ความคิดเห็นทั้งหมด : 32

ประกาศ เรื่อง สิทธิผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม


   ตีเหล็กต้องตอนไฟยังแรง มาขายไอเดียครับ

ประกาศ
เรื่อง สิทธิผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” ในที่นี้ หมายถึงแพทย์แผนปัจจุบัน

ข้อ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมไม่รับผิด ต่อผลเสียหาย ความพิการหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคหรือสภาวะ ที่การแพทย์ ณ ปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาให้หายได้ โรคที่รักษาให้ได้เพียงตามอาการหรือประคับประคอง และโรคที่ยังไม่มีวิธีการใดๆที่จะให้การวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรก รวมถึงโรคบังเกิดใหม่ที่จะมีมาในอนาคต

ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และย่อมไม่รับผิด หากได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอและปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างครบถ้ วน และได้แจ้งแก่ผู้ป่วยหรือผู้มีอำนาจแทนผู้ป่วยตามกฎหมายแล้วแต่ยังคงเกิดสภา วะอันไม่พึงประสงค์ ในกระบวนการดำเนินการทางการแพทย์หลายอย่างที่มีโอกาสเกิดสภาวะอันไม่พึงประส งค์นั้นๆ

ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถปฏิเสธการตรวจวินิจฉัย หรือรักษาผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินอันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต ่อชีวิต โดยจะดำเนินการให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้ป่วยไปสู่ที่ซึ่งสามารถดำเนินกระบวนก ารทางการแพทย์ที่เหมาะสมกว่าเพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง

ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งเป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง ย่อมไม่รับผิดต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการทางการแพทย์ที่ด้อย ลง รวมถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากภาวะจำยอมให้รับภาระงานที่หนัก ความไม่พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ ข้อจำกัดของสถานพยาบาล และสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานอันอยู่นอกเหนือความสามารถที่ผู้ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้นจะเข้าไปบริหารจัดการได้

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะไม่รับผิดชอบต่อผลเสียที่เกิดขึ้นจากการวินิจฉัยแ ละการรักษา ภายใต้การปกปิดบิดเบือน หรือแจ้งเท็จข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ทำการวินิจฉัยและรักษาผ ู้ป่วยนั้น

ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะไม่รับผิดชอบต่อผลเสียและการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี อันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือบุคลากรทางการแพทย์

ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ที่จะไม่ถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม




ส่งโดย: GUZA



Posted by : GURU , Date : 2006-12-14 , Time : 12:08:42 , From IP : 172.29.1.162

ความคิดเห็นที่ : 1


   ก็ดีนะครับ

Posted by : ไอเดีย ใครเอ่ย , Date : 2006-12-14 , Time : 18:43:11 , From IP : 172.29.4.149

ความคิดเห็นที่ : 2


   มี 9 ข้อ ไม่ใช่เหรอคะ มีด้านหลังของประกาศอีก 1 ข้อน่ะค่ะ เคยอ่าน แต่จำไม่ได้ว่าเขียนว่าอะไร

Posted by : suspect , Date : 2006-12-14 , Time : 20:33:57 , From IP : 172.29.4.178

ความคิดเห็นที่ : 3


   คนตั้งกระทู้นี้ ล่อเป้าอีกแล้ว แต่มาถกเถียงเรื่องนี้หล่อยล่ะกันนะ
ปัญหาที่เกิดตอนนี้ต้องยอมรับว่ามีการฟ้องร้องมากขึ้นจริง ถึงแม้จะน้อยเมือ่เทีบกับเมกา แต่สิ่งที่เกิดกับหมอคนอื่นๆ เช่น การเสียขวัญ ไม่ยอมรักษาคนไข้ มันประเมินค่าไม่ได้นะ
-- การที่แพทยสภาออกมาประกาสเช่นนี้ ต้องยอมรับว่าเขาออกมาช่วยแพทย์จริงๆ เพราะแต่ละข้อทำให้หมอทำงานได้ง่ายขึ้น สบายใจขึ้น ผมว่ามันไม่ได้ลดการฟ้องร้องอ่ะ แต่ลดความผิดของหมอที่ไม่สมควรรับผิดลง เช่นการผ่าไส้ติ่งแล้วตาย หมอโดนจำคุกเพราะศาลตัดสินว่า คุณไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเสือกผ่าทำไม อันนี้เรื่องจริงแต่คำว่าเสือกเติมเอง มันน่าสงสารนะ ก็แพทยสภาให้ GP ผ่าไส้ติ่งได้นี่ทำไมเกิดปัญหาแล้วมาโทษว่าไม่ใช่ หมอศัลย์ อันนี้ต้องมาดูว่าคนไข้ตายเพราะไรด้วยนะ ตายเพราะ sepsis, side effect จากการดมยา หรืออื่นๆ อย่างนี้แล้ว GP ที่ไหนใครจะกล้าผ่า และหากไม่ผ่าก็มาด่าหมอว่าเป็นหมอประสาอะไรทำไมทำไม่ได้ และถ้าคนไข้ความรู้มากก็บอกว่า แพทยสภาบอกว่าคุณต้องทำได้นะโหน่ากลัวอ่า แต่หากมีการเขียนไว้ก่อนว่าหมอส่งคุณไปหาหมอศัลย์ได้เพราะหมอไม่ชำนาญ หมอก็รอดนะ แต่หากมองด้านคนไข้ คนที่ตายหากเป็นญาติเราเราก็เสียใจ stage แรกของข่าวร้ายคือ ปฏิเสธ ตามมาด้วยการโทษคนอื่น ตรงนี้แหละหมอจะโดน ถูกไม่ถูกไม่รู้โทษหมอก่อน นี้แหละน่าจะมีการไกล่เกลี่ยและดูแลก่อนที่จะเข้าถึงทนายตัวยุยง และมีการตั้งกองทุนเยียวยาผู้ป่วยประเภทนี้ผมว่าเป็นการลดปัญหาได้นะ คือเจรจา มีกองทุนเป็นอีกหน่วยงานมาดูแล โดยไม่ต้องให้หมอกับคนไข้มาทะเลาะกัน และกันก่อนที่จะมีทนายมาเอี่ยว น่าจะ work นะ สรุปว่า น่าจะมีการดูแลคนไข้เหล่านี้แบบพิเศษ และจ่ายเงินให้ด้วย อันนี้พูดถึงหลังการฟ้องร้อง แต่หมอต้องสื่อสารกับคนไข้ก่อนเสมอก่อนจะทำอะไรน่าจะดีกว่า
,,,,,,,,, ผมคนนึงที่เครียดเรื่องนี้ไม่อยากให้หมอกับคนไข้ทะเลาะกัน ผมว่าการที่เราจั้งใจทำงาน รักคนไข้ของเรา ยึดมั่นในความดี สื่อสารดี ๆ ผลบุญน่าจะช่วยเราได้มาก หมอควรหันมามองตรงนี้ด้วย อย่ามีอคติที่ไม่ดีเลย อย่าลืมว่าก่อนที่เราจะมาเป็นหมอ เราก็เป็นคนไข้มาก่อน เราน่าจะรู้ว่าเราชอบ หรือ ไม่ชอบหมอแบบไหน ................ สรุปอีกที เห็นด้วยกับการประกาสเรื่องนี้ แต่น่าจะมีเรื่องกองทุนเร็ว ๆๆ ขึ้น เฮ้อยเข้าใจกันไหมนี่ .... อาจารย์นกไฟ ยังไม่เห็นทานเข้ามาบ้างเลย


Posted by : armymed , E-mail : (-) ,
Date : 2006-12-14 , Time : 23:39:19 , From IP : 203.155.94.129


ความคิดเห็นที่ : 4


   ปล อันที่ประกาศข้างบนไม่ใช่ฉบับจริง เข้าใจว่าน่าจะมาดัดแปลงเองแบบส่อเสียดอ่ะนะ อ่านดี ๆ นะ อย่าใส่อารมณ์เดี๋ยวจะหาอันจริงมาให้อ่านนะ

Posted by : armmy med , E-mail : (=) ,
Date : 2006-12-14 , Time : 23:42:29 , From IP : 203.155.94.129


ความคิดเห็นที่ : 5


   ประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 46/2549 มีสาระสำคัญคือ

ข้อ 1 “การแพทย์” ในที่นี้หมายถึงการแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งคือการแพทย์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประโยชน์

ข้อ 2 การแพทย์ยังไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน และ/หรือบำบัดให้หายได้ทุกโรคหรือทุกสภาวะ บางครั้งอาจทำได้เพียงบรรเทาอาการหรือประคับประคองเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นบางโรคยังมิอาจให้การวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรก

ข้อ 3 ในกระบวนการดำเนินการทางการแพทย์อาจเกิดสภาวะอันไม่พึงประสงค์ได้ แม้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมใช้ดุลยพินิจในการเลือกกระบวนการดำเนินการทางกา รแพทย์ รวมทั้งการปรึกษาหารือส่งต่อโดยคำนึงถึงสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ป่วย

ข้อ 5 เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยต้องให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้ป่วยตามความเหมาะสม

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพย่อม มีสิทธิและได้รับความคุ้มครองที่จะไม่ถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม

ข้อ 7 ภาระงาน ข้อจำกัดของสถานพยาบาล ความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อม ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนิน การทางการแพทย์

ข้อ 8 การปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ทำการวินิจฉัยและรักษา ย่อมมีผลเสียต่อการวินิจฉัยและการรักษา และข้อ 9 การไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือบุคลากรทางการแพทย์ ย่อมมีผลเสียต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค.-สำนักข่าวไทย




Posted by : army med , E-mail : (-) ,
Date : 2006-12-14 , Time : 23:46:37 , From IP : 203.155.94.129


ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของ "วิธี" การสื่อสาร

ท่านนายกแพทยสภาได้ชี้แจงไปว่าประกาศฉบับนี้ "ไมได้เป็นกฏหมายใหม่" แต่อย่างใด และสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้มีสองระดับคือ 1) โดยหลักการเป็นอย่างไร และ 2) วิธีการที่สื่อออกมา ประชาชนรับไปอย่างไร แต่เวลาอภิปราย (หรือเถียงกัน แล้วแต่ลักษณะภาษา การประชดประชัน และ emotional element ที่ใช้) มักจะปนสองประเด็นนี้ ผสมไปผสมมา

ประการแรก โดยหลักการ
สิ่งที่อยู่ในประกาศต่างๆนั้น ที่จริงถูกครอบคลุมโดยกฏระเบียบเก่าที่มีอยู่แล้วของเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกป้องสิทธิของประชาชน (หมอก็เป็นประชาชน) แต่ประกาศฉบับนี้ได้แยก "แพทย์" ออกมาจาก "ที่เหลือ" ตรงนี้เองที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหา ลองพิจารณาดูประกาศทีละข้อไปก็ได้ครับ พิจารณาว่าถ้า "ไม่มี" ประกาศฉบับนี้แล้ว มันเป็นอย่างไร

ข้อ 2 สำหรับคนที่อาจจะคิดว่าแพทย์ต้องรักษาโรคได้ทุกโรค คงมีสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) เขาคิดอย่างนั้นจริงๆ และ 2) เขา "หวังว่า" อย่างนั้น และไม่ใช่ทุกโรค แต่เป็นโรคที่เขาเป็น หรือญาติเขาเป็น ว่ามันสามารถรักษาหายได้ ลองพิจารณาถึงคนสองกลุ่มนี้ว่า "ทำไม" จึงมีความคิดหรือความเชื่อแบบนี้?
ประการแรกนั้นคงจะเป็นกลุ่มที่รับข้อมูลมาไม่ตรง รับได้ผิดพลาด อาจจะป็นเพราะข้อมูลข่าวสารไม่ถึง ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ลองพิจารณาดูว่า ถ้าข้อมูลที่ว่าโรคทุกโรคอาจจะรักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ยังไม่สามารถจะมาถึงเขาได้ แล้วประกาศฉบับนี้จะเข้าถึงหรือไม่? คงจะประเมินยากทีเดียว
ประการหลังนั้นเป็น "ความหวัง" ครับ ใครๆป่วยแล้วมาหาแพทย์ก็ต้องหวังทั้งสิ้น แม้แต่โรคมะเร็งระยะสุดท้าย เกือยบรอยเปอร์เซนต์ถ้าเราไปถามว่าหวังอะไร อยาได้อะไรมากที่สุด ก็จะตอบว่าหวังจะหาย อยากจะหายทั้งนั้น มีไม่เท่าไหร่ที่ปลงตก หรือทำใจได้อย่างเต็มที่ กลุ่มนี้ประกาศฉบับนี้ก็คงจะไม่ work

ในทำนองเดียวกันเรื่องการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการรักษา (หรือของตัวโรค) ซึ่งมี variety มากมาย ผมคิดว่าเราอาจจะ oversimplified ไปนิดนึงว่าการรักษาอาจจะเกิดภาวะ "ไม่พึงประสงค์" แล้วจะช่วยปกป้องกันการเข้าใจผิด ฟ้องรอ้งอะไรต่างๆ จริงอยู่การรักษามีภาวะแทรกซ้อนได้ แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนที่สุดวิสัย และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก malpractice หรือความประมาท วงการแพทย์เราทราบดีง่าแบบแรกนั้นเป็น by-chance แต่แบบหลังเราเรียก malpractice สองกลุ่มนี้ไม่น่าจะถูกปกป้องโดยการประกาศแต่เพียงว่า "อาจจะมีภาวะไม่พึงประสงค์" เกิดขึ้น แล้วจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด มันเป็นร่มที่ใหญ่เกินไป และ "อาจจะ" ทำให้เกิดความรู้สึกว่ากลุ่มหลัง (malpractice) พลอยได้ติดหลังแห ได้ปกป้องไปด้วย และผมเชื่อว่าที่เป้นอารมณ์กันตอนนี้ก็เพราะ "อาจจะ" ปกป้องกลุ่มหลังนี่แหละ ส่วนพวกเรา (แพทย์) ก็บอกว่าเราจะปกป้องกลุ่มแรกเท่านั้น เถียงไปเถียงมา มันจะไม่มี intersection ของมุมมองกันซะที

