ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

A 50-year-old smoker had right-sided chest pain for 4 days




   ชายอายุ 50 มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกข้างขวามานาน 4 วัน ผู้ป่วยสูบบุหรี่ ไม่มีประวัติ chest trauma.
1. ในรูป A คือ posteroanterior chest radiograph พบความผิดปกติอะไรบ้าง
2. การวินิจฉัยคืออะไร
3. จะ manage อย่างไร


Posted by : cpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2010-02-18 , Time : 14:08:02 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอลองตอบครับ
-->ข้อ1. ในรูป A คือ posteroanterior chest radiograph พบความผิดปกติอะไรบ้าง?
Trachea shift ไปทางด้านซ้าย และพบ air ใน pleural space ของ right lung โดยพบขอบ visceral pleural ชัดเจน (ไม่มี lung marking จากขอบนี้ไป)
-->ข้อ2.การวินิจฉัยคืออะไร?
การวินิจฉัยคือ pneumothorax ซึ่งคงคิดถึง spontaneous cause มากกว่า traumatic cause (iatrogenic และ noniatrogenic) แม้ว่า shifted trachea ทำให้ต้องคิดถึง tension pneumothorax แต่พบว่าใน spontaneous pneumothorax(SP) ก็สามารถตรวจพบได้ คงต้องพิจารณาหลักฐานเพิ่มเติมได้แก่ hypotension, tachypnea, tachycardia หรือ cyanosis เป็นต้น ทั้งนี้ด้วยอายุที่มากคงต้องคิดถึง secondary SP มากกว่า primary SP [แม้ว่า primary SP มักเกิดในเพศชาย รูปร่างสูง และสูบบุหรี่ แต่มักพบในช่วงอายุ 10-30 ปี และพบได้น้อยมากในผู้ป่วยอายุมากกว่า 40 ปี] อีกทั้งที่ต้องคิดถึง secondary SP ก่อนนั้นเนื่องจากเป็น potential life-threatening event มากกว่า (เนื่องจากเกี่ยวข้องกับ lung disease และมี cardiopulmonary reserve ที่จำกัด) สาเหตุส่วนใหญ่ของ secondary SP ได้แก่ COPD with emphysema, cystic fibrosis, tuberculosis, lung cancer, HIV-associated PCP เป็นต้น ด้วยปัจจัยเสี่ยง(การสูบบุหรี่), อาการทางคลินิก และภาพถ่ายรังสีขณะนี้ คงทำให้สงสัย COPD ก่อนในเบื้องต้น เนื่องจากไม่พบ lung mass หรือ cavity หรือ abnormality อื่นที่ชัดเจน
-->ข้อ3. จะ manage อย่างไร?
แนวทางการรักษาประกอบด้วยนำลมออกจาก pleural space และป้องกันการเกิดซ้ำ
1.ใส่ chest tube โดยอาจต้องใช้ large-bore chest tube เนื่องจากมี air leak ปริมาณมาก อาจร่วมกับการใช้ Oxygen ทาง face mask ในเบื้องต้น ส่ง CXR หลังใส่ chest tube และติดตามอาการและอาการแสดงอย่างต่อเนื่อง
2.ซักประวัติเกี่ยวกับอาการทางระบบทางเดินหายใจก่อนหน้านี้ ได้แก่ อาการไอ ไอเป็นเลือด เหนื่อยหอบ การสัมผัสวัณโรค รวมถึงการตรวจร่างกายได้แก่ vital sign และตรวจร่างกายทางระบบทางเดินหายใจอย่างถี่ถ้วน
3.consult แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการป้องกันการเป็นซ้ำ ซึ่งได้แก่ thoracoscopic approach เป็นต้น
[ref: Noppen M, Respiration. 2008;76(2):121-7. Epub 2008 Jun 26. Review.]


Posted by : weeratian , Date : 2010-02-20 , Time : 21:00:56 , From IP : 172.29.22.75

ความคิดเห็นที่ : 2


   นานๆจะได้แวะเข้ามาที่ E-consult สักที กราบสวัสดีอาจารย์ chpantip ด้วยนะครับ
1.Hyperaeration , trachea shift to the left , increase Rt.lung opacity , visceral pleural ชัดเจน
2.Spontaneous pneumothorax เช่นกันครับ รายนี้ผู้ป่วยชายอายุ 50 ปี+สูบบุหรี่+lung hyperaeration คงต้อนึกถึง COPD ไว้ด้วย
3.รายนี้มี pneumothorax > 20% ก็ต้องใส่ ICD ครับ , ให้ bed rest ไว้ก่อนจะได้ไม่เป็นมากขึ้น , record V/S and O2sat q 4hr keep O2sat >=93% อาจใส่แค่ nasal canular 3LPM ดูก่อนครับ เพราะไม่น่าจะเป็นรุนแรงมาก เพราะผู้ป่วยก็สามารถทนอยู่มาได้ตั้ง 4 วัน


