ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

ชาย 68 ปี มีไข้ ปวดหัว คลื่นไส้และอ่อนเพลียมานาน 48 ชั่วโมง




   ชายอายุ 68 ปี ได้ถุกรับไว้ในรพ.เนื่องจากมีไข้ ปวดหัว คลื่นไส้และอ่อนเพลียมานาน 48 ชั่วโมง

Physical examination showed impaired consciousness, nuchal rigidity, and a temperature of 39.5°C.

Laboratory findings: WBC 20,700/mm3 with 92% neutrophils, glucose 95 mg/dL, and C-reactive protein 375 mg/L.

Cerebrospinal fluid (CSF) analysis: 240 leukocytes/μL with 80% polymorphonuclear cells, glucose 24 mg/dL, and protein 277 mg/dL.

A computed tomography scan of the head showed no abnormal findings.

Gram stain of CSF: gram-positive cocci ดังในรูป 1

1. การวินิจฉัยโรค และเชื้อก่อโรคที่น่าจะเป็นมากที่สุด (ดูเชื้อในรูปให้ดีๆ)
2. จะให้การรักษาด้วยยาอะไร


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-11 , Time : 08:37:07 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   1. การวินิจฉัยโรค และเชื้อก่อโรคที่น่าจะเป็นมากที่สุด (ดูเชื้อในรูปให้ดีๆ)
- ดูรูปให้ดีๆ ผมก็ยังนึกไม่ออกอยู่ดีอ่ะครับ แต่ดูจากผล lab และ epidemiology คิดว่าน่าจะเป็นเชื้อในกลุ่ม Streptococcus มากที่สุดครับ ที่ทำให้เกิด Meningitis ในผู้ป่วยรายนี้

2. จะให้การรักษาด้วยยาอะไร
- ให้ Ceftriaxone 2g IV ร่วมกับ Chloramphenical 2g PO ไปก่อนครับ ร่วมกับส่ง sensitivity ต่อเชื้อด้วยครับ แล้วค่อยปรับยาอีกครั้งนึง


Posted by : harder , Date : 2008-12-14 , Time : 01:31:58 , From IP : 172.29.22.43

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณคุณหมอ harder มากค่ะ

ดูจาก gram stained smear ของ CSF เป็น Gram-positive cocci ซึ่งอยู่เป็นคู่หรือ short chain หลายคู่คล้าย Streptococcus pneumoniae

ก็ต้องรอผลการเพาะเชื้อ จากเลือดและ CSF

ส่วนการรักษา ก็ให้การรักษาเหมือน Pneumococcal pneumonia โดยให้ ceftriaxone 2 g IV q 12 hr

พรุ่งนี้จะเฉลยผล culture ค่ะ



Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-15 , Time : 14:57:19 , From IP : 172.29.3.66


ความคิดเห็นที่ : 3


   แพทย์ได้ให้การรักษาด้วย intravenous ceftriaxone (2 g ทุก 12 ชม.) ตั้งแต่แรก.

วันที่ 5 ของการอยู่รพ. α-hemolytic streptococci แยกได้จากการเพาะเชื้อ CSF บน sheep blood agar และพิสูจน์ว่าเป็น S. suis โดยใช้ APIStrep (bioMerieux, Marcy l Etoile, France). หา serotyping, โดย slide agglutination with specific antiserum (Statens Serum Institute, Copenhagen, Denmark), พบว่าเป็น serotype 2.

Antimicrobial drug–susceptibility testing, ทำตาม guidelines ของ Clinical and Laboratory Standards Institute (www.clsi.org), พบว่าเชื้อไวต่อ penicillin, ceftriaxone, chloramphenicol, levofloxacin, และ vancomycin และดื้อต่อ erythromycin (MIC >128 mg/L) และ tetracycline (MIC 16 mg/L). การดื้อ erythromycin เป็นแบบ constitutive และถูก mediated โดย erm(B) determinant; การดื้อ tetracycline ถูก mediated โดย tet(W). Multilocus sequence typing (http://ssuis.mlst.net) assigned the S. suis isolate to sequence type (ST) 1.

