ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

A 64-YOW had intraabdominal abscess after acupuncture




   หญิงอายุ 64 ปีมีอาการปวดท้องที่ท้องส่วนล่างมานาน 4 สัปดาห์ อาการปวดเป็นมากขึ้นเมื่อขยับตัว ผู้ป่วยไม่มีอาการของทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะหรือระบบสืบพันธุ์
เมื่อปีที่แล้วผู้ป่วยเริ่มรับการรักษาฝังเข็มที่ท้องโดยการใช้เข็มที่ปลายเป็นทองเพื่อรักษาอาการปวดแน่นท้องที่ลิ้นปี่ การฝังเข็มครั้งหลังสุดทำเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนเริ่มมีอาการ
2 วันก่อนมารพ. อาการปวดท้องเป็นมากขึ้นและปวดมากที่ suprapubic region.
On examination, her temperature was 37.6°C and her abdomen was tender in the suprapubic region.

CBC: white-cell count= 15,800/cumm.

รูป A คือ plain abdominal film revealed more than 100 needles.


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2009-09-07 , Time : 12:00:32 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1




   รูป B คือ computed tomographic scan of abdomen: showed a round mass, 2 cm by 2 cm in diameter, containing thick fluid and gas anterior to the bladder ; acupuncture needles are visible in the subcutaneous fat (arrowheads). An 8.5-French Cope drainage catheter (รูป B, arrows) was inserted, and 15 ml of foul-smelling pus was obtained.

ท่านคิดว่าเชื้อก่อโรคน่าจะเป็นเชื้อใดมากที่สุด และจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะใดสำหรับ empiric therapy


Posted by : chpantip , Date : 2009-09-07 , Time : 12:01:29 , From IP : 172.29.3.68

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอลองตอบครับ
คำถาม - ท่านคิดว่าเชื้อก่อโรคน่าจะเป็นเชื้อใดมากที่สุด และจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะใดสำหรับ empiric therapy
-->หากนึกถึงขั้นตอนการฝังเข็มคงคิดถึงเชื้อก่อโรคได้ 2 กลุ่ม คือ เชื้อจาก skin เอง และเชื้อในลำไส้ แต่จากหลักฐานซึ่งพบว่ามี gas ได้รั่วออกมาจากลำไส้ซึ่งคิดว่าเห็นลมได้สองด้านของผนังลำไส้ (Rigler sign) และมี triangle [บริเวณด้านขวาล่าง] และเห็นได้จาก CT อีกทั้งเมื่อ drain หนองออกมาก็พบว่ามีกลิ่นเหม็น จึงทำให้คิดถึงเชื้อที่มาจากลำไส้มากที่สุด กล่าวคือเชื้อที่พบในลำไส้มากที่สุดคือ Bacteroides sp. ซึ่งเป็น anaerobic และจัดเป็น potential pathogen ซึ่งอาจอธิบายที่มาของกลิ่นซึ่งเหม็นได้ นอกจากนี้อาจเป็น normal flora อื่นได้เช่น Escherichia coli, Enterobacter, Klebsiella และ Pseudomonas species
-->สำหรับ antibiotics นั้นต้องพิจารณาถึงเชื้อ enteric Gram-negative facultative และ obligate anaerobic bacilli สำหรับแนวทางการักษามีหลาย regimen ขอยกตัวอย่างคือ Third/fourth-generation cephalosporin (cefotaxime, ceftriaxone, ceftizoxime, ceftazidime, cefepime) plus metronidazole และระยะเวลาที่ให้ไม่ควรเกิน 5 วัน ยกเว้นไม่สามารถควบคุมแหล่งเชื้อได้ ส่วน clinical signs ของการติดเชื้อ ได้แก่ ไข้และ leukocytosis สามารถใช้ตัดสิน adequacy ของการรักษา
[ref:
1. http://www.textbookofbacteriology.net/normalflora.html
2. Joseph S Solomkin, Chapter 47 – Peritonitis, Pancreatitis and Intra-abdominal Abscesses, Cohen & Powderly: Infectious Diseases, 2nd ed.]


Posted by : weeratian , Date : 2009-09-08 , Time : 21:37:33 , From IP : 172.29.22.75

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น