให้ลูกศิษย์เค้าได้เลย แต่ทำไม บางภาคไม่ทำ

Posted by : แพทย์ , Date : 2006-12-31 , Time : 20:28:49 , From IP : 172.29.7.29

ความคิดเห็นที่ : 22


   ขอเป็นกำลังใจให้แพทย์ใช้ทุนทุกคน และ ขอให้ผู้มีอำนาจเห็นใจน้องๆของเราด้วย สวัสดีปีหมูครับ

Posted by : eq , Date : 2006-12-31 , Time : 23:23:45 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 23


   ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เป็นอาจารย์ในคณะแพทย์ฯ แต่ได้อยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงพอดี ก็เลยทราบรายละเอียดและความเป็นมาอยู่บ้างเท่านั้น

เรื่อง elective นั้นขึ้นอยู่กับหลักสูตรเป็นหลักครับ ว่า training แต่ละสาขานั้นให้เวลา elective มากน้อยต่างกันอย่างไร บางสาขาก็อาจได้ไปถึงสี่เดือน แต่บางสาขาก็ได้มาแค่สองเดือน คงไม่ได้ถูกกำหนดจากภาควิชาแต่เพียงอย่างเดียว

แต่เดิม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีการช่วยเหลือกันกับโรงพยาบาลต่าง ๆ รอบข้าง เช่น นครศรีธรรมราช ยะลา หาดใหญ่ มีการส่งแพทย์ใช้ทุนไปช่วยในบางแผนกเป็นระยะ โดยถือเป็น rotation ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เอง ซึ่งทางทฤษฎีถือว่าผิด แต่พอระยะหลัง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีศักยภาพมากขึ้น บางภาควิชา (เช่นศัลยกรรม สูติฯ ENT; ในความเห็นส่วนตัว) สามารถ train ได้โดยไม่ต้องส่งไปโรงพยาบาลรอบข้าง แต่ทาง มอ. ก็ยังส่งไปตามโรงพยาบาลรอบข้างในบางสาขา ส่วนหนึ่งก็เพื่อสานความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งมีมาเนิ่นนานให้คงอยู่ต่อไป แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของหลักสูตร การทำความเข้าใจกับแพทย์ใช้ทุน และข้อกำหนดของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ด้วยครับ



แต่ถ้าเป็นอย่างที่น้อง "แพทย์" บอกมาในความเห็นข้างต้นว่าไปอยู่ข้างนอกถึง 8-9 เดือนนั้นคงต้องหาคำอธิบายที่เหมาะสมจากภาควิชาแล้วครับ อย่างไรก็ไม่น่าจะถึงนะครับ รุ่นผมเองเมื่อสิบปีก่อนยังไม่เคยได้ออกไปนานขนาดนั้น แต่ต้องคำนวนเวลาให้ดีนะครับ หลักสูตรแพทย์ใช้ทุนนั้นจบตอนสิ้นเดือนมีนาคม น้องที่เป็นแพทย์ใช้ทุนจะมีเวลาที่ปลอด rotation อยู่แล้วสองเดือนคือเดือนเมษายนและพฤษภาคม (ไม่นับแพทย์ประจำบ้านที่หลักสูตรจบเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม) เวลาที่เหลือจะเป็นเวลาที่ได้ออกไปอยู่ข้างนอกจริง ๆ

อีกเรื่องก็คือ elective ที่เหมือนถูกบังคับให้ออก เช่น fixed ว่าต้องไปโรงพยาบาลนั้น-โรงพยาบาลนี้ แต่ไม่ได้ไปในปีสุดท้ายก็จริง เขาอาจมีข้อยกเว้นไว้นะครับ (ผมจำรายละเอียดไม่ได้ เพราะดูอยู่ภาควิชาเดียว) บางหลักสูตรนั้นยืดหยุ่นให้ไป elective ได้ก่อนปีสุดท้าย หากการจัด rotation ไม่สามารถทำได้ ก็เลยกลายเป็นว่าปีสุดท้ายได้ไปเดือนเมษา.-พฤษภา. แต่ elective นั้นไปตั้งแต่ปีก่อนแล้วแต่ไม่รู้กันเพราะภาคฯไม่ได้บอก


คงต้องฝากอาจารย์ที่เข้ามาดูทำความเข้าใจกับแพทย์ใช้ทุนด้วยครับว่า rotation นั้นอันไหนเป็นอะไร บางทีการสื่อสารอาจคลาดเคลื่อนได้


Posted by : พี่น้อง , Date : 2007-01-01 , Time : 02:43:20 , From IP : 222.123.40.31

ความคิดเห็นที่ : 24


   ผมคิดว่าคุณมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะเรียนต่อที่ไหน? ถ้าคิดว่าสถาบันในส่วนกลางดีกว่า มีความรู้มากกว่า แล้วคุณมาสมัครใช้ทุนที่นี่ทำไม?

Posted by : คนขี้สงสัย? , Date : 2007-01-01 , Time : 08:54:50 , From IP : 172.29.1.126

ความคิดเห็นที่ : 25


   ความเห็นข้างบน สั้น ตรงเป้า ไม่มีอ้อมค้อม

แต่ แรง ไปหน่อยมั้งครับ


Posted by : guru , Date : 2007-01-01 , Time : 12:06:36 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 26


   ขอยืนยันว่าบางภาคไปข้างนอก8-9เดือนจริงๆ
และ rotationของแพทย์ใช้ทุน จบที่มีนาคม ซึ่งรวม สำแรอำ ไว้ในนั้น ไม่ไช่มาelective หลังมีนาคม (เขียนไว้ในหลักสูตร)


Posted by : แพทย์ , Date : 2007-01-01 , Time : 12:23:21 , From IP : 172.29.3.204

ความคิดเห็นที่ : 27


   เห็นด้วยกับน้อง "แพทย์" ครับว่า elective จริงต้องไม่เอาไปใส่ไว้หลังเดือนมีนาคม เพราะหมดหลักสูตรไปแล้ว ...แต่ก็มีคนบอกมานะครับว่าระหว่างนั้นเราก็รับเงินเดือนอยู่เหมือนกัน สำหรับผม สองเดือนสุดท้ายก็น่าจะปล่อยเด็กให้ไปเตรียมตัวได้นะครับ เพื่อนผมเรียน resident ที่กรุงเทพฯ ต้องทำงานจนถึง 31 พค. เลย อันนี้ก็หนักไปหน่อย

ส่วนที่บอกว่าได้ไปข้างนอก 8-9 เดือนนั้นคงต้องเอาหลักสูตรมากางดูกันโดยถ้วนทั่วครับว่าเขายืดหยุ่นให้หรือว่าแจงให้ไปได้ตามนั้นจริง ๆ หรือไม่


ขอยกตัวอย่างนะครับ เท่าที่พอจะรู้ก็คือ หลักสูตร neurosurgery ที่เขาให้ไปอยู่ Neuroradiology 1 เดือน, Neuropathology 1 เดือน, Neuromedicine 1 เดือน, นี่ก็ปาเข้าไปสามเดือนแล้ว รวมกับ elective อีกจำนวนหนึ่ง (จำไม่ได้ว่ากี่เดือน) ก็กลายเป็นอย่างน้อย 5 เดือน รวมสองเดือนสุดท้ายก็น่าจะเป็นอย่างน้อย 7 เดือน

แต่ถ้าเราจะให้ elective Neuroradiology, Neuropathology, Neuromedicine ใน มอ. มันก็จะเหมือนกับไปปิดโลกทรรศน์ของคนที่เรียน ทั้งที่ประสบการณ์ ความรู้ ก็คงไม่แตกต่างกันนักไม่ว่าจะเป็น มอ. เองหรือที่กรุงเทพฯ เพราะคนที่ไป elective ก็ไม่ได้หวังจะให้ตัวเองมีความรู้ในสาขาที่ไป elective จนเกิน field ของตัวเอง ...หลายคนเลยคิดเหมือนคุณความเห็นที่ 24 ซึ่งผมมองว่าคิดในมุมแคบไปนิด ถ้าเปิดใจให้กว้าง การปล่อยเด็กออกไปข้างนอกบ้างน่าจะเป็นการส่งเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้คุ้มค่ามากกว่าเงินเดือนที่จ่ายออกไป (ผู้บริหารอาจไม่มองแบบนี้) สถาบันส่วนกลางอาจดีกว่าก็จริง แต่คุณภาพของ มอ. ก็มิได้ด้อยจนจะมาขับไล่ใสส่งกันแบบนี้ เด็กของเราที่เป็นแพทย์ใช้ทุนนั้นหลายคนไม่เคยไปทำงานโรงพยาบาลอื่นเลย เรียกว่าจบ มอ. แล้วก้เรียนต่อ มอ. ทันที การไปรู้จักผู้คน รู้จักเพื่อนร่วม training รู้จักอาจารย์ น่าจะช่วยส่งเสริมคนมากกว่า