Posted by : harder , Date : 2010-02-24 , Time : 12:34:25 , From IP : 117.47.111.254

ความคิดเห็นที่ : 3




   คุณหมอ Weeratian และคุณหมอ Harder ตอบถูกต้องแล้วค่ะ

A posteroanterior chest radiograph (Panel A) demonstrated a right-sided pneumothorax.

ผู้ป่วยดีขึ้นทันทีหลังใส่ chest tube. สองชั่วโมงต่อมา ผู้ป่วยหายใจหอบเหนื่อย ตรวจร่างกายพบ extensive right-sided chest crackles.
ได้ทำ chest radiography ซ้ำ (รูป B)
1. พบความผิดปกติอะไร
2. จะ manage อย่างไรต่อ


Posted by : cpantip , Date : 2010-02-25 , Time : 08:02:30 , From IP : 172.29.3.68

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอลองตอบครับ
-->ข้อ1. พบความผิดปกติอะไร?
จากประวัติหลังจากการใส่ chest tube และผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยเพียงไม่กี่ชั่วโมง และการตรวจร่างกายรวมถึง CXR ให้ผลความผิดปกติของปอดเพียงข้างเดียว คงทำให้คิดถึง re-expansion pulmonary edema(RPE) (เนื่องจากหากมีสาเหตุจาก cardiac หรือ renal มักจะทำให้พยาธิสภาพทั้งสองข้าง) โดยภาพ CXR ที่เห็นนี้พบตำแหน่งของ chest tube อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ปอดด้านขวามี complete re-expansion และพบ diffuse cloudiness และ coarse mottling ของ re-expanded lung
-->ข้อ2. จะ manage อย่างไรต่อ?
1.treatment: การรักษา RPE แบบประคับประคอง โดยมีหลักการสำคัญคือการใช้ positive-pressure mechanical ventilation และ positive end-expiratory pressure (PEEP) ทั้งนี้เพื่อทำให้ถุงลมที่แฟบขยายตัว เพิ่ม functional residual capacity และลด shunting นอกจากนี้อาจใช้ diuresis และ vasopressor ร่วมในการรักษาด้วย โดยรายนี้อาจ ventilate ด้วย 100% oxygen, PEEP 5mmHg ผ่านทาง single-lumen tube หรืออาจเริ่มด้วย CPAP ผ่านทาง facemask ร่วมกับการให้ diuretics
2.prevention: มี consensus ของ American college of chest physicians แนะนำให้ใช้ Heimlich valve หรือ water seal without suction โดยจะใช้ suction ก็ต่อเมื่อปอดไม่ขยายเท่าที่ควร ส่วน British thoracic society ก็ไม่แนะนำให้ต่อ suction ทันที โดยให้เริ่มหลังจาก 48 ชั่วโมงหากยังคงมี air leak หรือยังคงมี pneumothorax แนะนำให้ใช้ -10 ถึง -20 cmH2O
[Ref: Neustein SM, J Cardiothorac Vasc Anesth. 2007 Dec;21(6):887-91. Epub 2007 Apr 16; Sohara Y, Ann Thorac Cardiovasc Surg. 2008 Aug;14(4):205-9.]


Posted by : weeratian , Date : 2010-02-28 , Time : 22:31:19 , From IP : 172.29.22.75

ความคิดเห็นที่ : 5


   คุณหมอ Weeratian ตอบถูกต้องแล้วค่ะ

CXR was repeated and showed a fully expanded right lung (Panel B), albeit with features of pulmonary edema. The arrowheads in Panel B show the position of the chest tube.
อาการผู้ป่วยดีขึ้นหลังให้ continuous positive airway pressure ทาง face mask ทั้งคืน ได้เอา chest tube ออกหลังใส่ไว้ 3 วัน
จากการติดตามที่ 6 สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วยสบายดีเป็นปกติ
ผลการตรวจพบว่ามี mild chronic obstructive pulmonary disease.

Reference: Tariq SM, Sadaf T. Reexpansion Pulmonary Edema after Treatment of Pneumothorax. NEJM 2006;354 (19): 2046.


Posted by : cpantip , Date : 2010-03-02 , Time : 13:12:48 , From IP : 172.29.3.68

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น