ประชุมวิชาการ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
Palliative Care : From Principles to Practice in Thailand
หลักการและเหตุผล
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น แต่ศาสตร์ความรู้ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งพื้นฐานตามสภาพสังคม และวัฒนธรรมของประเทศนั้น.ๆ การรับรูปแบบระบบ ทั้งหมดมาใช้ในสภาพการณ์ของคนไทยจึงอาจไม่สอดคล้อง องค์ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วย แบบประคับประคอง.ในสถานการณ์ของสังคมไทยมีการศึกษากันน้อยและยังไม่มีการรวบรวม องค์ความรู้ให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน
หน่วย.Palliative.Care.โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว รวมทั้งตระหนักดีว่า การเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายระหว่างนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ.จะส่งผลกระตุ้นให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์ เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย.ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น.ทางคณะกรรมการ เพื่อพัฒนา Palliative Care จึงจัดการประชุมวิชาการ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย Palliative Care : From Principle to Practice in Thailand ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
วัตถุประสงค์
1) เพื่อเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพ การดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลต่าง ๆ
2) เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความตื่นตัวและตระหนักถึง คุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3) เพื่อให้หน่วยงาน Palliative Care ที่ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้ทราบทิศทางของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใน โรงพยาบาลต่าง ๆ ศูนย์มะเร็งแต่ละศูนย์ในประเทศไทยและเครือข่ายความร่วมมือ จากต่างประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เข้าร่วมประชุม
บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศไทย, สถาบันศูนย์มะเร็ง ในประเทศไทย และผู้สนใจ จำนวน 300 คน
ค่าลงทะเบียน แบ่งออกเป็น
- Pre Congress: Pain in palliative care course
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2547
บุคคลภายนอกสมาชิกสมาคม จำนวน 20 คน ๆ ละ 250 บาท
บุคคลภายนอกไม่ใช่สมาชิกสมาคม จำนวน 40 คน ๆ ละ 500 บาท
บุคลากรภายใน จำนวน 40 คน ๆ ละ 250 บาท
- Pre Congress: Palliative care lecture course
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547
บุคคลภายนอก จำนวน 70 คน ๆ ละ 1,000 บาท
บุคลากรภายใน จำนวน 30 คน ๆ ละ 500 บาท
- Congress: Palliative care course
วันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2547
บุคคลภายนอก จำนวน 200 คน ๆ ละ 2,000 บาท
บุคลากรภายใน จำนวน 100 คน ๆ ละ 1,000 บาท
- Post Congress Workshop: Dharma and healing
วันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2547
บุคคลภายนอก จำนวน 20 คน ๆ ละ 4,000 บาท
บุคลากรภายใน จำนวน 10 คน ๆ ละ 2,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับประเทศ มีโอกาสเข้าร่วมประชุมและ มีความตระหนักและตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพ
2) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและ ประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายระหว่างโรงพยาบาล ในประเทศและต่างประเทศ
3) หน่วย Palliative Careได้รับทราบทิศทางการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและสร้างเครือข่าย สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
4) หน่วย.Palliative.Care.มีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลต่าง.ๆ.ศูนย์มะเร็งทุกศูนย์ในประเทศไทยและเครือข่ายความร่วมมือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในต่างประเทศ เป็นต้น
วัน เวลา สถานที่
- Pre Congress: Pain in palliative care course วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2547
- Pre Congress: Palliative care lecture course วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547
- Congress: Palliative care course วันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2547
สถานที่: อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- Post Congress Workshop: Dharma and Healing วันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2547
สถานที่: สวนสายน้ำ (Stream Garden Retreat Center) ห่างจาก อำเภอหาดใหญ่ 30 กม
กำหนดการ