แต่ก็ต้องมาถ่วงดุลย์กับความที่เราต้องทำงานเพื่อรับเงินเดือนด้วยนะครับ มากเกินไปก็คงไม่ดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย


คงต้องรบกวนน้อง "แพทย์" เรื่องข้อมูลที่ว่า 8-9 เดือนนั้นเป็นมาอย่างไร ถ้าได้รายละเอียดมา อาจทำให้หายสงสัยได้นะครับ


Posted by : พี่น้อง , Date : 2007-01-01 , Time : 14:11:43 , From IP : 222.123.149.239

ความคิดเห็นที่ : 28


   ปัญหาที่กำลังอภิปรายอยู่ ผมคิดว่าค่อนข้างจะยากที่เราจะคุยกันแบบรวมๆกันได้ เพราะ elective นั้น จะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละวุฒิบัตร หรือแต่ละราชวิทยาลัย และไม่เหมือนกันครับในแต่ละราชวิทยาลัย การขอให้อภิปรายว่าเหมาะสมไม่เหมาะสมโดยไม่มีโจทย์ที่ชัดเจน (คือ "ระเบียบการ elective ของราชวิทยาลัย" นั้นๆ) ก็จะยากที่จะนำมาซึ่งข้อสรุป

การ elective นั้น ต้องมีการประสานงานของทั้งคนรับและคนส่งไปด้วยเช่นกัน จำนวน resident แต่ละวิชานั้น "ถูกคำนวณ" ให้เหมาะสมกับจำนวนอาจารย์ จำนวน case จำนวน OR หรือห้องผ่าตัด จะมียืดหยุ่นบ้าง แต่คนรับก็จะต้องพิจารณาว่าไม่มีผลกระทบอะไรมากกับคนใน training ของเขา เช่น ถ้าไปอยู่แล้วเวรของ chief ลดลงมากไป หรือได้เข้า case น้อยไป ฯลฯ (อันนี้สุ่มเปะปะ ไม่ทราบว่าตรงประเด็นหรือไม่ เพราะโจทย์ไม่ชัดตั้งแต่ต้น)

ของคนส่งก็เช่นกัน คนส่งก็เป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้ผู้อบรม ผมคิดว่ากฏที่ผ่านจากกรรมการคณะฯก็คือ การ elective ต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ของราชวิทยาลัยเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ผมคิดว่า รพ.มี ceiling ไว้เหมือนกันว่าไม่เกินปีละกี่เดือน อันนี้น่าจะพอเข้าใจว่า รพ. จะออกเงินเดือนให้ไปเปล่าๆปีละ 8 เดือน หรือ 66% ของปีนั้น ก็คงต้องมีการพูดคุยระหว่างภาควิชาฯ และคณะฯ (หรือที่ถูกคือ รพ. ที่รับผิดชอบแพทย์ที่มาชดใช้ทุน)

ที่ว่าให้พูดคุยกับอาจารย์ postgraduate นั้น ไม่ได้หมายถึงว่าให้พูดเกริ่นๆแค่นั้นครับ แต่ให้ไปอธิบายว่าคุณหมอคิดว่าสิทธิคุณหมอคืออะไร มีแค่ไหน และจะได้ซักถามเรื่องข้อจำกัดต่างๆของทาง รพ. รวมทั้งหนาทงออกที่ออมชอมของ รพ. และราชวิทยาลัย การพูดคุยแบบเกริ่นๆนั้น ผมคิดว่าจะมีโอกาสที่ข้อมูลทุกด้านยังไม่ได้นำมาคุยกันให้หมด

การที่มีอาจารย์ postgraduate ของทุกภาควิชานั้นก็เพราะวัตถุประสงค์นี้โดยตรง และแต่ละท่านจะมีข้อมูลของราชวิทยาลัย กฏรนะเบียบ และ requirement รวมทั้งการตัดสินใจของกรรมการประจำคณะฯที่เกี่ยวกับภาควิชาตนเองมากที่สุดครับ กระดานข่าวรวมคงจะมีข้อมูลทำนองนี้น้อย หรือ ไม่ตรงกับบริบทซะทีเดียว การอภิปรายก็จะมีการใช้อารมณ์กันมากกว่าใช้ข้อมูล



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-01 , Time : 20:04:06 , From IP : 222.123.98.85

ความคิดเห็นที่ : 29


   เห็นพูดถึงเรื่องเงินเดือนที่ คณะต้องจ่ายให้ สงสัยจริง มันมากมาย จนน่าเสียดายมากเลยเหรอ ครับ
แล้วถ้า ออกตังค์เอง( ไม่ขอรับเงินเดือน ) แล้ว ขอให้ได้ไป elective นี่ จะมีคนยอมใหม เนี่ยะ
ผมว่า ถ้าพูดถึงเรื่องเงิน มาก่อน สิ่งอื่นใด นี่ อาจจะใจแคบ ไปหน่อย มั้งครับ

แต่ ถ้าสมมุติ ไป elective แล้ว ไปเที่ยวหาประสพการณื อย่างอื่นๆ จนนอก field และ ทำตัวน่าเกลียด เช่น ไปซุมอ่านหนังสืออย่างเดียว+ ไม่ทำตามกฏระเบียบของสถานที่ นั้นๆ จนเขาแจ้งเตือนมา อันนี้ ก็คง ต้องโทษ พชท กันเองที่ ทำให้ อาจารย์ ไม่เชื่อถือ


Posted by : guru , Date : 2007-01-01 , Time : 20:49:46 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 30


   ที่เขียนไปคงมีเนื้อหามากกว่าเงินเดือนอย่างเดียว

เวลาเรามาทำงานนั้น มีวิธีที่เราเกิด "ความผูกพัน" กับสถานที่ที่เรามาทำงานได้หลายวิธี ตรงนี้คงไม่ใช่สากล แต่เป็นแล้วแตปัจเจกบุคคล เพราะแต่ละที่ก็ "มีส่วน" ปั้น หรือ ประกอบ ให้เราเป็นตัวเราทุกวันนี้ทั้งสิ้น เวลาผมพูดถึง "แต่ละที่" หมายถึงบริบทในการทำงานทั้งหมด (เดี๋ยวนี้เขียนอะไร ต้องละเอียดนิดนึง) ได้แก่ ความผูกพันกับอาจารย์ เพื่อนร่วมงาน รุ่นน้อง พยาบาล ฯลฯ ที่เราได้เติบโต พัฒนาตนเองมาโดยตลอด

ผมอยากจะให้คุณหมอคนที่กำลังเป็นทุกข์ มีช่องทางที่จะทำให้มัน work หรือมีโอกาส work มากที่สุดครับ และคิดว่าบนนี้ (กระดานข่าว) อาจจะไม่ได้นำไปสู่ที่คุณหมอต้องการ

การมาทำงานนั้น คงจะดีไม่น้อยถ้าเราคิดว่าเกิด mutual benefit คือต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ ถ้าคิดเช่นนั้น จะได้มี อตฺตานํ อุปมํ กเร คิดเผื่อเราแล้ว ก็คิดเผื่อเขาด้วย เวลาเราได้ เวลาเขาได้ เวลาเราเสีย และเวลาคนอื่นเสีย จะได้นำมาคิดประกอบกันทั้งหมด



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-01 , Time : 21:18:38 , From IP : 222.123.98.85