หรือในเรื่องการซักประวัติ การปกปิดข้อมูลก็เหมือนกัน ผมว่าเราคงจะต้องระมัดระวังการสื่อสารให้ดีๆ เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อแพทย์ได้รับข้อมูลไม่พอ ข้อมูลที่ผิด หรือ misleading ก็จะมีผลต่อการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา และผลการรักษาได้แน่ๆ แต่การที่ได้ข้อมูลไม่พอ ข้อมูลผิดพลาด หรือ misleading นั้น เกิดจากผลรวมของ communication failure มากมายหลายแบบ เช่น พูดกันไม่รู้เรื่อง สื่อไม่เข้าใจ ความสำคัญของข้อมูล (รายละเอียดและเนื้อหา) ระหว่างคนถาม (แพทย์) และคนตอบ (คนไข้) ไม่ตรงกัน ความลับหรือข้อมูลที่ sensitive บางอย่างผป.ถ้าไม่รู้สึกว่ามันจำเป็นก็อาจจะไม่บอกมาตรงๆ เพราะไม่คิดว่ามันสำคัญกับอาการมากมายอะไร เช่น มีเด็กสาว Herpes ที่ปาก แล้วเราไปถามว่าเขามีเพศสัมพันธ์กับใครมาหรือเปล่า เป็นต้น ไม่มีที่มาที่ไปที่ชัดเจน ก็อาจจะนำไปสู่การได้ข้อมูลที่ไม่ครบ ตรงนี้ก็ไม่เชิงว่าผปง "จงใจ" ปกปิดจนทำให้เรารักษาพลาด เพียงแต่ถ้าแพทย์มี empathy และเข้าใจว่าเมื่อถามข้อมูลที่สำคัญบางอย่าง อาจจะต้องมีนำร่องด้วยการอธิบายว่าเราถามไปทำไม มันเกี่ยวกับการรักษาอย่างไร เรื่องเหล่านี้มันเป็นศิลปศาสตร์ที่แพทย์ต้องบูรณาการเข้ากับ professional competencies อื่นๆ มันจะไม่ถูกครอบคลุมว่า การได้ประวัติที่ไม่ดี เกิดจากการปกปิดข้อมูลแค่นั้น (ถึงแม้ว่ามันอาจจะเกิดจากการจงใจปกปิดข้อมูลในบางกรณีก็ตาม)

การต้อง refer ผป. ก็เหมือนกัน ผมว่าวิธีที่ผป.และญาติจะเกิด "ความเข้าใจ" ว่า ณ ขณะนี้หมอคนนี้ไม่เหมาะที่จะรักษาเขาหรือญาติของเขานั้นคงมีหลายวิธี วิธีหนึ่วคือชี้ให้อ่านประกาศของแพทยสภาฉบับนี้ อีกวิธีก็คืออธิบายเป็นรายๆไป แต่ละวิธีก็จะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน แล้วแต่บริบท ถ้าเราคิดว่าผปงและญาติทราบเหตุผลว่าทำไมหมอที่อดนอนมา 3 วันสามคืนไม่พร้อมที่จะรักษาเขาได้นั้น เป็นสิ่งที่หมออธิบายได้ ผมว่าเราจะมีความสัมพันธ์ doctor-patient relationship แบบหนึ่ง มากกว่าตอนที่จะ refer ให้พยาบาลมาบอก พร้อมกับแนบใบประกาศแพทยสภามาหนึ่งฉบับ

ประการที่ 2 วิธีการสื่อสาร
โดยหลักการแล้ว เหตุผลทั้ง 8-9 ข้อนั้น ผมว่าแพทย์ทุกคนเห็นด้วย และต่างก็อาจจะมีประสบการณ์ตรงบ้าง เฉียดบ้าง กับตนเองหรือเพื่อนร่วมงาน ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ก็เอาตัวรอดมาจากสถานการณ์นั้นๆมาได้มาก (พอสมควร) และพวกเราทุกคนก็เห็นใจแพทย์ที่มี distress จากการถูกคุกคาม การฟ้องร้องต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งในการที่จะ "สื่อสาร" ออกมานั้น เราคงต้องประเมินว่า "ผลการสื่อ" นั้น มันทำให้เรื่องนี้เป็นที่เข้าใจทั่วถึงมากขึ้น หรือว่าสับสนอลหม่านกว่าเดิม แน่นอนที่สุด ผมว่าเจตนาของแพทยสภาตอนออกประกาศฉบับนี้มา มีเจตนาที่ดี บริสุทธิ์ และหวังดีต่อแพทย์ที่กำลังเครียดมากขึ้นๆในการทำงาน แต่ผมว่าเรากำลังอภิปรายคนละประเด็น และแพทยสภาที่ออกมาชี้แจงนั้น ผมคิดว่าชี้แจงผิดประเด็นกับเรื่องที่ hot issue ขึ้น เพราะไปชี้แจงที่ "หลักการ" ซึ่งมันก็ถูกต้อง แตอาจจะไม่ได้คิดว่า เอ... ทำไม้ทำไม คนเขาโกรธกันเรื่องอะไรหว่า?

ส่วนตัวผมนั้น ผมเกรงว่า "ประสิทธิภาพ" ของวิธีสื่อแบบนี้ น่าหวาดเสียวครับ พูดตอนนี้ก็เป็น retrospective ไปเสียแล้ว แต่อย่างที่ได้วิเคราะห์ไว้ คงมีคนหลายคนที่อ่านแล้ว รู้สึกว่ามี malpractice doctor บางคนอาจจะได้ประโยชน์จากประกาศแบบนี้ การที่เรามาชี้แจงว่ามีแพทย์หลายคนจะได้ประโยชน์จากประกาศฉบับนี้นั้น จะไม่ช่วย neutralize ความรู้สึกที่ว่ามีแพทย์ที่ประมาทบางคนจะพลอยถูกปกป้องไปด้วย นี่คือความซับซ้อนของภาษาศาสตร์ และการสื่อสาร เจตนาที่ดีนั้น อาจจะถูกตีความผิดไปได้ และเมื่อมีการเข้าใจผิดเกิดขึ้น การมาบอกว่าคุณห้ามเข้าใจผิดก็คงจะสายไปนิดหน่อย

ผมคิดว่าเรื่องการสื่อสารนี้ไม่มี short cut หรือวิธีที่เป็นแบบ quick-fix เพราะเป็นศิลปศาสตร์ที่ต้องอาศัย empathy เราไม่ได้ deal กับคนธรรมดาๆปกติครับ แต่เราทำงานกับคนที่กำลังเจ็บป่วย ทำงานสื่อสารกับญาติที่พ่อแม่กำลังจะตายหรือทุกข์หนัก คนกลุ่มนี้มี ability ในการรับรู้ไม่เหมือนปกติ ต้อง approach ด้วยความระมักระวัง อย่าง sensitive และอย่างมี empathy ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีในกระดาษของประกาศฉบับไหนๆก็ตาม




Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-15 , Time : 00:55:43 , From IP : 124.157.177.141

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมมองว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่อง ของการป้องกันตนเอง ของ หมอ ต่อ การถูกฟ้องร้อง เรียกร้อง จาก คนไข้ + ญาติ เกินกว่า ที่หมอจะให้ได้
หมอ สมัยนี้ ต่างจาก หมอสมัยก่อนที่ หมอน้อย อำเภอหนึ่งมีหมอ 2 คน ผอ รพ 1 คนที่ ทำงานเอกสาร บริหาร ลงชุมชน อีก 1 คนทำงาน ตรวจ ผ่าตัด ทำคลอด หมัน ใส่เฝือก ฯลฯ ที่ ทุกคน ต้องมาใช้ บริการ แต่ สมัยนี้ หมอมากขึ้น คนก็คาดหวังมากขึ้นตาม


Posted by : guru , Date : 2006-12-15 , Time : 10:26:57 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 8


   
หมอไม่น่าจะมีความคิดคับแคบเช่นนี้ อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่ได้รับการยกเว้นทางกฏหมายและสังคมหลายอย่างอยู่แล้ว ไม่ว่าฐานภาษีต่ำกว่าทุกอาชีพ(ตรวจสอบได้จากข้อกำหนด ภงด 90,91) พวกคุณได้รับการสิทธิพิเศษจากเงินเดือนที่ข้าราชการระดับเดือนกันไม่ได้ และอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน ไม่เว้นแต่สิทธิ์ทางสัคมที่ทุกคนให้เกียรติคุณ เริ่มตั้งแต่เดินเข้าสู่รั่วมหาวิทยาลัย เป็น นศ.พ. คุณใช้ภาษีการเรียนต่อหัวมากกว่าทุกสาขา ขณะเรียนมีหอพัก น้ำ,ไฟ ใช้ฟรี (ลูกชาวนาต้องเสียค่าหอพักมหาวิทยาลัยแต่ถ้าจับฉลากไม่ได้ก็ต้องไปอยู่หอพักเอกชนที่ค่าหอแสนแพง) จบมาทำงานเสียภาษีน้อยทั้งที่ใช้จ่ายภาษีจากคนอื่นมากที่สุด มีเงินพิเศษให้นอกเหนือจากเงินเดือน แล้วคุณจะเรียกร้องเอาอะไรอีก การที่คุณบอกว่าคุณงานหนักผมว่าคุณลองกลับไปนอนคิดใหม่แล้วค่อยตอบกับสังคมว่า การที่เข้าส่งเสียคุณเรียน บวกกับกับคำมั่นสัญญาที่พวกคุณชอบตอบเวลาสอบสัมภาษ์เข้าเรียนว่า "ผมพร้อมที่จะเสียสละช่วยเหลือสังคม และผู้ป่วย" ในวันนั้นยังอยู่ในสามัญสำนึกจากวัยเยาว์อยู่หรือเปล่าหรือมันได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา


Posted by : เพียงลมพัดผ่าน , Date : 2006-12-15 , Time : 14:44:09 , From IP : static-66-146-107-20

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมคิดว่าคุณ "เพียงลมพัดผ่าน" เข้าใจไม่ตรงกับผมทีเดียวนัก เกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ จึงขออนุญาตลองขยายความดูนะครับ

ประกาศฉบับนี้ "ไม่ได้" เพิ่มสิทธิของแพทย์มากขึ้นกว่าเดิม หรือมากกว่าประชาชนทั่วๆไป เป็นคล้ายๆประกาศ "ชี้แจง" ข้อจำกัด หรือความจำเป็นในการทำงานมากกว่า ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอ้างว่าได้ทำวานหนักกว่าใครๆ หรือขออภิสิทธิ์อะไร

เหมือนๆกับว่าวิศวกรขอประกาศว่าตึกที่สร้างอาจจะล้มลงได้หากมีเหตุสุดวิสัยเหนือธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหว ระเบิดนิวเคลียร์ หรือพายุเฮอริเคน ทอร์นาโด

เหมือนๆกับว่านักดนตรีขออนุญาตหยุดเล่นดนตรีบางวันเพราะอาจจะป่วย หรือท้องร่วง ขอให้ไปฟังเพลงที่สถานเริงรมย์อื่น หรือฟัง CD ไปก่อน

เพียงแต่การสื่อเท่านั้น ที่อาจจทำให้เบี่ยงเบนจากเจตนาเดิม (รึเปล่า?) แต่ผมยังไม่เห็นว่าในแต่ละข้อนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นอยู่แล้วก่อนที่จะมีประกาศฉบับนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-15 , Time : 18:08:19 , From IP : 124.157.177.141

ความคิดเห็นที่ : 10


   เรียน อาจารย์นกไฟ ไปที่เวบนี้ดูมั้ยครับ http://consumer.pantown.com

Posted by : ว้าว , Date : 2006-12-15 , Time : 20:45:27 , From IP : 172.29.3.125

ความคิดเห็นที่ : 11


   ขออนุญาตแจ้งคุณ เพียงลมพัดผ่าน ทราบนะครับ

-เรื่องฐานภาษี ต่างจริงเฉพาะหมอที่เปิด clinic ทำกิจการของตอนเองครับ ถ้าเป็นลูกจ้างรัฐบาลหรือเอกชน ก็ไม่ต่างจากคนอื่นแน่นอนครับ และสิทธิพิเศษนี้ไม่ใช่อาชีพแพทย์อาชีพเดียวครับ

-เรื่องหอพัก ยังไงก็จำเป็นนะครับ มีอยู่แล้วในวัตถุประสงค์ในการสร้างหอพักนักศึกษาแพทย์ อยากให้ลองไปหาอ่านดูครับ

-เรื่องน้ำไฟ ฟรี นักศึกษาที่อยู่หอพักในมหาวิทยาลัย ก็ได้ฟรีหลายที่นะครับ ดังนั้นผมมองว่าไม่ต่างกัน นักศึกษาคนอื่น

- "ผมพร้อมที่จะเสียสละช่วยเหลือสังคม และผู้ป่วย" คำกล่าวนี้ไม่เป็นความจริงครับ หมอทุกคนไม่ได้ตอบอย่างนี้แน่นอนครับ หากคุณเป็นกรรมการสัมภาษณ์คุณจะรู้ดี ... และประโยคนี้ควรมีอยู่ในใจทุกคนที่เป็นมนุษย์ครับ ไม่ต้องพูด หรือว่าทวงถามใคร ...

