ความคิดเห็นทั้งหมด : 33

ร้องเรียนเรื่องการตัดเกรด


   ตามมติของคณะแพทย์เกี่ยวกับการตัดเกรด คือ คะแนนมี 2 ส่วนคือ process & product โดยproduct แบ่งเป็น MCQ และ MEQ&OSPE ซึ่งทั้ง 3 part ต้องผ่าน 35% โดยคิด MEQ รวมกับ OSPE ต้องผ่าน 35% หากไม่ผ่านก็จะพิจารณาว่า Part ไหนคะแนนน้อยก็จะตรง Part นั้น การคิดคะแนนเอา MEQ&OSPE รวมกันนั้นก็นับว่าดี เพื่อที่จะลดปริมาณนศ.ที่ถูกแก้ แต่รู้สึกไม่ยุติธรรมตรงที่ว่า หากตก part ใด part หนึ่ง ได้ D ทั้ง block ความจริงแล้ว ถ้าแบ่งเป็น 2 part แล้ว หากนศ. ตกpartที่เป็น Product ก็น่าจะให้ D เฉพาะส่วน Product เพราะบางคนคะแนน PBL ก็ดี ผ่านมีน แต่ตกเฉพาะ ospe ไม่กี่เปอร์เซนต์ ก็ได้ D สะแล้ว ตัวอย่างเช่น คะแนน MEQ & OSPE ไม่ถึง 35% เพราะเมื่อพิจารณาดูได้คะแนนน้อยในส่วน ospe แต่บางคนได้คะแนนospeน้อยกว่าคนที่ต้องอีก แต่ไม่ต้งแก้เพราะเมื่อรวมกับ MEQ ผ่าน 35% พอดี แต่เขาไม่ต้องได้D เพราะไม่ต้องแก้ รู้สึกไม่ยุติธรรมเลย อย่างนี้ก็แค่ลดปริมาณเด็กถูกแก้และลดคุณภาพไปด้วย บางคนอีกศูนย์จุดกว่าจะถึง 35 % ก็แก้และได้ D ไป ทั้งที่ part อื่นผ่าน ถือว่าเป็นการตัดเกรดที่โหดมาก เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อเกรดและจิตใจ เกรงว่าต่อไปนศพ.จะเรียนเพื่อคะแนนจะได้เป็นหมอที่ดีรึไม่ ไม่ทราบ ไม่ได้เรียนด้วยเพื่อเป็นหมอที่ดี
ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อโปรดพิจารณาและหาทางแก้ไข เพื่อความเท่าเทียมกันของนักศึกษาแพทย์ปี 2 ทุกคน และขอเสนอว่า น่าจะให้ D เฉพาะpart ที่แก้ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างมากค่ะ/ครับ ที่โปรดพิจารณา


Posted by : เด็กปี 2 , Date : 2006-12-16 , Time : 20:32:12 , From IP : 172.29.4.243

ความคิดเห็นที่ : 1


   เห็นด้วยอย่างยิ่งเลย นึกว่าจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้สะแว้ว

Posted by : คนเห็นด้วย , Date : 2006-12-16 , Time : 21:25:52 , From IP : 172.29.4.243

ความคิดเห็นที่ : 2


   อ่านแล้วยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจทั้งหมดหรือไม่นะครับ เพราะคำกิริยาหรือคำขยายบางคำเผอิญพิมพ์ตกหล่นไป

ดังนั้นไม่ขอวิเคราะห์รายละเอียด แต่จะ share เรื่อง concept ของเกรดนิดหน่อยบางจุด โดยเฉพาะตรงที่คิดว่าน้องอาจจะเข้าใจผิด

การให้ได้ตกนั้นมีที่มาของมันอยู่ครับ และปกติเราจะไม่ได้วางเกณฑ์เอาไว้ตรงที่ตั้งอย่างไรจึงจะตกมากหรือตกน้อยคน ซึ่งคงไม่เกี่ยวกับ "คุณภาพบัณฑิต" แม้แต่น้อย

"การตก" นั้นแปลง่ายๆก็คือ ผลงานยังเป็นที่ยอมรับไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ แต่ละองค์ประกอบจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน บางอย่างนำมาเฉลี่ยกับอย่างอื่นได้ บางอย่างก็ไม่ได้ เพราะดีของอย่างนึงจะไปชดเชยมิติอื่นไม่ได้ ตัวอย่างเช่นทางศัลยกรรมนั้น การที่รู้ anatomy กับขั้นตอนการผ่าตัดไส้ติ่งทั้งหมด จะไม่ชดเชย surgical skill ในการถือมีด ผูกเงื่อน ดังนั้นถ้าจะ "สอบผ่านประเมิน" ก็ต้อง "ผ่านทั้งคู่"

ความสำคัญของบางเรื่องก็จะเป็นประเภท critical error ก็มี พวกนี้ปริมาณบทเรียน หรือน้ำหนักหน่วกิตอาจจะดูไม่เยอะ แต่ถ้าตก อาจจะต้องตกหมด ตัวอย่างเช่นใน OSCE ที่เป็นของทางศัลยกรรม ถ้าตก sterile technique บางขั้นตอนที่สำคัญ ก็ต้องถือว่าหัตถการนั้นๆล้มเหลว การทำถูกใน step อื่นๆไม่มีผล เพราะการผิดที่เป็น critical นั้นยอมรับไม่ได้ เพราะจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างมาก

หรืออีกกรณีได้แก่การประเมินด้าน "จริยธรรม" ปริมาณข้อสอบ หรือหน่วยกิต เมื่อเทียบกับ contents ด้านอื่นๆแล้วจะไม่เยอะมาก แต่แม้แต่ในระเบียบราชการ การผิดวินัยบางอย่างที่ส่อถึงจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ก็อาจจะมีโทษถึงออกราชการ ในทำนองเดียวกันเมื่อนักศึกษาละเมิดกฏบางข้อของมหาวิทยาลัย ไม่เพียงแต่อาจจะตกซ้ำชั้น ก็อาจจะถูกออกจากมหาวิทยาลัย บางกรณีอาจจะผิดกฏหมายบ้านเมืองแถมด้วย

ฉะนั้นกฏที่เขียนไว้ล่วงหน้าเรื่องการคำนวณเกรดนั้น นักศึกษาควรจะทำความเข้าใจ "ก่อน" ที่จะสอบ หรือวางแผนการเรียนให้ดี จะได้ไม่มีการ "ทุ่ม" เพื่อจะเอาคะแนนบางส่วนที่ทำได้ง่ายกว่า หรือถนัดกว่า ไปชดเชยส่วนอื่นๆด้อย่างเต็มที่ วิชาทางการแพทย์มักจะต้องไปด้วยกันครับ ทั้ง contents และ process จึงเป็นที่มาของการวางเงื่อนไข combination ของทุกๆมิติที่เกี่ยวข้องกับ competency ที่พึงประสงค์ของการเป็นแพทย์

ผมพึ่งทราบว่าเกณฑ์ผ่านขั้นต่ำนี่ 35% เองหรือครับ?? ถ้าต่ำขนาดนี้โดยส่วนตัวผมว่าน่าหวาดเสียวมากเรื่องคุณภาพ ไม่น่าจะมีการต่อรองเพราะเห็นได้ชัดว่าต้องทุ่มเทอีกเยอะในการแก้ไขการเรียนบทนี้ ที่จริงการเรียนระดับโทขึ้นไป minimal passing level น่าจะอยู่ที่ 65-70% และระดับเอกอยู่ที่ 80% ต่ำกว่าครึ่งนี่ชาวบ้านคงจะเกร็งทีเดียวว่าหมอจะรู้เรื่องมากน้อยแค่ไหน


