ความคิดเห็นทั้งหมด : 6

หญิง 21 ปี ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ มีขาทั้งสองข้างชาและอ่อนแรง




   หญิงอายุ 21ปี ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีลูกแล้ว 1 คนและมีประวัติซีดจากการขาดเหล็ก มาที่รพ.เนื่องจากชา รู้สึกเหน็บๆ ที่ขาทั้งสองข้าง และขาไม่มีแรงทำให้หกล้มหลายครั้ง.
PE: Vital signs were unremarkable, diminished lower-extremity strength and intact sensation.

Laboratory assessment : hemoglobin 9.5 g/dL, potassium 2.2 mmol/L, magnesium 1.81 mg/dL, phosphorus 3.0 mg/dL, calcium 8.2 mg/dL, glucose 91 mg/dL, creatine kinase 11,089 U/L, albumin 1.1 g/dL, thyroid-stimulating hormone 2.5 mIU/L.
ABG: mild respiratory alkalosis (pH 7.43, PaCO2 34 mm Hg, and bicarbonate 23 mmol/L),
serum osmolality 279 mOsm/kg, urine pH 7.0, urine osmolality 257 mOsm/kg, urine sodium 104 mmol/L, urine potassium 11 mmol/L, urine chloride 114 mmol/L และ urine creatinine 20 mmol/L (urine tests ทำหลังจากให้ load normal saline 750 cc).
EKG ด้งรูป 1A

1. การวินิจฉัยคืออะไร
2. ใน EKG มีความผิดปกติอะไร เกิดจากอะไร
3. จะ manage อย่างไร


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2012-12-22 , Time : 13:24:36 , From IP : 172.29.3.134


ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอเฉลยนะคะ

หญิงอายุ 21 ปี มี pertinent data ดังนี้
1. ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์
2. diminished lower-extremity strength and intact sensation.
3. potassium 2.2 mmol/L, magnesium 1.81 mg/dL, creatine kinase 11,089 U/L, albumin 1.1 g/dL
4. EKG: diffuse ST-segment depressions and T-wave inversions across the precordium in addition to QT-interval prolongation and U waves

Diagnosis
1. pregnancy 34 weeks
2. Severe hypokalemia
3. Rhabdomyolysis (creatine kinase 11,089 U/L)
4. Abnormal EKG most likely from hypokalemia

จากการซักถาม ผู้ป่วยเล่าว่า ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ทุกๆ วัน ผู้ป่วยกินแต่โค้กวันละ 4 ลิตรและน้ำแข็งก้อน 2-3 ถุง. ผู้ป่วยรายนี้มี hypokalemia-induced rhabdomyolysis ใน setting ของ pica.



Posted by : cpantip , Date : 2012-12-28 , Time : 14:00:32 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 2




   การรักษา ผู้ป่วยได้รับ IV fluid และ potassium supplementation 120 mEq/วัน เป็นเวลา 8 วัน. อาการของ myopathy ดีขึ้นจนกลับเป็นปกติ. ค่า potassium และ creatine kinase และ ECG findings กลับเป็นปกติ (รูป 1B).

Posted by : cpantip , Date : 2012-12-28 , Time : 14:01:48 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 3


   Rhabdomyolysis เป็นการสลายของ skeletal muscle fibers ทำให้มีการรั่วของ muscle contents เข้าสู่กระแสเลือด.
สาเหตุของ rhabdomyolysis ที่พบบ่อยคือ
ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย/alcohol (34%), medical drugs (11.3%) และ
muscular disease (10.3%). Trauma และ seizures เป็นสาเหตุ 8.8% และ 6.7%, ตามลำดับ. Metabolic abnormalities เช่น hypokalemia เป็นสาเหตุ 1.9% ของผู้ป่วย.
-Hypokalemia-induced rhabdomyolysis เป็นผลของ skeletal muscle hypoperfusion ทำให้เกิด ischemia. ในภาวะที่มี potassium ปกติ, potassium ที่ถูกปล่อยออกมาทำให้เกิด arteriolar vasodilation และทำให้มีเลือดมากขึ้นไปสู่กล้ามเนื้อที่มี activity. สาเหตุของ hypokalemia อาจแบ่งได้เป็น categories ของ intake, distribution และ excretion. hypokalemia ในผู้ป่วยรายนี้เกิดจากหลายสาเหตุ คือ การกินไม่เพียงพอ และจาก redistribution ของ potassium homeostasis.