ในสามัญสำนึกจากวัยเยาว์ที่คุณเกิดเป็นคน คุณพร้อมที่จะเสียสละช่วยเหลือสังคม และผู้ป่วย สักนิดบ้างหรือยังครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2006-12-16 , Time : 15:32:19 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 12


   ผมมีความเห็นว่า ถ้าทำตามที่พระบิดาสอน ให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง แล้ว ผมคิดว่าปัญหาที่เกิดกับแพทย์น่าจะน้อยลง ถ้าเราตั้งใจทำอย่างนี้แล้วยังมีคนมาฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนแบบให้ล้มละลาย ผมคิดว่าเราก็คงต้องต่อสู้กับคนเหล่านั้น คู่ต่อสู้ของเราคือคนเหล่านั้น ไม่ใช่ผู้ป่วยและญาติทุกคน อย่าให้ผู้ป่วยทั้งหมดมาเดือดร้อนเพราะคนเพียงส่วนน้อย

Posted by : megumi , Date : 2006-12-16 , Time : 21:48:13 , From IP : 172.29.3.55

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมเห็นด้วยกับคุณ Megumi โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนต้นนะครับ

ผมยังคิดต่อไปว่าอาชีพของเรานั้น จริงๆแล้ว เรามีคู่ต่อสู้หรือไม่? ไม่ว่าใครก็ตาม

อาวุธที่เราสามารถใช้ได้ ไม่ว่าเรามีหรือไม่มีคู่ต่อสู้ น่าจะเป็นบรรทัดสุดท้ายของพระราชดำรัสหรือไม่? คือ "คงธรรมะแห่งวิชาชีพให้บริสุทธิ์" คงจะเพียงพอ และไต้องคิดว่าเรากำลังต่อสู้กับใคร

แน่นอนที่สุดเมื่อมีคนเกิดความสูญเสีย ในบรรดาปฏิกิริยาต่างๆ ส่วนหนึ่งก็จะรวมถึงการหาคนเพื่อ blame เพื่อรับผิด เพื่อชดเชย guilt มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ว่าจะออกกฏหมายกี่ฉบับ ออกประกาศมากี่แผ่น แต่แรงผลักดันเหล่านี้ก็จะยังมีอยู่ต่อไป ประเด็นอาจจะเป้นอยู่ที่ว่า เรา "ควร" พิจารณาคนกลุ่มนี้เป็นคู่ต่อสู้หรือไม่ ถ้าทำจะเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง หรือมีโทษอย่างไรบ้าง

ธรรมะแห่งวิชาชีพนั้น ไม่เพียงแต่จะทำให้เราอยู่ได้อย่างพอเพียง มีกิน มีใช้ มีสะสม อย่างมีเกี่ยรติแล้ว ผมคิดว่ายังเป็นเกราะเพชรที่จะปกป้องตัวเรา เสมือนสิ่งศักดิสิทธิ์อย่างหนึ่ง (เหมือนตรงที่ว่าบางคนก็เชื่อ บางคนก็ไม่เชื่อเรื่องแบบนี้ด้วย) อเมริกัน style จะไม่เชื่อเรื่องแบบนี้ เขาก็เลยมี malpractice insurance มีการพัฒนา defensive medicine style ขึ้นมา ทำนอง "ลงมือก่อนได้เปรียบ" หรือ "แผนเชิงรุก" ไม่ตั้งรับ แต่แผนเหล่านี้มันทำให้ "ดีขึ้น" จริงหรือไม่?

ทางออกอาจจะเป็นเราพยายามทำอย่างที่เราถูกสอนมาให้ทำ ร่วมมือกับสถาบันกฏหมาย ให้ความคุ้มครองเราเหมือนกับประชาชนทุกคนตามสิทธที่ทุกคนพึงมี ให้ระบบมีความเกื้อกูลช่วยเหลือเวลามีปัญหา เราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อการทำร้ายความรู้สึกของใครๆ บางครั้งการประกาศความจริงบางอย่าง ที่มันชัดเจนโจ่งแจ้ง แต่พอขาดบริบทแวดล้อมที่เราจะใช้จริงๆ มันฟังแปลกๆได้ เช่น "ขอชี้แจงให้ทุกคนทราบว่าวันพรุ่งนี้ พระอาทิตย์จะขึ้น"

องค์กรวิชาชีพนั้น มีหน้าที่รักษาระดับมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานจรรยาบรรณ เรื่องอื่นๆ เช่น รักษามาตรฐานความเข้าใจของประชาชน อันนี้อาจจะออกนอกความรับผิดชอบ เจตนาดีก็จริงแต่เสี่ยงต่อการถูกเข้าใจผิด

เผอิญอาชีพของเรานั้นมี unique อย่างหนึ่งก็คือ public perception มีผลต่อความสำเร็จ หรือความคาดหวังต่อความสำเร็จเยอะมาก พูดง่ายๆคือมี "ความไว" ต่อการเปลี่ยนแปลงของความรับรู้ของสาธารณชนสูง




Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-17 , Time : 02:37:23 , From IP : 124.157.177.141

ความคิดเห็นที่ : 14


   
ขออนุญาตแจ้งคุณ เพียงลมพัดผ่าน ทราบนะครับ

สมัยนี้ มีหลาย โครงการเปิดให้เรียนหมอ

ถ้าคุณจบ คณะอื่นปริญญาตรี สายวิทย์มาเรียนต่อก็ได้

แต่ถ้าคุณแก่เกินไปแล้ว หรือ สอบเข้าไม่ได้ ก็พยายามให้ ลูกมาเรียนก็ได้นะ

คุณจะได้ เห็น ว่า คณะนี้ ได้อภิสิทธ์มาก แค่ใหน

อยากให้มาพิสูจน์ด้วย ตัวเอง จะดีกว่า การพูดไปเรื่อยๆ เหมือนตาบอดคลำช้าง ครับ


Posted by : guru , Date : 2006-12-17 , Time : 15:28:08 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 15


   ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความเห็น
-เรื่องฐานภาษี ต่างจริงเฉพาะหมอที่เปิด clinic ทำกิจการของตอนเองครับ ถ้าเป็นลูกจ้างรัฐบาลหรือเอกชน ก็ไม่ต่างจากคนอื่นแน่นอนครับ และสิทธิพิเศษนี้ไม่ใช่อาชีพแพทย์อาชีพเดียวครับ
แต่คุณตอบคำถามไม่หมดว่า ถ้าคุณไม่เปิด clinic รัฐเขาเอาภาษีมาจ่ายให้พวกคุณอีกเดือนละเท่าไหร(ราชการระดับเดียวกันทั่วไปขอย่ำว่าทั่วไปมีเงินพิเศษเหมือนกันหรือเปล่า)
-เรื่องหอพัก ยังไงก็จำเป็นนะครับ มีอยู่แล้วในวัตถุประสงค์ในการสร้างหอพักนักศึกษาแพทย์ อยากให้ลองไปหาอ่านดูครับ
เพราะเขาให้สิทธิคุณเป็นพิเศษด้วยภาษีที่ทุกคนช่วยจ่ายแทนคุณ ฉนั้นตามหลักเศรษฐศาสตร์ ใครที่รับสิทธิมากควรที่จะจ่ยคืนมากเช่นกัน
-เรื่องน้ำไฟ ฟรี นักศึกษาที่อยู่หอพักในมหาวิทยาลัย ก็ได้ฟรีหลายที่นะครับ ดังนั้นผมมองว่าไม่ต่างกัน นักศึกษาคนอื่น
ใช่ใครอยู่หอพักในมหาวิยาลัยใช่จ่ายนำไฟฟรี (แต่เสียค่าหอรายเทอม + วัดดวงจับฉลากว่าจะได้อยู่หอปีหน้าหรือเปล่า ไม่ได้อยู่ฟรีจนจบ)
- "ผมพร้อมที่จะเสียสละช่วยเหลือสังคม และผู้ป่วย" คำกล่าวนี้ไม่เป็นความจริงครับ หมอทุกคนไม่ได้ตอบอย่างนี้แน่นอนครับ หากคุณเป็นกรรมการสัมภาษณ์คุณจะรู้ดี ... และประโยคนี้ควรมีอยู่ในใจทุกคนที่เป็นมนุษย์ครับ ไม่ต้องพูด หรือว่าทวงถามใคร ...
ไม่แน่ใจแต่คุณต้องถามใจตัวเองว่าคุณตอบแนวนั้นหรือไม่ ประมาณว่าคุณรับทราบว่าคุณพร้อมที่จะเสียสละเพื่อสังคมเพื่อให้ตัวเองได้เข้าเรียน

มีอยู่อาชีพหนึ่งที่เขาไม่ค่อยโวยวายกันหรอกแต่ถ้าตึกล้มเขาจะโดนจับเข้าคุกก่อนแล้วค่อยสอบสอนว่าความผิดมาจากคุณdesignsหรือไม่ คือคุณต้องแก้ต่างข้อกล่าวหาที่เขายัดให้คุณทั้งที่ยังไม่สืบหาความจริงก่อน
แต่ถ้ารักษาผิด(โอกาสน้อยและเกิดคนกลุ่มน้อยที่ไม่รับผิดชอบเท่านั้นขอย่ำคนหมู่น้อย)ผู้ป่วยต้องสืบหาข้อเท็จจริงมากล่าวหาเอง ได้ก็ดีไปไม่ได้ก็โชคร้ายเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนสองกลุ่มโดนการตัดสินตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง นี่คือความยุติธรรมของสังคม?

-ถ้าคุณจบ คณะอื่นปริญญาตรี สายวิทย์มาเรียนต่อก็ได้ แต่ถ้าคุณแก่เกินไปแล้ว หรือ สอบเข้าไม่ได้ ก็พยายามให้ ลูกมาเรียนก็ได้นะ
แย่มากๆอย่างทนงตัวเองเกินไป คะแนน entrance ปี29 ไม่ต้องสอบ BIO ก็เรียนmed ได้แล้ว ไปดูเอาเองว่าคณะอะไร กรุณาอย่า look down คนอื่ว่าโง่กว่าตนมันบ่งบอกถึงจริยธรรมของตัวคุณเอง

ผมชอบความเห็น MEGUMI อย่างยิ่งที่แสดงถึงจริยธรรมที่หมอควรมีแก่คนป่วย ที่ผมเขียนเพื่อต้องการให้คุณทุกคนตละหนักถึงเงินภาษีที่เขาจ่ายให้คุณตั้งแต่เริ่มเรียนจนเลิกอาชีพนี้ไป ว่า"คนที่ใช้ทรัพยากรมากกว่าผู้อื่น ย่อมต้องจ่ายคืนมากผู้อื่นเช่นกัน มันเป็นกฏของธรรมชาติ"


Posted by : เพียงลมพัดผ่าน , Date : 2006-12-18 , Time : 15:02:07 , From IP : static-66-146-107-20

ความคิดเห็นที่ : 16


   การ "รักษาผิด" ไม่ได้เป็นสาเหตุเพียงประการเดียวของการเกิดภาวะแทรกซ้อน การเสียชีวิตของคนไข้ครับ

ผมเห็นด้วยว่าคนที่ยังไม่ได้รับการสอบสวนว่าผิด แล้วถูกตัดสินไปก่อนนั้น เป็นความ "อยุติธรรม" แต่วิธีแก้ไข ไม่น่าจะเป็นทำให้เกิดความอยุติธรรมโดยเท่าเทียมกันทั้งหมดใช่ไหมครับ เมื่อสังคมเกิดความไม่เท่าเทียมนั้น ความเท่าเทียมที่เรา "อยาก" ให้เกิดน่าจะเป็นความเท่าเทียมที่ดี ไม่ใช่ไม่ดีเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นในกรณีที่ยกตัวอย่างมา เราน่าจะรณรงค์ให้ไม่มีการจับเข้าคุกก่อนสอบสวน ไม่น่าจะกลับรณรงค์ให้ presumed guilty เหมือนๆกันหมดทุกคน ผมว่ามันฟังดูแปลกๆนะครับ

ผมยังไม่เห็น "ข้อเรียกร้อง" ของคุณลมพัดผ่านที่ชัดเจนว่า ตามหลักการและเหตุผลที่คิดว่า "ควร" นั้น อยากจะให้เป็นเช่นไร อย่างน้อยถ้ามีข้อเสนอแนะเราจะได้มีการอภิปรายกันต่อไปในเรื่องที่เสนอแนะ

อาชีพแพทย์นั้น มีอภิสิทธิ์หรือไม่? ผมคิดว่ามีครับ แต่เป็นมีเพราะความจำเป็น เนื่องจากการรักษาพยาบาลจะให้ได้สัมฤทธิ์ผลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่หมอจะต้องได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ ถ้าขาดไปก็จะให้การวินิจฉัยได้ไม่ถูกต้องเพราะข้อมูลไม่ตรงหรือไม่ครบ ถ้าไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ละเอียดถี่ถ้วน ก็อาจจะวินิจฉัยผิด ถ้าผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ผลการรักษาก็จะไม่ดี เพราะฉะนั้นในบรรดา "อภิสิทธิ" ที่มี เช่น หมอสามารถถามคำถามที่คาดหวังจะได้คำตอบตามจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องน่าอับอาย หรือหมอสามารถขอให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าออก เพื่อที่จะได้ดู คลำ เคาะ ฟัง อย่างละเอียด สิ่งเหล่านี้เป็นอภิสิทธิที่ "จำเป็น" ในการเป็นแพทย์ที่ดี

สิ่งตอบแทนก็คือ แพทย์มีการรับปรึกษานอกเวลาได้ เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นไม่รู้เวลา แต่การที่แพทย์รับปรึกษานอกเวลา ก็ยังอยู่ในขอบข่ายของความสามารถของมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา หมอก็สามารถง่วง เพลีย เหนื่อย ได้เช่นคนปกติ ในกรณีดังกล่าวน่าเป็นสิ่งที่ปลอดภัยกว่าถ้า รอ หรือเปลี่ยนหมอ หรือส่งต่อไปหาหมอที่พร้อมกว่า ก็เป็น commonsense ที่ไม่ได้เป็น "อภิสิทธิ์" เพิ่มเติมแต่อย่างไร

คนเราทุกคนยังคงมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมชาติ การรักษาพยาบาลเป็นการ reverse ความผิดปกติ ความผิดธรรมชาติ แต่เราก็ยังไม่สามารถจะฝืน "ธรรมชาติ" ได้ 100% ยังต้องมีธรรมชาติของยา ธรรมชาติของตัวผู้ป่วยที่ทนหรือไม่ทนต่อความทุกข์ไม่เท่ากัน ธรรมชาติของข้อจำกัดต่างๆ ผมคิดว่าทางที่ดี หากเรากำลังจะมีการสนทนาที่ดี สร้างสรรค์ เราอาจจะเรีมจาก "ข้อเสนอ" และ "เหตผล" ดีไหมครับ ผมว่าอาจจะดีกว่าการ judge value โดยไม่มีข้อเสนออะไรเป็นรูปธรรมออกมา เพราะอภิปรายเช่นนั้นเป็นแบบขนาน หรือแบบถ่างออก ไม่ได้เข้ามาร่วมสร้างการรับรู้ร่วมของทั้งสองด้าน

