เชิญชวนสมัครเรียน Oxford และ Cambridge พร้อมแนะนำข้อมูลทุนของมหาวิทยาลัย
กระทู้นี้สำหรับ น้องๆนักศึกษาหรือบุคลากรที่สนใจอยากจะศึกษาต่อประเทศอังกฤษ สำหรับท่านที่มีคุณสมบัติในเกณฑ์ดี ผมขอเชิญชวนให้ลองสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย 2 แห่งนี้ ซึ่งเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งคือ มหาวิทยาลัยในอังกฤษโดยทั่วไปมีข้อจำกัดเรื่องการให้ทุนกับนศ ต่างชาติ หากเทียบกับประเทศอื่นๆในยุโรป อังกฤษจะเสียเปรียบมากกว่า สาเหตุหลักมาจากค่าเล่าเรียนของอังกฤษในอัตรา นศ ต่างชาติที่สูงมากมาย โดยเฉพาะในสายแพทย์ ทุนของมหาวิทยาลัยในอังกฤษสำหรับ นศ ต่างชาติ จึงมีไม่มาก อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศ จึงมีทุนการศึกษาที่มากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ
เหตุผลที่น่าจะพิจารณาเลือกเรียนที่ Oxford หรือ Cambridge
1 ประสบการณ์การใช้ชีวิต นศ ที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆในโลกใบนี้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปในโลก โดยมีการแบ่งส่วนออกเป็น college ต่างๆ นอกเหนือจากการแบ่งส่วนในลักษณะของคณะหรือภาควิชา นศ ทุกคนต้องเป็นสมาชิก college แห่งหนึ่ง ซึ่ง college มีหน้าที่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ การกิน การจัดสวัสดิการต่างๆ กิจกรรมทางสังคม และอื่นๆ ให้กับ นศ ด้วยเหตุผลนี้ นศ จึงมีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆภายในมหาวิทยาลัยมากกว่า 1 ช่องทาง และเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากในสถาบันการศึกษาอื่นๆ
ตัวอย่างเช่น การให้บริการห้องสมุด / คอมพิวเตอร์ / sports facilities / เงินทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ซึ่ง college โดยทั่วไปจะมีสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้กับ นศ อีกหนึ่งช่องทาง นอกเหนือจากทางภาควิชาหรือคณะ หรือ ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยที่ต้องมีให้อยู่แล้ว college บางแห่งใจดีมากเป็นพิเศษ มีค่าซื้อหนังสือ เงินช่วยเหลือการทำวิจัย หรือแม้แต่การบริการมื้ออาหารให้ฟรีๆ เงินซื้อ printer ใช้ส่วนตัว เงินช่วยเหลือในการซื้อตั๋วเครื่องบินกลับบ้าน บริการซ่อมคอมพิวเตอร์ฟรีๆ พร้อมให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฟรีๆ ฯลฯ สิ่งเล็กๆน้อยเหล่านี้ แทบจะหาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยอื่นๆโดยทั่วไป
ชีวิต นศ ระดับปริญญาโท-เอกในบาง college ได้รับการปฎิบัติดังเช่น "คุณหนู" โดยที่ นศ ไม่ต้องมีความรับผิดชอบแม้แต่เรื่องการทำความสะอาดห้องนอนส่วนตัว หรือการซักปอกหมอน ผ้าปูที่นอน college เป็นผู้ดูแลให้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละ college
2 ความเป็นเลิศทางวิชาการและความผู้นำระดับโลกในสายการแพทย์
1) นักวิชาการสายการแพทย์ของ Oxford ได้รับรางวัลระดับนานาชาติจำนวนมากมายกว่า 10 รางวัลในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลของไทยในอดีต อีกหลายท่าน นอกจากนี้ Oxford ยังมี the most highly cited researchers in the world จำนวน 19 คนในสายการแพทย์ (ข้อมูล 2004) จากจำนวน staff ประมาณ 2200 คน เทียกับโรงเรียนแพทย์ Harvard 40 คน จากจำนวนบุคลากร 9000 คน
ในขณะที่ Cambridge มี Nobel Prize เฉพาะสายการแพทย์จำนวนถึง 22 รางวัล (รวมปี 2000-2002 ติดต่อกัน 3 ปี) จากจำนวนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยที่มีมากกว่า 80 รางวัล (สถิติสูงที่สุดในโลก)
2) กรณี Oxford นับตั้งแต่ปี 2003 มหาวิทยาลัยมีแผนต่อเติมการสร้างอาคารและ facilities ในสาขาแพทย์ด้วยวงเงินมหาศาล มากกว่า 570 ล้านปอนด์หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาทไทย ลักษณะการลงทุนด้วยวงเงินจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันสำหรับมหาวิทยาลัยคู่แข่งอย่าง Cambridge มหาวิทยาลัยยอมลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อรักษาระดับความเป็นผู้นำของโลกในสายการแพทย์ ในกรณีของการลงทุนที่ว่านี้ เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้จัดตั้งศูนย์ Comprehensive Biomedical Research Centre ซึ่งจะเป็นศูนย์วิจัยทางการแพทย์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษ
