A 48 year-old diabetic woman had left ear pain and drainageหญิงอายุ 48 ปี มีอาการปวดหูซ้ายมาก มีหนองไหลออกมาจากหู และหูอื้อ มา 7 วัน ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องหูข้างซ้ายอักเสบมา 3 เดือน ได้รับการรักษากับแพทย์ มีอาการดีขึ้นแต่ยังมีน้ำไหลจากหูเป็นครั้งคราว ผู้ป่วยเป็นเบาหวาน รักษาโดยกินยาแต่คุมได้ไม่ดี PE: acutely ill, T 39.3 degree Celcius, HR 110/min, RR 24/min, BP 126/84 Left ear: Swelling of pinna. The ear canal contained purulent debris underlying which were granulations deep in the canal floor. Tympanic membrane was intact.. จงบอก 1. การวินิจฉัยที่น่าจะเป็นมากที่สุด 2. investigation 3. treatment Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-07-17 , Time : 11:14:49 , From IP : 172.29.3.68 |
1. คิดว่าเป็น Malignant or necrotizing otitis externa ค่ะ และเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุคือ Pseudomonas aeruginosa (มากที่สุด) และ Staphylococcus aureus ค่ะ 2. investigation ที่นอกเหนือจาก septic work up ทั่วไป คือ การทำ CT เพื่อดูการ extent of disease ค่ะ 3. การรักษา - Surgical debridement or I & D - IV antibiotic คนนี้อาจจะเลือกให้ Penicillin + Gentamicin ก็ได้เพราะอายะยังไม่มาก แต่ต้องดู Cr ก่อนหน้านี้และ follow up Cr หลังให้ยาค่ะ ถ้า Cr ไม่ดตั้งแต่แรกก็อาจจะให้ Ciprofloxacin แทนค่ะ Posted by : Nongnham , E-mail : (Nongnham025@gmail.com) , Date : 2008-07-29 , Time : 08:43:37 , From IP : 117.47.183.214 |
ขอบคุณคุณหมอ Nongnham มากค่ะ ดีใจมากที่คุณหมอกลับมาเยี่ยมเยือน e-consult อีก ที่ตอบมาถูกต้องแล้วค่ะ Malignant (หรือ necrotizing) otitis externa เป็นการติดเชื้อ external auditory canal ที่รุนแรงถึงตายได้ โดยมักเกิดจาก Pseudomonas aeruginosa พยาธิกำเนิดของmalignant otitis externa เข้าใจว่าเกิดจากการมี diabetic microangiopathy ตามมาด้วย hypoperfusion และ ความต้านทานเฉพาะที่ลดลง จึงทำให้ไวต่อการติดเชื้อนี้ ผู้ป่วยมีอาการปวดหูรุนแรง มีหนองไหลจากหูและการได้ยินลดลง อาการโรคของ malignant otitis externa มีอยู่ 3 ระยะ ในระยะทื่ 1 อาการโรคหลักคือ persistent purulent otorrhea, otalgia และ มี infected granulation tissue อยู่ที่พื้นของ the external auditory canal โดยไม่มี facial nerve palsy ระยะที่ 2 การติดเชื้อลุกลามไปที่เนื้อเยื่ออ่อน ทำให้เกิด skull base osteomyelitis และลุกลามไปยัง posterior cranial nerves XI และ XII ตรงที่ออกจาก foramen ระยะที่ 3 ของโรค การติดเชื้อลุกลามเข้าสู่ภายในกะโหลกศีรษะ (intracranial extension) ร่วมกับมีอาการโรคของระยะที่ 2 Investigation: ต้องทำ CT scan เพื่อหาว่าโรคได้ลุกลามไปมากน้อยเพียงใด CT brain มีประโยชน์มากในการดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ bone density ใน skull base และมีการบวมของเนื้อเยื่ออ่อนใน nasopharynx หรือ parapharyngeal space Serial CT scans มีประโยชน์ในการติดตามประสิทธิภาพของการรักษา MRI ดีกว่า CT scan ตรงที่สามารถบอกรายละเอียดของความผิดปกติที่เนื้อเยื่ออ่อนได้ดีกว่า การทำ ESR and CRP เป็นระยะมีประโยชน์ในการประเมินการดำเนินโรค การรักษา ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมคือยาต้าน P. aeruginosa ที่มีประสิทธิภาพดีคือ ceftazidime หรือ ciprofloxacin Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-07-29 , Time : 10:28:28 , From IP : 172.29.3.68 |