ความคิดเห็นที่ : 31


   ในส่วนของ Neurosurgery หลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตร 5 ปี ที่ถูกกำหนดมาจากคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ(อฝส) สาขาประสาทศัลยศาสตร์ (หลักสูตร 3 ปีเดิมแต่ละสถาบัน ต่างกำหนดรายละเอียดกันเอง) การจัดให้ พชท/พจบ ไปหมุนเวียนตามสาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องนั้นถือเป็นภาคบังคับ ไม่ใช่ elective อย่างทีพูดถึงกัน ผมไม่ทราบว่าสาขาวิชาอื่นเป็นอย่างไร แต่คิดเอาเองว่าสาขาวิชาที่มีการปรับหลักสูตรกันใหม่ เช่น general surgery ที่ปรับเป็น 4 ปีแล้ว น่าจะมีแนวทางที่คล้ายกันคือถูกกำหนดมาจาก อฝส ของแต่ละสาขาวิชา

ผมอ่านความเห็นต่างๆของกระทู้นี้แล้วไม่ค่อยแน่ใจวาเข้าใจตรงกันหรือเปล่ากำลังวิเคราะห์ประเด็นเดียวกันหรือเปล่า


Posted by : นิวโรน , Date : 2007-01-02 , Time : 11:45:01 , From IP : p148-rasskalf1.S.csl

ความคิดเห็นที่ : 32


   ประเด็นที่อยากจะชี้ให้เห็นก็คือ การที่เห็นว่าไปอยู่กรุงเทพฯ นั้น อาจไม่ใช่ elective ไปเสียทั้งหมด เพราะอาจะป็น rotation ที่ถูกหลักสูตรบังคับให้ไปครับ เลยยกตัวอย่างอย่างที่เขียนไว้ เพราะที่น้อง "แพทย์" ยกขึ้นมาว่าบางสาขาได้ไปกรุงเทพฯ ตั้งแปด-เก้าเดือน นั้นแท้จริงแล้วอาจเป็นหลักสูตรกำหนดให้ไป ไม่ใช่ว่าเขาจะไปได้เองครับ

คงต้องขอโทษด้วยที่ใช้คำว่า elective ในย่อหน้าที่สี่ของความเห็น 27 ของผมเองทำให้เข้าใจผิด

ขอบคุณคุณหมอ นิวโรนด้วยที่ท้วงติงครับ


อยากให้แต่ละคนที่ถือหลักสูตรอยู่ในมือเอามาดูรายละเอียดกันว่าแต่ละปีนั้นได้ไปกรุงเทพฯ กันภาคละกี่เดือน เป็น elective ทั้งหมดหรือว่าหลักสูตรกำหนดให้ไป ถ้าหลักสูตรกำหนดให้ไปก็คงเข้าใจได้ตรงกันว่าเขาบังคับให้ไปครับ (ไม่ได้หมายความว่าเขียนว่าไปกรุงเทพฯ นะครับ แต่อาจกำหนดให้ไปที่ที่มี specialist ในบางสาขาหรือมีหลักสูตรรองรับซึ่งมักจะเป็นกรุงเทพฯ นั่นเอง)


Posted by : พี่น้อง , Date : 2007-01-02 , Time : 16:50:29 , From IP : 58.147.112.164

ความคิดเห็นที่ : 33


   ขอให้คุณหมอที่สงสัยเรื่อง elective ของภาควิชานำปัญหาปรึกษา อ.ที่ดูแลของภาควิชาด้วยค่ะ เนื่องจากวันพฤหัสนี้จะมีการประชุมของกรรมการฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา จะได้แก้ปัญหาให้ตรงจุด หรือหากคุณหมอไม่กล้าพูดกับ อ.ก็ขอช่วยบอกรายละเอียดภาควิชาและปัญหา ไปที่หน่วยการศึกษาหลังปริญญาก็ได้ค่ะ ส่วนระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการฝึกอบรมมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละหลักสูตร แต่หลักการโดยรวมของการฝึกอบรมจะเป็นการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านซึ่งเริ่มเดือนมิถุนายน ส่วนแพทย์ใช้ทุนหลักการเริ่มมาจากการชดใช้ทุนตามสัญญากับมหาวิทยาลัยแต่เนื่องจากมีหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านขึ้นคณะจึงต้องการให้ผู้ชดใช้ทุนได้วุฒิการศึกษาด้วยจึงนำมาเทียบเคียงแต่ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมดขอให้ดูในหลักสูตรแต่ละหลักสูตรด้วยค่ะ

Posted by : หลังปริญญา , Date : 2007-01-02 , Time : 21:50:26 , From IP : 172.29.7.167

ความคิดเห็นที่ : 34


   ขออนุญาตขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ rotation และ elective อีกนิดนึง เพราะคิดว่าอาจจะมีนัยสำคัญต่อความเข้าใจ

แต่ละราชวิทยาลัยจะกำหนดให้มี mandatory (ภาคบังคับ) rotation ไปตามหน่วยต่างๆ "ภายนอกภาควิชา" เพราะเป็นความจำเป็นที่จะทำงานในสาขาที่ตนกำลังเตรียมเป็น specialist อยู่ ในสถานที่ฝึกอบรมหลายๆแห่ง (โดยเฉพาะโรงเรียนแพทย์) ก็จะมีความ "พร้อม" ในสาขาย่อยต่างๆเหล่านี้มากกว่า ส่วนสถานฝึกอบรมใหม่ๆก็จะไม่มีบาง specialist และ "จำเป็น" ต้องส่งไปข้างนอกเพื่อที่จะ "มีสิทธิ์" สอบเอาวุฒิบัตร

Elective เป็นคนละเรื่องกัน ตามหลักการแล้ว elective จะเป็นอะไรก็ได้ บางทีก็ถูกเสริมให้มีกรอบควบคุมนิดหน่อย (เพราะอะไรก็ได้นั้น รวมถึงนอนตีพุงอยู่กับบ้าน) และบางที่ก็ "กำหนด" ตัวเลือก elective ตรงนี้เราเรียกเป็น selective ไม่ใช่ elective

ที่มี elective ในระดับ postgraduate นั้น เพราะจะเพิ่ม "ความกว้าง" ในมิติอื่นของบัณฑิตระดับหลังปริญญา ตามหลักการนี้ อะไรที่เป็น "ภาคบังคับ" ไม่ควรจะอยู่ใน elective period และน่าจะอยู่ในเวลาที่เป็นภาคบังคับว่าเป็น minimal requirement ของราชวิทยาลัย คือ "ต้องผ่าน" จึงจะถือว่า qualified ที่จะสมัครสอบ โดยทั่วๆไปวิชาภาคบังคับมักจะกินเวลาส่วนใหญ่ของการ training และไม่น่าจะมีเวลา elective ในเปอร์เซนต์ที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้เวลาการ training มากเกินไปอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น mandatory 36 เดือน elective อาจจะสัก 4-6 เดือนอย่างมาก ตรงนี้อะไรที่เรียกว่า "เหมาะสม" เป็นเรื่องของ อฝส. หรืออนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ ของแต่ละราชวิทยาลัยเป็นคนคิด

ทีนี้ถ้าสถานฝึกอบรมมี specialists เพียงพอที่จะถือเป็น rotation นั้น ตามหลักการแล้ว ถ้าได้รับ certified จากราชวิทยาลัย คงจะดูแปลกๆถ้ายังจะส่งไปเรียนที่อื่นที่ตนเองมีการฝึกอบรมอยู่ เป็นการสูญเสียทาง cost effectiveness และดูเป็น self-depreciation คือลดคุณค่าของ staff ตนเองอย่างไรอยู่ ยกเว้นคือมี case ที่น่าสนใจแตกต่างกันเยอะ

ประเด็นที่ "มีความรู้สึก" ว่า การฝึกอบรมต่างจังหวัด (คือ "นอกกรุงเทพ") นั้ "ด้อยกว่า" เป็น inferiority complex ของเราเองในบางกรณี เช่น ของศัลย์ ถ้าพูดถึง hepatobiliary คงจะไม่เท่าขอนแก่น หรือ esophageal cancer ไม่มีที่ไหนเท่าสงขลา ลองพิจารณาดูในแง่ ACADMIC ว่าอะไรกันแน่ที่เราขาด และเราสามารถจะมีได้หรือไม่ที่นี่