Posted by : Aquarius , Date : 2006-12-16 , Time : 22:38:34 , From IP : 124.157.177.141

ความคิดเห็นที่ : 3


   เหมือนเราน่ะ ก็ตก1 part แก้แล้วได้ D แต่เพื่อนเราตกตั้ง 2 part และแก้เหมือนกัน เขาก็ได้D เหมือนเราซึ่งตกแค่ part เดียว งง ตกเยอะกว่าแต่เกรดเหมือนกัน ทำงัยดี ก็ต้องทำใจอ่ะน่ะ

Posted by : gvv , Date : 2006-12-17 , Time : 00:42:26 , From IP : 172.29.4.243

ความคิดเห็นที่ : 4


   ทำไมไม่ตัดเกรดเหมือนรุ่นพี่ปี 3

Posted by : hello , Date : 2006-12-17 , Time : 00:44:25 , From IP : 172.29.4.243

ความคิดเห็นที่ : 5


   คุณ gw หมายความว่าเพื่อนของคุณที่ซ่อมแล้วได้เกรด D เท่ากับคุณ เขาได้เกรดมากเกินไปหรือครับ? แล้วที่คุณคิดนั้น เพื่อนของคุณควรจะได้เกรดเท่าไหร่ครับ?

Posted by : Aquarius , Date : 2006-12-17 , Time : 02:13:06 , From IP : 124.157.177.141

ความคิดเห็นที่ : 6


   เทอมที่ผ่านมาเกรดไม่ดีเลย เฮ้ออออออออ ตก part นึง ได้ dog ไปเรย block นั้น สรุปProcess( PBL) ไม่ช่วยอะไรเลยหรอ ไม่น่าตก Product เรย ทั้งที่ part นั้นตกนิดเดียวเอง ฉุดเกรดมากเลย พูดแล้วอยากร้องไห้ สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

Posted by : fighting , Date : 2006-12-17 , Time : 14:53:33 , From IP : 172.29.4.122

ความคิดเห็นที่ : 7


   หลังจากเสียอกเสียใจเสร็จแล้ว สิ่งต่อไปที่น้องควรทำคือคิดวิเคราะห์ว่าเราทำอะไรพลาดไป และจะต้องแก้ไขอย่างไรในอนาคต (อันใกล้)

การเรียนแพทย์นั้นต้องทุ่มเทครับ และเราต้องการทั้งหมด ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นปัญญาพิสัย (cognitive) จลนพิสัย (psychomotor) หรือเจตนคติพิสัย (attitude) แพทย์ที่ผป.ต้องการ คงจะไม่เพียงแต่รูปร่างหน้าตาดี แต่งตัวเรียบร้อย สุภาพ มีมารยาทดี ค้นหาหนังสือเก่ง แต่ก็ต้องมีความรู้ติดตัวมากพอสมควรจึงจะสามารถทำงานได้

ลองพิจารณาว่า ตก product นั้น น้องสามารถตอบคำถามที่ตั้งมาได้สักกี่เปอร์เซนต์ ที่จริงเราไม่อยากจะให้น้องแค่ "พอผ่าน" ซะด้วยซ้ำ น่าจะผ่านได้ดีพอสมควรจึงจะพออุ่นใจ (คนไข้และญาติ)


Posted by : Aquarius , Date : 2006-12-17 , Time : 15:28:44 , From IP : 124.157.177.141

ความคิดเห็นที่ : 8


   PBL วัดอะไรได้จริงๆหรอ
มันก็ชี้วัดคุณภาพของกระบวนการในภาพรวมไม่ได้จริงๆแหละครับ
นอกจากภายในกลุ่มเดียวกันเอง
และถ้าไม่สนใจคะแนนก็ เกรด นะ
ถ้าไม่คิดมากก็คงไม่เป็นไร เว้นแต่ว่าเกรดต่ำเหยียบ 2 กว่าเพราะ PBL มีหลายสิบคนอยู่ครับ
และมีบางกลุ่มที่ได้สูงสุดแค่ C+ ในบล็อกนั้นๆ ทั้งๆที่มีคนผ่านมีน MCQ ไปเกิน SD
PBL ช่วย หรือ ถีบให้แย่ลง แล้วสุดท้าย เกรดที่ออกมา มันวัดได้จริงๆหรอ
เห็นพอออกมาโวยวายก็บอกว่า เกรดไม่สำคัญ คะแนนไม่ใช่ตัวชี้วัด
แล้วจะมีเกณฑ์ มีเกรดไปทำไม ไม่มีประโยชน์ ในเมื่อวัดอะไรไม่ได้


Posted by : เห็นคนโพส เลยเอามาให้อ่าน , Date : 2006-12-20 , Time : 01:55:38 , From IP : 172.29.4.109

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมคิดว่าไม่มีใครบอกว่าเกรดไม่สำคัญ หรือคะแนนไม่ใช่ตัวชี้วัดเลยนะครับ

มีแต่คนพูดว่ามีอะไรอย่างอื่นที่ "สำคัญกว่า" เท่านั้น และคะแนนสำหรับการสอบแต่ละอย่างก็จะบอกเฉพาะ "มิติ" ที่การสอบนั้นถูกออกแบบมา

แต่การจะเป็นบัณฑิต โดยเฉพาะบัณฑิตแพทย์นั้น ต้องได้ดีพอสมควร "ทุกมิติ" ครับ ถ้าได้ หรือผ่านเพียงแค่มิติใดมิติหนึ่ง ก็เป็นเรื่องปกติที่จะถูกมิติที่เหลือฉุดลง

แน่นอนที่สุดคำว่า "ภาพรวม" นั้นจะเห็นก็ต่อเมื่อ เราเอา "ทุกๆอย่าง" มารวมกัน จึงจะเป็นภาพรวม การมองแต่ละส่วนเล็กๆที่เราสอบผ่านเท่านั้น มันยังเป็น "ภาพแยก" ไม่ใช่ภาพรวม ดังนั้นดูคะแนน PBL อย่างเดียวก็จะไม่เห็นภาพรวม ดูคะแนน OSCE อย่างเดียวก็ไม่เห็นภาพรวม ดูคะแนน MCQ หรือ MEQ อย่างเดียว ก็ยังไม่เห็นภาพรวม


Posted by : Aquarius , Date : 2006-12-20 , Time : 22:53:50 , From IP : ppp-124.120.227.64.r

ความคิดเห็นที่ : 10


   "มีบางกลุ่มที่ได้สูงสุดแค่ C+ ในบล็อกนั้นๆ ทั้งๆที่มีคนผ่านมีน MCQ ไปเกิน SD
PBL ช่วย หรือ ถีบให้แย่ลง แล้วสุดท้าย เกรดที่ออกมา มันวัดได้จริงๆหรอ
เห็นพอออกมาโวยวายก็บอกว่า เกรดไม่สำคัญ คะแนนไม่ใช่ตัวชี้วัด
แล้วจะมีเกณฑ์ มีเกรดไปทำไม ไม่มีประโยชน์ ในเมื่อวัดอะไรไม่ได้"
อันนี้จริงครับ เห็นด้วย
และเวลาคนอื่นประเมินเรา เขาไม่ได้มาเรียนกับเรา เขาก็ไม่รู้หรอกว่าเกรดไม่ได้สำคัญเท่ากระบวนการอย่างที่อาจารย์บอก
แต่ เขาก็มองตัวเลข 2.8 กับ 3.5 นั้นมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว 2.8 อาจจะมีทั้งกระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม รวมถึง MCQ และ OSPE ที่ดีกว่า แต่เนื่องจาก เกณฑ์คำว่าดีของ fa แต่ละกลุ่ม PBL ไม่เท่ากัน เลยเกรดน้อยกว่า
แล้วมันชี้วัดอะไรได้หละเนี่ย


