ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

หมอ 3 จชต.ขาดหนัก สธ.เผยเหลือแค่ 290 คน นราธิวาสหนักสุดอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ลงนามความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื


   สธ.เผยโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ขาดแพทย์ประจำการสูงถึงร้อยละ 42 ปฏิบัติงานจริงเพียง 290 คน ขาดอีก 212 คน นราธิวาสหนักสุด จับมือมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผลิตแพทย์เพิ่ม โดยรับนักเรียนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้เข้าเรียนปีละ 48 คน เริ่มเดินเครื่องในปีการศึกษา 2550

วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายจงรัก พลาศัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ลงนามความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในพื้นทีภาคใต้ ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีนายแพทย์ประจักษ์ เค้าสงวนศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา และนายแพทย์สมัย ชาววิจิตร รักษาการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะคัดเลือกนักเรียนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ภาคทฤษฎีในชั้นปีที่ 1-3 ในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเรียนภาคคลินิก ฝึกภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 4-6 ที่โรงพยาบาลสงขลาและโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ที่อยู่ใน 5 จังหวัดภาคใต้ หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะกลับไปทำงานในท้องถิ่น

นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ยังคงมีอยู่ทั่วประเทศ แต่กระทรวงสาธารณสุขมิได้นิ่งนอนใจ ยังคงเดินหน้าผลิตแพทย์เข้าสู่ระบบบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ที่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นกว่า 2 ปี พบว่ามีความขาดแคลนแพทย์สูงถึงร้อยละ 42 และจากฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ล่าสุดในปี 2548 พบว่ามีความต้องการแพทย์ประมาณ 502 คน แต่มีแพทย์ทำงานในโรงพยาบาลอยู่จริง 290 คน ยังขาดอีก 212 คน

สำหรับจังหวัดที่ขาดแพทย์สูงอันดับ 1 ได้แก่ จ.นราธิวาส มีความต้องการแพทย์ 201 คน แต่มีปฏิบัติงานอยู่จริง 90 คน ยังขาดอีก 111 คน รองลงมาได้แก่ จ.ปัตตานี มีความต้องการแพทย์ 144 คน แต่มีแพทย์ปฏิบัติงานจริง 86 คน ยังขาดอีก 58 คน และ จ.ยะลา มีความต้องการแพทย์ 157 คน มีอยู่จริง 114 คน ยังขาดอีก 43 คน ทำให้แพทย์ที่มีอยู่ต้องรับภาระงานหนัก แต่แพทย์ทุกคนก็มุ่งมั่นทำงานด้วยความตั้งใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว

ในการร่วมมือผลิตแพทย์ในครั้งนี้จะดำเนินการภายใต้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐด้านสาธารณสุข ตามแผนการพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ.2549-2552 มีการผลิตในคณะแพทยศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน และในสถาบันผลิตแพทย์ที่จัดตั้งใหม่ 8 แห่ง ตั้งเป้าผลิต 2,798 คน ซึ่งแพทย์ที่ผลิตในโครงการนี้มีมาตรฐานเดียวกับแพทย์ในระบบปกติ

ทางด้านนพ.สุวัฒน์ เลิศสุขประเสริฐ ผอ.สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์กำลังจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อส่งให้แพทยสภารับรอง และเมื่อผ่านการรับรองแล้วจะเริ่มรับนักศึกษาปีละไม่เกิน 48 คน โดยคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์และโรงพยาบาลสงขลาจะร่วมกันพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา เพื่อเข้าศึกษาภายใต้หลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์แพทยสภากำหนด โดยใช้งบการผลิตปีละ 300,000 บาทต่อคน



Posted by : gh , Date : 2006-12-19 , Time : 14:27:57 , From IP : ppp-124.120.7.89.rev

