ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

ชายอายุ 27 ปี มีไข้และหนาวสั่นอย่างรุนแรงมา 5 วัน.




   ชายอายุ 27 ปีมาที่ห้องฉุกเฉิน เพราะมีไข้และหนาวสั่นอย่างรุนแรงมา 5 วัน.
PE: T 39.0°C. The spleen was palpable and abdominal left upper quadrant tenderness.

Initial laboratory : white blood cell count 4,800/cu mm, Hb 12.7 g/dL, platelet count 60,000/cu mm,
SGOT 47 IU/L, SGPT 85 IU/L, and total bilirubin 0.9 mg/dL.

Peripheral blood smear ดังรูป
1. การวินิจฉัยคืออะไร
2. จะ manage อย่างไร


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@gmail.com) ,
Date : 2014-12-18 , Time : 10:32:46 , From IP : 172.29.3.187


ความคิดเห็นที่ : 1


   ชายอายุ 27 ปี
Problems
1. Fever with chills 5 days from Plasmodium vivax malaria
2. Tender splenomegaly : from splenic infarct or splenic hemorrhage
3 Platelet count 60,000/cu mm from malaria
Management
1. Rx malaria with chloroquine + primaquine
2. Ultrasound or CT spleen to evaluate if there is splenic infarct or hemorrhage


Posted by : June10 , Date : 2014-12-19 , Time : 16:03:13 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 2




   คุณหมอ June 10 ตอบถูกแล้วค่ะ

Wright-Giemsa stained blood smear revealed erythrocytes infected with P. vivax that ranged from ring-form to merozoites.

Abdominal CT revealed splenomegaly of ∼15 cm and a low-attenuated wedge-shaped region that was consistent with splenic infarction (รูป 1B).

ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย oral chloroquine (25 มก/กก ในเวลา 48 ชั่วโมง) ร่วมกับ primaquine (15 มก/วันนาน 14 วัน). การติดตามที่ 1 เดือนต่อมา ผู้ป่วยสบายดีและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ.


Posted by : cpantip , Date : 2014-12-23 , Time : 15:01:54 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 3


   Diagnostic tools สำหรับการวินิจฉัย malaria คือ peripheral blood smear, enzyme-linked immunosorbent assay for antibody detection, nested polymerase chain reaction using 18s ribosomal RNA และ immunochromatography for Plasmodium lactate dehydrogenase.

สำหรับเรื่อง splenic infarction การตรวจเพื่อการวินิจฉัยคือ CT, ultrasonography (US), หรือ gross findings หรือ histopathology.


Posted by : cpantip , Date : 2014-12-23 , Time : 15:03:40 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 4


   มีการรวบรวมรายงานผู้ป่วย malaria-associated splenic infarction จาก literature ตั้งแต่ ค.ศ.1960 ถึง 2012 จำนวน 40 ราย. median age 32 ปี (range, 3–65 ปี). อาการเจ็บที่ Left upper quadrant ก่อนการรักษาเจ็บเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับระหว่างการรักษาด้วยยารักษามาลาเรียและเมื่อรักษาไปแล้ว. median time จาก onset of symptoms ถึง เมื่อวินิจฉัย splenic infarction คือ 8.5 วัน (range, 3–90 วัน).

ใน 40 ราย 23 (57.5%) เกิดจาก P. vivax และ 11 (27.5%) เกิดจาก P. falciparum. 1 ราย (2.5%) เกิดจาก P. ovale และ 5 ราย (12.5%) เกิดจาก mixed infections ของ P. vivax และ P. falciparum. ผู้ป่วยรอดชีวิตทั้งหมด ยกเว้น 1 รายที่มี cerebral malaria. มีเพียง 2 ราย (5.0%) ที่ได้รับการผ่าตัด splenectomy และ 5 ราย (12.5%) มีภาวะแทรกซ้อนเป็น splenic rupture. ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ใน acute stage ของ malaria ยกเว้น 1 รายที่มี concurrent visceral leishmaniasis. มีอยู่ 12 รายที่มีผล parasitemia และในจำนวนนี้ 4 รายมีparasitemia > 105/μL.


Posted by : cpantip , Date : 2014-12-23 , Time : 15:19:21 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 5


   มีอยู่ 12 รายที่มีผล parasitemia และในจำนวนนี้ 4 รายมี parasitemia > 10 กำลัง 5/μL.

