ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

Chikungunya Outbreak


   อยากเรียนถามอาจารย์ เรื่องเกี่ยวกับโรค Chikungunya ครับ

ตอนนี้เป็น Extern ฝึกงานที่ จ.ตรัง ซึ่ง Chikungunya กำลังระบาดหนักพอสมควร

ตัวอย่าง เช่น Ward เด็กประมาณ ครึ่งหนึ่งป่วยเป็นโรคนี้ ตรวจER ครึ่งวันเจอ 3-4 case

มีข้อสงสัย คือ

1. ทราบมาว่าโรคนี้ติดจากยุงตัวเดียวกับที่ทำให้เกิด DHF แต่ทำไมเวลามีการระบาด DHF จะระบาดในละแวกนั้นแต่ก็ไม่ได้ป่วยกันทุกคน แต่ Chikungunya มักจะเป็นกันแบบยกครัวเรือน เกี่ยวกับการมี immuneต่อ DHF อยู่ก่อนแล้วหรือไม่(DHFระบาดเกือบทุกปี) ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง Chikungunya มีโอกาสเป็นซ้ำหรือไม่??

2. เนื่องจากติดจากยุงชนิดเดียวกัน DHF กับ Chikungunya มีโอกาสเป็นร่วมกันได้หรือไม่ ถ้ามีจะ Dx ได้อย่างไร(เพราะ CBC คล้ายกัน) และจะ Management ผู้ป่วยอย่างไรให้ปลอดภัย เช่น จำเป็นมั๊ยที่ สงสัยChikungunya ต้องนัดมาเจาะเลือดซ้ำทุกคนประมาณ Day 3-4 เพื่อ Exclude DHF ,บางคน pain มากจน paracetamol ลดpain ไม่ได้เท่าที่ควร เมื่อไรน่าจะ start NSAIDs ได้อย่างปลอดภัย(Exclude DHFได้แล้ว)??

3. ทราบมาว่าการระบาดในเมืองไทยครั้งนี้ เริ่มประมาณช่วงกลางถึงปลายปี 2008 เริ่มที่ จ.นราธิวาส ตอนนี้กลางปี 2009 ระบาดมาถึง จ.ตรังแล้ว มีโอกาสหรือไม่ ที่จะระบาดไปทั่วประเทศในช่วงปี 2009-10 ควรจะมีวิธีป้องกันการระบาดอย่าง
ไร ทราบมาว่าวิธีป้องกันวิธีเดียว คือ ไม่ให้ยุงกัด??

4. Joint involvement ของโรคนี้ ทำให้เกิด Destructive joint หรือไม่ หรือเป็นแค่ arthralgia??

5. ควร Admit ผู้ป่วยเมื่อไร หรือพยายาม Rx เป็น OPD case ให้มากที่สุด เพราะทราบมาว่า Mortality ค่อนข้างต่ำ??


Posted by : zoioz , Date : 2009-05-11 , Time : 10:58:20 , From IP : 118.173.135.54.adsl.

