ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

A 30-YOW had 4-month history of a rash on her back.




   หญิงอายุ 30 ปี มีผื่นที่หลังมานาน 4 เดือน
Physical examination revealed multiple large, annular, hypopigmented, atrophic macules with well-defined, erythematous, raised borders. The lesions were hairless, hypohidrotic, and anesthetic.
There was no peripheral-nerve enlargement.

1. การวินิจฉัยคืออะไร
2. จะ manage อย่างไร


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2011-06-15 , Time : 14:29:39 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   S:- หญิงอายุ 30 ปี มีผื่นที่หลังมานาน 4 เดือน
O:- ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นรูปวงแหวนบ้าง เป็นแผ่นนูนขอบแดง ขอบเขตชัดเจน ผื่นมีสีจางตรงกลาง ผื่นมีทั้งพบวงเดียวและหลายวง ขนาดใหญ่และเล็ก
- ที่บริเวณผื่นจะมีอาการชา เหงื่อออกน้อย และไม่มีขน
A:Leprosy
โรคเรื้อนโดยตัวโรคแล้วเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียMycobacterium leprae ทำให้เกิดอาการทางผิวหนังและเส้นประสาทส่วนปลาย โดยการที่จะติด Mycobacterium leprae ได้จะต้องมี 2 ประการ ได้แก่ ตัวเชื้อ+พันธุกรรมที่เอื้อต่อการติดเชื้อ ครับ ลักษณะทางผิวหนังของโรคนี้จะมี 3 แบบครับ ได้แก่
1. ผิวหนังมีลักษณะเป็นวงสีซีดจาง หรือแดง มีอาการชา ผิวหนังแห้งเหงือไม่ออก ไม่คัน(ไม่คันนี้สำคัญมากครับถ้าคันก็ไม่น่าใช่)
2. ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นรูปวงแหวน หรือเป็นแผ่นนูนแดง ขอบเขตชัดเจน มีอาการชา บางผื่นมีสีเข้มเป็นมันผื่นอาจพบวงเดียวหรือหลายวง ขนาดอาจใหญ่หรือเล็กก็ได้ส่วนใหญ่มักจาพบที่ แขน ขา หลังและสะโพก
3. ผิวหนังเป็นตุ่ม หรือผื่นนูนแดงหนา ซึ่งตุ่มและผื่นแบบนี้จะมีลักษณะอิ่มฉ่ำเป็นมัน ไม่คัน ผื่นมีจำนวนมากมีลักษณะแตกต่างกันและขึ้นกระจายไปทั่วร่างกายทั้งใบหน้า แขน ขาและลำตัว
โดยธรรมชาติของเชื้อ Mycobacterium leprae โดนการสัมผัสและหายใจ เชื้อชอบบริเวณที่ "เย็น" ครับ เชื้อเลยมักไปก่อโรคที่ผิวหนังบริเวณที่เย็น เช่น ใบหู ปลายมือปลายเท้า ข้อพับต่างๆ และที่สำคัญมากอีกที่หนึ่งคือ เส้นประสาทครับ โดยจะสามารถทำลายเส้นประสาทได้ทุกประเภทแต่ที่โดนก่อนเพื่อนคือ Autonomic nerve ซึ่งเป็นเส้นประสาทเล็กๆโดยเฉพาะที่มาเลี้ยงบริเวณผิวหนัง จึงทำให้ผิวหนังในบริเวณนั้นเกิดอาการชาและเหงื่อไม่ออก
ในระยะยาวแล้วหากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เชื้อลุกลามสู้เส้นประสาทใหญ่ได้ เช่น Motor nerve ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบ Sensory nerve ทำให้เกิดอาการชา แต่เหนือสิ่งอื่นใด Optic nerve เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดเพราะอาจจะโดนทำลายจนทำให้ตาบอดได้ครับ
P:ก่อนการรักษาควรทำการbiopsyดูเพื่อแยกประเภทของโรคว่าเป็นแบบเชื้อมาก(Multibacillary Leprosy)หรือเชื้อน้อย(Paucibacillary Leprosy)เพื่อจะได้ให้สูตรยาที่ถูกต้อง
Paucibacillary Leprosy Treatment ให้การรักษาทั้งหมด 6 เดือน โดยใช้
Dapsone 100mg กินที่บ้านทุกวัน + Rifampicin 600mg ทุกเดือน
Multibacillary Leprosy Treatment ให้การรักษาทั้งหมด 24 เดือน โดยใช้
Dapsone 100mgและClofazimine 50mg กินทุกวัน + Rifampicin 600mgและClofazimine 300mg ทุกเดือนครับ




Posted by : kenny , E-mail : (Streptokinase@hotmail.com) ,
Date : 2011-06-15 , Time : 19:34:00 , From IP : 119.42.80.236


ความคิดเห็นที่ : 2




   คุณหมอ kenny ตอบถูกแล้วค่ะ ขอบคุณที่ตอบมายาวทำให้อาจารยืได้อ่านทบทวนความรู้ไปด้วย

Histopathological analysis of a skin-biopsy specimen revealed well-developed epithelioid granulomas, lymphocytes, and Langerhans cells surrounding neurovascular structures within the papillary dermis. Dermal nerves were swollen and destroyed. No acid-fast bacilli were detected on modified Ziehl–Neelsen staining.

มีรูป histopathology ของผิวหนังจาก google ประกอบด้วยค่ะ


ถาม ผู้ป่วยเป็น leprosy ชนิดใดคะ


Posted by : cpantip , Date : 2011-06-16 , Time : 14:01:36 , From IP : 172.29.3.68

ความคิดเห็นที่ : 3


   Tuberculoid ครับ

Posted by : kenny , E-mail : (Streptokinase@hotmail.com) ,
Date : 2011-06-18 , Time : 12:36:18 , From IP : 119.42.83.186


ความคิดเห็นที่ : 4


   คุณหมอ Kenny ตอบถูกต้องแล้วค่ะ

clinical manifestations ของ leprosy ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของภูมิต้านทานของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ Mycobacterium leprae และเป็นได้ตั้งแต่ lepromatous leprosy (uncontrolled replication ร่วมกับมีการทำลายเส้นประสาท จาก high-titer infection) จนถึง tuberculoid leprosy (ทำลายเส้นประสาทและอวัยวะจาก host granulomatous immune response). ผู้ป่วยไม่เคยสัมผัสกับผู้ป่วย leprosy มาก่อน. ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย rifampinและ dapsone นาน 6 เดือนซึ่งทำให้รอยโรคที่ผิวหนังหายไปเกือบหมด.

Reference: Esfandbod M, Tuberculoid leprosy. N Engl J Med 2011; 364:1657April 28, 2011.


Posted by : cpantip , Date : 2011-06-20 , Time : 10:01:49 , From IP : 172.29.3.68

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น