ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

A 58-YOM had severe throat pain, hoarseness, and fever for 2 days.




   ชายอายุ 58 ปีมาที่ห้องฉุกเฉินเนื่องจากเจ็บคออย่างรุนแรง เสียงแหบ และมีไข้มา 2 วัน
Physical examination revealed no stridor, respiratory distress, or drooling. The results of an oropharyngeal examination were unremarkable.

1. การวินิจฉัย+วินิจฉัยแยกโรคน่าจะเป็นอะไร
2. จะ manage อย่างไร


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2011-08-18 , Time : 10:44:52 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   ในรูปคือ lateral soft-tissue radiograph of the neck พบความผิดปกติอะไร

Posted by : cpantip , Date : 2011-08-18 , Time : 10:46:11 , From IP : 172.29.3.68

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผู้ป่วย:ชายไทยอายุ58ปี
มาด้วย:ไข้ และ เจ็บคอ และ เสียงแหบ มา2วัน
ตรวจร่างกาย:orapharynx ปรกติ ไม่พบ stridor,respiratory distress,or drooling
จากประวัติไข้และเจ็บคอทำให้ต้องคิดถึงการติดเชื้อเป็นอันดับแรก และการติดเชื้อนี้เป็นมาแค่ 2 วันซึ่งเร็วมาก ทำให้โอกาสน่าจะเป็น virus หรือ bacteria สูงมาก แต่ในผู้ป่วยคนนี้ควรต้องคิดถึงการติดเชื้อ bacteria มากกว่า เนื่องจากเจ็บคออย่างรุนแรงและโดยทั่วไปการติดเชื้อvirusมักจะเริ่มจากอาการของการติดเชื้อที่NasalและNasopharynxก่อนที่จะลามลงมามาคอ แต่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากๆคือผู้ป่วยมีอาการ"เสียงแหบ"นั้นหมายถึงระบบกำเนิดเสียงจะต้องมีปัญหา ซึ่งระบบที่ทำให้เกิดเสียงก็คือ larynx ซึ่งประกอบด้วย Vocal cord และ Epiglottis เป็นตัวหลัก โดยพยาธิสถาพอาจจะมาจะ Nerve หรือ Tissue swelling ก็ล้วนทำให้เสียงแหบได้ทั้งนั้น แต่ในคนนี้เป็นการติดเชื้อจึงต้องคิดถึงการบวมมากกว่าสาเหตุจากเส้นประสาท และเมื่อเข้ามาสู้การตรวจร่างกายในผู้ป่วยรายนี้พบว่า"orapharynx ปรกติ"แสดงว่าพยาธิสภาพจะต้องอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่านั้น ซึ่งก็คือบริเวณlarynxซึงประกอบด้วย2ส่วนสำคัญได้แก่ Vocal cord และ Epiglottisตามที่กล่าวมา โดยการเกิดการบวมตรงนี้ก็อธิบายอาการเสียงแหบได้ดีเพราะมันเป็นตัวสร้างเสียง และจากการที่เราตรวจร่างกายไม่ได้ stridor, respiratory distress, or drooling แสดงว่ายังไม่มี upper respiratory tract obstructionเลยหรือมีแล้วแต่มีไม่มากที แต่เมื่อย้อนดูประวัติอีกครั้งพบว่า"เจ็บคออย่างรุนแรง"แสดงว่าพยาธิสภาพจะต้องหนักเอาเรื่องพอควร ซึ่งทำให้สามารถคาดเดาได้ว่ามันน่าจะบวมที่ epiglottis มากกว่าที่เป็นเป็น vocal cord เพราะจากกายวิภาคของ vocal cord นั้นมีรูเปิดไม่กว้างเลยและจะต้องแคบลงมาอีกขณะพูดเพื่อทำหน้าที่กำเนิดเสียง เพราะฉะนั้นถ้ามันบวมvocal cordและอาการรุนแรงอย่างนี้ควรมี upper respiratory tract obstruction signs ไม่มากก็น้อยให้เห็นบ้าง
จากประวัติและตรวจร่างกายทั้งหมดจึงทำให้คิดถึง Acute epiglottis จาก Bacterial cause มากที่สุด คำถามต้องมาคือเชื้ออะไร ตำตอบคือส่วนมากแล้วจะเป็น Streptococcus pneumoniae,Haemophilus influenzae,Moraxella catarrhalis และ Anarobic organism จึงคิดว่าการให้ Augmentin ในผู้ป่วยรายนี้จะสามารถครอบคลุมเชื้อดังกล่าวได้ดี นอกจากนั้นจากการที่ช่องในคอเรามันไม่กว้างเอาเลยและเราก็ยังไม่สามารถทราบได้ว่าหลังให้ยา epiglottis จะยุบหรือไม่ ถ้ามันไม่ยุบอาจจะเกิดupper respiratory tract obstructionจึงควรรับผู้ป่วยเข้าพักเพื่อสังเกตอาการระยะนึงก่อน
จาก lateral soft-tissue radiograph of the neck จะเหตุ Bone density คือ Hyoid bone ณ ต่ำแหน่งเหนือ Thyroid cartilage ซึ่งพอเห็นได้บ้างและ Epiglottis
เองก็ locate อยู่ที่บริเวณ Hyoid bone ซึ่งจากภาพมันบวมเข้าไปใน airway แต่ยังอุดไม่เต็ม airwayที


Posted by : kenny , E-mail : (Streptokinase@hotmail.com) ,
Date : 2011-08-19 , Time : 01:48:06 , From IP : 119.42.82.64


ความคิดเห็นที่ : 3


   คุณหมอ Kenny ตอบได้ดีเช่นเคยค่ะ

2 key aspects to the treatment of acute epiglottitis:
• Maintenance of the airway.
• Administration of appropriate antimicrobial agents

ผู้ป่วยได้รับ ntravenous antibiotics และต่อมาได้ทำ fiberoptic laryngoscopy ซึ่งยืนยันว่า epiglottis บวมและอักเสบ และมี apical epiglottic abscess ด้วย. ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการ observe ใน ICU

ยาปฏิชีวนะที่เลือกใช้เสำหรับ empiric regimen ควรครอบคลุมเชื้อที่มีดอกาสเป็น pathogen คือ
-Haemophilus influenzae type b
-Penicillin-resistant Streptococcus pneumoniae
-Beta-hemolytic streptococci
-Staphylococcus aureus

จึงควรเลือกใช้ ceftriaxone IV


Posted by : cpantip , Date : 2011-08-19 , Time : 11:16:08 , From IP : 172.29.26.4

ความคิดเห็นที่ : 4


   ในประเทศที่มีการให้ routine pediatric immunization สำหรับ Haemophilus influenzae serotype b อุบัติการณ์ของ epiglottitis ในเด็กลดลงอย่างมาก และผู้ป่วยส่วนใหญ่ของ infectious epiglottitis กลายเป็นผู้ใหญ่. ผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการเกิด airway compromise, จึงต้องรับผู้ป่วยไว้ใน ICU เพื่อ observation.

ในผุ้ป่วยรายนี้ จากการเพาะเชื้อของเลือด ไม่ขึ้นเชื้อใด. ผู้ป่วยได้กลับบ้านเมื่ออาการต่างๆ ดีขึ้นแล้ว และได้รับยาปกิชีวนะไปกินต่อให้ครบ course

reference: Grover C. “Thumb Sign” of Epiglottitis. N Engl J Med 2011; 365:447.



Posted by : cpantip , Date : 2011-08-19 , Time : 11:18:01 , From IP : 172.29.26.4

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น