Monday February 2,2004
Pre congress: Pain in palliative care course(M 103 อาคารเรียนรวมและหอสมุดคณะแพทยศาสตร์)
08.30-08.45 Registration
08.45-09.35 Lucture: Concept and mechanisms of pain (T)
ศ.นพ.สิระ บุณยะรัตเวช
09.35-10.25 Cancer pain management: causes and assessment
รศ.พญ.วราภรณ์ ไวคกุล
10.25-10.40 Tea break
10.40-11.30 Opioids in cancer pain
นพ.สถาพร ลีลานันทกิจ
11.30-12.20 Non pharmacological management for cancer pain
ผศ.พญ.เพ็ญแข เกตุมาน
12.20-13.20 Lunch
13.20-14.30 Case studies in cancer pain (P)
รศ.พญ.วราภรณ์ ไวคกุล
ผศ.พญ.เพ็ญแข เกตุมาน
14.30-14.45 Tea break
14.45-16.30 Problems in cancer pain management (P)
นพ.สถาพร ลีลานันทกิจ
ผศ.พญ.เพ็ญแข เกตุมาน
ผศ.พญ.ลักษมี ชาญเวชช์
Tuesday February 3,2004
Pre congress; Palliative care lecture course (M 103 อาคารเรียนรวมและหอสมุดคณะแพทยศาสตร์)
08.30-09.00 Registration
09.00-10.00 Lecture: Symptom management (E)
Prof. Ian Maddocks
10.00-10.20 Tea break
10.20-11.10 Lecture: Common medications used in palliative care
Dr. Rosalie Shaw
11.10-12.00 Lecture: Maintaining hope when the prognosis is hopeless
Dr. Rosalie Shaw
12.00-13.00 Lunch break
13.00-14.00 Lecture: Emergencies in palliative care
Prof. Ian Maddocks
14.00-14.30 Tea break
14.30-15.20 Lecture: Palliative care in the hospital ward
Dr. Rosalie Shaw
15.20-16.10 Lecture: Care in the last hours of life
Dr. Rosalie Shaw
Wednesday February 4, 2004 (ห้องทองจันทร์หงส์ลดารมภ์ อาคารเรียนรวมและหอสมุดคณะแพทยศาสตร์)
08.00-08.15 Registration
08.15-08.30 Openning ceremony
08.30-09.20 Lecture: Palliative care in Asia: problems and opportunities (E)
Prof. Ian Maddocks
09.20-10.10 Lecture: The palliative care approach to patient assessment
Dr. Cynthia Goh
10.10-10.30 Tea break
10.30-12.00 Symposium: Development of a palliative care service (T)
นพ.ธนเดช สินธุเศก
ผศ.นพ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี
นพ.สถาพร ลีลานันทกิจ
12.00-13.00 Lunch break
13.00-14.00 Lecture: Pain control and the use of opioids (T)
รศ.พญ.พงศ์ภารดี เจาฑะเกษตริน
14.00-14.30 Tea break
14.30-16.30 Symposium: Multidisciplinary team in palliative care (T)
นพ.วิรัช วุฒิภูมิ
คุณสิรินทร์ ศาสตรานุรักษ์
คุณสุทธิลักษณ์ สุนทร
คุณภารดี ปรีชาวิทยากุล
Thursday February 5,2004 (ห้องทองจันทร์หงส์ลดารมภ์ อาคารเรียนรวมและหอสมุดคณะแพทยศาสตร์)
08.30-09.20 Lecture: Death, grief & bereavement (T)
ผศ.พญ.จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์
09.20-10.10 Lecture: Psychosocial support in palliative care (T)
ศ.นพ.จำลอง ดิษยวณิชย์
10.10-10.30 Tea break
10.30-12.00 Panel: Spiritual and cultural issues in palliative care (T)
ศ.นพ.จำลอง ดิษยวณิชย์
อาจารย์อาซิส พิทักษ์กุมผล
รศ.สิวลี ศิวิไล
12.00-13.00 Lunch break
13.00-13.50 Lecture: Communication with patient and family (T)
นพ.อานนท์ วิทยานนท์
13.50-14.40 Lecture: Legal issues in palliative care (T)
รศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส
14.40-15.00 Tea break
15.00-16.30 Panel: Ethical issues in palliative care (T)
รศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส
รศ.ดร.อรัญญา เชาว์ลิต
รศ.สิวลี ศิวิไล
Friday February 6,2004 (ห้องทองจันทร์หงส์ลดารมภ์ อาคารเรียนรวมและหอสมุดคณะแพทยศาสตร์)
08.30-09.20 Lecture: Validating palliative care
Dr. Cynthia Goh
09.20-10.10 Lecture: Teaching palliative care to health care professionals
Dr. Rosalie Shaw
10.10-10.30 Tea break
10.30-12.00 Panel: Palliative care: from principles to practice in Thailand (T)
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
รศ.ดร.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์
นพ.สมยศ ดีรัศมี
12.00-12.30 Closing ceremony
12.30-13.30 Lunch break
Post congress Workshop
13.30-16.30 Workshop: Case studies in pain management (T)
ผศ.พญ.ลักษมี ชาญเวชช์
(ห้อง Med 201 & 204 อาคารแพทยศาสตรศึกษาฯ)

Workshop: Communication skills in palliative care (T)
คุณดุจเดือน ชินเจริญทรัพย์
คุณอุไรวรรณ พัฒนสัตยวงศ์
(ห้องนิทรรศการ อาคารแพทยศาสตรศึกษาฯ)

