ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

A 28-YOM had a pruritic, erythematous rash on his trunk, buttock and legs




   ชายอายุ 28 ปีมาตรวจที่แผนกฉุกเฉินเนื่องจากมีผื่นแดงคันที่หลัง ลำตัว ก้น อวัยวะเพศ และขาทั้งสองข้าง. (รูป 1 และ 2). ผื่นนี้ปรากฎมาได้ 1 เดือนโดยเริ่มเป็นที่ก้นก่อน ผู้ป่วยได้ใช้ทั้งยาทาและยากิน steroids, antihistamines, antibiotics, และ permethrin แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น.
2 สัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยเริ่มมีไอแห้งๆ และหายใจมีเสียงวี๊ด. ผู้ป่วยเบื่ออาหารและน้ำหนักลดไป 3กก. ใน 1 เดือน


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2012-06-28 , Time : 12:59:23 , From IP : 172.29.3.13


ความคิดเห็นที่ : 1




   1. การวินิจฉัยคืออะไร
2. จะ manage อย่างไร


Posted by : cpantip , Date : 2012-06-28 , Time : 13:00:42 , From IP : 172.29.3.13

ความคิดเห็นที่ : 2


   1.Dx Cutaneous larva migrans with transient pneumonia
Cause:Hook worm ; Necator americanus, Ancylostoma duodenale
Life cycle:Adult in jejunum -> egg -> feces -> larva in soil -> skin penetrate -> circulate -> lung -> intestine -> adult
2. Rx - Albendazole 400 mg po once or
-Mebendazole 100 mg BIDx 3 d or 500 mg once
พยาธิที่มีskin lesion ได้แก่
1.cutaneous larva migrans;erythematous papule or plaque,serpigenous like,swelling at extremities or buttock
Cause: Dog and cat Hook worms:Ancylostoma brazillense, Ancylostoma carninum
Rx:ivermectim 200mcg/kg once or albendazole 200mg bidx3 days
2.cutaneous larva currens:เคลื่อนที่ได้เร็ว 10cm/hr
Cause: Strongyloides stercoralis
Rx: ivermectim 200mcg/kgx2days or albendazole 800mg/dayx7days ควร repeat stool exam และหยุดsteroidหากไม่มีindication
3.migratory swelling
Cause:Gnathostoma spinigerum
Rx:surgical removal(definitive tx) med:albendazole 400mgx21 days
พยาธิที่ไปปอด ได้แก่
1.Ascaris lumbricoides>>Loffler’s syndrome 2. Strongyloides stercoralis 3.Paragonimus westermani


Posted by : apichat , E-mail : (apichatka@hotmail.com) ,
Date : 2012-06-30 , Time : 12:58:54 , From IP : cm-110-171-180-195.r


ความคิดเห็นที่ : 3




   ขอบคุณคุณหมอ Apichat ค่ะที่ตอบมาอย่างละเอียด

รูป 3 plain chest X-ray ของผู้ป่วย
CBC : eosinophilia of 1.2 x 106/lL (normal 0.4) with no other abnormalities.
Enzyme-linked immunosorbent assays for antibody to Toxocara and Strongyloides : negative.
Microscopic examination of a fecal specimen : no ova, cysts, or
parasites.
ไม่ได้ตรวจเสมหะเพราะผู้ป่วยไอไม่มีเสมหะ

การวินิจฉัย: Cutaneous larva migrans and Loeffler syndrome

Creeping skin eruption (รูป 1) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ cutaneous larva migrans (CLM). ส่วน pustular rash ที่ก้นและหลังของผู้ป่วย (รูป 2) เกิดจาก CLM folliculitis ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอีกอย่างหนึ่งที่พบได้ยากของ CLM.

ผู้ป่วยมีไอและภาพรังสีทรวงอกแสดงลักษณะของ Loeffler syndrome ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยของ CLM.

CLM เกิดจาก infective stage larva ของ hookworm ของสุนัขหรือแมวใน family Ancylostomidae. Hookworm เหล่านี้อาศัยอยู่ในลำไส้ของสุนัขและแมว และวางไข่ออกมากับมูลสัตว์. คนเป็นโรคนี้ได้จากการสัมผัสกับดินหรือทรายที่มีตัวอ่อนของพยาธินี้ (filariform larva) ปนเปื้อนอยู่. filariform larva ไชเข้าสู่ผิวหนัง แล้วเดินทางในผิวหนังทำให้เป็นลักษณะ “serpiginous” inflammatory cutaneous track. การวินิจฉัยโรคนี้อาศัยลักษณะทางคลินิก.

Pulmonary involvement ใน CLM อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบได้น้อยมาก กล่าวคือมีรายงานผู้ป่วยที่มี lung involvement น้อยกว่า 30 ราย ทั้งๆที่โรคนี้พบได้บ่อยในเขตร้อน. อาการที่พบคือ ไอแห้งๆ ซึ่งเกิดขึ้น 1 สัปดาห์หลัง dermal invasion และหายไปในหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน

Reference: Pasricha J, et al. A rash and cough in a traveler. CID 2011;53:167,205-6.



Posted by : cpantip , Date : 2012-06-30 , Time : 13:47:06 , From IP : 172.29.3.13

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น