Splenic infarction ถูกจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยของ malaria แต่ยังไม่ทราบความถี่ที่แน่นอนของ malaria-associated splenic infarction เพราะ underdiagnosis และ underreporting.

ควรทำ image study (US หรือ CT) เพื่อหาว่าผู้ป่วยมี splenic complications หรือไม่ในผู้ป่วยที่ปวดที่ left upper quadrant และเมื่อคาดว่าผู้ป่วยมี splenic infarction.

Splenic rupture ที่เกิดจากมาลาเรีย มีรายงานว่า เกิดจาก P. vivax บ่อยกว่า P. falciparum malaria.
Splenic rupture สามารถเป็นรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้. ในรายงานหนึ่ง อัตราตายของ splenic rupture คือ 18.2%: ในจำนวนผู้ป่วย 55 ราย เสียชีวิต 12 ราย, 10 รายตายจาก splenic rupture และ 2 รายตายจาก pneumonia ซึ่งเกิดขึ้นหลัง splenectomy. ในจำนวน 55 รายนี้ 33 (60%) ต้องทำ splenectomy ซึ่งสูงกว่า 5% ของผู้ป่วยที่มี splenic infarction. มากกว่า 50% ของผู้ป่วย splenic rupture มี hemodynamic collapse ในเวลาที่วินิจฉัย splenic rupture ซึ่งแสดงถึงความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนนี้. ไม่เคยมีรายงานการตายของผู้ป่วย malaria-associated splenic infarctions. ในจำนวนผู้ป่วย malaria-associated splenic infarction 40 ราย ส่วนใหญ่ได้รับ conservative management โดยไม่ต้องทำ splenectomy และทั้งหมดรอดชึวิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่า splenic infarction ใน malaria ซึ่งไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น rupture ตามมา สามารถมี benign course และ splenic infarction อย่างเดียวไม่ใช่ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด.


Posted by : cpantip , Date : 2014-12-24 , Time : 13:49:08 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 6


   ส่วนใหญ่ของ splenic infarctions เกิดขึ้นระหว่าง acute state ของ malaria infection. median time จากเริ่มมีอาการจนถึงเมื่อวินิจฉัย splenic infarction คือ 8.5 วัน (range, 3–90; ข้อมูลจาก 24 ราย), ซึ่งนานกว่า median time จากเริ่มมีอาการจนถึงเมื่อวินิจฉัย splenic rupture ซึ่งเท่ากับ 5 วัน (range, 0–37; ข้อมูลจาก 49 ราย). ทั้งนี้อาจเนื่องจากทำ diagnostic images ช้ากว่าและ vital signs ของผู้ป่วยระหว่างที่มี splenic infarction stable กว่าระหว่างที่มี splenic rupture.

Posted by : cpantip , Date : 2014-12-24 , Time : 14:18:00 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 7


   โดยสรุป, malaria-associated splenic infarction เป็นภาวะแทรกซ้อนของ P. falciparum, P. vivax และ P. ovale infection, แต่ยังไม่มีรายงานใน P. malariae และ P. knowlesi infections. Splenic infarction พบใน acute phase of infection. ในผู้ป่วยมาลาเรีย แพทย์ต้องคิดถึงว่า left upper quadrant pain เป็น predictive sign ของ splenic infarction และควรส่งทำ imaging ( US หรือ CT). โดยทั่วไป การตอบสนองทางคลินิกของ splenic infarction ต่อ medical treatment ก็เพียงพอและไม่จำเป็นต้องทำ splenectomy. อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับ pathogenesis ของ splenic infarction. จากการศึกษาที่มีอยู่ hypercoagulability, intrasplenic structural change จาก vascular congestion, obstruction ที่เกิดจาก hypercellularity และ sequestration, และ anemia progression มีส่วนร่วมกันทำให้เกิด splenic hypoxia และกลายเป็น splenic infarction ใน area ที่ถูกทำลายได้ง่าย. ยังต้องมีการศึกษาอีกมากเพื่อให้เข้าใจ pathogenesis ของ splenic infarction.

Reference: Hwang J-H, et al. Malaria-Induced Splenic Infarction. Am J Trop Med Hyg 2014;91:1094-100.


Posted by : cpantip , Date : 2014-12-24 , Time : 14:24:40 , From IP : 172.29.3.187

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น