ความคิดเห็นที่ : 1


    สธ.เผยโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ขาดแพทย์ประจำการสูงถึงร้อยละ 42 ปฏิบัติงานจริงเพียง 290 คน ขาดอีก 212 คน นราธิวาสหนักสุด จับมือมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผลิตแพทย์เพิ่ม โดยรับนักเรียนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้เข้าเรียนปีละ 48 คน เริ่มเดินเครื่องในปีการศึกษา 2550 เผยแพทย์ไทยงานหนักรับผิดชอบประชากร 1 ต่อ 3,000 คน ตามหลังเวียดนาม มาเล ครึ่งต่อครึ่ง ส่วนแพทย์ 3 จังหวัดใต้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้รับค่าตอบแทนมากว่าพื้นที่อื่น 40%

วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายจงรัก พลาศัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ลงนามความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในพื้นทีภาคใต้ ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีนายแพทย์ประจักษ์ เค้าสงวนศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา และนายแพทย์สมัย ชาววิจิตร รักษาการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะคัดเลือกนักเรียนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ภาคทฤษฎีในชั้นปีที่ 1-3 ในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเรียนภาคคลินิก ฝึกภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 4-6 ที่โรงพยาบาลสงขลาและโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ที่อยู่ใน 5 จังหวัดภาคใต้ หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะกลับไปทำงานในท้องถิ่น

นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ยังคงมีอยู่ทั่วประเทศ แต่กระทรวงสาธารณสุขมิได้นิ่งนอนใจ ยังคงเดินหน้าผลิตแพทย์เข้าสู่ระบบบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ที่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นกว่า 2 ปี พบว่ามีความขาดแคลนแพทย์สูงถึงร้อยละ 42 และจากฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ล่าสุดในปี 2548 พบว่ามีความต้องการแพทย์ประมาณ 502 คน แต่มีแพทย์ทำงานในโรงพยาบาลอยู่จริง 290 คน ยังขาดอีก 212 คน

สำหรับจังหวัดที่ขาดแพทย์สูงอันดับ 1 ได้แก่ จ.นราธิวาส มีความต้องการแพทย์ 201 คน แต่มีปฏิบัติงานอยู่จริง 90 คน ยังขาดอีก 111 คน รองลงมาได้แก่ จ.ปัตตานี มีความต้องการแพทย์ 144 คน แต่มีแพทย์ปฏิบัติงานจริง 86 คน ยังขาดอีก 58 คน และ จ.ยะลา มีความต้องการแพทย์ 157 คน มีอยู่จริง 114 คน ยังขาดอีก 43 คน ทำให้แพทย์ที่มีอยู่ต้องรับภาระงานหนัก แต่แพทย์ทุกคนก็มุ่งมั่นทำงานด้วยความตั้งใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว

ทั้งนี้ ในการร่วมมือผลิตแพทย์ในครั้งนี้จะดำเนินการภายใต้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐด้านสาธารณสุข ตามแผนการพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ.2549-2552 มีการผลิตในคณะแพทยศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน และในสถาบันผลิตแพทย์ที่จัดตั้งใหม่ 8 แห่ง ตั้งเป้าผลิต 2,798 คน ซึ่งแพทย์ที่ผลิตในโครงการนี้มีมาตรฐานเดียวกับแพทย์ในระบบปกติ

นพ.ปราชญ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)จะเป็นผู้ผลิตแพทย์ให้กับโรงพยาบาลในภาคใต้แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคใต้มีความขาดแคลนเป็นจำนวนมาก แต่ในส่วนการขอลาออกโยกย้ายนั้น แพทย์และพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษมีจำนวนการลาออกเพียง 7% ขณะที่ส่วนกลางและภูมิภาคมีการลาออกสูงถึง 24% ซึ่งแพทย์ พยาบาลทุกคนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการทำให้มีเปอร์เซ็นต์ในการลาออกน้อยกว่า