เวลาที่เราพูดถึงแพทย์ "บางคน" ที่ไม่มีจริยธรรม จรรยาบรรณนั้น บางทีเราสื่อไปเหมือนกับการ stereotype หรือการเหมารวม ผมคิดว่ามีแพทย์จำนวนมากที่ตระหนักถึงปรัชญาวิชาชีพอยู่ แล้วเวลาคน feedback แบบรวมนั้น มันจะกระทบกระเทือนจิตใจได้เหมือนกัน เพราะคนเราก็มี "อารมณ์" กันทั้งสิ้น

ผมไม่คิดว่าเรื่องของการทำงานนี้เป็นการ "จ่าย" ทดแทนหรืออะไร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มี "ทุน" แบบที่เราวัดได้ มันเป็นระดับจิตวิญญาณ มิฉะนั้นจะมีคนคิดว่า "เอ... เราจ่ายไปคุ้มทุนแล้ว ที่เหลือก็เรื่องของเราล่ะซิ" หรือเห็นชัดมากขึ้นเช่น โรงเรียนแพทย์เอกชนที่คนเรียนจ่ายเองล้วนๆ จะกลายเป็นข้อยกเว้นขึ้นมาหรือไม่ เขาต้องออกค่าหอพักเอง จ่ายค่าหน่วยกิตเอง อะไรเองทั้งหมด กลุ่มนี้จะมี exemption ในเรื่อง "อภิสิทธิ์" หรือไม่? คำตอบคงจะไม่ใช่ เพราะจรรยาบรรณวิชาชีพนี้ไม่ได้มีเหตุผลมาจากการจ่ายค่าเทอมเรียน ไม่ได้มาจากการ subsidized ของรัฐบาลครับ จรรยาบรรณวิชาชีพมาจากเรื่องอืนๆ มาจากจริยศาสตร์ มาจากปรัชญา การที่มีคนเข้าใจผิด ยกเอาเรื่องค่าเล่าเรียน เอาเรื่องเงิน การชดเชยมาเป็นตัวจับ วัดความคุ้ม ไม่คุ้มของจริยธรรมนั้น มีแต่ทำให้สถานการณ์แย่ลง ทำให้การอภิปรายเบี่ยงไปเถียงกันเรื่องตกลงค่าเทอมมากน้อย มากไปกี่แสน มากไปกี่พัน ค่าหอเท่าไหร่ กลายเป็นตัวเงินเหมือนเป็นเหตุผลที่ทำให้แพทย์ต้องมาทำงานชดใช้ ซึ่งไม่ใช่เหตุผลเลยแม้แต่นิดเดียว

ถ้าประชาชนมองคนมาเรียนแพทย์แบบนั้นจรีงๆ ผมว่ามีผลต่ออาชีพนี้ในระยะยาวอย่างแน่นอนครับ ถ้าประชาชนเริ่มมองว่านักศึกษาแพทย์ต้องทำงานเพื่อชดใช้ค่าเทอม หรือค่า subsidized แค่นั้น ผมว่าอีกไม่นานก็จะมี commercial doctor ออกมาในระบบความคิด จริงๆแล้วทุกๆอาชีพมีหน้าที่ต่อสังคมด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเรามัวแต่ตีค่าตามค่าเทอม เรากำลังบอกว่าคนที่จ่ายค่าเทอมน้อยๆ ก็ไม่มี commitment ต่อสังคมเท่าไหร่ หรือมีอยู่น้อยกว่าแพทย์ ที่จริงเราทุกคนมี "หน้าที่" ต่อสังคมเท่าเทียมกันครับ และสมควรได้รับความยุติธรรมจากสังคมเท่าเทียมกันด้วย ถ้าจะแก้ ไปแก้กับคนที่ยังไม่ได้รับความยุติธรรม ไปแก้คนที่ต้องรับผิด ติดคุกก่อนการพิจารณา ดีกว่าการเสนอให้ทุกคนได้รับความ "อยุติธรรม" เพื่อความเสมอภาค



Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-18 , Time : 16:19:05 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 17


   - อาจารย์ phoenix ตอบได้ดีมากมาย :D

ขออนุญาตคุยกับคุณ เพียงลมพัดผ่าน ต่อนะครับ
- ที่ผมไม่ได้ตอบเรื่อง เงินไม่เปิด clinic 10000 ที่หมอได้นั้น...เพราะ...ตอนที่ผมอ่านแล้วผมไม่เข้าใจเองน่ะครับ ว่าหมายถึงอะไรกับประโยคนี้ แล้วก็นึกไม่ออกครับว่ามีสิทธิอะไรอีก...นอกเหนือจากนี้

"พวกคุณได้รับการสิทธิพิเศษจากเงินเดือนที่ข้าราชการระดับเดือนกันไม่ได้ และอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน"

จึงไม่ได้ตอบไป...

- เรื่องเงินพิเศษได้เดือนละ 10000 ครับ ราชการระดับเดียวกันทั่วไปไม่ได้ครับ แต่ผมคิดว่าสองเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าแพทย์ ห้ามเรียกร้องอะไรอีก...หรือคุณเพียงลมพัดผ่านว่าเป็นครับ..

-เรื่องค่าหอพักนี่นักศึกษาแพทย์ทุกคนที่อยู่ต้องจ่ายทุกปีเหมือนกันนะครับ ไม่ได้อยู่ฟรี ราคาก็ไม่ได้ถูกกว่า นักศึกษาใน มหาลัย (ผมอ่านความเห็นคุณเพียงลมพัดผ่านแล้วคิดว่าคุณเข้าใจว่า นศพ.อยู่ฟรี)

เรื่องจับฉลากนี่ หอพักนศพ.ก็ต้องจับครับหากว่านศพ.มีความต้องการอยู่เกินกว่าจำนวนห้องกันมาก...(แต่ผมยังไม่เคยเห็นว่าต้องจับฉลาก เพราะ...ทางคณะแก้ปัญหาโดยการเพิ่มจำนวนคนต่อห้องแทน...เรื่องนี้สร้างความอึดอัดให้ นศพ.เหมือนกัน เป็นปัญหาเหมือนกัน...(สามารถตั้งกระทู้ให้น้องๆ บ่นกันได้อีกหนึ่งกระทู้ครับ....จึงขอไม่พูดถึงอีก))

แต่ทำไมจึงมีหอพัก นศพ. ทำไมไม่มี นศ.วิศวะ ฯลฯ ผมไม่ขอกล่าวถึง เพราะเป็นประเด็นที่ยาวมากๆๆๆ ที่เถียงกันไม่รู้จักจบสิ้น...

-เรื่องเสียสละเพื่อส่วนรวม ตอนสอบสัมภาษณ์ ผมไม่ได้ตอบว่าจะเสียสละเพื่อส่วนรวม ...แต่ถ้าถามว่ามีใจที่จะเสียสละมั้ย...ผมตอบว่ามีครับ...

แต่ผมขออนุญาตเลือกเองได้หรือไม่ว่าจะเสียสละเรื่องใด เกี่ยวกับอะไร แบบใด และแค่ไหน....

-เรื่องจับขังคุกโดยไม่สอบสวน ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ phoenix ครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2006-12-18 , Time : 17:46:05 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 18


   แนวทางการแก้ปัญหา
1.การไม่สร้างความแตกแยกของสังคมระหว่างคนไข้กับหมอ เหมือนที่แพทยสภากำลังทำอยู่
2.ทุกครั้งที่มีการเข้ารับการรักษา ระเบียนคนไข้ทำไม่ทำสำเนาให้เขาทั้งที่เป็นประวัติขิงเขาเอง และมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นที่ทำไม่ได้ เหมือนแบบblue print designer ยัง copy ให้กับเจ้าของ project เลยทั้งๆที่ผมกล้าพูดเลยว่า owner project มากกว่า70% อ่าน blue print ไม่ออกหรอก แต่เราคิดว่ามันเป็นสิทธิที่เขาควรรู้และเขาควรได้ โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องร้องขอ
3.การให้คำปรึกษาควรจะแจ้งผู้ป่วยอย่างตรงและซื่อสัตย์
4.ไม่ควรปฏิเสธการรักษาแบบไม่มีเหตุผลเพราะมันจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับผู้ป่วยแย่ลง(เราจะพบบ่อยในโรงพยาบาลเอกชน แต่ใช่ว่าโรงบาลรัฐจะไม่เป็น)
5.ผมเจอมากับตัวเองอาจารย์หมอ(อายุไม่มากน่าจะ จบเฉพาทางมาไม่นาน)ในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ระดับใหญ่ top3 ของประเทศให้คนไข้นั่งรอตั้งแต่5ทุ่ม จนถึงตี3 จึงได้รักษาทั้งที่คนก็ไม่เยอะอะไร พอคนไข้สอบถามก็บอกว่า ถ้าอยากรับ good serviceก็ให้ไปเอกชนสิ แล้วมิหนำซ้ำยัให้มารับยาวันรุ่งขึ้น ผมเกิดมาก็เพิ่งเคยเจอ ผมเลยบอกกับเพื่อนอย่าได้เข้าอีกเลยถึงแม้นมันจะมีแค่โรงพยาบาลเดียวในประเทศไทย ผมขอโทษที่พาคุณมาที่นี่ (ถ้าเป็นเมืองนอกผมกล้าพูดเขาเอาเรื่องหมอคนนี้แน่ แต่นี่เมืองไทยเขายังให้เกียรติคุณแต่คุณไม่รักษามันเอง)
ฯลฯ

ผมเองทำงานในเมืองนอกมาเป็นเวลาพอสมควรเพราะต้องเรียนด้วย ผมขอแนะนำว่าถ้าจะเอา case ของเขามากล่าวต้องนำมาทั้งหมดทั้งดีและเสียมาวิเคราะห์เอามาสิ่งที่ดีมา อย่าเอาแต่ผลที่ดีแก่ตัวเองมาอ้างเพื่อหาความชอบธรรม(เหมือนกับหมออาวุโสที่ชอบออกมาพูดทางTV) แล้วมันจะช่วยยกวิชาชีพและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหมอกับผู้ป่วยมาสู่ปกติเหมือนอดีตที่ผ่านมา

ผมอาจจะพูดจาไม่เข้าหูใครแต่ผมคิดว่าผมแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้องในทัศนคติที่คนนอกวิชาชีพมองเข้ามาหวังว่าความเห็นผมมันคงไม่เป็นเพียงแค่ลมพัดผ่านแล้วก็หายไป


Posted by : เพียงลมพัดผ่าน , Date : 2006-12-18 , Time : 17:55:13 , From IP : static-66-146-107-20

ความคิดเห็นที่ : 19


   อ่านความเห็นล่าสุดคุณ เพียงลมพัดผ่าน แล้ว มีความคิดต่อได้...หลายอย่างทีเดียว เลยอยากคุยกันต่อ (ถ้าคุณ เพียงลมพัดผ่าน จะยินดี)

- ผมอ่อนด้อยไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง blue print ดี แต่ผมขอทึกทักเอาเองว่าไม่น่าจะเหมือน เวชระเบียน เพราะ

ใช้เวลาสร้างน้อยมาก ส่วนใหญ่ไม่เกิน 30 นาที แน่นอนสำหรับ case OPD (หากผมถ่ายเอกสารเวชระเบียนสักหนึ่งเล่มของใครก็ได้ เอาไปให้หมอ 100 คนดู วิจารณ์ จับผิด...อาจได้ความเห็นไม่เหมือนกันเลย....และได้ข้อบกพร่อง อันนำไปสู่ข้อสงสัย (ที่จะฟ้องร้องหรือไม่ก็ตาม)มาเป็น 100 กระทง...)

เวชระเบียนเขียนเสร็จแล้วก็ทำตามแผนการในเวชระเบียนเลย โดยคนคนเดียว (ถามว่า blue print เป็นอย่างนั้นหรือไม่ผมไม่แน่ใจ...แต่คาดว่าไม่)

แต่ผม และแพทย์ ทั้งหลายก็เห็นด้วยที่"ควร"แจ้งให้คนไข้ทราบในทุกรายละเอียด...ของคนไข้เอง
(ความเห็นส่วนตัว:แต่หากต้องการเวชระเบียนควรเป็นฉบับที่มีรายละเอียดที่ชี้แจงมาอย่างดีแล้วเท่านั้น...ไม่ต้องการให้เอา Note ย่อไป เพื่อกระตุ้นให้เกิดข้อสงสัย...ให้เกิดความวุ่นวายต่างๆ ตามมา)

ขอฟุ้งซ่านต่อ...แล้วทำไมต้องกลัวข้อสงสัย...ไม่บริสุทธิ์ใจหรือ...ถ้าทำถูกแล้วกลัวอะไร...ผมคิดว่าพวกเรากลัวว่าไม่มีเวลาเพียงพอในการอธิบายรายละเอียด(เป็นสาเหตุที่ กระทรวงเร่งผลิตแพทย์เพิ่ม...อย่างมากในตอนนี้)

-เห็นด้วยกับข้อ 3,4 ของคุณ เพียงลมพัดผ่าน อย่างยิ่ง...และอาจารย์ก็สอนนศพ.ทุกคนมาอย่างนั้น ทุกปี ทุกท่าน ทีนี้ก็คงเหลือแต่เรื่องของบุคคลเท่านั้นเองว่าจะทำตามที่ได้รับการอบรบมาหรือไม่

แต่เรื่องรพ.เอกชน ผมเข้าใจว่าในกรณีฉุกเฉินตามกฏหมาย รพ.ไม่สามารถปฏิเสธได้อยู่แล้ว (ยกเว้น รพ.จะทำผิดกฏหมาย) แต่ถ้าเป็นกรณีไม่ฉุกเฉิน ผมคิดว่า รพ.เอกชนสามารถปฏิเสธได้ และเราคงทำอะไรไม่ได้....