Posted by : ผ่านมา , Date : 2006-12-22 , Time : 02:21:47 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 11


   มี block นึงน่ะ เราได้ mc 31คะแนน ซึ่งยังไม่ผ่าน 35% เพราะ ต้องได้ 32 คะแนนถึงจะผ่าน35% ต้องซ่อมเลยได้ D ต่างกับเพื่อนเรา ได้ 32 พอดี คะแนนอื่นก็พอๆกัน แต่เขาได้ C+ ห่างแค่คะแนนเดียว ต่างกันลิบลับเลย เสียดายน่าจะตอบถูกอีกสักข้อ ไม่งั้นคงได้เกรดมากกว่านี้ โหดที่สุด

Posted by : เล่าให้ฟัง เผื่อผู้ใหญ่จะฟัง , Date : 2006-12-24 , Time : 01:49:06 , From IP : 172.29.4.225

ความคิดเห็นที่ : 12


   น่าจะสอบก่อนแล้วค่อยPBL ประมาณว่า รอดูคะแนนว่าผ่าน 35% หมดมั้ย เพราะถ้าตกบาง part ถึง PBL ไปยังงัยก็ได้ D แล้วจะ PBL ไปเพื่อออออออออออ ? (ถ้ามองในแง่คะแนนอ่ะน่ะ แต่ถ้ามองในแง่ความรู้ก้โอเคอ่ะน่ะ)

Posted by : ขำๆน่ะ เผื่อจะเนแนวคิดอะไรบางอ , Date : 2006-12-24 , Time : 01:56:14 , From IP : 172.29.4.225

ความคิดเห็นที่ : 13


   อิจฉาพี่ปี 3 สมัยอยู่ปี 2 พี่ๆเค้าเพิ่งมาเปลี่ยนการตัดเกรดเป็นแบบนี้เอง ยังงัยพี่ๆก็ได้เกรดดีๆมาก่อน แล้วเพิ่งมาเจอแบบเข้มตอนหลัง


Posted by : อิอิ , Date : 2006-12-24 , Time : 01:59:28 , From IP : 172.29.4.225

ความคิดเห็นที่ : 14


   อยากให้อาจารย์ท่านอื่นมาตอบบ้างอ่ะคับ อยากดูหลากหลายความคิดเห็น

Posted by : คนผ่านมาอ่าน , Date : 2006-12-24 , Time : 02:00:43 , From IP : 172.29.4.225

ความคิดเห็นที่ : 15


   ระบบ PBL อาจจะประสบความสำเร็จในเรื่องกระบวนการ แต่การประเมินล้มเหลว ผมว่าจะเถียงกันว่า PBL ไม่ดีก็คงไม่ใช่แต่ผมว่า การประเมินผลของ fa มากกว่าที่ยังล้มเหลวหามาตรฐานกลางไม่ได้ จีงคิดว่ายังไม่ควรนำการประเมิน PBL ของ fa แต่ละกลุ่มมารวมกันภายใต้น้ำหนักการให้คะแนนที่เท่ากัน
จะไม่ยุติธรรมกับกลุ่ม PBL และเป็นการตัดทอนกำลังใจของผู้เรียนที่บังเอิญไปเจอกับ Fa ที่กดคะแนน
และสุดท้ายก็เสียกระบวนการเรียนรู้ที่ควรจะเป็น กลายเป็น เพื่อคะแนน
ยังไงๆ นศพ ก็เรียนดีกันเป็นส่วนใหญ่ ก็ย่อมที่จะห่วงเกรดกันเป็นเรื่องธรรมดา อันนี้เป็นสัจธรรม
ผมจึงขอเสนอแนวทางแก้นะครับ
...
1 ควรจะมีการถ่วงดุลย์น้ำหนักคะแนน fa เช่น X0.9 X1.2
ข้อดี ช่วยลดช่องว่างของคะแนนและถ่วงคะแนนของ fa แต่ละคนให้มีค่าน้ำหนักสูงสุดใกล้เคียงกัน
ข้อเสีย เนื่องจากเป็นการคูณคะแนน จะให้ส่งผลให้คนที่ได้คะแนนรองมีผลคะแนนแปรมากเช่น
ได้ 2 2.4 2.1 (ถ้าตัวคูณเป็นx2) จะได้ 4 4.8 4.2
ในขณะที่ fa อีกคนได้
4.2 4.8 4.5 (ตัวคูณเป็น 1 )
จะเห็นว่าช่องว่างระหว่าง จุดทศนิยม ส่งผลทำให้ค่าคะแนนประเมินของคนที่ได้อันดับรองลงมามีปัญหาที่ช่วงคะแนนที่กว้าง
...
2 ลดค่าคะแนนของ PBL ในการตัดเกรดลงจาก 50% 40% ลงกว่านี้เพื่อ นศพ จะได้ทำ PBL อย่างตั้งใจโดยไม่ต้องกังวลเรื่องคะแนน
ข้อดี ลด นศพ ที่ PBL เพื่อคะแนน เช่น เตี้ยมกันมา หรือ แย่งเพื่อนพูดเพื่อเอาคะแนน และนอกจากนี้ยังได้กระบวนการจากการที่ไม่ต้องกังวลคะแนน
ข้อเสีย อาจจะกลายเป็นเรื่องเล่นๆได้ และอาจจะขาดความตั้งใจ เพราะ % คะแนนลดลง
...
3 ปรับปรุง fa ให้มีมาตรฐานเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
ข้อดี การประเมิน PBL ประสบผลสำเร็จด้วยเกณฑ์ที่เชื่อถือและเอาไปเทียบกันได้ทุกกลุ่ม
ข้อเสีย เป็นไปไม่ได้ที่จะจับ fa มาทำแบบนี้ ไม่มีเวลา
...
4 แยกเป็นอีกรายวิชาแบบ ETHICS ที่มีการตรวจร่างกายและมีการนำเนื้อหาจาก Block ที่เรียนมาประยุกต์
และเป็น 2 รายวิชาคู่กันไปกับ lecture โดยประเมิน PBL แบบ ผ่าน กับ ไม่ผ่าน
ข้อดี แก้ปัญหาเืรื่อง % ของ PBL นศพ จะตั้งใจฟัง lecture มากขึ้น
ข้อเสีย ยุ่งยาก ค่าเืทอมแพงขึ้น เพราะเพิ่มรายวิชา
...
5 ปล่อยให้ นศพ แก้ไขปัญหาเอง และมันก็จะต้องแก้กันไปทุกๆรุ่น ผมว่าไม่ดีเท่าไหร่ แพทยศาสตร์ศึกษาควรใส่ใจกับรายละเอียดเรื่องนี้นะครับ ผมว่าเป็นเรื่องใหญ่พอควร สำหรับ PBL
...
เท่าที่นึกออกก็แค่นี้หละครับ


Posted by : DreamCatcher , Date : 2006-12-24 , Time : 22:05:20 , From IP : 172.29.4.103

