ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ เราจะทราบได้อย่างไรว่าเรากำลัง "รู้มากเกินไป"
ปัจจัยแรกที่จะตัดสินว่าเราได้เรียนรู้มากเกินไปก็น่าจะเป็นเรารู้ว่า "เราควรจะรู้อะไรบ้าง" จึงจะแยกแยะได้ว่าอะไรจำเป็น หรืออะไรไม่จำเป็น ใน cognitive sciences นั้น ความรู้ส่วนหนึ่งมาจากความจำ และสัจพจน์ต่างๆ ต่อจากนั้นก็คือการเชื่อใยงกันด้วยเหตุผลเพื่อต่อยอด ที่ระดับหนึ่งๆการใช้เหตุผลต่อยอดจะตัน และต้องหาสัจพจน์มาต่อพื้นฐานไปอีก เพื่อจะต่อยอดไปได้สู่ขั้นต่อๆไป
basic sciences จึงเป็น "ฐาน" ที่จะทำให้เรา "สานต่อ" จินตนาการต่อไปอีกนิดก็คือ ยิ่งฐานกว้าง ยิ่งฐานแน่น ที่ที่เราจะต่อยอดก็จะยิ่งดี ยิ่งง่าย ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น ทำนองกลับกันก็คือยิ่งฐานแคบ ฐานน้อย ฐานไม่มั่นคง ที่จะมีโอกาส "ตัน" ในอนาคตก็จะยิ่งสูง
เราจะได้วิเคราะห์ต่อไปได้ว่า human sciences ที่ว่าเป็นเรื่องของ "ชีวิต" และ "คุณภาพชีวิต" นั้น เราควรจะเตรียมตัวเราอย่างไร ที่จริงความรู้แค่ทาง "bio" อย่างเดียว ถึงตรงนี้เราก็จะทราบว่ามันไม่พอที่จะทำให้เราเข้าใจเรื่องของ "คุณภาพชีวิต" เราคงจะต้องเชื่อมโยงกับ social sciences รวมทั้งสุนทรียศาสตร์อื่นๆด้วย
แพทยศาสตร์จึงเป็นวิชาที่หนัก เรียนถึงหกปี ก็แค่จบเบื้องต้น ยังต้องแสวงหาร่ำเรียนต่อจากประสบการณ์จริงหลังจากจบ ภายใต้การดูแลช่วยเหลือจากแพทย์รุ่นพี่ รุ่นอา รุ่นพ่อ ต่อๆไปอีก หลายปีก็ยังห่างจากคำว่า saturated อีกเยอะ หลายปีต่อมาที่เราเคยคิดว่าเรา "หลงประเด็น" ไปนั้น อาจจะเสียดายเวลาที่ผ่านไปทีหลังว่าประเด็นต่างๆเหล่านั้น อาจจะเป็น "ฐาน" ที่ทำให้เราดัดแปลงไปช่วยชีวิตคนก็เป็นได้ ที่น่าสนใจก็คือ คนเราไม่สามารถจะ consciously รู้ตัวว่าหลงประเด็นจนกว่าเราจะรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องนั้นๆ เราจะทราบว่าเราหลงทางก็ต่อเมื่อหลงมาไกลพอสมควร แต่จะไม่ทราบว่าหลงในทันทีทันใดยิ่งถ้าเป็นหนทางใหม่เอี่ยมไม่เคยผ่านมาก่อน
แพทยศาสตร์นั้น ไม่ใช่วิชา technique เท่านั้น เป็นวิชาที่เกี่ยวปรัชญา และความรู้ที่ลึกซึ้งของ "ชีวิต" เราเคยมีนักศึกษาบางคน complaint ว่าไม่อยากจะเรียนสังคมศาสตร์อีกแล้ว อุตส่าห์ Ent ติดแพทย์ แต่หนึ่งในวิชาสังคมศาสตร์ก็คือ "จริยศาสตร์" ซึ่งสำคัญที่สุดวิชาหนึ่งของการเป็นแพทย์ มิฉะนั้นจะไม่มีวันเข้าใจปรัชญาแห่งวิชาชีพ คือการเสียสละเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ได้เลย
"I not only want you to be a doctor, but I also want you to be a man" การที่เราต้องเตรียมตัวเราให้มีจริยธรรมในการคิด การแสดงออก ทั้งกาย วาจา ใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ปฏสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เราก็คงจะต้องทราบเรื่องมารยาทที่ดีงาม มารยาททางสังคมระหว่างเพื่อนฝูง ระหว่างลูกศิษย์กับครู ระหว่างแพทย์พยาบาล ระหว่างลูกกับบิดามารดา ถ้าจะแสดงออกอะไรในที่สาธารณะ ลองพิจารณาดูว่า ที่ได้แสดงออกไป ทำไปนั้น เป็นที่ชื่นชมของบุพการีเราหรือไม่หากท่านมาเห็น มาได้ยิน จะเป็นที่ชื่นชมของบุรพาจารย์ผู้ที่เราเคารพหรือไม่หากท่านได้มาทราบ สะท้อนตนเองบ่อยๆ เราก็จะดูดซึม "จริย" กลายเป็น "วัตร" หรือ "ศีล" ที่เป็นของธรรมดา สม่ำเสมอได้
ก็ลองพิจารณาดูครับ
Posted by : Phoenix , Date : 2006-12-13 , Time : 21:10:05 , From IP : 124.157.177.141
|