ข้อ 5 นี่คงต้องขอรายละเอียดมากกว่านี้....

เห็นด้วยเรื่องของเมืองนอก..ถ้าเอาข้อดีมาคิดก็ต้องเอาข้อเสียมาคิดด้วย...แต่เรื่องนี้ยากในการตีความเหมือนกัน...


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2006-12-18 , Time : 20:06:44 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 20


   ขอบคุณครับที่เรายังมี dialogue กันต่อ

ผมขออนุญาตตอบข้อแรกที่หลังสุด เพราะข้ออื่นๆดูจะสามารถตอบได้สั้นๆกว่า

2) แฟ้มประวัติผู้ป่วย ผมคิดว่าแนวคิดเรื่องนี้มีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง ทั้งเหตุผลด้านสิทธิ และเหตุผลด้านเศรษฐศาสตร์ ขอกล่าวแค่สองข้อนี้เท่านั้น สำหรับประการแรกคือสิทธินั้น ผป.มีสิทธิทั้ง "จะเอาหรือไม่เอา" เอกสารที่ว่านี้ ไม่ใช่ว่าผป. "มีสิทธิ" จะเอา แปลว่าผป.ทุกอยากจะได้ จะเอาไปทั้งทีคงจะต้องมีประโยชน์ เพราะการผลิตเอกสารไม่ว่าจะมากหรือน้อยมีต้นทุนเกิดขึ้น สำหรับระบบสาธารณสุขเมืองไทยที่มีงบประมาณจำกัด การทำอะไรที่อาจจะเป็นการสูญเปล่า ก็คงจะเป็นการสิ้นเปลือง ไม่ตรงกับปรัชญาการใช้เงินอย่างประหยัด คุ้มค่า และพอเพียง ผมไม่คิดว่าประเทศอื่นๆแจกแฟ้มประวัติผู้ป่วยทุกกรณีโดยที่เขาไม่ได้ขอ นอกเหนือจากเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว ผป.หรือญาติบางรายอาจจะไม่ได้นึกถึงผลเสียที่ข้อมูลทำนองนี้อาจจะออกสู่สาธารณะได้มากขึ้นก็เป็นได้ กม.เดิมของเราเองอนุญาต 100% ที่ผป.จะขอแฟ้มประวัติอยู่แล้ว ฉะนั้นประเด็นสิทธิก็ได้รับการคุ้มครอง แต่การเอาเงินมาผลิตแจกแฟ้มแบบนี้ อาจจะเป็นการใช้เงินภาษี (ซึ่งก็เป็นของคนอื่นเหมือนกัน) ไม่ถูก ไม่มีประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าบอกว่าแจกทุกครั้งที่มารักษา ผป.บางรายมาหาแพทย์หลายสิบครั้ง ทั้งแบบผป.ใน และผป.นอก ผมไม่แน่ใจว่าการเพิ่มภาระในการรักษาความลับผป.ให้ผป.และญาติรับผิดชอบเอาเองที่บ้าน จะเป็นสิ่งที่ต้องการโดยประชาชนทุกคนหรือไม่นะครับ

3) ข้อนี้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งตอนเรียนและตอนปฏิญาณตนอยู่แล้ว และในประกาศ (ฉบับไหนๆก็ตาม) ก็ไม่มีข้อยกเว้นว่าข้อนี้ไม่ต้องทำ เพราะฉะนั้นไม่ใช่วิธีใหม่อะไรรึเปล่าครับ?

4) ข้อนี้ก็เช่นเดียวกันกับข้อสาม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ "ไม่มีเหตุผล" นะครับ ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้สื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เกิดขึ้นได้ในหลายๆบริบท เพราะคนเรานั้นมี selective mechanism ในการรับรู้อยู่แล้ว ยิ่งสภาวะอารมณ์ไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความเศร้าเสียใจ ความตื่นเต้น ความกลัว ฯลฯ ของฝ่ายผป. หรือความเหน็ดเหนื่อย ความเสียใจของแพทย์ที่จะช่วยผป.ไม่ได้ (เชื่อหรือไม่ว่า บางทีแพทย์ส่งต่อผป.หนักๆนั้น เขารู้พยากรณ์โรคอยู่ในใจ ก็จะมีความทุกข์เป็นห่วงผู้ป่วยได้เหมือนกัน ไม่ใช่มีแต่โล่งอกที่ส่งไปที่อืนอย่างเดียวเท่านั้น)

ข้อ 5) คงจะเป็นประสบการณ์ส่วนตัวของคุณลมพัดฯ ซึ่งก็น่าเห็นใจ แต่คงไม่เกี่ยวกับวงการวิชาชีพแพทย์ (รึเปล่า?) ใช่ไหมครับ

สำหรับข้อ 1) ผมได้วิเคราะห์สิ่งที่แพทยสภา "พยายาม" จะสื่อไปแล้วหนึ่งรอบ ผมว่าถ้าเราพยายามจะทำอย่างที่คุณลมพัดฯแนะนำ คืออย่าพึ่งพยายาม "ด่วนตัดสิน" ว่าใครทำอะไรเพราะอะไร ลองมาคิดถึงความเป็นไปได้ด้านอื่นๆที่ไม่ใช่ด้านที่เราสรุปดู

อย่างไร?

ผมอยากจะ "เดา" ว่า กรรมการแพทยสภาก็มีหลายท่าน ร่างเรื่องนี้มาก้หลายปีอย่างที่นายกฯว่ามา จะเป็นไปได้หรือไม่ที่แพทยสภาพยายาม "สร้างความแตกแยก" ระหว่างหมอกับประชาชน? และถ้าไม่ใช่ "ความตั้งใจ" ผมว่าทิศทางการอภิปรายคงจะเปลี่ยนไปในทางที่สร้างสรรค์ได้มากกว่านี้

ผมคิดว่าไม่ต้องคิดลึกซึ้งอะไรมาก ใครๆก็น่าจะอนุมานได้ว่าไม่มีอะไรดีขึ้นแน่ๆ จากการ "สร้างความแตกแยกแก่สังคม" ดังนั้นสมมติฐานข้อที่ว่ามีหรือไม่มีเจตนานั้น ไม่ค่อยมี sound background สักเท่าไร ทีนี้ถ้าไม่มีเจตนา การเข้าใจที่ "ไม่ตรงกัน" นั้นเกิดขึ้น ตรงไหน เพราะอะไร?

ถ้าเราพอจะตกลงกันได้ว่าหมอ (ไม่ว่าจะทั่วไป หรือในแพทยสภา) ไม่ได้มีเจตนาจะสร้างสังคมให้แตกแยก เราจะได้มา focus ที่อะไรอย่างอื่นแทน อาทิ สาเหตุของความล้มเหลวในการสื่อสารเกิดจากอะไรได้บ้าง ที่ผ่านมานั้น ประเด็นที่เผ็ดร้อนเกิดขึ้น เพราะมีการด่วนสรุปถึงเจตนาเท่านั้น

พวกเราคงจะต้องหาเวลามาสะท้อนตนเองแหละครับว่า โอกาสที่เราจะ "เข้าใจ" เจตนาของคนอื่นอย่างถ่องแท้นั้นเป็นอย่างไร มีโอกาสที่จะเข้าใจผิดมากน้อยแค่ไหน และถ้าเราโกรธ เกลียด ใครโดยที่เราเข้าใจผิด อน่างนั้นจะเป็นเรื่องโศกนาฎกรรมที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยการด่วนสรุป เต็มไปด้วย stereotyping เต็มไปด้วย "ฟันธง syndrome" ("ฟันธง" มาจากการแข่งขันกีฬาประเภทลู่ ที่ตรงเส้นชัยมีคนถือธง พอมีอะไรผ่านเป้นคนแรกปุ๊บก็ "ตัดสิน" เดี๋ยวนี้เราตัดสินเรื่องอะไรต่อมิอะไร ไม่ว่ามันจะซับซ้อนขนาดไหนโดยใช้แต่ 1 หรือ 2 parameters เท่านั้น) ลองพิจารณาดูว่าโอกาสที่เราจะเดาใจแพทย์ที่ทำงานมา 20-30 ปี ว่าเขาตั้งใจหรือไม่ตั้งใจทำลายสังคมนั้น เรา "มั่นใจ" แค่ไหนที่จะตัดสินใจแบบนั้น ในทำนองกลับกันถ้ามีคนอื่นๆมาตัดสินตัวเราโดยใช้ criteria ที่ไม่พอ เราเองจะรู้สึกอย่างไร

ครับ ทั้งสองฝ่ายคงต้องทำอย่างเดียวกัน ทีนี้เราพอจะมองเห็นเหตุผลไหมครับว่า ทำไมหมอจึงมีอารมณ์ที่มีการใช้พฤติกรรมบางอย่างมา "ตัดสิน" คนทั้งวงการ?

ในทางการแพทย์ เราสอนและถูกสอนมาตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์เรื่อง non-judgemental attitude เพราะการด่วนตัดสินนั้น เรามักจะเผลอใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของเราไปเดาว่าคนอื่นคิดอะไร ยังไง ถูกหรือผิด มากไปกว่านั้นเผลอๆก็ตัดสิน "ดีหรือเลว" ไปเลย ในบางสถานการณ์ผมว่าในใจหมอทุกคน ตอนนี้ก็อยากจะให้คนทั่วๆไปใช้หลัก non-judgemental attitude กับหมอมากขึ้นครับ พวกเราหลายๆคนมีความทุกข์ที่คนนอกวงการไม่ทราบว่า เรามีความเครียดมากแค่ไหนเวลาที่คนไข้แต่ละคนมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เวลาที่เราเป้นคนรับผืดชอบไปบอกข่าวร้ายแก่ญาตๆว่า พ่อของเขา แม่ของเขา หรือลูกของเขาเสียชีวิตไป หรือบอกคนไข้ว่าเขาเป็นมะเร็งและต้องคอยปลอบใจคนที่กำลังทุกข์ทรมาน แต่นั้นเป็นสิ่งที่เราสมัครใจกันมาทำงานนี้ และทราบว่าเป็นเรื่องที่เราจะต้องประสบ ก้ไม่ได้เรียกร้องอะไรมาก เพียงแต่อยากจะให้ทราบถึงอีกมิติหนึ่งของงานที่คนมองว่ามันช่างมีอภิสิทธิ์ มี privilege มากมายเหลือเกินนั้นเป็นอย่างไร คงไม่ค่อยมีงานอื่นๆมากนักที่เกี่ยวกับความเป็นความตาย ความสุขทุกข์ของคนอื่นที่ชัดเจนแบบนี้นัก และภายใต้เกียรติ หรืออภิสิทธิ์ที่คนภายนอกมองเห็นนั้น ไม่มีใครเห็นอีกมุมที่หมอใหม่อาจจะนอนร้องไห้ที่คนไข้รายแรกของเขาเสียชีวิต หรือความเครียดที่เห็นมารดาของเด็กที่เสียชีวิตร้องห่มร้องไห้ต่อหน้าต่อตาโดยขที่เขาไม่มีสิทธิจะเดินหลบออกมา

บางคครั้งคำวิจารณ์ของคนนั้น ไม่เป็นแค่ลมใพดผ่านหรอกครับ ตรงกันข้าม บางทีมันเป็นเสมือนลมเพ็ดหึงที่จะโค่นล้มจิตใจที่เหน็ดเหนือยลงไปได้ต่างหาก คำพูดประชดประชันแม้เพียงน้อยนิด แต่มันไม่เล็กน้อยหรอกครับสำหรับคนที่ตามรอยพระยาทของสมเด็จพระราชบิดาแห่งการแพทย์ไทย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-18 , Time : 20:07:20 , From IP : 124.157.182.178

ความคิดเห็นที่ : 21


   ผมอยากจะขออนุญาตสะท้อนเรื่อง "การชดใช้ทุน" ต่ออีกนิดนึง

ผมคิดว่าจะเป้นจุดเริ่มต้นของการเข้าใจผิดอย่างมาก หากคิดว่าวาชีพแพทย์ (ประมาณ 35 ปีโดยเฉลี่ย ถ้ารับราชการ) เป็นเรื่องของการตอบแทนต้นทุนที่มาเข้าเรียน 6 ปี

และเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก ต่อ notion ที่ว่าคนที่ยิ่งได้รับ subsidize หรือ incentive ในการมาเรียน แปลว่า ต้องทำงานมากขึ้น "กว่า" คนอื่นๆ

เพราะผมคิดว่าการ "ทำงาน" นั้น เราไม่ได้ชดใช้เงินค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด ไม่ใด้กำลังชดใช้เงินค่าหอพัก ไม่ได้กำลังชดใช้เงินเดือนพิเศษด้วย การทำงานของทุกวิชาชีพ นั้น เรากำลัง "ตอบแทนสังคม" และควรตจะตอบแทนอย่างดีที่สุด ตามกำลังความสามารถของเรา ไม่ว่าจะอาชีพไหนก็ตาม

ไม่ใช่ค่าเทอมสูงต้องขยันกว่า ค่าเทอมต่ำไม่ต้องขยันเท่าไหร่

เพราะการทำงานนั้นเป็น "หน้าที่พลเมือง" ครับ ต่อให้ไม่เรียนหนังสือ เป็นชาวนา ชาวสวน ก็มีหน้าที่ต่อสังคม มีบทบาทต่อสังคมไม่แพ้หมอ วิศวกร จบในหรือต่างประเทศก็เหมือนกัน

ถามว่าถ้ายังงั้นเพื่อความยุติธรรม ก็ไม่ต้อง subsidize ค่าเล่าเรียนของแพทย์เสียสิ ผมคิดว่าเราก็คงทำอย่างนั้นได้ครับ แต่ก่อนจะทำเราคงจะต้องมาพิจารณาว่าเกิดผลดีหรือผลเสียต่อสังคม ถ้าแพทย์ไม่มี incentive "ช่วยเหลือ" ในการเรียนเลย ในเรื่องค่าเล่าเรียน ในเรืองหอพักฯลฯ ก็แปลว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมด "นักศึกษา" หรือครอบครัวแบกภาระกันเอง

อะไรจะเกิดขึ้น?