ความคิดเห็นที่ : 16


   ลองคุยกันในชั้นปีดีไหมครับ มีนักเรียนเพื่อนๆเราเกือบสองร้อยคน หลายๆความเห็น คุยกันอย่างเปิดอก อาจจะมีข้อเสนอแนะที่คิดคำนึงครบทุกด้านขึ้นมาได้ อาจจะดีกว่าคิดอยู่กันไม่กี่คน หรือคุยกันทั้งปีสองและปีสาม ก็จะมีคนที่มีทั้งประสบการณ์ตรง และคนที่พึ่งผ่าน มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

Posted by : Aquarius , Date : 2006-12-24 , Time : 23:03:29 , From IP : 222.123.42.190

ความคิดเห็นที่ : 17


   เราเห็นด้วยกับ DreamCatcher แต่ไม่ต้องลดเปอร์เซนต์คะแนนPBLก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการให้คะแนนต้องเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการตัดเกรดที่ไม่น่าจะให้Dทั้งblockถ้าตกpartใด part นึง เราเห็นด้วยกับคนที่บอกว่าน่าจะให้ D เฉพาะ part ที่ตก ไม่งั้นเด็กจะเสียกำลังใจ และกังวลเรื่องคะแนนมากขึ้น เกรงว่าจะทำทุกกระบวนการเรียนรู้เพื่อหวังเพียงคะแนน ไม่ใช่ความรู้ที่สมควรได้มา

Posted by : เราเอง , Date : 2006-12-26 , Time : 01:33:27 , From IP : 172.29.4.250

ความคิดเห็นที่ : 18


   คณะเรามีการรับฟังความคิดเห็นแล้วเปลี่ยนแปลงด้วยเหรอ? มีแต่พูดว่าคะแนนไม่สำคัญเพราะคุณจบแล้วเป็นผู้ใหญ่แล้วพูดได้ ไม่ลองมองย้อนกลับไปตอนที่ตนเองเป็น นศพ.ดูสิครับ ว่าอนนั้นตัวเองมีความคิดเช่นไร เรียนไปวันๆเอาแต่ความรู้แต่ไม่เอาเกรดดีๆใช่ไหมครับ อย่าดีแต่พูด จพูดแต่ดีครับ

Posted by : บังเอิญผ่านมาอ่านะ , Date : 2006-12-26 , Time : 02:14:50 , From IP : 172.29.4.66

ความคิดเห็นที่ : 19


   ต้องขออนุญาตแก้อีกครั้งหนึ่งนะครับ ไม่เคยมีใครบอกว่าคะแนนไม่สำคัญ แต่มีเรื่องอื่นที่ "สำคัญกว่า" ที่กำลังอยากจะให้คิดต่อ

ผมคิดว่าเราลองมองกันในรุ่นเดียวกันก็ได้ครับ จะได้ไม่มี generation gap ว่าเราคิดว่า "ทุกคน" ในรุ่น เรียนแบบเดียวกันหรือไม่ และเกรดคือสิ่งที่สำคัญที่สุดจริงหรือไม่ บางทีเราอาจจะพบว่ามีเพื่อนบางคนเรียนเพื่อ "ความรู้" ก็เป็นไปได้นะครับ พอดีไม่อยากจะยกตัวอย่างตนเอง (เดี๋ยวจะไม่เชื่อ) ตอนผมเรียน ผมคิดว่าผมเห็นคนหลายคนที่ทำกิจกรรม (หรือ "เน้น" กิจกรรม) และเรียนรู้ชีวิตไปพลางๆมากกว่าเน้นเกรด ผมคิดว่าผมพอจะเห็นที่นี่ด้วย ไม่ทราบว่าเราเห็นเหมือนกันหรือไม่

การที่ผมเสนอความคิดนั้น ไม่อยากจะให้คิดว่าเป็นการบังคับให้คิดเหมือนกัน แต่บางทีเราตัดประเด็นที่ว่าใครเป็นคนเสนอออกไปก่อนดีไหมครับ แล้วลองไตร่ตรองดูเฉพาะ contents ว่าดีไม่ดีอย่างไร จะได้ไม่มีการ assume ว่าอย่างไหนเป็นความคิดของนักเรียน อย่างไรเป็นความคิดของอาจารย์

คนที่ "เรียนไปวันๆ เอาแต่ความรู้" นั้น ผมคิดว่าเราอาจจะ underestimate เขาอยู่ก็ได้นะครับ เขาอาจจะเป็นคนที่เข้าใจว่า "การศึกษา" คืออะไรอย่างแท้จริงมากกว่าคนที่เรียนเพื่อเกรดสำคัญที่สุดก็เป็นได้ เพราะในอดีตก็ไม่มีเกรดครับ มีแต่ความรู้ที่คนมา "ศึกษา" กัน ตั้งแต่สมัย Socrates, Plato, Aristotle

ผมคิดว่าคณะมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรอย่ตลอดเวลา แต่คนที่จะรับรู้นั้นจะต้องมองเป็น longitudinal ครับ ไม่ได้มองเป็น cross-sectional และเราไม่ได้เปลี่ยน 100% ตามคุณขอมา ตรงนี้ผมคิดว่าการ feedback ก็มีความสำคัญ คนที่เห็น feedback ของตนเองก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงก็จะไม่ complain อะไร แต่คนที่ไม่เห็นการเปลี่ยน (ตามที่ตนเองขอ) ก็จะรู้สึกว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ไม่ทราบว่าจะช่วยหรือไม่หากจะลองถามอาจารย์หลายๆท่าน (ม.อ. ปรับเปลี่ยนระบบมาเกือบ 20 ปีแล้ว) ตั้งแต่เราเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนรุ่นแรกๆ ว่าตอนนี้กับตอนนั้นเหมือนกันมากน้อยแค่ไหน

ประเด็นก็คือ เราจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง for the sake of change คือเปลี่ยนเพื่อว่าจะได้เห็นว่าเปลี่ยนแค่นั้น ถ้าเราคิดว่าเพื่อนๆอีกเกือบสองร้อยคนก็ทุกข์คล้ายๆกัน น่าจะมีระบบวิธีการร้องเรียนอีกแบบหนึ่งหรือไม่? ลองพิจารณาดูว่าหากมีนักเรียน 180 คน มีคนขอให้เปลี่ยน 1 คน คนที่เหลือคิดอย่างไรเราก็ไม่ทราบ อาจจะเป็นไปได้ว่า 179 คนก็คิดเหมือนกับคนที่ขอให้เปลี่ยน หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าอีก 179 คนคิดว่าดีแล้วไม่ต้องเปลี่ยน ถ้าเป็นอย่างหลัง เกิดเราเปลี่ยนไป ก็จะเดือดร้อนคนที่ไม่เห็นด้วยอีกจำนวนมาก อันนี้จึงเป็นที่มาของการมี representative ของชั้นปี ที่สามารถเสนออะไรๆที่เป็น "ของชั้นปี" มาให้แก่คณะรับทราบได้

ปกติเราจะเห็นความทุกข์ของเราชัดเจนกว่าเพื่อน ทำไมคนอื่นๆถึงยังอยู่ได้ มีความสุข จะเป็นเพราะเขาก็ทุกข์แต่ไม่พูด หรือว่าเขาสุขดี ไม่มีปัญหา จริงๆเราก็ไม่ทราบแน่จนกว่าจะมีการแลกเปลียนพูดคุยกัน บนกระดานแห่งนี้ซึ่งเป็น anonymous นั้น พลังการ representative หรือการเป็น "ปากเสียงตัวแทนของคนส่วนใหญ่" นั้นมันจำกัดมากๆครับ ลองคุยกับกรรมการชั้นปีดู อาจจะทำอะไรให้เป็นระบบมากขึ้น จะมีประโยชน์ในอนาคต


