ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

ชาย 27 ปี ไข้ 2 วันและปวดหัวมาก 8 ชม.


   ชายอายุ 27 ปี ญาตินำส่งรพ.เนื่องจากปวดหัวมาก 8 ชม.และสับสน 2 ชม.ก่อนมารพ.
2 วันก่อนมารพ. ผู้ป่วยมีไข้สูง ปวดเมื่อยทั้งตัว
1 วันก่อน ผู้ป่วยไปตรวจที่รพช. แพทย์ตรวจไม่พบไข้ ได้ให้ยาคลายกล้ามเนื้อมากิน
8 ชม.ก่อนมารพ. ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้า ปวดหัวมาก นอนดิ้นไปมา อาเจียนหลายครั้งมาก
2 ชม.ก่อนมารพ. ปวดหัวมากจนเอาหัวกระแทกฝาห้อง เริ่มพูดไม่รู้เรื่อง

4 ปีก่อน เกิดอุบัติเหตุ ม้ามแตก ได้รับการผ่าตัดตัดม้าม

PE: confuse, not co-operate, E3V4M5
BT 38.0 C, PR 97, BP 114/72, R 24
No motor weakness
Stiff neck positive

CBC: Hct 18.9, Hct 56%, WBC 23000, N 49%, Band 46%, L 2%, M 3%
ถาม
1. Problem ของผู้ป่วยคืออะไร
2. การวินิจฉัยโรคที่น่าจะเป็นมากที่สุดคืออะไร
3. จะ manage ผู้ป่วยอย่างไร


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-22 , Time : 13:45:46 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   >> Problem ของผู้ป่วยคืออะไร
1. Fever headache and meningeal sign ;
2. Alteration of consciousness
3. splenectomized patient
4. severe sepsis

>> การวินิจฉัยโรคที่น่าจะเป็นมากที่สุดคืออะไร
1. Bacterial meningitis and severe sepsis in splenectomized Pt.
คิดถึงกลุ่ม pneumococal ที่สุด

>> จะ manage ผู้ป่วยอย่างไร
- H/C x II แล้วรีบให้ ATB cover เชื้อที่สงสัย Ceftriaxone 2 gm IV q 12 hr
- Resuscitation IV fluid ให้พอ
- เจาะเลือด CBC renal function Electrolyte PT PTT
- LP cell count cell dif C/S aerobe protein sugar
ที่สำคัญ G/S
- observe clinical alteration of consciounsness อาจจะต้อง CT Brain
ถ้า resuscitation แล้ว ยังตื่นไม่ดี

- สุดท้ายเป็นหมอ มอ. ต้อง advice ญาติคนไข้ ด้วย ครับ ^_^ เพราะ อาการคนไข้ ค่อนข้างหนัก เอาการ


Posted by : sagittareusinternist , Date : 2008-10-23 , Time : 23:30:57 , From IP : 172.29.5.213

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณหมอ sagittareusinternist ตอบถูกต้องแล้วค่ะ
ดิฉันคิดว่าการ set problem ของผู้ป่วยให้ครบ (อาจารย์หมอ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะเรียกว่า keywords) มีความสำคัญมาก รายนี้มีประวัติตัดม้ามมานาน 4 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิด overwhelming sepsis จาก Streptococcus pneumoniae ได้มาก ถ้าให้การรักษา (ที่สำคัญคือยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว) ช้า ผู้ป่วยก็จะตายหรือมี permanent brain damage ได้

รายนี้เมื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมี pneumococcal meningitis ก็ต้องรีบทำ blood culture อย่าวรวดเร็ว 2 ขวด (เจาะเวลาเดียวกันได้ค่ะโดยเจาะที่แขนทั้ง 2 ข้าง ขวดละแขน ไม่ต้องรอ 15 หรือ 30 นาที) เจาะหลังหลังจากนั้นได้โดยไม่ควรนานกว่า 2 ชั่วโมง



Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-25 , Time : 14:37:00 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 3


   ผู้ป่วยรายนี้ทั้ง blood culture และ CSF culture ขึ้น Streptococcus pneumoniae ดื้อต่อ penicillin

ข้อมูลความไวของ S. pneumoniae ปี 2550 ของรพ.สงขลานครินทร์ พบว่าไวต่อ penicillin เพียง 30% จึงต้องใช้ ceftriaxone หรือ cefotaxime เท่านั้นสำหรับ pneumococcal meningitis


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-25 , Time : 14:43:02 , From IP : 172.29.3.68


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น