Workshop: Massage therapy (T)
ผศ.พัชรียา ไชยลังกา
(ห้อง M 201 & 202 อาคารเรียนรวมและหอสมุด คณะแพทยศาสตร์)

Workshop: Musical therapy (T)
รศ.ดร.ประณีต ส่งวัฒนา
(ห้อง M 103 อาคารเรียนรวมและหอสมุด คณะแพทยศาสตร์)
Saturday-Sunday February 7-8,2004
Workshop: Dharma and healing
Dr.John McConnel/อ.สุรภี ชูตระกูล


Post-Congress Workshop: Dharma and Healing (30 ท่าน)
ศุกร์-อาทิตย์ 6-8 กุมภาพันธ์ 2547 (สวนสายน้ำ ต.ทุ่งจัง อ.หาดใหญ่)


วิทยากร ดร.จอห์น แมคคอนเนล
สำเร็จการศึกษาสาขาปรัชญาศาสนาเปรียบเทียบเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศอังกฤษและยุโรป ได้รับเชิญมาทำวิจัยและฝึกอบรมเรื่องพุทธศาสนากับการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งในประเทศไทย และเขียนหนังสือเรื่อง..Mindful Meditation: A Handbook for Buddhist Peacemakers ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทยชื่อ ..ศาสตร์และศิลป์แห่งการระงับความขัดแย้ง คู่มือสำหรับชาวพุทธผู้ใฝ่สันติ.. โดยพระไพศาล วิสาโล เป็นบรรณาธิการ ปัจจุบันเป็นวิทยากรให้เสมสิกขาลัย เสถียรธรรมสถาน และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

คุณสุรภี ชูตระกูล
สำเร็จการศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาอิสระและฝึกอบรมการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ กรรมการเลขานุการมูลนิธิเพื่อนหญิงและเป็นวิทยากรการอบรมธรรมะกับการเยียวยา หรือการคลี่คลายข้อขัดแย้งให้กับกลุ่มบุคคลและองค์กรต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง

สถานที่ สวนสายน้ำ (Stream Garden Retreat Center)
สถานปลีกวิเวกในบรรยากาศธรรมชาติของมูลนิธิอันวีกษณา (The Quest Foundation) ตั้งอยู่ ณ ต.ทุ่งจัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ราว 30 กิโลเมตร บ้านพักเป็นเรือนไม้ บนภูเขา แวดล้อมด้วยสวนยางพาราและป่าโปร่ง บริเวณริมหน้าผาที่มีลำธารขนาดเล็กไหลผ่าน

อาหาร มังสวิรัติ ผลผลิตในพื้นที่


กำหนดการ

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547
17.00-17.30 น. เดินทางจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สู่สวนสายน้ำ
17.30-18.00 น. เข้าที่พัก
18.00-19.00 น. ลงทะเบียน และอาหารเย็น
19.00-20.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
20.00-21.00 น. แนะนำเนื้อหา แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย
วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547
06.00-08.00 น. ปฏิบัติสมาธิ
08.00-09.00 น. อาหารเช้า
09.00-12.00 น. อริยสัจสี่ เครื่องมือเข้าใจทุกข์และความเจ็บป่วย
12.00-13.00 น. อาหารเที่ยง
13.00-15.30 น. มรรคแปด การประยุกต์ใช้กับตนเองและผู้ป่วย
15.30-15.45 น. อาหารว่าง
15.45-17.00 น. สมาธิสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล
17.00-18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18.00-19.00 น. อาหารเย็น
19.00-20.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
20.00-21.00 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547
06.00-08.00 น. ปฏิบัติสมาธิ
08.00-09.00 น. อาหารเช้า
09.00-12.00 น. การผสมผสานการดูแลรักษาทางการแพทย์และจิตวิญญาณ
12.00-13.00 น. อาหารเที่ยง
13.00-13.30 น. เดินทางกลับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อุปการณ์ที่ควรเตรียมมา
เสื้อผ้าสวมสบายและกันหนาว ครีมทากันยุง ไฟฉาย และรองเท้ากีฬาสำหรับผู้ต้องการเดินออกกำลัง

ค่าลงทะเบียน 4,000 บาท

แจ้งความประสงค์ลงทะเบียนในแผ่นพับการประชุม (รับจำนวนจำกัด 30 ท่านเท่านั้น)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
- คุณเพ็ญนภา เส้งซ้าย ( spannapa@hotmail.com )
- คุณสานิตย์ บุญศาสตร์ (sanit_ying@hunsa.com )
สำนักงานธุรการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โทร 0-7445-1012

- คุณพรรัตน์ ด่านวรนันท์ ( meeting@medicine.psu.ac.th )
ศูนย์จัดการประชุม โทร 0-7445-1147