ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

กระทู้แบบนี้ บั่นทอนกำลังใจจังค่ะ




   http://webboard.mthai.com/52/2006-12-14/289163.html
ลองเข้าไปดูนะคะ


Posted by : phoname , Date : 2006-12-16 , Time : 16:21:16 , From IP : 172.29.4.67

ความคิดเห็นที่ : 1


   ปลัด สธ.เผยหมอถอดใจลาออกปีละ 800-1,000 คน เหตุงานหนักแถมกดดันถูกคนไข้ร้องเรียน รพ.ต่างจังหวัดมีหมอ 1.89 หมื่นคน เฉลี่ยหมอ 1 คนดูแลคนไข้ 3,305 คน หมอภาคอีสานงานหนักที่สุด 1 คนดูแลคนไข้ 7,466 คน หมอจบใหม่ปีละ 1,200 คน เด็กรุ่นใหม่สนใจเรียนน้อยลง จัด 4 โครงการ ตั้งเป้าภายในปี 2553-2562 มีหมอจบใหม่กว่า 2.2 หมื่นคน

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์และกระจายแพทย์สู่ชนบทให้เหมาะสม ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะเปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 48 คน เป็นนักศึกษาแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท 32 คน และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน 16 คน

น.พ.ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีแพทย์ตามโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค 1.89 หมื่นคน เฉลี่ยแพทย์ต่อประชากรคือ 1 ต่อ 3,305 คน หากเปรียบเทียบรายภาค แพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับภาระมากที่สุด แพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากร 7,466 คน ขณะที่มีแพทย์ทำงานอยู่ในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่ม 9,300 คน แนวโน้มทำงานหนักมากขึ้น เมื่อเทียบกับปริมาณงานและความรับผิดชอบที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆ

"การเรียนที่หนักและนานถึง 5-6 ปี ทำให้ปัจจุบันเยาวชนรุ่นใหม่สนใจเข้าเรียนแพทย์น้อยลงไปมาก และแพทย์หลายคนยังถูกกระแสสังคมกดดัน มีปัญหาถูกร้องเรียนจากการรักษาเกิดขึ้นเกือบทุกวัน ทำให้แพทย์แทบจะหมดขวัญกำลังใจในการทำงานลาออกปีละ 800-1,000 คน บางจังหวัดขาดแคลนแพทย์ถึงร้อยละ 50 แม้รัฐบาลให้การดูแลสวัสดิการ โดยเพิ่มค่าเสี่ยงภัยในจังหวัดชายแดน ค่าวิชาชีพแล้ว ขณะที่มีแพทย์จบใหม่ปีละประมาณ 1,200 คน" ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

น.พ.ปราชญ์ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ นอกจากจะผลิตในระบบปกติปีละ 1,000 คนแล้ว ปี 2547-2556 ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นอีกปีละไม่น้อยกว่า 1,200 คน มีแผนรับนักศึกษาแพทย์รวม 4 โครงการ โดยผลิตในสถาบันสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม และกรุงเทพมหานคร 2 โครงการได้แก่ แผนรับนักศึกษาแพทย์ปกติของสถาบันผลิตแพทย์ปีละ 1,032 คน แผนเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มของสถาบันผลิตแพทย์ปีละ 521-734 คน

ส่วนอีก 2 โครงการเป็นการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทตั้งแต่ปี 2538-2549 จำนวน 3,000 คน และโครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ตั้งแต่ปี 2547-2556 จะผลิตได้ 3,807 คน หากรวม 4 โครงการ จะมีแพทย์จบใหม่ระหว่างปี 2553-2562 ถึง 22,242 คน ซึ่งเป็นการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ประมาณ 2.7 หมื่นคน

น.พ.สุวัฒน์ เลิศสุขประเสริฐ ผอ.สำนักบริหารโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กล่าวว่า หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่างเสร็จแล้ว และผ่านประเมินความพร้อมหลักสูตรจากคณะผู้ประเมิน กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยของแพทยสภาแล้ว โดยมีโรงพยาบาลร่วมผลิตในชั้นปีที่ 4-6 ฝึกภาคปฏิบัติจริง 5 แห่งได้แก่ รพ.ตรัง รพ.วชิระภูเก็ต รพ.ทุ่งสง รพ.ท่าศาลา และ รพ.จุฬาภรณ์

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ตั้งแต่ปี 2548-2556 รวม 9 ปี จำนวน 3,232 ทุน และเงื่อนไขทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุน 12 ปี หรือชดใช้เงิน 2 ล้านบาท ในกรณีที่ผิดสัญญา


Posted by : ไม่ต้อง link เสียเวลา , Date : 2006-12-16 , Time : 19:59:21 , From IP : 172.29.9.247

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<