ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

A 38-YOW had intermittent, recurrent right-sided chest pain for several months.




   หญิงอายุ 38 ปีซึ่งสูบบุหรี่ มีอาการเจ็บหน้าอกข้างขวาเป็นๆหายๆมาหลายครั้งในเวลาหลายเดือน. ผู้ป่วยเคยได้รับการวินิจฉัย pelvic endometriosis จากการทำ in vitro fertilization เมื่อ 6 ปีก่อน.
ครั้งนี้ผู้ป่วยได้มาที่ ER เนื่องจากมีอาการหอบเหนื่อยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว. ผู้ป่วยกำลังมีระดูเป็นวันที่ 2.

1.รูป A คือ CXR ของผู้ป่วย พบความผิดปกติอะไรบ้าง
2.การวินิจฉัยคืออะไร


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2010-07-09 , Time : 11:40:29 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอลองตอบครับ
-->ข้อ1.รูป A คือ CXR ของผู้ป่วย พบความผิดปกติอะไรบ้าง?
CXR ดังรูปเป็น film ท่า upright position โดย findings ได้แก่ visceral pleura แยกออกจาก parietal pleura ที่ปอดด้านขวาและมองไม่เห็น vascular marking ต่อจาก visceral pleural margin ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้คิดถึง pneumothorax ครับ
-->ข้อ2.การวินิจฉัยคืออะไร?
จากประวัติและภาพรังสีทำให้คิดถึง Right secondary pneumothorax มากที่สุด คงต้องหาสาเหตุซึ่งทำให้เกิด pneumothorax เป็นสำคัญ จากการซักประวัติซึ่งผู้ป่วยมีระดูเป็นวันที่ 2 (ภายใน 72 ชั่วโมง) และเป็นซ้ำหลายครั้งทำให้คิดถึง Catamenial pneumothorax มากที่สุด (catamenial Greek.=monthly) โดยมักจะเกิดทางด้านขวา (95%) ซึ่งมีหลายทฤษฎีอธิบายได้แก่ congenital fenestration ของ Right diaphragm ที่มักเกิดขึ้นด้านขวา และขณะนั้นไม่มี cervical mucus plug ทำให้อากาศผ่านทาง vagina, uterus และ fallopian tubes สู่ peritoneum ซึ่งอาจขึ้นไปสู่ pleural cavity และกระตุ้นทำให้เกิด pneumothorax ได้ ภาพทางรังสีอื่นที่พอช่วยวินิจฉัยได้คือ spiral CT และ MRI ซึ่งอาจเห็น diaphragmatic หรือ pleural thickening หรือเห็น endometriomas เป็น hypodense nodules ใน CT ถ้ามีขนาดมากกว่า 1 cm แต่หากเป็น homogeneous hypersignal ก็อาจจะเห็นใน MRI แต่ definitive diagnosis คงต้องใช้ video-assisted thoracoscopic surgery(VATS) เป็นสำคัญ ส่วนการวินิจฉัยแยกโรคอื่นได้แก่ secondary pneumothorax โดยมี underlying COPD เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องการสูบบุหรี่ครับ
เพิ่มเติม สำหรับการรักษานั้น มีทั้ง hormonal และ surgical treatment ได้แก่ danazol, GnRH analogs, OC pill เป็นต้น โดย danazol จะยับยั้ง surge ของ LH เพื่อยับยั้ง ovulation ปัญหาคือผู้ป่วยมักเป็นซ้ำหลังหยุดยา และยังไม่มีเวลาการรักษาที่แน่ชัดว่าควรให้ยานานเท่าใด ส่วน GnRH analogs เช่น leuprolide ซึ่งส่งผลที่ pituitary ไปลด LH และ FSH secretion ทำให้เกิด hypogonadotropic hypogonadism โดยสามารถลดอาการ catamenial pneumothorax ได้อย่างดีเยี่ยมและสะดวก (เดือนละครั้ง) อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ยังต้องการ fertility แต่ปัญหาคือยังคงมีราคาแพง, ผลแทรกซ้อนจากยา ได้แก่ hot flushes, osteoporosis เป็นต้น อีกทั้งยังไม่ทราบระยะเวลาการรักษาที่แน่นอนเช่นกัน ส่วนการผ่าตัดได้แก่ VATS with thoracotomy ทั้งนี้อาจให้ homornal therapy หลังผ่าตัดเพื่อลด recurrent rate ทางเลือกอื่นได้แก่ tubal ligation, total abdominal hysterectomy with bilateral oophorectomy เป็นต้น
Ref: Mukhopadhyay A, J Obstet Gynaecol. 2008 Apr;28(3):356-7.
Noppen M, Respiration. 2008;76(2):121-7. Epub 2008 Jun 26.
Papafragaki D, J Womens Health (Larchmt). 2008 Apr;17(3):367-72.


Posted by : weeratian , Date : 2010-07-10 , Time : 14:24:00 , From IP : 112.142.50.194

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณหมอ Weeratian ตอบถูกต้องแล้วค่ะ ขอบคุณที่เขียนอธิบายอย่างละเอียดด้วยค่ะ

6 เดือนก่อน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามี a small, right-sided spontaneous pneumothorax ซึ่งไม่ต้องให้การรักษาใดๆ. การติดตาม chest radiography ที่ 2 สัปดาห์ต่อมา ไม่พบความผิดปกติใดๆ. ผู้ป่วยจำได้ว่าการมี pneumothorax ครั้งนั้นเกิดขึ้นขณะที่ผู้ป่วยมีระดูเป็นวันที่ 2 .
Spiral computed tomography of the thorax ไม่พบความผิดปกติใดๆ.


Posted by : cpantip , Date : 2010-07-13 , Time : 15:34:41 , From IP : 172.29.3.68

ความคิดเห็นที่ : 3




   ในรูป B คือ Video-assisted thoracoscopy ซึ่งทำในวันที่ 5 ของระดู พบว่ามี numerous brownish oval lesions scattered on the diaphragm ซึ่งเป็นการตรวจพบที่บอกว่าเป็น endometrial implants. รอยโรคเหล่านี้อาจมีขนาดต่างกันระหว่าง menstrual cycle และอาจหายไปหมดพร้อมกัน. ระหว่างการทำ thoracoscopy แพทย์ได้ทำ talc poudrage และเริ่มให้การรักษาด้วย gonadotropin-releasing–hormone analogue. ระดูหยุด และอาการเจ็บหน้าอกหายไป. จากการติดตามต่อมาอีก 6 เดือน ไม่เกิด pneumothorax อีกเลย.

Reference: Kronauer CM. Catamenial Pneumothorax. NEJM 355 (10): e9.


Posted by : cpantip , Date : 2010-07-13 , Time : 15:36:29 , From IP : 172.29.3.68

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น