ความคิดเห็นที่ : 1


   1.เนื่องจาก last outbreak of Chikungunya เกิดในกรุงเทพ นานประมาณ 50-60 ปีมาก่อนหน้านี้และ มีการระบาดเป็นระยะๆ บางจังหวัดในภาคใต้ ( นครศรีธรรมราช) หรือบางจังหวัดในภาคอีสาน ( หนองคาย ) ดังนั้น base line immunity ของคนในที่กำลังระบาดไม่น่ามี ทั้งที่เรารู้ว่า Chikungunya virus มีเพียง strain เดียว การเป็นโรคซ้ำไม่น่าจะเกิดได้ในคนที่ immune ปรกติ ( แต่ dengue จะมี 4 type )
2.มีการศึกษาที่พยายามแยก Dengue กับ Chikungunya ใน India , Reuion ( เกาะแถวๆ Africa ), Mayotee หรือ Malaysia พบว่า ไม่มี clinical manifestation ใดที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ แต่ความแตกต่างที่พบอย่างไม่มีนัยยะ แต่ผมคิดว่า น่าจะใช้คร่าวๆ คือ
-Chikungunya จะมารพ เร็วกว่า Dengue เพราะ joint pain
-Dengue จะเป็น Myalgia มากกว่า joint pain
-Rash ใน dengue จะพบ rash 2 phase คือ eryhtematous ever อยู่ และ convolescent rash ( ที่มี island of normal skin ) แต่ Chikungunya เราจะพบ rash ในช่วง 4-5 วันแรกไม่ค่อยเป็น erythematous แต่เป็น MP , papaule บางรายงานเป็น vesicle และมีรอยโรคเหลือเป็น hyperpigment lesion (ส่วนมากไม่เหลือ ) แต่ผมไม่ค่อยแนะนำเรื่องผื่นในคนใต้ตัวค่อนข้างคล้ำถึงดำ : )
-constitutional symptoms ใน dengue จะมากกว่า โดยเพาะเมื่อ ไข้ลง ซึ่งกลับกันกับ Chikungunya
-ในแง่ lab จาก India , Reuion, Myotee , Malaysia และ pilot ของผมพบไปในทางเดียวกันคือ
-CBC : ใน Chikungunya ไม่ค่อยพบ Leukopenia หรือ leukopenia with bandemia or atypical lymphocyte ซึงอาจะพบได้ใน early dengue ใน Pilot ของผมไม่มีคนที่ต่ำกว่า 3000 เลย Platelet ใน Chikungunya rพบ Thrombocytopenia น้อยมาก ใน Pilot ของผมไม่มีคนที่ต่ำกว่า 100000 เลย ( เก็บวันที่ 1-7 ของไข้ )
-Blood chemistry : ถ้าในคนปรกติไม่ค่อยพบ uremia , transaminitis
3.เรื่องป้องกันการระบาดผมไม่ค่อยรู้ รู้เพียงว่า พ่นควันไม่ work เพราะในบ้านเรา ยุงชอบอยู่ใต้ใบยางที่ทับกันหนา ๆ ควันคงไม่โดนยุง แต่กำจัดลูกน้ำน่าจะ work กว่า ตอนที่ผมเก็บข้อมูลพบว่า ผุ้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายเพราะผู้ชายจะตัดยางตอนตี 3-4 ผู้หญิงจะเก็บยางตี5-6 ยุงมันคงเริ่มหากินตอนนั้น
4.Joint pain 60 % resolve in 1-2 months ( 80-90 % in this group resolve in 1-2 weeks ) 30 % persisted อยู่ 3 -4 months และ 5-10 % persisted 1-2years ผมมี case ที่รับ consulted ปวด นาน 4 months แล้ว เคย ให้ Chloroquin แต่ update paper บอกว่าไม่ work กลัว eye complication ด้วย เลย off ตอนนี้ให้ NSAID + Tramol prn ไม่กล้าให้ steroid ( no RCT , case report น้อย , กลัว Rheumato + Endocrine ที่รพ : )
5.Case ที่ต้องระวังคือ
-คนแก่ ๆ มี underlying metabolic disorder , พบว่า OR เกิด encephalopathy สูง ( ระวังอย่าสับสนกันตัวเลข ผมพูดถึง OR เราต้องดู prevalence ด้วย เราพบว่า มีรายงาน encephalopathy 20 cases ในการระบาด ที่ india จาก 1400000 ( หนึ่งล้านสี่แสนคน )
-คนท้อง เราพบรายงานจาก india ที่เดิม ว่าจะ มี dead fetus ใน 3rd trimester บ่อยสุด มัก dead ใน1 สัปดาห์แรกของไข้ การ C/S ไม่ช่วย ( แต่ถ้ามี fetal distress งช่วยนะ)


Posted by : เชน , Date : 2009-05-15 , Time : 17:07:38 , From IP : 172.29.3.66

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณอาจารย์ศรัญญู ชูศรีมากค่ะ ดิฉันได้ขอให้อาจารย์ตอบเพราะขณะนี้อาจารย์กำลังทำวิจัยเรื่องนี้อยู่ค่ะ

Posted by : chpantip , Date : 2009-05-17 , Time : 16:04:51 , From IP : 172.29.3.68

ความคิดเห็นที่ : 3


   เรียนถามพี่เชนเพิ่มครับ
ผมเองก็เคยทำงานในเขตระบาด นราธิวาส (ตอนนี้ย้ายมาอยู๋ รพ นอกพื้นที่สีแดงแล้ว)