ผู้ป่วยปฏิเสธการสัมผัสกับหมูหรือสัตว์อื่นๆ และไม่มีประวัติกินหมูดิบหรือไม่สุก.

อาการทั่วไปของผู้ป่วยดีขึ้น เขาได้รับ ceftriaxone นาน 14 วัน. ในวันที่ 6 ของการอยู่รพ. ไข้หาย แต่ผป.มีอาการเวียนศีรษะและหูไม่ได้ยิน. ได้ทำ formal audiology evaluation วันที่ 9 และพบ severe bilateral sensorineural high-frequency hearing loss (–80 dB) ซึ่งดีขึ้นหลังได้รับ dexamethasone เป็นระยะสั้นๆ. อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังไม่ได้กลับบ้านเพราะพบ lung mass โดย chest radiograph ตั้งแต่แรกรับ. จาก computed tomography scan, bronchoscopy, และ histopathologic findings พบว่าเป็น advanced-stage squamous cell carcinoma.


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-18 , Time : 13:38:30 , From IP : 172.29.3.66


ความคิดเห็นที่ : 4


   S. suis meningitis ในผู้ป่วยรายนี้มีทั้งลักษณะที่พบบ่อยและพบไม่บ่อยดังนี้.
ลักษณะที่พบบ่อยคือ
(1) hearing loss, ซึ่งเป็น typical outcome ของ S. suis meningitis โดยไม่ขึ้นกับการได้รับยาปฏิชีวนะเร็ว
(2) serotype 2, ซึ่งเป็น serotype ที่พบบ่อยที่สุดและมี virulence สูงสุดในหมูและในคน;
(3) ST1, belonging to the ST1 complex, ซึ่งสัมพันธ์อย่างมากกับ S. suis meningitis isolates; และ
(4) erm(B)-mediated erythromycin resistance, พบได้แพร่หลายใน species นี้.
ลักษณะที่พบไม่บ่อยคือ
(1) การดื้อ tetracycline ที่ถูก mediated ด้วย tet(W)ซึ่งพบได้มากขึ้นทั้งในแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวก แต่ไม่เคยมีรายงานใน S. suis หรือใน major streptococcal pathogens อื่นๆ ซึ่ง common determinants คือ tet(M) and tet(O); และ
(2) การไม่มีประวัติสัมผัสกับหมูหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ หรือเนื้อหมู
ผู้ป่วยรายนี้มีมะเร็งปอดด้วย. มะเร็งเป็น predisposing factor อย่างหนึ่งของการเกิด severe S. suis disease ในคน. การพบเช่นนี้เข้ากันได้กับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแบบแผนใหม่ทางระบาดวิทยาของโรคที่เกิดจากเชื้อนี้. S. suis อาจกลายเป็น opportunistic pathogen ในคนที่มีภาวะเครียด หรือภูมิต้านทานต่ำ. นอกจากนี้ ยังสามารถแยก S. suis ได้จากสัตว์อื่นๆนอกจากหมู เช่น จากนก และจากสิ่งแวดล้อม. การที่ไม่ได้ประวัติการสัมผัสกับสัตว์ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยจำไม่ได้หรือไม่ได้สังเกต. ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าคนเป็น asymptomatic carriage ของ S. suis ได้และอาจมีบทบาทในการแพร่ของเชื้อนี้. ยังมีความเป็นไปได้ว่า โรคติดเชื้อที่ปรากฏขึ้นอาจเป็น reactivation ของ S. suis ที่ colonize อยู่อย่างสงบ จากการมีมะเร็ง


เรื่องและรูปจาก Manzin A. Emerg Infect Dis 2008;14:1946-7.


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-18 , Time : 13:44:29 , From IP : 172.29.3.66


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น