ขอลองตอบครับ
-->ข้อ1. ในรูป A คือ Biomicroscopy ของตาขวา พบความผิดปกติอะไร?
จากรูปพบ diffuse white-yellow appearance ร่วมกับมี cherry-red spot ของ foveola และพยาธิสภาพที่ลูกศรชี้ซึ่งเกิดในเส้นเลือดน่าจะเป็น embolism
-->ข้อ2.1 การวินิจฉัยคืออะไร?
ปัญหาของผู้ป่วยรายนี้ได้แก่ 1.sudden painless unilateral loss of vision 2.hypertensive emergency
สำหรับ sudden painless unilateral loss of vision สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ vascular insufficiency จากประวัติซึ่ง sudden onset ทำให้นึกถึง differential diagnosis ได้แก่ 1.amaurosis fugax 2.central retinal artery occlusion (CRAO) 3.ischemic optic neuropathy(arteritic, artherosclerotic) โดยประวัติและการตรวจร่างกายนั้นคิดถึง CRAO มากที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยมี sudden, painless และ profound vision loss เกิดจากพยาธิสภาพเพียงข้างเดียว (bilateral เกิดเพียง 1-2%) โดยลักษณะที่พบบน retina เป็นลักษณะ late findings ได้แก่ diffuse white-yellow appearance, pallor ซึ่งบอกถึง retinal edema ร่วมกับมี cherry-red spot ของ foveola อันเกิดจาก retina บริเวณ foveola บางและไม่มี hypoxia โดยสมบูรณ์เพราะมี choroidal a. หล่อเลี้ยงอยู่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก emboli, intraluminal thrombus, hemorrhage ใน atherosclerotic plaque, vasculitis หรือ vasospasm อาจส่ง fluorescein angriography เพื่อยืนยันว่ามี delay ของ A/V transit time และไม่ complete lack of filling [สำหรับ amurosis fugax คือ transient ischemia ทำให้ sudden complete loss of vision ไม่เกิน 2 ชั่วโมง และการตรวจ retina ไม่พบความผิดปกติใด สำหรับ ischemic optic neuropathy ซึ่งมี sudden visual loss ได้เช่นกันแต่มักจะเป็น hemifield defect อีกท้งตรวจตาจะพบว่ามี optic disk edema และ nerve fibre layer(flame-shaped) hemorrhage รอบ optic nerve head]
ปัญหาเรื่อง acute-onset visual loss นี้จัดเป็น urgent ophthalmologic consultation การรักษานั้นควรเริ่มตั้งแต่ 4 ชั่วโมงหลังมีอาการ เนื่องจากพบว่าหากล่าช้าเกิน 24 ชั่วโมงแล้วการทำให้ visual acuity กลับเป็นปกติคงเป็นเรื่องยาก แนวทางการรักษานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อลด intraocular pressure อาจโดย ocular massage, anterior chamber paracentesis หรือ acetazolamide therapy หรือพยายามให้ embolus หลุดหรือลดขนาดลงโดยใช้ localized thrombolysis หรือ ocular massage
-->ข้อ2.2 ภาวะนี้สัมพันธ์กับการทำ cardiac catheterization หรือไม่?
Incidence ของ acute retinal embolization ประมาณ 2% หลังจากผู้ป่วยได้รับ diagnostic cardiac catheterization แต่อย่างไรก็ดีก็อาจอธิบายอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยรายนี้ได้
[ref: Haymore JG, Int Ophthalmol Clin. 2009 Summer;49(3):63-79; Kreis AJ, Stroke. 2008 Nov;39(11):3086-7. Epub 2008 Aug 14.]
Posted by : weeratian , Date : 2010-03-02 , Time : 19:24:49 , From IP : 172.29.22.75
|