ทุกวันนี้แค่เรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ คนก็เป็นกังวลว่าค่าเล่าเรียนที่ไม่ได้ถูก subsidize จะกลายเป็นค่าเทอมที่คำนวณจาก "ค่าใช้จ่ายจริง" ค่าเล่าเรียนของแพทย์เป็นอย่างไร เราคงจะไปดูจากมหาวิทยาลัยแพทย์เอกชนครับ หรือที่อเมิรกาก็คงจะมีหลายที่ที่เราอาจจะลองหาข้อมูลดู

คนที่จะมาเรียนแพทย์ กลายเป็นเงื่อนไขแรกคือมีเงินจ่ายค่าเล่าเรียนเป็นแสนๆหรือไม่ หรือไปกู้หนี้ยืมสินมา เมื่อจบออกมาแล้วความจำเป็นที่ต้องลบล้างหนี้สิน เราจะเกิดแพทย์ในระบบแบบไหนตามมา? สาเหตุที่คนทั่วไปยังไม่ได้สังเกตถึงผลดีที่รัฐบาลช่วยค่าเล่าเรียนแพทย์ก็เพราะคนที่เรียนพอจะ afford ได้อยู่ ลองดันให้เป็นหมาวิทยาลัยเอกชนทั้งหมดสิครับ เราจะเห็นว่าเป็นอย่างไร

ดังนั้นแทนที่เราจะเพาะ mental status ว่าแพทย์กำลังทำงานใช้ทุนค่าเทอมอยู่ ผมว่าเราน่าจะปลูกฝังแรงบันดาลใจในการทำงานอีกรูปแบบหนึ่งมากกว่า เพราะเงื่อนไขของบัณฑิตไม่ว่าจะสาขาวิชาอะไรก็ตามมีสามประการ
1) มี professional competency ตามวิชาชีพ หรือตามความรู้ในสาขานั้นๆสมศักดิ์ศรีบัณฑิตระดับอุดมศึกษา
2) มีการแสดงออกที่งดงามทั้งด้านความคิด การพูด การกระทำ (กาย วาจา ใจ)
3) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
จะสังเกตเห็นว่าทั้งสามคุณสมับติของบัณฑิตไม่ว่าจะสาขาไหนก็ตาม ถ้าเป็นแบบนี้ ก็จะไม่มีเงื่อนไขอยู่ที่ค่าเทอมเท่าไหร่ ใครออกใครเท่าไหร่ แต่ทุกคนจะต้องมี "หน้าที่" ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมเหมือนกันหมด

จะดีกว่าหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-18 , Time : 20:27:48 , From IP : 124.157.182.178

ความคิดเห็นที่ : 22


   ผมเสียใจด้วยถ้าคุณ Proenix คิดว่าความคิดเห็นที่ผมฝากผ่านมากับสายลมมันจะทำให้ใครบางคนอ่อนแรงลงไป แต่ผมคิดว่ามันก็จะคงเป็นความจริงที่ใครหลายคน(นอกวิชาชีพ)มองผ่านเข้าไป ปัญหามีอยู่เพียงว่าคุณในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง(ไม่ได้หมายความถึงคนใดคนหนึ่ง)ในการผลิตบุคลากรและระบบของวิชาชีพคุณ จะใส่ใจที่แก้ให้มันดีขึ้นหรือรับฟังให้มันเหมือนผมที่พัดผ่านมาแล้วให้มันผ่านไปเท่านั้น
ผมไม่ต้องการสร้างความแตกแยกในสังคมระหว่างผู้ป่วยกับหมอ เพียงแต่ผมอยากสะท้อนออกมาว่าคนบางส่วน(ไม่รู้ว่ามากหรือน้อย)มองผ่านคำพูดของหมออาวุโสที่บอกกับสังคมอย่างไรในฐานะคนที่มีอำนาจตัดสินใจขององค์กร(ความจริงทีพูดผ่านสื่อ)
บางครั้งพวกคุณต้องหันกลับไปมองตนเองผ่านคนที่อยู่นอกวิชาชีพว่าเรามีจุดแข็งอย่างไรจุดอ่อนอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไรไม่ใช่หลบเลี่ยงปัญหาอย่างไร อย่าคิดเองเดาเองเพราะตัวเองย่อมมองไม่เห็นตนเอง อย่าพยายามดูถูกคนอื่นว่าด้อยกว่า(เหมือนกับคำพูดที่ว่า"ถ้าคุณจบ คณะอื่นปริญญาตรี สายวิทย์มาเรียนต่อก็ได้ แต่ถ้าคุณแก่เกินไปแล้ว หรือ สอบเข้าไม่ได้ ก็พยายามให้ ลูกมาเรียนก็ได้นะ") มันยิ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคน2กลุ่ม วิ่งขนานกันออกไปเรื่อยๆ
ผมชอบคำถามและคำตอบของคุณ เหอๆๆ มากที่คำถามจะมีคำตอบในตัวมันเอง เรื่องของเวชระเบียนมันเป็นเรื่องของตัวบุคคลที่หมอน่าจะให้เขาเมื่อเขาร้องขอโดยไม่บ่าบเบี่ยงเหมือนปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีใครอยากจ้องจับผิดใครหรอก การทำblue print หรือพิมพ์เขียว แล้วส่งให้กับเจ้าของงาน วัตถุประสงค์เพื่อให้เขาเก็บไว้เป็นประวัติส่วนตัว เมื่อเกิดหมอบ้านคนนั้นเลิกกิจการไปหรือเจ้าของอาจจะเก็บไว้คุยกับหมอบ้านคนอื่นที่เขาอยากรักษาอาการในอนาคตก็ได้ พิมพ์เขียวที่เขาได้ไปเราเรียกว่า Asbuild drawing เป็น finalที่เป็นจริงที่เขาร่วมกับdesignerทำร่วมกัน ตั้งแต่เริ่มวาดลายเส้นบนกระดาษธรรมดา ซึ่งเขาจะได้เอกสารทุกตัวไม่ว่าจะเป็น freehand draft ทีใช้เวลาเพียง 10นาที
การที่ผมยกเรื่องภาษีมากล่าวอ้างว่า"คนที่ใช้ทรัพยากรมากกว่าผู้อื่น ย่อมต้องจ่ายคืนมากผู้อื่นเช่นกัน มันเป็นกฏของธรรมชาติ" ตลอดจน case การจับก่อนค่อยสอบนั้น ไม่มีhidden agenda อื่นใด เพียงแต่ต้องการสะท้อนถึงภาระที่ทุกคนควรรับผิดชอบไม่ใช่สร้างกำแพงกั่นความรับผิดชอบของตัวเองเหมือนที่กำลังจะเป็น
ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนที่เป็นแพทย์ปัญหาที่เกิดมันมีมากมายใช่แค่เพียงที่กล่าวอ้างมาแต่มันมีปัญหาแม้นแต่คนในวงการเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเภสัชสมควรที่จะเป็นจนจ่ายยามากกว่าหมอที่มีความรู้น้อยกว่าในเรื่องยาเพราะเขาเรียนมา5ปีในด้านนี้แต่ปัญหามันเป็นเรื่องของผลประโยชน์หรือเปล่าผมไม่ทราบสุดแท้แต่จะคิดว่าใครเป็นคนมอง(margin ยา 30%avg.) อย่างในเมืองนอกหมอรักษาแต่เวลาซื้อยาให้ไปหาเภสัช แต่เมืองไทยคงยากเพราะร้านขายยาหาเภสัชที่มาขายจริงๆยาก ผมไม่อยากแตกประเด็นไปมากกว่านี้เพราะจะกลายเป็นเหมือนผมเป็นคนไม่ดีค่อยหาเรื่องสร้างความแตกแยก
ด้วยความเคารพทุกคนในที่นี้ ผมไม่ได้มีความรักหรือเกียจวิชาชีพใดเพราะทุกคนย่อมทำหน้าที่ของตนเพียงการทำหน้าที่ต้องทำด้วยใจที่บริสุทธิ์และชอบธรรมเท่าเทียมกันในสังคม ไม่สร้างความสูงต่ำในสังคมเพราะ ไม่มีใครทำให้สังคมดีได้เพียงคนกลุ่มเดียว
ผมยินดีที่จะช่วยเหลือผ่านมุมมองและวิธีคิดของคนนอกหากคิดว่ามันพอที่จะช่วยเหลือให้ดีขึ้นเท่าที่คนโง่ๆคนหนึ่งจะช่วยได้ แต่ถ้ามันไม่สร้างสรรค์ผมก็ขอโทษจากใจจริง


Posted by : เพียงลมพัดผ่าน , Date : 2006-12-19 , Time : 15:02:54 , From IP : dynamic-203-107-205-

ความคิดเห็นที่ : 23


   ผมงงเรื่อง การจ่ายยาของเภสัชกรครับ เพราะว่าการรักษา การเลือกใช้ยา ที่เหมาะสมกับคนไข้ กับโรค กับ pathophysiology ของโรคนั้น ๆ ควรเป็นคนที่มีความรู้เรื่องโรคมากที่ดอ่ะครับ รวมทั้งต้องอาศัยประสบการณ์ของการรักษาโรคนั้น ๆ ด้วย ผมไม่ได้ว่าเภสัชนะ แต่ว่าเขาคงไม่รู้เรื่องโรคมากอ่ะครับ มันดิวกันไม่ได้นะผมว่า ไม่ได้จริงๆ นะ ขนาดหมอยังลืมโรคบางโรคแล้วเภสัชเขาไม่ค่อยรู้เรื่องโรคจะทำไงอ่า ทางที่ดีควรหาหนทางให้เขามาร่วมมทืในการรักษาเช่น ติดตามการใช้ยาต่าง ๆ ที่น่ามีผลฃ้างเคียง หรือดูเรื่องโดสทำนองนี้อ่ะ
นะนะ ไม่ได้ว่าเภสัชนะ เรามีแฟนเป็นเภสัช แต่ขอออกความเห็นหน่อยนะครับ


Posted by : ลมพัดหวน , E-mail : (-) ,
Date : 2006-12-19 , Time : 18:31:23 , From IP : 202.129.51.34


ความคิดเห็นที่ : 24


   -เรื่องการมองของคนนอกที่มอง หมออาวุโสที่ออกทีวีนั้น..เท่าที่ผมทราบหมอด้วยกันเองหลายคนก็มองว่า ...การแสดงออกของอาจารย์นั้นเหมือนสร้างกำแพงมาป้องกันพวกเดียวกันมากเกินไป

....แต่ผมคิดว่า...เรื่องนี้เองก็เป็นปัญหาของ communication อีกเหมือนกันกับที่ผู้ป่วยกับหมอทั่วไปเจอ (แต่คราวนี้กลายเป็น ระหว่างแพทยสภากับประชาชน)

- เรื่องเวชระเบียน ผมไม่สามารถรับรู้ได้ว่า ยากขนาดไหนในการที่ผู้ป่วยหรือญาติคนหนึ่งจะขอถ่ายเอกสาร...แต่คงเห็นด้วยว่าผู้ป่วยควรจะได้
(แต่ยังมีประเด็นในใจผมเอง...ว่าหากมีกฏหมายออกมาว่าผู้ป่วยสามารถขอถ่ายเอกสารได้ทันทีที่ตรวจเสร็จและเขียนเวชระเบียนเสร็จ

...ผมจะต้องเสียเวลาในการเขียน OPD card ตรวจร่างกายอย่างละเอียด และส่ง lab เกือบทุกอย่างในทุกๆความเป็นไปได้ หรือปรึกษาอาจารย์และเพื่อนๆ หรือส่งตัวไปให้ผู้เชียวชาญกว่า อีกมากมายเพียงใด...

พูดแล้วยังเหนื่อย...ทั้งต่อตัวผมเอง และต่อผู้ป่วยที่รอ...

ถามกลับมาต่อว่า...แสดงว่าตอนนี้หมอตรวจไม่ละเอียด ชุ่ย..ไม่ตั้งใจรักษาหรือ.....ผมคิดว่าคงไม่ถึงขั้นเรียกว่าชุ่ย...แต่ขอเป็นคำว่าไม่ได้ละเอียดมาก..มากกว่า...)

ผมคิดเองว่า ณ ตอนนี้ประเทศเราเองยังไม่พร้อมที่จะเดินไปในแนวทางเดียวกับ อเมริกา....เนื่องจากจำนวนหมอของเราเอง

แต่เมื่อวัน..ที่จำนวนแพทย์เรามากขึ้นแล้ว...เรา(อาจจะ)ต้องเดินไปในแนวทางนั้น (ที่ประชาชนอาจอยากเห็น) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...เลย

-เรื่องการจ่ายยา...เห็นด้วยที่จะให้เภสัชจ่าย...แต่ผลกระทบจะเกิดกับประชาชนที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น....

ถามว่าแล้วอย่างนี้หมอไปเกี่ยวอะไร...ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกันว่าทำไม...หมอต้อง(ทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูม)เดือดร้อนแทนประชาชน...