ลองพิจารณาไตร่ตรองดูให้ดีครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-02 , Time : 22:09:35 , From IP : 222.123.97.11

ความคิดเห็นที่ : 35


   ผมอยากจะขยายความของความคิดเห็นที่ 33 ต่อไปอีกนิดหนึ่งว่า มีเฉพาะในโรงเรียนแพทย์ส่วนภูมิภาค และโรงพยาบาลศูนย์บางแห่งของกระทรวงสาธารณสุข เท่านั้นที่ พชท.สามารถเข้าสู่ระบบของการฝึกอบรมฯ ได้ โดยการอนุมัติของ อฝส.สาขาวิชานั้นๆ, แพทยสภา และคณะกรรมการจัดสรร นศพ.ผู้ทำสัญญา(อันหลังนี้จำเป็นเพราะโควต้าของพชท.ที่มีอยู่ในแต่ละภาควิชาจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนที่แพทยสภาอนุมัติฯ) จึงถือได้ว่า พชท. ในโรงเรียนแพทย์ส่วนภูมิภาคมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับแพทย์ประจำบ้านทุกประการ
ในความเห็นของผม พชท./พจบ.จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับสาขาวิชาที่เปิดรับ ไม่ใช่เพียงเพื่อทำงานบริการอย่างเดียว แต่จะทำให้เกิดการพัฒนาในหลายด้านด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการวิจัยที่จะทำให้ประเทศของเรามีความมั่นคงทางด้านวิชาการความรู้ ไม่ใช่ไปวิ่งตามคนอื่นเขาตลอดไป
ผมอยากให้ พชท.ทุกท่านเข้าใจถึงความสำคัญของตนเอง และผมเข้าใจว่ามีอาจารย์หลายท่านพร้อมจะให้คำปรึกษาในกรณีที่เกิดความไม่เข้าใจกัน


Posted by : นิวโรน , Date : 2007-01-03 , Time : 10:31:34 , From IP : 172.29.1.126

ความคิดเห็นที่ : 36




   ถามว่า คนส่วนใหญ่ชอบปีนขึ้นหรือลงบันไดมากกว่ากัน
คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะชอบตอนลงมากกว่า เพราะไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องต้านแรงโน้มถ่วง
ถ้าเราฝืนใจตัวเอง ลองปีนขึ้นบันไดขึ้นไป วันหนึ่งเราก็จะอยู่สูงกว่าที่เราเคยเป็น
ในขณะเดียวกันถ้าเราตามใจตัวเอง ปีนลงบันได วันหนึ่งเราก็จะอยู่ในจุดที่ต่ำโดยไม่ได้ตั้งใจ
บุคคลสำคัญของโลกทั้งหลายส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จเพราะมีความพยายาม ความอดทน
คุณหมอโนกุจิ ฮิเดโยะ มีคติประจำใจคือ นินไต=อดทน
มีคนกล่าวว่า" ความอดทนมีรสขม แต่ผลของความอดทนมีรสหวาน"
พวกเราเคยปีนเขาหรือขึ้นเขามั๊ย ถ้าเคยคงจำความรู้สึกในขณะที่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดได้
ความต่างไม่กี่เดือน ผมว่าไม่น่าจะมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ถ้าวันนี้ทำสิ่งที่ทำให้มองในแง่ลบออกมา ที่เคยทำดีไว้อาจจะถูกลืมหมด โลกเรามันเป็นอย่างนี้จริงๆ
อยากให้ตัวเราเป็นอย่างไร ลองคิดพิจารณาดูเองละกัน


Posted by : megumi , Date : 2007-01-03 , Time : 12:36:06 , From IP : 172.29.7.171

ความคิดเห็นที่ : 37


   ขอรบกวนอาจารย์ phoenix ลองเอาหลักสูตรศํลยกรรมมาดูเป็นตัวอย่างได้ไหมครับ จะได้เห็นชัด ๆ ว่าอะไรเป็นอะไร ช่วงไหนเป็น selective ช่วงไหนเป็น elective เผื่อว่าจะได้เห็นชัด ๆ เป็นรูปธรรม อย่างน้อยก็ได้ข้อสรุประดับหนึ่งว่าภาควิชามีแนวทางอย่างไรบ้าง

อย่า post แบบใครอยากพิมพ์อะไรให้อ่านแล้วดูดีก็ post กันไป แต่ประเด็นที่คุยกันไม่ก้าวหน้าเลย

หรือน้อง "แพทย์" จะเอาหลักสูตรของภาควิชาที่น้องสังกัดมาดูก็ได้ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าเอามาดูแล้วสามารถ clear กันได้ก็คงจะไม่มีอะไรติดค้างนะครับ

ผมว่าเอาอย่างนี้ดีกว่าครับ


หมายเหตุ; สนับสนุนความคิดของคุณหมอ "นิวโรน" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความเห็นที่ 35 ครับ


Posted by : พี่น้อง , Date : 2007-01-03 , Time : 18:39:31 , From IP : 222.123.46.42

ความคิดเห็นที่ : 38


   ขณะนี้คนที่น่าจะมีข้อมูล update ที่สุดของศัลย์ น่าจะเป็นอาจารย์บุรภัทรครับ เท่าที่ผมทราบคือ ทางราชวิทยาลัยศัลย์กำลัง (หรือได้ทำ) ปรับหลักสูตรใหม่ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เกรงว่าข้อมูลที่ผมมีสมัยผมทำ postgrduate (ซึ่งก็คือประมาณ 2 ปีกว่าแล้ว) จะไม่ accurate เดี๋ยวจะเกิดมีปัญหาเพิ่มอีก

เท่าที่ผมอ่านดู ไม่แน่ใจว่าทำไมคุณพี่น้องถึงอยากได้ตัวอย่างของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ก่อนแล้วจะช่วย จขกท อย่างไร ศัลย์เคยอนุญาตให้ไป elective ถึงสิงค์โปร์ซะด้วยซ้ำ แพทย์ใช้ทุนที่สนใจลองถามอาจารย์โอม หรืออาจารย์ประสิทธิ์ดูก็ได้นะครับเรื่องรายละเอียดการ elective นอกสถานที่แบบนี้ สำหรับหลักสูต (เดิม) นั้น มีกำหนดไว้เป็นรายปีว่าจะมี rotation อะไรบ้าง มีแจกให้แพทย์ใช้ทุนทุกคนตั้งแต่ปีหนึ่ง เข้าใจว่าแพทย์ใช้ทุนศัลย์จะมีความชัดเจนเรื่องมากพอสมควร หรือสามารถหา reference ได้ไม่ยากเกินไป

ผมเห็นด้วยอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าน้อง จขกท อยากให้มี progress ก็น่าจะคุยกับอาจารย์ postgraduate ของภาคตัวเอง หรือสาขาตนเองดีที่สุดครับ รู้สึกว่าข้อแนะนำอันนี้จะเป็นอันที่น่าจะทำให้ "ก้าวหน้า" มากสุดแล้ว และได้มีการแนะนำเรื่องนี้มาตั้งแต่ responses แรกๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-03 , Time : 23:19:06 , From IP : 222.123.97.11

ความคิดเห็นที่ : 39


   ที่อยากจะเอามาเป็นตัวอย่างก็เพราะว่าอยากได้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมครับอาจารย์ อย่างน้อยก็อาจจะได้เห็นว่าที่ไปกรุงเทพฯ กันนั้นเป็นหลักสูตรบังคับ ไม่ได้หาช่องทางไปกันเองหรือว่าภาควิชาสนับสนุนโดยไม่มีพื้นฐานของหลักสูตรครับ

ของอาจารย์ยังดีนะครับที่มีหลักสูตรของเมื่อสองสามปีก่อน ของผมมีเมื่อห้าหกปีก่อน แถมยังเก็บไว้ที่ไหนก็ไม่รู้อีก อันที่อาจารย์มีนั้นผมมีต้นแบบจากราชวิทยาลัยอยู่ และเป็นคนร่วมจัด rotation ในรุ่นแรก ๆ ของภาควิชาเองครับ แต่ด้วยความที่นานมาแล้วก็เลยชักจะลืม ๆ ไปว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร

ถ้าไม่ update ก็คงไม่ใช้ประเด็นสำคัญอะไรหรอกครับ อยากให้เจ้าของกระทู้เอาของภาควิชาของเขามาดูมากที่สุด แต่เห็นเขาเงียบ ๆ ไปแล้ว ก็คงจะไม่ติดใจอะไรแล้วครับ


ขอสวัสดีปีใหม่อาจารย์ phoenix ด้วยครับ


Posted by : พี่น้อง , Date : 2007-01-04 , Time : 17:48:30 , From IP : 222.123.46.148

ความคิดเห็นที่ : 40


   8-9เดือน คือ หาดใหญ่2เดือน มหาราช 2เดือน สุราษฏร์ 2 เดือน กทม 3เดือน
เหนื่อยแล้ว ไม่รู้จะ post ไปทำไม post ไปก้ไม่เกิดอะไรดีขึ้น
...............................เหนื่อย..........................................................


