ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

หญิง 52 ปี เจ็บที่ท้องส่วนบนข้างขวามา 3 เดือนและมีไข้มา 2 สัปดาห์.


   หญิงอายุ 52 ปี เข้ารับการรักษาในรพ.เนื่องจากเจ็บที่ท้องส่วนบนข้างขวามานาน 3 เดือนและมีไข้มานาน 2 สัปดาห์.
ผู้ป่วยชอบกินผักสดมาก. ไม่มีประวัติการเดินทางไปที่ไหน.
PE at admission revealed a chronically ill patient in no distress; no rash, jaundice, or lymphadenopathy was observed. Findings of chest and cardiovascular examinations were unremarkable. Tender hepatomegaly was found.

CBC: hematocrit of 40%; white blood cell count of 18,600 cells/mm3 with 62% eosinophils;

normal total bilirubin level; and AST 124 IU/L (N <40), ALT 75 IU/L (N <40), alkaline phosphatase 274 IU/L (N 20–140).

1. การวินิจฉัยน่าจะเป็นโรคใด
2. จะ manage อย่างไร


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2012-12-02 , Time : 12:36:31 , From IP : 172.29.3.134


ความคิดเห็นที่ : 1


   หญิงอายุ 52 ปี
Problems
1. RUQ pain 3 mo.+ fever 2 wk with tender hepatomegaly and isolated elevation of ALP (274)
2. ชอบกินผักสดมาก.
3. 62% eosinophilia

คิดถึง parasitic infection ที่ตับมากที่สุดค่ะ คือ การติดเชื้อ Fasciola hepatica เนื่องจากผู้ป่วยชอบกินผักดิบซึ่งมี meatacercaria ของ Fasciola spp. ได้

investigation: 1. ส่ง U/S liver+biliary tract
2. stool exam หาไข่พยาธินี้
3. Serologic study
การรักษา fascioliasis ใช้ Triclabendazole 8่ะ


Posted by : lara , Date : 2012-12-04 , Time : 15:03:53 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 2




   คุณหมอ Lara ตอบถูกแล้วค่ะ

ผู้ป่วยได้รับการตรวจ CT abdomen และ stool exam

Contrast computed tomographic (CT) scan of the abdomen (รูป 1) : The liver span was measured as 17.5 cm and contained a large subcapsular hypodense nonenhancing collection located in segments VI and VII, and multiple small cystic lesions scattered throughout the liver parenchyma.


Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:13:48 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 3




   จากประวัติและการตรวจพบใน abdominal CT scan, ได้ส่ง stool examination เพื่อหาไข่พยาธิ พบความผิดปกติดังในรูป (รูป 2).

Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:15:33 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 4




   ไข่ของ Fasciola hepatica แสดงลักษณะที่จำเพาะ คือ มี operculum ที่เห็นไม่ชัดเจน (หัวลูกศร), เปลือกบาง แต่ตรงส่วนหัวและท้ายหนาขึ้นเล็กน้อย (ลูกศรสั้น) และมี granular content อยู่ภายใน (ลูกศรยาว).

Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:17:32 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 5


   Fascioliasis เป็น food-borne transmitted zoonosis ที่เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ F. hepatica หรือที่พบน้อยกว่าคือ Fasciola gigantica. ท้องถิ่นที่พบโรคนี้และจัดว่าเป็น highly endemic area คือ Central and South America, Asia, Western Europe, Africa และ Middle East. สองประเทศใน South America ที่มีความชุกของโรคนี้สูงที่สุดในโลกคือ Bolivia และ Andean areas of Peru. ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงใน endemic area เหล่านี้มี attack rate สูงกว่าและมีภาวะแทรกซ้อนทางตับและทางเดินน้ำดีสูงกว่าผู้ชาย.

คนเป็นโรคนี้จากการกินผักดิบ หรือที่พบน้อยกว่าคือดื่มน้ำที่ปนเปื้อน metacercaria ซึ่งเป็น human infective larval stage ของพยาธินี้. การกินพืชผักดิบๆ มี watercress (46%), lettuce (32%), alfalfa (11%), หรือ spinach (5%) และดื่มน้ำจากสระ/ที่มีน้ำขังตามธรรมชาติ (natural ponds) (11%) และเครื่องดื่มที่ทำมาจาก alfalfa (5%) สัมพันธ์กับการเป็นโรคนี้ในผู้ป่วยจำนวน 277 รายใน Lima, Peru.


Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:20:26 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 6


   การเข้าใจวงจรชีวิตอธิบาย clinical manifestations ของโรครวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย เช่น subcapsular liver hematoma. metacercaria ที่คนกินเข้าไปจะเจาะผ่านลำไส้เล็กแล้วเดินทางเข้าช่องท้องไปสู่ตับ (เรียกระยะนี้ว่า acute stage) ซึ่งใช้เวลา 3- 5 เดือน. พยาธิกลายเป็นตัวเต็มวัย (adult worm) อยู่ในทางเดินน้ำดีหลังจากนั้นประมาณ 3 - 5 เดือน. Adult worm สามารถอาศัยอยู่ในทางเดินน้ำดีได้นานหลายปี (เรียกระยะนี้ว่า chronic stage) วางไข่ออกมาเป็นระยะๆ ออกมากับอุจจาระสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งมีหอยที่จำเพาะเป็น intermediate hosts ทำให้ครบวงจรชีวิต.
Abdominal pain และ eosinophilia เป็นลักษณะที่สำคัญของ acute stage. ผู้ป่วยใน chronic stage มักไม่มีอาการใดๆ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจมีการอุดตันของทางเดินน้ำดีทำให้เกิด cholangitis หรืออาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้รวมทั้งการเกิดฝีที่ตับ. อาการโรคที่พบน้อยกว่าคือพยาธิหลงทางไปที่ผิวหนัง เยื่อหุ้มปอด ปอด ระบบประสาทกลาง และอาจไปสู่อวัยวะอื่นๆ.


Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:22:30 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 7


   subcapsular liver hematoma ที่เกิดจาก fascioliasis น่าจะเกิดจากมีการทำลายของหลอดเลือดจากพยาธิตัวอ่อนขณะเดินทางอยู่ในตับ. มีรายงานภาวะแทรกซ้อนนี้น้อย. และยังไม่ทราบความชุกของภาวะนี้. มีรายงานไม่นานนี้ ซึ่งรวบรวมผู้ป่วยชาวเปรู 10 รายที่เป็น acute massive fascioliasis พบว่า 2 รายมี subcapsular liver hematomas . ในรายงานนี้ ได้ทำ abdominal CT scan และ/หรือ magnetic resonance imaging ในผู้ป่วยทุกราย. ลักษณะที่จำเพาะของ subcapsular liver hematoma ใน abdominal CT scan คือ hypodense non-enhancing images located between the capsule and the parenchyma that usually do not modify the liver surface, with or without irregular internal densities. (ดูรูป 1).

Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:23:16 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 8


   ปัจจุบัน สามารถวินิจฉัย fascioliasis ใน acute phase ได้ด้วย sensitive and more specific serologic methods ซึ่งมีความไวและความจำเพาะเพิ่มขึ้น โดยวิธีต่างๆ เช่น , Fas2 ELISA. การตรวจพบไข่ของ Fasciola spp. ในอุจจาระยังเป็น gold standard สำหรับการวินิจฉัย chronic phase และสามารถใช้ rapid sedimentation techniques ได้.


Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:24:18 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 9


   ยาหลักของการรักษา fascioliasis คือ triclabendazole. การใช้ยาครั้งเดียวได้ผลหาย 83% ของผู้ป่วย และการให้ยา 2-dose เพิ่มอัตราหายเป็น 94%. อาการของผู้ป่วยหายไปอย่างรวดเร็ว และ eosinophilia หายไปใน 6 สัปดาห์. ในบางราย อาจต้องทำการระบาย subcapsular hematoma ทางศัลยกรรมโดยมีข้อบ่งชี้จาก ขนาดของ hematoma, การมี hemodynamic instability, ยังไม่ทราบการวินิจฉัย.
ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาทางอายุรกรรม ด้วยการกินยา triclabendazole 2 dose. อาการปวดและไข้หายหลังได้รับยา 2-3 วัน และ eosinophilia หายไปใน 7 วัน.

Reference: Seas C, et al. A 52-year-old woman with a subcapsular liver hematoma Clin Infect Dis. (2011) 52(9): 1137, 1195-6.


Posted by : cpantip , Date : 2012-12-05 , Time : 10:26:12 , From IP : 172.29.3.134

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น