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2006-12-19 , Time : 19:50:07 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมเอง คงต้อง บอกคุณเพียงลมพัดผ่าน
,
1. ผมเอง คิดว่าคุณ คงเป็น วิศวกร เพราะ คุณ บอกว่า ใครที่ ทำตึกถล่ม คนนั้น จะถูกจับไป ขังคุกทั้นที ประเทศไทย มี วิศวกรที่ ถูกขังคุก คนเดียว ครับ เพราะ เซ็นต์ให้ ตัดเสากลางอาคารทิ้ง 5 ต้นที่ โรงแรม.... ที่ โคราช แล้ว ไปต่อจากตึก 5 ชั้นให้เป็น 9 ชั้น แถม ยัง ให้ทำ บ่อเก็บน้ำ 2500 ลิตร อีก 5 ถัง ที่ ดาดฟ้า มันก็เลยถล่ม ลงมาแบบ เค้กชั้น น้ำหนัก ชั้น 9 ลงไปที่ ชั้น8 ชั้น 9+8 ลงไปที่ ชั้น 7 ลงไประนาว ตลอด

แล้วที่ อาคาร ..... ที่เป็น ห้างเล็ก ที่ กรุงเทพ ที่ถล่ม เมื่อ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการที่ วิศวกร ไม่คุมงานก่อสร้างให้ผู้รับเหมา เอา เศษปูน กองๆ กันตรงกลางห้อง แล้วเอา สว่านเจาะพื้นห้องให้เป็น รูๆ นอบๆ น้ำหนัก เศษปูน ชั้นหนึ่งจะภล่มลงมาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่ ไม่มีการคำนวณ ก็เลย ถล่มลงมาถึง ชั้นล่างสุดที่ มีคนใช้พื้นที่อยู่ เหตุการณ์ครั้งนี้ วิศวกร น่าจะติดคุกใหม ครับ

ผมว่า ถ้า หมอ ไม่มา รักษา คนไข้ ก็ คงเหมือน วิศวกรทิ้งงานปล่อยให้ ผู้รับเหมา + คนงาน ทำงานกันเอง

ในประเทศไทย มี วิศวกรคนใหน ไปคุมงาน ตลอดเวลาที่มี คนงานมาทำงาน หรือเปล่า ลองถามตัวเอง + พวกตัวเอง นะครับ

2. ผมเอง ไม่ได้ว่า คุณ โง่ กว่า คนที่ได้เรียน หมอ เพียงแต่ คุณว่า หมอ มีสิทธฺพิเศษ กว่า คนอื่นๆ แต่ ผมไม่เห็น เหมือนกับ คุณ ก็เลย ต้องบอกให้คุณมาใช้ ชีวิตแบบนี้ คุณจะได้ รู้เอง แบบนี้ มันไม่ดี ตรงใหน เหมือน คุณ บอกว่า นักมวย ไมค์ ไทสัน สบายจะตาย ชกที ได้เงิน 900 ร้อยล้านบาท ทำงานแค่ 10 ยก ยกละ 3 นาที คุณต้องไปลองเป็น นักมวยเอง ถึงจะรู้เอง

ของ บางอย่าง มันต้องลองเองถึงจะรู้

ผมเอง รู้มาว่า ผู้พิพากษา ได้ เงินเดือน เป็น แสน อัยการได้เงินเดือน ห้าหมื่น ขึ้นไป นักบินการบินไทย ได้เงินเดือนแสนกว่า +การบินไทยเสียภาษีให้ ผมเอง ยังไม่เห็น ต้องไป ร้องแรก แหกกระเชอ ไปเรียกร้องให้ท่านเหล่านั้น เสียสละ อะไรเลย

ผมเองไม่ได้ ทนงว่า ตัวเองเก่ง แต่ คิดว่า มีคนอีกหลายคนที่ โง่ กว่าผม ครับ

ปล ผม ไม่ได้ อิจฉา วิศวกร ที่ สอบได้ คะแนน เอนทรานส์ มากกว่า จบแล้ว มีโอกาศได้ไปเมืองนอก ไม่ต้องมาใช้ทุน ใน โรงพยาบาลรัฐบาล ตาม อำเภอ ชายแดน ได้เงินเดือน แค่ 7000 กว่า + ค่าเวร อีกราว 6000 ( อยู่ 15 วัน- คืน ต่อ เดือน )

แต่ ผม คิดว่า ผม โชคดี ที่ ได้มีโอกาศ ตอบแทน บุญคุณแผ่นดิน มากกว่า คนที่ดีแต่ ใช้ให้คนอื่น เสียสละ ซิ


Posted by : guru , Date : 2006-12-20 , Time : 19:07:09 , From IP : 125-25-51-101.adsl.t

ความคิดเห็นที่ : 26


   - แหม ดุเดือดจริงๆ ....:D

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2006-12-20 , Time : 21:37:22 , From IP : 202.183.171.7

ความคิดเห็นที่ : 27


   ขอบคุณคุณเพียงลมพัดผ่านครับ สำหรับการสานต่อ dialogue

ผมกำลังสนใจ (นอกเรื่องนิดนึง) เรื่องสุนทรียสนทนาอยู่พอดี สิ่งหนึ่งที่ช่วยก็คือ เทคนิกการ "หน่วง" การตัดสิน แปลความ (ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย) เอาไว้ก่อน โดยถือว่าสิ่งที่ได้มีการสะท้อนลงมานั้นเป็น "มุมมอง" จริงๆของคนสะท้อน ซึ่งน่าสนใจที่เรื่องนั้นๆมีมุมมองแบบต่างๆ การ "หน่วง" นั้นจะทำให้เราได้รับเสียงสะท้อนเหล่านี้ เพิ่มมุมมองในเรื่องเดิมของเราเองมากขึ้น น่าจะเป็นการเจริญเติบโตทางความคิดได้

ขออนุญาตสะท้อนเกร็ดบางประการเพิ่มเติม

เรื่องเวชระเบียนเป็นเรื่องใหญ่สำหรับแพทย์ครับ คนภายนอกอาจจะไม่ได้ใช้เวชระเบียนมากเท่าแพทย์ แต่มี "พ่วง" เรื่องจริยธรรมหลายประการไปกับการใช้เวชระเบียน ประการหนึ่งคือประวัติของใครก็จะเป็นเรื่องส่วนตัวของคนๆนั้น ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดกระบวนการขั้นตอนการขอสำเนา (ตัวเวชระเบียนจริงๆเป็นสมบัติของโรงพยาบาล แต่เนื้อหาประวัติเป็นของผู้ป่วย จึงได้แต่สำเนาไป) ก็จะต้องมีการ verify identity ของคนขอ เป็นพื้นฐานขั้นต่ำสุด ขั้นต่อมาก็คือการชี้แจงผลดี ผลเสีย ที่เวชระเบียน (สำเนา) นี้อาจจะก่อให้เกิดได้หากมีการเผยแพร่ในลักษณะที่ไม่สมควร (ซึ่งบริบทมีเยอะ) ขั้นตอนนี้ก็อาจจะทำให้มีการ delay ในการอนุมัติอีกนิดหน่อย ขึ้นอยู่กับคนมาขอเป็นผู้ป่วย หรือเป็นญาติ หรือ mature ขนาดไหน ข้อมูลความเจ็บป่วยเป็นเรื่อง sensitive ที่ทางการแพทย์จะทราบดีถึงความเป็นไปได้ของผลเสีย ซึ่งคนทั่วๆไปอาจจะไม่ได้นึกถึง เช่น ใครจะเป็น AIDS ใครอาจจะกำลังจะเสียชีวิตเพราะเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ต่างๆ เป็นต้น

การรับผิดชอบเรื่อง comment ของเรานั้นเป็นเรื่องที่สามารถพัฒนาและฝึกปรือได้ตลอดชีวิต ตอนเราพูด หรือตอนเราคิด มีเวลาแค่เศษเสี้ยววินาทีก่อนจะพูดออกไป (ส่วนใหญ่) นอกเสียจากเราหัดอยู่เป็นนิจศีล ผมว่าเราทุกคนมีโอกาสที่จะสำนึกเสียใจภายหลังว่าอาจจะมีผลเสีย (ที่เราไม่ได้ตั้งใจ แต่เกิดขึ้นจริงๆ) จากสิ่งที่เราทำ เราพูดได้เสมอ สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าถ้าเรารู้แล้ว ครั้งหน้า เราจะมีพฤติกรรมอย่างไร เราจะเติบโต เก่งกว่าเดิมไหมในการ "คิดเผื่อ" หรือการมี empathy (อตฺตานํ อุปมํ กเร "การเอาใจเขามาใส่ใจเรา") ต่อสถานการณ์ของคนอื่น

พระอาจารย์พุทธทาสกล่าวไว้ว่า "งานคือหน้าที งานคือธรรมะ" อาจารย์หมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (ผอ.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ) ออกหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ "งานคือความดี เป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต" ซึ่งผมคิดว่าเป็น concept ที่ดี น่าจะเผยแพร่ มากกว่า concept ของงานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข ถ้าพวกเราทุกคนกำลังจะ "ชดใช้ทุน" ก็คงจะเริ่มจากชดใช้สังคมที่เราได้เติบโต อยู่อาศัย อันนี้คงจะเป็นเรื่องของทุกคน ตามบริบทของทุกคน ถ้าเรามาพูดถึงเรื่องค่าเล่าเรียน subsidization หรือความได้เปรียบเสียเปรียบเรื่องใคร "ลงทุน" ไปกี่บาท กี่สตางค์นั้น ผมว่าเป็นแนวความคิดที่หมิ่นเหม่บนขอบเหวลื่นชัน

เรื่องการรับรู้ และการสื่อสารนั้น กำลังเป็นเรืองสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และผมเข้าใจว่าทุกๆมหาวิทยาลัยแพทย์ (เท่าทีทราบ) กำลังเน้นเรื่องนี้ครับ ผมเห็นว่าไม่เพียงแต่เฉพาะแพทย์เท่านั้นเสียด้วยซ้ำ ที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพราะเราพบเห็นการทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยก เพียงเพราะการสื่อสารที่ไม่สุนทรีย์มากขึ้นเรื่อยๆในทุกวงการ

ยังไงๆก็ขอขอบคุณคุณเพียงลมฯครับ ที่จุดประกาย debate นี้ขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้มีการพูดคุยเรื่องนี้กันเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าพวกเราแต่ละคนพยายามเก็บเกี่ยวข้อมูลไปอย่างสร้างสรรค์ ผมว่าก็จะเกิดประโยชน์ทั้งตัวบุคคลและสังคมได้ไม่มากก็น้อย ตามบริบทของแต่ละคนไป



Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-20 , Time : 22:31:30 , From IP : ppp-124.120.227.64.r

ความคิดเห็นที่ : 28


   เมื่อวิศวกรต้องกลายเป็นผู้ต้องหาควรทำอย่างไร

เมื่อมีเหตุวิบัติของอาคารเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเป็นต้องดำเนินการเรียกตัวโดยออกหมายเรียกมาเพื่อสอบปากคำ
ซึ่งวิศวกรจำเป็นต้องไปให้ปากคำในเบื้องต้น โดยสามารถนำทนายความไปด้วยได้ และหากติดปัญหา เรื่องของการจัดหาทนายความ ก็สามารถขอความช่วยเหลือได้จากสภาทนายความ
พ.ต.ต.จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า สำหรับวิศวกรผู้เกี่ยวข้องกับ การวิบัติของอาคารนั้น เมื่อเกิดเหตุขึ้นและถูกเรียกตัวไป สอบปากคำ จำเป็นต้องไปให้ปากคำถึงข้อเท็จจริงต่อ เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน และในเบื้องต้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ให้ประกันตัวได้

สำหรับความผิดกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น หลักทรัพย์ในการประกันตัวจะอยู่ที่ 50,000 บาท หรืออาจใช้ตำแหน่งของข้าราชการระดับ 8 ขึ้นไปในการประกันตัวก็ได้

แท้จริงแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็น ปลายทางของการกระทำความผิด ถ้ามีเหตุเกิดขึ้น วิศวกร จะอยู่ลำดับต้นๆ ของคนที่ถูกเรียกตัวมาสอบปากคำ รวมไปถึงบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์ (ผู้ปฏิบัติงาน) หัวหน้าคนงาน

ซึ่งจะมีการออกหมายเรียกสองครั้งก่อน จึงจะมีการออกหมายจับ แต่ถ้าหากมีการไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนการออกหมายจับ ก็จะไม่สามารถถูกควบคุมตัวได้

ทีมงานไม่ให้ความร่วมมือเป็นสาเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรม

หลายครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจาก ตัววิศวกร หากแต่มาจากผู้ร่วมงาน หรือผู้รับเหมา สำหรับวิศวกรนั้น สามารถแจ้งความเป็นบันทึกประจำวัน เป็นระยะๆ ได้หากผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของวิศวกร เพราะการตัดสินคดีต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับพยาน และหลักฐานเป็นสำคัญ

คดีเกี่ยวกับการควบคุมการออกแบบก่อสร้างอาคารนั้น มีการกล่าวหาได้ แต่เมื่อกล่าวหาแล้วไม่จำเป็นต้อง ถูกลงโทษเสมอไป
การสอบปากคำในเบื้องต้น จะได้รับ การพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องฟ้องหรือไม่ เมื่อมีการ พิจารณาแล้วก็จะทำการจัดส่งไปขอความเห็นชอบ จากอัยการ ว่าเห็นด้วยกับการพิจารณาหรือไม่ ซึ่งอัยการมีสิทธิที่จะแย้งได้ หลังจากนั้น หากมีความเห็นตรงกันว่าฟ้อง ก็จะส่งเรื่องฟ้องศาลต่อไป ซึ่งมีทั้งหมดสามชั้น ได้แก่ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

ในการเกิดเหตุการณ์วิบัติของอาคารในแต่ละครั้งนั้น คดีที่เกิดขึ้นมาทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง และความผิดในเรื่องจรรยาบรรณ เกี่ยวกับเรื่องหลังนี้ ทางสภาวิศวกรโดยคณะกรรมการไต่สวนจรรยาบรรณ จะทำหน้าที่ในการ ควบคุมให้การปฏิบัติหน้าที่ของวิศวกรเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ


Posted by : guru , Date : 2006-12-21 , Time : 12:06:00 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 29


   บทลงโทษสำหรับวิศวกรที่กระทำความผิด

ปัจจุบันมีอาคารจำนวนมากที่ทำการต่อเติม แล้ว ขัดต่อ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การไม่เสี่ยงคือการระมัดระวังรอบคอบ เนื่องจากผู้มีวิชาชีพกระทำผิด โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในกรณีที่เกิดการวิบัติขึ้น คดีที่เกิดขึ้นในส่วนของคดีอาญาจะยอมความกันไม่ได้ แต่ยังมีในส่วนของคดีแพ่งเนื่องจากเกี่ยวข้องกับความเสียหายของทรัพย์สิน โดยเจ้าของอาคารอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากวิศวกร

