ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

A 64 YOF had multiple asymptomatic, erythematosus papulopustular facial lesions




   
หญิงอายุ 64 ปีมาพบแพทย์เพราะมี multiple asymptomatic, erythematosus papulopustular facial lesions (รูป A) เป็นมานาน 5 สัปดาห์ ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น rosacea และได้รับการรักษาด้วย doxycycline กิน 100 mg วันละ 2 ครั้งนาน 3 สัปดาห์เป็น first-line therapy แต่เนื่องจากไม่ดีขึ้น แพทย์จึงส่งผู้ป่วยมาพบแพทย์โรคผิวหนัง

จากการตรวจ eruption มีลักษณะคล้าย rosacea การตรวจร่างกายทั่วไปและ

การส่งตรวจเลือดไม่พบความผิดปกติใดๆ

ท่านคิดวาผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคใดและจะ manage อย่างไรต่อไป


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-01 , Time : 08:22:51 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   1.คิดว่าเป็นโรคใด
- ในผู้ป่วยที่เคย Dx.Rosacea หาก treat medication แล้วไม่หายควรคิดถึง demodex หรือไรหมาไรแมวด้วยครับ(Demodex folliculorum,Demodex brevis) เพราะดูลักษณะ lesion แล้วคล้ายๆกะ Acne rosacea ครับ เชื้อนี้ชอบไปเกาะตามขนตา หรือพวกต่อมไขมันด้วยครับ เลยอาจเจอบ่อยที่หนังศีรษะ หน้า รักแร้ และ pubic hair ครับ

2.manage อย่างไรต่อไป
- Hx เรื่องการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น หมาแมวเป็นต้น
- เนื่องจากเชื้อส่วนใหญ่ติดมาจากสัตว์เลี้ยง จึงต้องทำการรักษาทั้งคนและสัตว์เลี้ยงไปพร้อมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นอีกครั้ง

ผู้ป่วย : Metronidazole 250mg Sig. 1Tab PO tid *14days + Topical permethrin 5% Sig. ทาที่เป็นเช้า-เย็น

สัตว์เลี้ยง : ใช้ Mitaban 2cc ต่อน้ำ 1ลิตร รักษาด้วยการจุ่มหรือแช่ยาสัตว์เลี้ยงทั้งตัว ครั้งละประมาณ 10-15นาที ต้องทำติดต่อกันไป 6-8 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1-2 อาทิตย์ ซึ่งการรักษาจะมีการสังเกตอาการภายนอกร่วมกับการขูดดูเชื้อผ่านกล้องจนกว่าจะไม่เจอเชื้อ สุดท้ายจึงหยุด treat ยา


Posted by : harder , Date : 2008-12-02 , Time : 01:04:48 , From IP : 172.29.22.43

ความคิดเห็นที่ : 2




   คุณหมอ harder เก่งมากๆค่ะ คุณหมอตอบถูกแล้วนะคะ

การตรวจ specimen ที่ได้จากการขูดผิวหนังที่รอยโรคพบตัวไรที่มีชื่อว่า Demodex folliculorum (รูป B)

ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาด้วย metronidazole (250 มก.กินวันละ 3 ครั้งนาน 2 สัปดาห์) และตามด้วยการทา permethrin (cream 5%) สัปดาห์ละครั้ง.


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-02 , Time : 10:30:42 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 3


   Demodex spp เป็น saprophytic vermiform mite ที่อาศัยอยู่ใน hair follicle และ pilosebaceous gland ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยไม่ทำให้เกิดอาการ.
ในคนพบว่ามี 2 species ของ acarid mite คือ Demodex folliculorum และ Demodex brevis. ตำแหน่งที่ Demodex spp mites ชอบอาศัยอยู่ คือ หนังศีรษะ หน้าผาก และคาง และบริเวณรอบตา จมูก และปาก. Demodex spp มีบทบาทในการเกิดความผิดปกติที่หน้าเช่น pityriasis folliculorum, rosacea-like demodicidosis (หรือ demodicosis), pustular folliculitis, demodectic blepharitis, และ “demodicidosis gravis”.

Clinical features ของ Demodex spp infestation ได้แก่ erythematopapulous and pustulous skin lesions ร่วมกับ erythematodesquamative changes ของหน้า.

ต้องคิดถึง demodicidosis ด้วยในผู้ป่วยที่มี rosacea-like dermatitis ที่ดื้อต่อ conventional rosacea therapy.



Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-02 , Time : 10:33:27 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 4


   แม้จะยังไม่มีข้อสรุปว่า Demodex spp mites ทำให้เกิดพยาธิสภาพของผิวหนังได้อย่างไรและต้องมีจำนวนมากเพียงใด แต่ก็มีหลักฐานว่า demodicidosis เป็น condition ที่แตกต่างจาก common rosacea.

ความชุกของการเป็น carrier ของ Demodex spp เพิ่มขึ้นตามอายุ.

เป็นไปได้ว่า demodex mite จำนวนมากสามารถกระตุ้นปฏิกิริยาของการอักเสบหรือภูมิแพ้โดยอุดตัน follicles หรือโดยเป็น vector ของจุลชีพ ทำให้เกิด connective tissue damage และ telangiectasia. มีสมมุติฐานที่น่าสนใจว่า inflammatory response อาจถูกกระตุ้นด้วย antigenic proteins ทีสัมพันธ์กับแบคทีเรียชนิดหนึ่ง (Bacillus oleronius) ที่แยกได้จาก D folliculorum.


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-12-02 , Time : 10:34:34 , From IP : 172.29.3.68


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น