ทางด้านนพ.สุวัฒน์ เลิศสุขประเสริฐ ผอ.สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์กำลังจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อส่งให้แพทยสภารับรอง และเมื่อผ่านการรับรองแล้วจะเริ่มรับนักศึกษาปีละไม่เกิน 48 คน โดยคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์และโรงพยาบาลสงขลาจะร่วมกันพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา เพื่อเข้าศึกษาภายใต้หลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์แพทยสภากำหนด โดยใช้งบการผลิตปีละ 300,000 บาทต่อคน

ขณะที่นพ.สุวัฒน์ กล่าวอีกว่า สถาบันที่ผลิตแพทย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ 8 แห่ง จะได้รับงบประมาณในส่วนของสถานที่ ครุภัณฑ์ 2 ล้านบาทต่อหัว โดยในปีงบประมาณ 2550 จะใช้งบปกติของรัฐบาลในการดำเนินโครงการ ส่วนกระทรวงสาธารณสุข จะลงทุนในส่วนของการเตรียมการศึกษาในโรงพยาบาลต่างๆ ปีละประมาณ 100 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณส่วนกลางของกระทรวงเอง

“ขณะนี้แพทย์ต้องรับผิดชอบประชากร 1 ต่อ 3,000 คน เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเซีย ไทยเหนือกว่าประเทศลาว เขมร พม่า อินโดนีเซียเท่านั้น และเมื่อเทียบกับเวียดนามหรือมาเลเซีย ประเทศไทยยังตามหลังอยู่ โดยเฉพาะมาเลเซียแพทย์สามารถดูแลประชากร 1 ต่อ 1,500 คน เท่านั้น ซึ่งกว่าประเทศไทยจะพัฒนาและผลิตแพทย์เพิ่มได้เท่าประเทศมาเลเซียต้องใช้เวลานานประมาณปี 2555-2556 จึงจะเพิ่มในได้อัตราส่วน 1 ต่อ 1,500 คน” นพ.สุวัฒน์ กล่าว

นพ.สุวัฒน์ กล่าวต่อว่า การผลิตแพทย์ของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทนั้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของการผลิตแพทย์ทั้งระบบเท่านั้น ส่วนการดึงให้แพทย์อยู่ในระบบหลังจากจบการศึกษา คงไม่สามารถบังคับได้ แต่จะเน้นแพทย์ต้นแบบ ที่จะเป็นแบบอย่างให้แพทย์ที่จบการศึกษา ส่วนเรื่องค่าตอบแทนขณะนี้แพทย์ที่ทำงานในถิ่นทุรกันดาน โดยเฉพาะแพทย์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับค่าตอบแทนมากกว่าพื้นที่อื่นประมาณร้อยละ 40 ส่วนเรื่องขั้นตำแหน่งนั้นแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเมื่อเทียบกับข้าราชการในกระทรวงอื่นก็ถือว่ามากกว่าเช่นกัน แต่ก็มีภาระงานมากกว่าด้วย

“หากแพทย์จะออกนอกระบบไปก็คงไม่สามารถว่าได้ เพราะแต่ละคนก็อยากมีความก้าวหน้าในชีวิต โดยเฉพาะแพทย์ในพื้นที่ 3 จ.ชายแดนภาคใต้ มีปัจจัยอื่นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งต้องเข้าใจ และยังต้องมีเปลี่ยนถ่ายแพทย์ในพื้นที่เรื่อยๆ เชื่อว่าไม่นานสถานการณ์จะดีขึ้น”นพ.สุวัฒน์ กล่าว

นพ.จงรักกล่าวอีกว่า การผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นโดยการให้โอกาสเด็กในพื้นที่ได้เรียนแพทย์เป็นการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น โดยในปีที่ผ่านได้รับการสนับสนุนดูแลนักศึกษาในโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์จำนวน 15 คน จากมอ.ซึ่งคัดเลือกนักศึกษาศึกษาจากในพื้นที่ ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว เป็นการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรของมอ. ส่วนในปีนี้จะใช้วิธีการสมทบฝากเรียน จากนั้นเมื่อเด็กรุ่นนี้จบการศึกษาก็จะกลับมาเป็นอาจารย์แพทย์ให้กับมหาวิทยาลัย

“หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จัดทำเคารพมาตรฐานวิชาชีพของแพทย์ ซึ่งการท้วงติงของแพทยสภาก็น้อมรับไปปฏิบัติ เพราะการทำงานทุกเรื่องย่อมมีปัญหาแต่คงต้องหาทางแก้ไข โดยได้ขอเข้าพบกรรมการแพทยสภาเพื่อหารือมาตรฐานการศึกษาและขอให้กรรมการแพทยสภาเป็นคณะกรรมการการจัดโครงการแพทย์เพื่อคอยให้คำปรึกษาชี้แนะ ดังนั้น จึงมั่นใจว่าจะสามารถผลิตแพทย์ได้มาตรฐานตามที่แพทยสภากำหนดแน่นอน”

ด้านนพ.ประจักษ์ เค้าสงวนศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมในส่วนของโรงพยาบาลซึ่งเป็นสถานที่การเรียนภาคคลินิก ฝึกภาคปฏิบัติ ของนักศึกษาในชั้นปีที่ 4-6 ในอีก 2 ปีข้างนั้น ได้มีการพูดคุยเพื่อให้เตรียมตัวเตรียมใจซึ่งแพทย์ทุกคนก็ยินดีที่จะเสียสละ ช่วยเหลือ แม้เป็นภาระที่หนักแต่ก็บอกแพทย์ทุกคนไปว่า หากเป็นอาจารย์แพทย์จะมีสิทธิ์ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น เช่น การศึกษาดูงานในต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้แพทย์มีกำลังใจในการทำงาน ซึ่งแพทย์รุ่นใหม่ๆ ก็จะแสดงความสนใจ แต่คงต้องรอความแน่นอนชัดเจนก่อน รวมทั้งขอเพิ่มเติมทั้งในส่วนของงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และ อาจารย์แพทย์ โดยเบื้องต้นหากทำงานกันเต็มที่แล้วไม่สามารถรับไหวทางมอ.ก็จะส่งอาจารย์แพทย์มาช่วยด้วย



Posted by : gg , Date : 2006-12-19 , Time : 16:02:39 , From IP : ppp-124.120.7.89.rev

ความคิดเห็นที่ : 2


   แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แพทย์ที่ผลิตออกมาก้ไม่ได้คุณภาพ เรียนเสร็จก้หนีหมด ไม่มีใครกล้าอยู่หรอกถ้าไม่ทำสามจังหวัดนี้ให้สงบสุขไม่ได้

Posted by : แมวน้ำ , Date : 2006-12-19 , Time : 18:50:21 , From IP : 172.29.4.203

ความคิดเห็นที่ : 3


   จะมีคุณภาพได้อย่างไร ที่แอบรับไว้ปีที่แล้ว ยังต้องบีบให้ มอ รับมาเรียนก่อนเลย
ทั้งที่ มอ ก็มี นศพ มากเกินไปแล้ว อีกหน่อยแพทย์ที่ผลิตได้ คงได้แต่จำนวน คุณภาพให้ประชาชนตามฟ้องกันทีหลังแล้วกัน


Posted by : oko , E-mail : (weret@hotmail.com) ,
Date : 2006-12-25 , Time : 13:12:44 , From IP : 202.129.51.34


ความคิดเห็นที่ : 4


   จะมีคุณภาพได้อย่างไร ที่แอบรับไว้ปีที่แล้ว ยังต้องบีบให้ มอ รับมาเรียนก่อนเลย
ทั้งที่ มอ ก็มี นศพ มากเกินไปแล้ว อีกหน่อยแพทย์ที่ผลิตได้ คงได้แต่จำนวน คุณภาพให้ประชาชนตามฟ้องกันทีหลังแล้วกัน


Posted by : oko , E-mail : (weret@hotmail.com) ,
Date : 2006-12-25 , Time : 13:13:12 , From IP : 202.129.51.34


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<