Posted by : Aquarius , Date : 2006-12-26 , Time : 11:00:13 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 20


   ถ้าคนส่วนใหญ่เห็นให้ปลี่ยนแปลงในเรื่องเดียวกัน จะเปลี่ยนไหมครับ

Posted by : บังเอิญผ่านมาอีกที , Date : 2006-12-27 , Time : 14:58:44 , From IP : 172.29.4.79

ความคิดเห็นที่ : 21


   ไม่ได้อัตโนมัติแบบนั้นทุกเรื่องแน่ๆครับ

ถ้าเรากำลังพูดถึงเรื่องหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตรงนี้จะไม่ได้เป็น 100% student-based curriculum แต่จะเป็น performance-based curriculum คือ คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และจริยธรรมของบัณฑิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ขออนุญาตยกตัวอย่างแบบ exaggerate เช่น คนส่วนใหญ่ขอเรียนแบบ 100% customized คือ เรียนตอนไหน อย่างไรก็ได้ กี่ปีก็ได้ น่าจะสบาย ง่ายดี เราก็คงจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรแบบนั้น

และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับข้อจำกัดที่แท้จริงของคณะฯด้วย เช่น ขอให้ใช้อาจารย์ specialist ประจำ PBL เช่น อาจารย์ cardiologist สำหรับ scenario โรคหัวใจ ถึงแม้อาจจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่เราก็จะจัดให้ไม่ได้เพราะไม่มีคนพอต่อ

แต่อย่างน้อย ถ้าเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่จริง สิ่งแรกที่เกิดก็คือ "น้ำหนัก" ในการพิจารณาครับ จะแตกต่างจากปัญหาของ anonymous individual อย่างแน่นอน


Posted by : Aquarius , Date : 2006-12-27 , Time : 15:11:30 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 22


   การตัดเกรดแบบนี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไร
ทำไมไม่ทำให้มันผ่าน35%
ถ้าขยัน ตั้งใจเรียนสม่ำเสมอ
แค่ 35%คงไม่เกินความสามารถ
เพราะ35% เป็นการประเมินที่ค่อนข้างต่ำ อย่างน้อยๆควรจะ50%
ถึงจะดูมีมาตรฐาน สมกับการเรียนแพทย์
ขณะอื่นตกไม่มีให้แก้ตัว แต่คณะนี้มี??? อภิสิทธิ์มา!!!

ในเรื่องของ PBL เราก็เคยพลาด
แต่ก็ทำใจได้ ถึงว่าเป็นกรรมที่ต้องชดใช้

ที่สำคัญ การหาความรู้ให้กับตนเอง ทำไมต้องหวังผล


Posted by : เราเอง , Date : 2006-12-31 , Time : 15:26:33 , From IP : 203.118.99.162

ความคิดเห็นที่ : 23


   เห็นด้วยกับ DreamCatcher เกี่ยวกับการปรับคะแนนตามมาตฐานการให้คะแนนของ Fa แต่ละท่าน ซึ่งทราบมาว่าในการคิดคะแนน PBL ก็มีการปรับคะแนนอยู่แล้ว(รึปล่าว??) แต่ก็ยังคิดว่ามันยังไม่ค่อยเป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วก็มีความต่างกันมากอยู่ เพราะจากเท่าที่สังเกตมา(ในการ PBL และฟังจากเพื่อนๆกลุ่มอื่น) กลุ่ม PBL เดียวกันที่ทำ PBL process เหมือนเดิมตลอด แต่ว่าได้ Fa ที่ต่างกันในแต่ละ block และแต่ละครั้ง มีคะแนน PBL ที่แตกต่างกันเห็นได้ชัด และส่งผลต่อเกรดทั้งกลุ่ม และ สมาชิกกลุ่ม PBL ที่ต่างกัน แต่ได้คะแนน process พอๆกันที่ได้เกรดต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็มีเช่นกัน
ตามปกติแล้วคิดว่าในการประเมินแต่ละคนก็คงจะมีระดับของคะนนไม่เท่ากันอยู่แล้ว เช่น สมมติคิดว่าสิ่งนั้นดีแล้ว อีกคนอาจจะให้คะแนนประเมินเป็น 4 ใน 5 หรือบางคนก็อาจจะให้ 5 เต็มไปเลย และระดับความพอใจของ Fa แต่ละท่านก็อาจมีความแตกต่างกันได้ เช่น Process แบบเดียวกัน Fa อีกท่านอาจจะพอใจและเห็นว่าดีแล้ว แต่ว่าอีกท่านก็อาจเห็นว่า ไม่ได้เรื่องเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ในเมื่อตระหนักแล้วว่าระบบ PBL เป็นระบบที่ดี กระตุ้นการเรียนรู้ได้มาก ไม่อย่างนั้นทางคณะคงไม่ทุ่มเทในการพัฒนาและจัดสรรเวลามาให้เราเรียน ดังนั้นก็ไม่ควรให้ปัญหาบางอย่างที่กระทบต่อความรู้สึกของผู้เรียนมาเป็นตัวทำให้เกิดความไม่พอใจเกี่ยวกับระบบ PBL อย่างน้อยก็ควรรับฟังปัญหาซึ่งจุดนี้ก็ทำกันอยู่แล้ว แต่ที่คิดว่าสำคัญกว่าก็คือ อยากให้ทางคณะรับไปพิจารณาเพื่อแก้ไข
ในการ oral feedback ครั้งที่ผ่านมา ก็มีการเปิดให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ แต่ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรถึงไม่ให้ feedback เรื่อง Fa จริงอยู่ที่ว่าเรื่องการให้คะแนนของ Fa มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทั่วทุกมหาวิทยาลัยในโรคที่ใช้ระบบนี้ แต่ว่าถึงมันจะแก้ได้ไม่ขาด แต่มันก็น่าจะลองทำดู ก็อาจจะแก้ปัญหาได้บ้างแต่ผลดีอีกแง่นึงก็คือความสบายใจของผู้เรียนเพราะอย่างน้อยก็มีการนำเอาสิ่งที่ผู้เรียนเสนอไปใช้แก้ปัญหา
สำรับเรื่องเกรด เราเองก็คิดว่าความรู้ที่ได้ไปแล้วนำไปใช้ได้มันสำคัญกว่าเกรดมาก แต่ว่าเกรดมันก็มีความสำคัญในแง่ที่เป็นตัวชี้วัด และเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจที่จะเรียนให้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงพัฒนาตนเอง หรือว่าจะหมดกำลังใจก็ตามแต่ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆนอกเหนือจากเหตุผลที่รู้ๆกันอยู่ก็คือความสมเหตุสมผลของเกรด เช่น ได้คะแนน product ผ่าน mean มาเกิน sd ในทุก part แต่ได้เกรดน้อยกว่าบางคนที่ได้คะแนนประมาณ mean หรือน้อยกว่า mean อยู่มากๆ ก็คงจะรู้สึกไม่ดีเท่าไหร่ แต่อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะไปคิดอะไรกับมันหรือเปล่า คิดว่านักศึกษาแต่ละคนก็คงจะอยากจบไปด้วยเกรดดีๆ และการเรียนต่อมันต้องใช้เกรดด้วยใช่หรือเปล่า?? เพราะงั้นมันก็ไม่แปลกที่นักศึกษาจะห่วงเกรด
อันนี้ก็เป็นแค่ความคิดเห็นหนึ่งของคนๆหนึ่งนะ ไม่ได้คิดว่ามันถูกหรือว่าดี แค่อยากให้ลองคิดๆกันดู
ยังไงก็... สวัสดีปีใหม่ทุกคนนะคะ


