ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

ผู้ป่วย HIV 45 ปี มีไข้และไอมีเสมหะ




   ชายอายุ 45 ปี ซึ่งทราบว่าติดเชื้อ HIV อยู่เดิม มารพ.ด้วยอาการเหงื่อออกกลางคืน เพลีย เบื่ออาหาร ผอมลง และไอมีเสมหะ
PE: temperature 40°C, heart rate 136/minute, blood pressure 90/50 mm Hg
WBC 2500/cumm.
Chest x-ray: an infiltrate in the right lower lobe.

1. ในรูปคือ peripheral-blood smear ของผู้ป่วยเมื่อแรกรับ (Wright stain, x1000) พบความผิดปกติอะไรบ้าง
2. การวินิจฉัยโรคคืออะไร
3. จะ manage อย่างไร


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2009-01-21 , Time : 08:12:18 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   ใน blood smear พบ yeast จำนวนมากอยู่ใน WBC ไม่เห็นลักษณะของ blot and dot (kinetoplast) ก็ไม่ใช่ Leishmania จึงเป้น yeast แน่ ก็ต้องแยกระหว่าง histoplasma กับ p
Penicillium marneffii แต่ไม่พบลักษณะ binary fission ที่เห็นเป็น clear septum จึงน่าจะเป็นโรค disseminated histoplasmosis ค่ะ ผู้ป่วยเป็น HIV infection ด้วย

Management
1. hemoculture for fungus
2. CD4 count
3. สำหรับ histoplasmosis เริ่มให้ amphotericin B IV นาน 2 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนเป็นกิน itraconazole
4. Vital sign ไม่ดีเลย ต้องดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด+supportive treatment ดีๆด้วยค่ะ
น่าจะต้องให้ ceftriaxone ไปด้วยเผื่อว่ามี salmonellar bacteremia


Posted by : Daisy , Date : 2009-01-22 , Time : 16:10:22 , From IP : 172.29.3.68

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณหมอ Daisy ตอบถูกต้องแล้วค่ะ

peripheral-blood smear: a monocyte with a grossly distorted nucleus and numerous intracellular yeast-like organisms 2 to 4 µm in diameter with eccentric chromatin. The organisms were surrounded by an artifactual pseudocapsule caused by cytoplasmic shrinkage.
ลักษณะเหล่านี้เป็น diagnostic ของ Histoplasma capsulatum. พบว่า จากการตรวจ neutrophils และ monocytes 200 เซลล์ พบว่า 26 (13 percent) เซลล์มีเชื้อนี้อยู่ โดยมีจำนวนเชื้อ 1-20 ตัว/เซลล์.
จากการเพาะเชื้อของเลือดเมื่อแรกรับขึ้น H. capsulatum. ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย amphotericin B แต่อาการทรุดลงและเสียชีวิตจาก septic shock 2 สัปดาห์ต่อมา

ผู้ป่วยได้รับเชื้อ H. capsulatum โดยการหายใจเอา conidia หรือ mycelial fragments เข้าไป. Reactivation ของ latent infection ก็เป็นไปได้


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2009-01-24 , Time : 15:47:12 , From IP : 172.29.3.68


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น