3 บรรยากาศหรูๆ พร้อมความสวยงามอลังการของอาคารสถานที่ ผสมกับธรรมเนียมประเพณีที่เก่าแก่ของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด 2 อันดับแรกของโลกในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก คุณลักษณะบางอย่างเหล่านี้ คุณไม่สามารถหาพบได้ที่ไหนในโลกใบนี้
ตัวอย่างเช่น
ประเพณีการสวมสูทและชุดครุยเพื่อเข้าพิธีการต้อนรับ นศ ใหม่ของ Oxford หรือธรรมเนียมของบาง college ที่ นศ ใหม่ทุกคน ทุกระดับ เข้าพบผู้บริหารของ college (เทียบเท่าตำแหน่งคณบดี) เป็นรายบุคคล เพื่อให้ นศ และผู้บริหารทำความรู้จักกันเป็นการส่วนตัว หรือธรรมเนียมการเชิญผู้ปกครองของนศใหม่ทุกคน ทุกระดับชั้น มาร่วมรับประทานอาหารที่ college เพื่อทำความรู้จักกับ college ผู้บริหารและผู้ปกครองของ นศ คนอื่นๆ ฯลฯ
4 เมื่องแห่งศิลปะและวัฒนธรรม นอกจากความสวยงามของอาคารที่เก่าแก่แล้ว มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง ยังมีพิพิธภัณฑ์ดีๆมากมายหลายแห่ง อีกทั้งหากคุณชื่นชอบที่จะชมการแสดงละคอนหรือดนตรีในแบบฉบับยุโรป จากนักแสดงฝีมือระดับโลก สิ่งต่างๆเหล่านี้หาชมได้ง่ายมากภายในทั้งสองเมือง โดยที่การแสดงบางอย่าง นศ ก็สามารถเข้าชมได้ฟรี
5 ความผูกพันที่ยังยืนนานระหว่างศิษย์เก่าและมหาวิทยาลัย
ศิษย์เก่าทีสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ยังสามารถใช้บริการสวัสดิการบางอย่างของมหาวิทยาลัยได้อีกเป็นเวลานานหลายปี นอกจากนี้คุณจะรู้สึกว่าคุณยังคือส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม้ว่าคุณจะสำเร็จการศึกษาไปนานหลายปีแล้ว เช่น วารสารทั้งระดับภาควิชา college และมหาวิทยาลัย สิ่งต่างๆเหล่านี้ ศิษย์เก่าทั่วโลกจะได้รับฟรีตลอดชีพ สมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งทั่วโลกมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นเป็นพิเศษและมีการจัดกิจกรรมพบปะสังสรรอยู่เสมอๆ รวมถึงสมาคมศิษย์เก่าของ Oxford และCambridge ในประเทศไทย
ตัวอย่าง ศิษย์เก่าคนไทยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติจาก Cambridge (เพียงบางส่วน)
1 อดีตนายกรัฐมนตรี คุณอานัน ปันยารชุน (ท่านสำเร็จการศึกษาจากที่นี่ เพียงเกียรตินิยมอันดับ 3 เทียบเท่าเกรด 2.50-2.99 ของไทย)
2 ศาสตราจารย์ เจตนา นาควัชระ อาจารย์สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลกและหนึ่งในนักวิชาการที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยในสายมนุษยศาสตร์ ผู้มีผลงานตีพิมพ์มากมายหลายภาษาทั่วโลก
3 อาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย (36 ปี)
4 สถาปนิกคนไทยในระดับ 50 คนแรกของโลกที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรสหประชาชาติ
ตัวอย่าง ศิษย์เก่าคนไทยที่มีชื่อเสียงจาก Oxford (เพียงบางส่วน)
1 อดีตนายกรัฐมนตรี มรว เสนีย์และคึกฤทธิ์ ปราโมย์ (ท่านคึกฤทธิ์ สำเร็จการศึกษาเพียงเกียรตินิยมอันดับ 3 เช่นเดียวกัน)
2 รัฐมนตรี 2 ท่านในชุครัฐบาลปัจจุบันของไทย (รวม ศ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)
หมายเหตุ
ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าสถาบันการศึกษาอื่นๆไม่ดีครับ คนไทยรุ่นใหม่ๆที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆในอังกฤษและเป็นผู้มีความสามารถสูงในระดับนานาชาติ ก็มีจำนวนไม่น้อย แต่ประเด็นจริงๆในกระทู้นี้อยู่ที่ว่า มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้มีคุณลักษณะบางอย่างที่โดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น การใช้ชีวิตศึกษาเล่าเรียนในที่นี้ก็น่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดี จึงอยากเชิญชวนนศ หรือบุคลากรของที่นี่ลองพิจารณาสมัครเข้าศึกษาต่อดู หากท่านสนใจ
กรณีเรื่องทุนการศึกษา ผมแนะนำให้ในกระทู้ถัดไป
Posted by : คนนอกเอามาฝาก , Date : 2006-12-17 , Time : 07:31:27 , From IP : ns2dhcp070.hertford.
|