Posted by : Nymphoenix , Date : 2007-01-03 , Time : 19:00:34 , From IP : 172.29.4.213

ความคิดเห็นที่ : 24


   เห็นด้วยกับ DreamCatcher เกี่ยวกับการปรับคะแนนตามมาตฐานการให้คะแนนของ Fa แต่ละท่าน ซึ่งทราบมาว่าในการคิดคะแนน PBL ก็มีการปรับคะแนนอยู่แล้ว(รึปล่าว??) แต่ก็ยังคิดว่ามันยังไม่ค่อยเป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วก็มีความต่างกันมากอยู่ เพราะจากเท่าที่สังเกตมา(ในการ PBL และฟังจากเพื่อนๆกลุ่มอื่น) กลุ่ม PBL เดียวกันที่ทำ PBL process เหมือนเดิมตลอด แต่ว่าได้ Fa ที่ต่างกันในแต่ละ block และแต่ละครั้ง มีคะแนน PBL ที่แตกต่างกันเห็นได้ชัด และส่งผลต่อเกรดทั้งกลุ่ม และ สมาชิกกลุ่ม PBL ที่ต่างกัน แต่ได้คะแนน process พอๆกันที่ได้เกรดต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็มีเช่นกัน
ตามปกติแล้วคิดว่าในการประเมินแต่ละคนก็คงจะมีระดับของคะนนไม่เท่ากันอยู่แล้ว เช่น สมมติคิดว่าสิ่งนั้นดีแล้ว อีกคนอาจจะให้คะแนนประเมินเป็น 4 ใน 5 หรือบางคนก็อาจจะให้ 5 เต็มไปเลย และระดับความพอใจของ Fa แต่ละท่านก็อาจมีความแตกต่างกันได้ เช่น Process แบบเดียวกัน Fa อีกท่านอาจจะพอใจและเห็นว่าดีแล้ว แต่ว่าอีกท่านก็อาจเห็นว่า ไม่ได้เรื่องเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ในเมื่อตระหนักแล้วว่าระบบ PBL เป็นระบบที่ดี กระตุ้นการเรียนรู้ได้มาก ไม่อย่างนั้นทางคณะคงไม่ทุ่มเทในการพัฒนาและจัดสรรเวลามาให้เราเรียน ดังนั้นก็ไม่ควรให้ปัญหาบางอย่างที่กระทบต่อความรู้สึกของผู้เรียนมาเป็นตัวทำให้เกิดความไม่พอใจเกี่ยวกับระบบ PBL อย่างน้อยก็ควรรับฟังปัญหาซึ่งจุดนี้ก็ทำกันอยู่แล้ว แต่ที่คิดว่าสำคัญกว่าก็คือ อยากให้ทางคณะรับไปพิจารณาเพื่อแก้ไข
ในการ oral feedback ครั้งที่ผ่านมา ก็มีการเปิดให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ แต่ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรถึงไม่ให้ feedback เรื่อง Fa จริงอยู่ที่ว่าเรื่องการให้คะแนนของ Fa มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทั่วทุกมหาวิทยาลัยในโรคที่ใช้ระบบนี้ แต่ว่าถึงมันจะแก้ได้ไม่ขาด แต่มันก็น่าจะลองทำดู ก็อาจจะแก้ปัญหาได้บ้างแต่ผลดีอีกแง่นึงก็คือความสบายใจของผู้เรียนเพราะอย่างน้อยก็มีการนำเอาสิ่งที่ผู้เรียนเสนอไปใช้แก้ปัญหา
สำรับเรื่องเกรด เราเองก็คิดว่าความรู้ที่ได้ไปแล้วนำไปใช้ได้มันสำคัญกว่าเกรดมาก แต่ว่าเกรดมันก็มีความสำคัญในแง่ที่เป็นตัวชี้วัด และเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจที่จะเรียนให้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงพัฒนาตนเอง หรือว่าจะหมดกำลังใจก็ตามแต่ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆนอกเหนือจากเหตุผลที่รู้ๆกันอยู่ก็คือความสมเหตุสมผลของเกรด เช่น ได้คะแนน product ผ่าน mean มาเกิน sd ในทุก part แต่ได้เกรดน้อยกว่าบางคนที่ได้คะแนนประมาณ mean หรือน้อยกว่า mean อยู่มากๆ ก็คงจะรู้สึกไม่ดีเท่าไหร่ แต่อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะไปคิดอะไรกับมันหรือเปล่า คิดว่านักศึกษาแต่ละคนก็คงจะอยากจบไปด้วยเกรดดีๆ และการเรียนต่อมันต้องใช้เกรดด้วยใช่หรือเปล่า?? เพราะงั้นมันก็ไม่แปลกที่นักศึกษาจะห่วงเกรด
อันนี้ก็เป็นแค่ความคิดเห็นหนึ่งของคนๆหนึ่งนะ ไม่ได้คิดว่ามันถูกหรือว่าดี แค่อยากให้ลองคิดๆกันดู
ยังไงก็... สวัสดีปีใหม่ทุกคนนะคะ


Posted by : Nymphoenix , Date : 2007-01-03 , Time : 19:01:04 , From IP : 172.29.4.213

ความคิดเห็นที่ : 25


   ที่จริงว่าด้วย "เทคนิก" แล้ว การปรับมาตรฐานคะแนนที่เป็น subjectivity มีหลายวิธี

1. การใช้ RUBIC system คือการพยายามสร้าง "เกณฑ์" ว่าอะไรคือ 1, 2, 3, 4, 5 คะแนน และเขียนอธิบาย ซักซ้อมความเข้าใจให้คนให้คะแนน ว่าที่จะให้ 1, 2, 3 นั้น มันมี reference อ้างอิงอยู่

2. การฝึกอบรมให้ความรู้ผู้ให้คะแนน (แพทยศาสตร์คงจะบอกได้ว่ามีการฝึกอบรม facilitator มากน้อยแค่ไหน ในช่วงที่ผ่านมา)

3. การมีคะแนนเฉลี่ยของ facilitator หลายๆคน เนื่องจากเป็นคะแนน subjective (ตามมาตรฐานของผู้ให้) เป็นส่วนประกอบ การมี "ค่าเฉลี่ย" ตามหลักแล้วก็น่าจะช่วยกลมกลืนคะแนนส่วน extreme (ทั้งสองปลายนะครับ คือทั้งมากเกิน และน้อยเกิน)

ทีนี้ที่เราพึงตระหนักอีกประการหนึ่งก็คือ การทำ standardize นั้น จุดประสงค์ไม่ได้ต้องการจะ "เพิ่ม" คะแนน แต่ต้องการให้มี reliability คือความคงที่มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หลังจาก standardize ดีแล้ว trend ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นคะแนนตกวูบทั้งชั้นปีก็ได้ หากที่ผ่านมามีการปล่อยคะแนนเยอะ หรือดีขึ้นทั้งชั้นปี หากที่ผ่านมาอาจารย์ส่วนใหญ่กดคะแนนสุดขีด เพราะคะแนนที่น้องได้มาเป็นคะแนนเฉลี่ยแล้ว คะแนนที่เป็น extreme นิดหน่อยๆจะไม่มีผล จะขึ้นกับภาพรวมของผู้ให้คะแนนทั้งหมดมากกว่า