สงสัยว่า ในกรณีที่ได้ discuss มาข้างต้น อาการก็คล้ายๆกับพวก scrub typhus ได้ ในที่ผม practice ฏ้พยายามหา eschar ดูCBC ว่า Plt ไม่ต่ำ
ถ้าclinical ไม่คล้าย dengue กฌจะให้ doxy ครับ

ตอนนั้น OPD วันละ 300 คน g0vไข้ปวดข้อ ผื่นแดง วันละ80-90 คน
ไม่สามารถ admit ดูอาการได้ครับ

สงสัยว่า การให้ doxy เพื่อ Rx cover scrub lepto ไปเลย มันจะเป็น critical error รึเปล่า


จากน้องที่เคยเป็น นศพ.ปี4 และ Ext. สายพี่เชน


Posted by : patsk120 , Date : 2009-05-20 , Time : 09:38:51 , From IP : 118.173.17.247.adsl.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมว่าปัญหาที่สำคัญของ AFI คือ
1.ปริมาณ case มาก จะให้รับ admit หมดก็ลำบาก รับมาก็ไม่รู้จะทำอะไรให้ดีกว่า observe อาการที่บ้าน
2. Range of severity ของโรคค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ flu ( ที่ไม่ใช่ SARS นะ ) จนถึง DSS or Leptospirosis
3.ส่วนมาก lab เป็น serologic study ต้องดู progressed rising รอนาน ราคาแพง ไม่ avialable
4.ตรวจร่างกายก็ไม่ค่อยได้ข้อมูลที่ช่วย Dx แต่ย้ำว่าต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดนะครับ เพราะผมพบ case ที่รับ consulted ประปรายที่เป็น septic arthritis , gouty arthritis , acute pyelonephritis or appdicitis ก็ด่ากันไป
ถ้าเรา identified ปัญหานี้ กับ Chikungunya ได้เราพบว่า Chikungunya มี case มาก แต่ไม่ค่อย severe ยกเว้นบาง case as above comment และ available lab ค่อนข้างไม่ practical เช่น IgM , HI ดังนั้น prctical point คือ
1.พยายามหา lab evidence of โรคที่อาจจะ severe ได้ เช่น dengue จะพบ leukopenia ในวันแรกๆ หรือ thrombocytopenia วันหลัง ๆ หรือ leptospirosis อาจจะพบ renal failure , transaminitis
2. F/U สำคัญที่สุด ได้ดู progresssion ของโรค ได้ ฟพสั detection complication ถ้า นัดไม่ได้ case OPD มากเกิน ก็ advise observe อาการก็ได้
3.Doxy ในความคิดผมคิดว่าให้ได้แต่ ต้องนัดมาดูอากากรเหมือนข้อ 2 เพราะถ้ากินแล้วไข้ลง อาจจะเป็น lepto , scrub ที่ใช้ doxy รักษาได้ หรืออาจจะ เป็น dengue , Chikungunya , Flu ที่ไข้ลงเองได้ ซึ่งดูๆ ก็ไม่น่าจะทำให้คิดกลุ่มโรคได้ แคบลง และ ที่สำคัญ severe leptospirosis ก็ไม่ควรรักษาด้วย Doxy และการให้กิน doxy ต้องระวัง esophagitis ด้วยนะครับ ให้ผู้ป่วยนั่ง 30 นาทีหลังกินอย่าให้นอนนทันทีครับ


Posted by : เชน , Date : 2009-05-20 , Time : 17:14:20 , From IP : 172.29.3.66

ความคิดเห็นที่ : 5


   ชอบคุณครับพี่เชน

เห็นด้วยกับที่ว่า พอให้ doxy ไปแล้วไข้ลงดี

ก็มานั่งงทีหลังว่า อาจจะเป็น lepto , scrub ที่ใช้ doxy รักษาได้ หรืออาจจะ เป็น dengue , Chikungunya , Flu ที่ไข้ลงเองได้




Posted by : patsk120 , Date : 2009-05-21 , Time : 10:16:44 , From IP : 118.173.0.120.adsl.d

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น