ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

MRSA แพร่กระจายจากผู้ป่วยรายหนึ่งไปสู่ผู้ป่วยรายอื่นได้อย่างไร


   ชายอายุ 24 ปีซึ่งมี quadriplegia จาก traumatic spinal cord injury ได้รับการตรวจ routine surveillance cultures และพบว่ามี methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) colonization อยู่ในรูจมูกส่วนหน้า เขาไม่มีประวัติของ MRSA infection หรือ colonization

วิธีใดสำคัญที่สุดในการแพร่เชื้อ MRSA จากผู้ป่วยรายนี้ไปสู่ผู้อื่น


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2009-12-15 , Time : 16:09:40 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอลองตอบครับ
ความถี่ของการติดเชื้อ MRSA มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลและปัจจุบันรวมถึงในชุมชนทั่วโลก มีหลักฐานทาง molecular และ epidemiological ชัดเจนถึง MRSA transmission จากบุคคลากรทางการแพทย์สู่ผู้ป่วย ซึ่งน่าจะเป็นทางติดต่อที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ good hand hygiene practice จำเป็นต่อการควบคุมการแพร่กระจายของ MRSA แต่อย่างไรก็ดี aggressive screening และ eradication policy ก็เป็นเรื่องจำเป็นในสภาวะที่มีการระบาดหรือ MRSA ยังไม่อยู่ใน endemic level ระดับสูง
[Ref:Boucher HW, Corey GR., Clin Infect Dis. 2008 Jun 1;46 Suppl 5:S344-9. Review.
Albrich WC, Harbarth S.,Lancet Infect Dis. 2008 May;8(5):289-301. Review.]


Posted by : weeratian , Date : 2009-12-15 , Time : 17:45:34 , From IP : 172.29.22.75

ความคิดเห็นที่ : 2




   คุณหมอ Weeratian ตอบได้ดีมากและถูกต้องแล้วค่ะ

MRSA transmission จากบุคคลากรทางการแพทย์ในลักษณะของ transient colonization ที่มือสู่ผู้ป่วยเป็นทางติดต่อที่สำคัญที่สุด ส่วนที่เป็น chronic carrier มีเชื้ออยู่ในจมูกหรือที่อื่นๆเป็นสาเหตุเพียง 2 %

เพื่อประเมินโอกาสที่จะมีการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยรายนี้ไปสู่ผู้อื่น ได้ทำ imprint ของมือแพทย์ผู้หนึ่งบนจานเลี้ยงเชื้อหลังจากเขาได้ตรวจหน้าท้องผู้ป่วยรายนี้โดยไม่ได้ใส่ถุงมือ พบว่า MRSA colonies ขึ้นจากรอยมือของแพทย์บนจานเลี้ยงเชื้อ(CHROMagar Staph aureus) ซึ่งมี cefoxitin 6 µg/milliliter เพื่อยับยั้ง methicillin-susceptible S. aureus ลักษณะของ colony สีชมพูและปรากฎเป็นรอยนิ้วมือ (รูป A). จากการตรวจด้วย polymerase-chain-reaction assay พบ mecA gene ซึ่งกำกับการดื้อ methicillin โดยการ amplify จากเชื้อที่เพาะได้จากรูจมูกและจากรอยมือ
หลังจากที่แพทย์ได้ล้างมือด้วย alcohol foam แล้ว ได้ทำ hand imprint อีกครั้ง คราวนี้ผลการเพาะเชื้อไม่ขึ้น MRSA (รูป B). ทั้งสองรูปนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการล้างมือในการดูแลผู้ป่วยซึ่งรวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือ colonization ของเชื้อที่ดื้อยา


Reference: Donskey CJ, Eckstein BC. The Hands Give It Away. NEJM 2009; 360 (3): e3.


Posted by : chpantip , Date : 2009-12-16 , Time : 08:30:17 , From IP : 172.29.3.68

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น