คิดตามหลักวิชาการแล้วการทำ standardize ย่อมเป็นเรื่องที่ดีแน่ๆ และโดยส่วนตัวของผมคิดว่ายิ่งทำได้มากเท่าไหร่ยิ่งดีครับ แต่ถ้าถามว่าคะแนนของนักศึกษาจะเป็นอย่างไรหลังจากนี้ ผมคิดเองว่าอาจารย์ "ส่วนใหญ่" มักจะให้คะแนน subjective แบบยกประโยชน์ให้จำเลย คือมีแนวโน้มให้ไว้ก่อน ไม่ใช่หักไว้ก่อน คนที่ให้คะแนนน้อยๆน่าจะเป็นเพราะมีอะไรที่ไม่ถูกใจให้พบเห็น ไม่ใช่เป็นเพราะให้น้อยไว้ก่อนจนกว่าจะเจออะไรที่ถูกใจจริงๆจึงเพิ่มคะแนนให้ พวกเราลองคิดดูดีๆก็ได้ครับว่าน่าจะเป็นแบบไหน

ผมยังเคยเสนอว่าถ้าคณะมีงบประมาณจ้างคนและเพิ่มเครื่องมือ น่าจะมี video record เอาไว้ให้คนประเมินมาดูต่างหาก จะได้เห็นกันชัดๆเลยว่าเป็นอย่างไร มีหลักฐานแน่อน ตรวจสอบได้ คิดว่าคะแนนที่ออกมาอาจจะ standardize ดีกว่า (แต่ผมคิดว่าคะแนน mean ของทั้งหมดน่าจะลดลง เมื่อนักศึกษาทุกคนถูกพิจารณาเป็นรายบุคคลตลอด 6 ชั่วโมงต่อ session จริงๆจังๆ)


Posted by : Aquarius , Date : 2007-01-04 , Time : 09:29:32 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 26


   บางทีผมว่า ภาคปฏิบัติ กับ ตามหลักวิชาการ มันก็ไม่เหมือนกันนะครับ
บางทีคนเราก็คิดว่าอยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามจินตนาการ
หรือตามมุมมองของสถานภาพที่ตัวเองได้รับ
อยากให้ ลองในมุมมองผู้ถูกกระทำบ้าง
แล้วลองเอาไปเทียบน้ำหนักดูนะครับ
ผมว่า
กระบวนการเรียนแบบใดๆก็ตาม
หาก ไม่สามารถให้การประเมินผลได้ตามมาฐาน
มันก็ไม่สามารถวัดอะไรได้
แม้แต่กระทั่ง กระบวนการ
ว่าผ่านจริงตามที่ผู้ คิดกระบวนการ
เพราะ fa ไม่ใช่ผู้คิดกระบวนการกันทุกๆคน
มีเพียงบางคนเท่านั้นที่เป็นทั้ง fa และผู้คิดวีธีการเรียนนี้
...
และถ้าหากอย่างน้อยๆ กระบวนการเรียนแบบ PBL
มีการประเมินผล ที่มีความเท่าเทียมกันแล้ว
ข้อครหาต่างๆ
อาจยุติลงได้มาก
คณะอาจจะกำลังหาลู่ทางแก้ไขอยู่จริง
แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง
ผู้เรียนที่อยู่ในระหว่างนั้นก็กำลังลำบากและขาดความเชื่อมั่นในวิธีการเรียน PBL
ทุุกคนเชื่อว่า PBL ดี แต่ การประเมิน PBL หละ
จะเชี่อด้วยรึปล่าวว่าดีเหมือนกระบวนการเรียนรู้ของมันเอง
ผมว่าคณะน่าจะลองทำแบบสอบถาม
ไม่ใช่ถามตรงๆในคาบ Oral feedback นะ
สำหรับเรื่องนี้
เพราะมันจะมี นศพ บางคนที่ไม่กล้าออกเสียง
ต้องยอมรับในส่วนนี้ว่ามีอยู่จริงๆ
ไม่ใช่สิทธิของ นศพ ว่าคุณไม่ออกเสียงเอง
แต่กำลังหมายถึง
การปรับปรุงกระบวนการเรียน PBL
ให้ออกมาดี และน่าเชื่อถือที่สุด ในทุกๆด้าน
ต้องยอมรับตรงนี้ด้วยจริงๆ
และผมเสนอว่า
หากแต่ PBL ยังไม่บรรลุ 100%
เราก็ไม่ควรให้น้ำหนักกับกระบวนการเรียนนี้ แบบสุดๆ
เช่น 40-50%
เพราะค่าคะแนนที่ออกมา ยังไม่มีความเที่ยงธรรม
เกรดที่ออกมาก็ยังไม่เพียงพอจะชี้ตัว นศพ ได้ว่า
เก่งจริงหรือปล่าว หรือ เพราะได้ fa ใจดี
จนกว่าการประเมินของ fa จะเข้ารูปเข้ารอย
ค่อยปรับให้มีค่าน้ำหนักมากขึ้นก็ยังไม่สาย
ดีกว่า ปล่อยให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นไปเรื่อยๆ
เพราะอย่างไรก็ตามเกรดก็ยังเป็นแรงจูงใจในการเรียน
สำหรับผู้เรียนไม่ว่าจะคณะไหนก็ตาม
จริงไหมครับ ??


Posted by : DreamCatcher , Date : 2007-01-04 , Time : 10:28:16 , From IP : 172.29.4.138

ความคิดเห็นที่ : 27


   ผมเห็นด้วย 100% ที่ว่ามา

นั่นคือเหตุผลว่าอยากจะให้น้องประชุมกันภายในนักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องมี pressure จากอาจารย์ แล้วหาข้อสรุปว่า "พวกน้อง" มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร เราไม่อยากจะ oversimplify จากเสียงไม่กี่เสียง (ไม่ว่าจะเป็นของอาจารย์ หรือของนักศึกษาก็ตาม)

ขณะนี้เรามีข้อมูลดิบ ที่ถามว่าเป็น representative ของนักศึกษาหรือไม่ คำตอบคือยังไม่ทราบครับ คนที่ไม่กล้าเขียน ไม่กล้าแสดงออก มีอยู่จริง (และคล้ายๆกับเป็น silence majority ซะด้วยซ้ำ) ถ้าเราเปลี่ยนอะไรตามใจคนที่กล้า voice เท่านั้น เราก็อาจจะกำลังยัดเยียดการเปลี่ยนแปลงให้คนอีกกลุ่มหนึ่งอยู่เสมอ

ประเด็นเรื่อง "ความไว้ใจ" ในระบบการประเมินก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลที่จะนำมาคิด ไม่เพียงแต่ "จำนวน" เท่านั้น น่าจะวิเคราะหฺถึง "ทำไม" จึงเกิดความไม่ไว้วางใจขึ้น เหตุผลที่มีเป็นเหตุผลร่วม หรือเป็นเหตุผล 100 ประการ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน

ยิ่งถ้าน้องบอกว่า feedback session ที่อาจารย์จัด ไม่ valid นั่นยิ่งเป็นเหตผลที่น้องควรจะจัดระบบ feedback ที่ reliable มากขึ้นผ่านทางชั้นปี จริงไหมครับ ก่อนที่เราจะเปลี่ยนอะไรทันทีทันใด อย่าลืมว่าคนที่อยู่เฉยๆก็มีอยู่ไม่น้อย คนพวกนั้นก็จะกลายเป็น "ผู้ถูกกระทำ" ขึ้นมาทันทีหลังจากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จริงๆแบบฝึกหัดอันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการคิดแบบ respect autonomy ของกลุ่มสังคม เราคงจะต้องคิดเอาเองน้อยลง โดยมีกรอบของ "ระเบียบการคิด" วางไว้ห่างๆ รอเวลาที่เราจะใส่ "ข้อมูล" ที่เป็น representative ของบริบทจริงเข้าไป ถ้าเราเริ่มต้นจากการ "ยืนยัน" ว่าขอให้ฟังปัจเจกบุคคลเป็นหลัก ตรงนั้นผมคิดว่าจะดำเนินไปได้ไม่สวยงามเท่าไร ลองเปลี่ยนจากปัจเจกบุคคล เป็นข้อมูลของส่วนรวมดีไหมครับ บางทีอาจจะมีคนที่ไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอยู่อีกไม่น้อย การที่เขายังไม่แสดงออก ไม่น่าจะเป็นการอนุญาตให้เราละเลย ไม่สนใจได้หรือเปล่า?