Posted by : cpantip , Date : 2012-12-28 , Time : 14:04:57 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 4


   Cola ทำให้เกิด hypokalemia ได้จากพิษของ glucose, fructose และ caffeine. การกิน glucose ทำให้เกิด hypokalemia จากการมี osmotic diuresis และ hyperinsulinemia-induced redistribution. Fructose-induced hypokalemia เกิดจาก osmotic diarrhea. Caffeine-induced hypokalemia เกิดขึ้นเมื่อกิน caffeine วันละ 180-360 มก. ผู้ป่วยรายนี้กิน caffeine วันละ 424 มก. Caffeine เป็น adenosine receptor antagonist ซึ่งเพิ่มการหลั่ง catecholamine และ beta-adrenergic stimulation ของ Na+/K+-adenosinetriphosphatase ร่วมกับ redistribution ของ potassium ions ในเซลล์. การยับยั้งของ phosphodiesterase ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเพิ่ม cyclic adenosine monophosphate concentrations เพิ่มผลของ catecholamine. caffeine-induced hypokalemia ยังทำให้มี intracellular shifts จาก hyperventilation-induced respiratory alkalosis และosmotic dieresis. การขับ potassium ทางปัสสาวะยังเพิ่มขึ้นในภาวะตั้งครรภ์ โดยเป็นผลจากการลดลงของ plasma protein และ albumin ซึ่งเป็นตัวนำ electrolytes และ caffeine.

Posted by : cpantip , Date : 2012-12-28 , Time : 14:11:00 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 5


   ในผู้ป่วยรายนี้ hypokalemia เกิดจากการกิน potassium น้อย. Cola มี potassium 30 มก/ลิตร ผู้ป่วยจึงได้รับ potassium 120 มก/วัน ในขณะที่ร่างกายต้องการ 4000 มก/วัน. เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีท้องเสียหรือปัสสาวะมาก กลไกของ hypokalemia ของผู้ป่วยจึงเกิดจากกินไม่พอและได้รับ caffeine มาก. เนื่องจากความชุกของการกิน cola สูงขึ้น, การประเมินด้านโภชนาการต้องคำนึงถึงความผิดปกติทาง metabolic และ rhabdomyolysis ด้วย.

Posted by : cpantip , Date : 2012-12-28 , Time : 14:11:27 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 6


   hypokalemia สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ECG ได้มากมาย รวมถึง ST-segment depressions, QT-interval prolongation และ prominent U waves, รวมถึงการเกิด arrhythmia ต่างๆ. ความผิดปกติของ ECG ในผู้ป่วยรายนี้ที่น่าสนใจคือการมี ST-segment depressions ซึ่งอาจแปลเป็น acute coronary ischemia ได้. ประเด็นที่สำคัญที่ได้เรียนจากผู้ป่วยรายนี้อีกอย่างหนึ่งคือ electrolyte abnormalities สามารถทำให้เกิดความผิดปกติของ ECG ได้หลายแบบ และการพบ ECG ที่ผิดปกติ ต้องมี electrolyte abnormalities อยู่ในการวินิจฉัยแยกโรคด้วย.

Reference: Chaudhry S-P, et al. Rhabdomyolysis: not a textbook case. Am J Med 2012;125: e3-4.


Posted by : cpantip , Date : 2012-12-28 , Time : 14:17:42 , From IP : 172.29.3.134

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น