Posted by : แพทย์ , Date : 2007-01-05 , Time : 00:18:27 , From IP : 172.29.7.148

ความคิดเห็นที่ : 41


   หลักสูตรมรอยู่ในมือแพทย์ใช้ทุนเต็มเลย ลองถามหาดู

Posted by : นานาจิตัง , Date : 2007-01-05 , Time : 01:03:44 , From IP : 172.29.7.233

ความคิดเห็นที่ : 42


   น่าสงสารจริง ผู้ใหญ่ในภาคยังไม่รุ้หลักสูตรในภาคเลย แต่กำหนดอะไรไปต่างๆนาๆ

Posted by : นานาจิตัง , Date : 2007-01-05 , Time : 01:11:14 , From IP : 172.29.7.233

ความคิดเห็นที่ : 43


   ภาค1:หาดใหญ่2เดือน มหาราช 2เดือน สุราษฏร์ 2 เดือน กทม 3เดือน
ภาค2:ส่วนกลาง5เดือนมหาราช 1เดือน สุราษฏร์1 เดือน
ภาค3:ส่วนกลาง3เดือน
ภาค4:ส่วนกลาง4เดือน
ภาค5:ส่วนกลาง4เดือน
คงมีบางภาคที่ปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลอย่างเคร่งคัด
การไปelective ส่วนกลางไม่ได้หมายความว่าสถาบันที่ศึกษอยู่ด้อยค่า แต่ แม้แต่ที่เดียวกัน ยังมีความเห็นต่างกัน การไปข้างนอก เพื่อเปิดรับสิ่งอื่นๆบ้าง
ต่อคำถาม มีคนปฏิบัติงานถึง 31พ.ค.----> พชท. ทำงานก่อน resident
ถ้ามีปัญหา โรงพยาบาลต้องจ่ายเงินให้ : เชื่อว่ามี พชท. ไม่อยากรับเงิน หลายคน ในเมื่อหลักสูตร มันจบที่ 30 มีนาคม และรวม elective ไว้ในนั้น ก็ควรต้องเป็นอย่างนั้น
ข้อมูลที่ชี้แจงข้างต้น สามารถตรวจเช็คได้ ถ้าจริงใจที่จะเช็ค อาจมีความแตกต่างระหว่างภาควิชา (ที่ยกมา เป็น elective ข้างนอก ไม่ได้รวม electiveข้างใน)
แต่หลักสุตรของภาควิชาใด ก้ควรเป็นไปตามหลักสูตร
การ traunug จบวันที่ 30 มีนาคม จ้า


Posted by : เพื่อนแพทย์ , Date : 2007-01-05 , Time : 01:38:55 , From IP : 172.29.7.233

ความคิดเห็นที่ : 44


   ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ทำงานใน มอ. นะครับ ตอนนี้อยู่กระทรวงสาธารณสุข แล้วก็ไม่สามารถทราบหลักสูตรปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว

อ่านความเห็นที่ 43 ของเพื่อนแพทย์ ตอนแรกก็งงว่า ภาค 1, ภาค 2 ฯ นี่หมายถึงอะไร แต่อ่านไปอ่านมาก็พอเข้าใจว่าหมายถึงภาควิชาที่ 1, 2, 3, ... อย่างนี้ก็เข้าได้กับที่เคย discuss กันไว้ก่อนว่าการไปกรุงเทพฯ (ในความเห็นใช้คำว่า "ส่วนกลาง) อาจเป็นหลักสูตรบังคับให้ไป คณะแพทย์ฯ หรือโรงพยาบาลไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้

หรืออาจเป็นการไป elective ตามโปรแกรมฝึกอบรมก็ได้ ซึ่งส่วนนี้ทางคณะแพทย์ฯ สามารถกำหนดได้ครับ เพื่อเป็นบรรทัดฐานว่าแต่ละปีให้ไปต่างโรงพยาบาลได้กี่เดือนนอกเหนือจากหลักสูตรบังคับ

คำว่าหลักสูตรบังคับนั้นก็ต้องมานิยามให้เข้าใจตรงกันด้วย เช่น pathology จะเอาจำเพาะเจาะจงแค่ไหน ต้องไปที่มี subboard เช่น OB-Gyn, Neuro, Skin เลยหรือไม่ ถ้าเขากำหนดอย่างนั้น คณะฯ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ถ้าไม่กำหนดหรือบอกกว้าง ๆ ไว้ อันนี้ต้องมาตกลงกันในภาคฯ แล้วเสนอคณะฯ ให้พิจารณา (ต่อรองกันได้) อยู่ที่ความยืดหยุ่นมากกว่าครับ

ส่วนเรื่องทำงานถึง 31 มีนาคม หรือ 31 พฤษภาคมนั้น ต้องมาดูสัญญาทำงานกันก่อนครับว่าเขาตกลงจ้างไปจนถึงเมื่อไหร่ จะรับหรือไม่รับเงินเดือนในเวลาส่วนเกินนั้นต้องดูรายละเอียดสัญญาให้ดี แต่ผมว่าเรื่องนี้มันเหมือนถ้อยทีถ้อยอาศัยกันนะครับ อย่าให้เหมือนฝรั่งต่างด้าวกันเลยที่ทำงานครบสัญญาแล้วก็แยกย้ายกันไปแบบไม่มีอาจารย์ ไม่มีศิษย์อย่างนี้ก็ไม่ดีเท่าไหร่


Posted by : พี่น้อง , Date : 2007-01-05 , Time : 08:25:31 , From IP : 222.123.136.81

ความคิดเห็นที่ : 45


   ผมทราบว่าขณะนี้มีราชวิยาลัยหลายๆแห่งกำลังปรับปรุงหลักสูตรอยู่ มากน้อยไม่เท่ากัน มีตั้งแต่การปรับแค่การประเมินเฉยๆ (ได้แก่ กำหนด table of specification, viva voce, research, short-case, long-case, etc) หรือการประเมินบวกการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วย ไปจนถึงปรับเปลี่ยน learning objectives บางอย่างให้ทันต่อสมัยและเหตุการณ์ หลักสูตรวิชาที่เกี่ยวกับสาธารณสุขนั้นไม่นิ่งมากครับ เพราะวัตถุประสงค์หลักคือ quality of life ของประชาชน ซึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม การมีเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น นาโน endoscopic surgery, robotic surgery, etc นั้น มีผลที่ทำให้แต่ละราชวิทยาลัยต้องคิดไปข้างหน้าตลอดเวลา กฏหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพก็มีผลต่อการกำหนดหลักสูตร DALYs หรือ burden of diseases ล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขก็มีผลต่อการปรับเปลี่ยนหลักสูตร ความจำเป็นที่แพทย์ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการส้รางองค์ความรู้ ก็มีผลต่อการปรับเรื่องวิชาการวิจัยและระบาดวิทยาเพิ่มมากขึ้น คนที่ไม่ได้ทำงานโดยตรงกับหลักสูตรจะตามไม่ทันล่าสุดนั้น ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดา ขอเพียงทราบว่าจะตามอย่างไร และต้องการจะตาม ก็มีโอกาสครับ