หากวิศวกรทำความผิดจริงก็ควรที่จะรับสารภาพ มิควรกระทำการใดเพื่อเบี่ยงเบนคดี

ในส่วนของสภาวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุม การประกอบวิชาชีพของวิศวกร จะดำเนินการในเรื่องของคำตัดสินของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) การลงโทษวิศวกรผู้กระทำผิดจะดำเนินการโดยคณะกรรมการไต่สวนจรรยาบรรณ ตามระดับของความผิด ซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับด้วยกัน คือ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ (ระบุระยะเวลา) พักใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต

ในบางครั้งตัววิศวกรเอง ทั้งๆ ที่รู้ว่างานชิ้นนั้น มีความผิดพลาดก็จำเป็นต้องเซ็นอนุมัติงานในหลายกรณี เช่น
เป็นวิศวกรเพียงคนเดียวในบริษัท เมื่อเจ้านายบังคับให้เซ็นก็จำเป็นต้องเซ็น

สำหรับทางแก้ไขของวิศวกร ที่จำเป็นต้องทำทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด และอาจทำให้สิ่งก่อสร้างนั้นเกิดการวิบัติ คือ การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ เจ้าพนักงาน ซึ่งหากเกิดการวิบัติขึ้น บันทึกจะกลายเป็นหลักฐานสำคัญ ที่บ่งชี้ว่าวิศวกรมิได้กระทำการด้วยความประมาท

อีกหนึ่งข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อยคือ เรื่องของวิศวกรที่จบใหม่และต้องการมีผลงานเพื่อการสอบเลื่อนขั้น การเซ็นแบบมักจะทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการ เลือกใช้วัสดุตามคำโฆษณา เช่น การเลือกใช้เสาเข็ม ตามแค็ตตาล็อก ซึ่งบอกประสิทธิภาพของเสาเข็มว่า มีความยาวเท่าไร มีความสามารถรับน้ำหนักได้กี่ตัน แต่มิได้มีการแจ้งรายละเอียดว่าสภาพดินที่ทำการ ก่อสร้างนั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น เกี่ยวกับเรื่องนี้

ตัววิศวกรเอง จำเป็นที่จะต้องมีการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ หรืออาจปรึกษากับวิศวกรรุ่นพี่ ในเรื่องที่ไม่แน่ใจ ก่อนทำการเซ็นแบบ


Posted by : guru , Date : 2006-12-21 , Time : 12:08:22 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 30


   บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ดร.บุญชู ปโกฏิประภา กรรมการจรรยาบรรณ สภาวิศวกร กล่าวว่า ในการทำงานของวิศวกร ควรมีความระมัดระวังและรอบคอบให้มาก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น

แต่หากมีกรณี ของความขัดแย้งเกิดขึ้น เช่น คำสั่งจากเจ้านาย เจ้าของอาคาร หรือการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคนงาน ซึ่งอาจนำมาซึ่งการวิบัติของอาคารได้ แนวทางป้องกันสำหรับวิศวกรคือ จะต้องทำการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และหากมีการถอนตัวออกจากโครงการนั้นๆ ก็จำเป็นต้องทำหนังสือ เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งว่า ตัววิศวกรผู้นั้นมิได้รับผิดชอบโครงการนี้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากวิศวกรกระทำการผิดพลาดไปแล้วก็ควรที่จะรับสารภาพเล่าถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพราะ อย่างไรหลักฐานและพยานก็จะบ่งบอกถึงสาเหตุของการวิบัติของอาคารนั้นๆ อยู่แล้ว

แต่การป้องกันการผิดพลาดในการปฏิบัติงาน วิศวกรไม่ควรรับงานหลายงานจนเกินความ สามารถในการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
และในระหว่าง ควบคุมงาน การสั่งงานจำเป็นต้องสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร หากพบเห็นข้อผิดพลาดหรือข้อสงสัยที่คาดว่าอาจจะ ก่อให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างได้ วิศวกรควรทำการท้วงติงไม่ปล่อยให้ความเสียหายเกิดขึ้นโดยง่าย ในระหว่างการดำเนินโครงการ การเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่าย หรือวิดีโอ จะเป็นหลักฐานข้อมูลสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ ของวิศวกร และภายหลังโครงการเสร็จสิ้น วิศวกรควรเก็บหลักฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือสัญญา จดหมายโต้ตอบหรือเอกสารอื่นๆ ไว้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

กฎหมายที่รัดกุมช่วยให้วิศวกรทำผิดพลาดน้อยลงนอกเหนือไปจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และเต็มความสามารถแล้ว กฎและข้อบังคับต่างๆ จะเป็นอีกกรอบหนึ่งที่ช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับการปฏิบัติ หน้าที่ของวิศวกร และเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายและข้อบังคับ ต่างๆ ยังพบว่ามีข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องได้รับการ ปรับปรุงอยู่มาก เช่น กฎหมายควบคุมอาคารที่ประเทศไทยใช้อยู่ขณะนี้นั้นเป็นการแบ่งประเภทของอาคารตามลักษณะ ของโครงสร้างอาคาร ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ แบ่งอาคารตามประเภทกิจกรรมการใช้อาคารนั้นๆ จึงควรทำการปรับปรุงกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทอาคารให้มีความทันสมัย โดยแบ่งตามกิจกรรมการใช้อาคาร แทนที่จะแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของอาคาร เพียงอย่างเดียว ซึ่งการมีกฎหมายบังคับใช้ที่มีความรัดกุม เสมือนเป็นการป้องกันจะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และปัจจุบันเทคโนโลยีก็มีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จึงควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือแม้แต่ ข้อบังคับต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย
จะเห็นได้ว่าการทำงานของวิศวกรถูกควบคุมไว้ ด้วยกฎหมายและจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบและไม่ประมาทใน ทุกๆ วินาทีของการทำงานก็ยังคงเป็นสิ่งที่วิศวกรควรตระหนัก เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้พ้นโทษจากการทำผิดกฎหมายอันเนื่องมาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์


Posted by : guru , Date : 2006-12-21 , Time : 12:13:06 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 31


    ข้อผิดพลาดเพียงน้อยนิดอาจส่งผลเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นอย่างทวีคูณ
ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2543
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8(6) (ซ) มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 39 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สภาวิศวกรจึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันจะนำมาซึ่งความเสี่ยมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2543”
ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้กำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังนี้
(1) ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(2) ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ
(3) ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยซื่อสัตย์สุจริต
(4) ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพลหรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับ หรือไม่ได้รับงาน
(5) ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมาหรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง (6) ไม่โฆษณาหรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง
(7) ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ (8) ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันควร
(9) ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำตรวจสอบหรือควบคุมด้วยตนเอง
(10) ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง (11) ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
(12) ไม่รับทำงานหรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
(13) ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกัน ให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้รับแจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรก ทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
(14) ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น
(15) ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงหรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ขอต่อ อีกบทความนะครับ






Posted by : guru , Date : 2006-12-21 , Time : 12:18:41 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 32


   สภาวิศวกรจับมือ ว.ส.ท. ร่วมแถลงข่าว “ตึกถล่ม เท่าไรจึงจะพอ”
จากกรณีตึก บางลำพู ถล่ม

เมื่อเช้าวันนี้ (3 มิถุนายน 2547) สภาวิศวกรและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีตึก บางลำพูถล่ม ซึ่งเกิดเหตุถล่มขณะทำการรื้อถอนช่วงสายของวันวิสาขาบูชา (2 มิถุนายน 2547) ตามที่ปรากฎเป็นข่าวเมื่อวานนี้ โดยกรณีของตึก บางลำพูนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นอาคารที่ต้องทำการรื้อถอน เนื่องจากเป็นอาคารที่มีการก่อสร้างต่อเติมผิดลักษณะโครงสร้างไปจากที่ขออนุญาตไว้ สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่การรื้อถอนอาคารดังกล่าวยืดเยื้อเป็นเวลานานถึง 19 ปี เนื่องจากความยืดเยื้อในกระบวนการทางศาล และละเลยต่อการปฏิบัติตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ถล่มของตึก บางลำพูนั้น คุณประสงค์ ธาราไชย เลขาธิการ สภาวิศวกรได้กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชื่อของวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้าง-รื้อถอนอาคารดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการแอบอ้างชื่อวิศวกรนั้น เมื่อมีการขออนุญาตก่อสร้างหรือรื้อถอนใดๆ นั้น ได้มีขอความร่วมมือไปยังภาครัฐว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถตรวจสอบชื่อบุคคลที่ได้รับการกล่าวอ้างว่าเป็นผู้ออกแบบหรือผู้ควบคุมงานก่อสร้างได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.coe.or.th โดยวิธีการป้องกันมิให้เกิดการแอบอ้างอันนำไปสู่ความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อทรัพย์สินและชีวิตนั้นยังสามารถขอข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี เพื่อให้ทราบว่าโครงการที่กำลังขออนุญาตก่อสร้างนั้นมีผู้ออกแบบและผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่มีตัวตนจริง หรือเป็นเพียงการแอบอ้าง อีกทั้งสภาวิศวกรยังได้มีการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสูง เช่น การรับน้ำหนักของอาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และเรื่องเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการดำเนินงานก่อสร้าง เป็นการรักษาสิทธิเรื่องความปลอดภัยที่อาศัยประชาชนเป็นหูเป็นตาในการตรวจสอบความปลอดภัยในอาคารต่างๆ ขณะเดียวกัน ในส่วนของภาครัฐนั้น นอกเหนือจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคารแล้วก็ควรจะมีพระราชบัญญัติควบคุมวิชาชีพการก่อสร้างด้วย เพื่อยกระดับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพในงานก่อสร้าง ซึ่งรัฐบาลควรเร่งดำเนินการหรือผลักดันให้มีกฎหมายแม่บทที่มีผลบังคับใช้จริง
ด้าน รศ.ต่อตระกูล ยมนาค นายก ว.ส.ท. ได้กล่าวว่า จากกรณีที่เกิดขึ้น ขณะนี้ ว.ส.ท. ได้ออกประกาศที่ 80/2547 แจ้งเตือนสมาชิกของ ว.ส.ท. ให้ทำการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารในความรับผิดชอบที่กำลังรื้อถอน เป็นมาตรการเร่งด่วนที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอมาตรการหรือระเบียบทางราชการ กล่าวคือ การขอร้องให้วิศวกรทั่วประเทศได้ร่วมมือกันในตรวจสอบอาคารทั่วประเทศ โดยเฉพาะอาคารที่กำลังดำเนินการรื้อถอน กล่าวคือ การพังของอาคาร มิใช่อุบัติเหตุ ในทางวิศวกรรมนั้นถือว่าเนื่องมาจากการทำงานที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งอันตรายดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยเฉพาะในส่วนของวิศวกรที่มีหน้าที่เป็นทั้งผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
ดังนั้น ว.ส.ท. จึงขอแจ้งให้วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนอาคาร ได้เร่งตรวจสอบขั้นตอนการรื้อถอน ความแข็งแรงของโครงสร้างในขณะรื้อถอน และมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและอาคารโดยเร็วที่สุด สำหรับวิศวกรที่ลงนามแล้วแต่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยเหตุใดก็ตาม วิศวกรผู้นั้นต้องแจ้งข้อขัดข้องและข้ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสาธารณชนให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบทันที และแจ้งสำเนาให้ ว.ส.ท. ทราบด้วย
สุดท้าย คือ การเซ็นชื่อเป็นผู้ควบคุมงาน ตามพรบ. วิศวกร เป็นสิทธิและความรับผิดทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของวิศวกรแต่ละท่าน ดังนั้น วิศวกรจึงต้องแน่ใจว่ามีเวลาและความสามารถในการที่จะปฏิบัติงานได้เต็มที่
ขณะเดียวกัน รศ.ดร. ฉดับ ปัทมสุต นายกสภาวิศวกร ได้กล่าวถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่า สภาวิศวกรจะต้องให้ความคุ้มครองและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพวิศวกร ทั้งยังมีหน้าที่เสนอให้ความเห็นต่อรัฐบาล ต่อกรณีที่เกิดขึ้นนี้สภาวิศวกรต้องเร่งและดูแลการทำงานของวิศวกร แต่ข้อที่ทำให้เกิดเหตุได้ คือ ช่องว่างทางด้านกฎหมายซึ่งมีสองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย และหน่วยงานที่มีอำนาจให้พระราชบัญญัตินั้นมีผลบังคับใช้ พร้อมทั้งมีมาตรการที่สามารถให้ดำเนินการได้เร็วทันท่วงที อีกทั้งเมื่อมีระบบที่ดีแล้ว บุคคลหรือเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องนั้นจะต้องบังคับใช้ให้กฎหมายมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล หากรัฐบาลสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้เร็วขึ้น สภาวิศวกรและ ว.ส.ท. ก็มีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือ
ท้ายนี้ ว.ส.ท. จะได้จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อปฏิบัติและแนวทางในการรื้อถอนอาคารขนาดใหญ่” ในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2547 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคาร ว.ส.ท. เพื่อให้ความรู้และเทคนิคทางด้านวิศวกรรมก่อสร้าง พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการรื้อถอนอาคาร ตลอดจนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติด้านวิชาชีพอย่างถูกต้อง การบรรยายพิเศษครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รศ. ต่อตระกูล ยมนาค, รศ.ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม, คุณมั่น ศรีเรือนทอง, คุณธเนศ วีระศิริ และคุณชูชาติ วราหกิจ

หมายเหตุ :
ขอความกรุณาช่วย Fwd ข่าวนี้ไปยังวิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ข้อปฏิบัติและแนวทางในการรื้อถอนอาคารขนาดใหญ่” ต่อไป จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง


หวังว่า คงเข้าใจ ผมในทางที่ดี นะ ครับ


Posted by : guru , Date : 2006-12-21 , Time : 12:21:06 , From IP : 61.19.24.122

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.018 seconds. <<<<<