Posted by : Aquarius , Date : 2007-01-04 , Time : 11:32:58 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 28


   ขอเน้นอีกครั้ง

ถ้าน้องกำลังดำเนินการหาข้อสรุปของชั้นปี อย่าลืมข้อมูล qualitative ด้วยนะครับ สำคัญมาก อย่าใช้แต่ quantitative อย่างเดียว เพราะเราไม่เพียงต้องการ "เหตุผลในการเปลี่ยน" แต่เราต้องการ "ทิศทางในการเปลี่ยนด้วย" เพราะมันไม่ใช่แค่ทางสองแพร่งเท่านั้น ขอให้กรรมการชั้นปีมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ และดำเนินการเพื่อหวังผลสัมฤทธิ์ที่นำไปสู่การปฏิบัติจริง

อย่าลืมหลัก empathy คือการรู้เขา เข้าใจเขา นำมาใช้ประกอบด้วย นอกเหนือจากรู้เรา และเข้าใจเรา การจัดหลักสูตรและการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนนั้น ต้องอาศัย infrastructure และ resources มากมาย ผมคิดว่าเป็นโอกาสอันดีถ้าเราได้เข้าใจกระบวนการสร้างหลักสูตรตั้งแต่หลักการ หลักปรั๙ญาต่างๆ เมือ่เรามีข้อมูลทั้งสองด้าน เราอาจจะชัดเจนมากขึ้นว่าอะไรทำได้ อะไรกำลังทำ อะไรได้ทำไปแล้ว อะไรที่น่าจะทำแต่ต้องรอ หรืออะไรที่อาจจะทำได้ลำบาก


Posted by : Aquarius , Date : 2007-01-04 , Time : 11:39:19 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 29


   เราว่าการตัดเกรดแบบนี้มันโหดตรงที่ว่า ตกแค่partเดียวแต่ได้Dทั้งบล็อก ทั้งที่partอื่นก็ทำได้ดี ผ่านมีน อย่างนี้เด็กก็หมดกำลังใจเลย สรุปกรณีเช่นนี้ pbl ไม่ช่วยอะไรเลย น่าจะนึกถึงความรู้สึกของนศพ.กันบ้าง ใครๆก็อยากทำทุกอย่างให้ออกมาดี คนเราก็ต้องพลาดกันบ้าง เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่18

Posted by : dadedow , Date : 2007-02-15 , Time : 15:37:14 , From IP : 172.29.4.250

ความคิดเห็นที่ : 30


   เราว่าการตัดเกรดแบบนี้มันโหดตรงที่ว่า ตกแค่partเดียวแต่ได้Dทั้งบล็อก ทั้งที่partอื่นก็ทำได้ดี ผ่านมีน อย่างนี้เด็กก็หมดกำลังใจเลย สรุปกรณีเช่นนี้ pbl ไม่ช่วยอะไรเลย น่าจะนึกถึงความรู้สึกของนศพ.กันบ้าง ใครๆก็อยากทำทุกอย่างให้ออกมาดี คนเราก็ต้องพลาดกันบ้าง เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่18

Posted by : dadedow , Date : 2007-02-15 , Time : 15:38:14 , From IP : 172.29.4.250

ความคิดเห็นที่ : 31


   ขออนุญาตย้อนกลับไปที่ "วัตถุประสงค์การเรียน" อีกครั้งหนึ่งนะครับ

มีหลายๆรายวิชาที่ "ต้อง" ประกอบด้วยมิติทางการศึกษามากกว่ามิติเดียว จึงจะเรียกว่า "ผ่าน" และข้อสำคัญคือ "แต่ละมิติอาจจะไม่สามารถชดเชยมิติอื่นๆได้"

ยกตัวอย่างรายวิชาประเภท surgical-based นั้น ต้องมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจึงเรียกว่าผ่าน การรู้ทฤาฎีอย่างดีมากๆเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถจะไปชดเชย performance ด้าน skill ได้ หรือการผ่าตัดเก่งอย่างเดียว แต่ทฤษฎีแย่มากๆ เราก็ไม่สามารถจะเอาอีกอย่างมา "ชดเชย" ได้เหมือนกัน

เมื่อมีการพลาด ทางที่ดีก็คือ แก้ไขในส่วนที่พลาดครับ ไม่ใช่เอาการมีอารมณ์มาช่วยตัดสินว่าจะผ่านหรือผ่านเพราะอารมณ์เด็กจะเป็นอย่างไร อย่างนั้นการประเมินจะยิ่งยากกว่าเยอะ และซับซ้อนจนหาความเที่ยงไมได้

การ "ชดเชย" ข้ามมิติการศึกษา (เช่น cognitive ชดเชย psychomotor หรือเอาศัลย์ไปตู๊ Med อะไรทำนองนี้) จะเกิดงิธีการเรียนแบบ "คัดแล้วตัดออก" คือเอาเรื่องที่ไม่ค่อยสำคัญทิ้งไปเลย เน้นแต่วิชาที่เกรดหรือหน่วยกิตสูงๆก็พอ วิชาไหนหน่วยกิตน้อยๆ ทิ้งไปบ้างก้ได้ ไม่สนใจ ผลก้จะกระทบต่อการออกแบบหลักสูตรที่เราใส่ไปแต่ของที่คัดเลือกว่าจำเป็น เพราะบางอย่างจะถูกละเลยไปเพราะหน่วยกิตน้อย


Posted by : Aquarius , Date : 2007-02-15 , Time : 17:59:39 , From IP : 124.157.221.43

ความคิดเห็นที่ : 32


   ทำไมAquarius ,ชอบตอบแบบนี้ทุกที ไม่เคยตอบตรงประเด็น ร่ายยาวทุกทีเลย

Posted by : เดะเดะ , Date : 2007-02-20 , Time : 22:53:26 , From IP : 172.29.4.174

ความคิดเห็นที่ : 33


   คำถามประเภท "ทำไม" ก็คงต้องตอบเป็น essay แหละครับ สี่ย่อหน้าๆละ 2-4 บรรทัด สำหรับนักศึกษาแพทย์ ไม่น่าจะเหนือบ่ากว่าแรง

ลองชี้ประเด็นมาให้ตอบก้ได้ครับ ดูว่าจะตอบได้สั้นแค่ไหน


Posted by : Aquarius , Date : 2007-02-21 , Time : 19:52:35 , From IP : 124.157.183.163

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.015 seconds. <<<<<