ประการหนึ่งที่พวกเราพึงทราบก็คือ ในทางปฏิบัติเราจะต้องมีการปรับเข้าหากันระหว่างหลักสูตรและการทำงานในโรงพยาบาลด้วยเสมอ การกระจาย elective หรือ selective ส่วนหนึ่งนอกจากเป็นตามความเหมาะสมของวุฒิภาวะของ trainers สำหรับเนื้อหา อีกส่วนหนึ่งก็คือการคำนึงถึงกำลังคนปฏิบัติงานให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล เท่าที่ผ่านมา อาจารย์ที่ทำหน้าที่ post-graduate ก็ได้ช่วย negotiate เรื่องนี้ระหว่าง พชท. พจบ. และโรงพยาบาลมาโดยตลอด ที่จริงบาง session ของที่ประชุม postgraduate ยังมีการเชิญตัวแทนพชท.ไปเข้าร่วมด้วยเลย รวมทั้งที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯด้วย ก็มีโอกาสที่ตัวแทนจะรวบรวมปัญหาและข้อคิดเห็นไปเสนอให้ออกเป็นภาคปฏิบัติได้อยู่ แต่ถ้าไม่ได้เข้า พวกน้องก็สามารถถามข้อจำกัดหรือเหตุผลต่างๆจากอาจารย์ที่เป็นตัวแทนเราได้ว่ามันเป็นยังไงมายังไง ผมคิดว่าอาจารย์ postgraduate ของแต่ละภาคก็คัดมาที่ พชท. พจบ. พอจะพูดคุยได้อยู่แล้ว บางทีมาอภิปรายบนนี้ก็อาจจะเป็นการคุยผิดคน หรือคุยลับหลังท่านไปเปล่าๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-05 , Time : 09:21:27 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 46


   ตกลง พชท.ต้องจบสิ้นเดือนมีนาคมใช่มั้ย ทำไมบางภาคบังคับให้ พชท.ทำงานจนถึงมิถุนายน อ้างว่าเพื่อให้เสมอภาคกับ resident ไม่ยุติธรรมเลย เพราะ พชท.เริ่มทำงาน 1 เมษายน คุยกับ postgrad...ไปก็เท่านั้นไม่มีประโยชน์


Posted by : ไม่เข้าใจ , Date : 2007-01-05 , Time : 18:33:56 , From IP : 172.29.7.21

ความคิดเห็นที่ : 47


   ผมคิดว่าประเด็นข้างบนนี้น่าสนใจครับ

กำหนดเวลาการชดใช้ทุนนั้นสิ้นสุดมีนาคมถูกต้องครับ และน้องจะยังไม่ qualified ในฐานะแพทย์เฉพาะทางจนกว่าจะสอบบอร์ด ซึ่งจะพร้อมๆกับแพทย์ประจำบ้านทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน โดยทั่วๆไปก็มักจะต้องมีการติดต่อเรื่องสถานที่ทำงานตั้งแต่ปลายปีที่กำลังจะจบการฝึกอบรม และ windows ในการเปิดตำแหน่งดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่ประกาศผลสอบบอร์ดเสร็จ (เอาตามเนื้อผ้าก่อนนะครับ)

ที่แล้วๆมาก็มีคำถามว่าช่วงรอยต่อนี้จะทำอย่างไร สังกัดที่ทำงานยังเบิกเงินเดือนมาให้ไม่ได้เพราะยังไม่ได้บรรจุอะไรทั้งสิ้น ที่แล้วมาก็คือโรงพยาบาลยินดีที่จะมีคุณหมอที่พร้อมจะสอบบอร์ดนี้ต่อไปโดยได้เงินเดือนจนกว่าพ้นช่วงผลัดเปลี่ยน ก็เป็น mutual benefit ทั้งสองฝ่าย

ผมเข้าใจว่าในกรณีที่มี พชท. ต้องการจะ terminate ความสัมพันธ์ทันทีที่ใช้ทุนจบ ก็น่าจะเป็น "สิทธิ"

ทีนี้ผมว่าเรายังคงมีเรื่องอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ที่เราอยู่ด้วยกันมาสาม สี่ หรือห้าปีนี้เป็นอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างน้องกับสถานที่ทำงานใหม่จะเป็นอย่างไร ใน community ของเราก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน

ผมไม่แน่ใจอย่างที่น้องว่าโรงพยาบาลบังคับให้ พชท. "ต้อง" อยู่ทำงานที่ ม.อ. หบังสิ้นสุดเดือน มีค. นะครับ เดิมรู้สึกจะเป็นกลับกัน คือ พชท. ขออยู่ต่อ เรื่องงานต่างๆส่วนใหญ่ในคณะฯ เราก็จะทราบว่าพี่ใหญ่กำลังเตรียมตัวสอบ (รับรองว่าไม่เหมือนใน กทม. ที่อาจจะต้องอยู่เวรจริงๆจนถึงวันก่อนสอบเลยก็ยังมี) ก็พอจะมีเวลาอ่านหนังสือ มีความสัมพันธ์อันดีกับอาจารย์ที่ทราบว่าน้องกำลังจะกลายเป็นเพื่อนร่งมอาชีพสาขาเดียวกันอีกไม่กี่เดือน เราก็เห็นประโยชน์ตรงนี้

ผมคิดว่าน้องอาจจะต้องการคุยกันมให้ดีระหว่างเพื่อนๆ พชท. ด้วยกันเองว่า windows ตรงนี้เราควร หรือไม่ควร รักษา relationship เดิมไว้กับสถาบันต้นสังกัด ลองคิดให้รอบคอบว่าน้องจะได้ประโยชน์อะไร และอาจจะเสียประโยชน์อะไร และออกมาเป็นข้อเสนอส่วนบุคคล หรือต้องการสำหรับพชท. ทุกคน ก็น่าจะพอดำเนินการได้นะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-05 , Time : 21:50:54 , From IP : 222.123.97.11

ความคิดเห็นที่ : 48


   ภาคใครก็ไปคุยกันเองเถิด รายละเอียดคงต่างกัน

Posted by : eq , Date : 2007-01-05 , Time : 23:43:43 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 49


   เรียนถามคุณ "ไม่เข้าใจ" ครับ

ที่ว่าให้ทำงานจนถึงมิถุนายนนั้นคือว่าให้อยู่ที่ มอ. ต่อหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมหรือเปล่าครับ เท่าที่ผมทราบมานั้นในสมัยก่อน พอสิ้นเดือนมีนาคมแล้ว แพทย์ใช้ทุนก็จะขึ้นกรุงเทพฯ ไปอ่านหนังสือรอสอบ แต่นี่หมายความว่าไม่ได้ขึ้นกรุงเทพฯ กันเลยหรือครับ หรือว่าผมเข้าใจผิด ?

สมัยก่อน รุ่นพี่ที่จบบอร์ดแล้วยังไม่ได้เข้าทำงานกับต้นสังกัดใหม่ บางคนเขาก็มา round มาออก OPD และมาช่วยอาจารย์ผ่าตัดอยู่ก็มีนะครับ สมัยนั้นยังเด็กก็เลยไม่รู้อะไร แต่พอเข้าใจอะไรมากขึ้นก็รู้สึกดีที่พี่ ๆ ที่จบไปแล้วได้มาช่วยดูแลน้อง ๆ อีกที เหมือนที่อาจารย์ phoenix บอกนั่นแหละครับ คือกลับรู้สึกดีเสียอีก

เพื่อนผมที่อยู่กรุงเทพฯ ต้องอยู่เวรจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมนะครับ ว่ากันจนสิ้นสุด rotation หนึ่งมิถุนายนเมื่อไหร่ถึงจะได้พักกันจริง ๆ

ของเรานี่ผมก็ว่าถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมากพอสมควรแล้วนะครับ


Posted by : พี่น้อง , Date : 2007-01-06 , Time : 09:02:28 , From IP : 222.123.145.14

ความคิดเห็นที่ : 50


   ผมได้ลองไปดูหลักสูตรของศัลยกรรแล้วครับได้กำหนดไว้ว่าการtrainศัลยกรรมีกำหนด 48 เดือนซึ่งก็คือ 4 ปีถ้วนครับ
ซึ่งถ้าเริ่มทำงานเดือนเมษายนฏ้ควรจะจบมีนาคมของปีที่4ใช่ไหมครับแต่ด้วยภาคศัลย์ได้กำหนดให้ปีสุดท้ายของการฝึกงานเป็นelective 2เดือนนั้นก็คือจะได้ไป elective เดือน กพ. และเดือน มีค.ครับส่วนแพทย์ประจำบ้านมาทำงานช้ากว่า พชท 2 เดือน คือ มิถุนายนนั้นก็คือจะต้องได้ไป elective เดือนเมย.และพค. ครับโดยหลัการซึ่งหลักสูตรนี้ได้รับเรื่องและลงนามโดย ศ. ธนพล ไหมแพง ไว้เมื่อ พค. 2544 และมีผู้ที่ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรคือ รศ.พุฒิสักดิ์ , ผศ.ศักดิ์ชัย , ผศ.ปริญญาและ อีกหลายคน (ขออภัยที่ต้องอ้างอิงซื่ออาจารย์เพื่อความถูกต้องของข้อมูล)
ซึ่งถ้าภาควิชาศัลย์ยังคงใช้หลักสูตรดังกล่าวปีสุดท้ายก็ควรได้สิธรในการrotationดังที่กล่าวไว้ครับคงต้องตรวจเช็คหลักสูตรอีกที่นะครับว่ายังใช่หลักสูตรนี้หรือไม่

ส่วนเรื่องการ elective ว่าทำไมต้องไปส่วนกลางส่วนหนึ่งรพ.และภาควิชาต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าที่ มอ.ไม่สามารถจัดหาcases ที่ส่วนกลางมี ให้แพทย์ให้แพทย์ใช้ทุนได้หรือไม่หรือมีความหลากหลายขอcaseเพียงพอหรือยังครับโดยส่วนตัวผมเชื่อว่าการจะผ่าตัดที่ดีคงต้องมีแบบอย่างที่ดีและสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะนิสัยในการผ่าตัดของแต่ละคนซึ่งแพทย์แต่ละคนก็มีลีลาการผ่าตัดไม่เหมือนกันดังนั้นผมคิดว่า พชท.จึงควรที่จะได้เห็นการผ่าตัดที่หลากหลายเทคนิคเพื่อที่จะมาปรับใช้กับตัวเองในอนาคตครับ ไม่ได้บอกว่า,มอไม่ดีแต่คิดว่ายังหลากหลายไม่เพียงพอครับ

ส่วนเรื่อความรู้ผมคิดว่ามอ.ก็ให้ความรู้ได้เพียงพอแต่ถามว่าดีที่สุดของมอ.หรือยังครับผมคงตอบว่ายังครับผมมีความคิดว่าอาจารย์หลายท่านที่อยู่ที่นี้มีความสามารถที่จะถ่ายทอดวิชาให้กับพชท.ได้อีกมากกว่านี้ครับเพียงแตว่าอาจารย์คงต้องออกแรงและเหนื่อยหน่อยครับเรื่องนี้คงต้องเป็นเรื่องส่วนตัวของอาจารย์แต่ละท่านครับ

สรุปแล้วเรื่องนี้
1.ผมคิดว่าคงต้องทำให้มันถูกต้องมากกว่าเพราะว่ามนุษยืเป็นสัตย์สังคมที่ต้องมีกฎระเบียบมาวางไว้มิใช่ว่าเรื่องของศีลธรรม ประเพณี น้ำใจหรือยอมรับชะตากรรมเพราะเลือกที่จะอยู่ที่นี้แล้เราทุกคนมีหน้าที่ทำให้มอน่าอยู่ครับไม่ใช่อยู่เพาะความจำยอมครับ
2.มุมมองอาจแตกต่างกันผมจึงมาเสนอในมุมมองความคิดของผม


Posted by : sugar boy , Date : 2007-01-09 , Time : 22:23:58 , From IP : 172.29.7.143

ความคิดเห็นที่ : 51


   ปล.
อาจารย์ที่ต้องใจสอนลูกศิษย์ ทุกท่านลูกศิย์คนนี้จะจดจำใบหน้าอาจารย์และมือที่คอยพรำสอนไว้จนตายครับและจะนำสิ่งดีๆที่อาจารย์สั่งสอนไปรักษาคนไข้อย่าเต็มความสามารถครับ


Posted by : suga boy , Date : 2007-01-09 , Time : 22:42:16 , From IP : 172.29.7.143

ความคิดเห็นที่ : 52


   พูดถึงเรื่องเงินเดือนผมเข้าใจว่าสมัยก่อนที่ รพ. มอ. ยังให้แพทย์ทุกคนเป็นข้าราชการการที่ไป elective กทม. จะยังคงต้องจ่ายเงินเดือนให้ พชท.เนื้องจากเพื่อรักษาสิทธิการเป้นข้าราชการเพื่อที่สอบเสณ้จแล้วจะยังคงมีการนับต่อของอายุราชการนะครับแต่ปัจจุบัน รพ. มอ. ได้เปลี่ยนสถานะของแพทย์เป็นพนักงานของรํฐ และ พนักงานของรพ. เมื่อใช้ทุนครบ3ปีแล้วดังนั้นผมเข้าใจว่าพชท ทุกท่านคงสิ้นสภาพการเป้น พชท เมื่อทำการtraining ครบ นั้ก็คือ 48 เดือนของภาควิชาศัลย์ซึ่งจะสิ้นสุดการเป็น พชท.เมื่อเดือน พค. ดังนั้นในช่วงที่ทำการ elective 2 เดือนสุดท้ายผมเข้าใจว่ายังคงเป็นการ training อยู่ ดังนั้น รพ.อาจจำเป็นต้องรับผิดชอบในส่วนนี้มั้งครับส่วนหลังจากครบ 48 เดือนแล้ว คือเดือน หมดเดือน พค. รพ.คงไม่ต้องจ่ายเงินเดือนแก่ พชท.แล้วครับเนื้องจากพ้นสภาพการเป็ย พชท.แล้วใช่ไหมครับ

Posted by : sugar boy , Date : 2007-01-09 , Time : 23:29:42 , From IP : 172.29.7.143

ความคิดเห็นที่ : 53


   ผมคิดว่าภาคคงต้องออกมาชี้แจงรายละเอียดให้ พชท.ทราบครับไม่งั้นเรื่องนี้คงไม่จบง่ายๆแนน่นอนครับ

Posted by : กลุ่มสนธิ 2 ล้มล้างระบบทักษิณ , Date : 2007-01-09 , Time : 23:35:58 , From IP : 172.29.7.143

ความคิดเห็นที่ : 54


   ไม่ค่อยสบายใจที่เห็นคำ "ล้มล้าง" อะไรกันนะครับ มันรู้สึกความสัมพันธ์อาจารย์ลูกศิษย์และสถาบันมันแห้งแล้งเหลือเกิน หรือว่าเราอยู่ในวัฒนธรรมใหม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-10 , Time : 01:42:54 , From IP : 58.147.114.60

ความคิดเห็นที่ : 55


   ดิฉันอ่านกระทู้ของแต่ละท่านแล้วรู้สึกเห็นใจเหลือเกิน ก็ไม่รู้จะช่วยอะไรได้ แต่ละคนก็มีเหตุผลของตัวเอง ก็ได้แต่เป็นกำลังใจให้หมอทุกคนที่ทำงานหนักและมีใจเป็นหมอ เพื่อช่วยเหลือต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง อีกเรื่องหนึ่ง ดิฉันได้ทราบข่าวจากเด็ก ๆ นิสิตแพทย์ว่า ปีนี้ มอ.รับน.ศ.แพทย์จากโครงการต่าง ๆ มากมาย ดิฉันรู้สึกเป็นห่วงเหลือเกิน เกี่ยวกับงบประมาณ ที่อยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ปี 2 ที่ต้องเรียน กายวิภาคศาสตร์ ได้ข่าวว่าอาจมีปัญหาเพราะขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ จึงอยากให้ทางมหาวิทยาลัยจัดสรร หรือพยายามดูแลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หากนิสิตแพทย์ 8-10 คนจะต้องเรียนรู้กายวิภาคฯจากท่านอาจารย์ใหญ่ 1 ท่าน คงได้แต่ยืนรอกันแย่ คุณภาพในการเรียนการสอนคงจะแย่เลย เพราะที่รู้มาก แต่ 4-6 คน ก็มีปัญหาแล้ว อย่าลืมนะคะอย่าเอาแต่ว่าหมอเลย ช่วยกันปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อหมอในอนาคตกันหน่อยอย่าให้เขาขาดแคลน หรือเอาแค่พอจบ จบ แต่ขาดคุณภาพ ช่วยกันหน่อยเถอะคะ

Posted by : ผู้ปกครองคนหนึ่ง , E-mail : (e_som@hotmail.com) ,
Date : 2007-01-10 , Time : 13:48:13 , From IP : 203.113.80.139


ความคิดเห็นที่ : 56


   ไม่ทราบว่าจะชี้แจงรายละเอียดอะไรอีก หลักสูตรมีอยู่ชัดเจน
ได้ทำการศึกษาสัญญษการทำงาน มีกำหนด 3ปี นับตั้งแต่ปฏิบัติงาน หรือตามระเบียบของภาควิชา
ในเมื่อหลักสูตรของภาควิชา48 เดือน ไม่ร่วมแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ก็ต้องเป็นไปตามหลักสูตรการเรีนการสอนของภาควิชานั้นๆ
ในหนังสือสัญญา ไม่มีระบุว่าต้องทำงานจนถึง 30 พค.เลย
ก็เลยไม่ทราบว่า จะมาชี้แจงอะไร
หลักสูตร เขียนไว้ชัด สัญญการปฏิบัติงานก็เขียนไว้ชัด
ไม่ทราบว่าจะมาชี้แจงอะไร
อยากให้ลองไปทบทวนกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้ดี จะได้ไม่มีปัญหา
โรงพบาบาลกำลังทำผิดสัญญาการจ้างงานอยู่
ทุกอย่างแจ่มแจ้งแดงแจ้อยู่แล้ว


Posted by : bat mann ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ , Date : 2007-01-10 , Time : 23:26:53 , From IP : 172.29.7.182

ความคิดเห็นที่ : 57


   ขอเรียนชี้แจงต่ออาจารย์ Phoenix อาจารย์กำลังจะเอาสิทธิ มาข้องเกี่ยวกับความเคารพศรัทธาต่อ อาจารย์ และสถานศึกษา เข้าใจว่ามัน่าจะคนละเรื่องกัน เราไม่ได้ทำเพราะไม่เคารพอาจารย์ แต่ทำตามสิทธิ์ ที่ควรจะได้
อย่าเอาประเด็นมารวมกัน เพราะจะสร้างความร้าวฉานในหมู่คณะ


Posted by : รวมพชท. , Date : 2007-01-11 , Time : 00:10:48 , From IP : 172.29.7.182

ความคิดเห็นที่ : 58


   สงสัยว่า อาจารย์ ฟีนิกซื คง ต้องทำใจ บ้าง นะครับ
โลกเรา หมุนอยู่ ตลอดเวลา แต่ คนเรา เมื่อ อายุมากขึ้น ความว่องไว อาจลดน้อยถอยลงตามสังขาร
และ ถึงเวลา หนึ่ง คงต้อง ปลง ครับ


Posted by : guru , Date : 2007-01-11 , Time : 09:34:08 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 59


   ไม่ได้เรียกร้องครับ เพียงแค่สะท้อนว่ารู้สึกอย่างไร

และใช่ครับ อย่างที่คุณ guru ว่ามา คือหลังจากเรารับรู้ ขั้นต่อไปคือสำรวจจิตใจของเราว่ารู้สึกอย่างไรเพราะอะไร จะทำอย่างไรกับความรู้สึกนี้ รับรู้ suspend และหน่วงนำรับทราบวิวัฒน์ของโลก ของสังคม

สังคมมีการรับรู้อะไรเร็วขึ้น ปัจเจกบุคคลรับรู้เรื่องราวของตนเองมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเรารับรู้เรื่องราว ความรู้สึกของคนอื่นมากขึ้นหรือลดลงอย่างไร? เผอิญผมกำลังสนใจเรื่องความสามารถในการรับรู้ตรงนี้ เปรยออกมา สะท้อนออกมา ไม่ได้ตั้งใจจะตำหนิหรือเรียกร้อง ที่เขียนไปก็เพียงบอกว่า "รู้สึกอะไร"

ผมคิดว่าเวลาเราได้ยินคนไข้บอกว่า "รู้สึกอะไร" นั้น เราอาจจะยังไม่ต้องตีความว่าเขากำลังเรียกร้อง หรือต้องการอะไร แต่น่าจะลอง รับรู้ เฉยๆก่อนว่าเขากำลังสื่อว่าเขา "รู้สึก" อะไรอยู่ เล่าให้ฟัง หลังจากนั้นเราจะทำอะไรกับความรู้สึกของเขา ก็ขึ้นอยู่กับความคิด บริบทการรับรู้ หน้าที่ ฯลฯ มากมายที่จะบูรณาการออกมาเป็นพฤติกรรมในที่สุด

ผมไม่ได้เขียนว่ารู้สึกอะไรกับ "เนื้อหาสิ่งต่างๆที่เรียกร้อง" ด้วย แต่รู้สึกกับการ "เลือกใช้คำแสดงตน การแสดงออก" คือกำลังสะท้อนความรู้สึกต่อ "วิธี" ครับ ไม่ใช่ต่อ contents ที่พวกเรากำลังทำ เป็นคนละส่วนกัน ถึงแม้ว่าอาจะถูกมองว่าเป็นเรื่องเดียวกัน

Contents อย่างเดียวกัน เราสามารถสื่อสารได้หลายวิธี แต่ละวิธีก็จะทำให้คนแต่ละคน "รู้สึกไม่เหมือนกัน" และจากความรู้สึกที่ไม่เหมือนกันนี้ เราก็จะเลือกที่จะรับรู้โดยมีบริบทแห่งความรู้สึกนี้ห้อยตามไปด้วยเสมอ เราอาจจะสื่อสารอย่างสุนทรีย์ สื่อสารอย่างมี hostility หรือความเป็นปฏปักษ์ หรือสื่อสารอย่างเมตตากรุณา บริบทเหล่านี้จะแต่งเติม contents ที่เราสื่ออย่างมากมาย

ถ้าน้องพอจะทำใจเชื่อได้ว่าผมไม่ได้มีเจตนาร้ายอะไร ลองพิจารณาถึงเนื้อหาที่ต้องการสื่อไป ลองคิดว่าหากมีการปรับเปลี่ยน "วิธี" กับ contents เนื้อหาเดิมๆนั้น อาจจะมีผลที่แตกต่างกันออกไปอย่างไร ดีไหมครับ? ยังไงๆเรื่องนี้ก็ไม่ได้มาทาง channel ผมโดยตรงอยู่แล้ว น้องนำเรื่องนี้ผ่านทางอาจารย์ postgraduate ของภาคตนเอง ของศัลย์ก็คือ อ.บุรภัทร ซึ่งจะหาอาจารย์ที่ nice ขนาดนี้ยากมากอยู่แล้ว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสื่อสาร

ด้วยความเมตตากรุณา และหวังดีครับ ขออภัยที่ทำให้ขุ่นมัวโดยไม่เจตนา



Posted by : Phoenix , Date : 2007-01-11 , Time : 11:23:23 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 60


   ทาง พชท.ก็ต้องกราบขอโทษ อาจารย์ด้วยเช่นกัน แต่ไม่อยากให้ มองเจตนาผิด เรายังรัก และเคารพ อาจารย์ทุกท่าน เหมือนเดิม

Posted by : รวม พชท. , Date : 2007-01-12 , Time : 23:05:54 , From IP : 172.29.3.204

ความคิดเห็นที่ : 61


   happy ending

Posted by : re , Date : 2007-01-17 , Time : 19:17:05 , From IP : 172.29.3.121

ความคิดเห็นที่ : 62


   รักกันไว้เถิด
ยังงัยตอนนี้เราก็ลงเรือลำเดียวกันแล้ว

เรือที่ชื่อ"สงขลานครินทร์"น่ะ


Posted by : อะจึ๋ย , Date : 2007-01-18 , Time : 09:46:57 , From IP : 203-154-74-14.inter.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.025 seconds. <<<<<